วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553
โอกาสและข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม
พลังงาน ลมมีต้นกำเนิดจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยอ้อม กล่าวคือ เมื่อแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบผิวโลกในลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกแตกต่างกัน ส่วนที่ร้อนมีความหนาแน่นน้อยจะลอยสูงขึ้น ทำให้อากาศส่วนที่เย็นมีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้ามาแทนที่ ก่อให้เกิดลม ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศขึ้น
ความ จริงแล้วการนำพลังงานลมมาใช้ประโยชน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด โดยนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานแล้ว โดยใช้ประกอบกับเครื่องจักรอื่นๆ เช่น เครื่องสีข้าว ระหัดวิดน้ำ ฯลฯ โดยการนำพลังงานจากลมออกมาใช้ประโยชน์นั้น เครื่องมือสำคัญ คือ กังหันลม (Wind Mill) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานจลน์จากลมมาเป็นพลังงานกลโดยตรง
ปัจจุบันผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมรายใหญ่ของโลก คือ บริษัท Vestas Wind Systems ของเดนมาร์ก รองลงมา คือ บริษัท General Electric ของสหรัฐฯ, บริษัท Enercon ของเยอรมนี บริษัท Gamesa Tecnologica ของสเปน บริษัท Suzlon ของอินเดีย และบริษัทซีเมนส์ของเยอรมนี ตามลำดับ
ผู้ ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไฟฟ้า เป็นต้นว่า พัฒนากังหันลมให้มีขนาดใบพัดใหญ่ขึ้น ติดตั้งบนเสาสูงขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญได้คำนวณว่าหากตั้งกังหันลมสูงขึ้นกว่าเดิมเท่าตัว จะทำให้ได้พลังงานลมซึ่งมีความเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ส่งผลทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นมากถึง 34%
จากแนวโน้มข้างต้น ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานลมมีขนาดใหญ่และมีความสูงกว่าเดิมมาก จากเดิมเมื่อปี 2528 โรงไฟฟ้าพลังงานลมจะมีกำลังผลิตเพียงแค่ 0.05 เมกะวัตต์ แต่ขนาดกำลังผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 1.5 เมกะวัตต์ ในปี 2541
ล่าสุดบริษัทมิตชูบิชิเฮฟวี่อินดัสตรีส์ของญี่ปุ่นได้ประกาศเมื่อกลางปี 2547 ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม ประกอบด้วยกังหันลมขนาดใหญ่โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 92 เมตร และมีกำลังผลิตไฟฟ้า 2.4 เมกะวัตต์ โดยจะนำไปติดตั้งบนหอคอยขนาดความสูง 70 เมตร ทำให้จุดสูงสุดของกังหันลมอยู่สูงกว่าระดับพื้นดินมากถึง 116 เมตร หรือเท่ากับตึกซึ่งมีความสูง 30 ชั้น
ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมทั่วโลก ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิม 5,000 เมกะวัตต์ ในปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 74,223 เมกะวัตต์ ในปี 2549 และผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 160,000 เมกะวัตต์ ในปี 2553
ขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ลดลงอย่าวรวดเร็วจากเดิม 0.40 เหรียญสหรัฐ/หน่วย ในปี 2522 ลดลงเหลือ 4 - 6 เหรียญสหรัฐ/หน่วย ในปี 2543 และลดลงอีกเหลือ 3 - 4.5 เหรียญสหรัฐ/หน่วย ในปี 2547
เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงที่ผ่านมากำลังผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมมีอัตราเติบโดยเฉลี่ยสูงถึง 29% ต่อปี นับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตของกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน 2.5% ต่อปี กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ 1.8% ต่อปี กำลังผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ 2.5% ต่อปี และกำลังผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน 1.7% ต่อปี
แม้กำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในปี 2549 อยู่ที่ระดับสูงถึง 74,223 เมกะวัตต์ แต่คิดเป็นเพียง 1% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สำหรับบางประเทศแล้ว กำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลมอยู่ในระดับสูงมาก เช่น เดนมาร์กอยู่ในระดับ 20% ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ ในขณะที่สเปนอยู่ในระดับ 9% และเยอรมนี 7.6%
เยอรมนีนับเป็นประเทศที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลมสูงที่สุดในโลก คือ 20,622 เมกะวัตต์ ในปี 2549 คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 28% ของกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลมทั่วโลก รองลงมา คือ สเปน 11,615 เมกะวัตต์ สหรัฐฯ 11,603 เมกะวัตต์ อินเดีย 6,270 เมกะวัตต์ เดนมาร์ก 3,140 เมกะวัตต์ จีน 2,604 เมกะวัตต์ อิตาลี 2,123 เมกะวัตต์ สหราชอาณาจักร 1,963 เมกะวัตต์
สำหรับจุดเด่นสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังงานลมมีหลายประการ โดยต้นทุนส่วนใหญ่ คือ 75 - 90% ของทั้งหมด เป็นค่าอุปกรณ์และการติดตั้ง ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในด้านบำรุงรักษานับว่าต่ำมาก ส่วนพลังงานก็ได้มาฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็ไม่มีปัญหาอากาศเป็นพิษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง
อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าพลังงานลมมีปัญหาข้อจำกัดสำคัญหลายประการ
ประการแรก แม้ลมจะพัดแรงมากที่บรรยากาศระดับสูง เนื่องจากสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง แต่กระแสลมที่ระดับพื้นดินมีอัตราความเร็วต่ำลงมาก เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางชะลอความเร็วลม เป็นต้นว่า บ้านเรือน อาคาร ต้นไม้ ภูเขา ฯลฯ
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่าหากจะนำกระแสลมมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าเชิงพาณิชย์แล้ว ควรจะเป็นสถานที่ซึ่งมีความเร็วลมไม่ต่ำกว่า 4.5 เมตร/วินาที และกระแสลมพัดสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งฟอสซิล
ประการที่สอง แม้ในธรรมชาติจะมีพลังงานลมจำนวนมหาศาล แต่พลังงานลมมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ปริมาณการผลิตไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น พลังงานลมมีปริมาณผันแปรในทางลบกับอุปสงค์ โดยวันที่มีอากาศร้อนซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อใช้เป็นพลังงานใน เครื่องปรับอากาศ กลับเป็นวันซึ่งมีแนวโน้มว่าลมพัดอ่อน ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้จำนวนน้อย ขณะเดียวกันวันที่มีอากาศเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่มีความต้องการไฟฟ้าน้อย กลับเป็นช่วงที่ลมพัดแรง
ประการที่สาม โรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่มีต้นทุนค่าก่อสร้างสูงมาก แต่ละตัวมีค่าก่อสร้างและติดตั้งมากกว่าร้อยล้านบาท แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยเพียงแค่ 30 - 40% ของกำลังผลิตเท่านั้น นับว่าต่ำกว่ากรณีโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หรือโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าโดยเฉลี่ยได้มากถึง 90% ของกำลังผลิต
ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีประเทศเยอรมนีซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลม 7% ของกำลังผลิตทั้งหมด แต่เนื่องจากพลังงานลมมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียง 1.5% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดเท่านั้น
ประการที่สี่ หากมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมจำนวนมาก จะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพต่ำลง เนื่องจากจะต้องลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำรองจำนวนมากเพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้า ในช่วงลมพัดอ่อน โดยโรงไฟฟ้าสำรองเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบกังหันก๊าซซึ่งใช้ก๊าซ ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากสามารถเปิดและปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว
อย่าง ไรก็ตาม โรงไฟฟ้าแบบกังหันก๊าซมีข้อเสียสำคัญ คือ มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่ากรณีเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินหรือใช้ นิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ว่าหากคำนวณครอบคลุมถึงต้นทุนโรงไฟฟ้าสำรองแล้ว จะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มขึ้นอีกหน่วยละประมาณ 0.3 บาท
ประการที่ห้า มีเสียงดังและมีผลกระทบต่อทัศนียภาพ โดยเฉพาะในปัจจุบันกังหันลมมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เสียงดังยิ่งขึ้นและสามารถมองเห็นได้แม้อยู่ระยะไกล ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น บางครั้งต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้ากังหันลมบริเวณนอกชายฝั่งแม้จะมีต้นทุนสูงกว่า บนแผ่นดินใหญ่มากถึง 50% ซึ่งนอกจากแก้ไขปัญหาทัศนียภาพแล้ว ยังมีข้อดีเพิ่มเติมอีก คือ กระแสลมบนพื้นน้ำจะมีความเร็วสูงกว่าบนพื้นดิน เนื่องจากผิวน้ำมีความราบเรียบมากกว่าพื้นดิน
ขณะ เดียวกันมีความพยายามวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังจากกังหันลม เป็นต้นว่า นักวิจัยของมหาวิทยาลัยโตไกของญี่ปุ่นได้ประกาศเมื่อปี 2545 เกี่ยว กับความสำเร็จในการประดิษฐ์ใบพัดของกังหันลมแบบใหม่ที่มีเสียงเบามากเป็นผล สำเร็จ เพื่อให้สามารถติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้ภายในตัวเมืองได้
ประการที่หก ปัญหาการลักขโมย เนื่องจากโรงงานผลิตไฟฟ้ากังหันลมมักตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดค่า เช่าที่ดิน ก่อให้เกิดปัญหาถูกลักขโมยชิ้นส่วนโลหะ เช่น บันไดสำหรับปีนขึ้นไปบำรุงรักษากังหันลม ฯลฯ ซึ่งนับเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีจัดตั้งโครงการในพื้นที่ประชากรมีความเป็นอยู่อย่างยากจน
สำหรับ กรณีของประเทศไทย ได้เคยมีการศึกษาพบว่ามีหลายพื้นที่มีศักยภาพสูงในการก่อตั้งโรงไฟฟ้า พลังงานลม โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้และอุทยานแห่งชาติดอยอิน ทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากที่ระดับความสูง 50 เมตร มีความเร็วลมเฉลี่ยรายปีตั้งแต่ 6.4 เมตร/วินาที ขึ้นไป สำหรับรองลงมาเป็นพื้นที่ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้ มีความเร็วลมเฉลี่ยรายปีตั้งแต่ 4.4 เมตร/วินาที ขึ้นไป
