วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เจาะลึก กาแฟ มันมีดีอะไร ?

หลังจากตื่นนอนตอนเช้าได้กาแฟหอมๆสักแก้ว
จะรู้สึกกระชุ่มกระชายตลอดทั้งเช้า บางท่านรับกาแฟและขนมบางอย่างเป็นอาหารเช้า หลังจากทำงานก็ยังมี coffee break บางท่านยังดื่มหลังอาหารเที่ยงและตอนสายๆ ยิ่งต้องเข้าประชุมกาแฟหอมๆสักแก้วจะทำให้สดชื่นหายง่วง


ปัจจุบันการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมการอย่างแพร่หลายตามปั้มน้ำมัน
ตามห้างสรรพสินค้ามีการขายอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสองส่วนสามของชีวิตประจำวัน
แต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวันวันละหลายแก้วแล้วมันมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง หากคุณเป็นคอกาแฟคุณควรจะอ่านบทความนี้



ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟ
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ

caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline

caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิด
ได้แก่
เมล็ดคา

เมล็ดกาแฟ
ใบชา
โคลา
caffeine
ถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก



กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟ
และจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด
ผู้ที่สูบบุหรี่

จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการ กระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป

กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ

ปริมาณcaffeine

ที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างปริมาณกาแฟ



นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่า
วันหนึ่งๆเราจะรับสาร caffeine ประมาณ 250-600 มก.ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย
ผลดีของกาแฟ

กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน

และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด


ผลต่อสมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น

เช่นการขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เล่นกีฬาได้นานขึ้น


ผลดีของกาแฟ

จะทำให้ไม่ง่วงนอนโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ



กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย
กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกายไม่ ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ

ดื่มนานๆจะติดกาแฟหรือไม่

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆ แล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของ กาแฟ

และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย



ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ
โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น

กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆมีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่


กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล

การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี

มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว



กาแฟกันสุขภาพสตรี
กาแฟกับการตั้งครรภ์ The Food Standards Agency ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว
ประเทศอังกฤษได้แนะนำว่า

การดื่มวันละ 3-4 แก้วขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย สำหรับผู้ที่ตั้งท้องหากงดได้ก็น่าจะงด การเป็นหมัน

พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่า 1แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันเพิ่มขึ้น



กาแฟกับโรคกระดูกพรุน
ยังมีรายงานทั้งสนับสนุนว่า

การดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเริม สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป



กาแฟกับโรคมะเร็ง
มีรายงานจาก World Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
มีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย
มีรายงานว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ๋
กาแฟกับโรคหัวใจ
เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ
การดื่มกาแฟเป็นประจำไม่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น การดื่มกาแฟครั้งแรกจะทำให้ความดันขึ้นชั่วคราว
กาแฟกับโรคเบาหวาน
จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrine เพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

ว่าด้วยเรื่อง เพชร

Diamond


มี ส่วนประกอบเป็นธาตุถ่าน (c) หรือ คาร์บอนบริสุทธิที่มีความแข็งที่สุดในบรรดาแร่ธาตุทั้งหลายที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติสมดังชื่อที่ได้มาจากภาษากรีกว่า Adamas แปลว่าเอาชนะไม่ได้หรือทำลายไม่ได้
  • คุณสมบัติเฉพาะของเพชร
  • องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด
  • วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ
  • วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )
  • แหล่งพบเพชรในประเทศไทย
  • ลักษณะของเพชรที่พบในประเทศไทย
  • แหล่งต้นกำเนิดเพชร
 

คุณสมบัติเฉพาะของเพชร
  • ความแข็ง 10
  • ความถ่วงจำเพาะ 3.52
  • ค่าดัชนีหักเห 2.417
  • การกระจายแสง .044
  • ความวาว เหมือนเพชร
  • สีที่เห็นบริเวณส่วนล่าง สีส้มและฟ้าของเพชร ( Pavilion )
  • ความสามารถเรืองแสง มักจะเรืองแสงสีฟ้าอ่อน-เข้ม (Ultraviolet Lamp คลื่นสั้นและคลื่นยาว)
     ลักษณะภายในกล้องจุลทรรศน์ มลหินรูปเหลี่ยม รอยแตกเหมือนขั้นบันไดหรือเสี้ยนไม้ บริเวณขอบเพชร วาวเหมือนหนวด ( bearding ) บริเวณขอบเพชร และลักษณะที่แสดงถึงผิวธรรมชาติเดิม ( Natural ) ซึ่งมักจะพบเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบเพชร
องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด คือ
1. น้ำหรือความบริสุทธิ์ ( Clarity )
     มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ
( Blemishes ) ที่เกิดอยู่ภายนอกการจัดระดับความบริสุทธิ์ทำได้โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษระทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่นๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพขรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนด มาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า

2. สี (Colour )      การจัดระดับสีทำได้โดยสังเกตุดูว่าสีของเพชรแปรเปลี่ยนไปจากความไม่มีสี ( Coloutless ) เพชรส่วนใหญ่จะมี สีเหลือง น้ำตาล เทา ปนอยู่เล็กน้อย ยกเว้นเพชรที่มีสีแฟนซี เช่น สีฟ้า ชมพู ม่วง แดง เพชรที่ไม่มีสีจัดเป็นเพชรที่มีค่าที่สุด
3. การเจียระไน ( Cut )
     หมายถึง ส่วนสัดของเพชร ( Proportion ) และฝีมือการเจียระไน ( Finish) ซึ่งรวมถึงรูปร่าง ( Shape ) ว่าเจียระไนเป็นแบบเหลี่ยมเกสร ( Brilliant Cut ) เป็นแบบรูปมาร์คีส ( Marquise Cut ) หรือ เป็นแบบหลังเบี้ย ( Cabochon Cut ) เป็นต้น เพชรที่มีการเจียระไนได้ส่วนสัดตามมาตราฐานมีหน้าเหลี่ยมและมุมต่างๆ ถูกต้องตามหลักวิชา และมีฝีมือการเจียระไนที่ประณีตเรียบร้อยจะมีความสวยงามและมีการกระจายของ แสงดี

