วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

คำศัพท์เกี่ยวกับการเงิน financial



    
1.    account payable    บัญชีเจ้าหนี้
2.    account receivable    บัญชีลูกหนี้
3.    accrued expenses    ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
4.    accrued income    รายได้ค้างรับ
5.    accrued interest    ดอกเบี้ยค้างรับ
6.    accaccrued interest payable  ดอกเบี้ยค้างจ่าย
7.    accrued liabilities    หนี้สินค้างจ่าย
8.    accrued receivables    รายได้ค้างรับ
9.    accumulated profit    กำไรสะสม
10.    accumulated retirement    เงินสะสม
11.    administrative budget    งบประมาณการบริหาร
12.    advance payment    จ่ายเงินล่วงหน้า
13.    advanced money    เงินทดรอง
14.    allowance    เงินอุดหนุน
15.    allowance for uncollectibles  สำรองหนี้สูญ
16.    annual income    รายได้ประจำปี
17.    annuity    เงินปี
18.    appreciate    ค่าเงินแข็งขึ้น
19.    appropriated expenditures    รายจ่ายจัดสรร
20.    appropritation budget    งบประมาณที่จัดสรรไว้
21.    arrearages; arrears    เงินที่ค้างชำระหนี้
22.    arrears    เงินค้างชำระ
23.    assets    สินทรัพย์
24.    authorized shares    หุ้นที่จดทะเบียน
25.    average earning    รายได้เฉลี่ย
26.    bad debt    หนี้สูญ
27.    bad debt reserve    เงินสำรองหนี้สูญ
28.    balance sheet    งบดุล
29.    balanced budget    งบประมาณสมดุล
30.    balloon loan    เงินกู้ระยะสั้น
31.    bank account    บัญชีเงินฝากธนาคาร
32.    bank advances    เงินที่ธนาคารให้กู้ยืม
33.    bank charges    ค่าธรรมเนียมบริการของธนาคาร
34.    bank loan    เงินกู้จากธนาคาร
35.    bank overdraft    เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร
36.    banking    การธนาคาร
37.    bill of exchange    ตั๋วแลกเงิน
38.    bond    หุ้นกู้
39.    bonds payable    เงินกู้
40.    bonus    เงินโบนัส
icphysics:
   
41.    borrowings from banks    เงินกู้ยืมจากธนาคาร
42.    borrowings from financial institutions    เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
43.    borrowings from public    เงินกู้ยืมจากประชาชน
44.    bounty    เงินอุดหนุน (จากรัฐ)
45.    budget    งบประมาณ
46.   
budget deficit
   งบประมาณขาดดุล
47.    call loan    เงินกู้ที่ต้องชำระคืนเมื่อทวงถาม
48.    capital    ทุน, เงินทุน
49.    capital budget    งบประมาณลงทุน
50.    capital costs    รายจ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน
51.    capital expenditure    รายจ่ายลงทุน
52.    capital profit    กำไรที่ได้จากการขายสินทรัพย์ถาวร
53.    capital ratio    อัตราส่วนของสินทรัพย์ต่อเงินทุน
54.    capital reserve    ทุนสำรอง
55.   
capital stock
   ทุนเรือนหุ้น
56.    cash    เงินสด
57.    cash accounting    การทำบัญชีเงินสด
58.    cash advance    การเบิกเงินเกิน
59.    cash and carry    การซื้อเงินสดและรับสินค้าไปเอง
60.    cash bonus    เงินปันผลเงินสด
61.    cash book    สมุดบัญชีเงินสด
62.    cash budget    งบประมาณเงินสด
63.    cash discount    ส่วนลดเงินสด
64.    cash dividends payable    เงินปันผลค้างจ่าย
65.    cash flow    กระแสเงินสด
66.    cash in hand    เงินสดในมือ
67.    cash register    เครื่องรับเงินสด
68.    cash sale    การขายสด
69.    cash voucher    ใบเบิก/จ่ายเงินสด
70.    charge account    บัญชีเชื่อ
71.    chattels    สังหาริมทรัพย์
72.    checks returned    เช็คคืน
73.    cheque (check)    เช็ค
74.    child benefit    เงินช่วยเหลือบุตร
75.    circulation    เงินตรา
76.    claims reserve    เงินสำรองค่าสินไหมทดแทน
77.    collateral loan    เงินกู้ที่มีหลักประกัน
78.    commercial bill    ตั๋วเงินพาณิชย์
79.    commercial credit    สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ หรือการซื้อขายสินค้า
80.    commercial paper    ตราสารการค้า
icphysics:
   
81.    common purse    เงินกองกลาง
82.    common stocks (shares)    หุ้นสามัญ
83.    compensation    ค่าตอบแทน หมายถึง ค่าแรง ค่าจ้าง เงินเดือน
84.    contingent liabilities    หนี้สินที่ไม่แน่นอน
85.    contribution to capital    เงินหรือทรัพย์สินที่นำมาร่วมลงทุน
86.   
corporation tax
   ภาษีเงินได้นิติบุคคล
87.    cost    ต้นทุน
88.    cost accounting    บัญชีค่าใช้จ่าย
89.    cost and freight (CF)    ค่าสินค้ารวมค่าระวาง
90.    cost of goods sold    ต้นทุนการขาย
91.    cost of living    ค่าครองชีพ
92.    cost overrun    ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่างบประมาณ
93.    cost price    ราคาทุน
94.    cost-plus    การคิดราคาโดยระบบต้นทุนบวกกำไร
95.   
counterpart fund
   เงินสมทบ
96.    credit    สินเชื่อ
97.    credit account    บัญชีเงินเชื่อ
98.    credit balance    ยอดเงินคงเหลือ
99.    credit instrument    ตราสารสั่งจ่ายเงิน
100.    credit money    ยอดเงินในบัญชี, เงินสินเชื่อ, ธนบัตร
101.    credit note    ใบลดหนี้
102.    credit sale    การขายเงินเชื่อ
103.    creditor    เจ้าหนี้ ผู้ให้กู้
104.    currency    เงินตรา
105.    current account    บัญชีกระแสรายวัน
106.    current assets    สินทรัพย์หมุนเวียน
107.    current deposit    เงินฝากรายวัน
108.    current liabilities    หนี้สินหมุนเวียน
109.    current ratio    อัตราส่วนทุนหมุนเวียน
110.    customs duty    ภาษีศุลกากร
111.    damages    เงินค่าชดเชย
112.    debenture stock    หุ้นกู้
113.    debit note    ใบเพิ่มหนี้
114.    debt    หนี้สิน
115.    debtor    ลูกหนี้
116.    deferred charge    รายจ่ายรอตัดบัญชี
117.    deferred liabilities    หนี้สินรอตัดบัญชี
118.    deferred revenue    รายได้รับล่วงหน้า
119.    deficit budget    งบประมาณขาดดุล
120.    deficit financing    การคลังแบบขาดดุล
icphysics:
     
