วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี Effio ของกล้องวงจรปิด




โดยพื้นฐานทั่วไปของกล้องที่เราใช้งานในด้านระบบรักษาความปลอดภัยหรือระบบ CCTV นั้นจะประกอบด้วยส่วนหลักๆ ดังนี้ ตัวฉากรับภาพหรือที่เรียกว่า CCD (Charge Coupled Device) จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่คอยรับแสงเข้ามาภายในตัวกล้อง ซึ่งเป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซล จะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที โดยในปัจจุบันก็จะมีหลากหลายยี่ห้ออาทิเช่น Sony, Sharp, Panasonic และยังมีขนาดต่างๆ เช่น 1/2, 1/3, 1/4

รูปตัวอย่าง CCD

รูปตัวอย่าง CCD



หน่วยประมวลผลภาพหรือ DSP (Digital Signature Processing)

          ดีเอสพี (DSP) จะเป็นโปรเซสเซอร์พิเศษ ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับงานการคำนวณทางด้านการประมวลผลสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signal Processing) ทำให้สามารถทำงานประเภทนี้ได้อย่างรวดเร็วกว่าใช้โปรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่วไป นอกจากนี้ DSP Chip ส่วนมากจะโปรแกรมได้ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง


รูปตัวอย่าง CCD

          ซึ่งเมื่อนำ DSP มาใช้ในการประมวลผลของในระบบของกล้องวงจรปิดนั้น ตัว DSP จะเป็นตัวประมวลผลภาพที่ได้รับมาจากตัว CCD ของกล้องคือเป็นหน่วยประมวลผลภาพที่รับสัญญาณ Digital จากตัว CCD มาประมวลผลและทำการควบคุมคุณภาพของภาพให้คงที่แม้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปแล้วส่งสัญญาณ Digital ไปแปลงเป็นสัญญาณ Analog แบบcomposite Video ส่งไปเป็นสัญญาณภาพเพื่อไปแสดงที่จอ Monitor หรือ DVR ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีของ DSP ก็จะแตกต่างๆกันออกไปในแต่ละผู้พัฒนาซึ่งเทคโนโลยีล่าสุดของทาง Sony ได้ผลิต Chip DSP โดยใช้ชื่อว่า "Effio"


Effio คืออะไร

          Effio ย่อมาจากคำว่า Enhanced Features and Fine Image Processor ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประมวลผลสัญญาณภาพล่าสุดจากทางโซนี่ ซึ่งทำให้ภาพที่ได้นั้นมีความละเอียดสูงขึ้น ความคมชัดของภาพเพิ่มขึ้น และการแสดงผลสีต่างๆ ได้สมดุลย์มากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันโซนี่ได้ผลิต Effio-DSP ออกมาแบ่งได้เป็น 4 series ด้วยกันคือ

Effio – เป็นเวอร์ชั่นแรกที่เป็นเทคโนโลยีของ Effio ด้วยขนาด 650TVL (960H WDR CCD)
Effio-E (Entry) 650TVL เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Effio ในเวอร์ชั่นแรกและรองรับ CCD ได้มากกว่า Effio เดิม
Effio-S (Standard) ขนาด 700TVL (960H CCD) – กำหนดวางตลาดประมาณปี 2011
Effio-P (Professional) ขนาด 700TVL (960H WDR CCD and more functions) - กำหนดวางตลาดประมาณปี 2011



960H CCD Image Sensors (EXview HAD CCD II)

          คือเทคโนโลยีของ CCD Image Sensors ที่ใช้รับภาพ ซึ่งได้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยโครงสร้างของตัว Sensor เองได้ถูกพัฒนาและสร้างขนาดของ Pixel ให้เล็กลงเพื่อเพิ่มความละเอียดของภาพที่รับเข้ามา และรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีล่าสุดซึ่งช่วยในการรวมตัวของแสง และการเพิ่มขนาดพื้นที่ของ Sensor ซึ่งทำให้มีความสามารถในการรับภาพได้ดีกว่าเทคโนโลยี Super HAD CCD II ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดิม

กราฟแสดงการเปรียบเทียบระหว่าง 960H CCD และ 760H CCD



กราฟแสดงการเปรียบเทียบระหว่าง 960H CCD และ 760H CCD

ตารางรายละเอียด System Specification 960H CCD Image Sensors.

Product Name
ICX662AKA
ICX663AKA
ICX668AKA
ICX669AKA
ICX672AK
ICX6723AK
"Super HAD CCD II"
"Super HAD CCDⅡ"
"EXview HAD CCDⅡ"
Image Size
Type 1/3
Type 1/4
Type 1/3
Pixels
480K
570K
480K
570K
480K
570K
Effective Pixels
976(H) x 494(V)
976(H) x 582(V)
976(H) x 494(V)
976(H) x 582(V)
976(H) x 494(V)
976(H) x 582(V)
Unit Cell Size[µm]
5.0(H) x 7.4(V)
5.0(H) x 6.25(V)
3.75(H) x 5.56(V)
3.75(H) x 4.69(V)
5.0(H) x 7.4(V)
5.0(H) x 6.25(V)
Sensitivity[mV] (F5.6)
1600
1400
1350
2450
2400
Smear [dB] (F5.6)
-105
-105
-110
Supply Voltage [V]
15/-7.5 (typ.)
15/-7.5 (typ.)
15/-7.5 (typ.)
H Transfer Voltage [V]
3.3 (typ.)
3.3 (typ.)
3.3 (typ
โครงสร้างสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยี Effio