     การดูความถูกต้องของสัดส่วน ( Proportion Grading ) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน ( Crown ) และส่วนล่าง ( Pavilion ) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่นาย Tollkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion
     การจัดระดับฝีมือการเจียระไน ( Finish Grading ) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่าหน้าขัดมันมีณุปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลมมีความเบี้ยวเล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่างไป
    การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อ เจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะ ทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น
4. น้ำหนัก ( Carat Weight )
   เพชรใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกะรัตในการคิดราคาซื้อขาย 1 กระรัตเท่ากับ 0.200 กรัม ซึ่งเป็นหน่วยมาตราฐานในการคิดน้ำหนักพลอยอื่นด้วย หรือ 1 ใน 5 ของกรัม และใน 1 กะรัต ประกอบด้วย 100 จุด หรือ ในที่ในวงการนิยมเรียกว่าสตางค์ ดังนั้น 50 จุดหรือ 50 สตางค์ จะเท่ากับครึ่งกะรัตเพชรจะมีค่าสูงตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปและค่าจะสูงมากขึ้น ตั้งแต่ 5 กะรัตขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคุณสมบัติ 4C ครบแล้วราคาจะยิ่งสูงมาก
วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ
  • ตรวจดูการกระจายแสงออก ( Dispersion ) โดยเปรียบเทียบกับเพชรเทียม
  • ตรวจสอบความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นเพชรร่วง
  • สังเกตุลักษณะขอบเพชร ซึ่งจะขัดไม่เรียบคงลักษณะ Waxy หรือ Granular ไว้บางครั้งอาจจะเห็นรอยแตกขนานของเพชรเป็
  • แบบขั้นบันได หรือ มีลักษณะของเส้นเหมือนหนวดอยู่ตามขอบของส่วนบนที่ติดกับขอบเพชร นอกจากนี้มีลักษณะตามธรรมชาติ
  • เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นร่องรอยของการเจริญเติบโตของผลึกหรือเกิดเป็นร่องขนานกันซึ่งเป็นผิวเดิมของผลึก
  • สังเกตุสีส่วนล่างของเพชรจะมีสีส้มและสีฟ้า
  • สังเกตุลักษณะมลทินส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหลี่ยม
  • สังเกตุลักษระรอยัด ( Polishing Mark ) ในเพชรจะมีหลายทิศทาง แต่ในเพชรเทียมจะไปในทิศทางเดียวกัน
  • การตรวจดูคุณภาพใช้ลักษระ 4C ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )
     เพชรเทียม หมายถึง เพชรที่มีส่วนประกอบทางเคมีต่างจากเพชรแท้ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่มนุษย์ทำเลียนแบบขึ้น เช่น แย๊ก ( Yag ) จีจีจี ( GGG ) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia ) สทรอนเซียมไทเทเนต ( Strontium Titanate)ฯลฯ รวมทั้งพลอยสังเคราะห์ไร้สีชนิดอื่นๆที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เพทาย เป็นต้น รายละเอียดของเพชรเทียม แต่ละชนิดจะไม่กล่าวถึง แต่จะให้ข้อสังเกตุไว้ดังนี้ คือ
  • ราคาต่ำกว่าปกติมาก
  • มีการกระจายของแสงดีมาก น้ำสวย แวววาวเล่นสีสรรมากกว่าเพชรแท้จนผิดสังเกต
  • ความแข็งน้อยกว่า ทับทิม ไพลิน เขียวส่อง ยกเว้นพวกแซปไฟร์สังเคราะห์ไร้สี บางชนิดอ่อนกว่าพลอยตระกูลควอรตซ์เสียอีกจึงทำให้เป็นรอยขีดข่วนและมัวเร็ว
  • ความถ่วงจำเพาะค่อนข้างสูง มักจะสูงกว่าเพชร ดังนั้นเพชรเทียมที่มีน้ำหนักเท่ากับเพชร จะดูมีขนาดเล็กกว่าเพชร
  • การเจียระไนเหลี่ยมไม่ละเอียดเท่าเพชรแท้
  • สีบนส่วนล่างของเพชรเทียมเช่น Cubic Zirconia จะมีสีส้ม และ Yag จะมีสีน้ำเงินอมม่วง
     ส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเขียวอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน เมื่อส่องด้วยแสงอุลตราไวโอเลตชนิดคลื่นสั้น สังเกตุเงาของเพชรเทียมแต่ละชนิดในน้ำยา Methylene Iodide

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ห้องฟังเพลง: จุดสะท้อนแรกที่เราต้องจัดการ


ห้องฟังเพลง คืออุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงส่วนใหญ่และมักโดนมองข้าม
ความผิดเพี้ยนของโทนเสียง อาการไร้มิติของเสียง ประมาณ 30-40% ล้วนเกิดจากสภาพ
Acoustic ของห้องฟังที่ไม่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการฟังเพลงหรือชมภาพยนตร์

ไม่ว่านักเล่นเครื่องเสียงจะพยายาม Upgrade อุปกรณ์เครื่องเสียง สรรหาแอมป์ สายไฟ
สายสัญญาณที่ราคาแพงขึ้นอย่างไร ประโยชน์ที่ได้รับต่อเงินที่เสียไป ไม่อาจเทียบได้กับ
การปรับปรุงคุณภาพ Acoustic ของห้องฟังด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันเลย

เสียงที่ตกกระทบครั้งแรกคือเสียงที่มีพลังงานสูงที่สุด หากเราไม่ "ลดทอน" / "ตัดตอน"
การสะท้อนของเสียงให้ได้มากที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรกของการกระทบ การแก้ไขหรือปรับสภาพ
ความสมดุลย์ของเสียงในห้องฟังเพลง จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก จะซื้อเครื่องเสียงใหม่
จะโมสาย โมแอมป์หรือไมอะไรเพิ่มเติม ไม่มีประโยชน์เพราะชุดเครื่องเสียงมันทำงานได้ไม่
เต็มประสิทธิภาพ

- เสียงลำโพงส่วนที่ไม่ได้พุ่งเข้ามาเราแต่ออกด้านข้าง (off-axis ) แล้ววิ่งเข้าหากำแพง
มันจะไม่ Flat เหมือนเสียงตรงลำโพง (on-axis)
- เสียงที่ไม่ Flat วิ่งเข้าหากำแพง ที่ดูดซับเสียงได้ไม่สม่ำเสมอทุกความถี่ คือบางช่วงก็ดูด
บางช่วงก็ไม่ดูด ผนังกำแพงก็ปรับแต่งเสียง
- เสียงที่ปรับแต่งจากคุณลักษณะการดูดซับเสียงของผนัง วิ่งกลับเข้ามาหาเสียงหลัก
- เสียงหลักจากลำโพง (ที่วิ่งตรงเข้าหาเรา) ผสมปนเปเข้าไปกับเสียงผนัง
- ก่อให้เกิดสภาพการณ์ที่เรียกว่า Comb Filtering คือความถี่ของเสียงไม่ตรงต่อต้นฉบับ
บางช่วงสูง บางช่วงความถี่ก็ต่ำ (amplitude มั่วไปหมด)















ที่มา http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=195507

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แม่ไก่สร้างเปลือกไข่ได้อย่างไร

