วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
ความจริงของ พลังงาน Hydrogen
ความจริงเรื่องนี้ผมไม่อยากจะเขียนเท่าไหร่เพราะว่ามี แต่เจ๊ากับเจ๊ง มีแต่โดนด่า
แต่ช่วงนี้ชักจะไปกันใหญ่ มีการหากินกับความไม่รู้ของคน ซ้ำเติมผู้ที่เดือดร้อนอยู่แล้ว
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสาร แต่เป็นข่าวสารที่ไม่ได้กรอง
กลับเป็นข่าวสารที่กอง คือมีอะไรกองรับไว้หมด ไม่ได้กรองข่าวเท็จทิ้ง ข่าวจริงเก็บ
รับรู้ข่าวสารเพียงแต่ด้านเดียวโดยไม่ได้นำมาพิจารณาว่าจริงหรือเท็จ
ดังนั้นใครที่ได้ออกสื่อจะถือว่าได้มีโอกาสดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อทางรายการโทรทัศน์
ข้อนี้เราโทษนักข่าวไม่ได้ เนื่องจากว่านักข่าวไม่ได้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
พอที่จะสอบถามหรือเข้าใจได้ มีอะไรที่ทำข่าวได้ก็ต้องรีบไปทำ
มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเมืองไทย เมื่อน้ำมันมีราคาสูงขึ้นก็จะมีอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน
หรือสารเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับเครื่องยนต์ ไมว่าจะเป็นแบบน้ำ ,แบบเม็ด หรือแบบที่เป็นเจล ออกมาขาย
มีทั้งแบบผสมในท่อไอดี ผสมในน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเกียร์ แม้กระทั่งท่อไอดี แล้วก็ล้มหายตายจากไป
แล้วก็เกิดใหม่ วนเวียนวัฏจักรแบบนี้ตลอดมา
ยิ่งในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมานี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น มากอย่างน่าใจหาย หลายคนตกใจกลัว
คล้ายกับคนที่จะจมน้ำตาย คว้าอะไรได้ก็คว้าไว้ก่อน ใครได้ท่อนไม้ก็โชคดีไป ใครคว้าเอาจระเข้ก็ซวยไป
=========================================================
อุปกรณ์ประหยัดน้ำมันก็เช่นกันย่อมอยู่ในหลักพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ สามารถพิสูจน์หรือใช้เหตุผล
ที่สามารถอธิบายได้อย่างไม่มีข้อสงสัย ไม่ใช้ความรู้สึกว่าได้ผล ทุกอย่างต้องเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้
โดยปราศจากข้อสงสัย การทดสอบประหยัดน้ำมันที่ทดสอบกันนั้นอยู่บนตัวแปรหลายตัว เช่นอากาศ ลมยาง
อุณหภูมิ สภาพการจราจร ตลอดจนวิธีการขับรถ
อุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้กับรถยนต์สามารถขายได้ราคาดี แถมถ้าได้อ้าง
ว่านาซารับรอง หรือได้ออกรายการทีวีก็จะยิ่งสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
ไมว่าจะเป็นลมยางไนโตรเจน สารหล่อลื่น และในปัจจุบันที่เป็นที่กล่าวถึงเป็นอย่างมากคือ "รถพลังน้ำ"
เรื่องการแยกน้ำออกมาเป็นแกสไฮโดรเจนและออกซิเจนเอามาทำเป็นเชื้อเพลิง ใช้ในรถ
มีการทดลองทำมานานหลายสิบปีแล้ว จดสิทธิบัตรกันก็มากมายเป็นร้อย ๆ แบบ
ในเว็บของต่างประเทศมีประกาศขายอุปกรณ์ ขายหนังสือวิธีการทำเชื้อเพลิงจากน้ำมากมาย
ผมเองก็เคยมีความสนใจมากในเรื่องพวกนี้และแปลกใจว่าทำไม่มันถึงไม่แพร่ หลายใช้งานได้จริง ๆจัง ๆเสียที
เหตุใดจึงอยู่ในวงการแคบ ๆ เท่านั้น
=========================================================
หลาย ๆ เว็บไซท์ ต่างก็อ้างถึงการทดลองของรถบั๊กกี้ของ stan meyer อีกทั้งมีภาพวิดีโอประกอบด้วย
มีข่าวลืออีกด้วยว่านาย stan โดนเก็บเพราะเทคโนโลยีนี้ทำให้หลายบริษัทเสียประโยชน์
ยิ่งทำให้ผมปักใจเชื่อมากขึ้นว่ามีโอกาสเป็นไปได้ จึงได้เริ่มอ่านสิทธิบัตรต่าง ๆ และดูตัวอย่างที่มีคนทำมาแล้วหลาย ๆแบบ
ผมเคยลงทุนสั่งซื้อชุดที่ประกาศขายในเน็ตจากอเมริกา เพื่อเอามาดูว่าสิ่งที่ผมคิดไว้กับที่เขาขาย มีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
เพราะว่าที่เว็บนี้มีข้อมูลกล่าวอ้างถึงผลการทดสอบต่าง ๆ มากมายหลายกรณีรวมถึงวิดีโอสัมภาษณ์ผู้ใช้งานจริง ทำให้ดูน่าเชื่อถือมาก
เพื่อที่จะได้เอาต่อยอดทางความคิดพัฒนาให้มันดีและถูกต่อไป
แถมยังมีบริษัท British Autogas ของอาบังลงโฆษณาในเว็บขายเครื่องอิเลคโตรไลเซอร์แยกน้ำเป็นแกส
ใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถอีก ยิ่งทำให้ผมมีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า งานนี้ต้องสำเร็จ
เมื่อซื้อมาแล้วก็ได้เริ่มทดลองการทำ หลาย ๆ แบบ โดยที่การทดลองของผมนั้นไม่ค่อยจะเหมือนกับชาวบ้านเขา
ผมที่ผมใช้ทุกคันตั้งแต่คันแรกในชีวิต ผมจะจดระยะทาง,จำนวนน้ำมันที่ใช้,ราคาน้ำมัน อย่างสม่ำเสมอและตอนเติม
ก็จะเติมให้เต็มถังตลอดทุกครั้ง จึงเป็นการง่ายที่จะนำข้อมูลก่อนใช้และหลังใช้มาเปรียบเทียบกัน
การเปรียบเทียบผมไม่ได้ใช้ครั้งต่อครั้ง แต่นำมาทำเป็นกราฟเส้นสองเส้นในช่วงเวลาที่ไม่ต่ำกว่าสามเดือน
โดยที่นิสัยการขับรถของผมยังไม่เปลี่ยนแปลง
บางคนคิดว่าวิธีการนำข้อมูลมาเปรียนเทียบของผมนั้นใช้ไม่ได้ก็ได้ แต่ผมกลับคิดว่าถ้ามันใช้งานได้จริง
กราฟที่วาดได้จะต้องเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ระหว่างนี้ก็ได้โทรศัพท์คุยกับ อ.von และได้รับคำแนะนำว่า "อย่าทำ"
ผลปรากฏว่าไม่เห็นความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญครับ
เวลาที่ทดสอบอาจจะน้อยเกินไป ผมจึงทดลองต่อไปเรื่อย ๆ อีกหลายเดือน ผลที่ได้เหมือนเดิม
=========================================================
เครื่องต้นแบบผมตัวแรกผลิตแกสได้ประมาณ 1 ลิตร ต่อนาที โดยไม่ต้องมีระบบระบายความร้อนแบบที่ทำขาย ๆกัน
