วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

VI Effect

ปรากฏการณ์เล็ก ๆ อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ในแวดวงของ Value Investor ก็คือสิ่งที่ผมอยากจะเรียกว่า “VI Effect” นี่คือปรากฏการณ์ที่หุ้นหลาย ๆ ตัวที่กลุ่ม Value Investor “มืออาชีพ” ซื้อลงทุนและได้รับการกล่าวขวัญถึงในเว็บไซ้ต์หรือสื่อต่าง ๆ มีราคาปรับตัวขึ้นค่อนข้างเร็วและมาก

ก่อนที่จะพูดถึงเหตุผล ผมคงต้องทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า “Effect” เสียก่อนว่ามันหมายถึงอะไรเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องของการลงทุน

คำว่า Effect นั้น หมายถึงผลกระทบ หรืออิทธิพลอันเนื่องมาจากการกระทำของคนหรือกลุ่มของนักลงทุนที่มีต่อราคา หุ้นซึ่งอาจจะไม่นับหรือยังไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นฐานของบริษัท แต่เป็นเรื่องที่การกระทำของคนหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ส่งผลให้มีคนทำตาม จำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นหรือลงมากกว่าที่ควรเป็น

ตัวอย่างเช่น เมื่อมีข่าวว่า วอเร็น บัฟเฟตต์ เข้าซื้อหุ้นของบริษัทปิโตรไชน่าของจีน ราคาของหุ้นปิโตรไชน่าก็พุ่งขึ้นหลายเท่าในเวลาอันสั้น อาจจะเป็นเพราะว่านักลงทุนคิดว่าถ้าบัฟเฟตต์ซื้อ ก็หมายความว่าหุ้นตัวนี้คงเป็นหุ้นที่ดีและราคาถูก ดังนั้น พวกเขาจึงรีบเข้าไปซื้อตามก่อนที่ราคาจะ “ขึ้น” ไปหรือขึ้นไปอีก นักลงทุนบางคนอาจจะไม่ได้คิดว่าหุ้นตัวนี้เป็นหุ้นที่ดีและถูกเท่าไรนัก แต่เขาคิดว่าคงมีคนที่จะเข้าไปซื้อหุ้นปิโตรไชน่าตามบัฟเฟตต์ ดังนั้นเดี๋ยวหุ้นก็จะขึ้น ดังนั้น เขาต้องเข้าไปซื้อดักหน้าไว้ก่อน กระบวนการที่คนต่างก็รีบเข้าไปซื้อหุ้นทำให้หุ้นปิโตรไชน่าขึ้นไปเองไม่ว่า พื้นฐานจะดีคุ้มกับราคาหุ้นหรือไม่ ลักษณะของการขึ้นของหุ้นในทันทีที่มีข่าวบัฟเฟตต์เข้าไปซื้อนั้นเรียกว่า เป็น “Buffett Effect” และผมคงไม่ต้องพูดต่อว่า อิทธิพลของบัฟเฟตต์ต่อราคาหุ้นนั้นมากแค่ไหน เพราะหุ้นแทบจะทุกตัวที่บัฟเฟตต์ซื้อนั้น หลังปรากฏข่าวหรือแม้แต่ข่าวลือก็มักจะ “วิ่งกระจาย”

Effect หรืออิทธิพลระดับ “โลก” นั้น แน่นอน ไม่ใช่มีแต่เฉพาะจากบัฟเฟตต์ซึ่งเป็นแนวของ Value Investor นักเก็งกำไรอย่างจอร์จ โซรอส นั้นก็มี Effect ไม่แพ้กันหรืออาจจะมากกว่า ว่ากันว่าถ้าจอร์จ โซรอส เข้าไปเล่นอะไร คนแห่ตามกันเพียบ ตัวอย่างเช่นสมัยที่มีการเก็งกำไรค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ที่ทำให้ค่าเงินบาทล่มสลายนั้น คนที่ทำจริง ๆ คงเป็น “สาวก” ของโซรอสมากกว่าตัวเขาเอง

ในเมืองไทยนั้น Effect ก่อนหน้านี้เท่าที่เห็นก็จะมีเฉพาะที่มาจากนักเก็งกำไรหรือ “นักปั่น” หุ้นรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ในสมัยก่อนนั้น พอมีข่าวว่า เซียนหรือรายใหญ่กำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็ “วิ่งกันกระจาย” เพราะคนเชื่อว่าต้องรีบซื้อก่อนที่มันจะวิ่ง พอคนจำนวนมากคิดแบบนั้น หุ้นก็ต้องขึ้นทั้ง ๆ ที่พื้นฐานบริษัทอาจจะแย่มาก อย่างไรก็ตาม Effect เนื่องจากขาใหญ่นั้น ในระยะหลังก็เริ่ม “เลือนลาง” ไปเนื่องจากคนที่ “ซื้อตาม” นั้นจำนวนมาก “หนีไม่ทัน” และมักจะขาดทุน จึงเลิกเชื่อถือ ผลก็คือ Effect เหล่านั้นก็หมดไปพร้อม ๆ กับความนิยมในการเล่นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐาน และนั่นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนแบบ Value Investment ที่เริ่มแพร่หลายและได้รับการยอมรับมากขึ้น

