วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

sun outage

 
sun outage เป็น ปรากฏการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อโลก ดาวเทียม และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทำให้จานสายอากาศของสถานีภาคพื้นดิน รับสัญญาณจากดวงอาทิตย์(ที่เป็นแหล่งกำเหนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลัง งานขนาดมหาศาล) ซึ่งจะผลิตสัญญาณทุกย่านความถี่ เกิดขึ้นเป็นสัญญาณรบกวน ปะปนเข้ามากับสัญญาณสื่อสารข้อมูล ที่สถานีภาคพื้นดินนั้นๆรับจากดาวเทียม ทำให้สถานีสื่อสารภาคพื้นดิน ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเหตุการณ์ sun outage จะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 5-10 วัน วันละประมาณ 15 นาที และการเกิดปรากฏการ sun outage นี้จะเกิดกับสถานีดาวเทียมที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีภาคพื้นดินบนพื้นโลก

Sun Outage จะเกิดขึ้น 2 รอบในหนึ่งปี ได้แก่ ช่วงเดือนมีนาคม (Summer) และช่วงระหว่างเดือนกันยายนกับตุลาคม (Fall) (Sun Outage Phenomenon)

เมื่อเกิด เหตุการณ์นี้ จะทำให้เครื่องรับดาวเทียม ชิปไปชิปมา ไฟสัญญาณ ซิ้งค์ จะกระพริบๆ เสียงจะดังขาดๆหายๆ แล้วเสียงก็จะหายไป ปล่อยไว้ประมาณ 15 นาที เมื่อมุมของโลก เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงกับดวงอาทิตย์ ก็จะรับสัญญาณได้ตามปกติ

ผลกระทบเมื่อเกิด Sun Outage
เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) จะรับสัญญาณจากดาวเทียมไม่ได้ชั่วคราว โดยมีปัจจัยหลักดังนี้
ตำแหน่ง สถานที่ (Location) ผู้ที่ใช้จานรับสัญญาณจากดาวเทียมจะได้รับผลกระทบทุกราย ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับดาวเทียมทุกดวง แต่เกิดในเวลาที่ต่างกันไป ตามตำแหน่งของดาวเทียม และตำแหน่งที่รับสัญญาณ
ตัวอย่างเช่น ผู้ชมรับสัญญาณโทรทัศน์จาก ไทยคม 5 ที่ประเทศเวียดนามจะได้รับผลกระทบก่อนประเทศไทย หรือที่จังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบก่อนกรุงเทพฯ เป็นต้น
• ขนาดของจานรับสัญญาณ (Antenna Size)
จานรับใบเล็กจะได้รับผลกระทบมากกว่าจานที่มีขนาดใหญ่กว่า (เปรียบเทียบที่สัญญาณที่ความถี่เดียวกัน)


วิธีการแก้ปัญหาในการรับสัญญาณ
เนื่องจาก Sun Outage เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เกิดขึ้นกับทุกท่านที่รับสัญญาณใช้งานจากดาวเทียม แต่เมื่อพ้นช่วง Sun Outage ไปก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) บางรุ่นอาจจะมีปัญหาในการรับสัญญาณ ถ้าหลังจากหมดช่วงการเกิด Sun Outage ไปแล้วยังไม่สามารถรับสัญญาณได้ตามปกติ ขอแนะนำให้ทำการเริ่มต้นเครื่องรับสัญญาณใหม่ (Reset)


ตัวอย่างบางความถี่บนดาวเทียมไทยคม 5 ที่ความถี่ต่ำได้รับผลกระทบนานกว่าที่ความถี่สูง เช่น เช่น C-Band ได้รับผลกระทบนานกว่า Ku-Band
C-Band

Tp. 4E = 3.545 GHz
Tp. 5E = 3.585 GHz
Tp. 5G = 3.600 GHz
Tp. 7V = 3.958 GHz
Tp. 2G = 3.480 GHz
Ku-Band

Tp. 9H = 12.355 GHz
Tp. 10H = 12.313 GHz
Tp. 11V = 12.272 GHz


ที่มา 
http://www.baanmaha.com
http://www.livetv.co.th
http://th.wikipedia.org

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

รายละเอียดการลดภาษีนำเข้าระหว่างไทยและจีน




ภายใน 1 มกราคม 2553 สินค้าจีนส่วนมากที่ส่งมาไทยจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเลย และในทางกลับกัน สินค้าส่งออกจากไทยไปจีนส่วนมากก็จะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี entry นี้มีรายละเอียด


