วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

17 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ Hard Disk


มีความเชื่อต่างๆ นานาเกี่ยวกับ HDD.และการใช้งาน HDD.ซึ่งเป็นความเชื่อบางอย่างที่มันเป็นความเชื่อ ที่ผิดๆ และทำให้เราไม่สามารถใช้งาน HDD. ได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันว่าความเชี่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ความเชื่อที่ 1 : การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย

ความ เชื่อที่ 2 : การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์ ;อะไรสักอย่าง วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด;bad sector ได้
ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้องมากับการฟอร์แมต

ความเชื่อที่ 3 : การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.

ความเชื่อที่ 4 : การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง
ข้อ เท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็กเตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลในการใช้งานจริง ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ความเชื่อที่ 5 : ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้ เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น
ข้อ เท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

ความเชื่อที่ 6 : การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้ อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง
ข้อ เท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของ HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

ความเชื่อที่ 7 : พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย
ข้อ เท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า

ความเชื่อที่ 8 : ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน อายุการใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ
ข้อเท็จ จริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ

ความ เชื่อที่ 9 : ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับการทำงานได้ มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง หมุนช้าลง
ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

ความเชื่อที่ 10 : เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน
ข้อ เท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.

ความเชื่อที่ 11 : เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้ อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป
ข้อ เท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

ความเชื่อที่ 12 : การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว
ข้อ เท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่า มีการ เสื่อมแต่อย่างใด

ความเชื่อที่ 13 : ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)
ข้อ เท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงในช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

ความเชื่อที่ 14 : การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้
ข้อ เท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

ความเชื่อที่ 15 : การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย
ข้อ เท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

ความเชื่อที่ 16 : เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์) และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.
ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรับการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได้

ความเชื่อที่ 17 : เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำรองบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด

สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้ว

bad sector
bad sector คือการเกิดขีดข่วย ฝุ่นละออง ที่มาจากการสึกกร่อนและเสียดสีของ platter และหัวอ่านเท่านั้น จาก ความเชื่อนั้นผิดครับ ที่จิงแล้วถึงท่านจะไม่ได้ใช่หากเลื่อนย้ายบ่อย มันก็เกิด badแล้ว
และฮาดดิสที่มีเสียงดังเพราะ จาน หรือ หัวอ่าน ตรงจุดหมุนมันคลอนครับ

ที่มา: http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=505848

นิพจน์ปกติ หรือ นิพจน์ปรกติ

สงสัยว่ามันแตกต่างกันอย่างไร

... คำว่า "ปรกติ" ซึ่งข้าพเจ้าเคยคิดว่าเป็นคำสันสกฤต ซึ่งตรงกับคำบาลีว่า "ปกติ" (ปะ-กะ-ติ) แต่ความจริงแล้วหาใช่คำสันสกฤตไม่ เพราะคำสันสกฤตคือ "ปรกฤติ" (ประ-กริ-ติ) ซึ่งออกเสียงแบบไทยไม่เพราะเลย ท่านจึงเอา "ร" กล้ำจาก "ปฺรกฺฤติ" มากล้ำกับคำบาลีที่ว่า "ปกติ" จึงสำเร็จรูปแบบคำพันทางว่า "ปรกติ" ... [1]

... ทำนองเดียวกับคำว่า “ปกติ” (ปะ-กะ-ติ) ซึ่งเป็นรูปบาลี กับ “ปรกติ” (ปฺรก-กะ-ติ) ซึ่งเป็นรูปสันสกฤตนั่นเอง ถ้าเราอ่าน “ปกติ” เป็น “ปก-กะ-ติ” ผู้ฟังก็คิดว่าเราอ่านผิด ออกเสียงไม่ชัด ... [2]

สำหรับตัวผมแล้วควรใช้ ปรกติ เนื่องจาก คำว่า นิพจน์ ลงท้ายด้วย สระ โอะ มันจะฟังเข้ากันมากกว่า ถ้าใช้ ปกติ มันฟังแล้วขัดๆ ลองอ่านดู

  • นิพจน์ปรกติ = นิ-พด-ปฺรก-กะ-ติ
  • นิพจน์ปกติ = นิ-พด-ปะ-กะ-ติ


ตามปกติเราจะเห็นรอยยิ้มจากดวงจันทร์กับดาว 2 ดวงดังรูปซ้าย
แต่อันที่จริงภายในจิตที่ไม่ปรกติ อาจรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นรูปขวามากกว่า


ชีวิตคนปกติ เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจทำให้หน้าตาไม่ปรกติ