กลุ่ม Value Investor ที่ได้เริ่มเข้ามาลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติปี 2540 นั้น มาถึงปัจจุบันผมอยากจะพูดว่าเติบโตขึ้นมากแบบก้าวกระโดดและน่าจะกลายเป็น กลุ่มที่มีพลังและอิทธิพลมากพอสมควรและกำลังสร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่า VI Effect โดยมีเหตุผลต่อไปนี้

ข้อแรกก็คือ “พลังเงิน” ถึงแม้ว่าเม็ดเงินที่มีในตลาดหุ้นของ VI จะยังน้อยกว่านักลงทุนต่างประเทศหรือนักลงทุนสถาบัน แต่ก็มีนัยสำคัญในตลาด มองคร่าว ๆ ผมคิดว่าเม็ดเงินรวมของกลุ่ม VI นั้นน่าจะอยู่ในหลัก “หลายหมื่นล้านบาท” ซึ่งเพียงพอที่จะ “ขับเคลื่อนราคาหุ้น” ของบริษัทขนาดเล็กหรือกลางบางบริษัทได้ไม่ยาก

ข้อสอง ผลงานและความรอบรู้ในตัวกิจการของ VI ระดับ “เซียน” นั้น สามารถสร้างความประทับใจและน่าเชื่อถือกับนักลงทุนอื่น ๆ โดยเฉพาะที่เป็น VI ด้วยกัน ดังนั้น เวลาที่ VI ระดับเซียนซื้อหุ้น จึงมักมีคนซื้อตามกันมาก พลังเงินจำนวนมากบวกกับตัวหุ้นที่มักจะเป็นบริษัทเล็กและมีหุ้นกระจายอยู่ใน ตลาดน้อย ทำให้หุ้นตัวดังกล่าววิ่งแรงมาก และนี่ก็ยิ่งดึงดูดให้นักลงทุนรายใหม่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นไปอีก Effect ก็เกิดขึ้น

ข้อสามก็คือ พลังของการสื่อสาร นี่คือวิวัฒนาการของการลงทุนที่ไม่มีในสมัยก่อน ในยุคปัจจุบันนั้น การสื่อสารกว้างขวาง รวดเร็ว แพร่หลาย และถูกมาก นักลงทุนส่วนบุคคลสามารถส่งข้อมูลถึงคนอื่นผ่านสื่อต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองและทันทีและสามารถผ่านถึงผู้รับทางโทรศัพท์มือถือได้ สื่อทางสังคมเช่น เฟซบุค ทวิตเตอร์ หรือบล็อกส่วนตัวทำให้การตอบสนองของนักลงทุนนั้นรวดเร็วและรุนแรง

ข้อสี่ พลังของความคิดและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันของ VI นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิด Effect ง่ายขึ้นเข้าทำนอง “สามัคคีคือพลัง” VI จำนวนมากอ่านหรือรับรู้ข้อมูลผ่านเวบไซ้ต์เดียวกัน ไปสัมนาที่เดียวกัน ไปชุมนุมจัดเลี้ยงในกลุ่มเดียวกัน หรืออ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ดังนั้น เวลาได้รับรู้การซื้อขายหุ้นของ “ผู้นำ” หรือ “เซียน VI” และไปศึกษาเพิ่มเติม การตัดสินใจหรือปฏิบัติจึงออกมาในแนวเดียวกัน

ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงเหตุผลบางส่วนที่ทำให้เริ่มเกิด VI Effect ในตลาดหุ้นไทย ในระยะสั้น VI Effect ยังน่าจะมีต่อเนื่องไปซึ่งน่าจะเป็นผลจาก “Success beget Success” หรือความสำเร็จก่อให้เกิดความสำเร็จตามมา อย่างไรก็ตาม ในที่สุด “อิทธิพล” จะยังคงอยู่ได้หรือไม่อยู่ที่ว่าในระยะยาวแล้ว หุ้นที่เกิดจาก Effect ยังมีราคายืนอยู่และเติบโตขึ้นไปได้หรือไม่ ถ้าปรากฏว่าหุ้นขึ้นไปโดยเกิดจากผลกระทบระยะสั้น แต่หลังจากนั้นหุ้นกลับตกลงมาเนื่องผลประกอบการบริษัทไม่เป็นอย่างที่คิด สุดท้ายความเชื่อถือก็จะหมดไป และ Effect ต่าง ๆ จะหมดไป ในอีกด้านหนึ่ง คนที่ซื้อหุ้นตามก็ต้องระวังว่า การซื้อตามนั้น ไม่ใช่หลักการของ VI ที่เน้นว่าเราต้อง “คิดเอง” และถ้าเราคิดแล้วมีคนตาม นั่นก็แปลว่า ฝีมือเราอาจจะก้าวขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งและเราน่าจะประสบความสำเร็จสูงขึ้น

