ภายใน 1 มกราคม 2553
สินค้าจีนส่วนมากที่ส่งมาไทยจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเลย และในทางกลับกัน
สินค้าส่งออกจากไทยไปจีนส่วนมากก็จะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี entry นี้มีรายละเอียด
ไขข้อกระจ่าง: การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีสินค้าอาเซียน-จีน
- สาระสำคัญของข้อตกลงการค้าเสรีสินค้าระหว่างอาเซียนกับจีน
อา
เซียนและจีนได้บรรลุข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีนและ
รัฐมนตรีการค้าอาเซียน-จีนได้ลงนามความตกลงการค้าสินค้าในการเปิดเสรีอา
เซียน-จีนในช่วง ของการประชุมผู้นำอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 โดยกำหนดให้ข้อตกลงฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2548 ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก 6 ประเทศและอีก 4 ประเทศ
สมาชิกใหม่ที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงฯ ดังกล่าว
ภายใต้กรอบความตกลงฯได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีสินค้าส่วนแรกก่อนที่จะสรุป
ความตกลงด้านสินค้าไทยนั้น (ไทย ได้ทำความตกลงเพื่อเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศจีน ในวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง การลดภาษีส่วนแรก เป็นการเร่งลดภาษีผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน ในพิกัดที่ 07-08 เริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 (2003) เป็น 0% ทันที ครอบคลุมระยะเวลา 2 ปี และอาเซียน-จีน ลดภาษีสินค้าพิกัด 01-08 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 (2004) ลดเป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2549 ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่จะลดภาษีเป็น 0% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 (2010) การลดภาษีส่วนที่สอง เป็นการ ลดภาษีตามความตกลงระหว่างอาเซียนกับจีน ตั้งแต่ 20 กรกฎาคม 2548 โดยแบ่งรายการสินค้าที่จะลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ รายการสินค้าปกติ (Normal Track :NT) และรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track : ST) ซึ่งจะมีสินค้าที่อยู่ในข่ายการลดภาษี 5,121 รายการ แต่สินค้าที่จะเริ่มลดภาษีในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 มีจำนวน 896 รายการ ส่วนสินค้าอื่นๆ จะมีการทยอยลดเป็นลำดับ ตามตารางรูปแบบการลดภาษี
- สินค้าปกติ (Normal Track :NT)
รายการสินค้าปกติจะครอบคลุมสินค้าเกือบทุกรายการ ซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศ จะเริ่มลดภาษีสินค้าปกติ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 (2005) และจะลดภาษี ลงเป็นลำดับ จนเหลือ 0% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 (2010) สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม-จีน และภายในวันที่ 1 มกราคม 2558 (2015) สำหรับประเทศสมาชิก อาเซียนใหม่
การลดภาษีสินค้าปกติ จะแบ่งเป็นสินค้าตามอัตราภาษีที่เก็บจริงกับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (MFN applied rate) ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 (2003) เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีขั้นตอนการลด/เลิกภาษีต่างกัน สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงจะลดภาษีเป็น 0% ช้า
กว่าสินค้าที่มีอัตราภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว ทั้งนี้
ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีน
แต่ละประเทศสามารถมีรายการสินค้าที่ได้รับความยืดหยุ่นให้ยกเลิกภาษีได้ภาย
ในวันที่ 1 มกราคม 2555 (2012) ไม่เกิน 150 รายการ ขณะที่ ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่จะ ได้รับความยืดหยุ่นให้มีรายการสินค้ามากกว่าและระยะเวลาลดภาษีที่นานกว่า
- รูปแบบการลด/เลิกภาษีของสินค้าปกติของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม และจีน
X = Applied MFN tariff rate
|
อัตราภาษีภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน – จีน (ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม)
|
2005*
|
2007
|
2009
|
2010
|
X >= 20%
|
20
|
12
|
5
|
0
|
15% =< X < 20%
|
15