สามารถรองรับ CCD 760H ที่มีขนาด 1/2, 1/3, 1/4 และ CCD 960H ขนาด 1/3, 1/4 และใช้ชิพประมวลผลขนิด Effio(CXD4112G)


โครงสร้างสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยี Effio-E

โครงสร้างสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยี Effio-E


สามารถรองรับ CCD510H, 760H, 960H ขนาด 1/2, 1/3, 1/4 ซึ่งใช้ชิพประมวลผล Effio-E(CXD4127GG)


 ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ Effio และ Effio-E
 "Effio""Effio-E"
Product NameCXD4112AGGCXD4127GG
Wide dynamic range model for 960HEntry-level model for 960H CCD
SystemCCD: 760H, 960H, CCDsCCD: 510H, 760H, 960H CCDs
ConfigurationAFE: CXD4813GGAFE: CXD4816GG
 DSP: "Effio" (CXD4112AGG)DSP: "Effio-E" (CXD4816GG)
 LPDDR 
Key Features- Horizontal resolution of over 650 TVL- Horizontal resolution of over 650 TVL
- Wide dynamic range- ATR (Adaptive Tone Reproduction)
- 2D and 3D noise reduction- 2D noise reduction
- OSD- Preset OSD menu (8 languages)
- Motion detection- Motion detection
- DC/Video servo- DC/Video servo
- Digital zoom- Dual analog and digital outputs
- Slow shutter- HLC (High light compensation)
- Face detection- Low power consumption
- Dual analog and digital outputs 
- Synchronization: LL, VSL, VBSLHP/HR, HRVR 


คุณสมบัติเด่นๆที่ได้จากเทคโนโลยีของ Effio
  ได้ความละเอียดของภาพได้สูงถึง 700 TVL (High Resolution)
       การจับภาพหน้าจอจาก Resolution Test Chart โดยใช้ 960H CCD image sensor ซึ่งภาพที่ได้นั้น มีความชัดได้ถึง 700 TVL
High Resolution

  ให้ภาพที่คมชัดมากกว่าเมื่อซูมภาพโดยการใช้ Electronic Zoom หรือที่เราเรียกคุ้นเคยกันดีว่า Digital Zoom
Electronic Zoom

       ซึ่งจากในภาพเราจะเห็นได้ว่า เมื่อเรานำภาพที่ได้มาทำการซูมหรือทำการขยายภาพแล้วนั้น ในภาพด้านขวาบนจะเป็นเทคโนโลยี Effio ซึ่งเราจะเห็นเลขป้ายทะเบียนรถได้ชัดเจน ส่วนในภาพด้านขวาล่างนั้นเป็นการขยายภาพโดยที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี Effio ซึ่งจะเห็นว่าภาพที่ได้จะมีความคมชัดที่น้อยกว่า และหมายเลขของทะเบียนรถนั้นจะไม่คมชัด
  การลดสัญญาณรบกวนทำให้ภาพที่ได้ยังคงมีความชัดเจน (Noise Reduction)

Noise Reduction
Noise Reduction

       - ในแบบ 2D เป็นการลดสัญญาณรบกวนของภาพในเวลาขณะที่แสดงภาพที่เป็นลักษณะของตัวอักษรหรือภาพพื้นหลังต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่าการใช้เทคโนโลยี Effio นั้นสามารถที่จะแสดงผลของภาพได้คมชัดยิ่งกว่า แม้ในที่ๆ มีแสงสว่างต่ำ
       - ในแบบ 3D เป็นการลดสัญญาณรบกวนของภาพในขณะที่แสดงภาพเป็นลักษณะของวัตถุเคลื่อนไหวต่าง ซึ่งเทคโนโลยี Effio จะช่วยทำให้ภาพที่ได้นั้นไม่เกิดภาพเบลอ
  สีสันของภาพดูสมจริงเป็นธรรมชาติ (High Color Reproduction)

High Color Reproduction

       เทคโนโลยี Effio ช่วยให้ภาพที่ได้นั้น มีสีสันที่สมจริงไม่ฉูดฉาดจนเกินไป ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อนำแผ่นทดสอบเฉดสี (Color Chart) มาเปรียบเทียบ ภาพด้านซ้ายซึ่งไม่ใช่เทคโนโลยี Effio สีสันที่ได้นั้นจะค่อนข้างซีด และดูไม่เป็นธรรมชาติ เมื่อเทียบกับภาพด้านขวามือซึ่งใช้เทคโนโลยีของ Effio ภาพที่ได้นั้นจะมีสีสันที่สมจริง และไม่ฉูดฉาดจนเกินไป

  ปรับแสงสว่างของภาพให้สมดุลย์ยิ่งขึ้น (ATR: Adaptive Tone Reproduction)

ATR: Adaptive Tone Reproduction

       จากภาพด้านซ้ายจะเห็นว่าภาพได้ออกมานั้น วัตถุในฉากด้านหลังจะมีแสงจ้า จนไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆได้ ส่วนวัตถุด้านหน้านั้นจะมืด ซึ่งในส่วนของภาพด้านขวาที่ใช้เทคโนโลยี Effio ช่วยปรับปรุงในเรื่องของแสงต่างๆ ซึ่งเราจะสังเกตุเห็นว่าวัตถุในด้านหลังจะถูกปรับแสงให้ลดลง และวัตถุในด้านหน้าจะมีการปรับชดเชยแสงเพิ่มขึ้น เป็นผลทำให้ภาพที่ได้ออกมานั้นมีความสมดุลย์ยิ่งขึ้น
  มองเห็นรายละเอียดต่างๆของภาพได้มากขึ้น (WDR: Wide Dynamic Range)