ไขข้อกระจ่าง: การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีสินค้าอาเซียน-จีน 
  • สาระสำคัญของข้อตกลงการค้าเสรีสินค้าระหว่างอาเซียนกับจีน 
อา เซียนและจีนได้บรรลุข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีนและ รัฐมนตรีการค้าอาเซียน-จีนได้ลงนามความตกลงการค้าสินค้าในการเปิดเสรีอา เซียน-จีนในช่วง ของการประชุมผู้นำอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 โดยกำหนดให้ข้อตกลงฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2548 ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก 6 ประเทศและอีก 4 ประเทศ สมาชิกใหม่ที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงฯ ดังกล่าว ภายใต้กรอบความตกลงฯได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีสินค้าส่วนแรกก่อนที่จะสรุป ความตกลงด้านสินค้าไทยนั้น (ไทย ได้ทำความตกลงเพื่อเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศจีน ในวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง การลดภาษีส่วนแรก เป็นการเร่งลดภาษีผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน ในพิกัดที่ 07-08 เริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 (2003) เป็น 0% ทันที ครอบคลุมระยะเวลา 2 ปี และอาเซียน-จีน ลดภาษีสินค้าพิกัด 01-08 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 (2004) ลดเป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2549 ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่จะลดภาษีเป็น 0% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 (2010) การลดภาษีส่วนที่สอง เป็นการ ลดภาษีตามความตกลงระหว่างอาเซียนกับจีน ตั้งแต่ 20 กรกฎาคม 2548 โดยแบ่งรายการสินค้าที่จะลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ รายการสินค้าปกติ (Normal Track :NT) และรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track : ST) ซึ่งจะมีสินค้าที่อยู่ในข่ายการลดภาษี 5,121 รายการ แต่สินค้าที่จะเริ่มลดภาษีในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 มีจำนวน 896 รายการ ส่วนสินค้าอื่นๆ จะมีการทยอยลดเป็นลำดับ ตามตารางรูปแบบการลดภาษี
  • สินค้าปกติ (Normal Track :NT)
รายการสินค้าปกติจะครอบคลุมสินค้าเกือบทุกรายการ ซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศ จะเริ่มลดภาษีสินค้าปกติ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 (2005) และจะลดภาษี ลงเป็นลำดับ จนเหลือ 0% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 (2010) สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม-จีน และภายในวันที่ 1 มกราคม 2558 (2015) สำหรับประเทศสมาชิก อาเซียนใหม่
การลดภาษีสินค้าปกติ จะแบ่งเป็นสินค้าตามอัตราภาษีที่เก็บจริงกับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (MFN applied rate) ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 (2003) เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีขั้นตอนการลด/เลิกภาษีต่างกัน สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงจะลดภาษีเป็น 0% ช้า กว่าสินค้าที่มีอัตราภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีน แต่ละประเทศสามารถมีรายการสินค้าที่ได้รับความยืดหยุ่นให้ยกเลิกภาษีได้ภาย ในวันที่ 1 มกราคม 2555 (2012) ไม่เกิน 150 รายการ ขณะที่ ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่จะ ได้รับความยืดหยุ่นให้มีรายการสินค้ามากกว่าและระยะเวลาลดภาษีที่นานกว่า
  • รูปแบบการลด/เลิกภาษีของสินค้าปกติของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม และจีน 
X = Applied MFN tariff rate
อัตราภาษีภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน จีน
(ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม)
2005*
2007
2009
2010
X >= 20%
20
12
5
0
15% =< X < 20%
15
8
5
0
10% =< X < 15%
10
8
5
0
5% < X < 10%
