วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการดูแลโค้ดของวิศวกร Facebook

ทีมวิศวกรของ Facebook ใหญ่มาก คิดเป็นครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งบริษัท 2,000 คน โดยแบ่งเป็นทีมซอฟต์แวร์ และทีมดูแลระบบอย่างละครึ่ง (ประมาณทีมละ 400-500 คน) เพื่อให้เข้าใจง่าย ผมแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ส่วนตาม 2 ทีมนี้นะครับ

ทีมวิศวกรซอฟต์แวร์

  • วิศวกรใหม่ของ Facebook จะต้องอบรมโครงสร้างและกระบวนการทำงานของบริษัท นานประมาณ 4-6 สัปดาห์ และมีคนไม่ผ่านอบรม ไม่รับเข้าทำงานประมาณ 10% อบรมเสร็จแล้วจะได้สิทธิ์เข้าถึง database ที่กำลังทำงานอยู่
  • วิศวกรทุกคนของ Facebook สามารถแก้โค้ดของซอฟต์แวร์ที่รัน Facebook ได้ตามใจชอบ ไม่จำกัดฝ่าย
  • Facebook มีผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (product manager) น้อยมาก ฝ่ายบริหารและการตลาดไม่สำคัญเท่าวิศวกร
  • ผู้จัดการสั่งงานวิศวกรโดยตรงไม่ได้ ต้องใช้การล็อบบี้ คือเสนอไอเดียให้วิศวกร ซึ่งจะเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ ทำเป็นระยะเวลานานแค่ไหนก็ได้ ขึ้นกับวิศวกรแต่ละคน
  • วิศวกรจะทำทุกอย่างเองทั้งหมด ตั้งแต่โค้ดจาวาสคริปต์ไล่ลงไปถึงฐานข้อมูล รวมถึงการแก้บั๊กและดูแลโค้ดหลังใช้งานจริงแล้ว
  • Facebook ไม่มีทีม QA (เป็นหน้าที่ของวิศวกรเอง) และไม่ค่อยใช้ automated unit test (มีบ้างแต่ไม่เยอะนัก)
  • ในกรณีที่ต้องการดีไซเนอร์ วิศวกรก็ต้องไปขายไอเดียให้ดีไซเนอร์สนใจและยอมช่วยทำ แต่ส่วนมากวิศวกรของ Facebook นิยมทำงานระดับฐานราก มากกว่างานระดับอินเทอร์เฟซ
  • กระบวนการ commit โค้ดเข้าระบบ ต้องผ่านการรีวิวจากคนอื่นๆ อย่างน้อยหนึ่งคนเสมอ การส่งโค้ดโดยไม่รีวิวถือเป็นการประสงค์ร้าย และระบบถูกออกแบบมาให้คนอื่นๆ ช่วยกันรีวิวโค้ดได้ง่าย
  • โค้ดบางส่วนที่สำคัญมาก เช่น News Feed มีข่าวว่า Mark Zuckerberg จะเป็นคนรีวิวโค้ดด้วยตัวเองเสมอ
  • ตามธรรมเนียมแล้ว โค้ดของ Facebook รุ่นใหม่จะถูกนำขึ้นเซิร์ฟเวอร์จริงสัปดาห์ละครั้ง ทุกวันอังคาร
  • วิศวกรเจ้าของโค้ดที่จะส่งขึ้นเซิร์ฟเวอร์จริงในสัปดาห์นั้น จะต้องอยู่ที่บริษัทในวันอังคาร และต้องประจำอยู่ใน IRC ของบริษัทเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหา

ทีมดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์

  • ตอนนี้ Facebook มีเซิร์ฟเวอร์ประมาณ 60,000 ตัว
  • การเปลี่ยนแปลงโค้ดรุ่นใหม่จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับกว้างๆ คือ p1 ทดสอบโค้ดใหม่เฉพาะภายใน p2 ปล่อยโค้ดใหม่ต่อสาธารณะในวงจำกัด และ p3 เปลี่ยนโค้ดหมดทั้งเว็บ
  • ชุดของเซิร์ฟเวอร์ที่เล็กที่สุดสำหรับทดลองโค้ดใหม่ ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ 6 ตัว
  • ทุกวันอังคาร ทีมระบบจะเริ่มทดสอบจาก 6 ตัวนี้ก่อน ถ้าผ่านก็จะไล่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่ผ่าน วิศวกรจะต้องกลับไปแก้โค้ดใหม่ และเริ่มทดสอบจากชุดเล็กสุดเสมอ
  • ทีมดูแลระบบมีตัวชี้วัดหลายอย่าง ทั้งด้านเทคนิค และด้านพฤติกรรมของผู้ใช้ ถ้าหากโค้ดรุ่นใหม่ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้ใช้เปลี่ยนไป ก็จะสามารถตรวจพบได้ทันที
  • เมื่อโค้ดผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว จะถูกรวมเข้ากับโค้ดจริงที่จะปล่อยในวันอังคาร

ที่มา - FrameThink

http://www.blognone.com/news/21243

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

คำคน...........

" มี ตากับหลานคู่หนึ่ง เดินจูงลา จะไปหมู่บ้านที่ตนเองอาศัยอยู่ เดินผ่านหมู่บ้่านแรก ชาวบ้านผู้หวังดี ก็พูดลอยๆขี้นมาว่า ตาหลานคู่นี้ โง่จัง มีลา ไม่ยอมขี่ เดินจูงให้เหนื่อยทำไม ตาหลาน ฟังแล้ว ก็เลยให้หลาน ขึ้นลา ตาเดินจูงลา
พอผ่านหมู่บ้านที่ สอง มีชาวบ้านผู้หวังดี พูดลอยๆว่า ไอ้หลานคนนี้ดูแข็งแรงแต่ขี่ลาสบาย เอาเปรียบตา ให้ตาแก่ๆเหนื่อยเดินจูงลาอยู่ได้ไง ตาหลานได้ฟัง ก็เลย ให้หลานเป็นคนจูงลา ตาขึ้นไปขี่ลาแทน
เดินผ่านมาถึงหมู่บ้านที่ สาม ชาวบ้านผู้หวังดี ก็พูดลอยๆอีกว่า แหม! ไอ้ตาแก่นี่ เอาเปรียบเด็ก ดูซิ เด็กเหนื่อยเลยตัวเองนั่งลาสบายๆ
ตาหลาน ได้ฟัง ก็เลย ให้หลาน ขึ้นมาขี่ลา พร้อมกับตาอีกหนึ่งคน
เดินมาถึงอีกหมู่บ้านหนึ่ง เจออีกแล้ว ชาวบ้านผู้หวังดี พูด อีกว่า แหม! ช่างไม่สงสารสัตว์ กันบ้างเลย หลังมันแอ่น แล้ว ขึ้นไปขี่ได้ยังไง
ทั้ง ตาหลาน ลามันจะไม่ไหว ทรมาน มัน ตาหลานได้ฟัง ก็ เลย เอาไม้ยาวๆ มาผูก ลา ที่ขาทั้งสี่ แล้วสอดที่ขา หามลาไป
ตาหลานหามลา เดินมาถึงหมู่บ้านต่อ มาก็จะมีผู้หวังดี พูดอีกว่า.................
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คำของคน จะพูดว่า ตามทัศนคติที่เขามี เสมอๆ เราฟังแล้วเต้นไปตามคำเขาโดยที่ไม่มีจุดยืนอะไรเลย ก็จะ ไม่สามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ ครับ คุณจะทำอะไรสิ่งที่เป็นสิ่งดี ทำเลย ครับ

