วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Time)


เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Time) คือ เวลาที่ไม่ได้ทำอะไรและไม่เกิดผลผลิตใดๆในการดำเนินการผลิต โดยทั่วไปการผลิตหรือการทำงานมักจะเกิดการรบกวนทำให้เวลาทำงานสำหรับผลิตต่อหน่วยผลิตภัณฑ์สูงขึ้น เวลาที่มากขึ้นนี้เรียกว่า เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการเกิดการรบกวนการทำงานใดๆ ทำให้งานผลิตหรือการทำงานต้องหยุดชะงักลง ชั่วคราวโดยปราศจากการผลิตหรือผลงาน เวลาที่เสียไปดังกล่าวจึงเป็นเวลาสูญเปล่า ทำให้อัตราผลผลิตลดลง

ความสูญเสียขององค์กรจากเวลาที่ใช้ประสิทธิภาพ
การเกิดเวลาที่ไร้ประสทธิภาพขึ้นในองค์กร จะนำมาซึ่งการผลิตและการดำเนินงานที่ ล่าช้าไม่ทันเวลา นำมาซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น จนอาจทำให้องค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที จนอาจทำให้องค์กรขาดความสามารถในการแข่งขัน และประสบความล้มเหลวได้ในอนาคต ความสามารถในการบริหารการขจัดเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพในองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรให้

รูปแบบของเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ

เราแบ่งเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพออกเป็นสองลักษณะ คือ เวลาที่เสียไปเนื่องจากการรบกวนจากแหล่งนอกที่เหนืออำนาจการควบคุมของผู้ควบคุมในองค์กร เช่น ไฟฟ้าดับ น้ำท่วม ฯลฯ อีกลักษณะหนึ่ง คือ เวลาที่เสียไปอันอยู่ภายใต้การควบคุมได้ ซึ่งสามารถจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเนื่องจากความบกพร่องของฝ่ายจัดการ เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ
นี้ มีผลจากการที่แรงงานหรือเครื่องจักรหยุดงานโดยเหตุเพราะฝ่ายจัดการไม่มีการวางแผนงานที่ดี ขาดการอำนวยการประสานงาน และการควบคุมงานอย่างไร้สมรรถภาพ จากนโยบายทางการตลาด ทำให้โรงงานต้องผลิตสินค้ามากชนิดเกินไป เครื่องจักรเกิดการหยุดชะงักขณะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการผลิตสำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน

การขาดการวางแผนการจัดลำดับของงาน มีผลให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง เกิดบกพร่องในการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ ทำให้เกิด การรอ การหยุดชะงัก เพราะความขาดแคลน บกพร่องในการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต ทำให้ต้องมีการหยุดงานเพราะเครื่องจักรชำรุด หรือทำให้เกิดผลผลิตเสียมาก มีผลให้ต้องเสียเวลาทำใหม่ การขาดการจัดสภาพการทำงานที่ดี ทำให้แรงงานไม่สามารถทำงานได้โดยสม่ำเสมอ

2. เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพภายใต้การควบคุมของแรงงาน
เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพนี้เป็นผลจากฝ่ายแรงงานเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น อุปนิสัยที่ไม่ดีของคนงาน เช่น การขาด ลา มาสาย ความเกียจคร้านในการทำงาน การแกล้งถ่วงงาน หรือหลบงาน คนงานทำงานโดยไม่ระมัดระวัง ทำให้งานเสียหาย
คนงานไม่รักษากฎเกณฑ์ การรักษาความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยประมาท

แบบนี้…ต้องแก้ที่ระบบจัดการ
โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง มีเครื่องจักรที่เป็นเครื่องปั๊มโลหะสภาพที่มีปัญหา ขาดแผนงานที่ดี ทำให้เกิดการรอแม่พิมพ์ รอช่างเครื่อง รอรถยก ล้วนเป็นอาการรอทั้งสิ้น โรงงานแห่งนี้พบว่ามีการเดินไปเดินมาของพนักงาน โดยแยกไม่ออกว่าเป็นพนักงานขนย้ายหรือพนักงานประจำเครื่อง ทำให้เกิดกรณีไร้ประสิทธิภาพของพนักงาน