ผมทดลองทั้งแบบที่ใช้ Pulse Width Modulation ที่ความถึ่และ Duty Cycle ต่าง ๆ กัน
โดยใช้ Micro Controller ควบคุม การปรับค่าต่าง ๆ ง่ายมาก มี VR สองตัว ตัวแรกปรับความถึ่ ตัวสองปรับ Duty cycle
เอามา ไดรว์ MOSFET ที่จ่ายไฟให้แก่อิเลคโตรไลเซอร์ วัดว่าทำอย่าไงจึงจะได้แกสมากที่สุด
ทดสองผสมสารละลายที่ความเข้มข้นต่าง ๆ น้ำทีใช้ผมก็น้ำจากเครื่องกลั่นในห้องปฏิบัตการ
ของโรงงานอาหารทะเล
ตอนหลังนี้ผมก็ได้โทรศัพท์ ปรึกษากับอาจารย์อีกเช่นเดิม เป็นระยะ ๆ ก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิม
คือสรุปได้ว่าขาดทุนตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้ว
ทำให้ผมเริ่มฉุกคิดว่า เราทำผิดตรงไหน เหตุใดจึงไม่ได้ผล จึงทำให้ผมเริ่มศึกษาแบบใช้เหตุและใช้ผล
========================================================
สมน้ำหน้าตัวเอง ที่เคยเรียนมาแล้วแต่เสือกไม่จำเอง
ต่อไปจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ครับ
ผมขอปูพื้นฐานนิด ๆ หน่อย ๆ จะได้ตามกันได้ทัน
น้ำ มีสูตรทางเคมีว่า H2O คือ ใน 1 โมเลกุลของน้ำจะประกอบไปด้วย H สองอะตอม และ O หนึ่งอะตอม
โมล เป็นหน่วยวัดจำนวนโมเลกุลของสารประกอบหรือธาตุที่มีจำนวนเท่ากับเลข อาโวกาโร คือ 6.023 x 10^23 ตัว
การจะรู้ว่า 1 โมลมีน้ำหนักเท่าไหร่นั้นง่ายมาก คือ นำน้ำหนักอะตอมซึ่งดูไดจากตารางธาตุเอามารวมกัน
ตามตารางธาตู H มี นน.อะตอม 1.008 , O มี นน อะตอม 16
H2O จึงมี นน. โมเลกุล = 1.008x2 + 18 = 18.004 ===> Approx 18
นั่นหมายถึง น้ำ 1 โมล มีน้ำหนัก 18 กรัม จะประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 กรัม และ ออกซิเจน 1 กรัม
ต่อไปขอพูดถึงค่าพลังงานของพันธะ(Bond Energy)ซักหน่อย
การจะแยกโมเลกุลออกมาต้องใส่พลังงานเข้าไปเพื่อให้อะตอมแตกตัวออกมา
ในวิชาเคมีมัธยมปลายก็เคยมีสอนไว้ ว่า สร้างคาย สลายดูด คือถ้าสร้างพันธะใหม่จะคายพลังงานออกมา
ถ้าต้องการสลายพลังงานต้องใส่พลังงานเข้าไผ
O-O มีค่าพลังงานพันธะ 118.3 Kcal /mole
H-H ค่าพลังงานพันธะ 104.2 Kcal /mole
H-O ค่าพลังงานพันธะ 101.5 Kcal /mole
H-OH ค่าพลังงานพันธะ 119.7 Kcal/mole
ดังนั้นการจะแยกน้ำออกมาเป็นแกส ต้องใส่พลังงานเพื่อสลายพันธะดังนี้
1 แยก H-OH ===> 119.7
2 แยก H-O ===> 101.5
รวมเป็น 119.7 + 101.5 = 221.2 Kcal/mole
เมื่อแยกออกมาแล้ว H ก็จะรวมกับ H เป็น H2 จะคายพลังงานออกมา 104.2
O ก็จะรวมกับ O เป็น O2 คายพลังงานออกมา 118.3/2 = 59.15
รวมการคายพลังงานออกมา 104.2+ 59.15 = 163.35
พลังงานที่คายนี้หายไปไหน ???
หายไปในรูปความร้อนครับ เซลแยกน้ำ จะต้องร้อนเสมอเพราะสาเหตุนี้ครับ
อย่า อย่าเพิ่งแย้งเรื่อง H-H ครับ ผมยังเขียนไม่จบ
------------------------------------------------------
ความร้อนที่คายออกมาในคำตอบที่แล้วเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
คือ ถ้าจ่ายไฟเข้าไปในเซลล์ที่แยกน้ำอย่างไรก็ต้องมีความร้อนเกิดขึ้นเสมอ
ถ้าแยกน้ำ 18 กรัมออกไปเป็นแกสได้ จะมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณนั้น
ถ้ามากกว่านั้นหมายถึงอะไร ???
หมายถึงพลังงานส่วนที่ใส่เข้าไปนั้นไม่ได้แยกน้ำเป็นแกสครับ แต่กลายเป็นไป
เป็นการ "ต้มน้ำ" นั่นเอง
ใส่พลังงานเข้าไป 221.2 Kcal แต่โดนโยนทิ้งไปเฉย ๆเป็นความร้อน 163.35
พลังงานโดยรวมเหลือ 221.2-163.35 = 57.85 Kcal
เมื่อหารด้วย น้ำหนักของน้ำคือ 18 กรัม จะเป็นค่า 3.2 Kcal/กรัม
ค่านี้หมายถึงอะไร ???
==========================================
หมายถึงทุก ๆ 1 กรัมของน้ำที่ถูกแยกสลายกลายเป็นแกสแล้วนำแกสไปเผา
จะได้พลังงานออกมา 3200 แคลอรี คือสามารถทำให้น้ำ 1 กก อุณหภูมิสูงขึ้นไป 3.2 C
ในขณะที่พลังงานขาเข้าคือ 221.2 / 18 = 12.28 Kcal/กรัม
ทำให้น้ำ 1 กก อุณหภูมิสูงขึ้นได้ถึง 12.28 C
หายไปถึง 12.2 - 3.2 = 9 องศา คิดเป็น 3.2/12.2 x100 = 26% เท่านั้น
มาดูในแง่ของไฟฟ้าบ้าง
มันเป็นกฏครับของฟาราเดย์ กฏคือกฏ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต่างกับทฤษฎีที่เปลี่ยนได้
ผมสรุปให้แล้วกันนะครับ
ไฟฟ้า 1 ฟาราเดย์ สามารถแยกน้ำได้จำนวน 1 โมล
1 ฟาราเดย์คือจำนวนประจุทั้งหมด 96,500 คูลอมบ์
1 คูลอมบ์คือจำนวนประจุไฟฟ้าที่กระแสไหล 1 แอมป์ภายใน 1 วินาที
1 ชมมี 60x60 = 3,600 วินาที
ดังนั้น 1 ฟาราเดย์คือ 96,500/3,600 =26.8 แอมป์
คือต้องใข้กระแสไฟฟ้าจำนวน 26.8 แอมแปร์เป็นเวลา 1 ชม จึงจะแยกน้ำได้จำนวน 18 กรัม
สังเกตุว่าผมจะไม่พูดถึงแรงดันไฟฟ้าเลย เพราะการแยกน้ำใช้จำนวนประจุเป็นสำคัญ
==================================================
ขออภัยครับ ในคำตอบที่ 38 เขียนผิดไปหน่อยผมลืมหารสอง
1 ฟาราเดย์ แยกน้ำได้จำนวน 9 กรัมครับ ไม่ใช่ 18 กรัม
คราวนี้ที่ชอบใช้กันจริง ๆ คือ HHO นั่นหมายถึง อะตอมของไฮโดรเจนที่แยกออกมาได้จะยังไม่รวมตัว
เป็นโมเลกุล นั่นหมายถึงพลังงานส่วนที่สร้างพันธะจำนวน 104.2 Kcal จะไม่สูญเสียไปเป็นความร้อน
และอะตอมของออกซิเจนก็ยังไม่รวมตัวเป็นโมเลกุลได้พลังงานกลับคืนมาอีก 118.3/2 = 59.15 KCal
รวมทั้งหมด 163.35 Kcal
นั่นคืออิเลคโตรไลเซอร์จะไม่เกิดความร้อนขึ้นเลย แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้เกิดความร้อนขึ้นเสมอ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น HHO จริง ๆ ??