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

การรักษาแผลสด

ถ้าจะไปโรงพยาบาลห้ามใส่อะไรทั้งนั้น ให้ห้ามเลือดโดยพันแผลหรือกดไว้ด้วยผ้าสะอาดที่สุดที่หาได้

ถ้าโดนสัตว์กัดให้ล้างและฟอกแผลด้วยสบู่เพื่อลดเชื้อพิษสุนัขบ้า(ถ้ามี) แล้วห้ามเลือด รีบไปพบหมอ

ถ้า ไม่ต้องไปหาหมอ แผลสะอาดอยู่แล้วให้ทา Betadine ปิดด้วย Sofra-tulle (ตัดเป็นชิ้นขนาดพับครึ่งแล้วปิดแผลได้ อย่าลืมลอกเอากระดาษไขออกด้วย ใช้แต่ตัวตาข่ายนะ เปลี่ยนทุกวัน) ปิดทับด้วยผ้าพันแผล ทำแผลวันละครั้ง โดยทา Betadine แล้วปิดแผลแบบเดิม

ถ้าแผลสกปรกให้ล้างน้ำเปล่าที่สะอาดที่สุด (น้ำ Polaris ที่กินนั่นแหละ) ซับให้แห้งห้ามเช็ด แล้วทา Betadine แล้วปิดแผล แบบข้อก่อน

ถ้า เป็นแผลถลอก ทำแบบ2ข้อข้างบน แต่อย่าปิดแผล เปิดไว้จะตกสะเก็ดใน 2-5 วัน แผลหายเร็วกว่า ถ้าอยู่ระหว่างเดินทางอาจปิดแผลไว้ก่อน แต่ถึงบ้านให้รีบเปิดทันที


ของที่ควรพกไปเมื่อไปเที่ยวทางไกล

ยาแก้แพ้ : Loratadine 1 แผง ไว้ใช้แก้แพ้ทุกชนิด แก้คัน และแก้หวัดได้ กิน 1-2 เม็ด วันละครั้งเวลาไหนก็ได้

ยาแก้ท้องเสีย : Norfloxacin (400mg) กิน 1 เม็ด วันละ 2 ครั้งหลังอาหาร ใช้แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้ออื่นๆได้ด้วย
Loperamide : ทำให้หยุดถ่าย 1 เม็ดทุก 4 ชม. หยุดถ่ายให้หยุดกิน

ยาแก้ปวดแก้ไข้ : Paracetamol (500mg) กินได้ 2 เม็ดทุก 4 ชม.

ยาแก้เมารถ : Dimenhydrinate กิน 1 เม็ดทุก 6 ชม. แก้อาเจียนได้ด้วย ใครรู้ตัวว่าเมารถให้กินครึ่งชม.ก่อนเดินทาง

Ammonia : ใช้ดมเวลาจะเป็นลมและทาแผลเมื่อถูกแมงกระพรุน ไปทะเลต้องพกไปนะ

Betadine : ใช้ใส่แผลสดทุกชนิด

ผ้าพันแผลแบบยืดได้

Plaster ยา

Sofra-tulle เป็นผ้าตาข่ายใส่ยาฆ่าเชื้อและเคลือบParafin ไว้ทำให้ไม่ติดแผลเวลาลอกออก ต้องเปลี่ยนทุกวัน

เทียนไขหรือดินน้ำมัน เอาคลึงที่แผลที่ถูกเหล็กไนจะเอาออกมาได้ รวมถึงแมงกะพรุนด้วย

ที่มา http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2008/08/L6854958/L6854958.html

โพวิโดน-ไอโอดีน

โพ วิโดน-ไอโอดีนเป็นน้ำยาใส่แผลที่มีฤทธิ์ฆ่า และทำลายเชื้อโรคได้หลายชนิด จัดเป็นยาในกลุ่มเดียวกับทิงเจอร์ไอโอดีน และมีผลในการรักษาไม่แตกต่างกัน แต่มีข้อดีคือโพวิโดน-ไอโอดีนไม่แสบ กรณีทิงเจอร์ไอโอดีน ที่แสบเป็นเพราะว่ามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ เวลาโดนแผลทำให้แสบ ส่วนโพวิโดน-ไอโอดีนนั้น ไม่แสบเนื่องจากไม่มีแอลกอฮอล์ เตรียมมาจากการนำผงโพวิโดน-ไอโอดีนมาละลายน้ำ

คุณสมบัติทางเคมี

  • โพวิโดน-ไอโอดีน povidone-iodine (PVP-I) เป็นสารที่คงตัว ละลายได้ดีในน้ำเย็น เอธิลแอลกอฮอล์ ไอโซโพรพีลแอลกอฮอล์ โพลีเอธิลีนกลัยคอล และกลีเซอรอล
  • โพวิโดน-ไอโอดีน เป็นสารผสมระหว่าง polyvinylpyrrolidone (povidone, PVP) และ elemental iodine
  • ในสารโพวิโดน-ไอโอดีนจะมีความเข้มข้นของไอโอดีนตั้งแต่ 9.0% จนถึง 12.0% โดยคำนวณจากน้ำหนักแห้ง

แผลสด

  • โพ วิโดน-ไอโอดีนสามารถใช้ได้กับแผลสด โดยทั่วไปการรักษาแผลสด ไม่ควรใส่อะไรลงไป ในเบื้องต้นให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด จากนั้นห้ามเลือดโดยพันแผล หรือกดไว้ด้วยผ้าสะอาดที่สุดที่หาได้
  • ไม่ควรเช็ดแผล การเช็ดแผลอาจจะเช็ดเอาก้อนเลือดแห้งที่อุดห้ามเลือดออก ทำให้เลือดออกซ้ำอีก
  • สำหรับโพวิโดน-ไอโอดีน แม้ว่าจะมีบางรายงานกล่าวอ้างว่าอาจทำให้แผลหายช้า แต่ผลการศึกษาเปรียบเทียบไม่ชัดเจนนัก

