วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Time)


เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Time) คือ เวลาที่ไม่ได้ทำอะไรและไม่เกิดผลผลิตใดๆในการดำเนินการผลิต โดยทั่วไปการผลิตหรือการทำงานมักจะเกิดการรบกวนทำให้เวลาทำงานสำหรับผลิตต่อหน่วยผลิตภัณฑ์สูงขึ้น เวลาที่มากขึ้นนี้เรียกว่า เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการเกิดการรบกวนการทำงานใดๆ ทำให้งานผลิตหรือการทำงานต้องหยุดชะงักลง ชั่วคราวโดยปราศจากการผลิตหรือผลงาน เวลาที่เสียไปดังกล่าวจึงเป็นเวลาสูญเปล่า ทำให้อัตราผลผลิตลดลง

ความสูญเสียขององค์กรจากเวลาที่ใช้ประสิทธิภาพ
การเกิดเวลาที่ไร้ประสทธิภาพขึ้นในองค์กร จะนำมาซึ่งการผลิตและการดำเนินงานที่ ล่าช้าไม่ทันเวลา นำมาซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น จนอาจทำให้องค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที จนอาจทำให้องค์กรขาดความสามารถในการแข่งขัน และประสบความล้มเหลวได้ในอนาคต ความสามารถในการบริหารการขจัดเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพในองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรให้

รูปแบบของเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ

เราแบ่งเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพออกเป็นสองลักษณะ คือ เวลาที่เสียไปเนื่องจากการรบกวนจากแหล่งนอกที่เหนืออำนาจการควบคุมของผู้ควบคุมในองค์กร เช่น ไฟฟ้าดับ น้ำท่วม ฯลฯ อีกลักษณะหนึ่ง คือ เวลาที่เสียไปอันอยู่ภายใต้การควบคุมได้ ซึ่งสามารถจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเนื่องจากความบกพร่องของฝ่ายจัดการ เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ
นี้ มีผลจากการที่แรงงานหรือเครื่องจักรหยุดงานโดยเหตุเพราะฝ่ายจัดการไม่มีการวางแผนงานที่ดี ขาดการอำนวยการประสานงาน และการควบคุมงานอย่างไร้สมรรถภาพ จากนโยบายทางการตลาด ทำให้โรงงานต้องผลิตสินค้ามากชนิดเกินไป เครื่องจักรเกิดการหยุดชะงักขณะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการผลิตสำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน

การขาดการวางแผนการจัดลำดับของงาน มีผลให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง เกิดบกพร่องในการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ ทำให้เกิด การรอ การหยุดชะงัก เพราะความขาดแคลน บกพร่องในการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต ทำให้ต้องมีการหยุดงานเพราะเครื่องจักรชำรุด หรือทำให้เกิดผลผลิตเสียมาก มีผลให้ต้องเสียเวลาทำใหม่ การขาดการจัดสภาพการทำงานที่ดี ทำให้แรงงานไม่สามารถทำงานได้โดยสม่ำเสมอ

2. เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพภายใต้การควบคุมของแรงงาน
เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพนี้เป็นผลจากฝ่ายแรงงานเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น อุปนิสัยที่ไม่ดีของคนงาน เช่น การขาด ลา มาสาย ความเกียจคร้านในการทำงาน การแกล้งถ่วงงาน หรือหลบงาน คนงานทำงานโดยไม่ระมัดระวัง ทำให้งานเสียหาย
คนงานไม่รักษากฎเกณฑ์ การรักษาความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยประมาท

แบบนี้…ต้องแก้ที่ระบบจัดการ
โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง มีเครื่องจักรที่เป็นเครื่องปั๊มโลหะสภาพที่มีปัญหา ขาดแผนงานที่ดี ทำให้เกิดการรอแม่พิมพ์ รอช่างเครื่อง รอรถยก ล้วนเป็นอาการรอทั้งสิ้น โรงงานแห่งนี้พบว่ามีการเดินไปเดินมาของพนักงาน โดยแยกไม่ออกว่าเป็นพนักงานขนย้ายหรือพนักงานประจำเครื่อง ทำให้เกิดกรณีไร้ประสิทธิภาพของพนักงาน

ทางแก้ปัญหาของโรงงานนี้ก็คือ ให้โรงงานเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการใหม่ มีการทำ
แผนงานล่วงหน้า เพื่อจัดตารางเวลาให้ต่อเนื่องกัน ไม่ซ้อนทับกันหรือเหลื่อมกันมากนัก อีกทั้ง
โรงงานยังควรเปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าที่ใช้ เช่น ให้พนักงานขนย้ายสวมชุดสีส้มสะดุดตา ถ้าภายใน
โรงงานมีการขนย้ายก็จะพบพนักงานเสื้อสีส้มเดินไปเดินมา เป็นผลทำให้พนักงานประจำเครื่อง
หรือช่างเครื่องที่ใส่เสื้อสีเทาไม่กล้าเดินไปเดินมาเพราะสะดุดตา เช่นกัน ผลก็คือ ทำให้ลดเวลาที่
ไร้ประสิทธิภาพของพนักงาน เพิ่มจิตสำนึกในการทำงานตามหน้าที่ เพราะถ้าพนักงานขนย้ายหยุด
กับที่ก็แสดงว่าการทำงานไร้ประสิทธิภาพ เช่นกัน

ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพิ่มผลผลิตทำได้ง่าย…ไม่ยากเลย
การค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเพื่อจะได้พยายามขจัดทิ้งไป ผลที่ตามมาคือ การเพิ่ม ผลผลิต เพราะได้ขจัดความสูญเสียทิ้งไป การค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นเรื่องง่าย คือ พิจารณาเวลาประเภท “รอ” “หยุด” “หลบ” “หลีก” “เลี่ยง” โดยเฉพาะการ “รอ” และการ “หยุด” เราสังเกตได้ไม่ยาก ส่วนการค้นหาการ “หลบ” “หลีก” “เลี่ยง” อาจจะยุ่งยากกว่า อย่างไรก็ตามการค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ จะทำให้เราลดเวลาที่ไม่ได้ทำงาน ถ้าเราลดได้และใช้เวลาที่ลดได้ให้เกิดผลผลิต เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมได้อย่าง แน่นอน

ที่มา http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/11812010014667b26903f9b.pdf

3 เทคนิคจัดการลูกน้อยจอมไฮเปอร์


      วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยพลังล้นเหลือ หลังรื้อค้นโซฟาในห้องนั่งเล่น ก็เริ่มตีลังกากระโดดไปมา ลากคุณไปทั่วเหมือนทุกตารางนิ้วเป็นสนามเด็กเล่นเหมือนหยุดไม่เป็น “ทุกสิ่งล้วนน่าตื่นเต้นไปหมดสำหรับเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน” นักจิตวิทยาเด็กลินดา บัดด์กล่าว “นั่นเป็นความสุขของเด็กในวัยนี้”
      
       แต่แม้พวกเขาจะเพลิดเพลินกับการเล่น เราก็ต้องสอนให้เขารู้ว่าเมื่อไรเป็นเวลากิน เมื่อไรเป็นเวลานอน เพื่อให้พวกเขามีเวลาที่สงบลง แต่ยังเรียนรู้อยู่ได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำดังนี้
      
       1.จัดเวลาให้เล่น
      
       วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะให้เจ้าตัวน้อยสุดไฮเปอร์หมดพลัง คือ จัดกิจกรรมให้ทำตลอดทั้งวัน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าไม่ควรปล่อยให้เจ้าตัวน้อยอยู่นิ่งนานเกิน 60 ต่อครั้ง เว้นเพียงเวลานอน
      
       ถ้าปล่อยให้เขานั่งนาน ก็เตรียมตัวเจอพายุหมุนได้เลย เพราะพลังล้นเหลือที่สะสม ลองเอาน้ำใส่ถังให้ลูกทาเล่นนอกบ้าน หรือหาลูกบอลเบาๆ ให้เล่น ให้เขาได้ออกกำลังกายเต็มที่ในเวลาเล่น แต่ไม่ต้องหนักใจที่ลูกเล่น และไม่ควรให้เขาดูโทรทัศน์
      
       2.พัฒนาสมอง
      
       เด็กก่อนวัยเรียนเหมาะกับของเล่นที่มีกลไก เช่น ตัวต่อไม้ หรือกรรไกรสำหรับเด็ก การเล่นของเล่นที่เบากว่า เงียบกว่าเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อย เพลิดเพลินกับการเล่นคนเดียวได้ หากเล่นของเล่นประเภทนี้เขาจะอยู่นิ่งมากกว่า จึงอาจเหมาะที่จะใช้หลอกล่อในสถานที่ที่เขาควรอยู่นิ่งๆ อย่างในรถ หรือระหว่างรอคุณหมอ
      
       นอกจากนี้ ยังอาจใช้กิจกรรมศิลปะอย่างวาดรูปมาช่วยให้ลูกได้ฝึกทั้งการใช้มือและ จินตนาการก็เข้าทีไม่แพ้กัน กิจกรรมอีกอย่างที่ทำได้คือการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง นอกจากจะช่วยให้เขาอยู่นิ่งได้แล้ว ยังเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับคุณพ่อคุณแม่ด้วย นับเป็นการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้เจ้าตัวน้อยตั้งแต่ยังเล็กได้
      
       3.กำหนดเวลาพักผ่อน
      
       ควรจัดเวลานอนให้เป็นเวลา เด็กส่วนใหญ่จะตื่นมาพร้อมพลังงานเต็มเปี่ยม แล้วใช้จนหมดก่อนจะรู้ตัวว่าง่วง เวลานอนเจ้าตีวน้อยไม่ควรเกินสามทุ่ม โดยมีเวลาสามสิบนาทีก่อนหน้าไว้ผ่อนคลายก่อนนอน อย่างการฟังนิทาน การนอนเป็นเวลาอย่างสงบจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับสนิทได้ยาวขึ้น ผลคือพลังงานที่ดูแลได้ง่ายขึ้นในวันถัดไปสำหรับคุณพ่อคุณแม่
      