ที่มา http://www.thaivi.com/2010/06/527/

vbs ส่วนของโค้ดที่ส่งเมลล์ ใช้ smtp server

save เป็น .vbs ส่วนของโค้ดที่ส่งเมลล์นี้ใช้ smtp server ภายในนะครับ

Set objFSO = CreateObject("Scripting.FileSystemObject")
Set txtStream = objFSO.OpenTextFile("D:\PC.txt",1) '<------------ สร้าง text ไฟล์รายชื่อเครื่อง
Set objEmail = CreateObject("CDO.Message")
objEmail.From = "admin@company.com"
objEmail.To = "admin@company.com"
objEmail.Subject = "Disk space low"
objEmail.Configuration.Fields.Item("http://schemas.microsoft.com/cdo/configuration/sendusing External Link") = 2
objEmail.Configuration.Fields.Item("http://schemas.microsoft.com/cdo/configuration/smtpserver External Link") = "Smtp Server"
objEmail.Configuration.Fields.Item("http://schemas.microsoft.com/cdo/configuration/smtpserverport External Link") = 25
objEmail.Configuration.Fields.Item("http://schemas.microsoft.com/cdo/configuration/smtpauthenticate External Link") = 2
objEmail.Configuration.Fields.Update
Do While Not txtStream.AtEndOfLine
strComputer = txtStream.ReadLine
Set objWMIService = GetObject("winmgmts:{impersonationLevel=impersonate}!\\" & strComputer & "\root\cimv2")
Set colDiskDrives = objWMIService.ExecQuery("Select * from Win32_PerfFormattedData_PerfDisk_LogicalDisk Where Name = 'C:'")
For Each objDiskDrive in colDiskDrives
If objDiskDrive.FreeMegabytes < 1000 Then
objEmail.Send
End If
Next
Loop
Set objEmail = Nothing
Set txtStream = Nothing
Set objFSO = Nothing

ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=118401.0

logon script


script อันนี้มีฟังชั่นการทำงานหลักๆ คือ
๑. map drive สามารถเลือก map ตาม group ของ user ได้
๒. map printer สามารถเลือก map ตาม group ของ user ได้
๓. ตั้งชื่อไดรฟ์ที่ map ได้
๔. สามารถสร้าง short cut ของไดรฟ์ที่ map มาไว้บน desktop ได้
๕. สามารถตรวจสอบ password ว่าใกล้หมดอายุหรือเปล่า


'Author: Touchie
'Created by SAPIEN Technologies, Inc. Logon Script Generator
'Modified by: Touchie
'Logon script version 3.0
'**********************

On Error Resume Next
Dim objFSO,objFILE,objShell,objNetwork,objShellApp,MyShortcut
set objFSO=CreateObject("Scripting.FileSystemObject")
set objShell=CreateObject("Wscript.Shell")
set objNetwork=CreateObject("Wscript.Network")
Set objShellApp = CreateObject("Shell.Application")

'edit here
'Map network drives
'usage:
'MapIt "Drive letter","\\server_name\shared_name","Name of drive to show on My computer and Desktop"
MapIt "I:","\\server\info","Public Documents"
MapIt "J:","\\server\FTPScan","For FTP Scanner"
MapIt "K:","\\server\OfficeDoc","The Office Documents"
'For map drive to specific group only. eg. 'Management' group
If IsAMemberOf(objNetwork.UserDomain,objNetwork.UserName,"Management") Then MapIt "M:","\\server\Management","Management"

'edit here
'Map printers
'usage:
'AddPrinterConnection "\\server_name\printer_shared_name"
AddPrinterConnection "\\server\x560n"
'Set as default printer
objNetwork.SetDefaultPrinter "\\server\x560n"
AddPrinterConnection "\\server\x342n"
'For map printer to specific group only. eg. 'Management' group
If IsAMemberOf(objNetwork.UserDomain,objNetwork.UserName,"Management") Then AddPrinterConnection "\\server\e250dn"

'End of main script

'//////////////////////////////////////////////////
Function PasswordExpires(strDomain,strUser)
On Error Resume Next
Dim objUser
Set objUser=GetObject("WinNT://" & strDomain & "/" & strUser & ",user")
PassExp=INT(objUser.MaxPasswordAge/86400)-INT(objUser.PasswordAge/86400)

If PassExp<0 Then
strPassMsg="Your password never expires."
Else
strPassMsg="Your password expires in " & PassExp & " day(s)"
end If

PasswordExpires=strPassMsg
End Function

Function IsAMemberOf(strDomain,strUser,strGroup)
On Error Resume Next
Set objUser=GetObject("WinNT://" & strDomain & "/" & strUser & ",user")
Set objGrp=GetObject("WinNT://" & strDomain & "/" & strGroup & ",group")

If objGrp.IsMember(objUser.ADsPath) Then
IsAMemberOf=True
Else
IsAMemberOf=False
End If

End Function

Sub MapIt(strDrive,strMap,strNewName)
On Error Resume Next
If objFSO.DriveExists(strDrive) Then objNetwork.RemoveNetworkDrive(strDrive)

objNetwork.MapNetworkDrive strDrive,strMap
objShellApp.NameSpace(strDrive).Self.Name = strNewName

'Create Shortcut on Desktop
'If no need shortcut, just comment here
DesktopPath = objShell.SpecialFolders("Desktop")

'Create a shortcut object on the desktop
Set MyShortcut = objShell.CreateShortcut(DesktopPath & "\" & strNewName & ".lnk")

'Set shortcut object properties and save it
strTargetDrive = strDrive & "\"
MyShortcut.TargetPath = objShell.ExpandEnvironmentStrings(strTargetDrive)
MyShortcut.WorkingDirectory = objShell.ExpandEnvironmentStrings("")
MyShortcut.WindowStyle = 4
MyShortcut.IconLocation = objShell.ExpandEnvironmentStrings("%windir%\system32\shell32.dll, 126")
MyShortcut.Save