WDR: Wide Dynamic Range

       จากภาพด้านซ้ายเราจะเห็นว่ารายละเอียดของวัตถุที่อยู่ด้านหลังนั้นจะมีรายละเอียดค่อนข้างน้อย มองเห็นได้ยาก ส่วนภาพด้านขวามือนั้นเป็นภาพโดยใช้เทคโนโลยี Effio ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นรายละเอียดต่างๆของภาพทั้งวัตถุที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังได้ชัดเจนกว่าเดิม
  รองรับ OSD (On Screen Display) เมนูได้ถึง 8 ภาษา

OSD (On Screen Display)

        รองรับได้ 8 ภาษาได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศษ, เยอรมัน, สเปน, โปรตุเกส, จีน, รัสเซีย, ญี่ปุ่น

 สรุป
        จะเห็นได้ว่าหลักการทำงานของกล้องวงจรปิดนั้นไม่ได้พึ่งพาเฉพาะ CCD เป็นหัวใจหลักเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพึ่งการประมวลผลของแสงที่รับเข้ามาด้วย เพราะฉนั้นเวลาที่เราเห็นสเปคของกล้องที่บอกว่า ตัวกล้องใช้ CCD ของโซนี่ แต่ไม่รู้ว่าใช้ DSP ตัวไหนมาประมวลผลภาพ เพราะฉนั้นเราจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ากล้องตัวนั้นจะสามารถดึงเอาประสิทธิภาพของ CCD นั้นมาใช้ได้อย่างเต็มที่หรือไม่ ซึ่งเทคโนโลยี Effio เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการประมวลผลภาพของโซนี่นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ใช้งานที่ต้องการคุณภาพและดึงเอาประสิทธิภาพของกล้องออกมาใช้งานได้อย่างสูงสุด
        สุดท้ายนี้ผมขอฝากการตัดสินใจในการซื้อกล้องวงจรปิดนั้น เราก็ควรจะเลือกแหล่งที่ผลิตที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ หรือถ้าเป็นไปได้ให้ทดสอบคุณภาพจริงๆ ดูก่อนว่า สีสันและภาพที่ออกมานั้นได้ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ ไม่ใช่ว่าดูที่สเปคของตัวกล้องแล้วสูงเกินความเป็นจริง แต่พอนำมาใช้งานกลับได้ภาพที่สู้กล้องสเปคต่ำๆ ไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมจ่ายเงินเกินความเป็นจริงเมื่อเทียบกับคุณภาพที่เราได้กลับคืนมา


ที่มา 
www.sony.net/Products/SC-HP/effiowld/index.html
www.cctvforum.com
www.sunellsecurity.com
http://www.innekt.com/article4_1.php

Near Field Communication (NFC)



  Near Field Communication (NFC) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์  เทคโนโลยีไร้สายที่นำมาใช้ใน NFC คือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  ใช้คลื่นความถี่ 13.56 Mhz.  ซึ่งเทคโนโลยี NFC จะรองรับกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีตามรายละเอียดด้านล่าง
NFC Forum Platform
RFID Compatible
NFC Forum Type 1 tag
Innovision Topaz
NFC Forum Type 2 tag
Mifare Ultralight
Mifare Ultralight C
NFC Forum Type 3 tag
Sony Felica
NFC Forum Type 4 tag
DESfire
SmartMX
Source: NFC Forum Type Tags
 เทคโนโลยี NFC นี้ช่วยให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์สามารถทำได้ง่ายขึ้น  ต่างจากเทคโนโลยีไร้สายประเภทอื่น ได้แก่ Wifi หรือ Bluetooth ที่ต้องมีตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนการใช้งาน  แต่เทคโนโลยี NFC เพียงแค่นำอุปกรณ์มือถือ เช่น โทรศัพท์ ไปใกล้กับเครื่องอ่านหรืออาร์เอฟไอดีการ์ด (RFID tag) ก็สามารถที่จะทำการส่งข้อมูลระหว่างกันได้เลย  โดยไม่จำเป็นต้องมีการตั้งค่าใดใดก่อนการใช้งาน  การใช้งานเทคโนโลยี NFC  มีได้สามลักษณะ  ได้แก่   
1. ทำงานเป็นอาร์เอฟไอดีการ์ด (RFID Tag)  อุปกรณ์มือถือ เช่นโทรศัพท์มือถือที่มีเครื่องอ่าน NFC ฝังอยู่สามารถทำงานเป็น RFID tag ได้  ซึ่งต่างจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีในปัจจุบันที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องอ่านเพียงอย่างเดียว การทำงานในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะใช้ใน Application ในเรื่องการเงิน เช่น การจ่ายเงินชำระค่าผ่านทาง  การจ่ายเงินตาม POSต่าง ๆ เพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือไปใกล้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  ที่ติดตั้งไว้ที่จุดชำระเงิน  ก็สามารถทำการชำระเงินได้ แทนการชำระเงินด้วยบัตรอาร์เอฟไอดี  หรือเงินสด
                                                                   