ฝีหนอง

  1. โพ วิโดน-ไอโอดีนใช้เกลื่อนฝี และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาตุ่มน้ำใสๆ บริเวณฝ่าเท้า โดยเจาะแตกด้วยเข็มสะอาด และป้ายด้วยยาโพวิโดนไอโอดีน จะช่วยให้แห้งได้ไว และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดี
  2. ตัวยาโพวิโดน-ไอโอดีนอาจมีฤทธิ์ระคายเคือง และผู้ที่มีผิวอ่อนอาจไวต่อยานี้
  3. สำหรับตุ่มน้ำใสที่เกิดขึ้นที่เท้า สิ่งสำคัญคือ การดูแลฝ่าเท้ามิให้อับชื้น ควรเช็ดเท้าภายหลังการอาบน้ำ หรือเปียกชื้นให้แห้ง แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ควรปรึกษาแพทย์

ประวัติการค้นพบ

  1. โพวิโดน-ไอโอดีน ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่ห้องปฏิบัติการ Industrial Toxicology Laboratories ในเมืองฟิลาเดลเฟีย โดย H. A. Shelanski และ M. V. Shelanski
  2. ผลการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่าโพวิโดน-ไอโอดีนมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย และการทดสอบความเป็นพิษในหนูทดลอง พบว่าโพวิโดน-ไอโอดีนมีความเป็นพิษน้อยกว่าทิงเจอร์-ไอโอดีน
  3. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในมนุษย์ พบว่าโพวิโดน-ไอโอดีนออกฤทธิ์เหนือกว่าไอโอดีนชนิดอื่นๆ

การนำไปใช้

  1. หลังจากการค้นพบ iodine โดย Bernard Courtois ในปี ค.ศ. 1811 ปรากฏว่าได้มีการนำไอโอดีนมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งที่ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อผิวหนัง รวมทั้งนำมาใช้ในการรักษาแผล
  2. ไอโอดีนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียอย่างมี ประสิทธิภาพ ฤทธิ์ฆ่าเชื่อแบคทีเรียเป็นแบบออกฤทธิ์ต่อเชื้อหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่ายีสต์ เชื้อรา และไวรัส ได้อีกด้วย
  3. ข้อเสียของไอโอดีนในรูปแบบของสารละลายคือ ฤทธิ์ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆแผล ซึ่งต่อมาเมื่อค้นพบโพวิโดน-ไอโอดีนก็สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้
  4. นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อแบคทีเรียไม่ดื้อต่อโพวิโดน-ไอโอดีน (PVP-I) โดยพบอัตรา sensitization rate เพียง 0.7% เท่านั้น
  5. โพวิโดน-ไอโอดีนถูกนำมาใช้ทำความสะอาดผิว หนังก่อนผ่าตัด ใช้เป็นน้ำยาทำแผลก่อนและหลังผ่าตัด ใช้รักษาและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลกดทับ และนำมาใช้รักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอด
  6. โพวิโดน-ไอโอดีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความ เข้มข้น 7.5–10.0% ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ solution, spray, surgical scrub, ointment และ swab ชื่อการค้าที่รู้จักกันแพร่หลายในรูปแบบยาใส่แผลคือ เบตาดีน (Betadine)

ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน

ในสูตรตำรับยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ Povidone-Iodine 10% w/v eqivalent to Iodine 1% w/v

สรรพคุณ

โพวิโดน-ไอโอดีนรักษาแผลสด

วิธีใช้

ใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล

คำเตือน

  1. หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา
  2. หลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา

การเก็บรักษา

ปิดฝาให้สนิท และเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

ขนาดบรรจุ

ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีนบรรจุขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร

ชนิดขี้ผึ้ง

  1. โพวิโดน-ไอโอดีนสามารถที่จะใช้ป้ายบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อได้
  2. โพวิโดน-ไอโอดีนชนิดขี้ผึ้งสามารถที่จะใช้ ป้ายบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อได้ โดยป้ายบางๆ จะช่วยให้การดูดซึมของยาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการผลิตดีขึ้นมาก ตัวยาออกฤทธิ์ได้อย่างสม่ำเสมอ

ยาใส่แผล-ล้างแผล

  • ยาใส่แผลทิงเจอร์ไอโอดีน ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Iodine 2.0-2.5%w/v Potassium Iodide 2.4-2.5 %w/v สรรพคุณใช้รักษาแผลสด โดยใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร
  • ยาใส่แผลทิงเจอร์ไทเมอรอซอล ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Thimerosal 0.1% w/v สรรพคุณใช้รักษาบาดแผล โดยใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร
  • ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Povidone-Iodine 10% w/v eqivalent to Iodine 1% w/v สรรพคุณใช้รักษาแผลสด โดยใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร
  • ยาไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ ในสูตรตำรับประกอบด้วย Isopropyl Alcohol Solution 70% v/v โดยสูตรตำรับต้องแต่งสีด้วย Brilliant Blue C.I. No.42090 สรรพคุณใช้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล ห้ามนำมารับประทาน เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด ขนาดบรรจุ ขวดละ 30 มิลลิลิตร
  • ยาเอทิลแอลกอฮอล์ ในสูตรตำรับประกอบด้วย Ethyl Alcohol Solution 70% v/v โดยสูตรตำรับต้องแต่งสีด้วย Brilliant Blue C.I. No.42090 สรรพคุณใข้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล ห้ามนำมารับประทาน เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด ขนาดบรรจุ ขวดละ 30 มิลลิลิตร
  • น้ำเกลือล้างแผล ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Sodium Chloride 0.9% w/v สรรพคุณใช้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล เก็บรักษาโดยเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 500 มิลลิลิตร