'End of create shortcut

If Err.Number<>0 And blnShowError Then
strMsg="There was a problem mapping drive " & UCase(strDrive) & " to " &_
strMap & VbCrLf & strHelpMsg & VbCrLf & "Error#:" & Hex(err.Number) &_
VbCrLf & Err.Description
objShell.Popup strMsg,iErrorTimeOut,"Error",vbOKOnly+vbExclamation
Err.Clear
End If

End Sub

Sub AddPrinterConnection(strPrinterUNC)
On Error Resume Next

objNetwork.AddWindowsPrinterConnection strPrinterUNC

If Err.Number<>0 And blnShowError Then
strMsg="There was a problem mapping " & UCase(strPrinterUNC) & ". " &_
vbcrlf & VbCrLf & strHelpMsg & VbCrLf & "Error#:" & Hex(err.Number) &_
VbCrLf & Err.Description

objShell.Popup strMsg,iErrorTimeOut,"Error",vbOKOnly+vbExclamation
Err.Clear
End If

end sub

Sub AddPrinterPortConnection(strPort,strPrinterUNC)
On Error Resume Next

objNetwork.AddPrinterConnection strPort,strPrinterUNC

If Err.Number<>0 And blnShowError Then
strMsg="There was a problem mapping " & UCase(strPrinterUNC) & " to " &_
strPort & vbcrlf & VbCrLf & strHelpMsg & VbCrLf & "Error#:" & Hex(err.Number) &_
VbCrLf & Err.Description

objShell.Popup strMsg,iErrorTimeOut,"Error",vbOKOnly+vbExclamation
Err.Clear
End If

end sub

ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=121159.0

รวม คำสั่ง RUN BASIC ที่ ADMIN ควรรู้

1. The access control -> access.cpl.
2. To the Wizard -> accwiz.
3.Add Hardware Wizard -> hdwwiz.cpl.
4.Add / Remove Programs - appwiz.cpl>.
5.Administrative Tools - admintools control>.
6.Automatic Updates -> wuaucpl.cpl.
7. Calculator -> calc.
8.Certificate Manager -> certmgr.msc.
9.Character Map -> charmap.
10.Check Disk Utility -> chkdsk.
11.Clipboard Viewer -> clipbrd.
12.Command Prompt -> cmd.
13.Component Services -> dcomcnfg.
14.Computer Management -> compmgmt.msc.
15.Control Panel -> control
16.timedate.cpl. Date and Time Properties ->.
17.Device Manager -> devmgmt.msc.
18.Direct X Troubleshooter -> dxdiag.
19.Disk Cleanup Utility -> cleanmgr.
20.Disk Defragment -> dfrg.msc.
21.Disk Management -> diskmgmt.msc.
22.Disk Partition Manager -> diskpart.
23. Control Display Properties -> desktop.
24.Display Properties -> desk.cpl.
25. Dr. Watson solve the problem -> drwtsn32.
26.Driver Verifier Utility -> check
27.Event Viewer -> eventvwr.msc.
28.migwiz Files and Settings Transfer Tool ->.
29.File Signature Verification Tool -> sigverif.
30. Text - text control>.
31.Fonts Folder -> Fonts.
32.Free Cell Card Game -> Freecell.
33.Game Controllers -> joy.cpl.
34.Group Policy Editor (XP Prof) -> GPEDIT.msc.
35.Hearts Card Game -> mshearts.
36.helpctr Help and Support ->.
37.hypertrm HyperTerminal ->.
38.IExpress Wizard -> IExpress.
39.IIS Manager -> inetmgr.
40.Indexing Service -> ciadv.msc.
41.Internet Connection Wizard -> icwconn1.
42.Internet Explorer -> IExplore.
43.Internet Properties -> inetcpl.cpl.
44.Internet Setup Wizard -> inetwiz.
45.Keyboard Properties - control keyboard>.
46.Local Security Settings -> secpol.msc.
47. Local Users and Groups -> lusrmgr.msc.
48. Quit System Logs You Out Of Windows ->.
49.Microsoft Access -> msaccess.
50.Microsoft Chat -> winchat (A cool Hidden Feature less competitive note!).
51.Microsoft Office Communicator - Communicator.
52.> Microsoft Excel - excel.
53.Microsoft Frontpage (if installed) -> frontpg.
54.Microsoft Movie Maker -> moviemk.
55.Microsoft Paint - mspaint> or pbrush.
56.Microsoft Powerpoint -> powerpnt.
57.Microsoft Word -> winword.
58.Minesweeper Game -> winmine.
59.Mouse Properties - control mouse>.
60.Mouse Properties -> main.cpl.
61.conf Netmeeting ->.
62.Network Connections -> netconnections ncpa.cpl control or
63.Network Setup Wizard -> netsetup.cpl.
64.Notepad -> notepad.
65. Object wrapped -> feather
66.ODBC Data Source Administrator -> odbccp32.cpl.
67.On Screen Keyboard -> osk.
68.Outlook Express -> msimn.
69.Performance Monitor - perfmon.msc> or perfmon.
70.telephon.cpl Phone and Modem Options ->.
71.Phone Dialer -> Dialer.
72.Pinball Game -> pinball
73.Power Configuration -> powercfg.cpl.
74. Printer and fax - printer> control
75.Printers Folder -> printer
76.Private Character Editor -> eudcedit.
77.Regional Settings -> intl.cpl.
78.Registry Editor - regedit> or regedit32.
79.Remote Access Phonebook -> rasphone.
80.Remote Desktop -> mstsc.
81.Removable Storage -> ntmsmgr.msc.
82.Removable Storage Operator Requests -> ntmsoprq.msc.
83. Results Set Policy (XP Prof) -> rsop.msc.
84. Schedule of work - schedtasks control>.
85.Security Center -> wscui.cpl.
86.Services -> services.msc.
87.Shared Folders -> fsmgmt.msc.
88. Close Windows -> shutdown.
89.Sounds and Audio - mmsys.cpl>.
90.Spider Solitare Card Game -> spider.
91.System Configuration Editor -> sysedit.
92.System Configuration Utility -> msconfig.
93. System Information -> Msinfo32 (need help to use it).
94.System Properties sysdm.cpl --->.
95.Task Manager -> taskmgr.
96.Telnet Client -> telnet.
97.User Account Management -> nusrmgr.cpl.
98.Utility Manager -> utilman.
99. Books on Windows -> wab.
100.Windows Address Book Import Utility -> wabmig.
101.Windows Explorer -> explorer.
102.Windows Firewall -> firewall.cpl.
103.Windows Magnifier -> Expand.
104.Windows Management Infrastructure -> wmimgmt.msc.
105.Windows Media Player -> wmplayer.
106.Messenger Windows -> msmsgs.
107.Windows System Security Tool -> syskey.
108. Open Windows Update -> wupdmgr.
109.Windows Version -> winver (showing the version of windows).
110.Windows XP Tour Wizard -> tourstart.
111.WordPad -> write

ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=126470.0

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ลดความเสี่ยงแบบ VI

การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตร หรือกองทุนต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เราควรจะต้องลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยลงเท่าที่จะทำได้ แต่ในขณะเดียวกัน ยังได้ผลตอบแทนที่ดีมาก พูดง่าย ๆ ลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ และต่อไปนี้คือเกณฑ์หรือกลยุทธง่าย ๆ ที่จะทำให้เราได้ผลลัพธ์แบบนั้น

ข้อ 1) รู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ นี่เป็นหลักสำคัญ เพราะความเสี่ยงก็คือการที่คุณ “ไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่” หรือเข้าใจผิดว่ารู้แต่จริง ๆ แล้วไม่รู้ เช่น คิดว่าการลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์เช่นปิโตรเคมี นั้น “ไม่เสี่ยง”

ข้อ 2) กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ถือหุ้นจำนวนน้อยหรือมากตัวเกินไป จำนวนที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาทนั้น ผมคิดว่าไม่ควรถือหุ้นเกิน 5-10 ตัว การถือหุ้นจำนวนน้อยตัวเช่น 1-2 ตัวนั้นเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการผิดพลาดร้ายแรงได้ เช่นเดียวกัน การถือหุ้นมากตัวเกินไปก็มีความเสี่ยงในแง่ที่ว่าเราไม่สามารถเข้าใจหรือ ติดตามมันได้ดีพอซึ่งก็คือความเสี่ยงที่เกิดจากการ “ไม่รู้”

ข้อ 3) พยายาม “มองยาว” คือวิเคราะห์ไปในอนาคต 3-5 ปี และวางแผนว่าจะลงทุนยาวตามกันไป การมองยาวนั้นช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะในระยะยาวราคาหุ้นจะปรับตัวไปตามกำไรของบริษัทเสมอ และถ้าเรามั่นใจในกำไรระยะยาวของบริษัท เราก็จะไม่ค่อยเสี่ยง ตรงกันข้าม ในระยะสั้น หุ้นมักจะผันผวนไปตามภาวะตลาดและการเงินซึ่งคาดการณ์ยาก ดังนั้น การเล่นสั้นจึงมีความเสี่ยงสูงกว่า

ข้อ 4) เลือกบริษัทที่มีผลการดำเนินงานสม่ำเสมอทั้งยอดขายและกำไร กิจการเหล่านี้มักจะ “คาดการณ์ได้ง่าย” และไม่ค่อยผิดพลาดมากนัก ดังนั้น จึงมักจะสามารถทนทานต่อความผันผวนของภาวะแวดล้อมได้มากกว่าหุ้นของบริษัทที่ มีผลการดำเนินงานที่ไม่แน่นอน

ข้อ 5) เลือกบริษัทที่มีเงินสดมากและมีหนี้เงินกู้น้อยหรือไม่มีเลย กิจการพวกนี้มีโอกาสเจ๊งน้อยมากและมักจะจ่ายปันผลดีซึ่งช่วยให้หุ้นมี เสถียรภาพสูงกว่าหุ้นที่มีหนี้มหาศาล “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของส่วนบุคคลหรือบริษัท

ข้อ 6) เลือกหุ้นที่ให้ปันผลสม่ำเสมอและในอัตราที่เหมาะสมประมาณปีละ 3-4% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับราคาหุ้น ปันผลที่สม่ำเสมอนั้นเป็น “ฐาน” ที่สำคัญที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ตกลงไปมากเวลาตลาดหุ้นมีปัญหา เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าเราได้ปันผลปีละ 3-4% จากราคาหุ้นที่เราซื้อ ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปสัก 3-4 ปี โดยที่ราคาหุ้นไม่ขึ้นเลยเราก็ยัง “ไม่ขาดทุน” เมื่อเทียบกับการฝากเงินหรือซื้อพันธบัตรที่ให้ดอกเบี้ยไม่เกิน 1-4% เท่านั้น