ง่ายมากครับ สามารถคำนวณได้จากกฎของฟาราเดย์
แต่สิ่งที่ต้องรู้เพิ่มอีกคือ คุณสมบัติของแกส ไม่ว่าแกสใด ๆ ในโลกนี้ จำนวน 1 โมล
ที STP จะมีปริมาตร 22.4 ลิตรเสมอ
1/2 โมล์ของน้ำเสียค่าไฟฟ้า 2.1x26.8 = 56.28 Whr
คิดทีละครึ่งคิดยาก ขอคิดแบบเต็มก้อนดีกว่า
1 โมลของน้ำเสียพลังงานไฟฟ้า = 56.28x2 = 112.56 Whr
ถ้าเป็น HHO ต้องได้แกส 22.4+22.4+22.4 = 33.6 ลิตร
ดังนั้นอย่างเก่งที่สุด ระดับจ้าวยุทธภพ
การผลิตแกส 1 ลิตรต่อชม ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า = 112.56 / 33.6 = 3.35 Whr
หรือถ้าแบบเห่ย ๆ ก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า = 112.56 /16.8 = 6.7 Whr
คราวนี้จะทดสอบว่าของคุณได้ระดับไหนก็คำนวณโดยประมาณจากกระแสไฟฟ้า
ที่จ่ายให้แก่เครื่องอิเลคโตรไลเซอร์
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าใช้ไฟ 10 A ที่แรงดัน 13.8 โวลต์ กำลังไฟฟ้า 138 วัตต์
เครื่องนี้ผลิตแกสได้อยู่ในช่วง
สูงสุด 138/3.35 = 41.2 ลิตรต่อชม --> 0.686 ลิตรต่อนาที
ต่ำ 138/6.7 = 20.59 --> 0.343 ลิตรต่อนาที
ไม่มีทางเกินค่านี้ได้ถ้าเกินไปมาก แสดงว่า "โม้"
เครื่องตามที่โฆษณาใช้ไฟ 30 A ก็ผลิตได้อย่างมากที่สุด 2.06 ลิตรต่อนาที
ปริมาตรทั้งหมดคิดที่ STP นะครับ คือ 0 C ที่ แรงดัน 1 บรรยากาศ
ทีอุณหภูมิห้องก็ใช้กฏของแกสคำนวณเองนะครับ
================================================
มีการนำแกสนี้มาจุดไฟหรือไปเผาอะไรก็แล้วแต่ ได้อุณหภูมิที่สูงจนเป็นที่มาของข้อกล่าวอ้างว่า
ถ้านำแกสชนิดนี้ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะทำให้เชื้อเพลิงที่หลงเหลือจากการ เผาไหม้ สามารถเผาไหม้ได้หมดจด
ทำให้ประหยัดน้ำมัน
ก่อนอื่นผมต้องขออธิบายระหว่าง ค่าความร้อนกับอุณหภูมิ (Heat Value ,Temperature) เสียก่อน
ของบางอย่างอุณหภูมิสูงจริง ๆ แต่ค่าความร้อนต่ำ บางอย่างค่าความร้อนสูงแต่อุณหภูมิไม่สูงนัก
ขอยกตัวอย่างน้ำที่ใช้ชงกาแฟ อุณหภูมิซัก 70-80 องศา แค่เทใส่แก้วมือเราก็ไม่สามารถจับได้แล้ว
อจจะพองได้ ส่วนสะเก็ดไฟของเหล็กที่กระเด็นมาจากเครื่องเจียร อุณหูมิหลายร้อยองศา
เมื่อกระเด็นโดนผิวยังเฉย ๆ อย่างมากก็คัน ๆ เพราะอะไร ??
เพราะ Heat Value ของสะเก็ดไฟมันต่ำมากเมื่อโดนผิวความร้อนจะถ่ายเทสู่สิ่งแวดล้อมอย่างรวด เร็ว
และอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมแทบไม่ถูกกระทบเลย เหมือนกับเทน้ำจากแก้วลงในบ่อน้ำ
ระดับน้ำในบ่อก็ไม่ได้สูงขึ้น
การจุดระเบิดในกระบอกสูบก็เช่นกันความร้อนจากแกสนี้แม้อุณหภูมิสูงก็ จริงแต่มีปริมาณจิ๊บจ๊อยเหลือเกิน
จะไปช่วยเผาไหม้อะไรได้
ตามตำตอบที่แล้ว สมมุติว่าผลิตแกสได้ 2 ลิตรต่อนาที
สมมุติเครื่องยนต์ 4 สูบขนาด 2,000 ซีซี หมุนที่ 2,000 รอบต่อนาที
คือจุดระเบิด 1000 ครั้งต่อนาที
แกสมหัศจรรย์ที่เข้าเครื่องคือ 2 ลิตร/1000 = 2 ซีซี ต่อการจุดระเบิด 1 ครั้ง
ต่อสูบคือ 1/2 ซีซี ครับ
คำนวณย้อนกลับไปได้ครับว่า 1/2 ซีซีน่ะ ได้พลังงาน หรือได้ความร้อนซักกี่มากน้อย
คิดเป็นไฮโดรเจนแบบที่เป็นอะตอมล้วน ๆ เลยก็ได้ มันคือไฮโดรเจนจำนวน
(0.5/22400) x 1 = 2.232 x 10 ^-5 กรัม
อย่าทำมาหากินกับคนที่ลำบากเลยครับ
ปัจจุบันนี้ต่างก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้าอยู่แล้ว
===============================================
ใส่แกสเทพนี้เข้าไปแค่นิดหน่อยแต่ประหยัดได้ถึง 60% ผมว่ามันจะเกินไปหน่อย
เครื่องแคท หรือ คัมมินส์ หรือแม้แต่เครื่องปั่นไฟฟ้า คงประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มากมาย
เอาไปขายเรือประมงก็คงดี ไม่ต้องมาประท้วงเรื่องน้ำมันแพง ชาวมหาชัย,ชาวแม่กลองอยากได้อยู่แล้ว
ประหยัดได้ขนาดนี้เครื่องละห้าหกแสนขายได้สบาย ๆ วิ่งเรือหาปลาไม่กี่เที่ยวก็คุ้มแล้วครับ
หรือเอาไปขาย VSPP ที่ปั่นไฟขายให้แก่การไฟฟ้าภูมิภาค แถวชลบุรีก็มีโรงมันชลเจริญ
รับรองเขาซื้อแน่นอน
ความจริงทริคง่าย ๆ ที่จะประหยัดนั้น มันอยู่ที่การจูนหรือปรับแต่ง O2 หรือ MAP เท่านั้น
เพราะค่าอัตราส่วนเฉพาะของเชื่อเพลิงที่ 14:1 นั้น จริง ๆ ไม่ใช่ค่าที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์ที่สุด
แต่เป็นค่าที่ Compromise คือเป็นค่าที่ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดไม่สูงเกินไป
และ NOx ไม่สูงเกินไป ถ้าปรับให้เป็นซัก 18:1 ก็จะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ประหยัดขึ้น
แต่ว่า NOx จะสูงเกินค่ามาตรฐาน เพราะความร้อนในห้องเผาไหม้จะสูงขึ้น
ปรับยังไงคงไม่ต้องสอนท่านสมภารทั้งหลายนะครับ ที่นี่เซียน ๆ เก่ง ๆ มากมาย
ที่มา http://www.weekendhobby.com/offroad/newenergy/question.asp?page=2&id=1039
มาตรฐาน SI-Prefix (International System of Units)
คำอุปสรรค หรือ คำนำหน้าหน่วย (prefix) ใช้นำหน้าหน่วย เพื่อทำให้หน่วยที่ใช้เล็กลงหรือใหญ่ขึ้น และแนะนำให้ใช้เป็นขั้นละ 1,000 เท่า