 
ข้อมูลนี้มาจากหนังสือ On Food and Cooking: the Science and Lore of the Kitchen ของ Harold McGee (ISBN 0-684-84328-5) pp.59-61 ขอโมเมแปลให้เลยก็แล้วกัน

" ด้วยความที่ไข่หาได้ง่าย และเป็นที่คุ้นเคย เราจึงมักมองข้ามความสลับซับซ้อนของการพัฒนาที่เกิดขึ้นในการเดินทางจากรัง ไข่ถึงรังไก่ สัตว์ทุกชนิดทำงานอย่างหนักเพื่อจะสืบพันธุ์ แต่แม่ไก่ทำมากกว่าสัตว์อื่นเกือบทุกชนิด "ความพยายามในการสืบพันธุ์ (reproductive effort)" ซึ่งมีผู้ให้นิยามว่าหมายถึงสัดส่วนของน้ำหนักตัวที่อยู่ในรูปของตัวอ่อนและ เนื่อเยื่อที่ทำหน้าที่สนับสนุนของแม่ไก่นั้น มากกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่า กระบวนการนี้เริ่มต้นจากเซลล์ไข่ซึ่งยังพัฒนาไม่เต็มที่เป็นพันๆ เซลล์ ซึ่งเกิดมาพร้อมกับแม่ไก่แต่ละตัวในรังไข่ที่มีเพียงอันเดียวของมัน เมื่อแม่ไก่ถึงวัยที่จะวางไข่ได้ เซลล์ไข่เหล่านี้จะเริ่มเจริญจนสมบูรณ์ทีละเซลล์ (ถ้าเจริญทีละ 2 เซลล์จะเกิดเป็นไข่ที่มีไข่แดงแฝด) สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในการเจริญของเซลล์ไข่คือการสะสมไข่แดง (yolk) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไขมัน และสารประกอบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งโปรตีนบางส่วน ซึ่งสารต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นไข่แดงนี้สร้างขึ้นที่ตับ กระบวนการนี้ใช้เวลาหลายสัปดาห์ แต่จะเร็วที่สุดในช่วงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนที่ไข่จะตก [จากรังไข่ -- Nut] ถ้าแม่ไก่ได้รับอาหารวันละครั้งหรือ 2 ครั้งไข่แดงนี้จะมีลักษณะมีเม็ดสีเป็นชั้นๆ ระหว่างช่วงนี้ไข่แดงจะมีปริมาณมากจนทำให้เซลล์ไข่ดูเล็กลงไปถนัด ไข่แดงนี้จะมีสารอาหารเพียงพอสำหรับใช้ในระยะฟักไข่ 21 วัน

" การสร้างส่วนที่เหลือของไข่จะเริ่มต้นเมื่อไข่ตก เซลล์ไข่ซึ่งตอนนี้มีไข่แดงอยู่เต็มแล้วจะถูกปล่อยออกจากรังไข่ แล้วเข้าสู่ท่อนำไข่ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 ฟุต โดยผ่านทางปลายรูปกรวย ถ้าแม่ไก่นั้นได้รับการผสมพันธุ์ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สเปิร์มจะถูกเก็บไว้ที่ปลายบนของท่อนำไข่และจะเข้าผสมกับเซลล์ไข่ หลังจากใช้เวลาในบริเวณนี้ประมาณ 15 นาที เซลล์ไข่และไข่แดงจะเคลื่อนไปยังส่วนของท่อนำไข่ที่เรียกว่า magnum ซึ่งผนังของมันจะหลั่งโปรตีนของไข่ขาวออกมา ในไม่กี่ชั่วโมงไข่ขาวทั้ง 4 ชั้น ซึ่งมีความข้นและใสสลับกันก็จะห่อหุ้มไข่แดงไว้ ไข่ขาวชั้นแรกที่ข้นจะถูกบิดโดยรอยพับของผนัง magnum เกิดเป็น chalazae [ลองต่อยไข่มาดูจะเห็นเป็นสายขาวๆ 2 สายต่ออยู่กับไข่แดง -- Nut] 2 สายซึ่งจะเชื่อมไข่แดงเข้ากับเปลือกไข่ ทำให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางเสมอ ส่วนถัดมาของท่อนำไข่จะล้อมทั้งไข่แดงและไข่ขาวไว้ด้วยเยื่อบางๆ แต่แข็งแรง 2 ชั้น ซึ่งทั้ง 2 ชั้นนี้จะอยู่ติดกันเกือบทุกตำแหน่งยกเว้นที่ปลายข้างหนึ่งซึ่งภายหลังจะ เกิดถุงอากาศขึ้นเพื่อให้ลูกไก่ที่ฟักตัวมีอากาศหายใจเฮือกแรก เยื่อทั้ง 2 ชั้นนี้ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ชั่วโมง และใช้เพื่อป้องกันแบคทีเรีย

" 5 ชั่วโมงต่อมาจะใช้ในการปัมป์น้ำและเกลือจากผนังท่อนำไข่ผ่านเยื่อกั้นเข้า สู่ไข่ขาว ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างเปลือกไข่จะเกิดขึ้นในมดลูก (หรือ "ต่อมสร้างเปลือกไข่ -- shell gland") ใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง เปลือกไข่นี้ประกอบด้วย โปรตีน 4% และ แคลเซียมคาร์บอเนต 95% ซึ่งวัสดุเหล่านี้ก็หลั่งออกมาจากเนื้อเยื่อรอบๆ เหมือนกัน แคลเซียมส่วนใหญ่เอามาจากโครงสร้างคล้ายรังผึ้งในกระดูกของแม่ไก่เอง [ในคนเข้าใจว่าหมายถึง Haversian system แต่ไม่แน่ใจว่าในไก่เรียกเหมือนกันหรือเปล่า -- Nut] หน้าที่หลักของเปลือกไข่ก็คือการปกป้องแรงเชิงกล แม้ว่าตัวอ่อนจะพลอยได้แคลเซียมบางส่วนจากเปลือกไข่ด้วยเหมือนกัน เนื่องจากตัวอ่อนข้างในมีชีวิต ถึงมันจะหายใจไม่ได้ [ผู้เขียนใช้คำว่า breath ซึ่งย่อมเป็นคนละอย่างกับ cellular aerobic metabolism -- Nut] ก็ยังต้องการอากาศตลอดเวลา เปลือกไข่จึงต้องมีรูพรุนทำให้ออกซิเจนสามารถผ่านเข้าและคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านออกไปได้ สีของเปลือกไข่ขึ้นกับกรรมพันธุ์ ไม่ใช่อาหาร เช่นพันธุ์ Leghorn จะเป็นสีขาว Rhode Island Red เป็นสีน้ำตาล นกโรบิน เป็นสีฟ้าเป็นต้น ชั้นสุดท้ายที่ล้อมรอบเปลือกไข่คือ cuticle ซึ่งมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ซึ่งจะช่วยชะลอการสูญเสียน้ำ แม่ไก่จะออกไข่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเดียวกับที่ทำให้มดลูกหดรัดตัวและมีการหลั่งน้ำนมในสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ประมาณ 25 ชั่วโมงหลังตกจากรังไข่"

5 เรื่องน่ารู้ของไข่

5 เรื่องน่ารู้ของไข่

ไก่กับไข่อะไรจะเกิดก่อนกัน...?????