ใน ระยะที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทยอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างน้อย เป็นต้นว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ทำการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่แหลมพรม เทพ จังหวัดภูเก็ต
แต่ใน อนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทยเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากเทคโนโลยีในด้านนี้ก้าวหน้ารวดเร็วมาก ประกอบกับรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยครอบคลุมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมด้วย ทั้งนี้ ได้เสนอรับซื้อไฟฟ้าในอัตราสูงกว่าปกติมากถึง 2.5 บาท/หน่วย เป็นเวลา 7 ปี นับจากเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
ที่มา http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=20&s_id=222&d_id=225
VPN Client บน Windows XP
รูปที่ 1
3.เมื่อได้ดังรูปที่ 2 ให้คลิ๊ก Next
รูปที่ 2
4.เมื่อได้ดังรูปที่ 3 ให้เลือกรายการ Connect to the network at my workplace เพื่อสร้าง Connection ที่เป็น VPN แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 3
5. เมื่อได้ดังรูปที่ 4 ให้เลือก รายการ Virtual Private Network connection แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 4
6.เมื่อได้ดังรูปที่ 5 ให้ป้อนชื่อ Connection ที่สามารถสื่อความหมายได้ดี (ชื่อนี้จะถูกสร้างเป็นชื่อของ Icon) แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 5
7.เมื่อได้ดังรูปที่ 6 ให้เลือกรายการ Do not dial the initial connection เพราะเราจะสร้าง Connection ผ่านการ์ดแลน ไม่ใช่ Modem แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
รูปที่ 6
8.เมื่อได้ดังรูปที่ 7 ให้ป้อนชื่อหรือ IP Address ของ VPN Server แล้วคลิ๊กปุ่ม Next
|
รูปที่ 7
9.เมื่อได้ดังรูปที่ 8 ให้คลิ๊กปุ่ม Finish
รูปที่ 8
10.แล้วจะได้ดังรูปที่ 9 ถ้าต้องการจะเชื่อมต่อไปยัง VPN Server เลยก็ให้ป้อน User name และ Password แต่ถ้าต้องการไปเซ็ตค่า Property ต่าง ๆ เพิ่มเติมให้ให้คลิ๊กปุ่ม Cancel
รูปที่ 9
11.เมื่อเรากลับไปดูที่ตำแหน่งของ Network Connections จะเห็นว่ามี Connection Icon ของ VPN เพิ่มขึ้นมาใหม่ 1 Icon ดังรูปที่ 10 โดยที่ชื่อของ Connection Icon นี้ จะมีวงเล็บเป็น (PPTP) ต่อท้าย นั่นก็หมายถึงเป็น VPN Client แบบ PPTP นั่นเอง
รูปที่ 10
12.เราสามารถคลิ๊กเมาส์ขวาที่ Icon ดังกล่าวแล้วเลือกเมนู Properties เพื่อปรับแต่งคุณสมบัติให้เหมาะสมได้ สิ่งที่สามารถปรับได้เช่น ระบบความปลอดภัยใช้โปรโตคอลอะไรในการเข้ารหัสข้อมูล เป็นต้น
13.การเชื่อมต่อไปยัง VPN Server ก็ทำได้ด้วยการดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Icon ดังกล่าว โดยให้ป้อน User name และ Password ให้ตรงกับที่ได้เซ็ตไว้ที่ VPN Server ซึ่งถ้าสามารถ Connect ได้ก็จะมี รูปของ Connection Icon (รูปคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซ้อนกัน 2 ตัว) ปรากฎที่แถบสถานะทางมุมขวาล่าง ดังรูปที่ 11
รูปที่ 11
14.เมื่อเราใช้คำสั่ง ipconfig ที่ command line ก็จะได้ค่าของ IP Address ของเครื่องเป็น 2 ค่า ซึ่งค่าหนึ่งจะเป็น IP Address ของการ์ดแลนเดิมที่มีอยู่ อีกค่าเป็น IP Address ค่าใหม่ที่ VPN Server จ่ายมาให้ ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ Network ปลายที่ที่เครื่องของเราต้องการจะติดต่อด้วย
ที่มา http://www.itmanage.info/technology/windows/vpn_client_set.html
ตัวอย่างการใช้งาน VPN โดยใช้ Windows Server
Virtual Private Network หมายถึงการนำเอาทราฟฟิกข้อมูลของเครือข่ายที่เป็น Private ไปขนส่งบนเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) ในลักษณะที่มีระบบป้องกันความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งไปเน็ตเวิร์กทุกครั้ง และที่ปลายทางก็จะถอดรหัสก่อนนำข้อมูลไปใช้งาน เนื่อง จากข้อมูลที่ส่งผ่านไปในเครือข่ายสาธารณะเป็นข้อมูลที่ถูกห่อหุ้มด้วยการ เข้ารหัสอีกชั้นหนึ่งเพราะฉะนั้นเรามักเรียกการเชื่อมต่อผ่าน VPN ว่าการสร้าง Tunneling
ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน
รูปแบบที่ 1 การใช้งานแบบ Private-Public-Private
มีหลายองค์กรที่ได้ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากกว่าหนึ่ง Site (สาขา) นั่นก็หมายถึงว่าแต่ละสาขาสามารถใช้งานหรือออกไปสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และแต่ละสาขาก็สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างสาขาถึงกันได้ แต่ข้อมูลที่รับส่งกันได้ระหว่างสาขานั้นไม่มีความปลอดภัยเพราะเครือข่าย อินเตอร์เน็ตไม่ได้เป็นเส้นทางขนส่งข้อมูลเฉพาะส่วนตัวหรือเฉพาะส่วนหน่วย งานของเราเอง (Private Network) ฉะนั้นจึงได้มีการทำระบบ VPN ขึ้นเพื่อปกป้องข้อมูลให้มีความปลอดภัยมากขึ้นดังตัวอย่างรูปที่ 1
รูปที่ 1
จากรูปที่ 1 เป็นตัวอย่างของการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 2 สาขา โดยสองสาขานี้ต้องการที่จะรับส่งข้อมูลถึงกันให้มีความปลอดภัย ด้วยการสร้างท่อข้อมูลพิเศษ (Tunnel) ไปบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาล่วงรู้ข้อมูลที่รับส่งกันได้
ต้องทำ VPN ที่อุปกรณ์ตัวไหน
จากรูปที่ 1 สามารถจะพิจารณาได้ว่าการทำ VPN จะต้องทำที่ตัว Router นั่นคือเราเตอร์ทั้งสองจะต้องสร้าง tunnel ถึงกัน แต่ถ้าเราเตอร์ที่ใช้งานไม่สามารถทำ VPN ได้ก็อาจจะต้องซื้ออุปกรณ์ VPN มาเพิ่มดังรูปที่ 2
รูปที่ 2
ที่เครื่อง Client ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมหรือไม่
การใช้งาน VPN ของเครื่อง Client มี 2 รูปแบบคือ
1. การใช้งานผ่านโปรแกรม VPN Client ซึ่งต้องมีการติดตั้งโปรแกรม VPN Client เพิ่มเติมที่เครื่อง Client ด้วย ซึ่งปกติโปรแกรม VPN Client จะมีมาแล้วกับ Windows OS แต่ต้องมีการเซ็ตเพิ่มเติม ซึ่งโปรแกรม VPN Client ที่นิยมกันจะมี 2 แบบ คือแบบ PPTP กับ IPSec
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดรู้สึกว่า VPN Client ที่มากับ Windows OS จะเป็นแบบ PPTP นะครับ ซึ่งเขาว่ากันว่าแบบ PPTP จะปลอดภัยกน้อยกว่าแบบ IPSec ครับ จะเลือกใช้แบบไหนก็ต้องให้สัมพันธ์กับเครื่อง VPN Server ด้วยนะครับ การใช้งานแบบนี้มีข้อดีคือ Tunnel จะถูกสร้างตั้งแต่เครื่อง Client เลย (มีความปลอดภัยกว่า) แต่ก็มีข้อเสียคือต้องมีขั้นตอนในการสร้างการเชื่อมต่อก่อนจะใช้งานทุกครั้ง
2. การใช้งานโดยไม่ต้องมีการติดตั้งโปรแกรม VPN Client อาจจะเรียกว่าแบบ Transparent แบบนี้จะมีข้อดีคือไม่ต้องมีความยุ่งยากในการสร้างการเชื่อมต่อตั้งแต่เครื่อง Client นั่นคือ Tunnel จะถูกสร้างตั้งตำแหน่งของ VPN Device เป็นต้นไป
หมายเหตุ สำหรับในตัวอย่างของบทความนี้ เครื่อง Client จะใช้เป็นแบบที่มีการติดตั้งโปรแกรม VPN Client เพราะการใช้งานกับ Windows VPN Server ต้องใช้ผ่าน VPN Client (ผมไม่ทราบนะครับว่าจะใช้เป็นแบบไม่มี VPN Client ได้หรือเปล่า)
การทำ VPN โดยใช้ Windows Server
เราสามารถใช้ Windows Server มาประยุกต์ใช้งานทำเป็น VPN Sever ได้ นั่นคือจากรูปที่ 2 เราสามารถจะแทน VPN Device ด้วย Windows Server ซึ่งจากที่ผมประสบมาพบว่า Windows 2000 Server และ Windows 2003 Server สามารถทำเป็น VPN Server ได้ ฉะนั้นก็จะได้เป็นอีกรูปแบบดังรูปที่ 3
รูปที่ 3
วิธีการทำ VPN จากรูปที่ 3
จากรูปที่ 3 กำหนดให้ IP ของ LAN A และ LAN B เป็น Private IP ฉะนั้นการที่จะให้เครือข่ายทั้งสองสาขานี้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ก็ต้องมีการทำ NAT ซึ่งสามารถทำได้ที่ VPN Server (Windows 2000 Server และ Windows 2003 Server สามารถทำ NAT ได้)
ส่วนการใช้งานในรูปแบบของ VPN นั่นคือถ้า LAN A ต้องการติดต่อไปยัง LAN B เครื่อง Client ที่ LAN A จะต้องสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) ไปยัง VPN Server B ซึ่งขั้นตอนการสร้างการเชื่อมต่อจะมีการถามยูสเซอร์เนมและพาสเวอร์ด ซึ่งถ้าถูกต้อง ตัว VPN Server B ก็จะจ่าย IP (IP ที่อยู่ในกลุ่มของ LAN B) มาให้ พร้อมกับการสร้าง Tunnel ระหว่าง LAN A กับ VPN Server B ทำให้เครื่องในกลุ่มของ LAN A มี IP Address อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ LAN B จึงสามารถติดต่อรับส่งข้อมูลกับ LAN B ได้
ส่วนการใช้งานจาก LAN B มายัง LAN A ก็เป็นแบบเดียวกันกับที่กล่าวมา
มีข้อแม้อยู่ว่า LAN A จะสามารถสร้างการเชื่อมต่อ (VPN Connection) ไปยัง VPN Server B ได้ก็ต่อเมื่อเครื่องใน LAN A สามารถ ping (ในกรณีที่ไม่มีการบล็อคการ ping) ไปหา Public port ของ VPN Server B ได้ ซึ่งจากรูปที่ 3 จะเห็นว่า ทั้ง LAN A และ LAN B สามารถจะ ping ไปยัง Public ของ VPN Server ฝั่งตรงข้ามได้เพราะได้มีการทำ NAT เอาไว้
สำหรับการทำ VPN บน VPN Server นั้น ตัว VPN Server จะต้องมีการ์ดแลน 2 การ์ด คือเป็น Public และ Private ซึ่งตัวอย่างการทำ VPN บน Windows 2003 Server สามารถดูได้จาก http://www.itwizard.info/technology/windows/vpn_on_win_2003_server.html (อาจจะไม่ตรงประเด็นเสียทีเดียวแต่ก็ใคร่เคียงครับ)
การจ่ายค่า IP Address ให้กับ VPN Client ของ VPN Server
ในขั้นตอนของการทำ VPN บน Windows Server จะมีอยู่ขั้นตอนหนึ่งที่มีการถามถึงช่วง IP ที่จะจ่ายให้เครื่อง Client สำหรับ VPN Server B จะต้องจ่าย IP Address ที่อยู่ในกลุ่มของ LAN B ให้กับ VPN Clinet ที่มาจาก LAN A และ VPN Server A ก็ต้องจ่าย IP Adress ที่อยู่ในกลุ่มของ LAN A ให้กับ VPN Client ที่มาจาก LAN B
รูปแบบที่ 2 การใช้งานแบบ Public-to-Private
จากรูปแบบที่ 1 จะเห็นว่า ในกรณีที่เครื่อง VPN Client อยู่ในตำแหน่งของเครือข่าย Internet และต้องการจะเข้าไปติดต่อกับเครือข่าย Private ดังรูปที่ 4 ก็แน่นอนอยู่แล้วว่าสามารถทำได้ด้วยวิธีการของ VPN ซึ่งลักษณะการใช้งานแบบนี้จะเหมาะสำหรับ Cient ที่มีการเดินทางไปไหนบ่อย ๆ ซึ่งเมื่อสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet ได้แล้ว ก็สามารถที่จะเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายที่เป็นหน่วยงานของตัวเองได้ (Private) โดยผ่าน VPN ซึ่งอาจจะเรียกการใช้งานแบบนี้ว่าเป็นแบบ Remote User
ที่มา http://www.itmanage.info/technology/windows/vpn_apply.html
ทำอย่างไรถ้าเวลาสำหรับ Software Testing เหลือนิดเดียว
เคยเจอปัญหาแบบนี้มั้ยครับ?