10n | คำอุปสรรค | ตัวย่อ | ความหมาย | ตัวเลข | ตั้งแต่ ค.ศ. | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1024 | ยอตตะ | yotta- | Y | ล้านล้านล้านล้าน | 1,000,000,000,000,000,000,000,000 | 1991 | |
1021 | เซตตะ | zetta- | Z | พันล้านล้านล้าน | 1,000,000,000,000,000,000,000 | 1991 | |
1018 | เอกซะ | exa- | E | ล้านล้านล้าน | 1,000,000,000,000,000,000 | 1975 | |
1015 | เพตะ | peta- | P | พันล้านล้าน | 1,000,000,000,000,000 | 1975 | |
1012 | เทระ | tera- | T | ล้านล้าน | 1,000,000,000,000 | 1960 | |
109 | จิกะ | giga- | G | พันล้าน | 1,000,000,000 | 1960 | |
106 | เมกะ | mega- | M | ล้าน | 1,000,000 | 1960 | |
103 | กิโล | kilo- | k | พัน | 1,000 | 1795 | บางครั้งอาจพบการใช้ K แทน |
102 | เฮกโต | hecto- | h | ร้อย | 100 | 1795 | |
101 | เดคา | deca- | da | สิบ | 10 | 1795 | ในอเมริกาสะกดว่า deka- [2] |
10−1 | เดซิ | deci- | d | หนึ่งส่วนสิบ | 0.1 | 1795 | |
10−2 | เซนติ | centi- | c | หนึ่งส่วนร้อย | 0.01 | 1795 | |
10−3 | มิลลิ | milli- | m | หนึ่งส่วนพัน | 0.001 | 1795 | |
10−6 | ไมโคร | micro- | µ | หนึ่งส่วนล้าน | 0.000 001 | 1960 | เมื่อ ค.ศ. 1948 มีการใช้หน่วยไมครอน แต่ก็ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1967 |
10−9 | นาโน | nano- | n | หนึ่งส่วนพันล้าน | 0.000 000 001 | 1960 | |
10−12 | พิโก | pico- | p | หนึ่งส่วนล้านล้าน | 0.000 000 000 001 | 1960 | |
10−15 | เฟมโต | femto- | f | หนึ่งส่วนพันล้านล้าน | 0.000 000 000 000 001 | 1964 | |
10−18 | อัตโต | atto- | a | หนึ่งส่วนล้านล้านล้าน | 0.000 000 000 000 000 001 | 1964 | |
10−21 | เซปโต | zepto- | z | หนึ่งส่วนพันล้านล้านล้าน | 0.000 000 000 000 000 000 001 | 1991 | |
10−24 | ยอกโต | yocto- | y | หนึ่งส่วนล้านล้านล้าน | 0.000 000 000 000 000 000 000 001 | 1991 |
การใช้
โดยทั่วไปจะใช้คำอุปสรรคนำหน้าตัวหน่วยเอสไอ ที่เห็นเป็นประจำ คือหน่วยกิโลเมตร ที่ใช้วัดระยะทางโดยทั่วไป เช่น 5 กิโลเมตร หมายถึง 5 พันเมตร (five thousand metres) หรือ ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร หมายถึง 600 ในพันล้านเมตร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การพูดถึงเวลา จะไม่ใช้หน่วยเอสไอ แต่จะใช้คำแปลของหน่วยแทน เช่น 5,000,000,000 ปี จะไม่พูดว่า 5 จิกะปี แต่จะพูดว่า 5 พันล้านปี หรือ five Billion years
และนอกจากนี้ ในการพูดถึงอุณหภูมิ ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ไม่ยอมรับการใช้หน่วยเอสไอกับอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส (ในหน่วยองศาเซลเซียส จะใช้คำแปลมาช่วยเหมือนการบอกจำนวนเวลา) แต่ยอมรับการใช้หน่วยเอสไอกับหน่วยอุณหภูมิแบบเคลวิน
วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553
ศึกจ้าว CMS 2010
เวลาผ่านไป โลกของ CMS ก็เปลี่ยนตาม หลังจากเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้ครั้งแรกในปี 2007 ซึ่งตอนนั้นยังเป็นโลกของ Mambo และ Joomla! กาลเวลาผ่านไป 3 ปี Mambo ตายไปและปัจจุบันกลายเป็นโลกของ Joomla!, Drupal และ Wordpress ซึ่งทั้ง 3 ต่างได้รับรางวัล Best CMS Award ของสำนักพิมพ์ Packt แต่แน่ล่ะเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น สำหรับมือใหม่ก็คงยากในการตัดสินใจเลือกใช้ (มือเก่าคงไม่เปลี่ยนง่าย ๆ ด้วยหลายเหตุผล เช่น เคยมือ ง่ายในการดูแลรักษา)
และตัวเลือกที่นำมาเปรียบเทียบในบทความนี้ แน่นอน ต้องตามใจผู้เขียน ดังนั้นผมจึงขอนำเฉพาะ CMS ยอดนิยมมาเปรียบเทียบ Joomla!, Drupal, Wordpress และขอเพิ่ม TYPO3 อีก 1 ตัวเช่นเดิม ส่วน CMS อื่นที่พอเป็นที่นิยมในไทยก็ขอกล่าวคร่าว ๆ คือ
- Mambo ได้โปรด เปลี่ยนไปใช้ Joomla! เถอะครับ
- Dotnetnuke เป็น Opensource CMS (แต่ลองไปอ่านโค้ดดูครับ compile มาเรียบร้อยแล้วเป็นส่วนใหญ่ อยากได้โค๊ดมาอ่านต้อง email ไปขอ) ที่ยอดเยี่ยมตัวหนึ่งสำหรับ IIS และ Windows รองรับเฉพาะ Microsoft SQL Server และชุมชนในไทยยังมีไม่มาก ต่างคนต่างเขียน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะต่างจากเขียน .net ธรรมดาไม่มาก
- Zikula พัฒนามาจาก Postnuke ตั้งเป้าในเรื่องความปลอดภัยแต่ยังต้องปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ มีหัวหอกผู้ใช้งานในภูเก็ต แต่ไม่มีชุมชน เพราะผู้ใช้ต่างเป็นบริษัท และไม่ได้มีการสนับสนุนผลงาน เช่นพวก แปลภาษาหรือมอดูล ไปยังต้นน้ำ แถมต้นน้ำยังมีผู้ใช้งานน้อย และชุมชนยังไม่แข็งแกร่ง
- plone มีครบทุกอย่างที่ควรมี ยกเว้นผู้ใช้งาน เนื่องจากปัญหาเรื่องระบบพื้นฐาน เพราะต้องใช้ Python และ Zope