ถามทีไรเป็นอันต้องทะเลาะกันทุกทีไปแต่ว่าลองมาดู 5 เรื่องน่ารู้ของไข่ไก่กันดีกว่า

1. ทำไมไข่ทุกฟองไม่ฟักเป็นตัว
ไข่ที่ผลิตแต่ละฟองจะถูกปล่อยออกมาตามท่อรังไข่อย่างสม่ำเสมอ และแม่ไก่ก็พร้อมจะวางไข่ กระบวนการนี้จะดำเนินไปตลอด ไม่ว่าไข่จะมีการปฏิสนธิหรือไม่ก็ตาม นั่นคือเหตุผลที่ไข่ไก่ทุกฟองไม่ฟักเป็นตัว

2. ไข่สุก-ไข่ดิบ อะไรมีประโยชน์กว่ากัน
เราไม่ควรกินไข่ดิบ เพราะในไข่ดิบอาจจะมีเชื้อโรค และไข่ขาวดิบยังย่อยยากอีกด้วย หากเรากิน
ไข่ขาวดิบเข้าไป มันจะผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้ไปโดยไม่ได้ย่อย
ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึม
สารอาหารต่าง ๆ ได้
หากจะกินไข่ลวกควรลวกให้ไข่ขาวสุกเสียก่อน

3. ช่องวางไข่ในตู้เย็น ทำอายุไข่สั้น

เปลือกไข่มีลักษณะเป็นรูพรุนตลอดทั้งฟอง รูที่เปลือกมีขนาดเล็กมากเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผิวไข่ที่เราเห็นจึงดูเรียบเนียน และเพราะเปลือกมีรูพรุนทำให้ไข่สามารถดูดซึมกลิ่นต่าง ๆได้ง่าย จึงไม่นิยมเก็บไข่ไว้กับอาหารที่มีกลิ่นฉุน อย่างกะปิ น้ำปลา การเก็บไข่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นจะเหมาะกว่าเก็บที่อุณหภูมิปกติ และควรใส่ในภาชนะแล้ววางไว้บนชั้นวางธรรมดาดีกว่าใส่ในช่องวางไข่ที่ฝาผนังตู้เย็นซึ่งจะมีอุณหภูมิที่สูงทำให้ไข่เสียเร็วกว่าที่ควร

4. เก็บไข่ควรนำด้านแหลมลง
การวางไข่โดยเอาด้านแหลมลงและให้ด้านป้านอยู่บน ไข่แดงที่มีน้ำหนักเบากว่าไข่ขาว แม้จะพยายามลอยตัวขึ้นบนแต่ก็จะปะทะกับโพรงอากาศที่อยู่ทางด้านป้านไม่ปะทะกับเปลือกไข่ ไข่แดง
จึงอยู่กลางใบหากเราเปลี่ยนเอาทางด้านป้านลงไข่แดงจะลอยขึ้นไปติดที่เปลือกไข่ทำให้ไข่แดงแตกง่ายเวลาตอก
การเก็บไข่จึงควรนำด้านแหลมลงทุกครั้ง


5.
ไข่ไม่ได้เป็นแค่อาหาร
ไข่ขาว นำมาทำเป็นส่วนประกอบของยางบางชนิด ทำสีทาสิ่งของ ทำกาว ทำหมึกพิมพ์ ช่วยย้อมหนัง กำจัดสิวเสี้ยนไข่แดง ทำสบู่ สี แชมพู ตกแต่งหนังสัตว์ บำรุงผิวเปลือกไข่ ทำอาหารสัตว์ ปุ๋ย และนำไปทำสิ่งประดิษฐ์ได้อีกหลายสิบอย่าง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการจับและเริ่มเลี้ยงมด

การเลี้ยงออกเป็นสองวิธีดังนี้ครับ
1. การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาเพียงแค่ตัวเดียว
P1000113
เป็นการเลี้ยงมดโดยเริ่มจาก จับนางพญามาเพียงแค่ตัวเดียว ซึ่งวิธีการจับก็คือการหาจับเอาตามช่วงฤดูผสมพันธุ์ของมดสายพันธุ์ที่จะ เลี้ยงครับโดยข้อมูลของฤดูผสมพันธุ์ของมดในแต่ละสายพันธุ์ ผมจะพยายามหาข้อมูลแล้วเอามาลงกันให้ได้อ่านกันมากที่สุดครับ