|
8
|
5
|
0
|
10% =< X < 15%
|
10
|
8
|
5
|
0
|
5% < X < 10%
|
5
|
5
|
0
|
0
|
X =< 5%
|
คงอัตราภาษี
|
0
|
0
|
หมายเหตุ : * เริ่มลดภาษีวันที่ 20 กรกฎาคม 2548
นอก
จากต้องปฏิบัติตามตารางการลดภาษีแล้ว
ประเทศสมาชิกยังมีข้อผูกพันเพิ่มเติมที่ต้องปฏิบัติ
ในการดำเนินการลด/เลิกภาษีสินค้าปกติ ดังนี้
- ต้องลดภาษีสินค้าปกติ อย่างน้อย 40% ของสินค้าปกติทั้งหมด ให้มีอัตราภาษีที่ 0-5% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005
- ต้องลดภาษีสินค้าปกติ อย่างน้อย 60% ของสินค้าปกติทั้งหมด ให้มีอัตราภาษีที่ 0-5% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2007
สำหรับรายละเอียดของสินค้าลดภาษีปกตินั้น ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นสินค้าปกติที่จะจะต้องลดลงเหลือ 0% ภาย ในวันที่ 1 มกราคม 2553 (5 ปี) กำหนดให้ลดอัตราภาษีที่สูงกว่า 20% ให้เหลือ 20% ในวันที่ 1 มกราคม 2548 ส่วนภาษีที่มี อัตราต่ำกว่า 20% ให้ลดอัตราภาษีลงตามลำดับ ซึ่งจะเริ่มลดภาษีครั้งแรกในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 (ดูตารางการลดภาษีปกติของอาเซียน-จีน1 และ2) กลุ่มที่สอง เป็นสินค้าที่ได้รับการยืดหยุ่นให้ลดภาษี เหลือ 0% ได้ถึงปี 2555 (7 ปี) จำนวน 150 รายการ (ดูรายการสินค้าที่ได้รับความยืดหยุ่น) รวมทั้งให้เพิ่มสินค้าที่จะมีอัตราภาษีอยู่ที่ 0-5% จากจำนวน 40% ในปี 2548 เป็น 60% ในปี 2550 สินค้า
ที่ไทยจะลดภาษีที่ได้รับการยืดหยุ่น ได้แก่อาหารปรุงแต่งจากสัตว์ปีก
เสื้อผ้าทำด้วยขนสัตว์ เสื้อผ้าทำด้วยฝ้ายและเส้นใยสัง เคราะห์
เสื้อผ้าทำด้วยวัตถุทออื่นๆ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนที่ได้รับการยืดหยุ่น
ได้แก่ กาแฟ เนยเทียม อาหารปรุงแต่งจากธัญพืช ผลไม้ดอง เห็ด ผักปรุงแต่ง
น้ำผลไม้ ไวน์ ยางรถยนต์ ไม้อัดพลายวูด เสื้อโอเวอร์โค้ต เสื้อสูท
เครื่องยนต์ดีเซล มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น
- สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track : ST)
- สินค้าที่มี Tariff-Rate Quota-TRQ
อัตราในโควตาให้เป็นไปตาม SL (Sensitive List) และ HSL (Highly Sensitive List) ส่วนอัตรานอกโควตายังไม่ลดในขณะนี้ และรอผลการเจรจาต่อไป
- สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List-SL)
สินค้าที่ประเทศสมาชิกยังไม่พร้อมที่จะเปิดเสรีพร้อมกับสินค้าปกติ ให้กำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหว โดยจะลดภาษีลงเหลือ 20% ในปี 2555 (2012) และลดเหลือ 5% ในปี 2561 (2018)โดยกำหนดเงื่อนไขเพดานสินค้าอ่อนไหว เพื่อจำกัดจำนวนสินค้าดังกล่าว ดังนี้
- ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน มีรายการสินค้าอ่อนไหวไม่เกิน 400 รายการ (พิกัดฯ 6 หลัก) และ
- มูลค่าการนำเข้าของรายการสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด ไม่เกิน 10% ของมูลค่าการนำเข้ารวม
สินค้าอ่อนไหวจะเริ่มลดอัตราภาษีช้ากว่าสินค้าปกติ โดยจะลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกิน 20% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 (2012) และจะลดเป็น 0-5% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2561(2018)
- สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List -HSL)
สินค้าอ่อนไหวสูง สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน ต้องจำกัดรายการสินค้าอ่อนไหวสูงไม่เกิน 100 รายการ หรือ 40% ของ
จำนวนรายการสินค้าอ่อนไหว
แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า
สำหรับการลดภาษี ของสินค้าอ่อนไหวสูง กำหนดให้ลดภาษีมาอยู่ที่อัตราไม่เกิน 50% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2558 (2015)
- อากรพิเศษ (Special Duty) ให้โอนเป็นอัตราฐานแล้วเริ่มลดภาษี
รูปแบบการลด/เลิกภาษีของสินค้าอ่อนไหวของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน
|
สินค้าอ่อนไหว
|
เพดานอัตราภาษีภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน - จีน
|
ปี 2012
|
20%
|
ปี 2018
|
0-5%
|
|
|
สินค้าอ่อนไหวสูง
|
|
ปี 2015
|
50%
|
สำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน 4 ประเทศ จะได้รับความยืดหยุ่น ทั้งในด้าน จำนวนสินค้าอ่อนไหว และระยะเวลาการลดภาษีที่นานกว่า
- หลักการต่างตอบแทนสำหรับสินค้าอ่อนไหว
