วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic Converter)


แคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์ (catalytic converter) หรือเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา ซึ่งคนไทยนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "แคท" นั้น เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ลดไอเสีย ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ อุปกรณ์นี้เกิดจากแรงกดดันของภาครัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้รถ ยนต์ทุกคันที่ผลิตออกมาปลดปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ น้อยลง ทั้งนี้จากข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยไอเสียของรถยนต์ต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาก่อนปี ค.ศ.1966 (พ.ศ.2509) พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วรถยนต์ 1 คันที่วิ่งเป็นระยะทาง 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) มีการปล่อยสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นไอน้ำมันที่เหลือจากการไม่ถูกเผาไหม้ออกมาจำนวน 10.6 กรัม ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide - CO) คิดเป็นน้ำหนัก 84 กรัม และปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogenoxide - NOx) ออกมาคิดเป็นน้ำหนัก 4.1 กรัม แต่กว่าที่จะมีรถยนต์ติดแคทาลิติกฯ รุ่นแรกออกมาจำหน่ายก็ต้องรอถึงปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) แคทาลิติกฯ ที่ติดรถยนต์รุ่นแรก ๆ นั้นเป็นแบบ 2 ทาง (two-way catalytic converter) สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารไฮโดรคาร์บอนได้เพียง 2 ชนิดเท่านั้น จนปลายทศวรรษที่ 70 จึงมีแคทาลิติกฯ แบบ 3 ทาง (3-way catalytic converter) ที่ลดได้ทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารไฮโดรคาร์บอน และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์

การทำงานของแคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์

แคทาลิติกฯ ทำหน้าที่เปลี่ยนไอเสีย 3 ชนิดได้แก่ สารไฮโดรคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซออกซิเจน และไอน้ำ ด้วยปฏิกิริยาทางเคมีออกซิเดชัน (oxydation) และรีดักชัน (reduction) สมการเคมีข้างล่างแสดงถึงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น โดยปฏิกิริยาสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ แต่ว่าอัตราการเกิดจะช้ามาก ดังนั้นจึงต้องใช้สารเร่งปฏิกิริยาหรือแคทาลิสต์ (catalyst) เพื่อให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดเร็วขึ้น

2CO + O2 --------> 2CO2 (1)

CxHy + O2 --------> CO2 + H2O (2)

2NOx --------------> N2 + O2 (3)



สารแคทาลิสต์ที่ใช้ในการเปลี่ยนไอเสียเป็นโลหะจำพวก "โลหะมีตระกูล" (novel metals) คือเป็นโลหะที่เฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ แพลทินัม (platinum - Pt) แพลเลเดียม (palladium - Pd) และโรเดียม (rhodium - Rh) เหตุที่ต้องใช้สารแคทาลิสต์หลายชนิด เนื่องจากสารแคทาลิสต์หนึ่งเหมาะกับปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งเท่านั้น โดยโรเดียมถูกใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยารีดักชัน ของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ส่วนแพลทินัม และแพลเลเดียมใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ และสารไฮโดรคาร์บอน

พัฒนาการของแคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์

การปรับปรุงเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแคทาลิติกฯ มีตั้งแต่เริ่มต้น แคทาลิติกฯ รุ่นแรกเริ่มภายในถูกบรรจุด้วยเม็ดอลูมินา (alumina - เป็นวัสดุเซรามิกส์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ Al2O3) ไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากใช้เม็ดอลูมินาเป็นฐานรองรับ (substrate) โลหะแคทาลิสต์ แต่ว่าแคทาลิติกฯ รุ่นหลังจนถึงปัจจุบัน โลหะแคทาลิสต์จะถูกเคลือบบนฐานรองรับ ที่มีลักษณะเป็นช่องกลวงคล้ายรังผึ้ง (honeycomb) ซึ่งตัวฐานรองรับอาจทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมหรือคอร์เดียไรต์ (cordierite - เป็นวัสดุเซรามิกส์ชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า แมกนีเซียมอลูมิโนซิลิเกต (Mg2Al4Si5O18)) ก็ได้ ฐานรองรับแคทาลิสต์แบบหลังมีข้อดีกว่าแบบเม็ดอลูมินา เนื่องจากลักษณะโครงสร้างที่เป็นช่องกลวงช่วยลดแรงดันย้อนกลับ (back pressure) ของไอเสียได้ดีกว่า แต่ว่าต้นทุนการผลิตฐานรองแบบรวงผึ้งนั้นสูงกว่า