น้ำยาล้างแผล

  • น้ำยาที่ใช้สำหรับทำความสะอาดแผลหรือบาดแผล ที่ผิวหนังในเบื้องต้น ก่อนที่จะใช้ยาเช็ดแผล หรือยาใส่แผลเพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไปมีประโยชน์ คือ ใช้ชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกที่อาจปนเปื้อนอยู่ที่แผลให้หลุดออกไป ใช้ชะล้างสะเก็ดแผลให้หลุดลอกออกไป เช่น แผลพุพอง ช่วยทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ แผลอ่อนตัวลงได้ ทำให้น้ำยาเข้าไปทำความสะอาดได้ดีขึ้น ช่วยให้ยาที่จะใช้ทาฆ่าเชื้อในขั้นตอนต่อไปถูกดูดซึมได้ดีขึ้น สามารถฆ่าหรือทำลายเชื้อได้ดีขึ้น ช่วยลดปริมาณเชื้อและลดอาการอักเสบจากการติดเชื้อได้ อันมีผลช่วยทำให้แผลหรือบาดแผลหายไวขึ้น
  • น้ำสะอาดต้มสุก ควรเป็นน้ำอุ่นๆ ไม่ร้อนจัดเกินไป จะช่วยชะล้างบาดแผลให้สะอาดได้ดี สามารถเตรียมเองได้
  • น้ำ เกลือล้างแผล อาจเตรียมได้เอง โดยใช้เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด กรองให้สะอาด เก็บใส่ภาชนะไว้ ใช้ทำความสะอาดบาดแผลทั่วๆ ไป แผลเน่าเปื่อยเป็นหนอง หรือพุพองได้ รวมทั้งชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆได้ดี ช่วยทำให้แผลสะอาด ไม่คัน และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
  • น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นน้ำยาสำเร็จรูป เป็นสารที่ไม่คงตัวสลายตัวลงในน้ำได้ง่าย มีขายในท้องตลาด ราคาไม่แพง ควรใช้ในบาดแผลที่สกปรก มีหนอง ถูกของแหลมทิ่มแทง บาดแผลที่เน่าเปื่อย เรื้อรัง และขอบแข็ง
  • น้ำยาบอริค ตามปกติใช้สำหรับล้างตา แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำยาชนิดอื่นได้ อาจใช้น้ำยาบอริคล้างแผลได้
  • น้ำยาด่างทับทิม ใช้ขนาดความเข้มข้น 1:1,000 หรือ 1:10,000 หรือใช้เกล็ดทับทิมเพียง 1-2 เกล็ด ละลายในน้ำอุ่นพอเป็นสีชมพูอ่อน มีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ ใช้ในบาดแผลที่สกปรก เช่น บาดแผลเน่าเปื่อย บาดแผลที่อาจติดเชื้อบาดทะยัก

น้ำยาเช็ดแผล

  • น้ำยาที่นำมาใช้เพื่อทำความสะอาดและทำลาย เชื้อโรคบริเวณรอบๆ แผล ไม่ใช้ใส่แผลโดยตรง เพราะจะทำให้แผลแสบระคายเคือง และเนื้อตายได้ เช่น Alcohol ชนิด Ethyl alcohol หรือ Isopropyl alcohol
  • แอลกฮอล์ ชนิด 70% ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อกรัมบวก, กรัมลบ และเชื้อรา แต่ไม่มีผลกับเชื้อที่สร้าง spore ได้ ใช้เช็ดล้างทำความสะอาดรอบแผลฆ่าเชื้อโรค ทำให้ผิวหนังสะอาดขึ้น

น้ำยาใส่แผล

  • น้ำยาที่ใช้ใส่แผลหรือ ทาแผลภายหลังจากได้ชำระล้างแผลและเช็ดแผลเรียบร้อยแล้ว ควรเลือกให้เหมาะกับชนิดของแผล ในกรณีของเด็กควรเลือกชนิดที่ระคายเคืองน้อยที่สุด
  • โพวิโดน-ไอโอดีน ใช้ได้ทั้งแผลทั่วไปและแผลไฟไหม้ ใช้ใส่แผลถลอก แผลสดขนาดเล็ก
  • ทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5% สำหรับผู้ใหญ่ และ 1% สำหรับเด็ก ใช้เป็นยาใส่แผลสดและแผลถลอก ฆ่าหรือป้องกันเชื้อโรคที่ผิวหนังได้ดี แต่อาจทำให้ผิวหนังอ่อนๆ ไหม้ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรสำลีชุบทิงเจอร์ไอโอดีนปิดแผลไว้ จะทำให้ผิวหนังรอบๆ แผลไหม้ได้ ควรใช้เช็ดบาดแผลเท่านั้นก็พอ
  • ทิงเจอร์เมอร์ไทโอเลต (tincture merthiolate) เป็นยาใส่แผลสด ใช้ฆ่าเชื้อโรคตามผิวหนังได้ดี นิยมใช้มากกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน แต่ไม่ควรใช้กับเด็กอ่อน และผิวหนังอ่อน
  • ยาแดง (mercurochrome) เป็นยาใส่แผลสด โดยเฉพาะบาดแผลถลอกใช้ได้ดี แต่ถ้าเป็นบาดแผลที่ค่อนขางลึก มักจะทำให้แผลแฉะข้างใน ข้างนอกแห้ง ทำให้แผลหายช้า จึงควรใช้กับบาดแผลที่ถลอกเล็กน้อยเท่านั้น
  • ยาเหลือง (acriflavin) ขนาด 1:1,000 อาจใช้ชะล้างบาดแผลได้ในกรณีที่หาอย่างอื่นไม่ได้ เป็นยารักษาแผลเปื่อย แผลเรื้อรังมีหนองหรือน้ำเหลือง ฆ่าเชื้อได้น้อยและออกฤทธิ์ช้า ไม่นิยมใช้กับแผลสด

ยาที่ใช้ในการทำแผล

  1. ในท้องตลาดมียาที่ใช้ในการทำแผลหลายชนิด เช่น น้ำเกลือล้างแผล โพวิโดน-ไอโอดีน ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาแดง และยาเหลือง เป็นต้น ทำให้เกิดคำถามว่า ควรใช้ยาชนิดใดในการทำแผล ซึ่งหลักการในการเลือกใช้ยานั้นขึ้นกับชนิดของบาดแผล
  2. สำหรับแผลสดที่มีบริเวณกว้างแต่ไม่ลึก เช่น แผลถลอก ลอกจากการเสียดสี ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือนอร์มัลสำหรับล้างแผล อาจใช้ผ้าก๊อตซ์ที่ชุบวาสลีนปิดก็ได้ แผลเหล่านี้หายเองได้ เพียงแต่ช่วยให้หายเร็วโดยเยื่อบุผิวเจริญเข้ามาปิดแผลโดยไม่ถูกรบกวนก็พอ
  3. ยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นองค์ประกอบ เช่น ทิงเจอร์ประเภทต่างๆ ไม่ควรใช้ใส่แผล เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองมากยิ่งขึ้น ทำให้แผลหายช้า การให้ยาโพวิโดน-ไอโอดีน ยาแดง ยาเหลืองทาก็ใช้ได้ แต่ยาเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนการทำความสะอาดแผลที่ถูกวิธีได้ อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรคเลย แต่ถ้าใช้ควรเลือกชนิดที่ระคายเคืองน้อยที่สุด
  4. ส่วนแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกที่ไม่ลึกมาก หลังจากนำหนังพองออกไปแล้ว ควรปิดด้วยผ้าชุบวาสลีน หรือแผ่นสำหรับปิดแผลชนิดที่มียาฆ่าเชื้อโรค ทั้งนี้เพราะการทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผลอาจกำจัดเชื้อไม่หมด
  5. ผิวหนังบริเวณไฟไหม้รวมทั้งเนื้อเยื่ออ่อนจะมีการอักเสบติดเชื้อโรคได้ง่าย การใช้ครีมหรือขี้ผึ้งที่มียาฆ่าเชื้อโรคมีความจำเป็น
  6. ถ้าเป็นแผลลึกที่มีเนื้อตาย แผลที่มีปัญหา เช่น แผลกดทับ แผลติดเชื้อเรื้อรัง แผลเบาหวาน เป็นต้น ควรพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.vachiraphuket.go.th