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2:%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4

http://www.vcharkarn.com/vcafe/142470

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันเกิด

วันเกิด หรือ วันคล้ายวันเกิด คือวันที่ถือว่าเป็นวันที่คนๆ หนึ่งเกิดมา แล้วมีชีวิตอยู่บนโลกนี้เป็นวันแรก โดยเมื่อวันเกิดของคนๆ หนึ่งเวียนมาครบรอบปี จะเรียกวันนั้นว่าเป็นวันคล้ายวันเกิด ในหลายวัฒนธรรมจะมีการฉลองวันเกิดในวันนั้น วิธีการฉลองมีหลากหลาย อย่างเช่นชาวพุทธอาจจะมีการทำบุญตักบาตรใน ตอนเช้า และมีการเลี้ยงฉลองกันในตอนเย็น หนึ่งในรูปแบบการฉลองที่เป็นที่นิยมที่สุดคือการเป่าเทียนบนเค้กวันเกิด โดยที่บนเค้กวันเกิดจะมีการปักเทียน (เป็นเทียนขนาดเล็ก อาจจะปักเทียนเท่ากับจำนวนอายุของเจ้าของวันเกิด หรืออาจจะปักเพียงเล่มเดียว หรืออื่นๆ ก็แล้วแต่) จากนั้นเพื่อนร่วมงานวันเกิดจะร้องเพลงวันเกิด เมื่อเพลงจบแล้วให้เจ้าของวันเกิดอธิษฐานสิ่งที่ตนหวังไว้แล้วเป่าเทียน จากนั้นก็จะมีการทานเค้ก หรือมีการมอบของขวัญ หรืออื่นๆ ตามแต่ผู้จัด

"ให้โชคดีสุขศรีวันเกิด
สิ่งประเสริฐใดหวังตั้งใจ
ให้สุขสมดังฝันใฝ่
จิตแจ่มใสทุกวันทุกคืน
ให้มั่งมีเงินทองยศศักดิ์
ให้คนรักมากมีดาษดื่น
ทำสิ่งใดให้ลุล่วงราบรื่น
อายุยืนปลอดโรคปลอดภัย"
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

benzene อันตราย ???


พอดีสงสัย forward mail เรื่องหนึ่ง "อย่าเปิดเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ทันทีที่คุณขึ้นรถ" ก็เลยรู้สึกว่ามันแปลกๆ ว่ามันจริงหรือเปล่า ก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับสารระเหยของ benzene ที่มีอยู่ในธรรมชาติ
เบนซิน (benzene) เป็นของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นน่าดม ระเหยได้เร็ว ละลายน้ำได้เล็กน้อย ไวไฟมาก เกิดได้ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและกระบวนการผลิต
เบนซินเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติก เรซิน ไนลอน และใยสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์บางชนิด ซึ่งได้แก่ ยาง สารหล่อลื่น สี ดีเทอร์เจนท์ และยาฆ่าแมลง อาจใช้เบนซินในการผลิตด้วย
ภูเขาไฟระเบิดและไฟไหม้ป่าทำให้เกิดเบนซินตามธรรมชาติได้ เบนซินยังเป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบ (crude oil) น้ำมันเบนซินที่เราใช้เติมในรถยนต์ (gasoline) และในควันบุหรี่

เบนซินในแง่สิ่งแวดล้อม
* เบนซินที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งหมดมาจากการอุตสาหกรรม
* เบนซินในน้ำและดินสามารถผ่านเข้าสู่อากาศได้
* เบนซินจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นในอากาศแล้วสลายตัวไปภายใน 2-3 วัน
* เบนซินในอากาศสามารถรวมเข้ากับฝนหรือหิมะและกลับลงมาที่พื้นดิน
* เมื่ออยู่ในน้ำและในดินจะสลายตัวได้ช้า สามารถผ่านชั้นดินลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินได้หรือน้ำบาดาล
* สัตว์และพืชไม่มีการสร้างเบนซินเพื่อใช้ในร่างกาย

ร่างกายได้รับเบนซินได้อย่างไร
* อากาศนอกอาคาร มักมีเบนซินปนอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมาจากควันบุหรี่ อู่ซ่อมรถ ไอเสียจากยานพาหนะต่างๆ และจากปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรม
* อากาศในอาคาร มักมีเบนซินในระดับสูง ซึ่งรับเบนซินมาจากผลิตภัณฑ์ที่มีเบนซินเป็นส่วนผสม เช่น กาว สี แว็กซ์เคลือบเฟอร์นิเจอร์ ผงซักฟอก
* อากาศในบริเวณสถานบำบัดของเสีย หรือปั๊มป์น้ำมันปกติจะมีเบนซินอยู่ในระดับสูง
* การรั่วไหลจากถังเก็บ จากคลังวัตถุมีพิษหรือโรงกำจัดของเสียที่มีเบนซินอยู่ด้วย เป็นสาเหตุให้มีการปนเปื้อนเบนซินในน้ำบาดาล
* ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตเบนซิน หรือมีการใช้เบนซิน มีโอกาสได้รับเบนซินในระดับสูง