นอกจากรูปแบบของฐานรองรับที่เปลี่ยนไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดอีกอย่างคือ ความหนาแน่นของจำนวนช่องของฐานรองรับ แคทาลิติกฯ รุ่นแรก ๆ (ผลิตออกมาในปี ค.ศ.1974) มีความหนาแน่นของช่องขนาดเล็กประมาณ 200 ช่อง/ตร.นิ้ว และผนังแต่ละช่องมีความหนาราว 0.305 มิลลิเมตร แต่ในปัจจุบันแคทาลิติกฯ ที่ผลิตออกมามีความหนาแน่นของจำนวนช่องหลายรุ่น ตั้งแต่ 400, 600 หรือ 1,000 ช่อง/ตร.นิ้ว ซึ่งผนังของแต่ละช่องหนาเพียง 0.025 มิลลิเมตรเท่านั้น จำนวนช่องที่มากขึ้นทำให้มีพื้นที่ผิวในการทำปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการลดปริมาณก๊าซพิษเพิ่มสูงขึ้น


เรื่องของ "ฮวงจุ้ย" ก็สำคัญ! แต่ในที่นี้หมายถึง การจัดเรียงตำแหน่งต่าง ๆ ภายในอุปกรณ์แคทาลิติกฯ เนื่องจากภายในแคทาลิติกฯ มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น 2 อย่าง คือ ปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน ซึ่งอาศัยโลหะแคทาลิสต์ต่างชนิดกัน ดังนั้นจึงต้องแยกพื้นที่สำหรับการเกิดปฏิกิริยาเคมีออกจากกัน แคทาลิติกแบบ 3 ทางจึงมีฐานรองรับ 2 ชิ้นแยกจากกัน ชิ้นหนึ่งเคลือบโรเดียมเพื่อเร่งปฏิกิริยารีดักชัน(บริเวณA) อีกชิ้นหนึ่งเคลือบด้วยแพลเลเดียมหรือแพลทินัมเพื่อเร่งปฏิกิริยา ออกซิเดชัน(บริเวณB) จากปฏิกิริยาเคมี (3) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์จะถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนที่ได้จาก (3) สามารถนำไปใช้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารไฮโดรคาร์บอนต่อได้ ดังนั้นภายในแคทาลิติกฯ จึงออกแบบให้ฐานรองที่เคลือบโรเดียมอยู่ข้างหน้าฐานรองแพลทินัม (หรือแพลเลเดียม) เสมอ

ที่มา http://www.mtec.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=90&Itemid=36

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

๑๐ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอันตรายของโลก




๑๐. งูหลาม (Burmese python)
สัตว์ ประจำถิ่นเอเชีย นำเข้าสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง ราว ค.ศ. ๑๙๙๐ เมื่อโตจนมีขนาด ๖ เมตร ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่เลี้ยงต่อไม่ได้ จึงปล่อยสู่ธรรมชาติ สร้างปัญหาการจับสัตว์พื้นถิ่นกินเป็นอาหารและมีรายงานทำร้ายคน
๙. หอยม้าลาย (Zebra mussels)
สัตว์ประจำถิ่นในทะเลสาบแคสเปียน แพร่กระจายสู่สหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศต่าง ๆ โดยเกาะติดมากับเรือขนส่งสินค้า มันแย่งกินแพลงก์ตอนจนทำให้ระบบนิเวศในท้องถิ่นต่าง ๆ เสียสมดุล และชอบเกาะผิววัสดุสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้น้ำ
๘. ปลาช่อนพันธุ์เหนือ (Northern snakehead)
สัตว์ประจำถิ่นเอเชียซึ่งคนเอเชียนิยมกินเป็นอาหาร มีข่าวการพบปลาช่อนนี้ครั้งแรกในบึงธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ๒๐๐๒ หลังจากนั้นก็แพร่กระจายไปทั่ว เป็นสัตว์กินเนื้อ นิสัยดุร้ายทำลายสัตว์พื้นเมืองอื่น ๆ ในแหล่งน้ำ ทนแล้งเก่งและเคลื่อนที่บนบกได้
๗. นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป (European starling)
สัตว์ประจำถิ่นยุโรป ค.ศ. ๑๘๙๐ ถูกนำเข้ามาที่สวนสาธารณะของสหรัฐอเมริกา ๖๐ ตัว ปัจจุบันเพิ่มจำนวนเกินล้าน แพร่กระจายทั่วสหรัฐอเมริกาและตอนใต้ของแคนาดา เป็นสาเหตุทำให้เครื่องบินตก มีผู้เสียชีวิต ๖๒ คน ในปี ๑๙๖๐ มูลของมันยังเป็นพาหะของโรคติดเชื้อ

๖. ผึ้งเพชฌฆาต (Killer bees)
ค.ศ. ๑๙๕๗ เกษตรกรชาวบราซิลนำผึ้งพันธุ์แทนซาเนียมาเลี้ยงแล้วหลุดไปผสมพันธุ์กับ พันธุ์ยุโรป เกิดเป็นผึ้งเพชฌฆาตที่มีนิสัยปกป้องรังก้าวร้าวมาก พิษของมันไม่ได้รุนแรงกว่าผึ้งพันธุ์ยุโรป แต่ร้ายกาจที่การรุมต่อยศัตรูนับพันครั้ง แพร่กระจายสู่ทวีปอเมริกาเหนือ แย่งชิงรังและอาหารของผึ้งพันธุ์เดิม รวมทั้งทำร้ายคนจนเสียชีวิตไปหลายราย