ทางแก้ปัญหาของโรงงานนี้ก็คือ ให้โรงงานเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการใหม่ มีการทำ
แผนงานล่วงหน้า เพื่อจัดตารางเวลาให้ต่อเนื่องกัน ไม่ซ้อนทับกันหรือเหลื่อมกันมากนัก อีกทั้ง
โรงงานยังควรเปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าที่ใช้ เช่น ให้พนักงานขนย้ายสวมชุดสีส้มสะดุดตา ถ้าภายใน
โรงงานมีการขนย้ายก็จะพบพนักงานเสื้อสีส้มเดินไปเดินมา เป็นผลทำให้พนักงานประจำเครื่อง
หรือช่างเครื่องที่ใส่เสื้อสีเทาไม่กล้าเดินไปเดินมาเพราะสะดุดตา เช่นกัน ผลก็คือ ทำให้ลดเวลาที่
ไร้ประสิทธิภาพของพนักงาน เพิ่มจิตสำนึกในการทำงานตามหน้าที่ เพราะถ้าพนักงานขนย้ายหยุด
กับที่ก็แสดงว่าการทำงานไร้ประสิทธิภาพ เช่นกัน

ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพิ่มผลผลิตทำได้ง่าย…ไม่ยากเลย
การค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเพื่อจะได้พยายามขจัดทิ้งไป ผลที่ตามมาคือ การเพิ่ม ผลผลิต เพราะได้ขจัดความสูญเสียทิ้งไป การค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นเรื่องง่าย คือ พิจารณาเวลาประเภท “รอ” “หยุด” “หลบ” “หลีก” “เลี่ยง” โดยเฉพาะการ “รอ” และการ “หยุด” เราสังเกตได้ไม่ยาก ส่วนการค้นหาการ “หลบ” “หลีก” “เลี่ยง” อาจจะยุ่งยากกว่า อย่างไรก็ตามการค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ จะทำให้เราลดเวลาที่ไม่ได้ทำงาน ถ้าเราลดได้และใช้เวลาที่ลดได้ให้เกิดผลผลิต เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมได้อย่าง แน่นอน

ที่มา http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/11812010014667b26903f9b.pdf

3 เทคนิคจัดการลูกน้อยจอมไฮเปอร์


      วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยพลังล้นเหลือ หลังรื้อค้นโซฟาในห้องนั่งเล่น ก็เริ่มตีลังกากระโดดไปมา ลากคุณไปทั่วเหมือนทุกตารางนิ้วเป็นสนามเด็กเล่นเหมือนหยุดไม่เป็น “ทุกสิ่งล้วนน่าตื่นเต้นไปหมดสำหรับเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน” นักจิตวิทยาเด็กลินดา บัดด์กล่าว “นั่นเป็นความสุขของเด็กในวัยนี้”
      
       แต่แม้พวกเขาจะเพลิดเพลินกับการเล่น เราก็ต้องสอนให้เขารู้ว่าเมื่อไรเป็นเวลากิน เมื่อไรเป็นเวลานอน เพื่อให้พวกเขามีเวลาที่สงบลง แต่ยังเรียนรู้อยู่ได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำดังนี้
      
       1.จัดเวลาให้เล่น
      
       วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะให้เจ้าตัวน้อยสุดไฮเปอร์หมดพลัง คือ จัดกิจกรรมให้ทำตลอดทั้งวัน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าไม่ควรปล่อยให้เจ้าตัวน้อยอยู่นิ่งนานเกิน 60 ต่อครั้ง เว้นเพียงเวลานอน
      
       ถ้าปล่อยให้เขานั่งนาน ก็เตรียมตัวเจอพายุหมุนได้เลย เพราะพลังล้นเหลือที่สะสม ลองเอาน้ำใส่ถังให้ลูกทาเล่นนอกบ้าน หรือหาลูกบอลเบาๆ ให้เล่น ให้เขาได้ออกกำลังกายเต็มที่ในเวลาเล่น แต่ไม่ต้องหนักใจที่ลูกเล่น และไม่ควรให้เขาดูโทรทัศน์
      