เบนซินมีผลอย่างไรต่อสุขภาพ?
การหายใจเอาเบนซินเข้าไปในระดับสูงมากๆ สามารถทำอันตรายถึงสิ้นชีวิตได้ ในระดับสูงรองลงมาก็เป็นเหตุให้ เซื่องซึม วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ใจสั่น สับสน และหมดสติ การดื่มและการกินอาหารปนเปื้อนเบนซินในระดับสูงสามารถทำให้มีอาการ อาเจียน กระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ ง่วงนอน ชัก หัวใจเต้นเร็ว และเสียชีวิต

การได้รับเบนซินโดยต่อเนื่องเป็นเวลานาน (365 วัน หรือนานกว่า) จะมีผลต่อเลือด เบนซินจะทำลายไขกระดูก เป็นเหตุให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง และนำไปสู่โรคโลหิตจาง (anemia) ทำให้เลือดไหลหยุดได้ยากกว่าปกติ ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ สตรีที่สูดดมเบนซินเป็นเวลาหลายเดือนจะมีระยะรอบเดือนไม่ปกติ มี ขนาดรังไข่เล็กลง ยังไม่ทราบว่าเบนซินมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ แต่ผลการทดลองกับสัตว์พบว่าตัวอ่อนมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติ มีการสร้างกระดูกช้า และหากตัวแม่สูดดม เบนซินก็จะทำให้ไขกระดูกของลูกในครรภ์ถูกทำลาย

เบนซินทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่?
เป็นที่ทราบแล้วว่าการสูดดมเบนซินในอากาศเป็นเวลานาน จะทำให้เป็น Leukemia ซึ่งหมายถึงมะเร็งเม็ดเลือดที่มีเม็ดเลือดขาวมากและเม็ดเลือดขาวนั้นก็ยัง ผิดปกติอีกด้วย
จะตรวจสอบทางแพทย์ได้หรือไม่ว่าร่างกายได้รับเบนซิน?
ทำได้หลายทาง ได้แก่
1. การตรวจสอบลมหายใจ จะตรวจสอบได้ก็ต่อเมื่อเพิ่งจะได้รับเบนซินมาเท่านั้น
2. การตรวจหาเบนซินในเลือด จะตรวจหาได้เมื่อได้รับเบนซินมาไม่นานนัก เพราะเบนซินสลายตัวในเลือดได้เร็ว
3. การตรวจหาเบนซินในปัสสาวะ เบนซินในร่างกายจะถูกเปลี่ยนไปเป็นมีแท็บโบไลท์ (metabolite) ชนิดหนึ่ง มีแท็บโบไลท์หมายถึงสารที่เกิดจากการสันดาป มีแท็บโบไลท์ที่มา
4. จากเบนซินสามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะ การตรวจสอบจะต้องทำหลังจากการได้รับเบนซินไม่นานเช่นกัน ผลจากการตรวจสอบวิธีนี้ไม่ค่อยถูกต้องนักเนื่องจากมีแท็บโบไลท์ดังกล่าวอาจ มาจากแหล่งอื่นได้เช่นกัน ระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ปริมาณสูงสุดในน้ำดื่ม, ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อลิตร
ปริมาณสูงสุดในอากาศในที่ทำงาน, ไม่เกิน 1 ppm

ที่มา
http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_benzene.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Benzene
http://en.wikipedia.org/wiki/Hydrocarbon

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

C Band vs Ku Band ???

สงสัยมานานละว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ก็เลยได้คำตอบมา

C-band สัญญาณย่านขาขึ้น (Uplink) ใช้ย่านความถี่ ๖ GHz และสัญญาณขาลง (Downlink) ใช้ย่านความถี่ ๔ GHz จึงนิยมเรียกว่า ๖ / ๔ GHz ความถี่

C-band นี้อาจรบกวนกับการสื่อสารผ่านคลื่นไมโครเวฟบนภาคพื้นดินได้ง่าย อีกความถี่ที่ใช้งานมากคือ