2. ทำงานเป็นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี อุปกรณ์มือถือ เช่นโทรศัพท์มือถือที่มีเครื่องอ่าน NFC ฝังอยู่  สามารถทำงานเป็นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  เมื่อต้องการอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีการ์ด (RFID Tag)  เช่น การใช้งานในลักษณะ Smart Posterเป็นต้น  โดยที่โปสเตอร์จะมีอาร์เอฟไอดีสติกเกอร์ (RFID Sticker)  เมื่อต้องการอ่านข้อมูลจาก RFID Sticker  เพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือที่มีเครื่องอ่านไปอ่านอาร์เอฟไอดีสติกเกอร์บนโปรเตอร์  ข้อมูลในโปสเตอร์ก็จะปรากฏขึ้นมาบนโทรศัพท์มือถือ
                                                                  
3. การสื่อสารในลักษณะ Pier to Pier (P2P)   เครื่องอ่าน NFC สองเครื่องสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันโดยตรงได้ เมื่อต้องการส่งข้อมูล  ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือสองเครื่องที่มีฟังก์ชัน NFC สามารถที่จะส่งข้อมูลให้แก่กันได้โดยตรง   เพียงนำโทรศัพท์ทั้งสองเครื่อง  เข้ามาใกล้กันในระยะที่เครื่องอ่านที่อยู่ในโทรศัพท์ทั้งสองสามารถอ่านกันได้  ก็สามารถที่จะส่งข้อมูลถึงกันได้  โดยไม่ต้องผ่านเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ  ไม่ว่าจะเป็น GPRS หรือ EDGE เป็นต้น
                   ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีNFC จะได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน  แต่อุปกรณ์มือถือที่รองรับเทคโนโลยี NFC ยังมีอยู่อย่างจำกัด  ดังนั้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยี NFC  ที่กำลังจะเกิดขึ้น   ตัวอย่างเช่น  เทคโนโลยี SIM Card + เสาอากาศ  เป็นการต่อเสาอากาศเพิ่มจาก SIM Card ของโทรศัพท์มือถือ  ได้แก่ SIMpass, N-Flex เป็นต้น  ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้  ใช้อาร์เอฟไอดีคลื่นความถี่ 13.56 Mhz เหมือนกับเทคโนโลยี NFC   เทคโนลียีนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีน                                                  
                                                                                                        
                    เทคโนโลยีอีกประเภทคือ การติดอาร์เอฟไอดีการ์ด (RFID Tag) หรือสติกเกอร์บนโทรศัพท์มือถือ  (ดูเพิ่มเติมใน ช่วยlink ไปที่ web เราในส่วน Tag ที่มี  product  mobile phone tag)  จากเดิมที่อาร์เอฟไอดีสติกเกอร์(RFID Tag)ไม่สามารถที่จะทำงานบนผิวโลหะได้  ปัจจุบันเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสติกเกอร์ (RFID Tag) มีการพัฒนาให้สามารถทำงานบนผิดโลหะได้  และมีขนาดเล็กและบาง  เพื่อรองกับSmart Phone ที่มีพื้นผิวเป็นโลหะ  เช่น Blackberry เป็นต้น  





ที่มา http://www.id.co.th/component/content/article/58-knowledge-nfc/85-what-is-nfc

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Real Time Location System ด้วย Wi-Fi

Real Time Location Tracking จำเป็นไฉน?