       อ้างอิงจาก parents.com


ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151067

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การกำจัดมดแบบง่ายๆ





ไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่ต้องเผชิญกับเจ้าพวกมด แมลงต่าง ๆ ที่มากวนใจภายในบ้านกันบ้างหรือเปล่า เชื่อแน่ ๆ ว่าจะต้องมีอย่างน้อย ๆ ก็สักคนสองคนล่ะน่า …
ซึ่ง เจ้าพวกมดและแมลงทั้งหลายนี้ถือเป็นปัญหากวนใจที่เหล่าบรรดาแม่บ้านทั้งหลาย ต่างต้องเผชิญกันมาแล้วแทบทั้งนั้น ซึ่งวิธีกำจัดส่วนใหญ่ที่หลาย ๆ บ้านใช้กันก็คือ การใช้สารเคมีฉีดเพื่อฆ่าให้ตาย ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วทันใจจริง ๆ แต่ก็อาจจะทำให้มีสารเคมีตกค้างได้ด้วยเช่นกัน
วันนี้ไปเจอวิธีการไล่เจ้าพวกมดและแมลงต่าง ๆ ด้วยวิธีธรรมชาติมา เลยเอามาฝากให้เพื่อน ๆ ที่นี่ลองเอาไปใช้กันดูนะ

ใช้ฟองน้ำเปียกๆ เช็ดตามทางมด มดจะหาทางเดินไม่เจอ หรือ ใช้ผงฟูโรยตามทางของมด

โรยพริกป่น สะระแหน่แห้ง กากกาแฟ ตามบริเวณที่มดเดินหรือบีบมะนาวตามรูเข้าของมด แล้วทิ้งเปลือกมะนาวไว้ตรงนั้น ปลูกสะระแหน่ไว้รอบบ้าน มดจะไม่เข้าใกล้

ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเช็ดตามทางเดินมด แมลงสาบ

ใช้ข้าวโอ๊ตหรือแป้งข้าวโพดผสมปูนปาสเตอร์ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน โรยบริเวณที่แมลงสาบมารบกวน เมื่อแมลงสาบกินเข้าไปปูนพลาสเตอร์จะแข็งตัวแมลงสาบจะตาย

ใช้ผงฟูผสมกับน้ำตาลทรายอย่างละเท่าๆ กัน โรยบริเวณที่แมลงสาบมารบกวน

ใช้แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ บอแร๊กซ์ 4 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากันใช้โรยบริเวณที่แมลงมารบกวน

เอาตะไคร้หอมหั่นแล้วตำ คั้นเอาแต่น้ำแล้วนำไปเคี่ยวจนเป็นน้ำมันใช้ทาผิวหนังกันยุง

ใช้กาบมะพร้าวหรือเปลือกส้มตากแห้งสุมไฟ เพื่อให้เกิดควันไล่ยุง

ปลูกต้นแก้วหรือต้นราตรีไว้บริเวณปากประตู หน้าต่าง จะช่วยไล่ยุงได้
 
เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว แถมยังไม่มีสารเคมีตกค้างให้เป็นอันตรายด้วย ยังไงเพื่อน ๆ ที่นี่ก็อย่าลืมเอาไปลองใช้กันดูนะ


ที่มา http://www.kroobannok.com/blog/26990

ดินน้ำมัน



    ดิน น้ำมัน เป็นของเล่นสำหรับเด็กที่มีมานาน สำหรับพัฒนาการทางสมอง และกล้ามเนื้อมือ และเสริมกิจกรรมในครอบครัว สมัยโบราณใช้ดินธรรมชาติ (clay หรือ mineral clay) จากแหล่งที่อยู่ซึ่งหาได้ง่ายผสมน้ำ มาใช้สำหรับปั้นตุ๊กตาดิน เช่น ดินเหนียว (Plastic clay) ได้จากการผุกร่อนของหิน เนื้อดินละเอียดสีเนื้อ หรือสีเทา มีความเหนียว จากนั้นมีการผสม กับดินชนิดอื่น เพื่อให้คงรูปได้ง่าย และมีการพัฒนารูปแบบให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยการแต่งสี กลิ่น และเติมสารสังเคราะห์อื่นๆ เพื่อความเหนียวนุ่ม และมีลักษณะน่าใช้ เรียกรวมว่า modeling clay และมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันซึ่งทำจากแป้ง ที่เรียกว่า Play-dough

    
        ดินที่ใช้ทำดินน้ำมันมีหลายชนิด  เช่น  ดินเหนียว  และ  แร่ดิน (clay minerals)  แร่ดิน เช่น คาโอลิไนต์ (kaolinite) และ smectites

 
1. Modeling clay

    
        Modeling clay หรือ Artificial clay ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนดินเหนียวธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ oil-based clay และ polymer clay

            1.1 Oil-based clay

                        Oil-based clay ผลิตจากองค์ประกอบหลัก ได้แก่ แร่ดิน เช่น สารกลุ่มคาโอลิน (kaolins) ผสมกับ น้ำมัน ขี้ผึ้ง ข้อเด่นคือ มีความเหนียวนุ่ม ปั้นขึ้นรูปง่าย ไม่แห้งเมื่อสัมผัสอากาศเพราะเป็นน้ำมัน ไม่ละลายในน้ำ ใช้งานได้นาน และไม่มีพิษ ข้อด้อยคือติดไฟได้ และหลอมเมื่อได้รับความร้อน ปัจจุบันมีผู้ผลิตดินน้ำมันประเภทนี้มากมาย ชื่อที่เป็นที่รู้จัก เช่น Plasticine และ Plastilin

                        Plasticine เป็นชื่อทางการค้า ผลิตจากแร่ดิน เกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต อะลูมิเนียมซิลิเคด (aluminum silicate) ปิโตรเลียมเจลลีหรือวาสลิน (petroleum jelly) long chain aliphatic acid เช่น กรดสเตียริก (stearic acid) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide) น้ำมันพืช (vegetable oils) สารกันเสีย (preservatives) และ เทอร์เพนทีน (turpentine) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นความลับทางการค้า

            1.2 Polymer modifier clay และ Polymer clay

                        Polymer modifier clay เป็นดินน้ำมันที่มีแร่ดินเป็นองค์ประกอบหลัก แต่ส่วนผิวมีการพัฒนาทางเคมีด้วยสารพอลิเมอร์ ส่วน Polymer clay เป็นดินน้ำมันที่ทำจากสารพอลิเมอร์ เช่น พอลิไวนิวคลอไรด์ (polyvinyl chloride) มิได้มีส่วนผสมของดินแร่ ที่มีลักษณะแข็งเมื่ออุณหภูมิต่ำ เมื่อแข็งแล้วไม่สามารถปั้นแต่งได้อีก
 
2. Play-dough

            Play-dough   หรือแปังโด (dough)   หรือแป้งปั้น   ผลิตจากแป้ง (flour)   ที่นิยมใช้มากคือ อะไมโลส (amylose) หรือแป้งสาลี (wheat) น้ำ และ เกลือ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลชีพ บางบริษัทเติมสารหล่อลื่น เช่น ปิโตรเลียม เพิ่มสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สารกันเสีย (preservative) เช่น บอแรกซ์ ป้องกันการเจริญของเชื้อ สารแต่งกลิ่น สารแต่งสี สารให้ความชื้น สารลดแรงตึงผิว (surfactant) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นความลับทางการค้า ชื่อการค้าที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้ทับชื่อภาษาอังกฤษคือ Play-doh มีข้อด้อยคือมีอายุการใช้งานสั้น เพราะเมื่อเล่นไปนานๆ และสัมผัสอากาศ จะแห้งและแข็ง ไม่สามารถปั้นได้อีก ปัจจุบันแป้งปั้นเข้ามาแทนที่ดินน้ำมันประเภท modeling clay มากขึ้น อะไมโลสเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้แป้งโดเหนียวและปั้นเป็นรูปได้ดี แต่หากมีน้ำและอยู่ในสภาพเย็นจะเกิด retrogradation ทำให้แป้งแข็ง ดังนั้น แป้งโดต้องใส่สารที่เรียกว่า retrogradation inhibitor เช่น อะไมโลเพกติน (amylopectin) หรือ waxy starch อื่นๆ ลงไปด้วย

            ปัจจุบัน มีเว็บไซด์ที่แนะนำวิธีการทำดินน้ำมันอย่างง่าย เช่น ถ้าต้องการทำดินน้ำมันประเภท  Oil-based clay ให้ใช้ดินแห้งแบบผง น้ำมัน (oil) น้ำมันเครื่องหรือจารบี (automotive grease) และ ขึ้ผึ้ง (wax หรือ beewax) หรือใช้ดินสอพอง น้ำมันเครื่องเบอร์ 50 พาราฟินแข็ง และ สีผงชนิดสีน้ำมัน โดยเริ่มหลอมพาราฟินก่อนและผสมน้ำมันเครื่องให้เข้ากัน จากนั้นเทลงในดินสอพองที่บดผสมกับสีแล้ว และนวดให้เข้ากัน ทิ้งไว้หนึ่งคืนและนวดต่อจนกระทั่งได้ดินน้ำมัน ความเหนียวขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมันเครื่อง

            สำหรับ แป้งโด มีเว็บไซด์ของประเทศไทยแนะนำการเตรียมขึ้นใช้เองมากมาย ซึ่งส่วนผสมหลักได้แก่ แป้ง เช่น แป้งสาลี หรือแป้งอเนกประสงค์ น้ำ เกลือ ครีมออฟทาร์ทาร์ น้ำมันพืช สารแต่งสีและกลิ่น ข้อดีของแป้งที่ทำเองนี้คือ การใช้สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กเพราะใช้ส่วนผสมที่รับประทานได้ ข้อด้อยคือเล่นได้ไม่นาน เพราะแข็ง และมีกลิ่นหืนของแป้ง และอาจเกิดเชื้อราขึ้น ผู้ใหญ่ต้องคอยสังเกตลักษณะที่เปลี่ยนไป ข้อแนะนำคือต้องเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและเก็บในตู้เย็น

            ดิน น้ำมันอื่นๆ เช่น ดินญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนผสมของกาว ซึ่งอาจผลิตขึ้นเองจาก แป้งข้าวเจ้า น้ำ และสารกันเสีย นำกาวที่ได้มาผสมกับแป้งอเนกประสงค์หรือแป้งสาลี ทัลคัม (talcum) และน้ำมันพืช นวดเป็นเนื้อดียวกัน และเติมทิชชูที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ นวดให้เข้ากัน แต่งสี แต่งกลิ่น จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน ใช้เล่นได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ห้ามแช่ตู้เย็น

ข้อควรระวังในการเล่นดินน้ำมัน

            ดิน น้ำมันรับประทานไม่ได้         หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบที่สามารถรับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้ เด็กกลืนเข้าไป     เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ          ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก  เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่าง ถูกต้อง   อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นคือการเกิดอาการแพ้องค์ประกอบต่างๆ ในดินน้ำมันและแป้งปั้น