เช้าวันหนึ่ง ณ บริษัทซอฟท์แวร์เฮ้าส์
พี่ PM: น้อง QA พี่เพิ่งได้อีเมล์จากลูกค้ามาขอเพิ่ม requirement มาตัวนึง กับแก้ของเก่าตัวนึง
น้อง QA: หรอพี่ แล้วทางฝั่ง Dev เค้าว่าไงหละฮะ?
พี่ PM: ทางนั้นเค้าก็ไม่อยากทำหรอกนะเพราะ release date ก็ใกล้เข้ามาแล้ว แต่มันก็เลี่ยงยาก
น้อง QA: ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ ทางผมเองก็คงต้องเอางานมาดูแล้ว estimate effort ใหม่ก่อนฮะ
พี่ PM: คือ … จริงๆแล้ว ผู้ใหญ่เค้าก็กำชับมาว่าห้ามเลื่อนวัน release อยู่ดีอะน้อง
น้อง QA: อ่าว …
การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่ม Requirement เป็นเรื่องปกติมากๆในการทำ software development project ครับ ผมมั่นใจว่าเพื่อนๆทุกคนคงจะเคยเจอปัญหาแบบนี้มาแล้ว นั่นคือลูกค้าขอเพิ่มนั่นเพิ่มนี่ … แต่ให้เวลาทำเท่าเดิม จริงๆมันไม่ยุติธรรมเอาซะเลย แต่มันคือสัจจธรรมครับ ฮ่าๆๆ เอาน่าๆ ทุกปัญหามีทางออกครับ เราลองมาดูรูปนี้กันก่อน
ความท้าทายที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็คือ งานเพิ่ม (scope increases) แต่ต้องเสร็จให้ตรงตามเวลาเดิม (time fixes) งั้นเอาไงดีครับ ว่ากันตามทฤษฎีบวกกับประสบการณ์ของผมก็มีวิธีแก้ไขหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาอยู่ 3 วิธีดังนี้ครับ
เพิ่ม Resource ได้ทันใจ
อย่างแรกที่ผมจะทำก็คือเอา Developer มาช่วยงานซะเลย ข้อนี้ผมคิดว่าพอจะทำได้นะครับ เพราะว่าเท่าที่ลองสังเกตดู พอ Developer ส่งงานให้ QA แล้ว ปริมาณงานหลักก็จะลดลงมากครับ งานที่เหลือก็คือ standby รอรับแก้บั๊ก มันคงดูไม่ดีที่จะให้ dev มานั่งเฉยๆใช่ปะ? งั้นก็ขอให้ Developer มาช่วยหน่อย แล้วจะช่วยตรงไหนได้บ้าง? ที่ผมจะเสนอก็คือให้มาช่วย Run Test ครับ เพราะว่าการเขียน Test Spec เตรียม Test Data ยังไงก็ควรจะเป็น QA ที่ต้องทำครับเพื่อให้ Test Spec ออกมาด้วยมุมมองของ QA จริงๆ ผมมีหลักในการเลือก Developerที่จะมาช่วยทำอยู่เล็กน้อยคือ
- เลือกคนที่ดูแล้วว่าจะต้องแก้บั๊กน้อย ที่สุด คือใครที่รับผิดชอบงานที่อาจจะเกิดบั๊กเยอะๆก็อย่าให้เค้ามาช่วยครับ ให้เค้าเตรียมตัวให้พร้อมไว้สำหรับแก้บั๊กดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาสลับปรับเปลี่ยนคนระหว่างทางให้วุ่นวาย
- ถ้าเป็นไปได้ก็หาน้องใหม่ของทีมมาช่วย ครับ เพราะว่านอกจากจะได้ช่วยให้ project เสร็จตรงเวลาแล้ว ผลพลอยได้ที่สำคัญยิ่งคือ น้องๆก็จะได้เรียนรู้งานของตัวเองไปในตัวครับ อันนี้เห็นผลชัดเจนเลยฮะ
ข้อควรระวังก็คือเราต้องชั่งน้ำหนักให้ ดีๆครับว่าเราจะไม่เสียเวลามากเกินไปกับการ Train ให้ Developer เข้าใจกระบวนการ Run Test ครับ ไม่งั้นจากที่จะเร็วขึ้นจะกลายเป็นช้าลงซะเปล่าๆ
ลด Quality อย่างมีสไตล์
ผมคิดว่าถ้าถึงช่วงวิกฤต จริงๆ เราก็ควรจะพิจารณาลดคุณภาพของงานลงมาบ้างเพื่อจะได้ส่งงานทันเวลาครับ แต่การลดคุณภาพครั้งนี้ก็ควรทำอย่างมีหลักการด้วย หนึ่งในตัวเลือกที่พอจะทำได้คือการตัดการทำ Cross Platform Testing ออกไปบ้าง ดูตัวอย่างจากรูปครับ
สมมติว่าเราทำระบบที่เป็น Web Application ซึ่งการ Test ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่สองส่วนคือ Server (support Linux กับ Solaris) กับ Client (support IE กับ Firefox) เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุดเราจะทำการ Test ทุกๆ Test Case กับทั้ง 4 สายงานครับ ซึ่งแน่นอนต้องกินเวลามาก แต่ตอนนี้เวลาเราจำกัดมากแล้ว ดังนั้นเราก็ลองออกแบบ Test Strategy ใหม่ครับ โดยการไม่ต้องทำแบบ Full Cross Platform Testing แต่เราจะเลือก Test เฉพาะส่วน (Features) สำหรับแต่ละสายงานครับ หลักสำคัญคือเมื่อเอาทุกสายงานมารวมแล้วทุก Test Case จะต้องถูก Run ครับ
เราควรจะ Test ให้เยอะๆกับ Feature ที่ซับซ้อนและถูกใช้งานบ่อยๆ อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือเราควรจะเน้นเป็นพิเศษกับ Third Party ที่ release ใหม่ เช่น Linux หรือ Solaris version ใหม่หรือออก Patch ใหม่มา รวมถึงพวก Browser version ใหม่ๆ เพราะว่าโอกาสที่จะเจอบั๊กที่เีกี่ยวกับ Third Party เหล่านี้ก็มีสูงครับ … เราเจอเองย่อมดีกว่าให้ลูกค้าเจอแน่นอน
เพิ่ม Time ด้วยการลด Time
อย่าเพิ่งงงไปครับ ความหมายที่ผมต้องการจะสื่อก็คือเราสามารถหาทางเพิ่มเวลาทำงานที่จำเป็นได้ โดยลดเวลาทำงานที่ไม่จำเป็นลงไป ข้อนี้จะประยุกต์ใช้ได้กับเพื่อนๆที่ต้องทำงานโดยมี process มากมายหลายขั้นตอนมาควบคุม เช่น Developer เขียนโค๊ดเสร็จแล้ว แต่กว่าจะเอามา Test ได้ต้อง review, approve, issue Test Spec ก่อน ถัดมาก็ต้อง create baseline เพื่อเก็บ reference ไว้อีก แล้วถ้าเอามา Test แล้ว Fail หละ ก็ต้องกลับไปทำแบบเดิมอีกรอบ … เสียเวลาจริงๆ
ทำไงดีครับแบบนี้ ข้อแนะนำก็คือให้ QA เดินมาเคาะประตูหลังบ้าน Developer เลยครับ … ถ้างานเสร็จแล้วก็ขอ software มา Test ก่อนเล้ยยย ไม่ต้องรอครับ เอามาเพื่อ Test ดูกับ Environment จริงว่าที่แก้มารอบเนี่ยะ ยังพังอยู่มั้ย ถ้า Fail อีกก็จะได้บอกให้ Developer กลับไปแก้ได้เลยฮะ ไม่ต้องเสียเวลากับ process เพิ่ม ถ้าไม่พังแล้ว ก็ดีเลยครับ ค่อยมาตามเก็บพวก process ทีหลัง แบบนี้เราก็เหมือนได้เวลาทำงานที่เป็นประโยชน์จริงๆเพิ่มมาแล้วหละครับ อิอิ
ปล. อย่าให้ Manager กับ SQA รู้ละกันนะ ฮ่าๆ
แก้ปัญหานี้แบบไหนดีครับ?
เช้าวันหนึ่ง ณ บริษัทซอฟท์แวร์เฮ้าส์
พี่ PM: น้อง QA พี่เพิ่งได้อีเมล์จากลูกค้ามาขอเพิ่ม requirement มาตัวนึง กับแก้ของเก่าตัวนึง
น้อง QA: หรอพี่ แล้วทางฝั่ง Dev เค้าว่าไงหละฮะ?