121.    deflation    สภาวะเงินฝืด
122.    deposit    เงินฝาก
123.    deposit in transit    เงินฝากระหว่างทาง
124.    deposit money    เงินมัดจำ
125.    depreciate    ค่าเงินอ่อนตัว
126.    digital cash  เงินดิจิทัล
127.    discount    เงินสด
128.    disposable income    รายได้สุทธิ
129.    dividend    เงินปันผล
130.    dividend per share    เงินปันผลต่อหุ้น
131.    dividend yield    อัตราผลตอบแทนของหุ้น
132.    dividend, bonus    เงินปันผล
133.    doubtful accounts    หนี้สงสัยจะสูญ
134.    doubtful debt    หนี้สงสัยจะสูญ
135.    draft   ดราฟต์, ตั๋วแลกเงิน, ฉบับร่าง
136.    due debt    เงินค้างชำระ
137.    durable goods (durables)    สินค้าคงทน
138.    dutiable goods    สินค้าที่จะต้องเสียภาษี
139.    earned income    เงินรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ
140.    earnest    เงินมัดจำ
141.    earnings per share (EPS)    กำไรสุทธิต่อหุ้น
142.    emoluments    ค่าตอบแทน เช่น ค่าทนายความ ค่าแพทย์
143.    entertainment allowance    ค่าเบี้ยเลี้ยง
144.    entertainment expenses    ค่ารับรอง
145.    equity capital    เงินทุนหุ้นสามัญ
146.    excess profit    เงินกำไรส่วนเกิน
147.    exchange rate    อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา
148.    excise tax    ภาษีสรรพสามิต
149.    exempt income    เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษ
150.    expenditure tax    ภาษีเงินรายจ่าย
151.    expenditure, outlay    เงินรายจ่าย
152.    expense account    บัญชีรายจ่าย
153.    expense ratio    อัตราส่วนระหว่างรายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ
154.    expenses    ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
155.    export credit    สินเชื่อเพื่อการส่งออก
156.    extended credit    สินเชื่อที่ได้ขยายเวลาออกไปเกินกว่าเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
157.    external debt    หนี้สินภายนอกของบริษัทธุรกิจซึ่งรวมเงินกู้จากสถาบันการเงิน, หนี้ซึ่งเป็นเงินกู้ต่างประเทศของประเทศหนึ่ง
158.    extraordinary dividend    เงินปันผลพิเศษ
159.    fictitious assets    ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน
160.    finance    การจัดหาเงิน,การเงิน,แหล่งเงินทุน
icphysics:
   
161.    finance bill    ร่างกฎหมายงบประมาณแผ่นดิน
162.    finance house; hire purchase company    บริษัทธุรกิจเช่าซื้อ
163.    finance market; financial market    ตลาดการเงิน
164.    finance rate    อัตราดอกเบี้ยซึ่งรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการกู้เงินทั้งหมด
165.    financial analysis    การวิเคราะห์ทางการเงิน
166.    financial paper  เอกสารการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น
167.    financial ratio    อัตราส่วนทางการเงิน
168.    financial statement    งบการเงิน
169.    financial support    ความช่วยเหลือทางการเงิน
170.    fixed assets    สินทรัพย์ถาวร
171.    fixed capital    ทุนคงที่
172.    fixed charges    ค่าใช้จ่ายประจำ
173.    fixed costs    ต้นทุนคงที่
174.    fixed deposit    เงินฝากประจำ
175.    fixed expenses ค่าใช้จ่ายถาวร เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า
176.    fixed income    รายได้คงที่
177.    fixed liability    หนี้สินคงที่
178.    fluctuating system    ระบบเงินสดย่อยที่มิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน
179.    foregift    เงินจ่ายล่วงหน้า
180.    foreign borrowings    เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
181.    foreign currency    เงินตราต่างประเทศ
182.    freightage    ค่าระวาง
183.    functional finance    การคลังเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
184.    funds    เงินทุน
185.    gain    กำไร
186.    general expenses    ค่าโสหุ้ย
187.    general ledger    สมุดบัญชีแยกประเภท
188.    goods    สินค้า
189.    grant-in-aid    เงินอุดหนุน
190.    gratuity    เงินรางวัล, เงินบำเหน็จ,ค่าตอบแทน
191.    grose working capital    เงินทุนหมุนเวียนรวม
192.    gross income    รายได้ขั้นต้น
193.    gross margin    อัตรากำไรเบื้องต้น
194.    gross proceeds    เงินรายรับทั้งหมดจากการขาย
195.    gross profit    กำไรเบื้องต้น
196.    gross sales    จำนวนเงินยอดขายทั้งสิ้น
197.    group discount    ส่วนลดพิเศษให้กับการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากหรือใช้บริการมาก
198.    guarantee deposit    เงินวางประกัน
199.    hidden tax    ภาษีซึ่งรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือค่าบริการ
200.    honorarium    เงินสมนาคุณ


201.    hush-money    เงินค่าปิดปาก
202.    imprest system    ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน
203.    income    รายได้, เงินได้
204.    income statement    งบกำไรขาดทุน
205.    indemnity    เงินค่าชดเชย
206.   
indirect cost
   ทุนการผลิตทางอ้อม
207.    indirect expenses    ค่าใช้จ่ายทางอ้อม
208.    indirect labour    ค่าแรงทั่วไป
209.    indirect liability    หนี้สินทางอ้อม
210.    inflation    เงินเฟ้อ
211.    installment    เงินผ่อน
212.    intangible assets    สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน
213.    interest    ดอกเบี้ย
214.    interest-bearing notes    ตั๋วมีดอกเบี้ย
215.   
interim dividend
   เงินปันผลระหว่างกาล
216.    intermediate term financing    แหล่งเงินทุนระยะปานกลาง
217.    investment banking    การธนาคารเพื่อการลงทุน
218.    investment fund    เงินลงทุน
219.    investment income    รายได้จากการลงทุน
220.    invisible income    เงินได้กำบัง
221.    issued capital    ทุนหุ้นสามัญ
222.    issued shares    หุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว
223.    legal capital    ทุนจดทะเบียน
224.    legal reserve    เงินสำรองตามกฎหมาย
225.    legal tender    เงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
226.    liabilities    หนี้สิน
227.    life annuity    เงินปีตลอดชีพ
228.    life income    รายได้ตลอดชีพ
229.    liquid assets    สินทรัพย์คล่องตัว หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียน
230.    loan capital    ทุนกู้ยืม
231.    long-term debt    เงินกู้ระยะยาว
232.    long-term financing    แหล่งเงินทุนระยะยาว
233.    long-term investment    เงินลงทุนระยะยาว
234.    long-term liabilities    หนี้สินระยะยาว
235.    manufacturing cost    ต้นทุนการผลิต
236.    margin    กำไรเบื้องต้น
237.    marketable securities    หลักทรัพย์ชั่วคราว
238.    marketing budget    งบประมาณทางการตลาด
239.    master budget    งบประมาณหลัก
240.    maturity bonus    เงินปันผลครบกำหนด
icphysics:
   