อาการภูมิแพ้

            ดิน น้ำมันรับประทานไม่ได้ หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบ ที่สามารถรับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้ เด็กกลืนเข้าไป เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่าง ถูกต้อง อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นคือการเกิดอาการแพ้องค์ประกอบต่างๆ    ในดินน้ำมันและแป้งปั้นโรคที่พบบ่อยและมีรายงานจากการเล่นดินน้ำมันคืออาการ ภูมิแพ้ (allergy) โดยเฉพาะ การระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่สัมผัส (skin irritations) หรือ contact dermatitis สารในดินน้ำมันที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น น้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันที่ผลิตจากถั่ว (peanut oils) สารกันเสีย น้ำมันเครื่อง

            มี รายงานการเกิดอาการแพ้ในเด็ก  ที่เล่นแป้งปั้นที่มีประวัติแพ้สารในธัญญาพืช (wheat) ต่างๆ เมื่อสัมผัสแป้งปั้นที่ทำจากแป้งสาลีประมาณหนึ่งชั่วโมง จะเกิดการระคายเคืองผิวหนัง คัน เกิดอาการบวมแดงที่ผิวหนังและหนังตา โดยส่วนใหญ่การแพ้เกิดจากการแพ้โปรตีนในแป้ง คือ กลูเทน (glutens) พบว่าส่วนเว็บไซด์ของบริษัทที่ผลิต Play-dohä ระบุว่า “ Children who are allergic to wheat gluten may have an allergy reaction to this products” หรืออาจเกิดการแพ้ในเด็กที่มีประวัติแพ้สารกลูเทน ทั้งนี้ไม่พบข้อความเหล่านี้บนฉลากของผลิตภัณฑ์

    
        สารกลุ่มละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง พาราฟิน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
         

ความเป็นพิษ

            ดิน ธรรมชาติมีการปนเปื้อนของโลหะหนักตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ไม่พบรายงานที่ก่อให้เกิดอันตราย ดินน้ำมันประเภทพอลิเมอร์อาจใส่สาร plasticizer เช่น สารกลุ่มพธาเลต เช่น di-(ethylhexyl) phthalate (DEHP) ที่มีรายงานว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลองเมื่อให้ในปริมาณสูง

    
        ขึ้ผึ้งประเภท chlorinated synthetic waxes มีความเป็นพิษต่อผิวหนังสูง และสามารถซึมเข้าไปในผิวหนังทำให้เกิดสิวได้ (chloracne)
 

ข้อแนะนำในการเล่นดินน้ำมัน

            ต้อง ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการเล่น   วิธีเล่นที่ปลอดภัยคือการสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัส แต่อาจทำให้ความสนุกเพลินเพลินลดลง

ที่มา http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/living-room/modeling-clay.html

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตัวนำไฟฟ้า


ตัวนำไฟฟ้า คือ สารที ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ง่าย เพราะเป็นสารที มี
อิเล็กตรอนอิสระเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถรับส่งพลังงานไฟฟ้าได้ส่วนมากจะเป็น
โลหะ โลหะที นำไฟฟ้าได้ดีที สุด คือ เงิน รองลงมา คือ ทองแดง และอะลูมิเนียมตามลำดับ


การนำไฟฟ้าของสารต่างๆนั้น จะขึ้นอยู่กับ free electron ของธาตุนั้นๆ (กรณีของ solid)  ซึ่งมีการเคลื่นที่อย่างอิสระ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า ( ซึ่งการนำไฟฟ้าจริงๆยังไงไม่ขออธิบายแล้วกันนะครับ เพราะเราสนใจแต่ทำไมมันถึงต่างกันเท่านั้น)

ส่วนสำคัญที่ทำให้ธาตุแต่ละธาตุนั้นแตกต่างกัน ก็เพราะจำนวน electron ที่บรรจุอยู่ และลักษณะเรียงตัวของ electron ในแต่ละธาตุไม่เหมือนกัน 

ในกรณีนี้ ที่เปรียบเทียบกัน 3 ตัวก็คือ Cu Ag Au  และขอยกตัวอย่างอีกคือ Na

11Na  [Ne]  3s1
29Cu  [Ar]  3d10  4s1  (ทองแดง)
47Ag  [Kr]  4d10  5s1  (เงิน)
79Au  [Xe]  5d10  6s1  (ทอง)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกตัวนั้น จะมี valence electron เท่ากับ 1 ซึ่งจับกันอย่างหลวมๆด้วยแรงทางไฟฟ้า และถ้าสังเกตลองไปเปิดตารางธาติดู จะพบว่า  Cu Ag Au นั้นจะเป็นธาตุทรานซิชั่น และอยู่ในหมู่  IB และ Na จะอยู่ IA
การจัดเรียงเข้า orbital จะแตกต่างกันทั้งหมด ซึ่งระดับพลังงานจะมีผลต่อ electron ตัวนอกสุด (จริงๆอยากจะเขียนให้ดู แต่ว่ามันทำไม่ได้) 

และที่สำคัญ เรากำลังพูดถึงวัตถุ ซึ่งประกอบขึ้นจากธาตุหลายพันล้านอะตอม ด้วยพันธะโลหะ ซึ่งเป็นรูปของของแข็งโลหะ Na Cu Ag Au   ซึ่งของแข็งโลหะเหล่านี้จะมีการจับตัวที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ ในกลุ่มของ Na จะจับกันในรูปแบบของ body-centered cubic (bcc)ซึ่งการจัดเรียงแบบนี้ทำให้มีผลต่อความหนาแน่นของตัวผลึกเอง น้อยกว่า ในกลุ่มของ Cu ซึ่งจับตัวกันแบบ cubic closest packer (ccp) มีผลทำให้การเคลื่อนที่ของ electron มีประสิทธิภาพมากกว่า ฉะนั้นการเปรียบเทียบระหว่างธาตุที่มี valence electron เท่ากัน


แต่ที่เขานิยมเอาทองคำมาเคลือบผิวลายวงจรหรือหน้าสัมผัสแบบไม่มีการอาร์ค ก็เพราะมันไม่เกิดออกไซด์ หรือไม่เป็นสนิม ซึ่งทั้งเงิน ทองแดง และอลูมิเนียม สามารถเกิดออกไซด์ได้ง่าย


แต่ถ้าหน้าสัมผัสเกิดการอาร์คได้ง่าย เช่นหน้าสัมผัสของรีเลย์ จะใช้ทองคำขาว เพราะนอกจากจะไม่เกิดออกไซด์แล้ว ยังเป็นโลหะที่เกิดการอาร์คน้อยและมีระยะเวลาการอาร์คสั้นมากกว่าตัวนำชนิด อื่น โดยยอมแลกกับค่าความนำไฟฟ้าที่ต่ำลงมา เพราะการอาร์คนั้นนอกจากจะทำให้หน้าสัมผัสเสียหายแล้ว ยังอาจทำให้หน้าสัมผัสละลายติดกันได้ด้วย ซึ่งผลเสียมีมากและอันตรายกว่าการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปเป็นความร้อนจากความ ต้านทานไฟฟ้าของวัสดุที่ใช้ทำหน้าสัมผัส


คงมีหลายคนสงสัยว่าทองแดงนำไฟฟ้าดีกว่าอลูมิเนียม แต่ทำไมสายไฟแรงสูงจึงใช้อลูมิเนียม นั่นก็เพราะทองแดงหนักกว่าอลูมิเนียมมาก ถึงแม้ในการรองรับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่เท่ากันจะต้องใช้สายอลูมิเนียมที่มี ขนาดใหญ่กว่าทองแดงเป็นเท่าตัว แต่น้ำหนักก็ยังน้อยกว่าทองแดงอีกโขอยู่ (อลูมิเนียมหนักเพียง 1 ใน 3 ของทองแดงที่ปริมาตรเท่ากัน)



เงิน ..... เป็นตัวนำไฟฟ้าดีที่สุด ดีกว่าทอง

ทอง .. เป็นตัวนำไฟฟ้าที่เสถียรที่สุด คือเมื่อกระแสผ่านทำให้เกิดความร้อนมากๆ ทองก็ยังคงสภาพเดิมอยู่ได้ อีกทั้งยังรีดให้เป็นเส้นเล็กๆมากได้ดีกว่าโลหะอื่นๆอีกด้วย จึงนิยมนำมาใช้ทำทางเดินสัญญาณในเครื่องและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ (Bus)

Type Electrical conductivity
(10.E6 Siemens/m)
Electrical resistivity
(10.E-8 Ohm.m)
Thermal Conductivity
(W/m.k)
Thermal expansion coef.
10E-6(k-1) from 0 to 100°C
Density
(g/cm3)
Melting point or degradation
(°C)
Silver 62,1 1,6 420 19,1 10,5 961
copper 58,5 1,7 401 17 8,9 1083
Gold 44,2 2,3 317 14,1 19,4 1064
Aluminium 36,9 2,7 237 23,5 2,7 660
Molybden 18,7 5,34 138 4,8 10,2 2623
Zinc 16,6 6,0 116 31 7,1 419
Lithium 10,8 9,3 84,7 56 0,54 181
Tungsten 8,9 11,2 174 4,5 19,3 3422
Brass 15,9 6,3 150 20 8,5 900
Carbon (ex PAN) 5,9 16,9 129 0,2 1,8 2500
Nickel 14,3 7,0 91 13,3 8,8 1455
Iron 10,1 9,9 80 12,1 7,9 1528
Palladium 9,5 10,5 72 11 12 1555
Platinium 9,3 10,8 107 9 21,4 1772
Tin 8,7 11,5 67 23,5 7,3 232
Bronze 67Cu33Zn 7,4 13,5 85 17 8,8 1040
Carbon steel 5,9 16,9 90 12 7,7 1400
Lead 4,7 21,3 35 29 11,3 327
Titanium 2,4 41,7 21 8,9 4,5 1668
St.Steel316L EN1.4404 1,32 76,0 15 16,5 7,9 1535
St.Steel 304 EN1.4301 1,37 73,0 16,3 16,5 7,9 1450
Mercury 1,1 90,9 8 61 13,5 -39
Fe. Cr. Alloy 0,74 134 16 11,1 7,2 +-1440
st.Steel 310 EN1.4841 1,28 78 14,2 17 7,75 2650