พี่ PM: ทางนั้นเค้าก็ไม่อยากทำหรอกนะเพราะ release date ก็ใกล้เข้ามาแล้ว แต่มันก็เลี่ยงยาก
น้อง QA: ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ ทางผมเองก็คงต้องเอางานมาดูแล้ว estimate effort ใหม่ก่อนฮะ
พี่ PM: คือ … จริงๆแล้ว ผู้ใหญ่เค้าก็กำชับมาว่าห้ามเลื่อนวัน release อยู่ดีอะน้อง
น้อง QA: เพื่อนๆจะตอบว่าอะไรครับที่มา http://www.chapterpiece.com/project-management/2010/01/09/how-to-test-in-short-time
สุดยอด 20 อาหารล้างพิษ
คนโบราณและนักโภชนาการมักกล่าวว่า ”อาหาร” เป็นยาที่วิเศษที่สุด เพราะเป็นแหล่งรวมของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ใช่ว่าต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงอย่างเป๋าฮื้อ หูฉลาม รังนก หรือของหายากอย่างดีหมีเท่านั้น ถึงจะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายได้ เพราะจากการศึกษาแล้วพบว่าอาหารที่เราหาได้ตามท้องตลาดในชีวิตประจำวันก็มี ประโยชน์ในตัวไม่ใช่น้อย
ที่สำคัญอาหารเหล่านี้ยังช่วยล้างพิษให้แก่อวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น ตับ ลำไส้ ไต ผิวหนัง ช่วยป้องกันการจับตัวของสารพิษ รวมถึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งสารพิษต่างๆที่สะสมอยู่ในร่างกายอาจมาจากควันพิษในอากาศ สารเจือปนในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันเสีย ยาฆ่าแมลง ปรุงรส เป็นต้น
คราวนี้ลองมาดูกันว่าอาหารชนิดใดสามารถช่วยล้างพิษให้คุณได้บ้าง
เริ่มจาก ลำดับที่ 20 สาหร่าย พืชสีเขียวในทะเลที่หลายคนมองข้ามคุณประโยชน์ แต่จากการศึกษาของ Mcgill University ที่ Montreal แสดงผลว่าสาหร่ายสามารถจับของเสียจากรังสีที่สะสมในร่างกาย
ในปัจจุบันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงรังสีต่างๆจากคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นไมโครเวฟทั้ง หลายได้ ซึ่งพลังงานความร้อนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งสาหร่ายจะช่วยดูดซึมคลื่นรังสีเหล่านั้น และสามารถจับกับพวกโลหะหนักได้ด้วย นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยโปรตีนและเกลือแร่ในปริมาณมาก
19. หัวหอม ประกอบ ไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งหลายชนิด และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยทำความสะอาดเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LD ซึ่งไม่ดีเพราะเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานดีขึ้น ช่วยรักษาโรคหอบ โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และที่สำคัญคือช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่
18. มะนาว เป็นสุดยอดอาหารที่ช่วยทำความสะอาดตับ มีวิตามินซีสูง น้ำมะนาวสดเมื่อนำมาผสมกับน้ำอุ่นแล้วดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอนจะช่วยล้างพิษ และทำให้เลือดสะอาดขึ้น แต่ถ้านำน้ำมะนาวสดผสมกับโยเกิร์ตและน้ำผึ้ง ก็จะเป็นอาหารที่ช่วยล้างพิษในลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย
17. เมล็ดแฟลกซ์ ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นอย่างโอเมกา 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยบำรุงความจำ และมีผลดีต่อหัวใจเพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีสารอื่นที่ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างการแข็งแรงขึ้น
16. กระเจี๊ยบ น้ำกระเจี๊ยบมีคุณสมบัติช่วยทำความสะอาดแบคทีเรียและไวรัสออกจากระบบทางเดิน ปัสสาวะ ซึ่งมักก่อให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งสารในกระเจี๊ยบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเหล่านั้นได้
15. ทับทิม ตำราแพทย์แผนโบราณของชาวเอเชียกล่าวไว้ว่า การดื่มน้ำทับทิมสามารถรักษาอาการอักเสบและลดความปวดได้ เนื่องจากในผลทับทิมมีสารแอสไพรินซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับแอสไพรินในยา แก้ปวด ช่วยล้างพิษ ลดการติดเชื้อของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และลดอาการอักเสบ
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม ช้ำ แนะนำให้กินทับทิม เพราะช่วยลดอาการปวดลงได้ ขณะเดียวกันยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
14. พืชตระกูลถั่ว (เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วขาว) จากการศึกษาพบว่าผู้ที่กินถั่วเป็นประจำมีระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่าผู้ที่ ไม่ได้กิน และลดอัตราความเสียงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วย พืชตระกูลถั่วนี้ประกอบด้วยไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ทำความสะอาดลำไส้ ลดการสะสมของสารพิษในลำไส้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย
13. ขึ้นฉ่าย ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารในการทำความสะอาดเลือดและช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรกินขึ้นฉ่ายเป็นประจำ หรือถ้าจะให้ดีควรดื่มน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายสดในตอนเช้า เพื่อช่วยควบคุมระดับแรงดันเลือดให้คงที่ ในขึ้นฉ่ายยังประกอบไปด้วยสารต้านการเกิดมะเร็ง และสารที่ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในคนที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่ได้รับควัน บุหรี่ด้วย
12. แครอท เต็มไปด้วยสารอัลฟาและเบตาแคโรทีน ( Alpha and Beta-carotene ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินเอ และถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษใน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยระบบทางเดินประสาท สายตา ผิวหนัง ที่ต้องสัมผัสแสงแดดเป็นประจำ และจากการวิจัยพบว่าสารในแครอทช่วยลดการเกิดมะเร็ง และช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจและหัวใจแข็งแรงขึ้น
11. มะเขือพวง คนไทยนิยมใส่มะเขือพวงในอาหารประเภทผัดเผ็ด แกงป่า แกงกะทิ และน้ำพริก สมัยก่อนแกงกะทิ เช่น แกงไก่ใส่มะเขือพวงมาก ใส่ไก่น้อยเน้นการกินมะเขือเป็นหลัก แต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม แกงไก่มักใส่ไก่มากกว่ามะเขือ และคนก็เลือกกินแต่ไก่ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในปัจจุบันมีรูปร่างอ้วนกว่าคนสมัยก่อน
มะเขือพวงเป็นผักที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งสามารถช่วยดูดซึมไขมันในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยจับไขมันอิ่มตัว (ไขมันอันตราย) และขับออกจากร่างกายโดยระบบขับถ่าย ทั้งยังมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยกำจัดของเสียออกจากระบบทางเดินอาหารได้เร็วขึ้นและลดการสะสมของเสีย
10. ส้มโอ หรือ เกรปฟรุต เพราะเป็นผลไม้รสชาติดีจึงได้รับความนิยมในอาหารมื้อเช้าของชาวตะวันตก สารเพกตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ประเภทหนึ่งในเกรปฟรุต สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ก่อนที่จะจับตัวเป็นก้อนและขวางทางเดินในหลอดเลือด นอกจากนี้เพกตินยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โลหะหนักเหล่านี้ทำอันตรายต่อ ร่างกาย ส่วนเกรปฟรุตช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งกระเพราะอาหารและมะเร็งตับอ่อน สารต้านอนุมูลอิสระในเกรปฟรุตช่วยปกป้องสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
9. กระเทียม จากหลายการศึกษาให้ผลตรงกันถึงคุณสมบัติของกระเทียมในการทำความสะอาดร่างกาย นั่นคือ การกินกระเทียมเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับและฆ่าพยาธิในทางเดินอาหาร และฆ่าเชื้อไวรัส โดยเฉพาะทำความสะอาดเลือดและระบบลำไส้ ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและลดแรงดันโลหิต นอกจากนี้ยังต่อต้านการเกิดมะเร็งและทำให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น แต่ก็ควรระวังเรื่องการกินกระเทียมมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดลมหายใจที่มีกลิ่นกระเทียมไปด้วย
8. บลูเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีค่าแอนติออกซิแดนต์สูงมากชนิดหนึ่งและถือเป็นหนึ่งในสุดยอด อาหารรักษาโรค เนื่องจากในบลูเบอร์รี่มีสารแอสไพรินตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดการระคายเคือง สารที่มีในบลูเบอร์รี่สามารถเข้าไปขัดขวางแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
7. กะหล่ำ เต็มไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) และช่วยตับขับฮอร์โมนที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนความเครียดที่มีผลเสียต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร รักษาและปกป้องกระเพราะอาหารจากแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ พืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี และกะหล่ำปม ผักเหล่านี้ช่วยทำความสะอาดร่างกายและช่วยกำจัดของเสียจากสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียจากควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย และช่วยให้ตับผลิตเอนไซม์ออกมาให้เพียงพอในการกำจัดของเสีย
6. บีตรูต ผักสีแดงที่นิยมใส่ในสลัดนี้นับเป็นผักมหัศจรรย์ซึ่งเประกอบไปด้วยไฟโตเคมี คอล ( Phytochemical ) วิตามินและเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งทำให้บีตรูตมีคุณสมบัติต่อต้านชื้อโรค ทำความสะอาดเลือด ตับ และระบบน้ำเหลือง อีกทั้งมีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น จึงช่วยกำจัดของเสียได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจากกการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าบีตรูตช่วยปรับระดับกรด-ด่างในเลือด ให้สมดุลด้วย
5. อะโวคาโด อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ปัจจุบันเราก็สามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาดทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลูตาไทโอน(Glutathione ) ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งกว่า 30 ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ( University of Michigan ) พบว่าผู้สูงอายุซึ่งกินอาหารที่มีสารกลูตาไทโอนสูงจะมีสุขภาพดีกว่าคนที่ไม่ ได้กิน และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
4. ตำลึง ผักใบเขียวที่ขึ้นข้างรั้วหาง่าย และราคาไม่แพงนี้ ในสมัยก่อนเรามักนำมาทำแกงจืดตำลึงโดยใสเนื้อสัตว์น้อยๆ แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าแกงจืดตำลึงจะมีตำลึงอยู่ไม่กี่ใบ และมีหมูสับเต็มไปหมด ซึ่งตำลึงมีคุณสมบัติ ช่วยผลิตน้ำดีที่จะทำให้ลำไส้ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารที่มีอยู่ในตำลึงยังช่วยให้ตับสลายไขมันในร่างกายด้วย
3. แอปเปิ้ล ประกอบไปด้วยเพกตินสูง เพกตินเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยจับคอเลสเตอรอลและโลหะหนักในร่างกายที่ ปะปนมากับอาหาร เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งทำลายเซลล์สมอง นี่คือเหตุผลที่เราควรจะกินแอปเบิลเพื่อล้างสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส จากการศึกษาทดลองยังพบว่าแอปเปิลช่วยขับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็ก และทำให้เกิดไมเกรนในผู้ใหญ่ได้
2. อัลมอนด์ เป็นถั่วที่มีใยอาหารสูง มีแคลเซียมและโปรตีนที่ดีต่อร่างกาย แม้จะมีไขมัน แต่ก็เป็นไขมันที่ดีและจำเป็นต่อร่างกาย ในระหว่างที่เราทำการล้างพิษจึงควรกินอัลมอนด์ นอกจากนี้อัลมอนด์ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็จะเกิดอาการไฮเปอร์ไกลซีเมีย ( Hyperglycemia ) ทำให้รู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หายใจไม่ออก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และหากน้ำตาลในเลือดต่ำที่เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย( Hypoglycemia )จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ไม่มีแรง คิดอะไรไม่ออก
1. กล้วย มีคุณสมบัติในการบำรุงและสร้างความแข็งแรงแก่กระเพาะอาหาร ในขณะเดียวกันก็ให้เกลือแร่ที่จำเป็นแก่ร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกายโดยช่วยขับของเหลว หรือสารพิษส่วนเกินออกจากร่างกาย การกินกล้วยเป็นประจำยังช่วยป้องกันท้องผูก ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติอีกด้วย
นี่คือความสุดยอดของบ้านเมืองเรา…..ซึ่งบ้านเมืองอื่น..แอบอิจฉา
ที่มา
นิตยสาร Women's Health
http://green.in.th/blog/lifestyle/2040
ข้อคิดสำหรับผู้ที่อยากเป็นเกษตรกร
จากที่เราได้คุยกับว่า ที่เกษตรกรและเกษตรกรมือใหม่หลายท่านที่มาติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ และท่อน้ำหยดจากสวนวสา ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง เลยต้องขออนุญาตเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อให้ว่าที่เกษตรกรและเกษตรกรมือ ใหม่ไฟแรงหลายๆท่านลองพิจารณาเป็นข้อคิดก่อนจะลงมือทำอะไรไป เพราะการลงทุนในสาขาการเกษตรนั้น ไม่ว่าจะเพื่อหวังผลกำไร หรือแค่หวังเพื่อใช้เวลาว่างทำงานอดิเรกปลูกต้นไม้ ทุกอย่างที่ลงไปก็เป็นเงินทองที่เราเก็บหอมรอมริบมาทั้งนั้น หากลงทุนไปโดยขาดการไตร่ตรองล่วงหน้า หรือขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดผลเสียหาย ผลขาดทุน ความยุ่งยากที่ตามมามักทำให้เกษตรกรมือใหม่หลายคนท้อแท้ และเลิกไปในที่สุด ซึ่งทางสวนวสาไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น เราไม่อยากให้อาชีพเกษตรกรหายไปจากประเทศไทย ตรงกันข้ามเราอยากให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่เกิดขึ้นมามากๆ คนที่มีการวางแผน มีการควบคุมผลผลิตที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพของโลก
ที่ดิน
การ จะเริ่มทำการเกษตรได้นั้นเราควรมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะลงมือซื้อที่ดินผืนใด ขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญก่อนซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร ดังนี้
1. ในที่ดินต้องมีแหล่งน้ำหรือติดกับแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งปี เพราะการซื้อที่ดินที่ไม่มีน้ำ ก็เท่ากับไม่มีประโยชน์ในเชิงเกษตร แหล่งน้ำที่ว่านี้อาจจะเป็นคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ แม่น้ำ ฯลฯ ถ้าเป็นที่ผืนใหญ่ไม่ควรเป็นน้ำบาดาล เพราะอาจมีปริมาณไม่พอเพียงและอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตะกอนใน ภายหลัง
2. ที่ดินควรใกล้กับถนน และไม่ไกลจากบ้านที่อยู่ประจำของคุณมากนัก การไปมาทำได้ง่าย เมื่อการเดินทางสะดวก ก็ทำให้เรารู้สึกอยากไปเยือนบ่อยๆ โดยเฉพาะเกษตรกร part-time ที่ต้องทำงานในวันธรรมดาและไปทำสวนได้เฉพาะวันหยุด หากคุณต้องขับรถ 500 กม. เพื่อไปสวนในวันเสาร์ และขับกลับอีก 500 กม. ในวันอาทิตย์ คุณจะเหนื่อยและท้อไปในที่สุด ระยะทางที่เหมาะสมน่าจะไม่เกิน 200 กม. จากบ้านคุณ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องระยะทางนี้ขึ้นกับทุนและความชอบส่วนบุคคล นอกจากนี้ราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วย คำนวณค่าน้ำมันคร่าวๆ ว่าระยะทาง 200 กม. รถคุณกินน้ำมันเฉลี่ย 8 กิโลลิตร น้ำมันลิตรละ 30 บาท ไป-กลับ จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าน้ำมัน 1,500 บาทต่อเที่ยว เดือนหนึ่งไป 4 ครั้งก็ประมาณ 6,000 บาท ปีละ 72,000 บาท เทียบกับราคาที่ดินที่อาจจะแพงกว่าแต่ใกล้กว่า อย่างไหนคุ้มกว่ากัน อันนี้ควรคำนวณให้รอบคอบค่ะ
3. ที่ดินควรใกล้ตลาดหรือชุมชน หรือผู้ซื้อรายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถขนส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้โดยง่าย (หากคิดจะปลูกเพื่อจำหน่าย) เช่น อยากปลูกมะม่วงส่งออกแต่ผู้ปลูกอยู่ภาคใต้ ส่วนผู้ส่งออกอยู่ภาคเหนือและภาคกลาง อย่างนี้ ถ้าปลูกไม่มากพอก็จะไม่มีผู้ซื้อวิ่งไปซื้อแน่ๆ ค่าน้ำมันทุกวันนี้แพงมากๆ ค่ะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ซื้อมักจะถามก่อนว่าปลูกกี่ไร่ กี่ต้น ผลผลิตกี่ตัน (ถ้าไม่ถึง 4-5 ตัน ส่วนมากรายใหญ่เขาไม่วิ่งมาค่ะ)