เคล็ดลับขจัดกลิ่น 10 วิธี


ประสาทสัมผัสทำให้เรารู้กลิ่นได้ เมื่อจมูกของเราได้กลิ่นอะไรจึงมักเชื่อมโยงกับที่มาของกลิ่น โดยทั่วไปเราต้องการสิ่งที่มีกลิ่นสะอาด ยิ่งทุกสิ่งยิ่งดี วิธีง่ายๆ ที่จะกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ติดอยู่กับเฟอร์นิเจอร์และข้าวของในบ้าน ด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่หาได้จากทุกครัวเรือน

กลิ่นอาหารไหม้ ต้มน้ำกับมะนาวฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในกระทะเพื่อให้กลิ่นหอม ๆ ของมันมาดับกลิ่นไหม้ที่อบอวลอยู่ในบ้านให้หมดไป

กลิ่นน้ำมันทอดอาหาร วางถ้วยเล็ก ๆ ใส่น้ำส้มสายชูวางไว้ข้าง ๆ เตาขณะทอดอาหาร ทำให้เรารู้สึกว่าอากาศ ณ ที่นั้นไม่มีกลิ่นน้ำมัน

กลิ่น ในฟองน้ำหรือผ้าเช็ดจาน หากฟองน้ำหรือผ้าเช็ดจานที่เราใช้อยู่ประจำมีกลิ่นให้นำไปแช่ในอ่างที่มีน้ำ เปล่าผสมน้ำส้มสายชูอย่างละครึ่ง ทิ้งไว้ข้ามคืน หลังจากนั้นนำฟองน้ำหรือผ้าไปซักให้สะอาดแล้วผึ่งจนแห้งก่อนนำกลับมาใช้


กลิ่น เหม็นจากถังขยะ หากคนขยะมาเก็บช้าก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากถังขยะขึ้นมา เราสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการฝานมะนาวทิ้งลงในถังแค่นี้กลิ่นขยะก็จะ บรรเทาลงได้

กลิ่นตู้เย็น ลองเอาถ่านหุงข้าววางไว้บนชั้นในตู้เย็น ถ่านจะช่วยดูดซับกลิ่นออกไป วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่งกับตู้เย็นที่ต้องดึงปลั๊กออกเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ควรแย้มประตูตู้เย็นไว้ด้วยให้อากาศถ่ายเท สำหรับกลิ่นที่รุนแรงมาก ไม่มีสารใดที่จะดีไปกว่าผงกาแฟสดที่แห้งดี เพียงเทผงกาแฟลงในถ้วยแล้ววางทิ้งไว้ในตู้เย็นจนกว่ากลิ่นที่ไม่ต้องการจะ หมดไป เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดให้ใช้คู่กับก้อนถ่าน

กลิ่นในไมโครเวฟ เครื่องอุ่นอาหารสุดวิเศษของเรา หากเครื่องเริ่มมีกลิ่นไม่ดี ให้หั่นมะนาวเป็นชิ้นบางๆ ใส่ลงในน้ำเดือดและตั้งทิ้งไว้ใน ไมโครเวฟ ปิดฝา รอจนไอน้ำระเหย ออกมา แล้วค่อยใช้ผ้าสะอาดเช็ด แค่นี้กลิ่นก็จะดีขึ้น

กลิ่น ในตู้เสื้อผ้า หลายครั้งที่เราพบว่าในตู้เสื้อผ้ามีกลิ่นราหรือกลิ่นเก่า ๆ ที่อับรุนแรง วิธีขจัดกลิ่นเหล่านี้ทำได้โดยการวางแผ่นขนมปังขาวลงในชามเทน้ำส้มสายชูลงไป แล้วนำไปวางไว้ในตู้เสื้อผ้า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หากยังมีกลิ่นอยู่ ควรทำซ้ำอีกครั้ง นอกจากกลิ่นราอับ ๆ แล้ววิธียังช่วยเรากำจัดกลิ่นน้ำมันวานิชหรือ แชลแล็กได้อีกด้วย เราอาจเลือกใช้การบูรมาใส่ในถุงผ้าเล็ก ๆ และใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้า หรือจะนำสบู่แกะห่อออกมาใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าก็ได้ เสื้อผ้าก็จะไม่มีกลิ่นอับ และยังช่วยไล่แมลงได้ด้วย

กลิ่นกระเป๋าใบ ใหม่ หลายคนมักมองข้าม เพราะไม่รู้จะดมไปทำไม แต่ถ้าไม่อยากให้กระเป๋า มีกลิ่นเหม็นอับของหนังให้เอาผ้าเช็ดหน้าห่อใบชาที่ยังไม่ได้ชง ซุกไว้ในกระเป๋า ทิ้งไว้สัก 2-3 วัน กลิ่นหนัง หรือ กลิ่นอับก็จะหายไป

กลิ่น รองเท้า ปัญหาใหญ่ของใครหลายคนเพราะรองเท้าถูกใช้งานทั้งวัน เก็บหมักหมมเหงื่อไคล ความอับชื้นง่ายมาก วิธีก็คือ โรยเบคกิ้งโซดาในรองเท้า แล้วนำรองเท้าคู่นั้นใส่ถุงพลาสติกรัดให้แน่น นำไปแช่ช่องแช่แข็งของตู้เย็นไว้ 1 หรือ 2 คืน นำรองเท้าออกมาทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง แล้วเอาไปสลัดผงเบคกิ้งโซดาออกให้หมดแล้วสวมได้เลย แต่หากเรายังไม่สวมทันทีให้ปล่อยผงเบคกิ้งโซดาไว้อย่างนั้นก่อนจนกว่าจะนำมา สวม หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์อัดเป็นก้อนมาใส่ด้านในรองเท้า หมึกของกระดาษหนังสือพิมพ์จะช่วยดูดกลิ่น และยังทำให้รองเท้าอยู่ทรงด้วย ทุกครั้งที่กลับบ้านให้ใส่กระดาษหนังสือพิมพ์ทุกครั้ง และเปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกอาทิตย์

กลิ่นในรถ หากมีกลิ่นบุหรี่ในรถ ให้โรยเบคกิ้งโซดาลงที่ก้นที่เขี่ยบุหรี่ในรถเพราะเบคกิ้งโซดาจะช่วยดับ กลิ่น แต่ต้องไม่ลืมนำมันออกมาทำความสะอาดด้วยการเทเถ้าทิ้งแล้วโรยผงเบคกิ้งโซดา ไว้ที่ถาดเสมอ ๆ

ด้วย 10 เคล็ดลับง่าย ๆ นี้ ปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์จะไม่ใช่เรื่องกวนใจของเราอีกต่อไป