       2.พัฒนาสมอง
      
       เด็กก่อนวัยเรียนเหมาะกับของเล่นที่มีกลไก เช่น ตัวต่อไม้ หรือกรรไกรสำหรับเด็ก การเล่นของเล่นที่เบากว่า เงียบกว่าเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อย เพลิดเพลินกับการเล่นคนเดียวได้ หากเล่นของเล่นประเภทนี้เขาจะอยู่นิ่งมากกว่า จึงอาจเหมาะที่จะใช้หลอกล่อในสถานที่ที่เขาควรอยู่นิ่งๆ อย่างในรถ หรือระหว่างรอคุณหมอ
      
       นอกจากนี้ ยังอาจใช้กิจกรรมศิลปะอย่างวาดรูปมาช่วยให้ลูกได้ฝึกทั้งการใช้มือและ จินตนาการก็เข้าทีไม่แพ้กัน กิจกรรมอีกอย่างที่ทำได้คือการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง นอกจากจะช่วยให้เขาอยู่นิ่งได้แล้ว ยังเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับคุณพ่อคุณแม่ด้วย นับเป็นการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้เจ้าตัวน้อยตั้งแต่ยังเล็กได้
      
       3.กำหนดเวลาพักผ่อน
      
       ควรจัดเวลานอนให้เป็นเวลา เด็กส่วนใหญ่จะตื่นมาพร้อมพลังงานเต็มเปี่ยม แล้วใช้จนหมดก่อนจะรู้ตัวว่าง่วง เวลานอนเจ้าตีวน้อยไม่ควรเกินสามทุ่ม โดยมีเวลาสามสิบนาทีก่อนหน้าไว้ผ่อนคลายก่อนนอน อย่างการฟังนิทาน การนอนเป็นเวลาอย่างสงบจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับสนิทได้ยาวขึ้น ผลคือพลังงานที่ดูแลได้ง่ายขึ้นในวันถัดไปสำหรับคุณพ่อคุณแม่
      
       อ้างอิงจาก parents.com


ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151067

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การกำจัดมดแบบง่ายๆ





ไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่ต้องเผชิญกับเจ้าพวกมด แมลงต่าง ๆ ที่มากวนใจภายในบ้านกันบ้างหรือเปล่า เชื่อแน่ ๆ ว่าจะต้องมีอย่างน้อย ๆ ก็สักคนสองคนล่ะน่า …
ซึ่ง เจ้าพวกมดและแมลงทั้งหลายนี้ถือเป็นปัญหากวนใจที่เหล่าบรรดาแม่บ้านทั้งหลาย ต่างต้องเผชิญกันมาแล้วแทบทั้งนั้น ซึ่งวิธีกำจัดส่วนใหญ่ที่หลาย ๆ บ้านใช้กันก็คือ การใช้สารเคมีฉีดเพื่อฆ่าให้ตาย ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วทันใจจริง ๆ แต่ก็อาจจะทำให้มีสารเคมีตกค้างได้ด้วยเช่นกัน
วันนี้ไปเจอวิธีการไล่เจ้าพวกมดและแมลงต่าง ๆ ด้วยวิธีธรรมชาติมา เลยเอามาฝากให้เพื่อน ๆ ที่นี่ลองเอาไปใช้กันดูนะ

ใช้ฟองน้ำเปียกๆ เช็ดตามทางมด มดจะหาทางเดินไม่เจอ หรือ ใช้ผงฟูโรยตามทางของมด

โรยพริกป่น สะระแหน่แห้ง กากกาแฟ ตามบริเวณที่มดเดินหรือบีบมะนาวตามรูเข้าของมด แล้วทิ้งเปลือกมะนาวไว้ตรงนั้น ปลูกสะระแหน่ไว้รอบบ้าน มดจะไม่เข้าใกล้

ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเช็ดตามทางเดินมด แมลงสาบ

ใช้ข้าวโอ๊ตหรือแป้งข้าวโพดผสมปูนปาสเตอร์ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน โรยบริเวณที่แมลงสาบมารบกวน เมื่อแมลงสาบกินเข้าไปปูนพลาสเตอร์จะแข็งตัวแมลงสาบจะตาย

ใช้ผงฟูผสมกับน้ำตาลทรายอย่างละเท่าๆ กัน โรยบริเวณที่แมลงสาบมารบกวน

ใช้แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ บอแร๊กซ์ 4 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากันใช้โรยบริเวณที่แมลงมารบกวน

เอาตะไคร้หอมหั่นแล้วตำ คั้นเอาแต่น้ำแล้วนำไปเคี่ยวจนเป็นน้ำมันใช้ทาผิวหนังกันยุง

ใช้กาบมะพร้าวหรือเปลือกส้มตากแห้งสุมไฟ เพื่อให้เกิดควันไล่ยุง

ปลูกต้นแก้วหรือต้นราตรีไว้บริเวณปากประตู หน้าต่าง จะช่วยไล่ยุงได้
 
เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว แถมยังไม่มีสารเคมีตกค้างให้เป็นอันตรายด้วย ยังไงเพื่อน ๆ ที่นี่ก็อย่าลืมเอาไปลองใช้กันดูนะ


ที่มา http://www.kroobannok.com/blog/26990

ดินน้ำมัน



    ดิน น้ำมัน เป็นของเล่นสำหรับเด็กที่มีมานาน สำหรับพัฒนาการทางสมอง และกล้ามเนื้อมือ และเสริมกิจกรรมในครอบครัว สมัยโบราณใช้ดินธรรมชาติ (clay หรือ mineral clay) จากแหล่งที่อยู่ซึ่งหาได้ง่ายผสมน้ำ มาใช้สำหรับปั้นตุ๊กตาดิน เช่น ดินเหนียว (Plastic clay) ได้จากการผุกร่อนของหิน เนื้อดินละเอียดสีเนื้อ หรือสีเทา มีความเหนียว จากนั้นมีการผสม กับดินชนิดอื่น เพื่อให้คงรูปได้ง่าย และมีการพัฒนารูปแบบให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยการแต่งสี กลิ่น และเติมสารสังเคราะห์อื่นๆ เพื่อความเหนียวนุ่ม และมีลักษณะน่าใช้ เรียกรวมว่า modeling clay และมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันซึ่งทำจากแป้ง ที่เรียกว่า Play-dough

    
        ดินที่ใช้ทำดินน้ำมันมีหลายชนิด  เช่น  ดินเหนียว  และ  แร่ดิน (clay minerals)  แร่ดิน เช่น คาโอลิไนต์ (kaolinite) และ smectites

 
1. Modeling clay

    
        Modeling clay หรือ Artificial clay ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนดินเหนียวธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ oil-based clay และ polymer clay

            1.1 Oil-based clay

                        Oil-based clay ผลิตจากองค์ประกอบหลัก ได้แก่ แร่ดิน เช่น สารกลุ่มคาโอลิน (kaolins) ผสมกับ น้ำมัน ขี้ผึ้ง ข้อเด่นคือ มีความเหนียวนุ่ม ปั้นขึ้นรูปง่าย ไม่แห้งเมื่อสัมผัสอากาศเพราะเป็นน้ำมัน ไม่ละลายในน้ำ ใช้งานได้นาน และไม่มีพิษ ข้อด้อยคือติดไฟได้ และหลอมเมื่อได้รับความร้อน ปัจจุบันมีผู้ผลิตดินน้ำมันประเภทนี้มากมาย ชื่อที่เป็นที่รู้จัก เช่น Plasticine และ Plastilin

                        Plasticine เป็นชื่อทางการค้า ผลิตจากแร่ดิน เกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต อะลูมิเนียมซิลิเคด (aluminum silicate) ปิโตรเลียมเจลลีหรือวาสลิน (petroleum jelly) long chain aliphatic acid เช่น กรดสเตียริก (stearic acid) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide) น้ำมันพืช (vegetable oils) สารกันเสีย (preservatives) และ เทอร์เพนทีน (turpentine) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นความลับทางการค้า