5
5
0
0
X =< 5%
คงอัตราภาษี
0
0
หมายเหตุ : * เริ่มลดภาษีวันที่ 20 กรกฎาคม 2548
นอก จากต้องปฏิบัติตามตารางการลดภาษีแล้ว ประเทศสมาชิกยังมีข้อผูกพันเพิ่มเติมที่ต้องปฏิบัติ ในการดำเนินการลด/เลิกภาษีสินค้าปกติ ดังนี้
    • ต้องลดภาษีสินค้าปกติ อย่างน้อย 40% ของสินค้าปกติทั้งหมด ให้มีอัตราภาษีที่ 0-5% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005
    • ต้องลดภาษีสินค้าปกติ อย่างน้อย 60% ของสินค้าปกติทั้งหมด ให้มีอัตราภาษีที่ 0-5% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2007
สำหรับรายละเอียดของสินค้าลดภาษีปกตินั้น ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นสินค้าปกติที่จะจะต้องลดลงเหลือ 0% ภาย ในวันที่ 1 มกราคม 2553 (5 ปี) กำหนดให้ลดอัตราภาษีที่สูงกว่า 20% ให้เหลือ 20% ในวันที่ 1 มกราคม 2548 ส่วนภาษีที่มี อัตราต่ำกว่า 20% ให้ลดอัตราภาษีลงตามลำดับ ซึ่งจะเริ่มลดภาษีครั้งแรกในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 (ดูตารางการลดภาษีปกติของอาเซียน-จีน1 และ2) กลุ่มที่สอง เป็นสินค้าที่ได้รับการยืดหยุ่นให้ลดภาษี เหลือ 0% ได้ถึงปี 2555 (7 ปี) จำนวน 150 รายการ (ดูรายการสินค้าที่ได้รับความยืดหยุ่น) รวมทั้งให้เพิ่มสินค้าที่จะมีอัตราภาษีอยู่ที่ 0-5% จากจำนวน 40% ในปี 2548 เป็น 60% ในปี 2550 สินค้า ที่ไทยจะลดภาษีที่ได้รับการยืดหยุ่น ได้แก่อาหารปรุงแต่งจากสัตว์ปีก เสื้อผ้าทำด้วยขนสัตว์ เสื้อผ้าทำด้วยฝ้ายและเส้นใยสัง เคราะห์ เสื้อผ้าทำด้วยวัตถุทออื่นๆ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนที่ได้รับการยืดหยุ่น ได้แก่ กาแฟ เนยเทียม อาหารปรุงแต่งจากธัญพืช ผลไม้ดอง เห็ด ผักปรุงแต่ง น้ำผลไม้ ไวน์ ยางรถยนต์ ไม้อัดพลายวูด เสื้อโอเวอร์โค้ต เสื้อสูท เครื่องยนต์ดีเซล มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น
  • สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track : ST)
    • สินค้าที่มี Tariff-Rate Quota-TRQ
อัตราในโควตาให้เป็นไปตาม SL (Sensitive List) และ HSL (Highly Sensitive List) ส่วนอัตรานอกโควตายังไม่ลดในขณะนี้ และรอผลการเจรจาต่อไป
    • สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List-SL)
สินค้าที่ประเทศสมาชิกยังไม่พร้อมที่จะเปิดเสรีพร้อมกับสินค้าปกติ ให้กำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหว โดยจะลดภาษีลงเหลือ 20% ในปี 2555 (2012) และลดเหลือ 5% ในปี 2561 (2018)โดยกำหนดเงื่อนไขเพดานสินค้าอ่อนไหว เพื่อจำกัดจำนวนสินค้าดังกล่าว ดังนี้
      • ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน มีรายการสินค้าอ่อนไหวไม่เกิน 400 รายการ (พิกัดฯ 6 หลัก) และ
      • มูลค่าการนำเข้าของรายการสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด ไม่เกิน 10% ของมูลค่าการนำเข้ารวม
สินค้าอ่อนไหวจะเริ่มลดอัตราภาษีช้ากว่าสินค้าปกติ โดยจะลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกิน 20% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 (2012) และจะลดเป็น 0-5% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2561(2018)
  • สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List -HSL)
สินค้าอ่อนไหวสูง สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน ต้องจำกัดรายการสินค้าอ่อนไหวสูงไม่เกิน 100 รายการ หรือ 40% ของ จำนวนรายการสินค้าอ่อนไหว แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า สำหรับการลดภาษี ของสินค้าอ่อนไหวสูง กำหนดให้ลดภาษีมาอยู่ที่อัตราไม่เกิน 50% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2558 (2015)
  • อากรพิเศษ (Special Duty) ให้โอนเป็นอัตราฐานแล้วเริ่มลดภาษี
รูปแบบการลด/เลิกภาษีของสินค้าอ่อนไหวของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน
สินค้าอ่อนไหว
เพดานอัตราภาษีภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน - จีน
ปี 2012
20%
ปี 2018
0-5%