ผมขอยกตัวอย่างสถานที่เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆคือโรงพยาบาล... ในโรงพยาบาลมีเครื่องมือทางการแพทย์สำคัญๆมากมายเช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องปั้มหัวใจ เครื่องให้น้ำเกลือ หรือแม้แต่รถเข็นคนไข้เป็นต้น ซึ่งมีหลายๆครั้งที่เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ เจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลาเป็นอย่างมากในการค้นหาซึ่งทุกวินาทีในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยการระบุตำแหน่งเครื่องมือเหล่านั้นให้ได้อย่างทันท่วงทีถือว่ามีค่ามากทีเดียวในการช่วยเหลืออีกหนึ่งชีวิตให้รอดมาได้ และรวมไปถึงบุคคลากรที่มีความสำคัญที่สุดในโรงพยาบาลนั่นก็คือคุณหมอนั่นเอง ระบบ RTLS จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามตำแหน่งของคุณหมอเพื่อมาดูแลคนไข้ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วที่สุด หลังจากที่ทราบตำแหน่งปัจจุบันของคุณหมอเป็นต้น สรุปการระบุตำแหน่งบุคลลหรือสิ่งของได้นั้นเราสามารถค้นหา
สิ่งของหรือบุคคลให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้สูงที่สุด ลดปัญหาทรัพย์สินมีค่าสูญหาย และยังข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย ซึ่งมีสถานที่ที่เหมาะสำหรับการนำเอา RTLS มาใช้อีกหลายอย่างนอกจากโรงพยาบาลเช่น โรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ สถานที่ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ สถานนีรถไฟ สนามบิน ท่ารถ หรือแม้แต่ warehouse เป็นต้น
ทำไมไม่ใช่ RFID
แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงการทำ Tracking สิ่งของต่างๆเรามักนึกถึงเทคโนโลยี RFID ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ RFID ก็มีข้อจำกัดในการนำแทบ RFID แบบธรรมดาหรือที่เรียกว่า Passive RFID มาใช้นั้น จำเป็นต้องมีเครื่องอ่านตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ และระยะห่างระหว่าง RFID Scanner กับ RFID Tag นั้นจะต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 เซ็นติเมตรเท่านั้น RFID จึงเหมาะสมสำหรับการตรวจสอบสิ่งของในระยะใกล้ๆเท่านั้นเช่นการตรวจสอบสินค้าที่เคลื่อนผ่านสายการผลิตหรือใช้เป็นบัตร ID Card สำหรับเข้าออกประตูสำคัญๆป็นต้น ซึ่งไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำมาใช้สำหรับระบุตำแหน่งการเคลื่อนแบบ Real-Time เพราะหากเราต้องการทราบตำแหน่งอของบุคคลหรือสิ่งของเป้าหมาแล้ว เราจำเป็นต้องติดตั้ง RFID Reader ไว้ทุกๆประตูทางซึ่งลองคิดภาพดูว่าหากเราต้องการสร้าง RTLS ในโรงพยาบาล ที่มีห้องมากกว่า 2,000 ห้อง เราอาจจะต้องติด RFID Scanner ถึง 2,000 ตัวซึ่งคงจะเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว
 แต่อย่างไรก็ตามในตลาดก็มีหลายๆบริษัทฯที่นำเสนอเทคโนโลยี Active RFID หรือ RFID Tag ที่มีแบตเตอรี่ที่สามารถส่งสัญญาณกลับไปหา RFID Scanner ได้ไกลขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็ถือว่าทำงานได้ดี มีความแม่นยำสูงแต่หากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่จะกล่าวถึงในลำดับต่อไปแล้ว ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่สุดในปัจจุบันเลยทีเดียว..
Wi-Fi RTSL คือคำตอบสุดท้าย!
ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Wi-Fi คือเทคโนโลยีในการเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสถานที่ต่างๆ และในเมื่อเราจำเป็นต้องลงทุนการสร้างเครือข่ายไร้สายเป็นโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว หากเราสามารถนำ Wi-Fi Access Point มาใช้ประโยชน์
เพื่อให้มีความสามารถในการระบุตำแหน่งของสิ่งของหรือบุคคลได้ ก็ถือว่ามีประโยชน์และคุ้มค่าไม่น้อย
การระบุตำแหน่งแบบ Real-Time ด้วย Wi-Fi นั้นในเทคนิคที่เรียกว่า Server-Side Pattern Matching โดย Location-Based Service Server จะทำการเก็บค่า Pattern ของ RSSI (ระดับความเข้มของสัญญาณ) ที่ Access Point (AP) แต่ละตัวได้รับจาก Wi-Fi Device และนำมาสร้าง Pattern หรือที่เรียกว่า Finger Print ซึ่งในแต่ละตำแหน่งของอาคารจะมี Finger Print ที่เป็นลักษณะเฉพาะ เมื่อมีการส่งสัญญาณจาก Wi-Fi Device มายัง AP Server ก็จะทำการประมวลผลเปรียบเทียบกับ Finger Print ที่มีการทำตัวอย่างไว้ก่อนหน้า ก็จะสามารถระบุตำแหน่งที่ถูกต้องได้



Figure 1 ตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยีในการระบุตำแหน่ง ซึ่งมีความละเอียดต่างๆกัน



ซึ่ง Wi-Fi Device ที่ว่านี้จะเป็นได้ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือหรือ PDA ที่รองรับWi-Fi, Laptop Computer หรือ Wi-Fi Asset Tag ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะที่เหมาะสำหรับใช้ติดกับสิ่งของสำคัญ หรือแม้แต่ใช้ห้อยคอหรือรัดข้อมือของบุคคลก็ได้ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่า Wi-Fi RTLS นั้นมีความยืดหยุ่นและมีต้นทุนต่ำกว่าการทำ RTLS ด้วยเทคโยโลยีอื่นๆมาก และยังมีงานวิจัยที่ยืนยันความถูกต้องของตำแหน่งที่ให้ความแม่นยำสูงถึง 99% เลยทีเดียวในระยะคลาดเคลื่อนเพียง 3-5 เมตรเท่านั้น