- Alfresco เขียนบน J2SE เป็น CMS สำหรับองค์กรณ์ขนาดใหญ่ และแน่นอน ในการใช้งานช้าแน่ ๆ เพราะใช้ Java
แนะนำนิดนะครับ เนื่องจากการเปรียบเทียบมีหลายหัวข้อ แต่การใช้งานจริงบางครั้งบางหัวข้อก็ไม่ต้องไปสนใจ และน้ำหนักในการพิจารณาเลือก CMS ใช้งานก็ควรเปลี่ยนไปตามการใช้งานของคุณ
ส่วนประวัติคร่าว ๆ ของ CMS แต่ละตัวเชิญไปดูที่ ศึกจ้าว CMS ภาค 1 เทียบมวย ขอกล่าวเฉพาะตัวที่ยังไม่มีนะครับ
Wordpress Matt Mullenweg และ Mike Little ได้แยกตัวออกจากเครื่องมือจัดการบล็อก b2/cafelog ที่มีผู้ก่อตั้งคือ Michel Valdrighi ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นทีมพัฒนา Wordpress ออกมาก่อตั้ง Wordpress ในปี 2003 และเริ่มตั้งตัวได้ในปี 2004 เนื่องจากคู่แข่ง Movable Type ได้เปลี่ยนเป็นเก็บตังค์ และเริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับรางวัลของสำนักพิมพ์ packt ในปี 2550 และ 2552 ได้รับ 2 รางวัล คือ 1, 2 จากรางวัลที่ได้ จะเห็นได้ว่า Wordpress ไม่ได้เป็นเป็นเพียงเครื่องมือจัดการบล็อกอีกต่อไป แต่ได้เป็น CMS เต็มตัว ถึงขนาดสามารถชนะใจกรรมการเหนือ Joomla! ได้
การจัดทำเว็บไซต์ทั่วไป
การติดตั้ง
- Drupal ง่ายดาย และมีเครื่องมือแนะนำเรื่องต่าง ๆ และช่วยเหลือในกรณีผิดพลาดดีมาก - 10
- Joomla! กรอกข้อความไม่กี่หน้าก็ได้เว็บไซต์แล้วครับ - 10
- TYPO3 ในเวอร์ชัน 4.4 (เพิ่ง Beta) การติดตั้งง่ายขึ้นมาก ส่วนการตั้งค่ามีให้ตั้งประมาณ 20 หน้ากระดาษ แต่ถ้าไม่รู้เรื่องก็ข้าม ๆ ซะ เว็บมันใช้ได้อยู่ - 10
- Wordpress สะดวก รวดเร็ว - 10
การเรียนรู้ในการใช้งาน
- Drupal ไม่ได้มีส่วนแยกระหว่างเมนูผู้เข้าชมและผู้ดูแลระบบอย่างชัดเจน แต่สามารถลงมอดูลเสริมได้ เนื่องจากระบบได้รับการออกแบบให้ง่ายในการดัดแปลง ดังนั้นจึงใช้ไม่ค่อยง่ายเท่าไหร่ - 9
- Joomla! จัดการทุกอย่างได้ง่ายดาย - 10
- TYPO3 เอ่อ จริง ๆ ก็ก็เหมือนตัวอื่น ๆ เพียงแต่เนื่องจากมันทำได้เยอะกว่าอย่างอื่น เลยเมนูเยอะไป ตาลาย และทางทีมงานไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง ถึงขนาดเขียนว่า ถ้าคุณไม่มีเวลาหรือต้องการระบบง่าย ๆ ก็ควรไปใช้ CMS ตัวอื่นในเว็บไซต์หลัก จะเอาเว็บขึ้นก็ต้องเรียนรู้ภาษา TypoScript นิดหน่อยด้วย - 7
- Wordpress ทุกอย่างชัดเจน - 10
คู่มือการใช้งาน
- Drupal มีหนังสือภาษาไทย 2 เล่ม ซื้อทั้ง 2 เล่ม น้อง ๆ บอกว่าของคุณสุกรีกับ mk อ่านเข้าใจดีกว่า (ขายของชัด ๆ) ส่วนอังกฤษมีเยอะที่สุดในตลาด CMS คู่มือในเว็บทำได้ดีมาก - 10
- Joomla! มีคู่มือภาษาไทยเยอะ อังกฤษเยอะ แต่ในเว็บหลักยังทำได้ไม่ดี - 9
- TYPO3 ไม่มีหนังสือภาษาไทย คู่มือภาษาอังกฤษมีไม่มาก แต่ในเว็บหลักทีมงานทำได้ดีมาก ๆ - 8
- Wordpress พอมีหนังสือภาษาไทย แต่ภาษาอังกฤษน้อยไปนิด ในเว็บก็งั้น ๆ - 8
การจัดการเนื้อหา
- Drupal จัดการเนื้อหาหลายชั้นได้ตามต้องการแต่ไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของแต่ละหน้า ได้ อ๊ะ อ๊ะ โชคดี ลงมอดูลเสริมได้ - 10
- Joomla! ทำได้เพียง 3 ชั้น และไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาได้ - 7
- TYPO3 ทำได้ทุกอย่าง - 10
- Wordpress ทำได้แต่ไม่ง่ายนัก และต้องลงมอดูลเพิ่ม - 9
SEO
- Drupal อยากทำอะไร ก็ลงมอดูลเพิ่ม - 10
- Joomla! เครื่องมือบางตัวต้องจ่ายเงิน - 8
- TYPO3 ลงมอดูลเพิ่มเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำได้ทุกอย่าง - 10
- Wordpress เหมือน Drupal - 10
ธีม
- Drupal ของฟรีพอมี แต่สวย ๆ หายาก และทำเองให้สวยยากมาก ประมาณอยากทำอะไรต้องไปแก้โค๊ดของระบบธีม - 7
- Joomla! โอ้ว สวรรค์ มีให้เลือกมากมาย แถมทำเองง่ายมาก ๆ - 10
- TYPO3 ทำหน้าตาทุกอย่างได้ตามต้องการ เพียงแต่ต้องเรียนภาษา TypoScript - 8
- Wordpress ไม่ต้องทำเองหรอกครับ แค่ของฟรีแค่เลือกก็จะตายแล้ว - 10
การช่วยเหลือ
- Drupal ชุมชนขนาดใหญ่และเข้มแข็ง ถามอะไรก็มีคนช่วยกันตอบ ทั้งชุมชนไทยและชุมชนหลัก และมีการช่วยเหลือแบบเสียเงิน โดยอยู่ในรูป Drupal เวอร์ชันพิเศษ คือ Acquia Drupal ซึ่งมีการพัฒนาทั้งธีมและระบบมากมาย ทั้งยังส่งสิ่งที่พัฒนากลับต้นน้ำด้วย เยี่ยมจริง ๆ - 10
- Joomla! ชุมชนภาษาไทยมีมายาวนานและดีเยี่ยม เช่นเดียวกับชุมชนหลัก เพียงแต่เวลาถามถ้าง่ายไปนิด จะมีคนมาด่า - 9
- TYPO3 ในเว็บหลักทั้ง Forum และ Mailing List ยอดเยี่ยม ถามไปไม่เกิน 24 ชม. จะได้คำตอบดี ๆ แต่ชุมชนภาษาไทยยังเพิ่งเริ่ม (มาหลายปีละ) - 8
- Wordpress ชุมชนภาษาไทยยังไม่เข้มแข็งเท่าไหร่ ส่วนชุมชนหลักจัดอยู่ในเกณฑ์ดี- 8
รวม Drupal - 66, Joomla! - 62, TYPO3 - 61, Wordpress - 65
ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการดูแลรักษาระบบ
Caching - สำหรับเก็บหน้าเว็บที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก
- Drupal สมบูรณ์แบบ ทำได้ถึงขนาดทำเฉพาะผู้ใช้ บล็อก หรือแม้กระทั่ง SQL - 10