สินค้าอ่อนไหวสูง

ปี 2015
50%
สำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน 4 ประเทศ จะได้รับความยืดหยุ่น ทั้งในด้าน จำนวนสินค้าอ่อนไหว และระยะเวลาการลดภาษีที่นานกว่า
  • หลักการต่างตอบแทนสำหรับสินค้าอ่อนไหว 
ประเทศสมาชิกใดที่กำหนดรายการสินค้าใดให้เป็นสินค้าอ่อนไหว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบปกติภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน จีน สำหรับสินค้านั้น จากประเทศสมาชิกอื่น กล่าวคือประเทศสมาชิกผู้นำเข้า จะเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศสมาชิกผู้ส่งออก ซึ่งกำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้า อ่อนไหว ในอัตรา MFN applied rate
สินค้าอ่อนไหวของประเทศหนึ่ง จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างตอบแทนจากประเทศสมาชิกอื่น เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
    • อัตราภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน จีน ของสินค้าอ่อนไหวนั้น ต้องลดลงมาอยู่ที่อัตราไม่เกิน 10%
    • อัตรา ภาษีที่ได้รับเป็นสิทธิประโยชน์ต่างตอบแทน จะเท่ากับอัตราภาษีของสินค้าอ่อนไหวนั้น หรืออัตราภาษีปกติของสินค้านั้นของ ประเทศสมาชิกอื่น แล้วแต่ว่าอัตราใดจะสูงกว่า
นอก จากรูปแบบการลด/เลิกภาษีแล้ว ความตกลงการค้าสินค้ายังมีบทบัญญัติอื่น ซึ่งเป็นข้อผูกพัน และพันธกรณี ที่สมาชิกทุกประเทศต้อง ปฏิบัติตาม เช่น กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การยกเลิกการจำกัดปริมาณการนำเข้า และลด/เลิกการกีดกันที่มิใช่ภาษี มาตรการปกป้อง (Safeguard Measures) ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน จีน การยอมรับสถานะการเป็นระบบตลาดของจีน การระงับข้อพิพาทและอื่นๆ เช่นการประติบัติเยี่ยงคนชาติ การทบทวนการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและการเร่งพันธกรณี และสละสิทธิการใช้มาตรการเยียว ยาทางการค้าพิเศษ ที่จีนผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก เมื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิก และการทบทวนความตกลงการค้าสินค้า ซึ่งรวมถึงการทบ ทวนในปี 2018 ที่ ทบทวนรายการสินค้าอ่อนไหว โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงให้เปิดเสรีมากขึ้น เช่น ลดจำนวนรายการสินค้า หรือเงื่อนไข การลดภาษีของรายการสินค้าอ่อนไหว
สินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าอ่อนไหวของไทย มี 342 รายการประกอบด้วยสินค้าอ่อนไหว 242 รายการ ได้แก่ น้ำส้ม อาหารสัตว์ สีและ วาร์นิช ยางรถยนต์ รองเท้า แก้ว เหล็ก เครื่องซักผ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องทำน้ำร้อน ของเล่นเป็นต้น และสินค้าอ่อนไหวสูง 100 รายการ ได้แก่ สินค้าเกษตร 23 รายการ (นม และครีม มันฝรั่ง กระเทียม กาแฟ ชา น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ยาสูบ ไหม ฯลฯ) หินปูพื้น เครื่องใช้บน โต๊ะอาหาร รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ( ดูรายการสินค้าอ่อนไหวและ อ่อนไหวสูงของอาเซียน-จีน / รายการสินค้าอ่อนไหวของไทย)
สินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าอ่อนไหวของจีน ประกอบด้วย สินค้าอ่อนไหว 161 รายการ เช่น กาแฟ สับปะรด กระป๋อง ยาสูบ ฟิลม์ถ่ายรูป กระดาษถ่ายรูป น้ำสับปะรด ไม้อัด กระดาษคราฟต์ เรือบรรทุกของ ไฟรถยนต์ แตรและไซเรน แชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ ถุงลมนิรภัย ฯลฯ และสินค้าอ่อนไหวสูง 100 รายการ เช่นข้าวโพด ข้าว น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ยางธรรมชาติ ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษและกระดาษแข็ง รถยนต์นั่ง รถจิ๊ป ฯลฯ
แหล่งกำเนิด สินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดภาษี จะต้องผ่านเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งใน 3 เงื่อนไข คือเป็น สินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained) หรือ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (นับรวมอาเซียน-จีน) ไม่ต่ำกว่า 40% ของราคาขาย หรือใช้วัตถุดิบภายในประเทศน้อยกว่า 40% ของราคาขาย แต่เป็นสินค้าที่มีกฎการนำเข้าเฉพาะ (Product Specific Rules) ในเงื่อนไขเรื่องแหล่ง กำเนิดประเภทสุดท้ายยังอยู่ระหว่างการพิจารณาหารือซึ่งจะประกาศให้ทราบภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 (ดูรายละเอียดว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของอาเซียน-จีน)
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=124736

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ซื้อหุ้นตอนไหนดี อะไรให้ผลตอบแทนสูงสุด มาดูกัน

มีบทวิจัยจากเว็บไซด์ The Motley Fool แบ่งนักลงทุนออกเป็น 3 คน ซึ่งคนทั้ง 3 คน มีรูปแบบการซื้อหุ้นที่ไม่เหมือนกัน ยังไง?? มาดูกัน...