ตัวอย่าง RTLS Application

ในโรงพยาบาลจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้มีการติดตั้ง RTLSและนำมาประยุกต์เข้ากับ HIS หรือ Hospital Information System ซึ่งเมื่อมีRTLS มาเชื่อมต่อด้วยแล้ว การติดตามเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความสำคัญ สามารถช่วยลดเวลาการเข้าถึงเครื่องมือและลดการสูญหายได้เป็นอย่างมาก และการติด TAG ไว้ที่ตัวคุณหมอก็สามารถเรียกตัวคุณหมอที่อยู่ใกล้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังนำมาประยุกต์ใช้ระบบVoWLAN ที่รองรับ RTLS อย่าง Wi-Fi Phone จาก Polycom เป็น
ต้นซึ่งเป็น Wi-Fi Phone ที่มีเมนูในการค้นหาเครื่องมือที่ต้องการ หรือคุณหมอเจ้าของไข้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการลงทุน RTLS ถือเป็นการลงุทนที่ให้ผลตอบแทนอย่างรวดเร็ว เพราะเพียงช่วยชีวิตคนไข้ได้ รายก็ถือว่าคุ้มแล้ว
สำหรับบริษัทฯผู้ให้บริการระบบ Wi-Fi RTLS ก็มีอยู่ไม่กี่รายโดยมีผู้นำตลาดอย่าง Trapeze ซึ่งมีส่วนแบ่งในสหรัฐอเมริการและยุโรปกว่า 50% โดยTrapeze ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายอันดับต้นๆของโลก และพัฒนาระบบ RTLS ให้ทำงานกับอุปกรณ์ Access Point และCentralized Controller ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับ โดยมีคู่แข่งที่น่าสนใจอย่าง Cisco และ Aruba เป็นต้น
สำหรับบริษัทฯผู้ให้บริการระบบ Wi-Fi RTLS ก็มีอยู่ไม่กี่รายโดยมีผู้นำตลาดอย่าง Trapeze ซึ่งมีส่วนแบ่งในสหรัฐอเมริการและยุโรปกว่า 50% โดยTrapeze ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายอันดับต้นๆของโลก และพัฒนาระบบ RTLS ให้ทำงานกับอุปกรณ์ Access Point และCentralized Controller ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับ โดยมีคู่แข่งที่น่าสนใจอย่าง Cisco และ Aruba เป็นต้น

ที่มา
http://www.nvk.co.th/content2/index.php/nvk-solution/114-trapeze
http://lib.tsu.ac.th/file/RTLS.pdf

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รูรับแสง



ที่มา http://www.bloggang.com

ทางยาวโฟกัสของเลนส์ และ องศารับภาพ


ที่มา http://www.rayongphotoclub.com

ลดหย่อนภาษี วิธีไหนดีสุด?

ใกล้สิ้นปีแล้ว เป็นช่วงเวลาที่หลายคน(เพิ่ง)เริ่มวางแผนภาษี สำหรับใครที่มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 246,300 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 20,525 บาท ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี แต่ถ้าเกินกว่านี้ก็ต้องเริ่มคิดแล้วว่าจะมีทางไหนที่ประหยัดภาษีได้บ้าง ซึ่งแต่ละทางก็มักจะต้องใช้เงิน (เอาเงินของเราไปไว้ที่อื่นแทนที่จะจ่ายให้รัฐ) ลองมาดูกันครับว่าเราจะลดหย่อนภาษีด้วยวิธีไหนได้บ้าง และแต่ละวิธีมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร

ก่อนอื่นมาลองดูกันก่อนว่ารายได้ของคุณจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ รูปนี้นำมาจากกระทู้ Pantip ที่ช่วยให้เห็นตัวเลขภาษีที่คุณต้องเสียได้ชัดเจนมากครับ
ตารางสรุปอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
ตารางสรุปอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
จากตารางนี้ มีการหักลดหย่อนทั่วไป ลดหย่อนส่วนตัว และประกันสังคม ซึ่งเป็นการลดหหย่อนมาตรฐานที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนได้เหมือนๆ กันครับ (คนทำงานฟรีแลนซ์อาจจ่ายประกันสังคมต่างไปจากนี้) แต่ยังมีการลดหย่อนอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนบุตร ลดหย่อนบิดา-มารดา ประกันชีวิต ดอกเบี้ยกู้บ้าน เงินบริจาค LTF RMF บ้านหลังแรก รถคันแรก ฯลฯ โดยในที่นี้ผมจะขออธิบายเฉพาะการลดหย่อนที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายคือ เงินบริจาค ประกันชีวิต LTF และ RMF เท่านั้นครับ

เงินบริจาค

ถ้าวัดด้วยผลตอบแทนเป็นตัวเงินที่จะกลับมาหาคุณในอนาคตแล้ว วิธีนี้ถือว่าแย่สุดครับ เพราะเงินบริจาคคือเงินที่คุณเสียไปเลย ไม่ได้ผลตอบแทนอะไรกลับมานอกจาก “บุญ” และค่าลดหย่อนภาษีอีกเล็กน้อย เช่น ถ้าฐานภาษีของคุณอยู่ที่ 10% การบริจาคเงิน 10,000 บาท จะช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้ 1,000 บาท เสมือนว่าคุณทำบุญด้วยเงิน 9,000 บาท และรัฐช่วยโปะให้อีก 1,000 บาท
ในกรณีที่คุณบริจาคเงินให้สถานศึกษา คุณจะมีสิทธิ์คิดลดหย่อนได้สองเท่า เช่น ฐานภาษี 10% บริจาคให้โรงเรียน 10,000 บาท จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้ 2,000 บาท
การนำยอดเงินบริจาคมาคิดลดหย่อนสามารถทำได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิ เช่น เงินได้สุทธิ 500,000 บาท จะนำยอดเงินบริจาคมาคิดได้ไม่เกิน 50,000 บาท (ถ้าเป็นสถานศึกษาก็คือ 25,000 บาท เพราะเมื่อคิดสองเท่าก็คือ 50,000 บาท)
การบริจาคเงินเพื่อให้ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี จะต้องบริจาคตามรายชื่อที่สรรพากรกำหนด และต้องมีใบเสร็จหรือใบอนุโมทนาเป็นหลักฐานด้วย ดูรายชื่อสถานศึกษา มูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศล สถานสงเคราะห์ สถานพักฟื้นบำบัดและฟื้นฟูเด็ก คนชรา คนพิการ
ถึงแม้การบริจาคจะไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงินกลับมาในอนาคต แต่ผมอยากให้คุณคิดว่าบริจาคเพราะอยากช่วยให้สังคมดีขึ้นโดยมีการลดหย่อนภาษีเป็นของแถมเล็กๆ น้อยๆ ดีกว่าคิดว่าคุณจะบริจาคเพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี นอกจากนี้ การบริจาคคือการที่คุณ “เลือกเอง” ว่าจะให้เงินภาษีของคุณไปช่วยสังคมในด้านไหน นอกนั้นแล้วรัฐและนักการเมืองจะเป็นผู้เลือกครับ