- Joomla! ทำได้ไม่ดีที่สุดใน 4 ตัวนี้ - 7
- TYPO3 ทำได้ทุกอย่าง - 10
- Wordpress ทำได้ดี - 8
ทำหน้าเว็บแบบคงตัว - ไว้สำหรับหน้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น about
- Drupal มีมอดูลเสริม - 10
- Joomla! ไม่มี (มีส่วนขยายแต่ใช้ไม่ได้)- 6
- TYPO3 มีอยู่ในแกนหลัก - 10
- Wordpress มีขั้นตอนในการทำซับซ้อน - 8
Permission
- Drupal สามารถกำหนดเป็นกลุ่มได้ทั้งมอดูล หน้าเว็บ เมนู ว่าให้ใครใช้ได้บ้าง - 9
- Joomla! กำหนดได้ไม่มาก - 7
- TYPO3 เหมือน Drupal แต่สามารถกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้รายคนโดยไม่ต้องอยู่ในกลุ่มได้ด้วย - 10
- Wordpress สามารถกำหนดได้ แต่ไม่ทั้งหมด - 8
Multisite - มีผลมากในกรณีที่ดูแลเว็บเยอะ ๆ เพราะถ้าทำได้ เมื่อมีการอัพเดทเวอร์ชันใหม่ จะได้อัพเดทแค่ตัวโปรแกรมหลักเดียว
- Drupal ดีเยี่ยม ง่ายดาย - 10
- Joomla! มีทั้งส่วนขยายที่จ่ายเงินและฟรี แต่ไม่คุ้มค่าที่จะใช้ เพราะการเปลี่ยนรุ่นทุกครั้ง ต้องภาวนาให้ใช้งานได้ - 7
- TYPO3 ไม่ต่างจาก Drupal - 10
- Wordpress มีเวอร์ชันเฉพาะ Wordpress MU - 10
ฐาน ข้อมูล
- Drupal ใช้ได้ทั้ง MySQL และ Postgress SQL และ ในรุ่นถัดไป Drupal 7 รองรับ SQLite อย่างเป็นทางการสำหรับเว็บที่มีการใช้งานต่ำ และรองรับ Oracle อย่างไม่เป็นทางการ (ส่วนในมอดูลเสริมนี่ต้องแล้วแต่ว่าผู้เขียนจะติดต่อฐานข้อมูลผ่าน api หรือเปล่า) - 8
- Joomla! ใช้ MySQL และมีตัวเสริมให้สามารถใช้ Postgress แต่ยังมีข้อผิดพลาดเยอะ - 7
- TYPO3 - ใช้ได้มากมาย เช่น Oracle, MSSQL, PostgreSQL, MAXDb, Sybase, XMLdb10 - 10
- Wordpress ใช้ได้เฉพาะ MySQL - 7
การรองรับระบบ ใหญ่ ๆ - ทดสอบโดยดึงข้อมูลปริมาณเยอะ ๆ แล้วดูว่าใครจะหลุดก่อนกัน
- Drupal ทำได้ดีมาก - 10
- Joomla! ทำได้ดี - 9
- TYPO3 ทำได้ดีมาก - 10
- Wordpress ทำได้ดีมากจนน่าประหลาดใจ - 10
รวม Drupal - 57, Joomla! - 46, TYPO3 - 60, Wordpress - 51
การนำไปใช้งาน
บล็อก
- Drupal ยอดเยี่ยม - 10
- Joomla! ธรรมดา - 8
- TYPO3 ธรรมดา - 8
- Wordpress ไม่ต้องพูดถึง - 10
การจัดการงานเอกสาร
- Drupal ทำได้ แต่ต้องลงมอดูหลายตัว และต้องตั้งค่าอีกเยอะ - 8
- Joomla! ทำได้ แต่ยังไม่ครบและมีปัญหาเรื่องสิทธิผู้ใช้งาน - 8
- TYPO3 ทุกอย่างสมบูรณ์ - 10
- Wordpress มีความสามารถไม่เยอะ - 5
E-Commerce
- Drupal มีให้เลือกทั้ง 2 ตัว และพอใช้ได้ - 9
- Joomla! มีให้เลือกหลายตัวเช่นกันและพอใช้ได้เช่นกัน - 9
- TYPO3 มีหลายตัว แต่ไม่เข้าตา - 7
- Wordpress เหมาะสำหรับเว็บเล็ก ๆ มีเฉพาะความสามารถพื้นฐาน - 7
Forum
- Drupal มีทั้งอยู่ในแกนหลักและมอดูลเสริม - 10
- Joomla! มีให้เลือกหลายตัว แต่ไม่ประทับใจ - 8
- TYPO3 มีให้เลือกหลายตัว - 10
- Wordpress คุณสมบัติไม่มากเท่าที่ควร - 8
Groupware
- Drupal ทำได้เยอะ แต่ต้องลงหลายโปรแกรม - 9
- Joomla! ทำได้ไม่เยอะ - 8
- TYPO3 ครบ - 10
- Wordpress ไม่ต้องพูดถึง - 5
Learning Management System (LMS)
- Drupal ยอดเยี่ยม - 10
- Joomla! ธรรมดา - 8
- TYPO3 มีครบ - 10
- Wordpress ความสามารถไม่เยอะ - 8
Wiki
- Drupal มีให้เลือกหลายตัว และทำงานได้ดี - 10
- Joomla! ทำงานได้ไม่เยอะ - 8
- TYPO3 มีให้เลือกหลายตัว - 10
- Wordpress ความสามารถไม่เยอะ - 8
รวม Drupal - 66, Joomla! - 57, TYPO3 - 65, Wordpress - 46
การใช้งานระยะยาว
- Drupal รุ่น 7 ใกล้ออกแล้วครับ มีการเปลี่ยน api ทำให้มอดูเก่าใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของ Drupal แต่การสนับสนุนของรุ่นเก่านี่ก็เข้มแข็งดี
- Joomla! รุ่น 1.6 ก็ใกล้ออกเช่นกัน (คงออกพร้อม ๆ กันครับ ตอน Drupal 6 กับ Joola! 1.5 ก็ออกใกล้เคียงกัน) ประสบปัญหาแบบเดียวกัน นโยบายใกล้เคียงกัน
- TYPO3 รุ่นถัดไปคือ 4.4 ปัญหาการใช้มอดูลเก่านี่น้อยกว่าตัวอื่น ๆ มาก (เพราะแนวทางการเขียนมอดูลกับกว่าจะออกรุ่นใหม่ นานมาก) แต่เมื่อมีการเปลี่ยนเป็น TYPO3 5 ก็คงมีปัญหาแน่นอน (หลัง 4.4 ก็มี 4.5 อีกรุ่นก่อนจะไป 5 ก็น่าจะกินเวลาประมาณ 2 ปีกว่า) เพราะจะมีการเขียนโค้ดใหม่ทั้งหมดบน FLOW3 Framework (ทำให้ปัญหามอดูลเก่ากับเปลี่ยนรุ่นของ CMS หมดไป) แต่เทพได้อีก ไม่เป็นไรครับถ้าจะเขียนมอดูลตอนนี้บน TYPO3 เพราะในรุ่น 4.4 นี้ได้ออก Extbase MVC framework เพื่อให้มอดูลที่เขียนมาใหม่สามารถนำไปใช้บน TYPO3 5
- Wordpress ก็คงออกรุ่น 3.0 ใกล้เคียงกับ Drupal 6 และ Joomla! 1.6 นโยบายการรองรับก็เหมือนกัน สมเป็นพี่ใหญ่ทั้ง 3 ในวงการ CMS
การพัฒนาโปรแกรมเสริม CMS แต่ละตัวก็จะมีแนวทางของตัวเอง
- Drupal สามารถเขียน api เองและเรียกใช้ api ของมอดูลอื่นได้ แบ่งเป็น MVC ชัดเจน
- Joomla! ข้อบังคับในการเขียนน้อยกว่า และสามารถเขียนขายได้ (ตัวอื่นก็ขายได้ครับ แต่ไม่นิยม)
- TYPO3 ยากง่ายใกล้เคีบงกับ Joomla!