241.    maturity date    วันครบกำหนดชำระเงิน
242.    milled money    เงินเหรียญกษาปณ์
243.    money    เงิน, เงินตรา
244.    money circulation    เงินหมุนเวียน
245.    multiple banking    การธนาคารเอนกประสงค์
246.   
national currency
   เงินตราของชาติ
247.    national expenditure    รายจ่ายประชาชาติ
248.    national income    รายได้ประชาชาติ
249.    net asset value    มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
250.    net assets    สินทรัพย์สุทธิ
251.    net debt    หนี้สินสุทธิ
252.    net income    เงินได้สุทธิ
253.    net income after tax    กำไรสุทธิหลังหักภาษี
254.    net interest    ดอกเบี้ยสุทธิ
255.   
net loss
   การขาดทุนสุทธิ
256.    net margin    กำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
257.    net operating income    กำไรสุทธิ ใช้โดยธนาคารเป็นผลกำไรการดำเนินการโดยยังไม่รวม
ผลกำไร หรือขาดทุนจากการค้าหลักทรัพย์หรือ
เงินสำรองหนี้สูญและ ยังไม่รวมภาษี
258.    net proceeds    เงินจำนวนสุทธิ
259.    net profit    กำไรสุทธิ กำไรจากการปฏิบัติการหลังหักภาษีเงินได้แล้ว
260.    net receipts    รายรับสุทธิ
261.    net sales    ยอดขายสุทธิ
262.    net working capital    เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ
263.    noninterest-bearing notes    ตั๋วไม่มีดอกเบี้ย
264.    notes payable    ตั๋วเงินจ่าย
265.    notes receivable    ตั๋วเงินรับ
266.    old-aged pension    เงินบำนาญ
267.    on credit    (ซื้อ) เงินเชื่อ
268.    operating income    รายได้จากการดำเนินงาน
269.    operating budget    งบประมาณในการดำเนินงาน
270.    operating cost    ต้นทุนการดำเนินงาน
271.    operating expenses    ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าโสหุ้ย
272.    operating profit    กำไรจากการดำเนินงาน
273.    opportunity cost    ต้นทุนค่าเสียโอกาส
274.    ordinary share    หุ้นสามัญ
275.    other assets    สินทรัพย์อื่น
276.    other income    รายได้อื่น ๆ
277.    other liabilities    หนี้สินอื่น
278.    other receivables    ลูกหนี้อื่น
279.    outgoings    เงินค่าใช้จ่าย
280.    outlay    ต้นทุนค่าใช้จ่าย
icphysics:
   
281.    outstanding claims reserve    เงินสำรองค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
282.    outstanding shares    หุ้นที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้น
283.    overdraw    เบิกเงินเกินบัญชี
284.    pay back    จ่ายคืน, ใช้หนี้
285.    paycheck    เช็คเงินเดือน
286.   
per capital income
   รายได้ต่อบุคคล
287.    performance budget    งบประมาณแบบแสดงผลงาน
288.    personal income    รายได้ส่วนบุคคล
289.    personal property    ทรัพย์สินส่วนบุคคล
290.    petty cash    เงินสดย่อย
291.    petty cash payment slip    เงินสดย่อยที่จ่ายตามใบเบิกเงิน
292.    preferred stock    หุ้นบุริมสิทธิ
293.    premium income    รายได้จากเบี้ยประกันภัย
294.    prepaid expense    ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
295.   
principal (of a loan)
   เงินต้น
296.    proceeds of auction    เงินรายได้จากการขายทอดตลาด
297.    production cost    ต้นทุนการผลิต
298.    profit    กำไร
299.    profitability    อัตราผลกำไร
300.    programme budgeting    งบประมาณแบบแสดงแผนงาน
301.    project budget    งบประมาณโครงการ
302.    promissory note    ตั๋วสัญญาใช้เงิน
303.    pubic revenue    รายได้แผ่นดิน, รายได้สาธารณะ
304.    public finance    การคลังสาธารณะ, การคลัง
305.    public money    เงินกองกลาง
306.    public utilities    ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า รถประจำทาง
307.    purchase money    เงินชำระราคาบางส่วน
308.    purchase price    ราคาซื้อ
309.    purchase tax    ภาษีซื้อ
310.    purchases    ซื้อสินค้า
311.    purchases discounts    ส่วนลดรับ
312.    purchases returns    ส่งคืน
313.    ready money    เงินสด
314.    real money    เงินตราโลหะ
315.    realized profit (loss)    กำไร (หรือขาดทุน)
316.    relief fund    เงินสงเคราะห์
317.    remuneration    เงินค่าตอบแทน เงินจ่ายให้เป็นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าจ้าง
318.    reserve    เงินสำรอง
319.    reserve capital    ทุนสำรอง
320.    reserve fund    ทุนสำรอง
icphysics:
   
321.    retain earning statement    งบกำไรสะสม
322.    retained earnings    กำไรสะสม
323.    retirement pay    เงินบำเหน็จ
324.    returnable deposits    เงินมัดจำที่ต้องจ่ายคืน
325.    revenue    รายได้
326.   
revenue expenditure
   รายจ่ายที่หักจากรายได
327.    revenue or income    รายได้
328.    revolving fund    เงินหมุนเวียน
329.    salary    เงินเดือน
330.    salary in proctising period    เงินตกเบิก
331.    sales    ขายสินค้า
332.    sales discounts    ส่วนลดจ่าย
333.    sales returns    รับคืน
334.    savings deposit    เงินออม
335.   
security money
   เงินประกัน
336.    short-term capital    เงินทุนระยะสั้น
337.    short-term financing    แหล่งเงินทุนระยะสั้น
338.    short-term liabilities    หนี้สินระยะสั้น
339.    short-term loan    เงินกู้ระยะสั้น
340.    short-term notes payable    ตั๋วจ่ายเงินระยะสั้น
341.    silver    เงิน
342.    sinking fund    เงินทุนสำรองเพื่อชำระหนี้
343.    sovings deposit    เงินสะสม
344.    specie    เงินตราโลหะ, เหรียญกษาปณ์
345.    stake    เงินเดิมพัน
346.    stated capital    ทุนเรือนหุ้น, ทุนตามกฎหมาย
347.    statement of change of financial posiiion    งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน
348.    subsidy    เงินส่วนเพิ่ม
349.    sum insured    เงินเอาประกันภัย
350.    surplus    เงินส่วนเกิน
351.    tangible assets    สินทรัพย์ที่เป็นตัวตน เช่น อาคาร เครื่องจักร
352.    tax    ภาษี
353.    temporary investment    เงินลงทุนชั่วคราว
354.    tight money    เงินตึง
355.    total assets    สินทรัพย์รวม
356.    trade creditor    เจ้าหนี้การค้า
357.    trade debtor    ลูกหนี้การค้า
358.    trade discount    ส่วนลดการค้า
359.    transportation-in    ค่าขนส่งเข้า
360.    transportation-out    ค่าขนส่งออก
361.    treasury reserves    เงินคงคลัง
362.    treasury shares    หุ้นที่บริษัทถือเอง
363.    unappropriated    กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร
364.    unissued shares    หุ้นที่ยังมิได้จำหน่าย
365.    unsecured loan    เงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน
366.    value added tax (VAT)    ภาษีมูลค่าเพิ่ม
367.    variable working capital    เงินทุนหมุนเวียนส่วนผันแปร
368.    vehicle currency    เงินตราหมุนเวียน
369.    warehousing    การคลังสินค้า
370..    working capital    เงินทุนหมุนเวียน


ที่มา http://post.flexthai.com/index.php/topic,86.0/wap2.html

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

การนับคะแนนกอล์ฟ



สำหรับท่านที่มีความสนใจจะหัดเล่นกอล์ฟ เริ่มสนใจดูการถ่ายทอดกอล์ฟรายการต่างๆ หรือเป็นนักกอล์ฟมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการนับคะแนนในการเล่นกอล์ฟนั้น เคยสงสัยไหมครับ ว่า การนับคะแนนกอล์ฟนั้นเขานับกันอย่างไร คำว่าพาร์ โบกี้ เบอร์ดี้ สารพัดคำศัพท์อีกมากมาย มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง

กอล์ฟเป็นกีฬาที่แข่งกันในเรื่องของความผิดพลาด หากใครผิดพลาดน้อยที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะ ดังนั้น การนับคะแนนก็จะต่างกับกีฬาอื่นๆ ที่มักจะแข่งกันทำคะแนน ยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่สำหรับกอล์ฟแล้วจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามครับ คือ หากใครคะแนนน้อยที่สุด กลับเป็นผู้ชนะ สำหรับมือสมัครเล่น หรือ Weekend Golfer ทั่วไป ซึ่งมักจะมีเวลาออกรอบกันเพียงแค่สัปดาห์ละ ครั้งสองครั้ง บ่อยๆหน่อยก็สัก 2-3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆตามสนามต่างๆกันไป คะแนนจึงมีเพียง 18 หลุมสำหรับวันนั้นๆ ในสนามนั้นๆ แต่ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะเอาคะแนนจากทุกวันในการแข่งขันมารวมกัน 3 วันบ้าง 4 วันบ้าง ซึ่งก็แล้วแต่คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะกำหนด แล้วคัดเลือกผู้ชนะจากผู้ที่มีคะแนนจากการเล่นทุกๆวันรวมกันแล้วมีคะแนนน้อยที่สุดไล่ไปตามลำดับครับ

โดยส่วนใหญ่แล้ว สนามกอล์ฟมักจะมีจำนวน 18 หลุม โดยประกอบด้วยหลุมพาร์ 3 จำนวน 4 หลุม หลุมพาร์ 4 จำนวน 10 หลุม และหลุมพาร์ 5 จำนวน 4 หลุม คำว่า พาร์ เป็นศัพท์ที่นักกอล์ฟหยิบยืมมาจากตลาดหุ้น ซึ่งแสดงว่าอยู่ในระดับเดียวกับระดับปกติ ในสมัยแรกเริ่มเดิมทีที่มีกีฬากอล์ฟ ยังไม่มีการกำหนดค่าระดับมาตรฐาน หรือ พาร์ สำหรับจำนวนครั้งในการตีจนกว่าลูกกอล์ฟจะลงหลุมในแต่ละหลุม แต่จะแข่งกันที่ใครตีลูกลงหลุมได้โดยใช้จำนวนการตีน้อยครั้งที่สุดเป็นผู้ชนะ จนในปี คศ.1911 USGA (United States Golf Association) ได้กำหนดระยะมาตรฐานสำหรับความยาวของสนามสำหรับหลุมพาร์ต่างๆดังต่อไปนี้ครับ

ไม่เกิน 225 หลา = พาร์ 3 : ต้องตี 3 ครั้งให้ลูกลงหลุม
225 425 หลา = พาร์ 4 : ต้องตี 4 ครั้งให้ลูกลงหลุม
426 600 หลา = พาร์ 5 : ต้องตี 5 ครั้งให้ลูกลงหลุม
601 หลาขึ้นไป = พาร์ 6 : ต้องตี 6 ครั้งให้ลูกลงหลุม

การที่จะได้คะแนน พาร์ ได้นั้น ผู้เล่นจะต้องตีลูกกอล์ฟให้ลงหลุมได้ภายจำนวนครั้งที่กำหนด โดยที่จำนวนครั้งในการตีเราจะต้องรวมจำนวนการตีทั้งหมดทุก Shot เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การเริ่มเล่น, Shot ต่างๆ ในสนาม, แต้มปรับ(เฉพาะในกรณีที่ทำผิดกติกา) และจำนวนการพัตต์ แล้วจึงนับเป็นคะแนนสำหรับหลุมนั้นๆครับ การตีแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นจากแท่นที จากแฟร์เวย์ หรือการพัตต์ เราจะเรียกรวมๆว่า Strock (สโตรค)
การกำหนดค่าพาร์ของหลุมแต่ละหลุมนั้น โดยปกติแล้วจะกำหนดมาจากจำนวนครั้งที่นักกอล์ฟน่าจะสามารถตีลูกกอล์ฟให้ขึ้นไปออนกรีนได้ รวมกับจำนวนการพัตต์อีก2ครั้ง (หรือ 2 พัตต์) แล้วทำให้ลูกลงหลุม
การที่จะได้ พาร์ ในหลุมพาร์ 3 สำหรับการเล่นโดยปกติ จะเกิดจากการ ตี 1 ครั้งจากแท่นที (Tee Off) ไปออนบนกรีน แล้วพัตต์อีก 2 ครั้งลงหลุม แต่ถ้าเป็นการตี 2 ครั้ง แล้วพัตต์ 1 ครั้งแล้วลูกลงหลุมก็ถือว่าได้พาร์ หรือจะเป็นการตี 3 ครั้งแล้วลูกลงหลุมโดยไม่ต้องพัตต์ก็ถือว่าได้พาร์เช่นกัน
หากเป็นหลุมพาร์ 4 การได้พาร์จากการเล่นโดยปกติ เกิดจากการตีให้ออนกรีนจากการตี 2 ครั้ง (จากแท่นที 1 ครั้ง จากเขตพื้นที่ใดๆในสนาม 1 ครั้ง) แล้วพัตต์จนลูกลงหลุมอีก 2 ครั้ง ทั้งนี้การตีจากพื้นที่ใดๆในสนาม รวม 3 ครั้ง แล้วพัตต์ครั้งเดียวลงหลุม ก็ถือว่าได้พาร์ หรือ การตีลงหลุมด้วยจำนวนการตี 4 ครั้ง โดยไม่ต้องพัตต์ก็จะได้พาร์เช่นกัน
ในหลุมพาร์ 5 นั้น การได้พาร์จากการเล่นโดยปกติ เกิดจากการตีให้ออนกรีนจากการตี 3 ครั้ง (จากแท่นที 1 ครั้ง จากเขตพื้นที่ใดๆในสนาม 2 ครั้ง) แล้วพัตต์จนลูกลงหลุมอีก 2 ครั้ง ทั้งนี้การตีจากพื้นที่ใดๆในสนาม รวม 4 ครั้ง แล้วพัตต์ครั้งเดียวลงหลุม ก็ถือว่าได้พาร์ หรือ การตีลงหลุมด้วยจำนวนการตี 5 ครั้ง โดยไม่ต้องพัตต์ก็จะได้พาร์ หรือในกรณีที่นักกอล์ฟที่เล่นเป็นผู้ที่ตีไกลมากๆ สามารถตีเพียง 2 ครั้งไปออนกรีน แล้วพัตต์ 3 ครั้งถึงจะลงหลุม ก็จะนับคะแนนเป็นพาร์เช่นกัน
ทั้งนี้ การตี 1 ครั้งแล้วขึ้นไปออนกรีนในหลุมพาร์3, การตี 2 ครั้งแล้วขึ้นไปออนกรีนในหลุมพาร์ 4 และการตี 3 ครั้งแล้วลูกขึ้นไปออนกรีนในหลุมพาร์ 5 เราจะเรียกว่า การตีออนกรีนโดยปกติ (Green in Regulation : GIR)

สำหรับการเรียกค่าคะแนนต่างๆในกีฬากอล์ฟ ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ ดังต่อไปนี้