ที่มา
http://en.wikipedia.org/wiki/Electrical_conductivity
http://www.tibtech.com/conductivity.php
http://www.vcharkarn.com/vcafe/91227
http://topicstock-tech.pantip.com/wahkor/topicstock/2006/04/X4297016/X4297016.html

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เจลาติน

 
เจลาติน (อังกฤษ: gelatin) มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า gélatine เป็นของแข็งโปร่งแสง ไม่มีสี เปราะ และแทบไม่มีรสชาติ ได้มาจากการแปรรูปคอลลาเจน (collagen) ที่มีอยู่ในผิวหนัง กระดูก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำการผลิต 

เจลาตินจัดอยู่ในกลุ่มอาหาร มี E number คือ E441 

มีการนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง ยา อาหาร และฟิล์มถ่ายรูป[1] โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเจลาตินโดยเจลา ตินส่วนนี้เรียกว่า edible gelatin ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ขนมหวาน ไอศครีม โยเกิร์ต เป็นต้น ตลาดที่ใหญ่รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตยาโดยใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยา และผลิตเป็นแคปซูล ทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม

เจลาตินเป็นโปรตีนที่ได้การไฮโดรไลซ์คอลลาเจนด้วยความร้อนหรือใช้สารอื่นช่วย เช่น กรดหรือด่าง[2] ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงเป็นสารเจลาติน ในการสลายพันธะในคอลลาเจน ส่วนประกอบหลักที่พบในเจลาตินเป็นสายเกลียวของ α β และ γ วัตถุดิบในการสกัดเจลาตินคือกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และลำไส้บางส่วนของสัตว์เช่น โคกระบือ สุกร และม้า เป็นต้น พันธะระหว่างโมเลกุลของคอลลาเจนถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่จัดเรียงตัวได้ ง่ายขึ้น เจลาตินหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวกลับเมื่อได้รับความเย็น เจลาตินสามารถก่อเจลแบบกึ่งของแข็งร่วมกับน้ำ เมื่อละลายเจลาตินในน้ำจะได้สารละลายที่มีความหนืดสูงและก่อเจลเมื่อทำให้ เย็น องค์ประกอบทางเคมีของเจลาตินแทบจะเหมือนคอลลาเจนเริ่มต้น

  เจลาตินใช้ทำอะไรได้บ้าง ?

มี การนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง ยา อาหาร และฟิลม์ถ่ายรูป ทางเภสัชกรรมจะใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยา, ผลิตเป็นแคปซูลทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่มเพื่อใช้บรรจุยา, ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืดในตำรับยาต่าง ๆ ,ใช้เป็นส่วนผสมของยาชนิดครีม ทางเกษตรใช้เป็นตัวกลางสำหรับแร่ธาตุที่จำเป็นในการปลูกพืช เป็นต้น ส่วนในผลิตภัณฑ์อาหารนั้นนำไปใช้ได้มากมาย ได้แก่

ผลิตภัณฑ์นม - ใช้ในกระบวนการ HTST หรือ UHT นม, นมเปรี้ยว(ใช้ 0.2-0.8%), เนยนิ่ม (soft cheese) เช่น ซาวร์ครีม, ครีสชีส, คอตเตจชีส, ชีสสเปรด(เนยทาขนมปัง)), เค้กแช่แข็ง, พุดดิ้ง, เต้าหู้นมสด, คัสตาร์ด, มูส, ไอศครีม, เนยไขมันต่ำ, มาการีน (ใช้เจลาติน 0.5-3.5%)

ขนมหวาน - เยลลี่, เม็ดเยลลี่,มาชแมลโล, อาหารเคลือบน้ำตาล, เคลือบผิวขนม, เค้กแช่แข็ง, เคลือบทอฟฟี่(ช็อกโกแลตหรือหมากฝรั่ง), กัมมีแบร์, หมากฝรั่ง, นูกัต, ลิโคริส, ขนมเคี้ยวหนึบ,แยม , ชีสเค้ก, ซีเรียลบาร์(ธัญพืชที่ทำเป็นแท่งๆ ดูรูป)


ผลิตภัณฑ์เนื้อ - เนื้อบรรจุกระป๋อง, ไส้กรอก, เคลือบผิวแฮม, อาหารทะเลกระป๋อง

อาหารอื่นๆ - ซุป, ซอส, มายองเนสไขมันต่ำ, น้ำสลัด, น้ำผลไม้

ปริมาณ เจลาตินที่ใช้ในอาหารบางชนิดน้อยมาก ซึ่งนักวิชาการอิสลามก็มีความเห็นเป็น 2 ทัศนะ คือมีทั้งที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้ ทัศนะใดที่มีน้ำหนัก คงต้องอาศัยผู้รู้ค้นคว้าและวิเคราะห์ แต่ยังไงถ้าเห็นว่าเป็นอาหารที่อาจมีส่วนผสมของเจลาตินก็ต้องตรวจดูตราหะล้า ลและอ่านส่วนผสมให้ละเอียดก่อนจะซื้อ เพื่อความมั่นใจในระดับหนึ่ง

เจ ลาตินใช้ในอาหารได้หลายอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าอาหารเหล่านี้เราจะทานไม่ได้เลย เพราะยังมีสารตัวอื่นที่ทำจากพืชนำมาใช้แทนเจลาตินได้ เช่น คาราจีแนน(จากสาหร่าย), เพคติน(พืช), แป้งดัดแปร ฯลฯ



เท่าที่ค้นได้ก็มี halagel ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นโรงงานมุุสลิม ผลิตเจลาตินจากกระดูกวัวและแพะที่เชือดถูกต้องตามหลักการอิสลาม (เค้าว่าอย่างงั้นนะ) เจลาตินของเขาได้รับรองหะล้าลจากมาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยด้วย


ที่มา 
http://th.wikipedia.org
http://maansajjaja.blogspot.com/2007/03/blog-post_14.html 

หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD (Explosive Ordnance Disposal)


ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน? วัตถุระเบิดถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ? อันก่อให้เกิด หรือเพิ่มระดับความขัดแย้งในทุกเหตุการณ์บนโลก? เมื่อถามถึงอันตรายที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น? หลายคนคงตอบว่า? ก็คือ แรงระเบิด ไง? แต่เป็นคำตอบที่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น? เพราะผลลัพธ์ที่แท้จริงที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น คือ แรงดันหรือแรงระเบิด, สะเก็ดระเบิด ที่เกิดจากวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มวัตถุระเบิดนั้นๆ และท้ายที่สุด คือ ความร้อน? สิ่งที่เป็นตัวอันตราย และเป็นตัวกำหนดระยะปลอดภัย คือ สะเก็ดระเบิด? เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด
วัตถุระเบิด ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ กลไกการจุดระเบิด, เชื้อปะทุ และดินระเบิด โดยเริ่มการทำงานจาก กลไกการจุดระเบิด ที่เราอาจจะไปสัมผัสถูก, กดถูก, สะดุดถูก, ยกของที่กดทับออก หรือ คนร้ายกดรีโมทสั่งการจากระยะที่ปลอดภัย? จึงเป็นที่มาของสิ่งแรกที่ผู้พบเห็นวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง หรือ IED (Improvised Explosive Device) ที่จะต้องปฏิบัติ คือ การห้ามไปสัมผัสโดนอย่างเด็ดขาด และห้ามเคลื่อนย้าย? ลำดับต่อมา คือ การกั้นพื้นที่ และลำเลียงผู้คนออกจากพื้นที่ในรัศมี 100, 200 และ 400 เมตร? โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์น้ำหนักของวัตถุระเบิดที่ 5, 5-10 และมากกว่า 10 กิโลกรัม ตามลำดับ? ในขั้นตอนที่ 3 คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ? ซึ่งเจ้าหน้าที่ EOD ของตำรวจที่มีประจำในทุกจังหวัดจะมีอำนาจเต็มทางกฎหมาย และความรับผิดชอบในยามปกติ? ในขณะที่ EOD ของหน่วยงานทหารจะมีอำนาจเต็มในพื้นที่ของหน่วยทหาร และในยามสงคราม หรือไปเป็นตามการร้องขอจาก EOD ตำรวจ? ที่จะต้องอาศัยความชำนาญในเฉพาะด้านของ EOD แต่ละเหล่าทัพ? นอกจากนั้นยังสามารถรับการสนับสนุนจากหน่วยงานทหารช่างในส่วนของผู้ที่จบ หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด ซึ่งบรรจุให้ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองพันทหารช่างของกองพลทหารราบ/ม้า? แต่ขีดความสามารถจะจำกัดในการค้นหา และความชำนาญเฉพาะด้านการปฏิบัติต่อกับระเบิด และทุ่นระเบิดเท่านั้น? เนื่องจากขอบเขตการศึกษาของหลักสูตรเพียง 4 อาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เหมาะกับสงครามทุ่นระเบิด
ในส่วนของ EOD เหล่าทัพจะแยกความรับผิดชอบตามชนิดของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหล่าทัพนั้นๆ มีประจำการ หรือเกี่ยวข้องและมีความชำนาญอยู่? ในขั้นตอนที่ 4 คือ การติดต่อกับหน่วยงานประเภทให้การสนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือ อาทิเช่น รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถให้แสงสว่าง, สุนัขตำรวจ หรือสุนัขทหาร (ดมวัตถุระเบิด) ฯลฯ และการกันผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยเป็นคนแรก เป็นพยานไว้? เพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องลักษณะของวัตถุต้องสงสัย, เวลาที่พบเจอ ฯลฯ
eod
วิวัฒนาการของหน่วย EOD ในต่างประเทศนั้น? ริเริ่มโดยอังกฤษในยุคสมัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่ต้องเก็บกู้ลูกระเบิดอากาศที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินโจมตีของฝ่าย เยอรมัน? แต่เนื่องจากชนวนของลูกระเบิดอากาศไม่มีความซับซ้อนเท่าไร? อุปกรณ์การเก็บกู้จึงใช้เพียงชุดตะขอและเงื่อนเชือก (Hook and Line) และไม่ค่อยเกิดความสูญเสียใด? แต่ในระยะต่อมามีการพัฒนาของชนวนที่สามารถถ่วงเวลา, ตั้งเวลา และความสูงได้? จึงก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก? อุปกรณ์จึงมีการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของสหรัฐอเมริกา? การเรียนการสอนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ EOD เริ่มในปี พ.ศ.2488 โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ แล้วประเทศไทยได้ส่งนายทหาร และนายสิบไปเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 เป็นต้นมา? ซึ่งเมื่อกลับมาได้จัดตั้งแผนกกระสุน และวัตถุระเบิด กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ในปี พ.ศ.2509 เป็นหน่วยให้การศึกษาในวิชากระสุน และวัตถุระเบิด และรับผิดชอบการฝึกนักทำลายล้างวัตถุระเบิดให้กับกองทัพบก? ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตนักทำลายฯ ระดับนายทหารชั้นสัญญาบัตร 193 นาย และชั้นประทวน 342 นาย รวม 535 นาย? ไปปฏิบัติหน้าที่ในแผนกฯ, ชุด ทลร.ที่มีอยู่ 15 นายต่อชุดประจำใน กองพันกระสุน กองบัญชาการช่วยรบ ทั้ง 4 กองทัพภาค, แผนก 1-6 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก, ฉก.อโณทัย และหน่วยอื่นๆ? โดยตำแหน่งที่กล่าวมาจะได้รับเงินเพิ่มค่าฝ่าอันตรายสำหรับนายทหารสัญญาบัตร 10,000 บาท และ ประทวน 7,500 บาท? ซึ่งจะงดรับเมื่อไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยที่กล่าวมาข้างต้น ไม่เหมือนเงินเพิ่มของนักบิน ทบ. ที่จะมีติดตัวไปตลอด แต่ได้มีการริเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขอสิทธิดังกล่าว? ในกรณีที่ จนท.ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วเป็นอย่างน้อย 3 ปี? ซึ่งคงได้แต่รอคอยความกรุณาจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไป
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ และการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.? สามารถติดตามชมได้จากหนัง DVD เรื่อง Hurt Locker ที่กล่าวถึงการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ของกองทัพสหรัฐฯ ในประเทศอิรัก? ซึ่งมีบางสิ่งที่แตกต่างไปจากหลักการปฏิบัติงานของ ทบ.ไทย คือ จนท.ทรล.ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมักจะใช้ชุดละ 6 นาย? แต่ในหนังใช้เพียง 3 นาย? โดยแต่ละนายจะต้องปฏิบัติหน้าที่เป็น หัวหน้าชุด, พลขับ, จนท.ทำลาย, ผช.จนท.ทำลาย, จนท.อิเลคทรอนิกส์ และ จนท.สื่อสาร/ซักถามพยาน
สิ่งที่เป็นปัญหาของ หน่วย ทรล. ในปัจจุบัน คือ ชุด ทรล.ถูกใช้งานเกินขีดจำกัด? เนื่องจากในหลักการแล้ว? หน่วย ทรล. มีหน้าที่ในการเข้าไปทำการนิรภัยกระสุน และวัตถุระเบิดให้ปลอดภัยเท่านั้น? ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ควรหมดไปกับการคิด และวางแผน? เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างลุล่วง? ปลอดภัยทั้งสถานที่เกิดเหตุ, ผู้ประสบเหตุทุกคน และ จนท.ในหน่วย? ในขณะที่การตรวจค้นวัตถุระเบิด, การเก็บพยานวัตถุ และกิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ตรวจค้นวัตถุระเบิด หรือ EORA : Explosive Ordnance Reconnaissance Agent? ซึ่งเป็น จนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.ดับเพลิง หรือ จนท.ในหน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางพลเรือนอื่นๆ? ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบในการตรวจค้นสรรพาวุธระเบิด? ซึ่งการอบรมอาจจะใช้ห้วงเวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์? ในขณะที่หลักสูตร ทลร.ใช้เวลา 16 อาทิตย์
จนท.ตรวจค้นวัตถุระเบิดจะช่วยบริหารการ ปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ได้เป็นอย่างดี? เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการไปหาที่ตั้งของวัตถุระเบิด, ไม่ต้องไปสอบถามพยาน เพราะคำตอบได้ถูกเตรียมไว้แล้ว, มีการแจ้งเตือนให้เตรียมอุปกรณ์ไปใช้งานที่ถูกชนิดถูกประเภท, มีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นวัตถุระเบิดปลอมหรือไม่ในระดับหนึ่ง, ลดงานในเรื่องของการเก็บวัตถุพยาน และที่สำคัญที่สุด คือ ชุด ทรล. จะมีเวลาในการฝึกมากขึ้น? เพราะหน่วย ทรล. จำเป็นต้องมีการฝึกด้วยโจทย์ใหม่ๆ โดยตลอด
โจทย์เหล่านี้ได้มาจาก ข้อมูลที่หน่วย ทรล.ของทุกเหล่าทัพ และหน่วย ทรล.มิตรประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยตลอด? ในปัจจุบันรับผิดชอบโดย EOD Data Center ของ สพ.ทบ.? เพื่อให้มีการวางรูปแบบกับเหตุการณ์ที่อาจจะต้องเผชิญ และเพิ่มข้อมูลทางเทคนิคความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะทันสมัย ซึ่งงานประเภทนี้มีการท้าทายจากผู้ก่อความไม่สงบตลอดเวลา
บทความนี้แสดง ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล. ของ สพ.ทบ., วิวัฒนาการของหน่วย, อันตรายจากวัตถุระเบิด ตลอดจนแนวทางที่สามารถอำนวยการให้หน่วย ทรล.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด? ซึ่งความสำเร็จ หรือ ความดีความชอบมิได้ปรากฏ หรือแสดงได้ด้วยเงินทอง และชื่อเสียง? แต่สิ่งที่ต้องการที่สุด คือ ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน? เพื่อลดโอกาสการนำมาซึ่งการต่อรอง และเจรจา? ในสิ่งที่ทำให้กลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ประโยชน์ และลดปัญหาการนำวัตถุระเบิดมาเป็นสิ่งต่อรอง
ที่มา  
http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/index.php?option=com_content&view=article&id=295:87004—-eod-explosive-ordnance-disposal&catid=7:88&Itemid=25
http://movie.mthai.com/movie-news/54884.html

ชีวิตบนเส้นด้าย ของ EOD ชุดกู้ระเบิดแดนใต้ .....

.... หากวัดระดับ " ความเสี่ยง " ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ที่ลงมาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดว่าน่าจะมีเปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับว่า คนร้าย จะมีจังหวะ โอกาส  และสถานที่ เอื้ออำนวยมากน้อยแค่ไหน .....
.... เพราะความสูญเสียแต่ละครั้งของเจ้าหน้าที่ มักจะเกิดซ้ำซาก ในลักษณะเดียวกัน คือ วางระเบิด ซุ่มยิง ขณะปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวน บนเส้นทางสายเดิมๆ เนื่องจากภาระกิจที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่น คุ้มครองครู โรงเรียน หรือ ดูแลความปลอดภัยให้ประชาชนตามที่สาธารณะต่างๆ เป็นต้น .....
.... และเมื่อมีเหตุความสูญเสียเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง จะต้องมีเจ้าหน้าที่หน่วยหนึ่งซึ่ง มี ทั้งทหาร ตำรวจ ที่ผ่านการฝึกอบรม การเก็บกู้ระเบิด เข้าเคลียร์ในที่เกิดเหตุ ซึ่งถือเป็น " แนวหน้า " เสี่ยงตาย ลำดับต้นๆ เนื่องจากปัจจุบัน คนร้าย ใช้ยุทธวิธี พลิกแพลง ในการก่อเหตุซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ...
.... เมื่อวานนี้(14 กพ.) ได้ตามไปดู ตำรวจชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด ภ.จว.ปัตตานี ซึ่ง เราเรียกกันติดปากว่า ชุด EOD ( Explosive Ordnance Disposal ) เก็บกู้ระเบิดชนิดแสวงเครื่อง ที่ บ้านดอยทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ซึ่งคนร้ายได้นำมาซุกไว้ ในซุ้มประตู สองข้างทางจำนวน 2 ลูก และ คนร้ายได้กดระเบิดใส่ทหารนาวิกฯ ฉก.ปัตตานี 26ไปเสีย 1 ลูก ทำให้ทหารได้รับบาดเจ็บ 1 นาย และเหลืออีก 1 ลูก คนร้ายได้นำมาซุกไว้ที่ซุ้มประตูอีกด้าน และ คาดว่างานนี้คนร้ายหมายกะเล่นงาน นายอำเภอไม้แก่น นานสุรพร พร้อมมูล ที่ เดินทางมาทำกิจกรรมร่วมกันประชาชนในโครงการ  " อำเภอเคลื่อนที่ " ซึ่งห่างจากที่เกิดเหตุแค่ 500 เมตร ..แต่ทหารต้องมารับเคราะห์แทนเสียก่อน ...
..... ไปดู ชุด EOD กู้ระเบิดลูกที่ 2 กันครับ ...................


..... ตำรวจชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด ภ.จว.ปัตตานี ซึ่ง เราเรียกกันติดปากว่า ชุด EOD ( Explosive Ordnance Disposal )

.... สุนัขดมกลิ่น ค้นหาวัตถุระเบิด ...

.... ใช้รถดับเพลิงฉีดน้ำ ทำลายวงจรระเบิดระเบิด ที่คนร้ายนำมาซุกไว้ในซุ้มทางเข้าหมู่บ้าน ..

.... นักข่าวช่าวภาพ ลุ้นระทึก...

... เตรียมระเบิดน้ำ ( water bomb) ที่มีแค่น้ำและเชื้อปะทุ ...

.... นำไปทำลายแผงวงจรระเบิดอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ ...

..... นักข่าวหามุมกำบัง ...

..... บึ้ม .. เสียงดังสนั่นหวั่นไหว ..

.... ไปเก็บมันออกมา เป็นชนิดแสวงเครื่อง น้ำหนักประมาณ 5 กก. คนร้ายดัดแปลงกล่องเหล็กโค้ง คล้ายระเบิดเคโม
แรงทำลายมหาศาล เนื่อจากสะเก็ดระเบิด จะสาดกระจายไปในทิศทางเดียวกัน ตามแต่จะบังคับให้ไปทางไหน ...

.... ดูกันชัดๆ...
.... เสร็จสิ้นไปอีกหนึ่งภาระกิจ " เสี่ยงตาย "  ของชีวิตนักกู้ ( ระเบิด ) ชายแดนใต้ ..
....  เพราะที่นี้ ระเบิดลูกมันดก ออกได้ตลอดฤดูกาล ...
.... ไม่เหมือนลองกอง เงาะ ทุเรียน ..
..... โชคดี ปลอดภัย แคล้วคลาด ครับ พี่ๆ นักกู้ทุกคน ....

ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=215299

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รู้จักกับ Gorilla Glass


 
ภาพ: Corning
เรา อาจเคยผ่านตาเกี่ยวกับชื่อ Gorilla Glass เป็นผิวของจอ Smartphone และ Tablet บางรุ่น ซึ่งกระจกชนิดนี้ว่ากันว่ามีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษกว่าแผ่นกระจกทั่วไป แต่จะแข็งขนาดไหน
ชื่อ Gorilla Glass เป็นเครื่องหมายการค้าของ Corning ผู้ผลิตแผ่นกระจก รวมทั้งเครื่องแก้วรายใหญ่ ได้พัฒนาการผลิตแผ่นกระจกที่แข็งและเหนียวกว่ากระจกทั่วไป
กระจกหรือแก้ว เป็นสารที่เกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ เมื่อสารบางชนิดเช่นทราย ถูกความร้อนสูงเช่นฟ้าผ่า อุกกาบาต
มนุษย์ ผลิตแก้วมาใช้งานมาแล้วนับพันปี โดยใช้ซิลิกาจากทรายเป็นวัตถุดิบสำคัญ ผ่านความร้อนสูงเป็นพิเศษให้หลอมเป็นแก้ว เป่าให้เป็นรูปทรงต่างๆ
Gorilla Glass ของ Corning ก็เริ่มด้วยการหลอมแก้วเช่นกัน แต่ Corning จะเทแก้วหลอมเหลวที่มีส่วนผสมของสารประกอบอลูมิเนียมให้ได้แก้วที่ใสมากลงมา เป็นแผ่นบางเหมือนม่านน้ำ เพื่อให้ได้แผ่นกระจก Aluminosilicate ที่บางประมาณครึ่งมิลลิเมตร บางพอที่จะไม่ขัดขวางการทำงานของ Capacitive Touch screen และไม่หนักจนเกินไป โดยกระจกในกรรมวิธีนี้ ได้ผสมสารประกอบโซเดียมปนลงไปด้วย ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตขั้นต่อไป

กระจก ที่ได้ในขั้นนี้จะเป็นแผ่นบางใสเหมือนกระจกสไลด์ที่ใช้กับกล้องจุลทัศน์ แต่ก็เปราะแตกง่ายเช่นเดียวกัน จากนั้นจะไปผ่านกระบวนการสำคัญที่เรียกว่า Ion Exchange โดยการแช่แผ่นกระจกนี้ลงในสารประกอบของโปแตสเซียมที่ความร้อนสูงราว 400 องศาเซลเซียส อะตอมของโปแตสเซียมซึ่งเป็นธาตุกลุ่มเดียวกับโซเดียมในตารางธาตุ จะเข้าไปแทนที่อะตอมของโซเดียมในแผ่นกระจก
แต่อะตอมของโปแตสเซียมมี ขนาดใหญ่กว่าอะตอมของโซเดียม ผลที่ได้จะเหมือนกับฟูกที่มีลูกกอล์ฟแทรกอยู่ในเนื้อฟูก ถูกดึงเอาลูกกอล์ฟออกแล้วเอาลูกเทนนิสใส่ลงไปแทน เนื้อฟูกจะถูกอัดแน่นขึ้นกว่าเดิม

กระจกที่ผ่านกระบวนการ Ion Exchange จากโซเดียมเป็นโปแตสเซียมนี้จะมีเนื้อที่แน่นกว่าเดิมและแข็งแรงกว่าเดิมหลายเท่า


ภาพ: Stanley Glass
กระบวน การนี้ไม่ได้มีแต่ Corning เท่านั้นที่ผลิต ชื่อสามัญของกระบวนการนี้คือ Chemical Tempering โดยผู้ผลิตรายอื่นๆอาจผลิตกระจก Chemical Temper Glass สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่ Corning เป็นผู้ผลิตสำคัญในอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ และเป็นผู้ผลิตกระจกชนิดนี้ให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์เช่นจอทีวี เราจะไม่มีโอกาสเดินเข้าไปตามร้านกระจกแล้วหาซื้อกระจก Gorilla เป็นแผ่นๆไปใช้เอง
Corning ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยว่าใครใช้กระจก Gorilla บ้าง แล้วแต่ว่าเจ้าของสินค้าจะเปิดเผยเป็นจุดขายของตนเอง


Samsung Galaxy Tab รุ่น 7 นิ้วตัวแรก ก็ใช้กระจก Gorilla ของ Corning
Smartphone หรือ Tablet ที่ใช้กระจก Gorilla จะมีกระจกจอภาพที่แข็งแกร่งทนต่อรอยขีดข่วนมากพอที่จะเชื่อมั่นว่า หากอุปกรณ์ชิ้นนี้ตกกระแทก ชิ้นส่วนสุดท้ายที่จะเสียหายคือ จอภาพ
ลอกแผ่นปิดจอออกไปได้เลยครับ หาก Tablet ของเราใช้กระจก Gorilla
ถอดความจาก How Stuff Works

ที่มา http://www.pocketpcthai.com

กฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา(Escrow)


ปัจจุบัน  การ ทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือการทำสัญญาต่างตอบแทนอื่นใดนั้น เรามักอาศัยความน่าเชื่อถือระหว่างคู่สัญญาเป็นหลักในการชำระหนี้ตามที่ตกลง กันไว้ในสัญญา แต่การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น  หรือมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของคู่สัญญา ซึ่งจะทำให้สัญญาระบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือการทำสัญญาต่างตอบแทน เกิดความเสี่ยงหรืออาจหยุดชะงักลง   ส่งผลกระทบต่อคู่สัญญาและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ   ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คู่สัญญาและสร้างความมั่นคงต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศ จึงมีคนกลางที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ เพื่อทำหน้าที่ดูแลการชำระหนี้ของคู่สสัญญาให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ จึงได้มีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา
อนึ่ง ถึงแม้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา และกำหนดให้คู่สัญญาสามารถเรียกเงินคืนได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาก็ตาม แต่ทางปฏิบัติแล้วก็ยังไม่สามารถป้องกันความเสียหายหรือประกันว่าผู้เสียหาย ได้รับเงินคืนครบถ้วนได้   
ส่วนระบบเอสโครว์ (Escrow) เป็น ระบบการค้ำประกันการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน  ของสัญญาต่างตอบแทนต่างๆ โดยการกำหนดให้มีคนกลางหรือ Escrow Agent ซึ่งมีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ ทำหน้าที่ดูแลการชำระหนี้ตามสัญญาให้ถูกต้องและสมบูรณ์ตามเจตนาของคู่สัญญา โดยคนกลางจะเป็นผู้ดำเนินการตามข้อตกลงของคู่สัญญา และถือเงินของคู่สัญญาฝ่ายที่จะต้องชำระเงินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งในเวลาที่ได้ รับการปฏิบัติจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน   ซึ่งระบบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป
เหตุผล การมีกฎหมายฉบับนี้คือเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือระหว่างคู่สัญญาในการชำระ หนี้ต่อกันตามสัญญา สัญญาต่างตอบแทนต่างๆ อาทิเช่นการทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเจ้าของโครงการมีหน้าที่ต้องก่อสร้างบ้านให้ถูกต้องเรียบร้อยตรงตาม กำหนดเวลาในสัญญาจะซื้อจะขาย ส่วนผู้ซื้อก็ต้องมีหน้าที่ชำระเงินตามงวดที่กำหนดไว้ให้แก่ผู้ขาย ปัญหาเกิดขึ้นกรณีผู้ซื้อวางเงินจองและชำระเงินดาวน์แล้วผู้ขายไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาหรือก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดหรือไม่ได้มาตรฐาน หรือปัญหาจากการที่ผู้ประกอบการนำเงินมัดจำจองและเงินดาวน์ของลูกค้าไปใช้ หมุนเวียนของธุรกิจแล้วเกิดปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ผู้ซื้อต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ขายและ บางรายไม่อาจบังคับเรียกร้องเงินที่ชำระไปแล้ว 
หลักการของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้มีคนกลาง (Escrow Agent) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้คู่สัญญาปฏิบัติ การชำระหนี้ตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตลอดจนรักษาเงิน ทรัพย์สินหรือเอกสารแห่งหนี้ และจัดให้มีการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญา ทั้งสองฝ่าย ซึ่งคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้มีคนกลางทำหน้าที่เช่นนี้ต้องทำสัญญาดูแลผล ประโยชน์ กับผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา และระบุกำหนดระยะเวลา และเงื่อนไขในการส่งมอบทรัพย์สินหรือเอกสารแห่งหนี้ไว้ด้วย ซึ่งผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาแต่ ละฝ่ายตามที่ระบุในสัญญาดูแลผลประโยชน์นั้น อย่างไรก็ตามกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญามีส่วนได้เสียกับ คู่สัญญาทั้งทางตรงหรือโดยอ้อมด้วย 
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551
1. สัญญาที่สามารถตกลงให้ผู้ดูแลผลประโยชน์
ได้แก่ สัญญาต่างตอบแทนทุกชนิด ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีหนี้และหน้าที่ต้องโอนหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือ เอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และคู่สัญญาอีกฝ่ายนั้นก็ต้องชำระเงินตอบแทนให้ด้วย เช่น สัญญาให้บริการ สัญญาซื้อขายทรัพย์สินทั่วไป และสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

2. การทำสัญญาดูแลผลประโยชน์
เป็นสัญญาที่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคู่สัญญาและลงลายมือชื่อของผู้ ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา เป็น สัญญาทั้งสามฝ่ายและต้องมีรายการที่กฎหมายกำหนดด้วย เช่น ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา และชื่อที่อยู่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา, ระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการส่งมอบทรัพย์สินหรือเอกสารแห่งหนี้ และการส่งมอบเงินของคู่สัญญา, ค่าตอบแทนของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเป็นต้น และกฎหมายยังห้ามไม่ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญารับดูแลผลประโยชน์ของ คู่สัญญา หากมีส่วนได้เสียกับคู่สัญญานั้น

3. ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
เป็นนิติบุคคลหรือสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือ Escrow Agent เพื่อดูแลการชำระหนี้ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากคู่สัญญา ทั้งนี้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ กิจการดูแลผลประโยชน์ตามกฎหมายฉบับนี้ด้วย