ที่มา http://www.hometophit.com

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

Light Peak



เมื่อกล่าวถึง Light Peak อาจจะดูยังไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไหร่นักในเหล่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่เทคโนโลยีตัวนี้กำลังก้าวเข้ามาอย่างเงียบๆ และพร้อมที่จะแทนที่อินเตอร์เฟซหลายๆ แบบที่เราใช้กันอยู่ในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น USB, SCSI, SATA, HDMI, Firewire รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีลักษณะการเชื่อมต่อที่คล้ายคลึงกัน ขอเพียงแค่รอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น

Light Peak ถูกคิดค้นโดยบริษัทอินเทล ผู้ผลิตโปรเซสเซอร์ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง โดยจุดประสงค์ของ Light Peak นั่นก็คือผลักดันให้เทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาแทนที่ของเดิมๆ ที่มีหลากหลายเพื่อให้กลายเป็นมาตรฐานเดียวกันเนื่องจาก Light Peak สามารถสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ด้วยความเร็วสูงสุดในขณะนี้คือ 10 Gb/s เลยทีเดียว และมีแผนการที่จะทำให้สูงถึง 100 Gb/s ภายในปี 2020 นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน วิธีที่ใช้ในการส่งข้อมูลก็ตามชื่อก็พอจะเดากันได้นั่นก็คือใช้แสงนั่นเอง ทำให้ได้ความเร็วที่สูง ไร้สัญญาณรบกวนและได้ระยะทางที่ไกลพอสมควร (ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดด้วย) แต่มีแหล่งข่าวอ้างอิงที่บอกว่าในช่วงแรกของการออกสู่ตลาดก็คือในช่วงครึ่ง แรกของปีหน้านั้นจะใช้สายเป็นแบบทองแดงเท่านั้น ไม่มีการใช้แสงในการส่งข้อมูลแต่อย่างใด ส่วนการส่งข้อมูลแบบใช้แสงนั้นจะต้องรอการอัพเดทอีกครั้งหนึ่ง

บริษัทแรกที่จะเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ก็คือ Sony และ Apple (มีแต่ของแรงทั้งนั้น) โดยจะนำมาใช้ยังไงก็ยังมิอาจทราบได้ เผลอๆ อาจจะเอามาใช้แทนที่ USB แทบทั้งหมดเพราะว่าเจ้า Light Peak นี้เรียกว่าเป็นอินเตอร์เฟซพระเจ้าเลยก็ว่าได้ สามารถใช้เป็นสายต่อจอก็ได้ แทนสายแลนในระยะ 100 เมตร (ความยาวสูงสุด) ก็ยังไหวครับ ที่น่าสงสัยคือราคาน่าจะแรงไม่เบาเลยทีเดียวเชียว

ความเร็วของ Light Peak นั้นมันยากที่จะเชื่อว่าเป็นไปได้ ดังนี้ :-

* 400 Mbps – FireWire
* 800 Mbps – FireWire 800
* 480 Mbps – USB 2.0
* 3.2 Gbps – USB 3.0
* 10 Gbps – Light Peak

เพื่อให้เข้าใจง่าย มันเร็วกว่า USB 2.0 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันราว 20 เท่า

และเรื่องจริงที่น่าตื่นเต้น คือ Light Peak นั้นมันสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 100 Gbps!!!

โดยเทคโนโลยี Light Peak นั้นมีการประกาศว่าจะนำมาใช้ในช่วงปลายปี 2011 แต่ก็อาจจะถูกนำมาใช้เร็วขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากหลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่า Apple ไม่ได้นำ USB 3.0 มาติดตั้งบน Mac รุ่นล่าสุดแต่อย่างใด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า Mac หรือคอมพิวเตอร์ในรุ่นถัดไปของ Apple ที่จะออกวางจำหน่ายในต้นปีที่จะถึงนี้ก็น่าจะมีการนำ Light Peak มาใช้เพื่อฟาดฟันกับ PC โดยแรกเริ่มอาจจะมีการสายทองแดงก่อนที่จะใช้สายแบบ Fiber Optic เต็มตัว

และอีกหน่อยเราคงเข้าใจว่า Light Peak คืออะไร?

เพราะสุดท้ายแล้วมันคงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์ของคุณนั่นเอง

ที่มา
http://www.techblog.in.th
http://www.4togadget.com/?p=562

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องจักรเสตอริ่ง

เครื่องจักรเสตอริ่ง

คลิกครับ

เครื่องจักรเสตอริ่ง

เครื่องจักรสเตอริ่ง เป็นเครื่องจักรความร้อนชนิดหนึ่ง ที่แตกต่างจากเครื่องจักรสันดาปภายใน ซึ่งใช้อยู่ในรถยนต์ทั่วๆไป นายโรเบิร์ต สเตอริ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรสเตอริ่งได้เป็นคนแรก เมื่อปี ค.ศ. 1816 น่าแปลกใจที่ว่า เครื่องจักรสเตอริ่งนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า เครื่องจักรก๊าซโซลีนหรือดีเซล และยังไม่มีเสียงอีกด้วย

เครื่องจักรสเตอริ่งมีการทำงานเป็นลักษณะวนไปมา ที่เรียกว่า วัฏจักรสเตอริ่ง ซึ่งมีความแตกต่างจากเครื่องจักรสันดาปภายใน ดังต่อไปนี้

  • ก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบของเครื่องจักรสเตอริ่ง จะถูกผนึกอยู่ภายใน ไม่สามารถรั่วไหลออกมาได้ จึงไม่ต้องมีวาวล์ไอเสีย เหมือนกับเครื่องจักรก๊าซโซลีน หรือดีเซล และไม่มีการจุดระเบิดของหัวเทียนหรือน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจึงเดินเงียบมาก

  • พลังงานของเครื่องจักรสเตอริ่งมาจากความร้อนภายนอกกระบอกสูบ จึงไม่มีการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบ

วัฏจักรสเตอริ่ง

หลักการสำคัญของเครื่องจักรสเตอริ่ง อาศัยการเปลี่ยนแปลงความดันของก๊าซที่อยู่ภายในกระบอกสูบ ดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ ไปหมุนเพลาของเครื่องจักร เกิดงานทางกลศาสตร์ขึ้น

คุณสมบัติของก๊าซที่ทำให้เกิดงานทางกลศาสตร์ขึ้นคือ

  • ถ้าให้ปริมาตรของก๊าซที่อยู่ในกระบอกสูบคงที่ เมื่อเราเพิ่มอุณหภูมิของก๊าซ ความดันของก๊าซจะเพิ่มขึ้น

  • ถ้าให้ความดันของก๊าซที่อยู่ในกระบอกสูบคงที่ เมื่อกดลูกสูบให้ปริมาตรในกระบอกสูบลดลง อุณหภูมิของก๊าซจะเพิ่มขึ้น