Ku-band ใช้ความถี่ขาขึ้น ๑๒ - ๑๔ GHz และความถี่ขาลง ๑๑ – ๑๒ GHz โดยประมาณซึ่งนิยมใช้ในกิจการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยตรง (Direct Broadcast System: DBS) แต่มีข้อเสียหลักคือ สัญญาณจะถูกลดทอนกำลังจากเม็ดฝนค่อนข้างมาก ความถี่ย่าน X –band ( ๘ / ๗ GHz) ใช้ในกิจการทหารส่วนความถี่ย่าน Ka-band ( ๔๐ / ๒๐ GHz) มีแนวโน้มจะนำมาใช้มากในอนาคตเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของความถี่ใช้งาน เช่น โครงการ IP-Star ของบริษัท ไทยคม

เวลาฝนตกแล้วดูไม่ได้ อาการที่ว่า เรียกว่า Rain Fade ครับ
ระบบ KU อยู่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นจานดาวเทียมแบบ Ku-band ซึ่งถือได้ว่าเป็นย่านความถี่ที่สูงมาก(10.7 - 12.7 GHz) และในการเลือกเอาย่านความถี่สูงๆมาใช้นั้นมีข้อดีคือ คลื่นรบกวนน้อยมาก ส่งผลให้การส่งสัญญาณระบบ Digital ด้วยความถี่ระดับนี้ได้คุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงที่ชัดเจนมากกว่า และในการติดตั้งชุดรับสัญญาณก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้ชุดรับสัญญาณที่มีขนาดกระทัดรัด(70 - 90 cm) ในขณะที่ชุดรับสัญญาณย่านความถี่ต่ำๆ ต้องใช้ชุดรับสัญญาณขนาดใหญ่ๆ แต่ว่าจานดาวเทียมย่าน Ku-band นี้ มีข้อเสียคือ ในคลื่นความถี่สูงๆ ที่ส่งตรงมาจากดาวเทียมถึงจานรับสัญญาณโดยตรงนั้น ความยาวคลื่นจะสั้นด้วย จึงไม่สามารถ ทะลุผ่านเม็ดฝน ในกรณีที่ฝนตกหนัก ซึ่งเม็ดฝนที่หนาแน่นนั้นจะบังทิศทางการเดินทางของคลื่น แต่หากเม็ดฝนไม่หนาแน่น จะยังสามารถรับสัญญาณได้ชัดเจนทั้งภาพและเสียงโดยไม่มีสัญญาณรบกวนใดๆ(เว้น แต่กรณีที่ระดับสัญญาณที่รับได้ต่ำมากๆ) ดังนั้น ไม่ว่าสัญญาณโทรทัศน์ใดๆ ที่ใช้การรับส่งสัญญาณในย่านความถี่ Ku-Band นี้ก็จะประสบปัญหา Rain Fade เช่นนี้แหละครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศว่ามีฝนตกหนาแน่นแค่ไหน อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ได้รับจากฝนตกมักเป็นช่วงเวลาเพียงสั้นๆเท่านั้นครับ

ปัจุบัน มีหัวรับสัญญาณดาวเทียม(LNB) ที่สามารถรับได้ทั้ง C และ Ku band เรียกว่า C-KU Duo แต่จานรับสัญญาณต้องใช้ขนาดของ C band

ที่มา

http://thaidreambox.bayore.net/index.php?topic=665.0

http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g21/page7.htm

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สายสัญญาณภาพ

พักนี้กำลังสนใจเกี่ยวกับ การตัดต่อ Video ก็เลยอยากรู้ความแตกต่างของช่องสัญญาณแต่ละช่อง
เริ่มจากอันดับตํ่าสุดจนถึงสูงสุด


1. Coaxial Video สัญญาณ video และ audio จะถูกผสมสัญญาณรวมกันเป็นสายเพียงเส้นเดียว


2. Composite Video สัญญาณภาพถูกแยกออกจากสัญญาณเสียง ก่อนที่จะถูกผสมกับสัญญาณ carrier
สัญญาณภาพมีความละเอียดตํ่าโดยเกิดการรวมกันระหว่าง [YUV] โดยที่ Y แทน brightness หรือ luminance ส่วน U และ V แทน hue และ saturation หรือ chrominance


3. S-Video สัญญาณภาพจะถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ lumen (luminance) และ chroma (color) โดยมีความละเอียดสูงขึ้นกว่าเดิมในระดับ 480i (525 เส้น) และ 576i (625 เส้น)



4. Component Video สัญญาณภาพจะถูกแยกออกเ็ป็น 3 ส่วน คือ Y(luminance) Pb(B-Y) และ Pr(R-Y) มีความละเอียดสูงมาก ตั้งแต่ระดับ 480p จนถึง 1080p