4. หน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
4.1 จัดทำสัญญาดูแลผลประโยชน์ 
4.2 ทำการเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อประโยชน์ของคู่สัญญา (หรือเรียกว่าบัญชีดูแลผลประโยชน์) ไว้กับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน กับทั้งต้องทำบัญชีทรัพย์สินแยกเก็บทรัพย์สินของคู่สัญญาแต่ละราย ออกจากของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา 
4.3 ออกหลักฐานรับรองการฝากเงินของคู่สัญญาฝ่ายที่ต้องชำระเงินให้แก่ฝ่ายที่มอบ เงินนั้น (ถือว่าเป็นหลักฐานในการปฏิบัติการชำระหนี้เงินด้วย) และแจ้งเป็นหนังสือให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบทันที 
หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานที่ดิน ทราบและบันทึกเป็นหลักฐาน ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ภายใต้สัญญาดูแลผลประโยชน์ และห้ามจดทะเบียนโอนจนกว่าจะได้รับแจ้งจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา 
4.4 ทำหนังสือแจ้งให้คู่สัญญาทราบถึงรายการฝากเงินหรือการโอนเงิน ตลอดจนจำนวนเงินที่คงเหลือในบัญชีดูแลผลประโยชน์ 
4.5 เมื่อคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดในสัญญาดูแลผลประโยชน์ครบถ้วน เรียบร้อยแล้ว ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะโอนเงินและดอกผลในบัญชีดูแลผลประโยชน์ให้แก่ ฝ่ายที่ต้องโอนหรือมอบทรัพย์สิน และจัดให้มีการโอนหรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ฝ่ายที่ชำระเงินนั้น 
ในกรณีที่คู่สัญญามีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของตนตามสัญญาดูแลผล ประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะต้องไม่ส่งมอบเงินหรือโอนทรัพย์สินให้แก่คู่ สัญญาฝ่ายใด จนกว่าจะมีการตกลงกันเรียบร้อยแล้ว หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

5. ค่าบริการของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะได้รับค่าบริการตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยคู่สัญญาเป็นผู้ออกฝ่ายละครึ่งเท่ากัน เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น และห้ามผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเรียกเก็บจากเงินในบัญชีที่ตนดูแลผล ประโยชน์

6. การคุ้มครองเงินของคู่สัญญา
กรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาถูกคำพิพากษาศาลให้ต้องชำระหนี้ในคดี ใดๆ หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือถูกสั่งให้ระงับกิจการบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม เงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์จะได้รับความคุ้มครองโดยจะไม่ถูกยึดหรืออายัด และไม่ต้องห้ามการจำหน่ายจ่ายโอน นอกจากนั้นคู่สัญญายังมีสิทธิขอเลิกสัญญาดูแลผลประโยชน์และรับเงินคืน หรือโอนให้แก่บุคคลอื่นที่จะเข้ามาเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาแทน

กฎหมาย ลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดผลดีโดยตรงต่อคู่สัญญา เพราะจะได้รับการปฏิบัติจากอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ ช่วยลดความเสี่ยงหรือลดจำนวนความเสียหายให้น้อยลง ในส่วนของสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเงินกู้แก่คู่สัญญาก็มีความมั่นใจ เพิ่มขึ้น และยังเกิดมีบริการประเภทใหม่ของสถาบันการเงินโดยได้รับค่าธรรมเนียมในการ เปิดบัญชี ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามสัญญาการให้บริการ
ใน ส่วนของ ผู้ประกอบการ การนำระบบนี้มาใช้ย่อมเรียกความเชื่อมั่นของผู้ซื้อ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่แต่เดิมมีปัญหาเป็นจำนวนมาก แต่อาจจะมีภาระเรื่องเงินทุนสำรองเพื่อสภาพคล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายใหม่หรือที่ไม่มีความพร้อมของเงินทุนจำ เป็นต้องปรับตัวมากขึ้น และยังต้องระมัดระวังการลงทุนให้รัดกุมมากขึ้นไม่ให้ระยะเวลาการส่งมอบล่า ช้าหรือสินค้าไม่ได้คุณภาพ มิฉะนั้นผู้ซื้อก็สามารถที่จะทำเรียกร้องสิทธิของตนตามที่ระบุไว้ในสัญญา
อย่าง ไรก็ตามเชื่อว่าโดยภาครวมแล้วย่อมจะทำให้มีความมั่นใจและส่งผลให้มีการทำ ธุรกรรมมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและลดความเสี่ยงของผู้ บริโภคได้อีกทางหนึ่ง ตลอดจนจะช่วยลดข้อพิพาทและคดีความของคู่สัญญาได้ด้วย
อ้างอิงมาจาก
พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551


ที่มา http://www.softbizplus.com/laws/637-escrow-law-2551

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กรด!! ในเครื่องดื่ม


    กรดเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องดื่ม มีหน้าที่สำคัญ ได้แก่
        1. ให้รสขื่นและเปรี้ยว
        2. กระตุ้นให้เกิดความพอใจในการรับรส
        3. ช่วยระงับความกระหายโดยจะไปกระตุ้นต่อมน้ำลายในปากให้ทำงาน
        4. ช่วยเพิ่มความหวานของน้ำตาล
        5. เป็นตัวช่วยเสริมการถนอมรักษาเครื่องดื่ม
    การใช้กรดในเครื่องดื่มค่อนข้างสะดวก ปริมาณที่ใช้ไม่มากนัก อาจจะต้องมีการคำนวณ
เพื่อความเหมาะสมและความคงตัวของคุณภาพของเครื่องดื่ม ปริมาณกรดในเครื่องดื่มขึ้นอยู่กับระดับความชอบของรสชาติ ซึ่งจะต้องใช้ผู้ชิมที่มีประสบการณ์ การตรวจสอบปริมาณอาจจะใช้ผู้ชิมหรือการตรวจสอบทางเคมีก็ได้ เนื่องจากระดับความเปรี้ยวของกรดจะแตกต่างไปตามความเข้มข้นและชนิดของกรดที่ใช้ ฉะนั้นจากการทดลองโดยการชิมปรากฏว่ารสเปรี้ยวของกรดต่างๆ มีดังนี้  กรดซิตริก  0.12%  กรดอะดิฟิค  0.12%  กรดฟูมาริค  0.08%  กรดแลคติค  0.11%  และกรดมาลิค 0.105% ส่วนการตรวจสอบกรดในเครื่องดื่มที่มีสีมักจะใช้การวัดพีเอชมากกว่าการไตเตรท  เครื่องดื่มบางชนิดอาจจะใช้กรดมากกว่าหนึ่งชนิด และความเข้มข้นของกรดแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการของเครื่องดื่ม การใช้กรดในอุตสาหกรรมมักจะเตรียมเป็นสารละลายกรด ประมาณ 50% เพื่อสะดวกในการใช้ผสม  กรดที่นิยมผสมในเครื่องดื่ม เช่น

1.    กรดแอสคอร์บิค (ascorbic acid)
กรดชนิดนี้ทำหน้าที่ป้องกันและระงับการเกิดออกซิเดชัน ดังนั้นจะช่วยทำให้กลิ่นรส
ของเครื่องดื่มคงตัวอยู่ได้นาน ปกติสารที่ให้กลิ่นรสในเครื่องดื่มจะเป็นพวกอัลดีไฮด์ (aldehyde)    คีโตน (ketone) และเอสเทอร์ (ester) สารเหล่านี้จะถูกออกซิไดส์ได้ง่าย หากไม่มีกรดแอสคอร์บิคและจะสูญหายไปในระหว่างการเก็บรักษา เมื่อเติมกรดแอสคอร์บิคลงไป กรดนี้จะถูกออกซิไดส์สูญไป แต่รสและกลิ่นของเครื่องดื่มยังคงอยู่  การเติมกรดนี้จะเติมก่อนพาสเจอไรส์ หรือก่อนการบรรจุร้อน แล้วทำให้เย็นโดยเร็ว  แม้ว่ากรดแอสคอร์บิค จะช่วยรักษาในด้านคุณค่าของเครื่องดื่ม 
แต่จะไม่ช่วยเสริมสี กลิ่น และรสของเครื่องดื่ม

2.    กรดซิตริก (citric acid)
กรดนี้นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถรวมตัวได้ดีกับกลิ่นรสของผลไม้ได้แทบทุก
ชนิด กรดซิตริกนี้มีอยู่ในผลไม้ทั่วไป ในทางการค้าจะผลิตกรดซิตริกจากมะนาว สับปะรด และการหมักของเชื้อรา ในท้องตลาดที่มีการจำหน่ายจะอยู่ในรูปของผลึก หรือผง ซึ่งละลายน้ำได้ดี นอกจากนี้แล้วกรดซิตริกยังช่วยทำให้เกิดรส tang ในเครื่องดื่มประเภทอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

3.    กรดฟอสฟอริก (phosphoric acid)

เป็นกรดที่นิยมมากในเครื่องดื่มประเภทโคล่า  root beer และ sarsaparilla เพราะเป็น
กรดที่ช่วยเพิ่มกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์และในสูตรเครื่องดื่มผง ยังมีการใช้โมโนโซเดียมฟอสเฟต (monosodium phosphate) และโมโนแคลเซียมฟอสเฟต (monocalcium phophate) อยู่บ้างเล็กน้อย ในสภาพที่เป็นกรดมักจะอยู่ในรูปของแข็งละลายน้ำได้ทุกอัตราส่วน กัดกร่อนภาชนะที่ทำด้วยโลหะ ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ กรดนี้จะไม่มีการระเหย ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายแก่ดวงตา ยกเว้น
การสัมผัสเข้าไปโดยตรง

4.    กรดทาร์ทาริก (tartaric acid)

กรดนี้นิยมใช้กันมากกว่ากรดซิตริก มักใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากองุ่น และเครื่องดื่ม
ที่มีกลิ่นรสมะขาม

5.    กรดฟูมาริก (fumaric acid)

เป็นกรดที่มีราคาถูกที่สุดในบรรดากรดทั้งหลาย ซึ่งใช้ในปริมาณเล็กน้อยก็ให้รส
เปรี้ยวจัดกว่ากรดชนิดอื่นๆ กรดนี้จะละลายน้ำได้น้อยมาก เหมาะสมที่จะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผง เพราะตัวมันเองดูดความชื้นได้น้อยมาก และยังใช้ผสมกับกรดตัวอื่นๆ ได้อีก โดยไม่มีผลเสียแต่อย่างใด กรดฟูมาริกมีความบริสุทธิ์สูง มีสีขาว ไม่เป็นก้อน ใช้เป็นตัวเพิ่มรสชาติใน
ผลิตภัณฑ์ไวน์ เป็นต้น