4. ควรมีเพื่อนบ้านและสังคมที่ดี ก่อนซื้อที่ดินควรลองไปสำรวจดูว่าเพื่อนบ้านมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ที่ดินบางผืนราคาถูกเพราะเพื่อนบ้านขี้ขโมย ผลผลิตอะไรออกมาหายหมด ติดตั้งปั๊มน้ำก็หาย บางทีเผลออาทิตย์เดียวบ้านทั้งหลังรื้อเอาไปขายก็มี ลองไปถามสถานีตำรวจในพื้นที่ดูว่าคดีลักขโมยมีแยะไหม ใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และทัศนคติเขาเป็นอย่างไร
5. ที่ดินควรมีต้นไม้ขึ้นอยู่ในที่บ้าง เพื่อแสดงว่าดินที่นี่ปลูกต้นไม้ได้ บางคนไปซื้อที่ดินที่เตียนโล่งแม้แต่หญ้าก็ไม่ขึ้น แล้วมาดีใจว่าไม่ต้องถางหญ้าปรับที่ดิน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นดินเค็มที่เพาะปลูกอะไรไม่ได้ หากเป็นไปได้ลองสังเกตด้วยว่าต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินนั้นเป็นต้นอะไรเพื่อจะ ได้ทราบว่าที่ดินผืนนั้นเพาะปลูกผลไม้ชนิดใดได้ดีที่สุด
6. ที่ดินทำสวนเกษตรส่วนใหญ่ควรเป็นพื้นราบ เพราะหากเป็นที่ลาดชันเวลารดน้ำต้นไม้ น้ำจะไหลลงเบื้องล่างหมด หากต้องทำขั้นบันไดก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าที่ดินผืนราบ แต่หากจะปลูกไม้ยืนต้นพวกไม้ป่า ก็เป็นที่เนินเขาได้ค่ะ ทั้งนี้ขึ้นกับพืชที่เลือกจะปลูก
7. ไม่ควรเป็นที่น้ำท่วมขัง ที่ดินบางผืนในช่วงฤดูฝนจะตรงกับแนวน้ำท่วมพอดี อย่างนี้ปลูกพืชอะไรไม่ทันเก็บเกี่ยวก็ตายหมด แล้วอย่ามาดีใจว่าไม่ปลูกพืชก็ได้ไหนๆน้ำมากเลี้ยงปลาเสียเลย ขอโทษค่ะ พอน้ำท่วมขึ้นมาปลาที่เลี้ยงก็หายหมดเหมือนกัน
8. ให้สำรวจหน้าดินของที่ดินที่ซื้อด้วยค่ะ พอดีมีเพื่อนเกษตรกรโทรมาปรึกษา มีที่ดินแต่หน้าดินที่ปลูกพืชได้มีเพียง 1-2 เมตรลึกลงไปกว่านั้นกลายเป็นดินผสมหินแบบแข็งเลย รากพืชชอนไชลงไปไม่ได้ อย่างนี้หากก่อนซื้อเตรียมแผนไว้ก็คงต้องปรับแผนเพื่อปลูกพืชที่มีระบบราก ไม่ลึกมากค่ะ
9. เวลาซื้อที่ดิน อย่ามองแค่ค่าที่ดินอย่างเดียว ให้คำนึงถึงว่าจะต้องมีค่าปรับปรุงที่ดินอีกเท่าไหร่ด้วย เช่น หากที่ดินมีต้นไม้รกเรื้อ หรือมีการขุดร่อง ขุดแนวคันเอาไว้ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกร ต้องจ้างรถแม้คโครปรับปรุงใหม่อีกเท่าไหร่ ที่ดินมีไฟฟ้า มีถนนถึงหรือยัง หากซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่นก็ต้องจ่ายค่าทำถนนเข้าไปยังที่ดินอีกเท่าไหร่ ค่าเดินสายไฟเข้าไปยังที่ดิน ค่าขุดคลองส่งน้ำหรือระบบชลประทาน แล้วยังค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกโฉนดอีก เรื่องพวกนี้รวมๆ แล้วอาจทำให้ที่ดินไร่ละ 5 หมื่นกลายเป็นไร่ละ 3 แสนก็เป็นได้ค่ะ
10. การซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่น ควรตกลงกันให้แน่ชัดตั้งแต่แรกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ จะร่วมกันรับผิดชอบอย่างไร ค่าโอนที่ดิน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ นอกจากนี้ถนนที่จะตัดเข้าไปยังที่ดินของแต่ละคนจะตกลงค่าใช้จ่ายและ กรรมสิทธิ์กันอย่างไร บางคนเห็นว่าที่ดินตนเองอยู่ด้านหน้าก็ไม่ต้องการร่วมออกค่าถนนกับคนที่ซื้อ ที่ดินที่ลึกไปด้านหลัง เลยทำให้มีปัญหากันได้ แล้วยังเรื่องน้ำ หากคนที่อยู่ต้นน้ำเก็บกักน้ำ คนที่อยู่ปลายน้ำจะทำอย่างไร ควรมีการทำสัญญากันไว้ให้ชัดเจน และเป็นภาระผูกพันกับที่ดิน เพราะหากวันนี้แม้เชื่อใจกัน ไม่มีปัญหากันก็จริง แต่พอผ่านไปหากคนหนึ่งขายที่ไปให้บุคคลอื่น ปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
การเลือกพืชที่จะเพาะปลูก
1. ก่อนจะปลูกอะไร กรุณาสำรวจสภาพดินและน้ำก่อนว่าเหมาะกับพืชในใจคุณหรือเปล่า อย่าบุ่มบ่ามลงมือปลูกตามกระแส หรือตามใจชอบ ตัวอย่างเช่นที่ดินสวนวสาเป็นดินเปรี้ยวเพาะปลูกพืชตระกูลส้ม-มะนาวได้ดี มะม่วง มะละกอได้ แต่ปลูกทุเรียน ลำไย มังคุดแล้วไม่โต (ลองแล้ว) ถึงกระนั้นก็ตามเวลาเรามี “เกษตรเกิน” (ผู้ที่แสดงตนว่ารู้มากกว่าเกษตรกร) มาเยี่ยมที่สวนก็มักจะแนะนำให้เราลองปลูกมังคุด ปลูกทุเรียนอยู่เสมอๆ เพราะส่งนอกได้ราคาดี คนแนะนำส่วนใหญ่ก็คิดแค่นั้น แต่เกษตรกรที่แท้จริงที่เป็นเจ้าของที่ดินควรศึกษาสภาพดินและน้ำก่อนลงมือ ปลูกอะไร เพื่อจะได้ประหยัดเวลาและทุนที่ถมลงไป
2. ควรเลือกพืชที่จะปลูกมากกว่า 1 ชนิดเพื่อบริหารความเสี่ยง เผื่อชนิดหนึ่งราคาตกหรือขายไม่ออก ชนิดอื่นจะได้ช่วยเฉลี่ยรายได้ แต่ไม่ควรหลายชนิดเกินไปจนปริมาณไม่คุ้มค่าขนส่ง เช่น มีที่ดิน 1 ไร่ แต่อยากปลูกมะม่วง มังคุด ลำไย มะนาว พริกขี้หนู เพื่อส่งออก แบบนี้แนะนำว่าให้ลืมเรื่องส่งออกไปได้เลย ให้ปลูกแบบพอเพียง คือเก็บทานเอง หรือส่งตลาดแถวสวนจะดีกว่าค่ะ
3. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำไม่เท่ากัน หากจะปลูกผสมผสาน ควรเลือกพืชที่ต้องการน้ำ ปุ๋ยและยาคล้ายๆกันปลูกไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ปริมาณแสงก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพืชชนิดหนึ่งต้องการแสงมาก ก็อย่าปลูกไว้ใกล้ๆกับพืชที่ให้ร่มเงา เช่น อย่าปลูกมะละกอไว้ใกล้กอไผ่ เพราะในที่สุดร่มเงาของไผ่จะบังมะละกอทำให้ไม่สามารถเติบโตได้ และเกิดโรคระบาดในที่สุด หรือ หากจะปลูกมะนาวทำนอกฤดู ก็ไม่ควรปลูกใกล้กับพืชที่ต้องการน้ำ เพราะพอเรางดน้ำเพื่อให้มะนาวออกดอก ต้นไม้ข้างๆ ก็จะตายไปด้วย ทำนองนี้
4. ตามทฤษฎีพอเพียง ควรปลูกพืชชนิดให้ประโยชน์เกื้อหนุนกับการเกษตรของท่านด้วย เช่น หากปลูกส้มหรือมะนาว ก็ควรเผื่อพื้นที่สำหรับปลูกไผ่ไว้ด้วย เพราะเวลาค้ำต้นมะนาวหรือส้มต้องใช้ไม้ไผ่ แทนที่จะไปซื้อ ก็ปลูกเองประหยัดกว่า นอกจากนี้หากใครคิดทำเกษตรอินทรีย์ ก็ปลูกพวกสะเดา หนอนตายหยาก หรือสมุนไพรอื่นๆไว้ด้วย จะได้เอาไว้ทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายค่ะ
5. นอกจากนี้ ให้คิดในใจเสมอว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน อย่าคิดว่าการลอกเลียนแบบสวนที่ประสบความสำเร็จแล้วคุณจะประสบความสำเร็จ ด้วย การเกษตรไม่ใช่บะหมี่สำเร็จรูปที่ต้มกินที่ไหนก็รสชาติเดิม มักจะมีคนถามว่าหากปลูกมะนาวเหมือนสวนวสาต้องใส่ปุ๋ยเดือนไหน ฉีดยาเดือนไหน ฉีดอะไร ซึ่งขอเรียนว่า สวนวสาอยู่นครนายก สภาพภูมิอากาศและดินจะต่างจากสวนที่อยู่ราชบุรี พิษณุโลก หรือ เชียงใหม่ ดังนั้นเวลาที่ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บผลผลิตก็จะต่างกัน ช่วงเวลาเดียวกันที่สวนวสาเจอโรคราน้ำค้างแต่สวนอื่นอาจเจอเพลี้ยแป้ง อย่างนี้ยาที่ใช้ก็ต่างกัน ต้องหมั่นสังเกตอาการของพืชแล้วค่อยคิดเรื่องการบำรุงรักษาพืชค่ะ
การตลาด
1. การจะปลูกอะไร (เพื่อการค้า) ให้คิดว่าจะขายได้ที่ไหนก่อน ถ้าปลูกพืชแปลกมากและอยู่ไกลจากตลาด จะทำให้ขายยากค่ะ
2. อย่าเห่อปลูกตามกระแส เกษตรกรที่ดี ควรประเมินสภาพตลาดให้ดีด้วย และอย่าดูเหตุการณ์เพียงจุดเดียว ช่วงปีที่แล้วมะนาวลูกละ 10 บาท เลยเกิดกระแสปลูกมะนาวกันใหญ่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น 5 ปีมีคนฟันมะนาวทิ้งไปทั้งจังหวัดเพราะราคาร้อยละ 20 บาท ไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่ายา อยากให้เกษตรกรมองไปข้างหน้ายาวๆ ก่อนตัดสินใจปลูกอะไร ให้เน้นพืชที่ยังไงก็ขายได้ในพื้นที่ตนเองก่อน เช่น มีคนส่งเสริมปลูกต้นตะกู กฤษณา ฯลฯ ก่อนปลูกให้หาข้อมูลว่าผู้รับซื้อมีกี่ราย ขายยังไง ขายที่ไหน หากผู้รับซื้อรายที่มาส่งเสริมไม่ซื้อ จะเอาต้นดังกล่าวไปทำอะไร สูตรของสวนวสาคือ อย่างน้อยเราเองก็ต้องกินหรือใช้ได้เองด้วย
3. หากสนใจจะปลูกเพื่อการส่งออก ควรมีพื้นที่เพาะปลูกในจำนวนมากเกินกว่า 10 ไร่ หากมีน้อยกว่า 10 ไร่ ปลูกขายในประเทศได้ แต่ปลูกส่งออกไม่คุ้มการลงทุนค่ะ (เว้นแต่ในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันได้จำนวนมากพอ ที่ผู้ส่งออกจะสนใจ) มีระบบน้ำที่สม่ำเสมอ ที่ดินควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งส่งออก เกษตรกรต้องจดมาตรฐาน GAP ซึ่งมีกฎค่อนข้างมาก ต้องมีโรงเก็บปุ๋ย ยา แยกกัน มีโรงคัดแยกพืชผลที่แยกต่างหาก มีพื้นปูนไม่สัมผัสดิน ฯลฯ พวกนี้เป็นการลงทุนทั้งนั้นค่ะ ดังนั้นหากพื้นที่ใหญ่หน่อยจะคุ้มกว่าพื้นที่ขนาดเล็กค่ะ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับชนิดของพืชด้วยค่ะ มีสมาชิกบางท่านสามารถปลูกพริกหหรือผักส่งออกได้ในพื้นที่ 2 ไร่ก็มีค่ะ