Albatross ใช้เรียกคะแนนที่ต่ำกว่าค่าพาร์ที่กำหนด 3 สโตรค เช่น การตีครั้งเดียวลงหลุมในหลุมพาร์ 4 หรือตี 2 ครั้งลงหลุมในหลุมพาร์ 5 ในบางครั้งอาจจะเรียกว่า Double Eagle ก็ได้ครับ คำว่า Albatross นี้เป็นชื่อของนกทะเลที่ตัวโตมากๆ วัดความกว้างจากปีกข้างหนึ่งไปยังปีกอีกข้างหนึ่งได้ร่วมๆ 4-5 เมตรเลยทีเดียว เปรียบเสมือนความยิ่งใหญ่ของผู้ที่ทำคะแนนนี้ได้ครับ เพราะเป็นคะแนนที่ทำได้ยากมากๆครับ
Eagle ใช้เรียกคะแนนที่ต่ำกว่าค่าพาร์ที่กำหนด 2 สโตรค เช่น การตีครั้งเดียวลงหลุมในหลุมพาร์ 3 หรือตี 2 ครั้งลงหลุมในหลุมพาร์ 4 หรือตี 3 ครั้งลงหลุมในหลุม พาร์ 5 เปรียบเทียบกับความยิ่งใหญ่ของผู้เล่นประดุจพญาอินทรีย์ ในกรณีตีครั้งเดียวลงหลุมสำหรับหลุมพาร์ 3 นั้น จะเรียกอีกอย่างได้ว่า Hole in One ครับ
Birdie ใช้เรียกคะแนนที่ต่ำกว่าค่าพาร์ที่กำหนด 1 สโตรค เช่น การตีลงหลุมในหลุมพาร์ 3 ด้วยการตีเพียง 2 ครั้ง หรือตี 3 ครั้งลงหลุมในหลุมพาร์ 4 หรือตี 4 ครั้งลงหลุมในหลุม พาร์ 5 ผู้เล่นที่ทำคะแนนนี้ได้ เปรียบเสมือนนกที่โบยบินอยู่เหนือผู้เล่นคนอื่นๆ
Par ใช้เรียกคะแนนที่ได้เท่ากับค่าพาร์ที่กำหนดของหลุมนั้นๆ
Bogey ใช้เรียกคะแนนที่ได้เกินพาร์ 1 สโตรค นั่นคือหากได้คะแนนโบกี้แล้วผู้เล่นจะมีภาระที่จะต้องปลดเปลื้องโบกี้นั้นออกไปให้ได้
Double Bogey ใช้เรียกคะแนนที่ได้เกินพาร์ 2 สโตรค หากผู้เล่นได้คะแนนนี้ไป ก็จะมีภาระเพิ่มที่จะต้องปลดเปลื้องหนักยิ่งขึ้น
Triple Bogey ใช้เรียกคะแนนที่ได้เกินพาร์ 3 สโตรค หากผู้เล่นได้คะแนนนี้ไป ก็ยิ่งจะมีภาระเพิ่มที่จะปลดหนักขึ้นไปอีก

แต่ถ้าหากผู้เล่นท่านใดตีเกินจากพาร์มากกว่า 3 สโตรค ก็จะเรียกตามจำนวนสโตรคที่เกินพาร์ไป เช่น เกิน 4, เกิน, 5 เป็นต้น และจะมีศัพท์อีกคำหนึ่ง ที่ใช้สำหรับกรณีที่ตีเกินพาร์ไปอีกเท่าตัวคือ Double Par นั่นคือ ท่านที่ได้คะแนน 6 สโตรคจากหลุมพาร์3, 8 สโตรคจากหลุมพาร์ 4, หรือ 10 สโตรคจากหลุมพาร์ 5

ในการออกรอบ 18 หลุมนั้น สนามโดยส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบละ 9 หลุม โดยจะเริ่มเล่นจากหลุมที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนถึงหลุมที่ 9 เราจะเรียกรอบนี้ว่ารอบ Out ก็คือการที่เราเริ่มเล่นออกไปจาก Club House นั่นเอง ส่วนการเริ่มเล่นจากหลุมที่ 10 ไปจนถึงหลุม18 ซึ่งเมื่อครบ 18 หลุมแล้ว ผู้เล่นจะเดินกลับเข้า Club House เราจะเรียก 9 หลุมหลังนี้ว่า รอบ In ครับ

ตัวอย่างการนับคะแนนและการเรียกชื่อคะแนนในหลุมต่างๆนั้น ผมขอยกตัวอย่างคะแนนในการออกรอบของนักกอล์ฟคนหนึ่ง โดยเป็นการออกรอบ 18 หลุม ตามตารางด้านล่างนี้ครับ






Hole Par Score ชื่อเรียก Hole Par Score ชื่อเรียก
1 4 4 Par 10 5 5 Par
2 5 4 Birdie 11 3 2 Birdie
3 4 3 Birdie 12 4 7 Triple Bogey
4 3 3 Par 13 4 5 Bogey
5 4 4 Par 14 4 4 Par
6 5 5 Par 15 3 3 Par
7 4 6 Double Bogey 16 4 3 Birdie
8 3 4 Bogey 17 5 4 Birdie
9 4 2 Eagle 18 4 4 Par

Total (Out) Par = 36 Score = 35 เรียกว่า 1 Under Par
Total (In) Par = 36 Score = 37 เรียกว่า 1 Over Par
18 หลุม Par = 72 Score = 72 เรียกว่า Square Par หรือ Even Par

ในกรณีเป็นการแข่งขันหลายๆวันติดกัน ผมขอยกตัวอย่างการแข่งขันที่มีจำนวนวันในแข่งขันทั้งหมด 4 วัน ในสนามพาร์ 72 มาเป็นตัวอย่าง โดยจะนำคะแนนในแต่ละวันมารวมกัน ซึ่งจะได้ตามตัวอย่างในตาราง Leader Board ด้านล่างนี้ครับ

Par 72
Player Day 1 Day 2 Day 3 Day 4 Total To Par Position
Sergio Garfield 68 66 68 68 270 - 18 1 st.
Tiger Wood 70 66 68 67 271 - 17 2 nd.
Vijay Singh 70 70 68 66 274 - 14 3 rd.
Davis Love III 68 72 67 67 274 - 14 3 rd.
Luke Donald 72 72 65 66 275 - 13 5 th.

จะเห็นได้ว่า Sergio Garfield ทำคะแนนวันแรก 4 Under Par วันที่สอง 6 Under Par วันที่สาม และวันที่สี่ 4 Under Par เฉือนเอาชนะ Tiger Wood ซึ่งทำคะแนนวันแรก 2 Under Par วันที่สอง 6 Under Par วันที่สาม 4 Under Par และวันที่สี่ 5 Under Par ไปหวุดหวิดเพียง 1 สโตรค ส่วน Singh และ Love ทำคะแนนได้เท่ากัน จึงครองอันดับสามร่วมกัน ทำให้ตำแหน่งอันดับที่ 4 โดนยกเลิกไป และ Donald ครองอันดับที่ 5 เพียงผู้เดียว
ในส่วนของเงินรางวัลในรายการนี้นั้น Garfield, Wood และ Donald ครองเงินรางวัลอันดับที่ 1, 2 และ 5 เพียงผู้เดียวตามลำดับ ส่วนเงินรางวัลของ Singh และ Love จะนำเงินรางวัลของผู้ที่ได้อันดับที่ 3 และ 4 มารวมกัน แล้วแบ่งให้ Singh และ Love เท่าๆ กันครับ ในกรณีที่มีผู้เล่นมีอันดับร่วมกันหลายๆคน ก็จะนำเงินรางวัลตามลำดับเงินรางวัลตามลำดับ เท่ากับจำนวนผู้เล่นที่ได้ลำดับร่วมกันมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนผู้เล่น เช่น หากมีผู้เล่นทำคะแนนได้อันดับ 3 จำนวน 4 คน ก็จะเอาเงินรางวัลอันดับที่ 3, 4, 5 และ 6 มารวมกัน แล้วแบ่งให้ผู้เล่นทั้ง 4 คนเท่าๆ กัน ส่วนผู้ที่ทำคะแนนได้เป็นลำดับถัดไปก็จะข้ามไปนับเป็นผู้เล่นที่อันดับที่ 7 และได้รับเงินรางวัลของผู้ได้อันดับ 7 ครับ