ทดลองสร้างแบบจำลองเครื่องจักรสเตอริ่ง ที่ประกอบด้วยลูกสูบจำนวน 2 อัน ลูกสูบอันแรก เรียกว่าลูกสูบร้อน ได้รับความร้อนจากแหล่งความร้อนภายนอก เช่น เผาด้วยไฟ เป็นต้น ส่วนลูกสูบอันที่สอง เรียกว่า ลูกสูบเย็น โดยความร้อนถูกระบายออกจากลูกสูบเย็น ด้วย น้ำแข็ง หรืออากาศก็ได้ ลูกสูบทั้งสองไปต่อเข้าเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อจะไปหมุนเครื่องจักรอีกทีหนึ่ง

วัฏจักรสเตอริ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ให้ความร้อนกับลูกสูบทางซ้าย ทำให้ความดันของก๊าซเพิ่มขึ้น ดันลูกสูบเคลื่อนที่ลง

ขั้นตอนที่ 2 ลูกสูบซ้ายเคลื่อนที่ขึ้นขณะที่ลูกสูบขวาเคลื่อนที่ลง ทำให้ก๊าซร้อนไหลเข้าไปในกระบอกสูบขวา ซึ่งจะถูกทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วโดยน้ำแข็ง ทำให้ความดันลดลง ง่ายต่อการอัดตัวในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 ลูกสูบเย็นจะเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นอัดก๊าซ ความร้อนที่เกิดจากการอัดตัวจะระบายออกสู่ภายนอกกระบอกสูบซึ่งเย็นกว่า

ขั้นตอนที่ 4 ขณะที่ลูกสูบขวาเลื่อนขึ้น ลูกสูบทางซ้ายก็เลื่อนลง ดันก๊าซให้เข้าไปที่ลูกสูบร้อน วัฏจักรเข้าสู่ขั้นตอนที่ 1

กำลังของเครื่องจักรสเตอริ่งได้ใน ขั้นตอนที่ 1 กับขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเราสามารถเพิ่มกำลังของเครื่องจักรสเตอริ่งได้ใน 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • เพิ่มกำลังในขั้นตอนที่ 1 โดยเพิ่มความร้อนให้มากขึ้น จะทำให้ความดันของก๊าซเพิ่มขึ้นตาม หรือจะใช้ อุปกรณ์เสริม เรียกว่า รีเจนเนอร์เรเตอร์ (Regenerator) ช่วยกักเก็บความร้อนของก๊าซไว้ก่อน

  • เพิ่มกำลังในขั้นตอนที่ 3 โดยทำให้อุณหภูมิในกระบอกเย็นลดลงไปให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การอัดตัวของก๊าซง่ายขึ้นและกำลังที่ได้เพิ่มขึ้น

การทำงาน 4 ขั้นตอนข้างต้น เป็นเครื่องจักรสเตอริ่งในอุดมคติ ซึ่งการทำงานจริงของเครื่องจักร แตกต่างจากรูปบนไปเพียงเล็กน้อย ดังที่จะได้อธิบายต่อไป

เครื่องจักรสเตอริ่งแบบลูกสูบดิสเพลสเซอร์ ( Displacer type stirling engine)

เครื่องจักรแบบนี้จะมีลูกสูบแตกต่างกัน 2 อัน โดยทำหน้าที่แตกต่างกัน ลูกสูบตัวแรกมีขนาดเล็กการขึ้นลงของลูกสูบนำไปหมุนเครื่องจักร ส่วนลูกสูบตัวที่สอง เป็นลูกสูบตัวใหญ่ เรียกว่า ลูกสูบดิสเพลสเซอร์ ดังรูปข้างล่างเป็นแบบจำลองของเครื่องจักรขนาดเล็ก

เครื่องจักรสเตอริ่งดังรูป สามารถหมุนได้ โดยอาศัยความร้อนที่ได้จากมือ และความเย็นจากอากาศรอบนอกระบายความร้อนเท่านั้น

ถ้าจะให้เครื่องจักรสเตอริ่งแบบดิสเพลสเซอร์หมุน จะต้องมีความแตกต่างของอุณหภูมิ ซึ่งเกิดอยู่ที่ด้านบนและล่างของลูกสูบดิสเพลสเซอร์

  • รอบข้างของลูกสูบตัวเล็กจะป้องกันให้ไม่ก๊าซรั่วออกภายนอก และจะเคลื่อนที่ขึ้นเมื่อความดันของก๊าซมากขึ้น

  • ลูกสบดิสเพลสเซอร์ ซึ่งเป็นลูกสูบตัวใหญ่ ด้านข้างของลูกสูบ ก๊าซสามารถผ่านได้ ระหว่างด้านเย็นและด้านร้อน เมื่อลูกสูบดิสเพลสเซอร์เคลื่อนมาอยู่ด้านบน ความร้อนจากภายนอกจะเผาก๊าซให้ขยายตัวดันลูกสูบตัวยเล็กให้วิ่งขึ้น แต่เมื่อลูกสูบดิสเพลสเซอร์เคลื่อนที่มาอยู่ข้างล่าง ก๊าซก็จะหดตัวเนื่องจากความเย็น ทำให้ความดันลดลง ลูกสูบตัวเล็กจึงเคลื่อนที่ลง

เครื่องจักรสเตอริ่ง 2 ลูกสูบ

เครื่องจักรแบบนี้ ลูกสูบร้อนจะถูกเผาด้วยไฟ ส่วนลูกสูบเย็นจะระบายความร้อนออกด้านนอก โดยอาศัยครีบที่ทำไว้อยู่รอบกระบอกสูบเพื่อเพิ่มพื้นที่ระบายความร้อน และลูกสูบทั้งสองจะต่อเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง นำไปหมุนเครื่องจักร

ขั้นตอนที่ 1 ให้ความร้อนกับลูกสูบตัวล่าง ความดันของก๊าซจะเพิ่มขึ้น ดันให้ลูกสูบร้อนเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ส่วนลูกสูบเย็นยังคงหยุดนิ่ง เพราะเพลาข้อเหวี่ยงยังอยู่ในช่วงการหมุนเปลี่ยนทิศทาง

ขั้นตอนที่ 2 ลูกสูบทั้งคู่เคลื่อนที่ โดยลูกสูบร้อนจะเคลื่อนที่ไปทางขวา และลูกสูบเย็นจะเคลื่อนทีขึ้น ก๊าซจะถูกลูกสูบร้อนดันผ่านห้องรีเจนเนอร์เรเตอร์ (regenerator) ไปยังลูกสูบเย็น ห้องรีเจนเนอร์เรเตอร์ คือ ห้องที่สามารถเก็บกักความร้อนไว้ได้ชั่วคราว ซึ่งภายในทำด้วยเส้นลวดมากมาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส ขณะที่ก๊าซร้อนพุ่งผ่าน เส้นลวดเหล่านี้จะดูดกลืนความร้อนอย่างรวดเร็ว และระบายความร้อนออกทางครีบด้านบนของกระบอกสูบเย็น