ชื่อ:  Untitled.png
ครั้ง: 5111
ขนาด:  116.0 กิโลไบต์

นักลงทุนคนที่ 1 เขาบอกเอาไว้ว่า เขาจะซื้อหุ้นเดือนละ 1 ดอล์ล่าร์ โดยไม่สนใจเศรษฐกิจเลยเป็นเวลา 112 ปี คือตั้งแต่ ปี 1900 - ปัจจุบัน

นักลงทุนคนที่ 2 บอกว่า เขาจะซื้อหุ้น เดือนละ 1 ดอล์ล่าร์ เป็นระยะเวลา 112 ปี เหมือนกับนักลงทุนคนที่ 1
แต่เงื่อนไขของเขาคือ จะซื้อหุ้นเฉพาะตอนที่เศรษฐกิจแย่เท่านั้น

นักลงทุนคนที่ 3 บอกว่าเขาจะซื้อหุ้น เดือนละ 1 ดอล์ล่าร์ เป็นระยะเวลา 112 ปี เหมือนกับนักลงทุนคนที่ 1 และ 2
แต่เงื่อนไขของเขาคือ จะหยุดซื้อก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจแย่เท่านั้น พูดง่ายๆก็คือ ซื้อตอนที่ทุกอย่างดูดีและสดใสไปหมด

ผลลัพธ์ ออกมาดังนี้


คนที่ 1 ได้ผลตอบแทนถึง 205,951 ดอล์ล่าร์ เท่านั้น


คนที่ 2 ได้ผลตอบแทนถึง 212,308 ดอล์ล่าร์


และคนที่ 3 ได้ผลตอบแทนแค่ 110,193 ดอล์ล่าร์


จริงๆแล้วการซื้อลงทุนในหุ้นตอนที่คนอื่นกำลัง กลัว และหนีออกไปจากตลาดนั้น เป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผลและสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างแปลกประหลาด
.. ต้องลองศึกษาดูครับ



สุดท้ายนี้ ก็มีข้อความสั้นๆของ Peter Lynch มาฝากกัน เป็นหน้าสุดท้ายจากหนังสือเรื่อง One up on Wall Street


มันจะต้อมมีบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้คนในตลาดมีความกังวลอยู่เสมอ แต่มันก็ไม่เคยทำให้ผมกังวลจนต้องออกจากตลาด

พวกเขากังวลว่าจะต้องเรียนรู้การตกปลา ล่าสัตว์และเก็บผลไม้ก่อนเศรษฐกิจตกต่ำครั้งถัดไป การกางเต้นท์ในป่าก็เป็นเรื่องสำคัญ ..ดัชนีดาวโจนส์ในปี 1988 อยู่ที่ 770 จุด และมันขึ้นไป 120 จุด วันถัดมามันขึ้นไปอีก 30 จุด

เกือบจะชั่วข้ามคืนทุกอย่างก็เปลี่ยนไป คนที่กำลังกางเต้น่์ในป่า ก็เตรียมเก็บข้าวข
องกลับมาในวอล์สตรีท และซื้อหุ้นทุกตัวที่จะคว้าได้เพื่อที่จะกลับมาขี่กระทิงในวันถัดๆไป

ผมลงทุนในหุ้น 100% เสมอ มันเป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ที่คุณเจอหุ้นบูมในสถานการณ์ที่คุณพร้อม 100% และผมหวังว่าคุณจะต้องกำหนดความสำคัญแต่ละเรื่องอย่างชัดเจนถ้าหวังว่าจะทำ ได้ดีในหุ้น ..


- Peter Lynch


ที่มา http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=35875

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

กล้อง FULL FRAME ?




ขนาดของเซ็นเซอร์ที่รับภาพ ที่เรียกว่า CCD หรือ CMOS  กล้องแต่ละตัวมีขนาดเซ็นเซอร์รับภาพไม่เท่ากัน แม้กล้องตัวนึงมีความละเอียด 10 ล้านพิกเซล ขนาด CCD มีขนาด ½.3 นิ้ว แต่อีกตัวนึง 10 ล้านพิกเซลเหมือนกัน ขนาด CCD 2/3 นิ้ว กล้องตัวหลังจะมีความละเอียดของภาพดีกว่า (ขนาดใหญ่กว่าคุณภาพที่ได้จะสวยกว่า)
ดังนั้นที่เรียกว่า Fullframe คือถ้ากล้องดิจิตอล มีขนาดเซ็นเซอร์ เท่ากับฟิล์ม35 มม. 24 x 36มม.นั่นเอง คือ 1:1
ดูภาพประกอบ


ด้านซ้ายสีเขียวเท่ากับขนาดเซ็นเซอร์ ที่ กล้องคอมแพคทั่วไป
สีฟ้าด้านขวา จะเป็นขนาดเซ็นเซอร์รับภาพของกล้อง DSLRส่วนใหญ่
ถ้าแป็นFull frame ขนาดเซ็นเซอร์รับภาพจะเต็มถึงขอบดำนั่นเลยครับ