5. HDMI และ DVI-D ใช้การเข้ารหัสข้อมูลภาพในรูปแบบ TMDS (Transition Minimized Differential Signaling) สำหรับข้อมูลโดยที่ไม่มีการบีบอัด มีความละเอียดสูงที่สุดตั้งแต่ระดับ 480i จนถึง 1600p



อีกนิดนึง วงจรแปลง S-Video เป็น RCA (composite video signal)



ที่มา
http://www.lyberty.com/encyc/articles/svideo.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Composite_video
http://en.wikipedia.org/wiki/S-Video
http://en.wikipedia.org/wiki/Component_video
http://en.wikipedia.org/wiki/High-Definition_Multimedia_Interface
http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_Visual_Interface
http://en.wikipedia.org/wiki/Video_Graphics_Array
http://electronic.rmutl.ac.th/webboard/index.php?topic=585.0

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การ Low-level Format และ High-level Format

ลองมดูกันว่า วิธี format มีกี่วิธี

การ Low-lovel Format เป็นกระบวนการทำงานของฮาร์ดดิสก์โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างหรือกำหนด Track, Sector หรืออธิบายได้อีกอย่างว่าเป็นการเขียนโครงสร้างของ Track,Sector ตามรูปแบบที่ Firmware ภายในฮาร์ดดิสก์ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การทำงานของกลไกภายในกับวงจรควบคุมหรือ PCB สอดคล้องเป็นระบบเดียวกัน ซึ่งการ Low-level Format นั้นเป็นการลบข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่าง โดยที่ข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกลบไปอย่างถาวรจริง ๆ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันเสียก่อนว่า การ Low-level Format นั้น เป็นกระบวนการทำงานหรือเป็นคำสั่งของฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า ที่ยังใช้ Actuator แบบ Stepper Motor ,ใช้ระบบ Servo เก่า ๆ แบบ Dedicated Servo, มีการใช้โครงสร้างของ Track, Sector แบบเก่า ซึ่งฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่และไม่เหมือนกันเลย การใช้ Stepper Motor เป็น Actuator ของฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า ๆ นั้น มีข้อเสียหรือจุดอ่อนตรงที่เมื่อเราใช้ไปนาน ๆ เฟืองกลไกภายใน Motor จะหลวม ทำให้การควบคุมให้หัวอ่าน/เขียนอยู่นิ่ง ๆ บน Track (ที่จะอ่านข้อมูล)เป็นไปได้ยาก และอีกสาเหตุที่กลไกหลวม ก็เพราะอุณหภูมิที่สูงซึ่งเกิดจากการที่ตัว Actuator เคลื่อนที่ไปมาเพื่อหาข้อมูล แน่นอนค่ะ

มันเป็นโลหะที่ต้องมีความร้อนเกิดขึ้น เปรียบเทียบก็เหมือนกับ Ster รถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ ที่ต้องรูด เมื่อเจอกับโซ่ที่ลากผ่านไปมาเป็นเวลานาน ๆ และก็เป็นสาเหตุให้หัว/อ่านเขียน ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่าง ถูกต้อง ยิ่งนับวันอาการก็จะรุนแรงมากขึ้น

อีกประการหนึ่งที่การ Low-level Format ไม่สามารถนำมาใช้กับ ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ได้ก็เพราะโครงสร้างการจัดวาง Track, Sector ไม่เหมือนกัน ฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าจะมีจำนวนของ Sector ต่อ Track คงที่ ทุก ๆ Track แต่ในฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ จำนวนของ Sector จะแปรผันไปตามความยาว ของเส้นรอบวง (ของ Trackนั่นแหละค่ะ) ยิ่งต่างรุ่นต่างยี่ห้อต่างความจุ ก็ยิ่งต่างไปกันใหญ่ หากเราฝืนไป Low-level Format บอกตรง ๆ ว่านึกไม่ออกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฮาร์ดดิสก์อาจไม่รับคำสั่งนี้เพราะ ไม่รู้จักหรืออาจรับคำสั่งแล้วแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร จนอาจจะทำให้วงจรคอนโทรลเลอร์ (PCB) สับสนกันเอง (ระหว่าง IC) จนตัวมันเสียหายก็ได้ แต่ถ้าฮาร์ดดิสก์ของเพื่อนท่านใดเป็นรุ่นเก่า ซึ่งมีลักษณะตรงกับที่เอ่ยมา และมี BIOS ที่สนับสนุนก็สามารถ Low-level Format ได้ครับ (เช่น คอมฯ รุ่น 286 ที่มี Hdd 40MB.) เราจะเห็นได้ว่า BIOS รุ่นใหม่จะไม่มีฟังก์ชั่น Low-level Format แล้ว เพราะ BIOS ก็ไม่อาจที่จะรู้จักโครงสร้าง Track, Sector ของฮาร์ดดิสก์ได้ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่นเพราะความต่างอย่างที่บอกไว้ละค่ะ