ขั้นตอนที่ 3 ลูกสูบเย็นจะเคลื่อนที่อัดก๊าซ ความร้อนของก๊าซที่เกิดจากการอัดตัวจะถูกถ่ายเทออกทางครีบ

ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวัฏจักร ลูกสูบเย็นจะเคลื่อนที่ลง ขณะที่ลูกสูบร้อนจะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ดูดก๊าซจากห้องรีเจนเนอร์เรเตอร์เข้าไปในกระบอกสูบของลูกสูบร้อน วัฏจักรเข้าสู่ขั้นตอนแรก

สุดท้ายนี้มีคำถามว่า ทำไมเครื่องจักรสเตอริ่งจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ดังเช่น รถยนต์เก๋งทุกประเภท ไม่มีคันไหนนำไปใช้เลย ทั้งข้อดีคือเสียงเงียบ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เหตุผลนั้นเกิดจาก

  • แหล่งกำเนิดความร้อนอยู่ภายนอก ทำให้การส่งถ่ายความร้อนเข้าไปในกระบอกสูบต้องใช้เวลา ทำให้ ในช่วงการสตาร์ทของเครื่องจักรสเตอริ่ง ต้องมีการอุ่นเครื่องยนต์ให้เครื่องยนต์ร้อนถึงระดับหนึ่งก่อน จึงจะมีกำลังถึงจุดที่ต้องการ และขณะที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนถ่ายกำลังยังไม่ดีเท่าที่ควร ตอบสนองได้ช้า

ฉะนั้นอนาคตอันใกล้นี้ เครื่องจักรสเตอรริ่งยังแทนเครื่องจักรสันดาปภายในยังไม่ได้ แต่ใช้ในรถยนต์พวกไฮบริด ซึ่งเป็นเครื่องจักรผสมผสานได้ แต่ก็ไม่แน่ในประเทศไทยที่มีอากาศค่อนข้างร้อนอาจจะนำเครื่องจักรนี้มาใช้ได้ น่าที่จะมีการวิจัยทดลองดู

ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/virtual2/stirling-engine/index.html

http://www.ipst.ac.th/design/document/stirling_engine.pdf

http://astro.sfasu.edu/courses/egr112/StirlingEngine/stirling.html

http://www.are101.org/forum/index.php?board=18.0

อัลเตอเนเตอร์ (Alternator)

Alternator
เผยแพร่บทความ

• อัลเตอร์เนเตอร์ ก็คือตัวปั่นไฟที่มีติดตั้งอยู่ในรถยนต์ทุกคัน ทำหน้าที่ปั่นไฟเพื่อเข้าไปเก็บกัก
เอาไว้ใช้งานในตัวแบตเตอรี่
โดยปกติอุปกรณ์จำเป็นมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์นั้น มีอัตราการกินกระแสที่เป็นสัดส่วน
ดังต่อไปนี้ (เป็นอัตราเฉลี่ยในรถขนาดแตกต่างกัน ถ้ารถขนาดใหญ่ก็อาจกินกระแสมากกว่ารถ
ขนาดเล็ก)
- ไฟหน้าใหญ่ 15-20 A
- ไฟป้อนเข้าระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ 10 A
- ไฟสำหรับที่ปัดน้ำฝน 15-20 A
- ไฟดวงต่างๆ 1 A ต่อหลอด
- ไฟสำหรับระบบปรับอากาศ 25-35 A
ถ้าเราเป็นนักสังเกตบ้างเล็กน้อยเมื่อถอยรถออกจากโชว์รูม จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมา
กับรถนั้น มีขนาดแค่พอเหมาะประมาณ 35-45 แอมแปร์ นั่นก็เพราะเขาคิดมาตรฐานเอาจากค่า
การใช้กระแสมาตรฐานจากไฟหน้า, ไฟระบบเครื่องยนต์ และไฟอื่นๆ โดยบางครั้งยังไม่นับรวมถึง
ไฟที่ใช้สำหรับระบบปรับอากาศด้วยซ้ำไป
เวลาใช้รถตอนกลางคืนที่ฝนตกหนักๆ แค่เปิดไฟหน้าและที่ปรับน้ำฝนพร้อมกับระบบปรับ
อากาศ จะสังเกตเห็นไฟหรี่ภายในรถมีอาการวูบวาบแล้ว บางท่านที่พอรู้เรื่องรู้ราวบ้างก็จัดการ
เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 50-65 แอมแปร์ อาการดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
การเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นอาจถูกต้องในบางเรื่องแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะจะต้องคำนึงถึง
‘ไดชาร์จ’ หรืออัลเตอเนเตอร์ด้วย ถ้าไดชาร์จมีขนาดแรงดันกระแสขาออกแค่เพียง 35 A
โดยทางทฤษฎีมันจะมีความเหมาะสมเพื่อใช้กับแบตเตอรี่ขนาด 35 A เท่านั้น ถ้าใช้แบตเตอรี่
เพิ่มเป็นขนาด 50 A ไดชาร์จจะต้องทำอย่างหนักเพื่อพยายามเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ 50 A โดย
ไม่มีการเรียกใช้ไฟจากระบบไฟรถยนต์เลย

ถ้ายังต้องเปิดไฟหน้า หรือเปิดเครื่อง
ปรับอากาศในระหว่างที่ไดชาร์จกำลังเติมไฟ
ให้แบตเตอรี่ กระแสไฟที่แบตเตอรี่ก็จะไม่มี
วันเต็มได้เลย
ถ้าคิดอัตราเฉลี่ยในการเติมไฟแบตเตอรี่
ของไดชาร์จโดยไม่มีการโหลดจากระบบไฟ
รถยนต์ ไดชาร์จขนาด 35 A จะเติมไฟให้
เต็มแบตเตอรี่ขนาด 50 A ได้ในเวลาเกือบๆ
2 ชั่วโมง
ซึ่งแน่นอนว่าขณะที่ทำการปั่นไดชาร์จ
ด้วยเครื่องยนต์เพื่อเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่
ระบบเครื่องยนต์ก็จะกินไฟ 10 A อยู่ตลอด
เวลา ระยะเวลาจึงยิ่งนานเข้าไปอีก ยิ่งถ้ามี
การเปิดระบบปรับอากาศด้วยก็ยิ่งนานขึ้นอีก

การเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่เพียงอย่าง
เดียวอาจไม่ใช้ทางแก้ปัญหาการเรียกกำลังไฟ
จากรถยนต์ที่ถูกต้อง
โดยปกติเราต้องใช้ไดชาร์จที่มีขนาด
กระแสขาออกได้มากกว่าความต้องการของ
กระแสรวมประมาณ 20% และ 40-50% ถ้า
ค่ากระแสขาออกนั้นบอกมาในหน่วย Cold



ที่มา
http://thaidriver.com/PDF_files/no_84/84_car_audio.pdf
http://www.automobile.taladnuds.com/chapter7.php