            1.2 Polymer modifier clay และ Polymer clay

                        Polymer modifier clay เป็นดินน้ำมันที่มีแร่ดินเป็นองค์ประกอบหลัก แต่ส่วนผิวมีการพัฒนาทางเคมีด้วยสารพอลิเมอร์ ส่วน Polymer clay เป็นดินน้ำมันที่ทำจากสารพอลิเมอร์ เช่น พอลิไวนิวคลอไรด์ (polyvinyl chloride) มิได้มีส่วนผสมของดินแร่ ที่มีลักษณะแข็งเมื่ออุณหภูมิต่ำ เมื่อแข็งแล้วไม่สามารถปั้นแต่งได้อีก
 
2. Play-dough

            Play-dough   หรือแปังโด (dough)   หรือแป้งปั้น   ผลิตจากแป้ง (flour)   ที่นิยมใช้มากคือ อะไมโลส (amylose) หรือแป้งสาลี (wheat) น้ำ และ เกลือ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลชีพ บางบริษัทเติมสารหล่อลื่น เช่น ปิโตรเลียม เพิ่มสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สารกันเสีย (preservative) เช่น บอแรกซ์ ป้องกันการเจริญของเชื้อ สารแต่งกลิ่น สารแต่งสี สารให้ความชื้น สารลดแรงตึงผิว (surfactant) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นความลับทางการค้า ชื่อการค้าที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้ทับชื่อภาษาอังกฤษคือ Play-doh มีข้อด้อยคือมีอายุการใช้งานสั้น เพราะเมื่อเล่นไปนานๆ และสัมผัสอากาศ จะแห้งและแข็ง ไม่สามารถปั้นได้อีก ปัจจุบันแป้งปั้นเข้ามาแทนที่ดินน้ำมันประเภท modeling clay มากขึ้น อะไมโลสเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้แป้งโดเหนียวและปั้นเป็นรูปได้ดี แต่หากมีน้ำและอยู่ในสภาพเย็นจะเกิด retrogradation ทำให้แป้งแข็ง ดังนั้น แป้งโดต้องใส่สารที่เรียกว่า retrogradation inhibitor เช่น อะไมโลเพกติน (amylopectin) หรือ waxy starch อื่นๆ ลงไปด้วย

            ปัจจุบัน มีเว็บไซด์ที่แนะนำวิธีการทำดินน้ำมันอย่างง่าย เช่น ถ้าต้องการทำดินน้ำมันประเภท  Oil-based clay ให้ใช้ดินแห้งแบบผง น้ำมัน (oil) น้ำมันเครื่องหรือจารบี (automotive grease) และ ขึ้ผึ้ง (wax หรือ beewax) หรือใช้ดินสอพอง น้ำมันเครื่องเบอร์ 50 พาราฟินแข็ง และ สีผงชนิดสีน้ำมัน โดยเริ่มหลอมพาราฟินก่อนและผสมน้ำมันเครื่องให้เข้ากัน จากนั้นเทลงในดินสอพองที่บดผสมกับสีแล้ว และนวดให้เข้ากัน ทิ้งไว้หนึ่งคืนและนวดต่อจนกระทั่งได้ดินน้ำมัน ความเหนียวขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมันเครื่อง

            สำหรับ แป้งโด มีเว็บไซด์ของประเทศไทยแนะนำการเตรียมขึ้นใช้เองมากมาย ซึ่งส่วนผสมหลักได้แก่ แป้ง เช่น แป้งสาลี หรือแป้งอเนกประสงค์ น้ำ เกลือ ครีมออฟทาร์ทาร์ น้ำมันพืช สารแต่งสีและกลิ่น ข้อดีของแป้งที่ทำเองนี้คือ การใช้สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กเพราะใช้ส่วนผสมที่รับประทานได้ ข้อด้อยคือเล่นได้ไม่นาน เพราะแข็ง และมีกลิ่นหืนของแป้ง และอาจเกิดเชื้อราขึ้น ผู้ใหญ่ต้องคอยสังเกตลักษณะที่เปลี่ยนไป ข้อแนะนำคือต้องเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและเก็บในตู้เย็น