ประกันชีวิต

ทั้งประกันแบบออมทรัพย์และประกันแบบบำนาญ เราสามารถนำเบี้ยที่จ่ายในแต่ละปีมาลดหย่อนภาษีได้ครับ โดยมีเพดานสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แปลว่าถ้าคุณมีฐานภาษี 10% จ่ายเบี้ยประกันปีละ 100,000 บาท คุณสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 10,000 บาทเลย นอกจากนี้ ประกันชีวิตยังมีเงินจ่ายคืนทุก 2 ปี หรือ 3 ปี หรือ 5 ปี และจ่ายคืนให้ก้อนใหญ่เมื่อครบสัญญาด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้ว ผลตอบแทนมักจะเป็นบวกครับ (ได้คืนมามากกว่าที่จ่ายออกไป) ดูวิธีคำนวณได้จากบทความเรื่อง “ประกันออมทรัพย์ผลตอบแทนมากกว่า 100% มีจริงหรือ?”
การซื้อประกันชีวิตที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ จะต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี ควรเป็นกรมธรรม์ที่ไม่พ่วงประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุด้วย เพราะค่าเบี้ยของประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ชื่อเรียกประเภทกรมธรรม์มักเป็นตัวเลขสองชุด เช่น 15/7 ตัวเลขน้อยกว่าหมายถึงจำนวนปีที่ต้องจ่ายเบี้ย ตัวเลขมากกว่าหมายถึงจำนวนปีของอายุกรมธรรม์ 15/7 จึงหมายถึงจ่ายเบี้ยติดต่อกัน 7 ปี กรมธรรม์มีอายุคุ้มครอง 15 ปี (ถ้าตายใน 15 ปี ทายาทจะได้รับเงินชดเชย) ควรเลือกกรมธรรม์ที่ตัวเลขสองชุดใกล้เคียงกัน เช่น 15/15 คือจ่ายเบี้ยเท่าระยะเวลาประกัน เพราะถ้าเลือกแบบตัวเลขห่างกัน เช่น 20/5 คือจ่ายเบี้ยแค่ 5 ปี แต่ประกันนานถึง 20 ปี แบบนี้ค่าเบี้ยที่จ่ายไปจะเป็นค่าความคุ้มครองเยอะ ทำให้ผลตอบแทนที่เป็นเงินจ่ายคืนกลับมาน้อยลง และไม่ควรเลือกที่ตัวเลขเยอะมาก เช่น 99/20 เพราะเป็นประกันตลอดชีพ เรามักไม่ได้เงินคืนกลับมาใช้เอง แต่ทายาทเราได้แทน
การจ่ายค่าเบี้ยควรเลือกจ่ายแบบรายปี เพราะการจ่ายรายปีจะได้รับส่วนลดประมาณ 5% เมื่อเทียบกับการจ่ายแบบรายเดือน แต่ก็ต้องมีวินัยในการเก็บเงินด้วย อาจจะใช้วิธีหักจากเงินเดือนทุกเดือนแล้วฝากเข้าบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น ค่าเบี้ยรายปี 90,000 บาท (ถ้าไม่ออมเงินให้ดี อาจทำให้กระอักได้เมื่อถึงเวลาจ่ายค่าเบี้ย) หรือเฉลี่ย 7,500 บาทต่อเดือน พอได้เงินเดือนมาปุ๊บ ก็หัก 7,500 บาทเข้าบัญชีธนาคารเลย แบบนี้ทำให้ได้ดอกเบี้ยเป็นของแถมด้วย