การเลี้ยงแบบนี้นั้น มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี:
  • เรา จะได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของรัง รวมถึงพฤติกรรมของนางพญาเรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มแรกเลยจริงๆ เพราะนางพญาที่เราจับมานั้น พูดง่ายๆว่ายังไม่เคยผ่านการวางไข่หรือสร้างอาณาจักรที่ไหนมาก่อนแน่นอน
  • อีก ข้อก็คือเรามั่นใจได้เลยว่า นางพญามดที่เราจับมานั้น จะอยู่กะเราไปอีกนานถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เนื่องจากดังที่กล่าวมาแล้วว่า นางพญาที่เราจับมานั้น ไม่เคยผ่านการสร้างอาณาจักรที่ไหนมาก่อน ดังนั้นมันจึงเหมือนกับเพิ่งเริ่มวิถีชีวิตของมันสดๆใหม่ๆ ต่างจากนางพญาที่เราไปจับมาจากรังที่มีอยู่ ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เค้าสามารถจะอยู่กะเราได้อีกระยะเวลาเท่าไหร่ตามอายุขัยของเค้าเอง
  • ไม่ ต้องกังวลเรื่องการออกแรงขุดดิน บาดแผลเนื่องจากโดนมดต่อย กัด ฯลฯ อีกมากมายในการไปหามด เพราะว่าสิ่งที่เราต้องทำคือเพียงแค่ หาช่วงฤดูผสมพันธุ์ แล้วก้มตามพื้นหานางพญาที่ผ่านการผสมพันธุ์ และสลัดปีกแล้วเท่านั้น !!
  • เนื่อง จากจะเป็นวิธีการเลี้ยงที่ค่อยๆริเริ่มไปทีละนิดจากนางพญาเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณน้ำ หรืออาหารที่ต้องให้ในระยะแรก รวมถึงการรักษาความสะอาดทำได้ง่าย เมื่อเทียบกับรังขนาดใหญ่
ข้อเสีย:
  • การ รอคอย !! รอแล้วรออีก สำหรับคนใจร้อนที่อยากจะต้องการเห็นการดำรงชีวิตของมดแบบรวดเร็ว การหาอาหาร ศึกษาสังคมของมด ฯลฯ เค้าอาจจะต้องรอคอยเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในระยะแรกสำหรับการวางไข่ของนางพญา กว่าไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน (Larvae) กว่าตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้ (Pupae) กว่าดักแด้จะฟักออกมา (eclose) แล้วกว่าจะรอจนมดงานโตสามารถหาอาหารได้ แล้วขยายอาณาจักรต่อไป ซึ่งสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือ ใจเย็นๆ และรอเท่านั้น...
  • โอกาส การจับนางพญาที่ไม่ได้รับการผสม จากประสบการณ์ที่ผมผ่านมา การจับนางพญาในช่วงฤดูผสมพันธุ์นั้นไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่านางพญาที่เราจับมานั้นได้รับการผสมเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ว่านางพญาที่เราจับมาจะไม่มีปีกแล้วก็ตาม แต่ในทางเดียวกัน นางพญาที่ยังมีปีกอยู่ก็สามารถพบว่าได้รับการผสมและสามารถวางไข่ได้เช่น เดียวกัน นอกจากหนี้ ในหลายๆคนอาจสับสนระหว่างนางพญามดกับแมลงเม่า ซึ่งจะบินมาปนๆกันแถวหลอดไฟช่วงฤดูผสมพันธุ์ จึงต้องสังเกตดีๆในการจับ
  • การ จัดที่อยู่อาศัยให้เข้ากับสายพันธุ์ที่จับมานั้น ทำได้ยาก เนื่องจากนางพญาที่เราเจอในช่วงผสมพันธุ์นั้น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ารังเดิมเค้าอยู่แถวไหนมาก่อน ลักษณะรังเป็นอย่างไร ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เราจะจัดรัง กำหนดความชื้น อุณหภูมิ ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตให้กับนางพญาที่เราทำการจับมา
  • การ ที่จะไม่รู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่นางพญาจะออกไข่ชุดแรก การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาตัวเดียวยังอาจทำให้เราต้องรอเก้อได้ เนื่องจาก กรณีแรกคือนางพญาไม่ได้รับการผสมซึ่งจะไม่มีการออกไข่เลย ส่วนอีกกรณีนึงก็คือ นางพญาเลือกที่จะเลื่อนช่วงการออกไข่ออกไปฤดูอื่น ซึ่งกว่าจะออกไข่ก็อาจต้องรอเป็นเดือนๆกันเลย ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ อาจทำให้เราต้องรอเป็นระยะเวลานานมาก เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่านางพญาที่เราจับมานั้นจะเป็นแบบกรณีไหน
อย่างไรก็ตาม ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเลี้ยงมดโดยเริ่มจากนางพญาแค่ตัวเดียวคือเริ่มจากเลี้ยงในหลอดทดลอง (Test tube) ดังรูปครับ
tube
35d48b33d480487d80bb777a658ef64a

โดยมีวิธีการทำดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
- หลอดทดลอง
- สำลี
- น้ำ
- ปากกาหรือไม้ยาวๆสำหรับดันสำลี
- กระดาษทิชชู่

เมื่อ ได้อุปกรณ์ครบแล้ว จึงเริ่มเติมน้ำลงในหลอดทดลองให้เต็ม จากนั้นนำสำลีอุดเข้าที่ปลายด้านบนหลอดทดลองให้แน่นพอที่เราจะสามารถกดลงไป ได้ จากนั้นจึงกดลงไปจนถึงระดับที่เราต้องการให้เหลือน้ำไว้ (ประมาณ 1 ใน 3 หลอดทดลอง) แล้วจึงเทน้ำที่เกินออกจากหลอดทดลอง

จากนั้นนำปากกาหรือ ไม้ยาวพันด้วยกระดาษทิชชู่ เช็ดภายในให้แห้ง แล้วเราก็มาเริ่มทดสอบว่าน้ำจะขังอยู่ภายในได้รึเปล่า โดยการคว่ำหงายหลอดทดลองไปมา แล้วสังเกตว่าน้ำจะไหลออกจากสำลีมาท่วมหรือเปล่า เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำนางพญามาใส่ไว้ แล้วเอาสำลีอุดอีกด้านได้เลยครับ
ข้อควรระวัง
การ เอาสำลีออกจากหลอดทดลองค่อนข้างทำได้ลำบาก และอาจทำให้หลอดทดลองแตกได้ เพราะฉะนั้นควรใช้ที่คีบ ค่อยๆดึงสำลีออกมา ไม่ควรเอาไม้แหย่เข้าไปเพื่อเขี่ยสำลีออกมา

เมื่อเรานำนางพญาใส่หลอด ลองแล้ว จึงหาอะไรมาปิดให้มืดหรืออาจจะใช้กระดาษ cellophane สีแดงปิด (แต่ในมดบางสายพันธุ์อาจไม่สามารถทำได้ครับ) เพื่อให้นางพญาไม่รู้สึกเครียด และเริ่มวางไข่ครับ โดยขณะที่นางพญาวางไข่ เราอาจไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มเลย เพียงแต่คอยดูสำลีที่ชุ่มไปด้วยน้ำว่ามีการขึ้นราหรือเปล่าครับ เมื่อไข่ฟักเป็นมด (ซึ่งปกติใช้เวลาประมาณ 20 วัน ถึง 1 เดือนในมดชุดแรก) จึงเริ่มให้อาหารได้ ลูกๆมดงานจึงจะนำอาหารไปป้อนแก่นางพญาเองครับ เมื่อจำนวนมดงานเริ่มเยอะมากขึ้นพอประมาณ จึงสามารถย้ายเข้าสู่ที่เลี้ยงแบบต่างๆตามใจชอบได้ครับ ^^