6.    กรดอดิปิค (adipic acid)
กรดนี้มีลักษณะเป็นผง สีขาว ไม่ดูดความชื้น สามารถใช้แทนกรดซิตริกได้ เมื่อเติมลง
ในเครื่องดื่มจะเป็นตัวช่วยเพิ่มกรดและกลิ่นรสของเครื่องดื่มให้เข้มข้น

7.    กรดมาลิค (malic acid)
โดยปกติใช้กันน้อยในเครื่องดื่ม ถ้าใช้จะใช้ในรูปของสารสังเคราะห์ หรือสารที่ได้จาก
ธรรมชาติ ซึ่งพบมากใน apple, apricot, canberries, peach มะม่วง และผลไม้หลายชนิดที่ไม่ใช่
ตระกูลส้ม 

    ความเป็นกรดกับความคงตัวของเครื่องดื่ม  พบว่า ค่าพีเอชจะมีผลต่ออายุการใช้ประโยชน์ของเครื่องดื่ม กล่าวคือ ถ้าค่าพีเอชของเครื่องดื่มนั้นๆ ต่ำ จะช่วยรักษาสภาพของเครื่องดื่มได้นาน  เพราะสภาวะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์  ยิ่งถ้าความแตกต่างของพีเอชที่จุลินทรีย์เจริญเติบโต และช่วงพีเอชของสภาพในเครื่องดื่มมีมากขึ้นก็ยิ่งทำให้จุลินทรีย์นี้ตายได้ง่ายขึ้น           จุลินทรีย์ส่วนมากจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงพีเอช 6.5-7.5 และจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคนั้นส่วนมากจะเจริญเติบโตที่พีเอช 4.5-5.0 ดังนั้นเครื่องดื่มทั่วๆ ไป ที่มีค่าพีเอชต่ำกว่า 4.0 จึงปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม มีจุลินทรีย์บางประเภทที่ชอบสภาพเป็นกรด ได้แก่ ยีสต์ รา แลกติก และอะซิติกแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะสามารถก่อให้เกิดปัญหาแก่การเก็บรักษาเครื่องดื่มได้เช่นกัน  แต่ถ้าเครื่องดื่มที่ลดพีเอชลงได้ถึง 3.0 จะป้องกันการเสื่อมเสียเนื่องจากแลคติกแบคทีเรียได้ และพีเอชที่จุดนี้ยีสต์ส่วนใหญ่จะไม่เจริญ นอกจากการลดพีเอชลงแล้ว ยังได้มีการใส่สารกันบูดพวกเกลือเบนโซเอทร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการเน่าเสียเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า สารกันบูดทั้งเกลือเบนโซเอทและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะใช้ได้ดีในช่วงพีเอชตั้งแต่ 2.5-4.0 แต่อย่างไรก็ดี ในเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมและเครื่องดื่มอื่นๆ  ที่บรรจุในภาชนะที่ถูกต้องตามกรรมวิธี จะไม่ค่อยมีปัญหาที่ เกิดขึ้นเนื่องจากจุลินทรีย์ต่างๆ

ที่มา computer.pcru.ac.th/emoodledata/50/BT/lesson2-3.doc

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Kuru Toga Engine

 


"Kuru Toga Engine" ดินสอเหลาตัวเอง เทคโนโลยีสำหรับคนชอบเขียน drawing ด้วยดินสอ

คุณสมบัติของดินสอที่มีเทคโนโลยี Kuru Toga คือมันสามารถที่จะเหลาตัวเองได้ ทำให้ไส้ดินสอแหลมคมตลอดเวลา โดยจะมีฟันเฟืองอยู่ภายใน ทุกครั้งที่เราเขียน แล้วยกขึ้น เฟืองเล็กๆ ภายในดินสอจะหมุนไส้ไปเรื่อยๆ ผลที่ได้คือเส้นจะคม บาง ไส้ไม่หักง่าย และเราไม่ต้องคอยจับดินสอหมุนไปมาให้เสียเวลา เหมาะกับงานเขียนที่ต้องการความคมชัดของลายเส้น
ลายเส้นที่ได้จากดินสอ Kuru Toga




Kuru Toga รุ่น High Grade ของ Uni-ball 
มีช่องที่ตัวดินสอให้เราเห็นว่าแกนดินสอหมุนทุกครั้งที่เราเขียน

ที่มา http://th.misumi-ec.com

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ ประจำปี 2555

10-watch-technology-2012
ในงานสัมมนา NSTDA Investors' Day 2012  ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ได้นำเสนอ 10 เทคโนโลยีที่ภาคธุรกิจควรต้องให้ความสนใจ ติดตาม รับรู้ และจับตามอง เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีผลต่อธุรกิจ และการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในอนาคต โดยสามารถจัดกลุ่มเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ใน  4 สาขาหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ, เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม,  เทคโนโลยีวัสดุ, และเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดย 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปีนี้ มีดังนี้

ด้านสุขภาพ (ด้าน Health)
1. Nanopore Sequencing
เป็นการวิเคราะห์ลำดับเบสของสาย DNA ซึ่งใช้หลักการเหนี่ยวนำทางกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีเบสผ่านเข้าในรูที่มีขนาดระดับนาโนเมตร โดย nanopore sequencer ในปัจจุบันมีโพรงนาโนจำนวนมาก จึงสามารถวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าวิธีการ วิเคราะห์แบบเดิม เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เฉพาะบุคคล การตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร รวมถึงการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ด้วย

 
ด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (ด้าน Green)
2. SMART GRID
เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบส่งและ จำหน่ายไฟฟ้า ที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากความหลากหลายและจำนวนของแหล่งกำเนิดพลังงาน โดยเฉพาะ พลังงานทดแทนที่มีความผันผวนในการผลิตไฟฟ้าสูง อีกทั้งลูกค้าในปัจจุบันอาจเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน ทำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญ

3. Energy Storage (เทคโนโลยีหน่วยเก็บพลังงาน) เป็น เทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้แหล่งกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่กินพื้นที่น้อย ปลอดภัยและใช้งานสะดวก มีอายุการใช้งานได้นานและราคาถูก ซึ่งการพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Flow (Flow Battery) จะให้อิสระในด้านการเลือกขนาดของปริมาณไฟที่จุในแบตเตอรี่แยกจากความต้องการ ด้านกระแสหรือกำลังไฟฟ้า (แบตเตอรี่นี้จะมีถังเก็บเชื้อเพลิงที่แยกกับหน่วย ผลิตไฟฟ้าโดยสามารถออกแบบให้จ่ายกระแสไฟได้ตามต้องการ) ส่งผลให้ในอนาคตรถไฟฟ้าจะสามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว โดยจะสามารถเติมได้เหมือนระบบการเติมน้ำมัน
4. Biorefinery คือ อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม้โตเร็ว หรือของเสียจากอุตสาหกรรม มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น ผ่านกระบวนการที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพเพื่อเปลี่ยนวัตถุ ดิบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยมีการเปลี่ยนของเสียจากกระบวนการหนึ่งเป็นสารตั้งต้นของอีกกระบวนการ หนึ่งจนสุดท้ายไม่มีของเหลือทิ้งเลย (zero waste)
เทคโนโลยีวัสดุ (ด้าน Material)
5. Printed Paper Battery
เทคโนโลยีการพิมพ์แบตเตอรี่ลงบนกระดาษ โดยมีวิธีการทำให้เกิดเป็นเซลไฟฟ้าเคมีที่สมบูรณ์ซึ่งก็คือ แบตเตอรี่ โดยแบตเตอรี่กระดาษนี้บางเบา สามารถโค้งงอ ม้วนพับได้ มีราคาถูก นอกจากนี้สามารถเลือกใช้วัสดุเก็บพลังงานที่ใช้แล้วทิ้งโดยไม่มีสารพิษที่ ทำลายสิ่งแวดล้อม

6. 3D Printing เป็น เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานโดยอาศัยการก่อหรือสร้างเนื้อวัสดุขึ้นมาทีละ ชั้น โดยไม่ต้องสร้างแม่พิมพ์ก่อน เป็นการลดต้นทุนในการผลิตชิ้นงานจำนวนน้อย อีกทั้งการผลิตชิ้นงานสามารถใช้วัสดุได้หลาย ประเภท โดยอัจจุบันราคาเรื่องพิมพ์ 3 มิติมีราคาถูกลงมาก จึงเป็นไปได้ที่ในอนาคตอันใกล้จะมีการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติอย่างแพร่หลายรวมถึงในระดับครัวเรือนด้วย
7. Graphene Composite คือ วัสดุมหัศจรรย์ที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็กถึง 200 เท่า มีความแข็งมากกว่าเพ็ชร และสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง อีกทั้งยังโปร่งแสงอีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อนำกราฟีนมาผสมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อเป็นวัสดุผสมที่เรียกว่าการ Composite จะได้วัสดุที่มีความแข็งแรงมากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยมีมา อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างมากมาย เช่น การนำมาผลิตเป็นวัสดุกระจายความร้อนในอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (ด้าน IT)
8. M2M
การสื่อสารระหว่างเครื่องจักร (Machine to Machine communication) คือ เทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งแบบสายและไร้สายระหว่างอุปกรณ์ โดยระบบจะทำงานอัตโนมัติ มีโครงข่ายเชื่อมโยงกว้างไกลทั่วโลก ทำงานพร้อมกันและขนานกัน ส่งผลให้ในอนาคตการทำงานของมนุษย์จะลดลงและสะดวกมากขึ้น

9. Haptic technology เทคโนโลยี การป้อนกลับเพื่อให้รู้สึกถึงการสัมผัส โดยใช้หลักการของแรง การสั่นและการเคลื่อนไหว ของพื้นผิวสัมผัส เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเกมส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และในด้านการแพทย์ เช่น ระบบฟื้นฟูสมรรถภาพ การผ่าตัดทางไกล เป็นต้น
10. Virtual Engineering เป็น เทคโนโลยีจำลองงานวิศวกรรมได้เสมือนจริงโดยใช้คอมพิวเตอร์ โดยสามารถจำลองกระบวนการ ผลิตทั้งหมด รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการขนส่ง ซึ่งสามารถวัดผล การทำงานและผลผลิตได้จากการจำลองนี้ ดังนั้น การทำงานของวิศวกรยุคดิจิตอลจึงมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการได้ทันต่อธุรกิจ

ที่มา http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/8998-10-watch-technology-2012