กลับมาสู่ความจริงของความรู้สึกเรากันหน่อยนะคะ ซึ่งเข้าใจดีว่า เพื่อน ๆ ทุกคนหากเมื่อเจอ Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์ของตัวเองย่อมใจเสียแน่นอน เพราะข้อมูล ที่อยู่ข้างในนั้นมีผลกับจิตใจ กับความรู้สึกของเรามาก และเราต้องการที่จะได้มันคืน และในตอนนั้นเราก็ไม่ได้คิด ถึงด้วยซ้ำว่าเราซื้อมันมาแพงแค่ไหน และถ้าหากเราได้ยิน ได้ฟังอะไรที่เล่าต่อกันมาว่า มันสามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเราดีเช่นเดิมได้ เราย่อมให้ความสนใจ อยากลอง อยากได้ อยากมี แต่ว่าการ Low-level Format นั้นใช้ไม่ได้กับฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ เราไม่สามารถเอา สนามแม่เหล็กมาเรียงให้ดีเหมือนเดิมได้ และไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะมาช่วยได้ด้วย ก็ต้องปลง และถนอมมัน ให้ดีที่สุด
การ High-level Format หรือการ Format (หลังจากการแบ่ง Partition แล้ว) ที่เราเรียกกันอยู่บ่อย ๆ โดยใช้ DOS นั้นมีจุดประสงค์เพื่อทำการเขียนโครงสร้างของระบบไฟล์ (FAT: File Allcation Table ซึ่งมีทั้ง FAT32 และ FAT16) และเขียน Master Boot Record (ซึ่งเป็นพ.ท.ที่จะเก็บแกนหลักของระบบปฏิบัติการเช่น DOS) การ Format นี้นั้นฮาร์ดดิสก์จะไปลบ FAT และ Master Boot Record ทิ้งไป แต่มันไม่ได้ทำการลบทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนดังเช่นเรากวาดของบนโต๊ะทิ้งไปจนเหลือแต่พื้นเรียบๆ มันแค่ทำการเขียนข้อมูล "0000" ลงไปบนแผ่นดิสก์ เท่านั้น ซึ่งคำว่า "เขียนข้อมูล 0000 ก็คือการFormat ของเรานั่นแหละค่ะ" ดังนั้นหากใครคิดว่าการ Format บ่อย ๆ นั้น ไม่ดีก็นานาจิตตังค่ะ

บางคนถามว่า Virus ทำให้เกิด Bad Sector ได้หรือไม่ ขอตอบว่าไม่ แต่มันทำให้ ฮาร์ดดิสก์เสียได้ค่ะ เพราะการที่มันเข้าไปฝังที่ Master Boot Record ค่ะ ก็ต้องแก้กันโดยการ Fdisk กำหนด Partition กันใหม่ และVirus ก็เป็นเพียงแค่ข้อมูล ๆ หนึ่งที่เราจะลบทิ้งไปก็ได้ และ Virus จะเข้าไปใน Firmware และSystem Area ของฮาร์ดดิสก์ก็ไม่ได้เด็ดขาด เพราะ Firmware ของฮาร์ดดิสก์จะไม่ยอมให้แม้กระทั่ง BIOS ของคอมฯเห็น Cylinder นี้ซึ่งเสมือนว่า Cylinder นี้ไม่มีอยู่จริง การที่ฮาร์ดดิสก์พบ Bad Sector นั้น มันจะทำการทดลองเขียน/อ่านซ้ำ ๆ อยู่พักหนึ่งจนกว่าจะครบ Loop ที่ กำหนดแล้ว ว่าเขียนเท่าไหร่ก็อ่านไม่ได้ถูกต้องซักที ฮาร์ดดิสก์ก็จะตีให้จุดนั้นเป็นจุดต้องห้ามที่จะเข้าไปอ่านเขียนอีก แต่ถ้าข้อมูลสามารถกู้คืนมาได้มันก็จะถูกย้ายไปที่ ๆ เตรียมไว้เฉพาะ เมื่อฮาร์ดดิสก์ตีว่าจุดใดเสียแล้วมันจะเอาตำแหน่งนั้นไปเก็บที่ System Area ซึ่งข้อมูลที่บอกว่ามีจุดใดที่เสียบ้างนั้นจะถูกโหลดมาทุกครั้งที่ ฮาร์ดดิสก์ Boot และเราไม่สามารถเข้าไปแก้ข้อมูลนี้ได้ด้วยค่ะ Norton ก็ทำไม่ได้ สิ่งที่มันทำ ก็ทำได้แค่ Mark ไว้แล้วก็เก็บข้อมูล นี้ไว้ จากนั้นก็ทำเหมือนกับที่ Firmware ฮาร์ดดิสก์ทำ คือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พ.ท.นี้อีก หรือหลอกเราว่าไม่มี พ.ท.เสีย เกิดขึ้นเลย การ Format ด้วย DOS ก็แก้ไขไม่ได้เช่นกันคะ เพื่อน ๆ บางคนคิดว่าหากมี Bad Sector แล้วมันจะขยายลุกลามออกไป ขอตอบว่าไม่จริงค่ะ เราไม่ควรลืม ว่า บนแผ่นดิสก์นั้นคือสารแม่เหล็กที่ฉาบอยู่ และมันหลุดได้ยาก ต่อให้หลุดแล้วก็ลามไม่ได้ด้วยนะคะ