4. อย่าพยายามคิดการณ์ใหญ่เกินไปค่ะ จะสิ้นเปลืองทุนทรัพย์โดยใช่เหตุ เช่น ปลูกมะม่วงเพียง 5 ไร่ ผลผลิตปีละ 1 ตัน ในพื้นที่ก็ไม่มีคนอื่นเพาะปลูกพืชเหมือนๆกัน แต่คิดจะตั้งโรงงานแช่แข็ง หรือ โรงงานแปรรูปทำมะม่วงอบแห้ง หรือ คิดจะไปเซ้งแผงในตลาดไทเพื่อขายผลผลิตของตนเอง (เพราะมีเกษตรเกินมาแนะนำ) พอขายผลผลิตหมดก็ไม่รู้จะหาผลผลิตที่ไหนมาขายต่อ หรือแปรรูปต่อ จะเป็นการลงทุนโดยเสียเปล่าค่ะ หรือ การส่งสินค้าเข้าห้างก็เหมือนกันค่ะ ควรศึกษาเงื่อนไขให้ถ่องแท้ค่ะ บางทีนอกจากโดนหักเปอร์เซนต์แล้วเราต้องรับภาระสินค้าที่เน่าเสียหายเอง แถมกว่าจะเก็บเงินได้ต้องมีเครดิต 45 วันจึงจะได้เงิน นอกจากนี้บางที่เขามีสัญญาให้ส่งแบบต่อเนื่อง หากส่งไปครั้งสองครั้งแล้วหยุดก็อาจโดนหักเงิน ทำนองนี้
การเตรียมตัว/วางแผน
1. เมื่อมีที่ดินแล้ว มีทุนแล้ว ทราบว่าดินเป็นดินชนิดไหน เข้าใจสภาวะอากาศของพื้นที่แล้ว เลือกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ได้แล้ว เราก็เริ่มวางแผนกันค่ะ อยากให้เกษตรกรทุกคนวางแผนบนกระดาษก่อนว่าจะแปลนสวนของตนเองอย่างไร บ้านจะอยู่ตรงไหน บ่อน้ำ(ถ้ามี) จะอยู่ตรงไหน และส่วนไหนกะว่าจะปลูกพืชอะไร จำนวนกี่ต้น
2. ระบบน้ำเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ก่อนจะลงพืชชนิดใดๆ ระบบน้ำควรจะพร้อมก่อน หากพื้นที่เป็นสภาพเนินเขา ก็ไม่เหมาะกับการทำระบบร่องน้ำที่มีน้ำหล่อแบบร่องสวนที่ทำกันในพื้นที่ราบ แต่ควรใช้การขุดทางระบายน้ำเพื่อว่าหน้าฝนน้ำสามารถไหลลงมาได้โดยไม่เอ่อขัง ที่โคนต้นไม้ และใช้ระบบรดน้ำแบบตามท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ โดยอาจสูบน้ำไว้ที่สูงและปล่อยมาตามแรงดึงดูดโลก หรือใช้ปั๊มน้ำก็ได้ค่ะ ส่วนพื้นที่ราบนั้นให้ศึกษาว่าระบบน้ำที่เราใช้เหมาะกับพืชหรือไม่ เช่น หากปลูกมะม่วง มะนาว ในดินเหนียวก็ไม่ควรใช้น้ำหยดแต่ควรใช้สปริงเกอร์ เพราะระบบน้ำหยดจะหยดอยู่แค่วงแคบๆ ในขณะที่รากพืชแผ่ขยาย แต่หากปลูกพวกพริกหรือมะเขือเทศในถุงก็สามารถใช้ระบบน้ำหยด (dripping) ได้ค่ะ เรื่องการบริหารน้ำนี้มีผลต่อการเติบโตของพืชและคุณภาพผลผลิตค่ะ นอกจากนี้ มีเกษตรกรพาร์ทไทม์บางคนคิดว่าในช่วงเริ่มต้นไม่ต้องวางระบบน้ำก็ได้ พึ่งฝนฟ้าเอา และให้คนงานลากสายยางรดน้ำเอาก็ได้ พื้นที่แค่ไร่สองไร่เอง ก็อยากให้ทดลองรดน้ำเองดูค่ะว่าเหนื่อยแค่ไหน และก็อย่าหวังผลให้มากค่ะหากพืชผลออกมาไม่ได้ขนาด หรือร่วงไปแยะ หรือไม่ติดผล ซึ่งอยากให้คิดดีๆค่ะ ทีกิ่งพันธุ์เราไปอุตส่าห์เสาะหาจากแหล่งทั่วประเทศได้ ปุ๋ยหมักก็ไปเสาะหาส่วนประกอบต่างๆ มา ลงทุนลงแรงไปมากมาย แต่มาประหยัดกับเรื่องน้ำ แล้วต้นไม้ก็แคระแกร็น มันคุ้มไหม
3. เมื่อระบบน้ำพร้อมแล้ว ก็มาถึงกิ่งพันธุ์ของพืชที่จะลงค่ะ แนะนำให้ศึกษาจากเวบไซต์เกษตรพอเพียงและหนังสือเกษตรต่างๆ ค่ะ ราคากิ่งพันธุ์พืชชนิดเดียวกัน อาจต่างกันตามผู้ขายค่ะ หากปลูกจำนวนมาก อยากให้ผู้ซื้อแวะไปที่สวนของผู้ขายแต่ละรายค่ะจะได้สัมผัสกับต้นพันธุ์ของ จริง รู้ว่าแท้หรือไม่แท้ อย่าดูแต่ในรูปค่ะ เพราะหากปลูกพันธุ์ไม่แท้จะมีปัญหาเรื่องการตลาดค่ะ นอกจากนี้ขอเรียนว่าราคากิ่งพันธุ์เป็นเงินลงทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบสัด ส่วนกับต้นทุนรวมทั้งหมดของการเกษตร อยากให้ผู้ซื้อพิจารณาหลักๆ ในเรื่องความเสี่ยงเรื่องความแท้ของสายพันธุ์ บวกกับค่าน้ำมันที่ต้องไปเสาะหากิ่งพันธุ์ที่ต้องการ ก่อนตัดสินใจค่ะ
4. การบำรุงรักษา เมื่อปลูกพืชลงไปแล้วแน่นอนว่าจะต้องมีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ตัดแต่งกิ่ง เก็บผลผลิต ตัดหญ้าที่รกๆ ในแปลง รวมไปถึงการดูแลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำพัง ไฟฟ้าตัด น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภาวะฝนแล้ง หนูแทะสายสปริงเกอร์ฯลฯ ดังนั้นหากท่านเป็นเกษตรกรเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องมีคนงานที่ไว้ใจได้ช่วยดูแลค่ะ และค่าใช้จ่ายส่วนบำรุงรักษานี้ก็มากเสียด้วยสิ ที่สำคัญท่านต้องศึกษาหาความรู้ด้านนี้พอควรค่ะ ไม่งั้นโดนหลอกน่าดู เช่น หากจะจ้างคนมาตัดหญ้าควรจ่ายเหมาต่องานที่สำเร็จไม่ใช่จ่ายรายวัน เพราะบางทีก็มีอู้งานค่ะ
5. อุปกรณ์การเกษตร ที่จำเป็นต้องใช้ในสวนหลักๆ นอกจากพวกจอบ เสียม เครื่องมือพื้นฐานแล้ว ก็มีพวกเครื่องตัดหญ้า เครื่องฉีดยาแบบสะพายหลังหรือแบบลาก ถังหมักหรือผสมปุ๋ย ตะกร้าสำหรับเก็บผลไม้ค่ะ อุปกรณ์การเกษตรพวกนี้เวลาซื้อให้คุยหลายๆ ร้านค่ะ แต่ละร้านจะเป็นเอเย่นของแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ถามความเห็นเพื่อนๆ ในเวบนี้ก็ได้ค่ะ แต่ละคนจะมีประสบการณ์ในอุปกรณ์หลายๆ แบบค่ะ ควรเลือกให้เหมาะกับงานในสวนค่ะ ที่สำคัญ อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย เช่น เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ ราคามันมีตั้งแต่ 1,000 กว่าบาท - 10,000 กว่าบาท ซึ่งต่างกันมาก ของถูกก็แน่นอนว่าคุณภาพก็ตามราคา ตัดหญ้าสามวันก็อาจจะหลุดเป็นชิ้นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าของแพงสุดจะดีที่สุดเสมอไป ให้ศึกษาจากเพื่อนเกษตรกรคนอื่นดูค่ะ ที่สำคัญ เวลาซื้ออุปกรณ์พวกนี้ต้องหาที่มีอะไหล่และศูนย์ซ่อมด้วยค่ะ บางยี่ห้อบอกว่าทนทานแต่คนเอามาขายขายแต่เครื่องอย่างเดียวไม่มีอะไหล่ พอเสียก็ต้องทิ้งเลย นอกจากนี้หากมอเตอร์เสีย เครื่องตัดหญ้าเสียจะซ่อมที่ไหนที่ใกล้ๆ ไม่ต้องขนไปขนมาถึงกรุงเทพ ควรเตรียมข้อมูลแหล่งซ่อมที่เชื่อถือได้ค่ะ ไม่งั้นโดยฟันเละค่ะ
คนงาน
1. ควรมีให้พร้อมค่ะ แต่อย่าคาดหวังอะไรมากเกินไป เพราะคนงานก็คือคนงานค่ะ ถ้าเขาขยันและฉลาดกว่านี้ เขาก็ไม่มาเป็นคนงานค่ะ การดูแลคนงานให้อยู่กันนานๆ บางทีก็ต้องหลับตาข้างหนึ่งค่ะ บางทีเขาอาจจะกินเหล้า เล่นหวย อู้งานบ้าง ตราบใดที่งานที่สั่งไว้เขาทำสำเร็จ ก็พอไปรอดค่ะ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจได้ ของในสวนอย่าหาย (อาจมีเก็บไปกินบ้างก็ปล่อยๆ ไปค่ะ) แต่ประเภทยกมอเตอร์ไปขาย หรือให้เมียเปิดแผงที่ตลาดขายผลไม้ที่ขโมยมาจากในสวนเรา อันนี้ก็ต้องให้จรลีไปค่ะ ที่สวนวสาอนุญาตให้คนงานปลูกพืชผักที่อยากกินได้ตามสบาย หาเมล็ดผักมาให้เขาด้วย ผลไม้ในสวนหากอยากกินก็ให้เอาไปแต่พอกิน แต่ห้ามเอาไปขาย ให้จับปลาในร่องสวนมากินได้ แต่ห้ามจับไปขาย เว้นแต่คนงานจะลงทุนซื้อลูกปลามาเลี้ยงในกระชังเองก็ให้ทำได้แต่ต้องเลี้ยง นอกเวลางาน อยากเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ก็ให้เลี้ยงได้ในพื้นที่จำกัด เขาจะได้เก็บไข่กินได้เอง แต่ไม่อนุญาตให้ทำเพื่อค้าขาย ไม่งั้นวันๆ เอาแต่บำรุงรักษาพืชผักเป็ดไก่ของตัวเองจนไม่ได้ทำงานของเรา
2. ค่าจ้างคนงาน ส่วนมากเราใช้จ้างเป็นรายวันค่ะ แต่มีหัวหน้าคนงานที่เราจ่ายเป็นรายเดือน ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 120-180 บาทค่ะ คนต่างด้าวจะได้ที่ราวๆ 120-150 บาท คนไทยได้ที่ 150-180 บาทค่ะ หากเกิน 5 โมงเย็นก็จะมีค่าล่วงเวลาให้ (ช่วงที่เร่งเก็บผลไม้และคัดแยกน่ะค่ะ) บางทีคนซื้อผลไม้เราเขาก็จะจ่ายค่าแรงให้คนงานเราในวันที่เก็บผลไม้ให้เขา เราก็ประหยัดไปได้ค่ะ เช่น การซื้อมะม่วงแบบเหมาสวน พ่อค้าจะมาพร้อมคนงานคัดแยก แล้วเขาจ้างเราเก็บผลไม้ให้ โดยให้ค่าแรงรายวันกับคนงานเราค่ะ ค่าจ้างนี่เราอาจปรับขึ้นให้ปีละหน ปลายปีอาจมีเงินแถมให้นิดหน่อยได้ค่ะ
3. วันหยุด คนงานไทยในต่างจังหวัดจะขอมีวันหยุดตามวันสำคัญทางศาสนาค่ะ เช่น วันเข้าพรรษา วันทำบุญทอดกฐิน วันสงกรานต์ วันแต่งงานญาติ วันงานศพญาติ ฯลฯ เรื่องพวกนี้เราต้องปล่อยวางค่ะ เกษตรกร part-time หลายคนอาจไม่ค่อยพอใจเพราะตรงกับวันหยุดยาวที่เราจะเข้าสวนได้พอดีเช่นกัน ก็ต้องทำใจค่ะ นอกจากนี้ วันหวยออก เป็นวันที่คนงานไม่ค่อยมีกะจิตกะใจทำงานกันเท่าไหร่ ดังนั้น พยายามอย่าคาดหวังมากค่ะ คุยกันให้เข้าใจตั้งแต่เริ่มงาน จะทำให้ความรู้สึกดีทั้งสองฝ่ายค่ะ
การหาความรู้เพิ่มเติม