- Wordpress โค้ดเหมือนบทกวี อยากเขียนอะไรย่อมได้ครับ แฮคกันอย่างเมามัน
สถานะ การณ์ทั่ว ๆ ไป
- Drupal มีชุมชนที่เข้มแข็งและโตขึ้นเรื่อย ๆ
- Joomla! แม้จะมีผู้ใช้เท่า ๆ เดิม แต่อัตราการเพิ่มลดลง ซึ่งอาจเป็นปัญหาในระยะยาว สาเหตุเกิดจากมอดูลเสริมส่วนใหญ่ที่ดี ๆ จะต้องเสียเงิน แต่ก็เป็นแนวทางการทำธุรกิจที่ดี เพราะมีผู้พัฒนามอดูลเสริมดี ๆ เยอะ
- TYPO3 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน และรัฐบาลเยอรมันได้ใช้ TYPO3 ทั้งระบบ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการสนับสนุน (ทำไมเยอรมันทำได้เนี่ยครับ ไม่มี Microsoft เลย ทั้ง os และโปรแกรม ไทยจะทำได้ไหมเนี่ยครับ)
- Wordpress ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขอ ให้ทุกท่านเลือกใช้งาน CMS ให้เหมาะกับงานนะครับ และสิ่งที่ผมอยากให้เป็นคือคนที่ใช้ open source มาช่วยโปรโมทกันครับ ให้ทุกคนเข้าใจแนวทาง open source ทุกคนร่วมกันใช้ ร่วมกันแบ่งปัน จริง ๆ อยากเริ่มตั้งแต่ระดับมหาลัยครับ เพราะอาจารย์บางคนยังไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับโปรเจคจบที่เขียนบน CMS มีเด็กเคยมาปรึกษาผมเรื่องจะเขียนโปรเจคจบ ผมก็แนะนำให้เขียนมอดูลเสริมใน Joomla! หรือ Drupal ปรากฎว่าเด็กไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา โดนด่ากลับมาครับ ว่าเรียนมา 4 ปี ทำไมทำได้แค่นี้ อาจารย์เขาให้เขียนใหม่ทั้งระบบครับ แนวคิดแปลกดี
ความ ดีเด่นของกาลามสูตร
มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็น ของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าว เล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้าง คัมภีร์หรือตำรา
มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอา เอง
มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาด คะเนอนุมานเอา
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตาม อาการที่ปรากฏ
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่า ต้องกับความเห็นของตน
มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควร เชื่อได้
มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของ เรา
สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้
เขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ว่าตามที่เขาว่านั้น ซึ่งมีจริงบ้างไม่จริงบ้าง ปนกันอยู่
นางแมวแล้วฝนจะตก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่เขาเล่ากันมาอย่างนี้ คือเชื่อตามเขาว่า ซึ่งก็ อาจจะไม่เป็นจริงตามเขาว่าก็ได้ ดังนั้น เราต้องเชื่อตามเหตุผล อย่าเชื่อตามเขาว่า
เอาเองเพื่อให้คำพูดของตนมีหลักฐานการอ้างตำรา อย่างนี้จึงไม่ถูกต้องถ้าใครหลงเชื่อก็อาจถูกหลอกเอาได้
บาง คนที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา
ที่มา http://www.dopa.go.th/religion/tammar.html
วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553
ตำนาน นางสงกรานต์
ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุม พร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบ เขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุ งษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โค ราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
- ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษส เทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)
- ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณี เทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิ ทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธร เทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า
- วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
- วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
- วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
- วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
- วันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ
- วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
- วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
วิธีนำ Ubuntu join domain เข้ากับ Active Directory ของ Windows Server 2003
เว็บที่ผมไปเจอมาเขาแนะนำ Package ตัวนึงครับชื่อว่า likewise-open ซึ่งเราสามารถติดตั้งโดยใช้คำสั่ง
sudo apt-get install likewise-open
ภาพ คำสั่งการติดตั้ง likewise-open
เมื่อติดตั้ง likewise-open เสร็จแล้วก็มาดูรายละเอียดอย่างอื่นที่จำเป็นกับการ join domain กันครับ
ภาพ การกำหนดค่า hostname และ dns บน Ubuntu
Hostname จะต้องมีความยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร
DNS ต้องชี้ไปยังเครื่องที่เป็น dc หรือเครื่อง dns ที่รู้จัก dc ตัวที่เรากำลังจะเข้าไป join (ในที่นี้ผมชี้ไปยังเครื่อง dc)
มาดูในฝั่งของ Windows Server 2003 กันบ้าง ผมสร้าง user ใหม่ขึ้นมาโดยให้ชื่อว่า ubuntu
เมื่อ Ubuntu พร้อม และ User บน Windows Server 2003 พร้อมก็มาทำการ Join Domain กันเลยครับ
คำสั่งที่ใช้ในการ join domain คือ
sudo domainjoin-cli join vmserver.net account
โดยที่ vmserver.net คือโดเมนที่เราต้องการจะ join และ account คือ user ที่เป็น Domain Admin
ภาพ รูปแบบคำสั่งในการ Join Domain
ซึ่งเมื่อเราใช้คำสั่งตามด้านบนไปแล้ว ระบบจะให้เรากรอก Password ของ account ซึ่งเป็น Domain Admin เมื่อกรอกถูกต้องระบบก็จะแจ้งว่า SUCCESS
เมื่อ join domain เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการกำหนดให้ likewise-open ทำงานทุกครั้งที่เปิดเครื่องโดยใช้คำสั่ง
sudo update-rc.d likewise-open defaults
ภาพ คำสั่ง update-rc.d likewise-open defaults
แค่นี้ระบบก็พร้อมใช้งานแล้วครับ
ทดสอบโดยการ Log Out จาก user ปัจจุบัน จากนั้นก็ Login ด้วย user ที่อยู่บนเครื่อง AD ได้เลยครับ ซึ่งรูปแบบในการ Login คือ DOMAIN\username