            ดิน น้ำมันอื่นๆ เช่น ดินญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนผสมของกาว ซึ่งอาจผลิตขึ้นเองจาก แป้งข้าวเจ้า น้ำ และสารกันเสีย นำกาวที่ได้มาผสมกับแป้งอเนกประสงค์หรือแป้งสาลี ทัลคัม (talcum) และน้ำมันพืช นวดเป็นเนื้อดียวกัน และเติมทิชชูที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ นวดให้เข้ากัน แต่งสี แต่งกลิ่น จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน ใช้เล่นได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ห้ามแช่ตู้เย็น

ข้อควรระวังในการเล่นดินน้ำมัน

            ดิน น้ำมันรับประทานไม่ได้         หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบที่สามารถรับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้ เด็กกลืนเข้าไป     เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ          ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก  เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่าง ถูกต้อง   อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นคือการเกิดอาการแพ้องค์ประกอบต่างๆ ในดินน้ำมันและแป้งปั้น


อาการภูมิแพ้

            ดิน น้ำมันรับประทานไม่ได้ หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบ ที่สามารถรับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้ เด็กกลืนเข้าไป เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่าง ถูกต้อง อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นคือการเกิดอาการแพ้องค์ประกอบต่างๆ    ในดินน้ำมันและแป้งปั้นโรคที่พบบ่อยและมีรายงานจากการเล่นดินน้ำมันคืออาการ ภูมิแพ้ (allergy) โดยเฉพาะ การระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่สัมผัส (skin irritations) หรือ contact dermatitis สารในดินน้ำมันที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น น้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันที่ผลิตจากถั่ว (peanut oils) สารกันเสีย น้ำมันเครื่อง

            มี รายงานการเกิดอาการแพ้ในเด็ก  ที่เล่นแป้งปั้นที่มีประวัติแพ้สารในธัญญาพืช (wheat) ต่างๆ เมื่อสัมผัสแป้งปั้นที่ทำจากแป้งสาลีประมาณหนึ่งชั่วโมง จะเกิดการระคายเคืองผิวหนัง คัน เกิดอาการบวมแดงที่ผิวหนังและหนังตา โดยส่วนใหญ่การแพ้เกิดจากการแพ้โปรตีนในแป้ง คือ กลูเทน (glutens) พบว่าส่วนเว็บไซด์ของบริษัทที่ผลิต Play-dohä ระบุว่า “ Children who are allergic to wheat gluten may have an allergy reaction to this products” หรืออาจเกิดการแพ้ในเด็กที่มีประวัติแพ้สารกลูเทน ทั้งนี้ไม่พบข้อความเหล่านี้บนฉลากของผลิตภัณฑ์

    
        สารกลุ่มละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง พาราฟิน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
         

ความเป็นพิษ

            ดิน ธรรมชาติมีการปนเปื้อนของโลหะหนักตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ไม่พบรายงานที่ก่อให้เกิดอันตราย ดินน้ำมันประเภทพอลิเมอร์อาจใส่สาร plasticizer เช่น สารกลุ่มพธาเลต เช่น di-(ethylhexyl) phthalate (DEHP) ที่มีรายงานว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลองเมื่อให้ในปริมาณสูง

    
        ขึ้ผึ้งประเภท chlorinated synthetic waxes มีความเป็นพิษต่อผิวหนังสูง และสามารถซึมเข้าไปในผิวหนังทำให้เกิดสิวได้ (chloracne)
 

ข้อแนะนำในการเล่นดินน้ำมัน

            ต้อง ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการเล่น   วิธีเล่นที่ปลอดภัยคือการสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัส แต่อาจทำให้ความสนุกเพลินเพลินลดลง

ที่มา http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/living-room/modeling-clay.html