1. เป็นเกษตรกรต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอค่ะ ซึ่งแหล่งความรู้ที่ง่ายที่สุด เร็วที่สุด และไม่เสียเงินคือการหาตามเวบไซต์ แค่เข้าไปที่ google แล้วคีย์คำที่ต้องการทราบ เช่นคำว่า โรคมะนาว หรือ มะละกอใบหงิก ก็จะปรากฏรายการเวบต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคำที่ท่านคีย์เข้าไปมาให้ท่านได้ลองเข้าไปอ่าน หากไม่เจอข้อมูลที่ต้องการค่อยมาตั้งกระทู้สอบถามเพื่อนๆเกษตรกรท่านอื่น เพิ่มเติมได้ค่ะ อย่างไรก็ตามข้อมูลต่างๆ บนเวบอาจจะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปบ้างแล้วแต่เวบไซต์ที่เปิดเจอ เช่น เจอเวบขายปุ๋ยข้อมูลที่ออกมาอาจชี้นำไปสู่การซื้อปุ๋ยยาของเขา ดังนั้น อยากให้เกษตรกรเชื่อข้อมูลในเวบไซต์ของทางการเป็นหลัก เช่น เวบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://www.ku.ac.th/) เวบของกรมส่งเสริมการเกษตร (http://www.doae.go.th/) เป็นต้น เวบเหล่านี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายค่ะ หลายเวบมีรูปภาพประกอบด้วย อยากให้เกษตรกรได้ลองขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเองจากหลายๆแหล่งข้อมูลค่ะ จะได้คิดวิเคราะห์ได้รอบทิศ ดีกว่าการมาตั้งกระทู้ถามเพียงอย่างเดียว ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าผู้ตอบแต่ละคนมีความรู้ในด้านนั้นๆ จริงหรือไม่ บางเรื่องแม้ผู้ตอบมีความประสงค์ดี แต่ตอบเอาตามที่นึก (เอาเอง) ว่ามันน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยไม่มีประสบการณ์หรือหลักวิชาการสนับสนุน แล้วเกษตรกรไปทำตาม ผู้ที่เสียหายคือเกษตรกรเองค่ะ
2. นอกจากเวบไซต์แล้ว ก็มีหนังสือและวารสารเกษตรต่างๆ ที่สามารถหาอ่านเพิ่มความรู้ได้ค่ะ เช่น วารสารเคหเกษตร วารสารเมืองไม้ผล วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นต้น สวนวสาได้มีโอกาสไปเยือนสวนเกษตรต่างๆ เพื่อเสาะหาพันธุ์พืชที่ต้องการก็ใช้ดูเอาตามวารสารพวกนี้ค่ะ บางทีเขาก็มีการจัดอบรมให้ฟรีๆ มีวิทยากรที่มีความรู้มาพูด มีเพื่อเกษตรกรที่มีประสบการณ์มาแบ่งปันเทคนิค เราก็จะได้ประโยชน์ค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าวารสารทุกเล่มจะจัดงานได้ดี สวนวสาเคยไปร่วมงานหนึ่งเป็นการอบรมครึ่งวัน แต่กว่าการกล่าวเปิดงานของบุคคลสำคัญต่างๆที่เชิญมาจะหมดก็ปาเข้าไปเกือน 10 โมงแล้ว แล้วยังพักเบรคยาวๆ ให้คนที่มาอบรมไปซื้อของที่สปอนเซอร์ต่างๆ มาออกร้านขาย ในที่สุดได้ฟังคนบรรยาย (แบบรีบๆ ให้จบ) แค่ไม่ถึงชั่วโมง เสียเวลาไปเหมือนกันค่ะ
3. หนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเกษตรต่างๆ รวมถึงผลงานวิจัยบางงานที่มีประโยชน์ มีจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศูนย์หนังสือจุฬา ที่ร้านหนังสือแพร่พิทยา และตามงานเกษตรแฟร์ นอกจากนี้ยังมีแจกให้ฟรีโดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน ลองติดต่อขอไปดูได้ค่ะ
ความต้องการ กับ ความเป็นจริง
ผู้ ที่อยากเป็นเกษตรกรหลายท่านที่ทำงานประจำอยู่ ควรพิจารณาบริหารเวลา ครอบครัว และทุนทรัพย์ให้รอบคอบก่อนลงมือค่ะ บางทีเรามาอ่านๆ ในเวบต่างๆ เห็นคนอื่นเขาซื้อที่ดินกัน ลงมือทำกัน ก็เกิดแรงบันดาลใจอยากทำบ้าง แต่นั่นอาจเป็นความต้องการของคุณคนเดียวหรือเปล่า ลองดูปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ด้วยค่ะ
+ เวลา - คุณทำงานประจำในวันเสาร์อาทิตย์หรือเปล่า เพราะการเป็นเกษตรกร part-time นั้นอย่างน้อยต้องมีเวลาเสาร์-อาทิตย์ที่จะไปดูแลพืชผลที่ปลูกได้ หรือหากทำงานส่วนตัว ก็ต้องถามว่าสามารถจัดเวลาได้หรือเปล่าที่จะหาเวลาว่างแวะเวียนไปดูแลการ เติบโตของพืชผล และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายๆ คนไฟแรงแต่ตอนแรกๆ พอสักห้าหกเดือนผ่านไป ก็ทิ้งระยะเสียแล้ว จากทุกอาทิตย์ เป็นเดือนละหน เป็นสองเดือนหน ในที่สุดเหลือปีละหน อย่างนี้สิ่งที่ลงทุนไปก็จะเสียเปล่าค่ะ การทำเกษตรนั้นคนทำต้องมีความรับผิดชอบ (discipline) ที่ต่อเนื่องค่ะ ยิ่งถ้าที่ดินอยู่ไกลจากที่บ้านหรือที่ทำงานมากๆ อย่างที่เขียนไว้แล้วด้านบน ว่าส่วนใหญ่เจอค่าน้ำมันและเวลาขับรถไปก็จะท้อใจในที่สุด
+ ครอบครัว - เป็นสิ่งสำคัญค่ะ การซื้อที่ดินทำเกษตรนี่ครอบครัวทางบ้านต้องสนับสนุนนะคะ เพราะบางครั้งเป็นความต้องการเฉพาะของคุณพ่อบ้านอย่างเดียว แต่ครอบครัวทางบ้านไม่สนับสนุน เพราะเคยได้ยินคุณแม่บ้านบ่นว่าเสาร์อาทิตย์แทนที่จะได้พาลูกไปเรียนพิเศษ หรือได้ไปท่องเที่ยวกันตามแหล่งท่องเที่ยว ก็ต้องไปใช้ชีวิตกลางแดดร้อนๆ ขุดดิน ปลูกพืช เรื่องแบบนี้คุณแม่บ้านบางคน และเด็กๆ ไม่เข้าใจค่ะ อยากให้ทำความเข้าใจกันในบ้านให้เรียบร้อยก่อน เพราะไม่งั้นอาจมีปัญหาภายในครอบครัวได้ค่ะ
+ ทุน - สะสมมาพอไหม เวลาคำนวณเงินลงทุน คิดให้รอบคอบด้วยค่ะ นอกจากค่าที่ดิน ค่าคนงาน ค่ากิ่งพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าระบบน้ำ ค่าอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ แล้ว คิดได้เท่าไหร่ ให้คูณ 3 ไว้ก่อนเลย เพราะจริงๆ มันจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณไม่คาดคิดเกิดขึ้นอีกมากๆๆๆๆๆ และถ้าเงินสะสมของคุณไม่มากพอ นำไปสู่การเป็นหนี้สินเพื่อนำมาลงทุน มันจะไม่ยั่งยืนน่ะค่ะ
พืชพลังงาน หรือ พืชอาหาร หรือ สวนป่า
จากปัจจัยเรื่องเวลา ครอบครัว และทุนที่พูดถึงด้านบน ก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชนิดพืชเพื่อทำสวนเกษตรเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ
สวนป่า - ถ้าที่ดินอยู่ไกล เวลามีน้อย ภาระครอบครัวมีมาก ทุนมีกลางๆ ในช่วง 5-10 ปีนี้ แต่อยากเริ่มแล้ว ก็อยากให้พิจารณาเริ่มที่การทำสวนป่าไปก่อน คือ ปลูกพืชที่ตัดไม้ขายในภายหลัง เช่น สน ยูคา สัก หรือไม้ป่าอื่นๆ เพราะจะหนักแค่ช่วงปรับปรุงดินแรกๆ พอต้นกล้าตั้งหลักได้แล้ว ก็ผ่อนภาระการสิ่งไปดูแลบ่อยๆ ไป 5 - 10 ปี เช่นไปเดือนละหน หรือ สองเดือนหน ก็ได้ แต่ต้องไปนะคะ ไม่งั้นเพื่อนบ้านอาจจะมาบุกรุกเขาไปปลูกอะไรต่อมิอะไรเป็นการบันเทิงไป เราเจอมาแล้วกับที่ดินของเราที่อยู่ไกลๆ ไม่ค่อยได้ไปสามสี่เดือน มีสวนพริก สวนถั่ว เกิดขึ้นมาในที่ดินเราเฉยเลย ดีไม่ดีต้นกล้าที่เราปลูกไว้อาจเจอพืชอื่นเบียดเบียนตายไปก็ได้ หรือไม่ก็เจอมาแล้วค่ะ ที่ชาวบ้านเข้าไปจุดคบไฟหาหนู แล้วทำไฟไหม้สวนเราไปครึ่งสวน พวกสวนป่านี่ช่วงท้ายๆ ต้องเฝ้ากันดีๆ ด้วยเพราะไม่งั้นชาวบ้านแอบมาตัดไม้เราไปขาย ก็มีค่ะ
พืชอาหาร - ต้องการเวลาอย่างมากค่ะ อย่างที่เขียนมาแล้วว่าผู้ปลูกต้องมีความสม่ำเสมอในการไปดูแล เพราะไม่งั้นเผลอแป๊บเดียวโรคหรือแมลงลง ต้นไม้อาจจะตายไปทั้งสวนก็ได้ค่ะ ฝากคนงานเขาก็คงไม่ได้ใส่ใจมาก เพราะไม่ใช่สวนของเขาน่ะค่ะ พืชอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ พืชตระกูลธัญพืช หรือผักต่างๆ ต้องดูแลใกล้ชิดค่ะ นอกจากนี้ช่วงเก็บผลผลิตก็ต้องคอยหาตลาดให้ดี วางแผนการเก็บให้ดี การขนส่ง การเก็บรักษาอีก หากเกษตรกรยังไม่พร้อมก็แบ่งที่ดินปลูกเฉพาะที่พอกินเองไปก่อน ส่วนที่ดินที่เหลือก็ปลูกไม้ยืนต้นพวกสวนป่าไปก่อนค่ะ
พืชพลังงาน - พลังงานกำลังขาดแคลน คนเลยเห่อปลูกพืชพลังงานกันใหญ่ ตั้งแต่พวกมัน อ้อย ปาล์ม สบู่ดำ ฯลฯ ราคาก็ขึ้นลงตามที่เราเห็นๆ ค่ะ พืชน้ำมันนี่มันแทนที่พื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารนะคะ เวลานี้ทั่วโลกกำลังมีประเด็นเรื่องอาหารขาดแคลน เพราะหลายประเทศที่เคยทำเกษตรกรรมอาหาร เช่น มาเลย์ อินโด บราซิล อาร์เจนติน่า หันไปปลูกพืชพลังงานและยางพารากันใหญ่ ในระยะยาวแล้วราคาพืชอาหารจะแซงพืชพลังงานค่ะ สวนวสาจึงอยากเชียร์ให้ทุกคนกัดฟันปลูกพืชอาหารกันไปก่อนค่ะ และจะให้ข้อคิดสำหรับคนที่อยากปลูกพืชน้ำมันว่าควรอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อนะคะ เช่นปลูกปาล์มควรอยู่ใกล้ๆ โรงกลั่นนะคะ หากมีหลายๆ โรงในพื้นที่ยิ่งดีค่ะ ไม่งั้นเก็บผลผลิตแล้วส่งไม่ได้ก็จะเสียหายมากค่ะ เราจะเห็นว่าบางทีพอราคาขึ้นและน้ำมันที่กลั่นแล้วยังขายไม่ได้ บางโรงกลั่นเขาปิดไม่รับซื้อก็มีค่ะ หากมีตัวเลือกก็จะดีค่ะ เพราะพืชน้ำมันนี่เอาไปวางขายตามตลาดก็ไม่ได้ กินเองก็ไม่ได้ ต้องขายเข้าผู้แปรรูปอย่างเดียวเลย
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=5983.0