ดัง นั้นจึงมาเกี่ยวข้องกับเลนส์ที่ คูณนั่นแหละครับ ลองดูถ้าเต็มFull Frame เท่ากับ คูณ 1 ถ้าเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กลง ตัวคูณก็จะมากขึ้นเพราะถ่ายภาพเดียวกัน ลองนึกดูว่าถ้าหน้าคนเต็มในฟิล์มด้านบน ขนาด เซ็นเซอร์ที่เล็กลงก็จะได้ภาพเพียงบางส่วนของหน้านั่นเอง เหมือนกับเราซูม ภาพเข้าไป นั่นแหละคือตัวคูณ แต่คูณเท่าไหร่ก็ช่างมันเถอะครับ ดูในจอเท่าไหร่ก็เท่านั้นแหละ เค้าเอาไว้เวลาซ้อเลนส์กล้อง DSLR เวลาเราจะซื้อก็เลยต้องทราบว่ามันคูณออกมาแล้วเป็นประมาณเท่าไหร่ เพราะซื้อเลนส์มุมกว้างอาจได้เลนส์ที่คูณออกมาแล้วเป็นเลนส์ซูมไม่ได้ระยะ ที่ต้องการ เช่น ต้องการเลนส์ 28 มม. ถ้าเจอตัวคูณ กับขนาดเซ็นเซอร์ 1.2 จะเท่ากับเลนส์ 33 มม. (ไม่รู้งงป่าว) ถ่ายในห้องแคบก็เลยเก็บภาพไม่พอ 
ถ้า Full frame จะได้ภาพแบบนี้
ถ้าเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็ก ก็จะเป็นแบบด้านล่างถึงแม้จะถ่ายออกมาเท่ากันก็จะแตกต่างกันในเรื่องคุณภาพ

 
เลนส์ ซูม ขนาด 28-200 มม. หมายถึง เลนส์ที่มีระยะ 7.1 เท่า (เอา 200 หาร 28) กล้องดิจิตอลจะเป็นแบบนี้ทุกเลนส์ที่เค้าเรียกกันเช่น ซูม 3 เท่า
ก็ แบบนี้แหละ ตัวหน้า 28 มม. เป็นมุมกว้าง เช่นถ่ายวิว พอซูมไปที่200 มม.ก็เห็นภาพที่แคบลง เหมือนภาพฟิล์มด้านบน ดังนั้นมันก็เลยเกิดตัวคูณ
อะไร นั้นแหละ เช่น ถ่ายที่28 มม.ก็ได้ภาพที่ เห็นทั้งหน้า พอมาถ่ายที่ 200 มม. ก็เลยได้ที่แค่ลูกกะตา ถ้าจะให้ได้ภาพเต็มหน้าก็ต้องซูมให้ตัวเลขน้อยลงไป เช่น 100 มม. 50 มม. 28มม.    แต่เดี๋ยวนี้ซ้อเลนส์ส่วนใหญ่ก็จะ ลงสัยว่า ดูไง เอาเป็นว่า เทียบจากกล้องฟิล์มเท่านั้นเองเป็นมาตรฐานแต่ทุกวันนี้ มาตรฐานกล้องดิจิตอล ยังไม่เท่าฟิล์ม ที่มีขนาดเท่าฟิล์มราคาจะสูงมากและส่วนใหญ่มักจะดูพิเซล เป็นหลักลืมดูขนาด เซ็นเซอร์รับภาพด้วย ทุกครั้งซื้อกล้องต้องดูด้วยนะครับ

f/1.8 หรือ f/5.6 ดียังไงต่างกันไง
                เอาเป็นว่าซื้อเลนส์หรือกล้อง ดูถ้า f/1.8 เทียบกับ f/5.6 นั่นคือ f/1.8 จะรับแสงได้มากกว่า5.6 (เพราะ 1.8 รูรับแสงกว้างกว่า) เปรียบเสมือนตาเรา ถ้าแสงมากเราก็หรี่ตาทำให้แสงน้อยลง แต่ถ้าเรามองในที่มืดถ้าเราหรี่ตาในที่ มืดก็มองไม่เห็นอะไร นั่นคือ f/1.8 จะถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดีกว่า f/5.6 แน่นอน 

 

ดังนั้นในเรื่องโอเวอร์อันเดอร์ คือถ้าภาพที่ถ่ายมาแล้ว แสงมากเกินไป นั่นคือโอเวอร์ ต้องเปิดรูรับแสงให้ตัวเลขมากขึ้นหรือชดเชยแสงไปด้าน-
 ภาพที่ถ่ายมาแล้วมืดเกินไปนั่นคือ อันเดอร์ ก็ต้องเปิดรูรับแสงที่ตัวเลขน้อยลงหรือชดเชยแสงไปด้าน +