ที่มา http://www.dld.go.th/ict/article/hard/hw02.html

Bad Cluster หรือ Bad Sector

HDD เจ้งครับทำไงดี ก็เลยลองหาข้อมูลว่าทำอย่างไรไม่ให้เกิด Bad Sector (ซึ่งคาดว่าจะยาก)

ขอชี้แจงเรื่อง การซ่อมฮารด์ดิสก์ โดยแก้ไขไม่ให้มี Bad Cluster หรือ Bad Sector ให้เพื่อน ๆ เข้าใจสักหน่อยนะคะว่า การที่ฮารด์ดิสก์มี Bad Cluster หรือ Bad Sector นั้น เราไม่สามารถที่จะแก้ไขไม่ให้มันหายไปได้ เพราะการทำงานของ Firmeware ในฮารด์ดิสก์จะกำหนดไว้ว่า ถ้าหากหัวอ่าน/เขียนของมัน พบปัญหา เช่นอ่านแล้วข้อมูลไม่ถูกต้อง และวงจรตรวจสอบที่อยู่บน PCB มันใช้ ECC หรือ CRC หรือ Read Retry (หรือวิธีอื่น ๆ ที่แล้วแต่เทคโนโลยีของ บ. ผู้ผลิต) เข้ามาช่วยแล้วแต่แก้ไขไม่ได้ ฮารด์ดิสก์จะตีว่า พ.ท.นั้นเป็น Defect หรือกำหนดให้เป็นจุดเสียที่มันจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวอีก และข้อมูลที่เอาไว้บอกตัวฮารด์ดิสก์เองว่าจุดใดบ้างที่เสียนั้น จะเก็บไว้ที่ System Area ซึ่งเป็น Cylinder ที่เราจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลในจุดนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็น Cylinder ที่ฮารด์ดิสก์กันเอาไว้ให้ตัวของมันเองโดยเฉพาะ และทุกครั้งที่ฮาร์ดดิสก์บูตมันจะต้องเข้าไปอ่านข้อมูลที่ System Area แล้วเอามาเก็บที่ Ram เพื่อที่จะบอกกับตัวมันเองว่ามี พ.ท. ตรงไหนบ้างที่ห้ามเข้าไปอ่าน/เขียน

การที่จะเข้าไปแก้ข้อมูลในจุดนี้ต้องใช้เครื่องที่โรงงานผู้ผลิตนั้นออกแบบ มาโดยเฉพาะ และต่อให้เราเข้าไปแก้ได้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะ พ.ท.ตรงนั้นอาจมีสิ่งสกปรกติดอยู่ หรือสนามแม่อาจถูกกระทบกะเทือนจนหลุดออก ซึ่งเป็นชิ้นเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น และในความเป็นจริงยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากที่ทำให้เกิด Bad Cluster หรือ Bad Sector ก็ตามแต่จะเรียก สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือ ห้ามกระแทกฮารด์ดิสก์แรง ๆ ไม่ว่ามันจะทำงานอยู่หรือไม่ก็ตาม และเมื่อคุณจับมันก็ไม่ควรจับที่ PCB เพราะไฟฟ้าสถิตย์ในตัวเราอาจวิ่งไปยังวงจรที่ PCB แล้วทำให้ IC เสียหายได้ และจุดนี้เองที่ร้านที่ทำให้เกิดร้านรับซ่อมฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเขาเพียงแค่อาศัยการเปลี่ยนแผ่น PCB ที่ประกบอยู่โดยการหารุ่นและยี่ห้อที่ตรงกันมาเปลี่ยน ง่าย ๆ เท่านี้เอง