ข้อ 7) เมื่อซื้อหุ้นแล้ว ถ้าจะลดความเสี่ยง เราต้องติดตามบริษัทตลอดเวลา ทั้งตัวเลขผลการดำเนินงานและข่าวสารต่าง ๆ ของบริษัท และถ้าเป็นไปได้ เราจะต้องติดตามข้อมูล “ภาคสนาม” นั่นคือ การสังเกตติดตามกิจกรรมทางการตลาดและตัวผลิตภัณฑ์ของบริษัท ยิ่งถ้าเรามีโอกาสได้ใช้สินค้าของบริษัทก็จะยิ่งดี

ข้อ 8) ติดตามข่าวคราวทางเศรษฐกิจ การเงิน และภาวะตลาดหุ้นบ้าง แม้ว่า VI ชื่อดังหลาย ๆ คนจะบอกว่าอย่าไปสนใจภาพใหญ่แบบนั้น แต่การรับรู้และนำข้อมูลทางเศรษฐกิจมาประกอบจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิด ขึ้นโดย “ไม่คาดคิด” ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่หุ้นของเราบางตัวอาจถูกกระทบโดยตรง อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่มากนัก

ข้อ 9) หลีกเลี่ยงการกู้เงินหรือใช้มาร์จินในการลงทุน การใช้เงินกู้มาลงทุนนั้น แม้ว่าอาจจะช่วยให้ผลตอบแทนเราดีขึ้นมาก แต่ความเสี่ยงก็สูงโดยเฉพาะในช่วงสั้นที่หุ้นอาจจะมีความผันผวนเนื่องจาก ปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่อาจคาดคิดได้ ดังนั้น VI ส่วนใหญ่และในสถานการณ์ส่วนใหญ่จึงไม่ควรทำ เหนือสิ่งอื่นใด การลงทุน “ร้อยเปอร์เซ็นต์” ในหุ้น ก็ทำผลตอบแทนได้สูงพออยู่แล้วถ้าเราลงทุนอย่างถูกต้อง ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องโตเร็วไปกว่านั้น

ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลยุทธและแนวทางในการลดความเสี่ยงของ การลงทุนในหุ้นแบบ VI ผมคิดว่าคนที่ลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์และเป็นนักลงทุนที่มุ่งมั่นและเป็น การลงทุน “เพื่อชีวิต” ควรจะนำมาใช้ในหุ้นส่วนใหญ่ที่ลงทุน ผมคิดว่าถ้าทำตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ว่ามานั้นอย่างเคร่งครัด การลงทุนในหุ้นจำนวนมาก ๆ ก็เป็นเรื่องที่ “ไม่เสี่ยง” ว่าที่จริง ผมคิดว่ามันเสี่ยงน้อยกว่าการถือเงินไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคารหรือแม้แต่ใน พันธบัตรรัฐบาลซึ่งนับวันจะมีค่าน้อยลงเพราะเงินเฟ้อกินไปหมด

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ที่มา http://www.thaivi.com/2010/06/525/

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง Sniffer ที่มีชื่อเสียง

ปัจจุบันมีโปรแกรมประเภท Sniffer ที่มีชื่อเสียง ทั้งที่เป็นแบบฟรีแวร์และซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่น่าสนใจหลาย รายการดังนี้

Ethereal

Ethereal จัดเป็น Sniffer ที่ดีที่สุดตัวหนึ่งซึ่งหนังสือหรือตำราต่างประเทศมักอ้างอิงถึง Ethereal เป็นฟรีแวร์ที่ท่านสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้เป็น Sniffer ที่สามารถตรวจจับ Traffic ของเครือข่ายในระดับเวลาจริงหรือ Real Time โดยสามารถตรวจจับและถอดรหัสโปรโตคอลต่าง ๆ ได้มากมายถึง 400 โปรโตคอล สามารถทำงานได้ทั้งบน Windows หรือ UNIX รวมทั้ง LINUX ตัว Ethereal เป็นเพียง Sniffer ที่ซื่อสัตย์ต่อท่านเท่านั้น ไม่สามารถวิเคราะห์อาการเสียหรือปัญหาของเครือข่ายให้กับท่านเหมือน Sniffer บางตัว ท่านสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่ http://www.ethereal.com/

WinDump

WinDump เป็นโปรแกรม TcpDump ที่ทำงานบน UNIX แต่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Windows ภายใต้ชื่อ WinDump เป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องทำงานบน MS-DOS Mode บน Windows และต้องติดตั้ง Wincap ควบคู่ไปกับการทำงานของ WinDump ท่านสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่ http://www.windump.polito.it สามารถทำงานบน Windows 95/98/Me/NT/2000/2003/XP

Etherpeek

Etherpeek เป็น Sniffer ที่มีประสิทธิภาพสูงตัวหนึ่งจากค่าย WildPackets สามารถติดตามการทำงานของเราเตอร์ ปริมาณการใช้งานบนเครือข่าย อีกทั้งยังสามารถตรวจหาจุดเสียหรือข้อบกพร่องของเครือข่าย นอกจากนี้ยังมีระบบการแจ้งเตือนในกรณีที่สถานการณ์การทำงานของเครือข่ายเกิน กว่าค่าที่ท่านได้ตั้งไว้ ซึ่งเป็นประสิทธิภาพการทำงานโดยมาตรฐานของ Sniffer โดยทั่วไป นับเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่มีประสิทธิภาพสูงตัวหนึ่ง