2. การเลี้ยงโดยเริ่มจากรังที่มีขนาดใหญ่แล้ว
7614b413015cb8b7fd43ad643d171252_876
เป็น การเลี้ยงมดโดยการหานางพญาจากรังตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสอยรังบนต้นไม้ ขุดรังบนดิน แซะใต้ท่อนไม้ ฯลฯ อีกหลายวิธี โดยเป็นการจับมาทั้งนางพญา และตัวลูกๆมดงานมาด้วย ซึ่งในการเลี้ยงแบบนี้นั้นมีข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ครับ
ข้อดี:
  • ไม่ ต้องมานั่งรอว่าเมื่อไหร่ไข่จะฟัก เมื่อไหร่จะมีมดงานออกมาทำงานกัน เพราะว่า รังที่เราจับมานั้นมีมดทุกวรรณะอาศัยอยู่ เราจึงจะเห็นพวกเค้าออกล่าด้วยกันเป็นกลุ่ม ปกป้องรัง สื่อสารกัน และอาจจะพัฒนาสร้างรังเป็นแบบแปลกๆกันไปตามสายพันธุ์เพื่อที่จะอำนวยความ สะดวกแก่นางพญาของพวกเค้าเอง
  • เรา จะสามารถเห็นวรรณะ และลักษณะต่างๆของมดสายพันธุ์ที่เราจับมาแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในมดที่เป็น Polygynous เราอาจจะได้นางพญามามากกว่า 1 ตัวในการขุดหารัง หรือมดสายพันธุ์ที่มีหลายวรรณะที่เราเรียกว่า Polymorphic คือมีทั้งมดงานหลายขนาด มดทหารหลายขนาด ฯลฯ หรือแม้แต่เราอาจจะพบกับมดตัวเมียที่เพิ่งฟักออกมาจากไข่หรือที่เราเรียกว่า Female Alates (Virgin queens) หรือมดตัวผู้ (Male Alates) ซึ่งเป็นมดที่จะฟักออกมาในช่วงฤดูผสมพันธุ์และจะไม่ออกจากรังจนกว่าจะถึง เวลาผสมพันธุ์ (แต่ผมแนะนำว่าถ้าเจอควรจะปล่อยพวกเค้าไปครับ เพื่อให้เค้าได้ไปผสมพันธุ์และสร้างรังต่อไป)
  • เรา จะเห็นลักษณะการทำงานของมดงานที่เราจับมาครับ ซึ่งในบางสายพันธุ์ อาจแบ่งแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจน เช่น มดงานขนาดเล็ก (Nursemaid) คอยเลี้ยงดูไข่และตัวอ่อน, มดงานขนาดกลาง (Average workers) คอยออกหาอาหาร และมดทหาร หรือมดงานขนาดใหญ่ (Soldier, Major ants) ที่ลักษณะหัวโตๆ จะคอยคุ้มครองรัง
  • การ ออกหาจับมดทั้งรังนั้น นอกจากเราจะได้มดมาทั้งรังสำหรับเลี้ยงแล้ว เรายังได้ศึกษาถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกเค้าด้วยว่าเค้าอยู่ลักษณะแบบไหน สภาพรังของเค้าเป็นอย่างไร อุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งเราอาจจะใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ มาออกแบบลักษณะรังที่เลี้ยงให้เค้ากับลักษณะการดำรงชีวิตของมดสายพันธุ์ นั้นๆได้ดีที่สุด
ข้อเสีย:
  • ขนาด และการพัฒนาการของรัง อาจจะคงที่ หรือเพิ่มเล็กน้อยถ้าเปรียบเทียบกับการเริ่มเลี้ยงเพียงนางพญาแค่ตัวเดียว
  • ไม่ มีอะไรยืนยัน และเราจะไม่รู้เลยว่า รังที่เราฝ่าดงมด ฝ่าขวากหนามในป่า สัตว์มีพิษ เข้าไปขุด สอย ฯลฯ นั้น เราจะเจอนางพญามดหรือไม่ ซึ่งหลายๆคนอาจจะประสบปัญหานี้ และถือว่าเหนื่อยและท้อเลยทีเดียวถ้าหากเราไม่สามารถหาตัวนางพญาได้
  • สมมุติ ว่าเราพบนางพญา และสามารถจับมาเลี้ยงได้ แต่ก็ยังไม่มีอะไรยืนยันอยู่ดีว่า นางพญาที่เราจับมานั้น จะมีอายุขัย และสามารถอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่ บางที อาจะเป็นรังที่สร้างมานานแล้ว และเป็นนางพญาที่แก่ ใกล้เกษียณปีสุดท้ายแล้ว พอเราจับมา เค้าก็สามารถออกไข่ได้อีกเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น!!
  • การ ออกไปขุดรังในป่าตามธรรมชาติถือว่าเป็นเรื่องอันตรายแต่ก็อาจจะเป็นทั้งข้อ ดีและข้อเสียสำหรับบางคนที่อาจถือว่าเป็นเรื่องท้าทายที่เราจะสามารถเจอมด สายพันธุ์แปลกๆได้
  • ผู้ ที่เริ่มเลี้ยงใหม่ๆอาจจะมีปัญหากับขนาดของรังที่เราจับมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ ปริมาณอาหาร หรือน้ำให้ไม่พอ ให้มากเกินไป ฯลฯ นอกจากนี้อาจพบปัญหาเกี่ยวกับการดูแลรักษารัง เนื่องจากรังขนาดใหญ่ จะต้องมีพื้นที่ให้บรรดามดได้ออกมาเดิน หาอาหาร (Foraging Area) หรือเพื่อขนสิ่งปฏิกูลต่างๆ สมาชิกของพวกมันที่ตายแล้ว ออกมาทิ้งไว้ภายนอก โดยถ้าดูแลรักษาไม่ดีแล้ว ปัญหาที่อาจตามมาคือ รังขึ้นรา และนางพญาอาจตายได้
ทาง เลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเลี้ยงแบบนี้คือ ต้องมีรังที่ค่อนข้างใหญ่ และเหมาะสมต่อการเลี้ยงครับ นอกจากนี้อาจจะต้องมี Foraging Area ต่อออกมาเพื่อให้มดงานทั้งหลายได้ออกมาหาอาหารเข้าไปในรังเพื่อเป็นอาหารต่อ นางพญาของพวกเค้าด้วย
102-20050222bob.r_134

ความรู้เบื้องต้นก่อนการจับมด

ในบทความ นี้ เราจะมาพูดถึงสิ่งต่างๆที่ควรรู้ก่อนการจับมดกันครับ โดยก่อนที่จะทำการจับมดนั้น แน่นอนว่าเราต้องหาความรู้ในหลายๆอย่าง ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่จำเป็นๆ ก็มีดังนี้ครับ
1. การศึกษาสายพันธุ์ของมดในบริเวณที่จะทำการจับ
resizeofimg_4899a.300a

สิ่ง แรกที่เราต้องทำก่อนเลยก็คือ การเดินสำรวจตรวจสอบ ณ บริเวณที่เราต้องการจะจับมดนั่นเองครับ ซึ่งเราต้องหาข้อมูลให้ได้ก่อนว่า มด ในบริเวณที่เราจะจับนั้น มีสายพันธุ์อะไรบ้าง ลักษณะรูปร่างแบบไหน รวมถึงสายพันธุ์ที่เราเจอนั้น มีลักษณะการดำรงชีวิตเช่น ฤดูสืบพันธุ์ ที่อยู่อาศัย เป็นอย่างไร โดยอาจจะหาข้อมูลคร่าวๆจากอินเทอร์เนตเป็นต้น