ชัดตื้นชัดลึก
ถ้าเรา เปิดรูรับแสงกว้าง เช่น f/1.8 ถ่ายคนในระยะใกล้หรือซูมเยอะฉากหลังจะเบลอ ถ้าใช้ f/8 ฉากหลังก็จะเบลอน้อยลงเช่น กล้องที่มี
เลนส์ซูมอย่างน้อย 10 เท่าถึงจะเห็นความแตกต่างในภาพ f/2.4 หนังสือด้านหลังจะเบลอ
แต่พอเปลี่ยนเป็น f/8 หนังสือด้านหลังจะกลับมาชัดจนอ่านตัวหนังสือที่ปกได้ 
 
 flare+Ghostคือ
            ถ้าแปลแบบบ้านๆก็แบบแสงเงาหลอกที่เข้ามารบกวนในภาพ เวลาที่เราถ่ายภาพแล้วอาจมีแสงส่องมาเข้าที่เลนส์กลายเป็นแสงสะท้อนทำให้ภาพฝ้ามาสดใสเหมือนเป็นหมอกขาวบางครั้งก็เป็นแสงยาววงๆในภาพ ซึ่งถ้าเลนส์คุณภาพดีจะลดแสงสะท้อนแบบนี้ได้มากเลยทีเดียว

 ฟิลเตอร์ที่สวมป้องกันเลนส์ที่ควรใช้นอกจากป้องกันเลนส์จากฝุ่นและรอยขีดข่วนแล้วควรใช้แบบลดแสงสะท้อนด้วย

ที่มา http://www.photohutgroup.com

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

รหัสลับบุคคล (PIN Code : Personal Identification Number Code)



PIN Code คืออะไร

PIN Code คือชุดตัวเลขหรือตัวอักษรที่กำหนดขึ้นเป็นรหัสลับเฉพาะส่วนบุคคลที่ใช้ร่วม กับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อใช้เป็นรหัสผ่านเข้าสู่ระบบงานหรือการให้บริการ ในระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้ข้อกำหนดหรือรูปแบบของหน่วยงานผู้ให้บริการจะกำหนดขึ้น