ท้ายที่สุดก่อนที่จะจากกันไปในวันนี้ ผมขอแถมการเรียกชื่อ Shot ต่างๆ ที่ผู้บรรยายกีฬากอล์ฟมักจะใช้บ่อยๆให้ท่านผู้อ่านอีกสักนิดนึงนะครับ ว่าแต่ละ Shot เรียกกันว่าอย่างไรบ้าง

Tee Shot หรือ Tee Off ใช้เรียก Shot ที่ตีจากแท่นตั้งตี ถือเป็นสัญญานการเริ่มเล่นแต่ละหลุมของผู้เล่นแต่ละคน การTee Shot นี้จะมีสิ่งพิเศษกว่า Shot อื่นๆ ตรงที่ผู้เล่น สามารถเลือกได้ว่าจะตีจากพื้น หรือจะวางลูกบน Tee เพื่อให้ลูกลอยพ้นพื้นหญ้าขึ้นมา ซึ่งจะสามารถทำให้ตีได้ง่ายขึ้น โดยจุดที่สามารถวางลูกเพื่อเริ่มเล่นนั้น จะมีหมุดเป็นตัวกำหนด
Lay Up Shot หรือการตีวางตัว ใช้เรียก Shot ที่ผู้เล่นต้องการตีลูกกอล์ฟจากพื้นที่ใดๆในสนาม ให้ลูกกอล์ฟไปอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเล่น Shot ต่อไปได้
Approach Shot ใช้เรียกชอทที่ผู้เล่นต้องการตีลูกกอล์ฟเพื่อให้ไปออนบนกรีน
Chip, Pitch, Lob, Flob, ระเบิดทราย เป็นการเล่น Shot แก้ไขในกรณีเล่น Approach Shot หรือ Tee Off หลุมพาร์3 แล้วลูกกอล์ฟไม่ออนกรีน
Putt คือการตีลูกกอล์ฟด้วยพัตเตอร์เพื่อให้ลูกลงหลุม ในบางครั้งอาจจะใช้ไม้กอล์ฟอันอื่นๆ ที่ไม่ใช่พัตเตอร์ก็ได้


ที่มา http://albump.exteen.com/20060310/entry

บวกลบคูณหารก่อน หรือ คูณหารบวกลบก่อน ????


 
After you have done "B" and "O", just go from left to right doing any "D" or "M" as you find them.
Then go from left to right doing any "A" or "S" as you find them.




จริงๆคือ วงเล็บก่อน --> อื่นๆ(Root ยกกำลัง) --> คูณกับหาร(ซ้ายไปขวา) --> บวกกะลบ (ซ้ายไปขวา)


ตัวอย่าง

4*2/4/4   =   ((4*2)/4)/2  = 1                สังเกต ถ้าคูณกับหารติดกัน ให้ทำ ซ้ายไปขวา เสมอ

4-2*4/4  = 4- ((2*4)/4)  = 2


ที่มา
http://www.mathsisfun.com/operation-order-bodmas.html
http://www.green-planet-solar-energy.com/order-of-operations.html

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

PCM ปะทะ DTS , DTS-HD Master Audio , DTS-HD HiRes, Dolby Digital+ , Dolby TrueHD (bitstream)


File:PCM-vs-DSD.svg
PCM , DTS , DTS-HD Master , Dolby Digital , Dolby TrueHD ทุกอันเป็นรูปแบบไฟล์เสียงชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในแผ่นหนังที่เราดู DVD / Bluray
จะเรียกว่าเป็นสกุลของไฟล์เสียงก็ได้ โดยถ้าเราแกะไฟล์เสียงออกมาจากแผ่นหนัง
เราจะได้ไฟล์เสียงดังนั้น
- บันทึกเสียงมาแบบ PCM ==> ได้ไฟล์ *.wav (หรือ format อื่นๆที่บันทึกมาแล้วแต่โปรแกรม)
- บันทึกเสียงมาแบบ DTS ==> ได้ไฟล์ *.dts
- บันทึกเสียงมาแบบ Dolby ==> ได้ไฟล์ *.ac3



PCM เป็นไง ?
ว่ากันง่ายๆ PCM เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะมันคือไฟล์เดิมๆดิบๆ ขนาดก็ใหญ่สุดๆ
เพราะไม่มีการบีดอัด (หรือ zip compress ) มาเลย
- ข้อดี คือ มันเป็นเสียงที่คุณภาพสูงสุด ไม่มีการสูญเสียคุณภาพ lossless เสียงใสอย่างแท้แน่นอน
- ข้อเสีย คือ เมื่อขนาดมันใหญ่ การจะสตรีมไฟล์ไปยังเครื่องเสียงเพื่อเล่นไฟล์เสียง มันถูกจำกัดด้วย bandwidth ของสายว่า สายส่งได้ไหวไหม
เช่น ถ้าเราใช้สาย coxial หรือ optical เราจะสตรีมได้เพียง PCM 2.1ch 192khz (PCM Stereo)
เพราะแบนวิทของสายสองประเภทนี้มันมากได้สุดแค่นี้

ปัญหาคือ หนังเค้าทำออกมาเสียง 5.1channel หรือ 7.1channel
ครั้นจะใช้รูปแบบเสียง PCM มันก็สตรีมไฟล์ผ่านสายพวกนี้ไม่ได้ ก็เพราะสายมันใหญ่ไม่พอที่จะส่งข้อมูล
เขา(ใครสักคน)เลยคิดค้น การบีบอัดขนาดไฟล์ PCM ให้ขนาดเล็กลงขึ้นมา มันก็เหมือน mp3 นี่แหละ
เพียงแต่มันต้องบีบอัดเสียงที่มี channel เยอะๆเช่น 5.1 หรือ 7.1 ได้ด้วย เพราะจะเอามาใช้กับหนัง
เลยไม่ได้เรียกว่า mp3 เพราะเจ้านั่นมันรองรับแค่ 2channel แค่นั้น
เจ้าฟอร์แมท DTS และ Dolby จึงเกิดขึ้นมา



DTS และ Dolby Digital เป็นไง?
มันก็เป็น format ไฟล์เสียงรูปแบบหนึ่ง
ในยุคแรกๆ เค้าก็เน้นในเรื่องเทคนิคการบีบอัดไอ้เจ้าเสียง PCM นี่แหละให้มันเล็กลง
ซึ่งเล็กลงได้มากๆเลย (เหมือนเรา zip ไฟล์ หรือ rip CD เป็น mp3 น่ะ เล็กหลายเท่าแบบนั้นแหละ)
- ข้อดี คือ มันเล็กไง เล็กมาก ทีนี้ก็สตรีมข้อมูลเสียง 5.1 , 7.1ผ่านสาย coxial , optical ได้ละ ไม่มีปัญหา
- ข้อเสีย คือ การบีบอัดใช้เทคนิคเหมือนๆ mp3 (แต่อาจจะดีกว่าหน่อยหรือเปล่าไม่รู้) มันก็ต้องมีสูญเสียคุณภาพเสียงไปบ้าง
ถ้า หูทองมาฟังอาจจะรับไม่ได้ เสียงมันไม่ใสปิ้ง เครื่องเสียงแพงๆเท่านั้นที่ฟังออกมั้ง เนื่องจากถูกนำมาใช้กับหนัง ไม่ใช้กับเพลง หูทองเลยไม่ค่อยแขวะเท่าไหร่ เพราะพวกนั้นไม่ค่อยดูหนังมั้ง