ประเทศสมาชิกใดที่กำหนดรายการสินค้าใดให้เป็นสินค้าอ่อนไหว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบปกติภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน
สำหรับสินค้านั้น จากประเทศสมาชิกอื่น กล่าวคือประเทศสมาชิกผู้นำเข้า
จะเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศสมาชิกผู้ส่งออก
ซึ่งกำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้า อ่อนไหว ในอัตรา MFN applied rate
สินค้าอ่อนไหวของประเทศหนึ่ง จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างตอบแทนจากประเทศสมาชิกอื่น เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
- อัตราภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน ของสินค้าอ่อนไหวนั้น ต้องลดลงมาอยู่ที่อัตราไม่เกิน 10%
- อัตรา
ภาษีที่ได้รับเป็นสิทธิประโยชน์ต่างตอบแทน
จะเท่ากับอัตราภาษีของสินค้าอ่อนไหวนั้น หรืออัตราภาษีปกติของสินค้านั้นของ
ประเทศสมาชิกอื่น แล้วแต่ว่าอัตราใดจะสูงกว่า
นอก
จากรูปแบบการลด/เลิกภาษีแล้ว ความตกลงการค้าสินค้ายังมีบทบัญญัติอื่น
ซึ่งเป็นข้อผูกพัน และพันธกรณี ที่สมาชิกทุกประเทศต้อง ปฏิบัติตาม เช่น
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การยกเลิกการจำกัดปริมาณการนำเข้า
และลด/เลิกการกีดกันที่มิใช่ภาษี มาตรการปกป้อง (Safeguard Measures) ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน
การยอมรับสถานะการเป็นระบบตลาดของจีน การระงับข้อพิพาทและอื่นๆ
เช่นการประติบัติเยี่ยงคนชาติ
การทบทวนการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและการเร่งพันธกรณี
และสละสิทธิการใช้มาตรการเยียว ยาทางการค้าพิเศษ
ที่จีนผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก เมื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิก
และการทบทวนความตกลงการค้าสินค้า ซึ่งรวมถึงการทบ ทวนในปี 2018 ที่
ทบทวนรายการสินค้าอ่อนไหว โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงให้เปิดเสรีมากขึ้น
เช่น ลดจำนวนรายการสินค้า หรือเงื่อนไข การลดภาษีของรายการสินค้าอ่อนไหว
สินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าอ่อนไหวของไทย มี 342 รายการประกอบด้วยสินค้าอ่อนไหว 242 รายการ
ได้แก่ น้ำส้ม อาหารสัตว์ สีและ วาร์นิช ยางรถยนต์ รองเท้า แก้ว เหล็ก
เครื่องซักผ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องทำน้ำร้อน ของเล่นเป็นต้น
และสินค้าอ่อนไหวสูง 100 รายการ ได้แก่ สินค้าเกษตร 23 รายการ (นม
และครีม มันฝรั่ง กระเทียม กาแฟ ชา น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ยาสูบ ไหม ฯลฯ)
หินปูพื้น เครื่องใช้บน โต๊ะอาหาร รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ( ดูรายการสินค้าอ่อนไหวและ อ่อนไหวสูงของอาเซียน-จีน / รายการสินค้าอ่อนไหวของไทย)
สินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าอ่อนไหวของจีน ประกอบด้วย สินค้าอ่อนไหว 161 รายการ
เช่น กาแฟ สับปะรด กระป๋อง ยาสูบ ฟิลม์ถ่ายรูป กระดาษถ่ายรูป น้ำสับปะรด
ไม้อัด กระดาษคราฟต์ เรือบรรทุกของ ไฟรถยนต์ แตรและไซเรน
แชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ ถุงลมนิรภัย ฯลฯ และสินค้าอ่อนไหวสูง 100 รายการ เช่นข้าวโพด ข้าว น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ยางธรรมชาติ ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษและกระดาษแข็ง รถยนต์นั่ง รถจิ๊ป ฯลฯ
แหล่งกำเนิด สินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดภาษี จะต้องผ่านเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งใน 3 เงื่อนไข คือเป็น สินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained) หรือ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (นับรวมอาเซียน-จีน) ไม่ต่ำกว่า 40% ของราคาขาย หรือใช้วัตถุดิบภายในประเทศน้อยกว่า 40% ของราคาขาย แต่เป็นสินค้าที่มีกฎการนำเข้าเฉพาะ (Product Specific Rules) ในเงื่อนไขเรื่องแหล่ง กำเนิดประเภทสุดท้ายยังอยู่ระหว่างการพิจารณาหารือซึ่งจะประกาศให้ทราบภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 (ดูรายละเอียดว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของอาเซียน-จีน)
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=124736