ตัวอย่างในการทำเช่น แถวๆบริเวณที่เราจะจับนั้น มี
มดแดงหรือมดส้ม อาศัยอยู่สายพันธุ์: Oecophylla smaragdinaชื่อเรียกทั่วไป: Weaver antลักษณะคร่าวๆ: ตัวสีแดงออกส้ม ขายาวที่อยู่อาศัย: ทำรังอยู่ตามต้นไม้ฤดูสืบพันธุ์: ช่วงเดือน กพ. ถึง เดือน เม.ย. โดยประมาณ

เมื่อเราได้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือ
2. ศึกษาพฤติกรรมคร่าวๆของมด เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยง
3352982154_6912dd5493

แน่ นอนครับ ถ้าเรารู้เพียงแค่ข้อมูลข้างต้นแล้วจับมาเลี้ยงเลย โอกาสสำเร็จในการเลี้ยงจะค่อนข้างน้อย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องหาเพิ่มเติมก็คือ พฤติกรรมของมัน ก่อนที่จะจับมันมาเลี้ยงโดยผมขอแบ่งพฤติกรรมของสายพันธุ์มดออกเป็นสองแบบดัง นี้ครับ
2.1 ลักษณะเฉพาะของมดในสายพันธุ์นั้น

สามารถแบ่งหลักๆออกเป็น 2 ประเภทครับคือ

Polygynous: ภาย ในมด 1 รัง สามารถมีนางพญาได้มากกว่า 1 ตัวช่วยกันออกไข่ ซึ่งแน่นอนครับ เราอาจพบนางพญาได้มากกว่า 1 ตัวใน 1 รัง และทำการจับมาอยู่ร่วมกันได้เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยง

Monogynous: ภายในมด 1 รัง จะมีนางพญาดูแลแค่เพียง ตัวเดียว
2211974567_ee4606b493_m
อย่าง ไรก็ตาม มดบางสายพันธุ์จะถูกเรียกว่าเป็น Pleometrosis ซึ่งมีลักษณะคือ สามารถมีนางพญาได้มากกว่า 1 ตัวใน 1 รัง เพียงระยะเวลาช่วงแรกๆช่วยกันเลี้ยงไข่และตัวอ่อน แต่หลังจากนั้น นางพญาจะเกิดการต่อสู้และฆ่ากันเองจนเหลือเพียงตัวเดียว

ลักษณะเฉพาะ เหล่านี้ มีประโยชน์กับเราในเวลาออกไปจับมดตรงที่ เวลาเราหานางพญา ถ้าเป็นสายพันธุ์ Polygynous จะสามารถหานางพญาได้ง่าย และเราสามารถหาได้มากกว่า 1 ตัว และจับมารวมอยู่ด้วยกันได้เลย แต่ถ้าเป็น Monogynous เราจะรู้ว่าโอกาสที่เราจะหานางพญาได้นั้นก็ค่อนข้างยาก เป็นต้น

2.2 วัฏจักรการเติบโต
5a2a64e5b39030693c07859ff183a886

ต่อจากลักษณะเฉพาะ
เราก็ต้องมาดูว่ามดที่เราจะจับมาเลี้ยงนั้นมีการเติบโตอย่างไร โดยผมแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ

Monomorphic: ในรังมดสายพันธุ์ที่เป็น Polymorphic นั้นจะมีการแบ่งวรรณะแค่ชั้นเดียวเท่านั้นคือ มดงาน (workers)

Polymorphic: มีการแบ่งวรรณะมากกว่า 1 ชั้นคือ อาจมีมดทหาร (Soldier) มดงาน (Worker) เป็นต้น ซึ่งอาจจะแยกเป็นทั้ง Major Soldier, Minor Soldier, Major worker และ Minor worker ด้วยครับ

นอกจากนี้ เรา ต้องศึกษาวงจรชีวิตคร่าวๆของมดสายพันธุ์ดังกล่าวด้วยเช่นจากไข่ที่ฟักออกมา แล้ว จะกลายเป็นอะไรต่อไปก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย เป็นต้น
19a9d9691f8efbd0e99e9211f6881bb0

โดย สิ่งที่เราจะได้จากการทำขั้นตอนนี้ก็คือ เพื่อช่วยในการสรรหาที่เลี้ยงที่สามารถเข้ากับมดเรามากที่สุด เนื่องจาก วัฏจักรมดบางสายพันธุ์อาจมีการสร้าง Cocoon และต้องมีการบ่มเพื่อให้ตัวอ่อนฟักออกมาได้ ดังนั้นรังที่จะใช้เลี้ยงอาจจะต้องมีส่วนที่อุ่น และแห้ง สำหรับ Cocoon และส่วนที่ค่อนข้างชื้น สำหรับตัวอ่อน และไข่ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการขุดรังจับเนื่องจากรังมดที่เต็มไป ด้วยมดทหารนั้น ค่อนข้างอันตรายในกรณีที่มดเข้ามารุมทำร้ายผู้จับด้วย

จากตัวอย่างทางด้านบน เมื่อนำมาศึกษาเพิ่มเติมตามข้อ 2 แล้ว จะได้ข้อมูลเพิ่มดังนี้
มดแดง หรือมดส้ม
สายพันธุ์: Oecophylla smaragdinaชื่อเรียกทั่วไป: Weaver antลักษณะคร่าวๆ: ตัวสีแดงออกส้ม ขายาวที่อยู่อาศัย: ทำรังอยู่ตามต้นไม้ฤดูสืบพันธุ์: ช่วงเดือน กพ. ถึง เดือน เม.ย. โดยประมาณลักษณะเฉพาะ: Monogynous (1 รัง 1 นางพญา)การเติบโตของไข่: Monomorphic (มีแค่วรรณะเดียว)วัฏจักร: ไข่ > ตัวอ่อน > ตัวเต็มวัย
3. ศึกษาลักษณะที่อยู่อาศัยของมดในสายพันธุ์นั้น
3086946338_afc83e1f19