และ ข้อเสียอีกอัน(ที่ผู้ใช้เจ็บแสบสุดๆ) คือ เมื่อสตรีมได้แล้วก็จริง แต่ไอ้เครื่องเสียงที่รับสัญญาณน่ะก็ต้องรองรับการอ่านไฟล์ dts ,dolby ac3 ได้ด้วยนะจ๊ะ
(หรือเรียกว่า เครื่องเสียงต้องถอดรหัสได้ด้วย เช่นต้องมี logo แปะหน้าเครื่องน่ะแหละ)
มันเลยเป็นจุดขายไง ว่าเครื่องเสียงตัวนั้นตัวนี้รองรับ dts ไหม/รองรับ dolby ไหม...
ซึ่งถ้ามันรองรับแล้วจบแค่นั้น มันก็คงดี....!

แต่ธุรกิจก็คือธุรกิจ...ทีนี้พ่อค้าก็คิดสิ จะทำไงถึงจะขายเครื่องเสียงได้เรื่อยๆล่ะ ก็ออกรูปแบบไฟล์ใหม่ๆมาเรื่อยๆ
ต้องออกแบบให้ เครื่องเก่ามันไม่สามารถอาจถอดรหัสได้ หรือได้แต่ไม่เต็มร้อย
ทีนี้มันก็ออกลูกออกหลาน format ใหม่ๆมาตรึมเลยสิ !!! เช่น
บริษัท Dolby digital ก็ออกลูกเป็น dolby digital plus+ , dolby TrueHD
บริษัท DTS ก็ออกลูกเป็น dts HD , dts HD-HR , dts MasterHD
และก็คงมีตามออกมาอีกเป็นพลวนในอนาคต
(ดีนะ มีแค่สองบริษัท ไม่งั้นเครื่องเสียงคงต้องแปะ logo กันรอบเครื่อง ก็ยังไม่พอ)



DTS-HD Master/HR และ Dolby TrueHD เป็นไง ?
ก็อย่างที่บอก มันคือลูกหลานของ dts และ dolby digital น่ะแหละ
แต่ก็พัฒนาขึ้น (แต่จริงๆผมว่ามันไม่ได้พัฒนาเลยต่างหาก)

มาดูในแง่การพัฒนา คือ การบีบอัดไฟล์เสียงให้ขนาดเล็กลง แต่ไม่ให้คุณภาพสูญเสียเหมือนกับในระบบยุคแรกๆ
(เค้าเรียกว่า lossless หรือก็เหมือนการ zip ไฟล์ - แต่ไม่เหมือน mp3 ละนะ...อันนี้จะเหมือนไฟล์ flac เลยก็ว่าได้)
...แง่ที่ผมว่ามันไม่พัฒนา คือ มันก็แค่บีบให้เล็กลง โดยไม่ไปแตะต้องตัวไฟล์เลย
ก็ทำนองบีบ zip ไว้เฉยๆ (เหมือนเอา winzip winrar มาบีบไฟล์น่ะแหละ พอคลายออกมาก็เหมือนเดิม)
- ข้อดี คือ คุณภาพเสียงเต็ม 100% คุณภาพเหมือน PCM เลยแหละ เสียงใสปิ้งๆๆ และ ขนาดก็เล็กกว่า PCM
- ข้อเสีย คือ ขนาดมันเล็กลงจริง แต่ดันไม่ได้เล็กลงมากพอที่จะส่งผ่านสาย coxial , optical ได้อีกแล้วน่ะสิ !
และที่สำคัญคือ " it's a ธุรกิจ - เชิญกลับไปอ่านด้านบนเลย...อยากฟังเสียงดี ตรูต้องซื้อเครื่องเสียงใหม่ที่รองรับระบบใหม่อีกละ "




แต่ๆๆๆๆ......การมาของ DTS-HD , DolbyTrueHD มันก็ไม่ได้เสียเปล่า
เพราะมันช่วยกระตุ้นการพัฒนาสายสัญญาณ HDMI ซึ่งมาแทนที่สาย coxial , optical
ว่าง่ายๆคือสาย HDMI ณ ตอนนี้มันมีแบนวิทสูงปรี้ดดด และยังสามารถพัฒนาต่อเรื่อยๆ ยังไม่จบ
ตอนนี้ก็พัฒนาสายถึง version 1.4a ที่สามารถส่งไฟล์แบนวิทสูงๆได้มากกว่า HDMI ver.ยุคแรกๆหลายเท่าทวีคูณ
ฉะนั้นการจะสตรีมข้อมูลไฟล์เสียง DTS-HD , DolbyTrueHD ก็จะต้องใช้สาย HDMI เท่านั้นนี่แหละ



มาถึงตรงนี้หลายๆคนคงลืม PCM ไปแล้วหรือเปล่าไม่รู้ !!!
อาจเพราะการโฆษณาทำให้เราหน้ามืดตามัวไปกับแสงสี ที่ปิดหูปิดตา ปิดจนเราไม่รับรู้ว่าอะไรคืออะไร
และจนลืมไปว่า ที่สุดของที่สุดมันคือไฟล์ PCM นะเฟร้ย ไม่ใช่ใครอื่น
ซึ่งไอ้ HDMI ณ บัดนาว มันก็มีแบนวิทมากพอที่จะส่งไฟล์ PCM 7.1channel 192khz ขนาดมหึมา ได้แล้ว!!
อ้าว งั้นตรูหันมาใช้ PCM นิยายมันก็จบละสิ ?....จริงๆมันก็น่าจะจบแบบนั้นแหละ แต่ธุรกิจมันก็คือธุรกิจ

ด้วยความโชคดีที่เครื่องเสียงเกือบร้อยทั้งร้อยมันดันอ่าน PCM ได้มาช้านานแล้ว (แต่หลายคนไม่รู้ หรือไม่เคยได้สนใจ)
ครั้นจะตัดออก ก็ไม่ได้ เพราะมันคือรูปแบบหลัก
ทีนี้ถ้าเครื่องอ่านแผ่นหรืออ่านไฟล์มันสามารถถอดรหัส dts , dolby เป็น PCM ได้
มันก็หมดปัญหา นิยายก็จบ ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องเสียงบ่อยๆๆๆๆ
ใช้กันยาวๆ เปลี่ยนแค่เครื่องเล่นไม่กี่พัน ก็พอ

พ่อค้าก็หาทางพยายามไม่ให้เครื่องอ่านแผ่นหนัง เครื่องเล่นไฟล์หนัง ถอดรหัสเสียงเป็น PCM แบบหลายๆ channel ได้
หลายๆเครื่อง(Brandname เกือบทั้งหมด) จะจำกัดไว้ให้ถอดเป็น PCM ได้ แต่ได้แค่ stereo 2ch.
หรือบางเครื่องสตรีมไปเครื่องเสียงได้อย่างเดียว ถอดรหัสเป็น PCM เองไม่ได้
คนรวยแต่ไม่รู้เรื่อง ก็เลยต้องอัพเกรดกันต่อไป อัพทั้งเครื่องเล่น อัพทั้งเครื่องเสียง อัพเกรดกันจนตายไปอีกสิบชาติน่ะแหละ