รูปที่ 6 หน้าจอการทำงานของ Etherpeek NX

Analyzer

Analyzer เป็น Sniffer ในระดับฟรีแวร์ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้พัฒนาโปรแกรม WinDump และ WinCap สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://analyzer.polito.it Analyzer สามารถดักจับแพ็กเก็ตบนเครือข่าย และนำมาแสดงผลในรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถเลือกการ์ด LAN ที่ต้องการใช้ดักจับแพ็กเก็ตได้ สามารถเลือกโปรโตคอลที่ต้องการจะตรวจจับได้ สามารถตรวจจับแพ็กเก็ตในลักษณะเวลาจริง และแสดงผลออกมาเป็นสถิติทางกราฟิกได้อีกด้วย โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้บริหารเครือข่ายโดยเฉพาะ

รูปที่ 7 หน้าจอการทำงานของ Analyzer

AW Ports

AW Ports เป็นโปรแกรมประเภท Sniffer และวิเคราะห์ Traffic อีกทั้งเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ในตัว สามารถตรวจจับ Traffic ที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบเนื้อหาภายในของแพ็กเก็ตที่ตรวจจับได้อีกด้วย สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของแพ็กเก็ต และสามารถเก็บบันทึกเหตุการณ์ได้มากมายถึง 500 เมกะไบต์สำหรับ Traffic นับตั้งแต่เริ่มใช้งาน (รูปที่ 8)

รูปที่ 8 หน้าจอการทำงานของ AW Ports Traffic Analyser

Observer

Observer (รูปที่ 9) จาก Network Instrument เป็นโปรแกรม Sniffer ที่ใช้เพื่อเฝ้าดูการทำงานของเครือข่าย รวมทั้งเป็นระบบวิเคราะห์การทำงานของโปรโตคอลในตัวเดียวกัน ใช้งานได้ดีบนเครือข่าย Ethernet ระบบเครือข่ายไร้สาย 802.11b/a/g รวมทั้ง FDDI และ Token Ring

Observer เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่เพียงสามารถตรวจจับ Traffic เท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจสอบหาจุดเสียบนเครือข่ายได้อีกด้วย สามารถตรวจสอบปัญหาของ LAN ชนิดเซกเมนต์ (Segment) เดียวหรือหลาย ๆ เซกเมนต์ สามารถแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถิติการทำงาน รวมทั้งแสดงแนวโน้มการทำงาน หรือปัญหาของเครือข่ายได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถอัปเกรดเพื่อให้สามารถตรวจจับ Traffic บน WAN รวมทั้งรวบรวมข่าวสารเพื่อแสดงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายได้

รูปที่ 9 ลักษณะหน้าจอการทำงานของ Observer

Sniffer Pro

คงไม่มีใครกล้า ปฏิเสธ (หากเคยใช้โปรแกรมนี้มาก่อน) ว่า Sniffer Pro (รูปที่ 10) เป็น Sniffer ที่มีประสิทธิภาพสูงมากตัวหนึ่ง เป็น Sniffer ที่สามารถทำงานได้หลากหลาย สามารถแสดงปริมาณการใช้งานเครือข่ายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ รวมทั้งปริมาณของแพ็กเก็ตต่อวินาที และความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับ Data Link เช่น ปัญหาต่าง ๆ ของเฟรมข้อมูลที่เป็นผลมาจากความบกพร่องของการ์ด LAN รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงปริมารการสื่อสารข้อมูลและบรอดคาสต์ (Broadcast) ที่มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้

Sniffer Pro สามารถดักจับแพ็กเก็ตภายใต้โปรโตคอลต่าง ๆ ได้มากถึง 500 โปรโตคอล ซึ่งมากเพียงพอที่จะตรวจสอบการทำงานของเครือข่าย LAN ขนาดใหญ่ที่ใช้แอพพลิเคชันหลากหลาย นอกจากนี้ Sniffer Pro ยังมีระบบวิเคราะห์การทำงานและปัญหาของเครือข่ายด้วยระบบที่เรียกว่า Expert Analysis ที่จะให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญอยู่เคียงข้างท่าน และที่สำคัญ Sniffer Pro สามารถแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Traffic ในรูปแบบของกราฟิก เช่น Bar Chart ต่าง ๆ

การที่ Sniffer Pro มี Traffic Generation ในตัว จะช่วยให้ท่านสามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย รวมทั้งการตอบสนองของแอพพลิเคชันที่จะช่วยให้ท่านสามารถทดสอบอุปกรณ์และ แอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 10 ลักษณะหน้าจอการทำงานของ Sniffer Pro

Agilent Advisor

สุดยอดของ โปรแกรมวิเคราะห์และดักจับการทำงานของเครือข่ายที่ผู้เขียนขอยกย่องได้แก่ Agilent Advisor จาก Agilent Technology ปกติ Agilent Advisor มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ เวอร์ชันที่เป็นฮาร์ดแวร์ (ดูรูปที่ 1) และเวอร์ชันที่เป็นซอฟต์แวร์ (ดูรูปที่ 11)