๕. กระรอกเทา (Gray squirrel)
มีถิ่นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา นำเข้ามาในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ อิตาลี ออสเตรเลีย หาอาหารและสะสมอาหารเก่งกว่ากระรอกพันธุ์พื้นเมืองเป็นพาหะของโรค squirrel pox จนทำให้กระรอกพันธุ์พื้นเมืองลดจำนวนอย่างรวดเร็ว

๔. ถั่วคุดสุ (Kudzu)
พืชไม้เลื้อยตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดในจีนและญี่ปุ่น นำเข้าสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งสวนในปี ๑๘๗๖ เจริญเติบโตรวดเร็วเพียง ๑ วันก็งอกยาวถึง ๑ ฟุต เมื่อขาดการควบคุมจึงแพร่ไปขึ้นคลุมสิ่งต่าง ๆ จนก่อความเสียหาย ทั้งต้นไม้โค่น บ้านพัง เสาไฟฟ้าล้ม

๓. คางคกไร่อ้อย (Cane toads)
มีถิ่นกำเนิดอยู่อเมริกากลางและอเมริกาใต้ นำเข้าหลายประเทศเพื่อใช้กำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะในไร่อ้อย ผิวหนังมีต่อมพิษร้ายแรง สัตว์ผู้ล่าในพื้นถิ่นไม่รู้จักเมื่อกินเข้าไปจึงตายในไม่กี่นาที เป็นต้นเหตุให้สัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชื่อ quoll ซึ่งเคยมีอยู่มากในออสเตรเลียลดจำนวนลง

๒. กระต่ายพันธุ์ยุโรป (European rabbit)

สัตว์ประจำถิ่นทางตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป หลายประเทศนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยง ที่ออสเตรเลียนำเข้าครั้งแรก ๒๔ ตัวในปี ๑๘๕๙ ปัจจุบันมีจำนวนถึงกว่า ๖๐๐ ล้านตัว เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย โตไว ขยายพันธุ์เร็ว กินอาหารได้หลากหลาย สร้างปัญหาให้สัตว์พื้นถิ่นจนลดจำนวนลง

๑. ปลาไน (Asian carp)

ค.ศ. ๑๙๗๐ ฟาร์มเลี้ยงปลาในสหรัฐอเมริกานำปลาไนจากเอเชียมาช่วยกำจัดสาหร่าย ต่อมาเกิดน้ำท่วมฟาร์มจนปลาไนหลุดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ชาวอเมริกันไม่นิยมกินเนื้อปลานี้ มันจึงแพร่กระจายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว แย่งที่อยู่อาศัยและอาหารของสัตว์น้ำประจำถิ่น รวมทั้งมีนิสัยชอบกระโดดขึ้นเหนือน้ำ เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ

* จัดอันดับโดย นิตยสาร TIME ร่วมกับ CNN

ที่มา http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=1071

วิวัฒนาการของอวัยวะเทียม (เฉพาะส่วนขาเทียม)

ในเมืองไทยการพัฒนาอวัยวะเทียมไม่ปรากฎหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก ที่พอสืบได้คือเริ่มมีการสอนเรื่องนี้จริงจังโดยรับเทคโนโลยีจากตะวันตกช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ที่น่าสนใจคือระหว่างที่มีความพยายามสร้างองค์ความรู้ในเมือง ในพื้นที่ชายแดนที่เต็มไปด้วยการสู้รบและในพื้นที่ชนบทห่างไกล มีการสร้างอวัยวะเทียมจากวัสดุท้องถิ่นโดยฝีมือประชาชนในพื้นที่ ขาเทียมและอุปกรณ์เสริมที่ปรากฎในหน้านี้คือส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการดังกล่าว


ขาเทียมรุ่นเก่าสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาในระดับเหนือเข่า
เทคนิคสร้างขาเทียมแบบนี้นิยมมากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตัวขาเทียมประดิษฐ์จากวัสดุง่ายๆ เบ้าทำจากหนังสัตว์
แกนหน้าแข้งทำจากไม้ ข้อเสียคือสวมใส่ไม่สบายและมีน้ำหนักมาก


ขาเทียมรุ่นใหม่สำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาในระดับเหนือเข่า เบ้าสำหรับสวมกับตอขาเป็นพลาสติกน้ำหนักเบา
มีข้อเข่าที่ทำงานได้ใกล้เคียงกับหัวเข่าจริง แกนหน้าแข้งทำจากอะลูมิเนียม
เท้าทำจากพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นน้ำหนักเบาและใช้งานได้ง่าย
ขาเทียมลักษณะนี้นิยมใช้มาตั้งแต่หลังปี ๒๕๐๐


ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาระดับเหนือเข่า
หลังจากตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายขาจริงแล้ว


ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่า
เทคนิคยุคปัจจุบัน เบ้าทำจากพลาสติก น้ำหนักเบา
แกนหน้าแข้งทำจากอะลูมิเนียม และเท้าทำจากพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น


ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่า
หลังจากตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายกับขาจริง
เพื่อให้ผู้พิการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างกลมกลืนกับคนปรกติในสังคม


เหล็กพยุงขา (Brace) ช่วยในการเดินของผู้ป่วยที่มีขาลีบเล็กทั้งขา
อันมีสาเหตุมาจากโรคโปลิโอ ทำจากโครงโลหะ และพลาสติกน้ำหนักเบา


เหล็กพยุงขา (Brace) ช่วยในการเดินของผู้ป่วยที่มีขาลีบเล็กเฉพาะส่วนใต้เข่าลงมา
อันมีสาเหตุมาจากโรคโปลิโอ ทำจากโครงโลหะ
และได้รับการออกแบบให้ใส่รองเท้าผ้าใบได้เหมือนคนปรกติ


ที่มา http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=1078

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

WebRTC (Web-based real-time communication)

ในอดีต การติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์ผ่านเสียงหรือวีดีโอนั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีการ ประมวลผลสัญญาณ (signal processing) ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่มคนหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และผู้ใช้จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินหรือแอพพลิเคชันอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้ สามารถใช้งานได้ ทำให้กลายเป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาแอพพลิเคชันในลักษณะนี้

WebRTC เป็นโครงการโอเพนซอร์สภายใต้อนุสัญญา BSD เพื่อเปิดให้ใช้เทคโนโลยีของเอนจิ้นทางด้านเสียงและวีดีโอ (ที่กูเกิลไปซื้อมาจาก GIPS) เพื่อการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินหรือแอพพลิเคชันอื่นเพิ่มเติม นอกจากทางนั้นทางโครงการยังทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเบราว์เซอร์อย่าง มอซิลล่า และ โอเปร่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันทางโครงการก็เข้าร่วมกับ IETF และ W3C ในการกำหนดและพัฒนามาตรฐานของการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์อีกด้วย

ใครสนใจสามารถเข้าไปศึกษา developer preview ซึ่งประกอบด้วยซอร์สโค้ด ข้อมูลทางเทคนิค ฯลฯ ได้ที่ code.webrtc.org หรือผ่านที่มาของข่าว

ที่มา: WebRTC

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ICANN อนุมัติแล้ว โดเมนดอท "อะไรก็ได้"

ICANN

หลังอนุมัติแผนนี้มาร่วมสามปี ที่ประชุมของ ICANN วันนี้ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ก็มีมติให้บริษัทต่างๆ สามารถยื่นขอจดทะเบียนโดเมนเนมระดับบนสุด (TLDs: top-level domains) ได้เสียที จากที่ปัจจุบัน ICANN มี TLD ทั่วไปให้เลือกอยู่ 22 ตัว (เช่น .com, .org) และ TLD สำหรับประเทศต่างๆ (เช่น .th, .uk)

TLD ใหม่ที่จะยื่นขอจดนี้สามารถจดได้ในทุกชื่อและไม่จำกัดภาษา รองรับทั้งตัวอักษร ตัวเลข หรือจะเป็นอักษรในภาษาอื่นอย่างอาราบิกหรือจีนก็ได้ ICANN หวังว่าการเปิดอิสระในการเลือกโดเมนระดับบนนี้จะส่งผลให้ชื่อโดเมนที่ใช้กัน ในโลกเกิดความหลากหลายและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น บริษัทเจ้าของสินค้าหรือแบรนด์ต่างๆ ที่มีโดเมนเป็นของตัวเองจะสามารถสื่อทางการตลาดหลุดจากกรอบ url ที่เป็นดอทคอมแบบเดิมๆ กลายเป็นชื่ออย่าง .apple .coke ซึ่งทำให้มีสีสันมากขึ้น

ICANN จะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจจอง TLD ที่ต้องการชุดแรกเป็นเวลา 90 วันในช่วงต้นปีหน้า ถ้าหากเป็นชื่อแบรนด์สินค้าหรือชื่อเฉพาะต้องแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อ ประกอบการพิจารณาด้วย โดยมีค่าธรรมเนียมการขอจด TLD ใหม่ 185,000 ดอลลาร์ (5.5 ล้านบาท!) และ TLD เหล่านี้จะเริ่มใช้งานได้ในปลายปีหน้า

ที่มา: Reuters และ Guardian

http://www.blognone.com/news/24412

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554