และการที่เราคิดว่าแผ่นดิสก์ภายในมีรอยก็น่าจะเปลี่ยนได้ ขอบอกเพื่อน ๆ ว่าเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดที่จะเปิด Cover หรือฝาครอบมันออกมาแล้วเอาแผ่นใหม่ใส่เข้าไป เพราะบนแผ่นดิสก์ทุกแผ่นและทั้งสองด้านของแผ่นจะมีสัญญาณ Servo เขียนอยู่ ซึ่งสัญญาณนี้จะถูกเขียนในลักษณะตัดขวางเหมือนกับการแบ่งเค้กกลม ๆ ออกเป็นส่วน ๆ โดยที่สัญญาณนี้จะต้องตรงกันทุกแผ่นจะวางเยื้องกันไม่ได้เลย เพราะเครื่องเขียนสัญญาณกำหนดให้ต้องตรงกัน ซึ่งขอเปรียบเทียบกับล้อรถยนต์ที่ต้องมีจุ๊บเติมลม ที่เราต้องเอาจุ๊บของล้อทุกล้อมาวางให้ตรงกันเพื่อที่จะบอกให้ PCB ได้รับทราบว่าจุดเริ่มต้นของดิสก์หรือ Sector 0 หมุนไปอยู่ที่ใดบนแผ่นดิสก์ และสัญญาณนี้ไม่สามารถมองให้ได้ด้วยตาเปล่าต่อให้เอากล้องจุลทรรศมาส่องก็ ไม่เห็น การที่เราจะจับฮารด์ดิสก์ให้มีความปลอดภัยนั้นตัวเราต้องลงกราวนด์ นั่นคือเท้าเราต้องแตะพื้นให้ไฟฟ้าสถิตย์จากตัวเราไหลลงพื้นดิน เพื่อน ๆ อาจนึกไม่ถึงว่ามันจะมีผลมากถึงขนาดว่าทำให้ฮารด์ดิสก์เสีย แต่เราอย่าลืมว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราไปจับโลหะอะไรมาบ้างแล้วมัน ถ่ายเทประจุให้เราเท่าไหร่,จะมีผลต่อสิ่งอื่น ๆ ไหมเราไม่รู้เหมือนกับรถบรรทุกขนถ่ายน้ำมัน ที่เวลาวิ่งต้องเอาโซ่ลากไปตามถนนเพื่อระบายประจุ หรือทำให้เกิดความต่างศักย์น้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์เพราะมันอันตรายมากที่เวลาเอาหัวจ่ายน้ำมันรถไปต่อกับวาลว์รับ น้ำมัน ซึ่งอาจเกิดประจุไฟ้ฟ้าวิ่งจากศักย์สูงไปศักย์ต่ำแล้วเป็นประกายไฟ เพราะเวลารถวิ่งไปชนอากาศที่มีประจุลอยอยู่มันก็จะสะสมไปเรื่อย ๆ

อยากบอกว่าเสียดายมาก ๆ หากฮารด์ดิสก์เกิด Bad Sector ขึ้นมาแต่ก็ต้องทำใจยอมรับ เนื่องจากมันแก้ไขไม่ได้จริง ๆ ต่อให้เอาเครื่องมือในโรงงานมากองต่อหน้าแล้วให้อยู่ใน Clean Room ก็ทำไม่ได้ (ยกเว้นนั่งรื้อชิ้นส่วนออกหมดแล้วเอาแผ่นดิสก์ใหม่มาใส่เพราะเครื่องเขียน Servo อยู่ในนั้น) แต่การที่เราจะเลี่ยงไม่ใช้ พ.ท.ที่เสียอยู่ในตอนอื่น ๆ ของข้อมูลนั้นก็ทำได้เช่นแบ่งพาร์ทิชั่นออกเป็นส่วน ๆ โดยให้พาร์ทิชันที่เราไม่ต้องการครอบตรงจุดเสียไว้ หรือถ้าหากเราต้องการกู้ข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ๆ ก็ต้องใช้ Software ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่น Spinrite หากถามว่าทำไม บ.ผู้ผลิตไม่ออกแบบให้ฮาร์ดดิสก์แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อน หรือให้มันสามารถกู้ข้อมูลได้เล่า คำตอบก็เป็นเพราะมันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น, และทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตหรือกว่าที่จะออกจำหน่ายได้ช้าออกไปอีก ,ทำให้ความเร็วในการทำงานลดลงด้วย

ที่มา http://www.dld.go.th/ict/article/hard/hw02.html