Agilent Advisor ไม่เพียงแต่เป็น Sniffer ที่มีประสิทธิภาพสูงในการดักจับแพ็กเก็ตที่ทำงานบน LAN และบน WAN ยังมีประสิทธิภาพในการแสดงปริมาณการใช้งานบนเครือข่าย สามารถวิเคราะห์ปัญหาเครือข่าย LAN ตั้งแต่ระดับของการ์ด LAN ไปจนถึงอุปกรณ์ Switching Hub โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการคอนฟิก (Configure) Switching Hub ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาของดูเพล็กซ์ (Duplex) ที่ไม่เข้ากัน (Match) นอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบการทำงานของ VLAN ได้อีกด้วย

Agilent Advisor ยังสามารถตรวจสอบและค้นหาจุดเสียเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ให้คำอธิบายปัญหาเกี่ยวกับเครือข่ายอย่างเป็นขั้นตอนเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญ อยู่เคียงข้างท่านเช่นเดียวกับ Sniffer Pro แต่ Agilent Advisor ให้รายละเอียดที่ลุ่มลึกกว่า

Agilent Advisor สามารถแสดงให้เห็นว่าใครบ้างบนเครือข่ายที่กินแบนด์วิดธ์มากที่สุด รวมทั้งมีโปรโตคอลใดบ้างที่มีปริมาณการใช้งานมากที่สุดและอันดับรองลงไปด้วย สถิติที่แสดงเป็นแผนภูมิ (Chart) ต่าง ๆ เช่น สถิติการใช้งานโปรโตคอล สถิติการเชื่อมต่อ รวมทั้งรายการของโหนด (Node) ที่กำลังเชื่อมต่อ เป็นต้น

รูปที่ 11 ลักษณะหน้าจอการทำงานของ Agilent Advisor


ที่มา http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/com_network/sheet/sniffer_ethereal.htm

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไม แตงกวาบางลูกขม บางลูกไม่ขม?


คุณอาจเคยเห็นคำ ถามนี้ในโต๊ะหว้ากอ ซึ่งมีคำตอบที่ผมอึ้งและอดยิ้มไม่ได้ 555 (เขาถามว่า "ทำไมงูเลื้อยผ่านแล้วแตงกวาถึงขม?" ผมลืมชื่อรังสีไปแล้ว) คิดได้ไงก็ไม่รู้ แล้วจู่ๆ เมื่อกี้เกิดอะไรขึ้นไม่รู้ ค้นหาไปค้นหามาเจอคำตอบของกระทู้นี้ขึ้นซะงั้น เลยเอามาลงซะหน่อย



คุณเคยกินแตงกวาขม ไหมครับ? ผมไม่เคยอ่ะ เขาบอกว่า ความขมเกิดขึ้นมาจากสาร cucurbitacin (เป็นสารประกอบ tetracyclic triterpenoids (Rowan D. H. Barrett & Anurag A. Agrawal; 2004)) 2 ตัวชื่อ cucurbitacin B และ cucurbitacin C ซึ่งมีผลทำให้เกิดรสขมในต้นอ่อน ราก ลำต้น ใบ และผล การควบคุมรสขมในพืชตระกูลแตง (บอกอย่างนี้ดีกว่า เพราะไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในแตงกวา) มาจากยีน 2 ตัว (ตัวละ 250 อะจ้ากๆ ไม่ใช่ยีนส์อย่างนั้น) ถ้ายีนนี้เป็นยีนเด่นมันก็จะผลิตสาร cucurbitacin ที่มีรสขมออกมา แต่ถ้าเป็นยีนด้อยมันก็จะไปยับยั้งการสร้างสารดังกล่าวในผลและใบ อย่างไรก็ตาม ยังมีเอนไซม์อีกตัวหนึ่งที่ช่วยลดความขมของ cucurbitacin ได้ แต่มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับยีนทั้งสองนั้นแต่อย่างใด เอ็นไซม์นี้ชื่อเอลาเทอเรส (elaterase) มัน จะไปทำปฏิกิริยาดึงน้ำออกจากสาร cucurbitacin จน ได้สารประกอบที่ไม่มีรสขม ปริมาณของเอ็นไซม์ elaterase จึงเป็นตัวกำหนดความขมของแตงกวามากหรือน้อยเพียงใด ครับ



ภาพ แสดงปริมาณ cucurbitacin C (mg/L) ใน แต่ละส่วนของผลแตงกวาพันธุ์ Shinsyo Hakuhi (H. Horie et al, 2007)

สาร cucurbitacin พบ ได้ทั่วผลจะสะสมมาก(เป็นพิเศษ)ที่บริเวณขั้วผล (ดูรูปด้านบน) และเปลือกและเนื้อสีเขียวติดเปลือกผล อีกทั้งยังสะสมในผลข้างเคียงด้วย (เหมือนโรคระบาดจริงๆ เลย) ดังนั้น การปลอกเปลือกจึงช่วยให้รสขมหายไปได้ครับ


ถ้าคุณเป็นผู้ปลูก ควรหมั่นระมัดระวังเรื่องพวกนี้ และเลือกสายพันธุ์ลูกผสมที่ดีด้วย เพื่อทำให้ผลผลิตมีปริมาณมาก และมีคุณภาพ

ถ้าคุณเป็นผู้ บริโภค ถ้าคุณเจอแตงกวาขม ... ก็ถือว่าเป็นบุญแล้วกัน เพราะนานๆ จะได้กินที


ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=duen&month=10-2005&date=10&group=7&gblog=125