เพื่อ จัดสถานที่และตกแต่งอุปกรณ์การเลี้ยง ให้คล้ายกับลักษณะที่อยู่อาศัยของมดชนิดนั้นๆมากที่สุด โดยสิ่งที่จำเป็นจะต้องหาข้อมูล และศึกษาคือ
ความชื้น: มดบางสายพันธุ์ต้องการความชื้นสูงในตัวรัง ในทางกลับกันบางสายพันธุ์ต้องการความแห้ง ข้อมูลตรงนี้จะทำให้เรารู้ถึงปริมาณน้ำที่เราควรจะหยดลงไปในรังเพื่อเพิ่ม ความชื้นในแต่ละวันของมดในแต่ละสายพันธุ์
อุณหภูมิ: มด ส่วนใหญ่สามารถอยู่ในอุณหภูมิปกติในบ้านเราได้ จึงไม่น่ามีปัญหาอะไรมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม บางสายพันธุ์ต้องการความอบอุ่นที่ใช้สำหรับการบ่ม Cocoon ของมัน
ในดินหรือบนต้นไม้: มดบางสายพันธุ์ทำรังลงไปลึกในดิน บางสายพันธุ์ตามโคนต้นไม้ และบางสายพันธุ์บนต้นไม้ใหญ่เป็นต้น
อาหาร: ลักษณะอาหารที่มดขนเข้าสู่รังเช่นเศษอาหาร แมลงต่างๆ ฯลฯ
จากตัวอย่างทางด้านบน เมื่อนำมาศึกษาเพิ่มเติมตามข้อ 3 แล้ว จะได้ข้อมูลเพิ่มดังนี้
1f8e5b159b444f97516dff9a1b41f694

มดแดง หรือมดส้ม
สายพันธุ์: Oecophylla smaragdinaชื่อเรียกทั่วไป: Weaver antลักษณะคร่าวๆ: ตัวสีแดงออกส้ม ขายาวที่อยู่อาศัย: ทำรังอยู่ตามต้นไม้ฤดูสืบพันธุ์: ช่วงเดือน กพ. ถึง เดือน เม.ย. โดยประมาณลักษณะเฉพาะ: Monogynous (1 รัง 1 นางพญา)การเติบโตของไข่: Monomorphic (มีแค่วรรณะเดียว)วัฏจักร: ไข่ > ตัวอ่อน > ตัวเต็มวัยความชื้นและอุณหภูมิ: พอประมาณ แต่ไม่ชอบแห้งลักษณะรัง: ทำรังจากการห่อใบไม้เป็นก้อนบนต้นไม้ใหญ่อาหาร: สัตว์หรือแมลงขนาดเล็ก เศษอาหารตามโคนต้นไม้

อย่าง ไรก็ตาม ในบางสายพันธุ์ อาจต้องหาข้อมูลเฉพาะและเทคนิคในการจับเพิ่มเติมในแต่ละสายพันธุ์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น บนต้นไม้มีรังมดส้มอยู่ประมาณ 5 รัง เราอาจคิดว่าในรังที่อยู่บนต้นไม้นั้น ต้องมีนางพญาอยู่แน่ๆ 1 ตัวในแต่ละรัง แต่ที่จริงแล้ว ทั้ง 5 รังนั้นคือ 1 รังใหญ่ ที่ลูกๆของมันแยกออกมาสร้างเพื่อหาอาหาร แต่รังที่มีตัวนางพญานั้นมีอยู่รังเดียวใน 5 รังนั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นรังที่อยู่บนสุดในจำนวนทั้ง 5 รังนั้นนั่นเอง

เป็นยังไงบ้างครับ ... ทีนี้เราก็เตรียมพร้อมขั้นนึงแล้วสำหรับการที่เราจะเริ่มล่ามดกัน ^^

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิดีโอ แนะนำวิธีการตัดกระจกสำหรับผู้เริ่มต้น




เตรียมน้ำมันหล่อลื่นอะไรก็ได้
เพื่อให้กรีดได้ลื่นๆ เช่น

น้ำมันจักรซิงเกอร์ หรือ น้ำมันสน

น้ำมันจะทำให้รอยกรีดราบเรียบ 





ที่มา
http://thaimisc.pukpik.com
http://www.thaicarpenter.com



ทำไมหน้าหนาวมืดเร็ว หน้าร้อนมืดช้า





แกนโลกจะเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ โดยในรอบ 1 ปี จะมีการแบ่งโซนการหันเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์เป็น 12 โซน ก็คือ 12 เดือน

โดยเริ่มจากเดือน มกราคม จะหันเอียงโซนใต้ของโลกเข้าหาดวงอาทิตย์ บรรยากาศในโซนนั้น เช่น ทวีปอันทากติก (Antarctic) ก็จะอุ่น คือหน้าร้อน จะเห็นพระอาทิตย์เกือบ 24 ชั่วโมง 

ส่วนทางเหนือของโลก ที่เรียกว่า ขั้วโลกเหนือ (North Pole) จะไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะความกลมของโลกระดับเส้นศูนย์สูตรบดบัง แต่ยังพอเห็นความสว่างเพียงแค่รำไร แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์ 

เช่นเดียวกับประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ก็จะเห็นพระอาทิตย์น้อยลง ขึ้นอยู่กับว่า ไกล หรือใกล้กับเส้นศูนย์สูตรเท่าใด เช่น ประเทศในแถบเอเซีย อย่างเช่น ประเทศไทย จะเริ่มเห็นพระอาทิตย์ประมาณ 6 โมงครึ่ง พระอาทิตย์ตก 6 โมง

ประเทศทางแถบยุโรป 
พระอาทิตย์จะขึ้น 10 โมงเช้า พอ 3 โมงเย็นก็จะหายไปแล้ว 
เดือนกุมภาพันธ์ พระอาทิตย์ก็จะมาอยู่แถว ๆ ออสเตรเลีย (Australia) 
มีนาคม ก็จะมาอยู่เหนือประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) 
เมษายน ก็จะมาอยู่เหนือประเทศไทย (Thailand) 
พฤษภาคม ก็จะไปอยู่เหนืออินเดีย (India) 
มิถุนายน ก็จะอยู่เหนือเมืองจีน (China) 
ทางโน้นก็ร้อนตับแตก ตี 3 พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว กว่าจะลับฟ้าก็ 4 ทุ่ม

ส่วนที่ขั้วโลกเหนือ ก็จะเห็นพระอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง 
ไม่เหมือนขั้วโลกใต้ เพราะแกนโลกเอียง 11 เปอร์เซ็นต์ แล้วแนวพระอาทิตย์ก็จะไล่ลงใต้อีก ผ่านประเทศไทยอีกครั้งก็เดือนสิงหาคม แต่ตอนนั้นมันไม่ร้อนบ้าเลือดอย่างเดือนเมษาเพราะเป็นหน้าฝน ยังพอมีน้ำฝนและเมฆบดบังแสงอาทิตย์ได้บ้าง ลองเอาส้มหรือลูกบอล มาทดลองกับหลอดไฟดู เอาแกนใต้หันเข้าหา และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นแกนเหนือ ในขณะที่หมุนลูกทรงกลมนี้ไปเรื่อย ๆ จะได้คำตอบว่า ทำไมหน้าหนาว กลางคืนถึงสั้นกว่ากลางวัน และหน้าร้อนกลางวันถึงยาวกว่ากลางคืน

ที่มา http://new.kanzuksa.com