LTF

กองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF เป็นเครื่องมือที่รัฐใช้สร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุน โดยการระดมเงินจากประชาชนเพื่อนำไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การออกมาตรการจูงใจโดยให้ผู้ซื้อ LTF สามารถลดหย่อนภาษีได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนอยู่ในตลาดทุน ไม่ย้ายไปที่อื่นได้ง่ายๆ
การซื้อ LTF เพื่อใช้ลดหย่อนภาษี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ โดยสามารถซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าลดหย่อน เช่น ถ้าเงินเดือนทั้งปีและโบนัสของคุณคือ 500,000 บาท คุณจะซื้อ LTF ได้ไม่เกิน 75,000 บาท ถ้าฐานภาษีของคุณคือ 10% คุณจะลดหย่อนภาษีได้ถึง 7,500 บาท
การซื้อ LTF มีความเสี่ยงสูงกว่าการซื้อประกันออมทรัพย์ เพราะประกันออมทรัพย์จ่ายเงินคืนให้คุณครบทุกบาททุกสตางค์ และมีกำไรให้นิดหน่อย แต่ LTF นั้นไม่แน่เสมอไป ถ้าคุณซื้อ LTF ในจังหวะที่หุ้นขึ้นมากๆ พอถือไว้ 5 ปีตามเงื่อนไขของการลดหย่อนภาษี ระหว่างนั้นหุ้นเกิดตกอย่างหนักและตลาดอยู่ในสภาวะซึมยาว มูลค่าหน่วยลงทุนของคุณก็จะลดลง ถ้าขายก็ขาดทุน บางคนถ้าไม่ร้อนเงินก็อาจจำใจถือต่อเพื่อรอให้สภาพตลาดฟื้นตัวขึ้นมาแล้วค่อยขาย
LTF มีให้เลือกซื้อค่อนข้างเยอะ คุณอาจพิจารณาจากผลงานในอดีตของแต่ละตัว แต่ต้องย้ำว่าผลงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลงานในอนาคต และที่สำคัญคือต้องดูรายละเอียดของแต่ละตัวว่ามีการลงทุนในหุ้นประเภทไหน และมีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ LTF บางตัวมีผลงานในอดีตสวยงามมาก แต่นั่นอาจเป็นเพราะ LTF ตัวนั้นไม่มีการจ่ายเงินปันผล แต่นำเงินปันผลกลับเข้าไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งพอดีว่าตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในขาขึ้น ผลงานที่ออกมาเลยดูดี แต่ถ้าตลาดอยู่ในขาลง ผู้ลงทุน LTF ที่ไม่มีการจ่ายปันผลก็อาจจะเสียหายหนัก
ดังนั้น ถ้าคุณคิดจะซื้อ LTF ให้ลองถามตัวเองดูว่า คุณคิดว่าอีก 5 ปีข้างหน้า หุ้นจะขึ้นไปมากกว่านี้หรือเปล่า? ถ้าคิดว่าขึ้น ก็อาจลองเสี่ยงด้วยการซื้อ LTF ที่ไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่กล้าเสี่ยง ก็ซื้อตัวที่จ่ายปันผลไว้ก่อนดีกว่า เพราะเราไม่รู้ว่าดัชนีหุ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยขอเก็บปันผลไว้บ้างก็ยังดี
นอกจากนี้ การซื้อ LTF จากสถาบันการเงินที่มี LTF ให้เลือกได้หลายกองทุนก็จะดี เพราะระหว่างที่ยังไม่ครบ 5 ปี คุณสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ง่าย ช่วงไหนหุ้นตกหนักก็อาจซื้อกองที่ไม่จ่ายปันผล (เพราะคาดว่าตกไม่นานก็จะขึ้น) พอหุ้นขึ้นก็ค่อยเปลี่ยนไปซื้อกองที่จ่ายปันผลแทน (เพื่อลดความเสี่ยง)

RMF

กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ RMF เป็นการระดมเงินจากประชาชนเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ คล้ายกับ LTF แต่ต่างกันตรงที่ RMF มักจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ ทองคำ
เช่นเดียวกับ LTF การซื้อ RMF เพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี จะต้องซื้อไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าลดหย่อน แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือเมื่อคุณเริ่มซื้อ RMF แล้ว คุณจะต้องซื้อติดต่อกันทุกปีจนกว่าจะมีอายุครบ 55 ปี ถ้าเว้นการซื้อติดต่อกันสองปี คุณจะต้องจ่ายคืนภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนไป 5 ปีย้อนหลัง ซึ่งตอนนั้นจะวุ่นวายมากครับ เพราะถ้าคุณจ่ายคืนช้า คุณจะถูกปรับเงินเพิ่มด้วย
ปีไหนที่คุณไม่อยากซื้อ RMF เยอะมาก คุณจะต้องซื้ออย่างน้อย 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท อยู่ที่ว่าอันไหนต่ำกว่า ถึงจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่เยอะ แต่ก็เป็นภาระสำหรับเราไปจนแก่เหมือนกัน

สรุป

วิธีลดหย่อนภาษีทั้ง 4 แบบต่างก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวของผม ผมจะเลือกลดหย่อนภาษีด้วย LTF ก่อน เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ปีไหนมีเงินเหลือเยอะก็ซื้อเยอะ ปีไหนจำเป็นต้องใช้เงินก็ซื้อน้อย แนวโน้มของผลตอบแทนค่อนข้างดี ไม่ผูกมัดมาก แค่ถือยาวให้ได้ 5 ปี อันดับสองที่จะเลือกคือประกันชีวิต โดยเลือกแบบอายุกรมธรรม์สั้นๆ ไว้ก่อน เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตไกลๆ เราจะเป็นยังไง อันดับสามคือ RMF ซึ่งต้องยอมรับตามตรงว่าผมยังไม่เคยซื้อ RMF มาก่อนเลย เพราะไม่ชอบความรู้สึกว่าต้องซื้อติดต่อกันอีก 20 ปีนี่แหละ แต่ถ้าปีไหนที่รู้สึกว่าเสียภาษีเยอะ แม้จะซื้อ LTF และประกันชีวิตจนเต็มที่แล้ว ก็ค่อยเริ่มคิดที่จะซื้อ RMF ส่วนอันดับสุดท้ายคือเงินบริจาคที่ผมจะไม่คิดว่าบริจาคเพราะอยากลดภาษี แต่จะคิดว่าบริจาคเพราะอยากช่วยสังคมจริงๆ ส่วนภาษีเป็นเพียงของแถม

ที่มา http://macroart.net/2012/10/tax-reduction/