กรมการ ปกครองได้พัฒนาระบบงานการให้บริการประชาชนทางด้านงานทะเบียนและบัตรด้วยระบบ คอมพิวเตอร์มาอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและประชาชนที่ไปติดต่อขอใช้บริการ ได้รับความสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จากการพัฒนาระบบงานอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนทุกหนแห่งมี สิทธิเข้าถึงการบริการของภาครัฐที่เปิดให้บริการข้อมูลด้านต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงผ่านระบบเครือข่าย กรมการปกครองจึงได้ขยายรูปแบบการให้บริการโดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติ จากอธิบดีกรมการปกครองให้สำนักบริหารการทะเบียนเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบนำ โครงการรหัสบุคคล(PIN PROJECT) มาใช้ พร้อมทั้งให้กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คนไทยดอทคอมฟรี (Free E-mail Address khonthai.com) แก่คนไทยทุกคนที่มีรหัส PIN Code เพื่อใช้ในการรับ-ส่งจดหมายผ่านระบบเครือข่าย Internet ที่เว็บไซต์ www.khonthai.com
กรมการ ปกครองได้เริ่มให้บริการรหัส PIN Code เป็นการทดลองปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นรหัสผ่านควบคู่กับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อเข้าสู่ ระบบการให้บริการตรวจสอบข้อมูลของตนเองและเป็นรหัสผ่านเข้าสู่กล่องจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ได้มาพร้อมกับรหัส PIN Code ผ่านInternet ที่www.dopa.go.th และ www.khonthai.com
1. ประชาชนคนไทยทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิขอรับได้ทุกคน PIN Code
2. หากท่านต้องการ สามารถไปขอรหัส PIN Code ได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักงานเขต หรือเทศบาล แห่งใดก็ได้ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สำนักทะเบียนสามารถออนไลน์ทั่วถึงกันทุกแห่งแล้ว ให้ไปติดต่อขอรับที่งานทะเบียนราษฎร
3. โปรแกรมให้รหัสลับบุคคล หรือ PIN Code นี้จะอยู่ที่ โปรแกรมรับแจ้งให้บริการงานทะเบียนราษฎร ข้อที่ 11
4. ผู้ขอต้องเป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้น
5. หลักฐานที่ใช้ เพียงบัตรประจำตัวประชาชนก็พอแล้ว (สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรสามารถนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาใบ สูติบัตรไปยื่นขอได้ที่งานทะเบียนราษฎร) ปล. ไม่มีค่าใช้จ่าย-ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
รหัส PIN Code ที่ได้มา (อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร 4 ตัว) มี 2 ชุด อยู่คนละบรรทัด ชุดที่ 1 บรรทัดบน เรียกว่า PIN 1 ชุดที่ 2 บรรทัดล่าง เรียกว่า PIN 2 โดยทั่วไปจะใช้ PIN 1 ส่วน PIN 2 จะใช้ในบางโปรแกรมซึ่งจะระบุให้ใช้ทั้ง PIN 1 และ PIN 2 โดยจะมีคำชี้แจงแจ้งให้ทราบไว้อย่างชัดเจน
เมื่อท่านได้รหัส PIN Code มา ท่านจะได้รับกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คนไทยดอทคอมโดยอัตโนมัติด้วย ซึ่ง e-mail address ของท่านคือ pตามด้วยเลขประจำตัวประชาชนของท่าน@khonthai.com ดังตัวอย่าง p3100199999001@khonthai.com ฟรีทันทีซึ่งให้เนื้อที่เก็บจดหมายขนาด 2 เมกะไบต์ (Megabytes) และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลได้ครั้งละ 30 กิโลไบต์ (Kilobyte) เมื่อใดก็ตามที่เนื้อที่เก็บจดหมายของท่านเต็มท่านจะไม่สามารถรับจดหมายใหม่ ได้ท่านต้องทำการลบจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้งด้วยตัวท่านเอง
เมื่อท่านได้รับรหัส PIN Code มาท่านสามารถเข้าสู่ระบบตรวจสอบข้อมูลตนเองได้ทันที
สำหรับการเข้าใช้งานระบบ webmail khonthai ท่านจะใช้งานได้ในวันถัดไป
ช่องทางการเข้าใช้งาน มีดังนี้
1. ที่เว็บไซต์ www.dopa.go.th และ คลิกที่ Banner : Thailand Gateway
2. ที่เว็บไซต์ www.khonthai.com และ คลิกที่หัวข้อ Thailand Gateway หรือ หัวข้อประตูสู่การบริการภาครัฐ หรือ URL : http://www.khonthai.com/thailandgateway/
3. ใช้ผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ (MPM : Multi Purpose Machine) ซึ่งเป็นเครื่องบริการประชาชนอัตโนมัติ มีระบบให้บริการประชาชนหลากหลายรูปแบบ อาทิ การคัดสำเนารายการข้อมูลตนเอง การแจ้งย้ายเข้าหรือออกจากทะเบียนบ้านแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องไปทำที่อำเภอ ฯลฯ จะเปิดให้บริการ ในเร็ว ๆ นี้
ประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไร
1. เป็นรหัสสำหรับเข้าตรวจสอบข้อมูลของตนเองจากฐานข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร ข้อมูลการทำบัตร ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส / หย่า ฯลฯ
2. เป็นรหัสสำหรับเข้าตรวจสอบสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของภาครัฐที่ทางราชการจะแจ้งสิทธิต่างๆ ของท่านให้ทราบผ่านทางเลือกนี้ และที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติม เช่นสิทธิการเลือกตั้งประกันสุขภาพประกันสังคม การขึ้นทะเบียนทหารการทำใบขับขี่ฯลฯ
3. เป็นรหัสสำหรับเข้าขอตรวจคัดรับรองสำเนารายการทะเบียนข้อมูลของตนเองผ่านทาง Internet และตู้บริการอเนกประสงค์ (MPM) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อหน่วยงานใด ๆ ได้โดยไม่ต้องพกพาเอกสารติดตัว
4. เป็นรหัสสำหรับเข้าสู่กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address khonthai.com) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารได้
5. เป็นรหัสสำหรับการยืนยันตัวบุคคลในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันบุคคลอื่นมาสวมตัวหรือสวมสิทธิขอท่านในการทำบัตร
6. เป็นรหัสในการขอเข้ารับบริการต่างๆ ภาครัฐ (E-GOVERNMENT)
7. เป็นรหัสในการแสดงความคิดเห็นและลงประชามติ
8. เป็นรหัสในการขอเข้ารับบริการทางธุรกิจ (E-BUSSINESS)
9. เป็นรหัสในการยื่นคำร้องสอบถามข้อมูลหรือจ่ายค่าบริการภาครัฐ
10. ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการขอใช้บริการทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รัฐ จัดทำขึ้นให้แก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและในอนาคตอันใกล้นี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีกมากที่จะตามมาดังนั้นรหัสบุคคลจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนขอให้เก็บรักษาไว้ให้ดีและพยายามจดจำไว้ให้แม่นยำ

ที่มา http://stat.bora.dopa.go.th/online/youKnowPin.htm