ภาพ รูปแบบการ Login ผ่าน Domain
ภาพ Path ของ Home Directory หลัง Login สำเร็จ
ภาพ Computer Object ของเครื่อง vmubuntu
ทดลอง reboot เครื่องแล้วลอง login อีกรอบ หาก login สำเร็จก็เป็นอันเสร็จพิธีครับผม
หากต้องการ Disjoin ออกจาก domain ละทำอย่างไร ง่ายๆ ครับก็ใช้รูปแบบเดียวกับการ join เพียงแค่เปลี่ยน option จาก join เป็น leave
sudo domainjoin-cli leave vmserver.net account
หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์กับผู้อ่านน่ะ ครับ
ขอบคุณที่สนใจอ่าน
แหล่งข้อมูล :
วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553
วิธีแปลง Hidef เป็น DVD ให้ชัดกว่า CCE30PASS 2
อ่านรายละเอียดและ download ที่นี่ http://www.videohelp.com/tools/AviDemux
บาง ครั้ง Hidef ต้นฉบับที่นำมาใช้ อาจยาว หรือ สั้น กว่า DVD Master
ถ้า เอามาใช้เลย จะมีปัญหาเสียงและซับจะไม่ตรงกับภาพ
จึงต้องมีการตัด หรือไม่ก็เติมให้เท่ากับ DVD Master
3.1 เปรียบเทียบไฟล์ movie_01_01.mpg (Mpeg2 จาก Hidef) กับ VideoFile.m2v (Mpeg2 จาก DVD Master)
เปิด 2 ไฟล์ ใช้ 2 window เทียบกันเลย
กดปุ่ม Frame step จนทั้งสองไฟล์แสดงภาพเดียวกัน
ควรเป็นภาพจากตัวหนัง ไม่ใช่ไตเติ้ลต้นเรื่อง
ดูว่าแต่ละไฟล์ ภาพนั้นๆเป็น frame ที่เท่าไหร่ ภาพจาก hidef มีขาดหรือมีเกิน
ในตัวอย่างนี้ ภาพจาก hidef ขาดไป 15 frame
3.2 เนื่องจากภาพจาก DVD Master มันเกินอยู่ 15 frame
ต้องเก็บ 15 frame ตอนต้นนี้ไว้ แล้วเอาภาพจาก hidef มาต่อเข้าไป
จึงจะได้หนังที่ความยาวเท่าเดิม
ไป ที่ frame ที่ 16 แล้ว Mark ให้เป็นจุดตั้งต้น
3.3 เมื่อ mark แล้ว จะเห็นกรอบสีน้ำเงิน แสดงว่าเราได้ Mark ไว้
โดยเริ่มจาก Frame ที่ 16 (มันจะรู้เองว่า ไปสิ้นสุด frame สุดท้ายของหนัง)
แล้วก็ Delete ส่วนที่เลือกไว้
3.4 พอ delete เสร็จ จะเหลือแค่ 15 frame แรกของหนังเท่านั้น
3.5 คราวนี้ จะเอา Mpeg2 จาก Hidef มาต่อท้าย
3.6 เลือกไฟล์ที่ได้จาก DeVeDe
3.7 เลือก Format ที่จะ save เป็น Mpeg Video
แล้วก็ save ในชื่อใหม่ได้เลย (คงไม่ต้องบอกว่าต้องไปที่ menu file - save นะครับ)
3.8 ถ้า hidef มีเกิน ก็ต้องตัดทิ้ง
วิธีตัด ดูจาก 3.3 - 3.4
เมื่อตัด เสร็จ ก็ save ไว้ใช้ได้เลย
ขั้นตอนที่ 4 - รวม Video(ที่ตัด/เติมแล้ว)/Audio/Sub/Chapter เข้าเป็น DVD (main movie only) ด้วย IfoEdit
อ่านรายละเอียดและ download ที่นี่ http://www.videohelp.com/tools/IfoEdit
4.1 เลือกใช้ Author new DVD
4.2 Click ตรงที่ Mouse pointer ใช้อยู่ ปุ่มนี้ เป้นปุ่มเลือกไฟล์
4.3 เลือกไฟล์ให้ครบถ้วน
เรียง ตามลำดับด้วย
เมื่อพร้อมแล้ว กด OK
4.4 กำลังทำงานอยู่ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
4.5 เสร็จแล้ว
ถ้าไปดูใน output folder (ที่เลือกไว้ในขั้นตอน 4.3)
จะมี DVD File ที่เป็นเฉพาะ mainmovie อยู่
ถ้า ใครพอใจเพียงเท่านี้ ก็เอาไป burn แล้วดูได้เลย
แต่ถ้าอยากได้แบบมี memu เหมือน DVD Master ก็ทำขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 - เอา Main movie ที่ได้ ไปแทนที่ Main movie ในแผ่น DVD Master ด้วย VobBlanker
อ่านรายละเอียดและ download ที่นี่ http://www.videohelp.com/tools/VobBlanker
5.1
เลือก browse ไปยัง DVD Master
เลือก output folder
เลือก Tileset - VTS VOB ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด - Video format จะบอกว่าเป็น PAL หรือ NTSC
เลือก Pgc ที่ Duration ยาวที่สุด
5.2 เลือก IFO จาก mainmovie ที่ได้จาก IfoEdit (ขั้นที่ 4)
5.3 ตรง Replacing Tile จะมี mainmovie IFO บอกอยู่
ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีกว่า
เมื่อเสร็จแล้ว ที่ Folder H2D ที่เลือกไว้ ก็จะมีไฟล์ DVD ที่เสร็จแล้วอยู่
ที่มา http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=136392
วิธีแปลง Hidef เป็น DVD ให้ชัดกว่า CCE30PASS 1
ตอบ CCE เป็นโปรแกรมที่ดี มีคุณภาพก็จริง แต่มันก็ไม่มีทางจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าต้นฉบับได้
ไมว่าจะใช้ CCE30PASS หรือ CCE2000PASS ก็ตาม
ลองมา เปรียบเทียบภาพจาก D9 กับ H2D
DVD9 Master
Hidef 2 DVD (H2D)
เท่าที่ดูหนังใหม่ๆมา เยอะ พบว่าภาพจาก DVD Master ไม่มีเรื่องไหนคมชัดเท่า Hidef เลย
การแปลง จาก Hidef เป็น DVD ได้ภาพที่คมชัดว่าทุกเรื่อง
การแปลงนี้ ใช้เวลาเท่าๆกับความยาวหนัง บนเครื่อง 3 GHz ซึ่งพอๆกับ CCE1PASS เท่านั้น
ขนาด ของ mainmovie ก็ไม่เกิน D5 ซักเรื่อง (อยู่ประมาณ 3.5-4.0 GB)
software ที่ใช้ เป็น freeware ทั้งหมด
ไม่ต้องใช้ยาแก้ไอ
ชักอยากลอง แล้วใช่ไหมครับ มาลองกันดูเลย
ขั้นตอนที่ 1 - แปลง Hidef เป็น MPEG2 ด้วย DeVeDe
อ่านรายละเอียดและ download ที่นี่ http://www.videohelp.com/tools/DeVeDe
1.1 เลือกแปลงเป็น Video DVD
1.2 เลือกระบบ PAL หรือ NTSC แล้วแต่ DVD Master จะเป็นอะไร
ถ้าไม่รู้ ข้ามไปดูจาก VobBlanker ที่ขั้นตอน 5.1 ก็ได้
1.3 เลือก Advance option
1.4 เลือกเฉพาะ Mpeg
1.5
1.6
1.7 เลือกไฟล์ Hidef ที่ต้องการจะแปลง
อย่าลืมกดปุ่ม open ด้วย
1.8
1.9
1.10
เลือกว่าจะ save ไฟล์ที่แปลงแล้วที่ไหน
อย่าลืมกดปุ่ม OK ด้วย
1.11
โปรแกรม กำลังทำงาน ไปนอนหลับซักตื่นนึงก่อน
1.12
เสร็จแล้ว
1.13
นี่คือไฟล์ Mpeg2 ที่ได้จากการแปลง
ขั้นตอนที่ 2 - แยก mainmovie จาก DVD Master เป็น video/audio/sub/chapter ด้วย PgcDemux
อ่านรายละเอียดและ download ที่นี่ http://www.videohelp.com/tools/PgcDemux
2.1
2.2 เลือกไฟล์ IFO จาก DVD Master
Video_ts.ifo เป็นเมนูของแผ่น ไม่ใช่ mainmovie ที่เราต้องการ
ลอง เลือก vts_01_0.ifo ดูก่อน ถ้าไม่ใช่ mainmovie เดี๋ยวค่อยมาเลือก ifo อื่นต่อไป
อย่าลืมกดปุ่ม open
2.3 ดูว่า ifo ที่เลือกนั้น ความยาวหนังเป็นเท่าไร
ถ้ายาวประมาณชั่วโมงกว่า ก็น่าจะเป็น mainmovie ที่เราต้องการ
2.4
2.5
2.6 นี่คือไฟล์ผลลัพท์ที่ได้จาก PgcDemux
ที่มา http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=136392