ถึงตรงนี้ ผมเชื่อว่าถ้าเราเข้าใจมัน ก็น่าจะพอนึกออกว่า การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดมันก็มีอยู่นะ เช่น....
1. เครื่องเสียง(AVR) จริงๆจะใช้รุ่นไหนก็ได้ ขอแค่ให้รองรับ PCM แบบ Multichannel 5.1 หรือ 7.1 ได้ เท่านี้ก็พอ ไม่ต้องไปสนใจ logo มากมายก่ายกองบนเครื่อง
(รุ่นต่ำสุดๆๆๆๆ มันก็ทำได้หมดน่ะแหละ เพราะมันคือ มาตรฐานทั่วไปไง ไม่ต้องดูรุ่นแพงเลย)

2. เครื่องอ่านแผ่น /อ่านไฟล์ หาซื้อเครื่องที่มันสามารถถอดรหัส dts,dolby(ทั้งโครต) เป็น PCM ได้ในตัวมันเอง (ไม่ใช่แค่ stream นะ)
ส่วนใหญ่มันจะทำได้แค่ stream หรืออย่างดีก็ถอดได้ แต่ได้แค่ PCM 2ch. แบบนี้ไม่เอานะ
แนะนำเครื่อง(จีน)ที่อัพ firmware ลงโปรแกรมได้น่ะ น่าใช้ เพราะมันใช้ software ถอดรหัสทั้งนั้นแหละ ต้นทุนมันต่ำ

3. หรือไม่ก็ซื้อเป็นคอมพิวเตอร์ หรือ HTPC หรือ notebook ไปเลย
เอาที่มันมีการ์ดจอ + มีช่อง HDMI
(ไม่ต้องไปสนใจด้วยว่าจะสตรีม dts dolby ตัวไหนได้บ้าง เพราะเราจะสตรีม PCM กัน)
จากนั้น ก็ลง้โปรแกรมดูหนังที่ถอดรหัส (ซึ่งมีเยอะแยะมากมาย เช่น ffdshow , LAV decoder) ถอดรหัส dts,dolby(ทั้งโคตร) เป็น PCM
(อยาก แนะนำข้อนี้ มันคุ้มกว่าข้อ 2. เพราะเราอัพเกรดได้ เสียเงินแล้วคุ้ม และซอฟแวร์ก็ฟรีมากมาย ลูกเล่นมากมายก่ายกองกว่าเครื่องเล่นสำเร็จรูปราคาแพงๆเสียอีก เอามาทำงาน เล่นเวบ ก็ได้ด้วย)


Faq ยอดฮิต.?
========
Q. เค้าว่าการทำ Bitstream(dts,dd) เสียงดีกว่าแบบ PCM จิงป่ะ ?
A. มันก็เหมือนกันนะแหละ ที่ทำอยู่เนี่ย มันเป็นการส่งไฟล์ดิจิตอล ให้เครื่องเสียงมันอ่านเว้ย!
จะเลือกส่งแบบ dts , dolby , pcm มันก็ต้องส่งแบบ bitstream (คือ สตรีมข้อมูล data ทั้งนั้น)
เป็น 10011001100 = digital เหมือนกัน (ไม่ใช่ส่งเป็นเสียงอนาล๊อก)
มันจะต่างกันก็แค่ ใครจะคลายไฟล์ dts , dolby ระหว่าง...
- ให้เครื่องเสียงที่มันรองรับ dts dolby คลาย zip(ภาษาพ่อค้า = ถอดรหัส)....หรือ
- ให้โปรแกรมในคอมคลายไฟล์ แล้วส่งไฟล์เสียง pcm ไปให้เครื่องเสียงอ่าน (เครื่องเสียงไม่ต้องเหนื่อย)
* ซึ่งตอนช่วงที่คลายไฟล์ออก (ถอดรหัส=decode) มันก็ยังไม่ได้อ่านเป็นเสียงนะ มันแค่คลายไฟล์ที่บีบอัดไว้ออกมาเป็น ไฟล์ PCM ก่อน...แล้วจึงมาอ่าน pcm อีกขั้นตอนหนึ่ง

สุดท้ายตัวที่อ่านไฟล์ PCM =========> มันก็เครื่องเสียงอยู่ดี
แล้วคุณภาพเสียงมันจะต่างกันได้ไหมล่ะ
(ในทางทฤษฎี ที่จะต่างบ้าง คือ ความเร็วเสียง ใครจะทำได้ไวกว่ากัน อันนี้ต้อง sync ภาพ/เสียง เทียบดูเอง
แต่ที่ผมลองมา ยังไม่มีปัญหา ทั้ง cpu ในเครื่องเสียง หรือ cpu ในคอมพิวเตอร์ ยังเร็วเหลือเฟือ ไม่มีเสียง delay ให้เจอ)


*** เทียบง่ายๆ เอากระดาษเขียนคำว่า " สุดสวย " ส่งให้อ่าน // กับ เอากระดาษเขียนคำว่า " สุดสวย" แล้วพับเล็กๆแล้วส่งให้เปิดอ่าน.......

คนเปิดคลี่กระดาษคนละคน-แต่คนอ่านคนเดียวกัน คิดว่าคนอ่านมันจะอ่านเป็น สุดหล่อ ไหมวะครับ/***



อ้างอิง : google.com ค้นคำว่า "bitstream vs linear pcm"
อ่านแล้ววิเคราะห์กันดูว่า ที่ผมพูดมาน่ะจริงไหม


จบ.....นิยาย HI-DEF Audio
เขียนโดน NUTHPLAYER

ที่มา  
http://www.bloggang.com
http://en.wikipedia.org/wiki/Direct_Stream_Digital

ระบบเสียงต่างๆที่ควรรู้



DTS HD Master Audio
เป็น ระบบเสียงรอบทิศทางสำหรับ Blu-ray และ HD DVD รองรับสูงสุด 8 แชนแนล ให้ bit rate สูงสุดถึง 24.5 Mbit/s ในแผ่น Blu-ray และสูงสุดถึง 18.0 Mbit/s ในแผ่น HD DVD และสามารถเล่นในระบบ 2 แชนแนลที่ 192 kHz หรือเล่นได้สูงสุด 8 แชนแนล ที่ 96kHz/24 bit

DTS 96/24
เป็นการถอดรหัสเสียง 5.1 แชนแนล ที่ 96kHz/24 bit โดยจะสามารถส่งในแบบ 2 แชนแนลที่ 96 kHz/24 bit เท่านั้น ซึ่งใช้ในระบบ DVD-Video

DTS-ES (DTS Extended Surround)
แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ DTS-ES Matrix และ DTS-ES Discrete 6.1ขึ้นอยู่กับว่าระบบเสียงได้บันทึกมาในลักษณะใด และใช้ในระบบ DVD-Video

DTS-ES Matrix เป็นระบบเสียงที่บันทึกรวม Surround Back ลงไปในสัญญาณเสียง แล้วค่อยทำการถอดรหัส ซ้าย-ขวา จึงทำให้ระบบเสียงรอบทิศทางไม่เป็นไปอย่างอิสระ แต่ก็สามารถสสร้างเสียงรายล้อมได้ดีกว่าแบบ DTS

DTS-ES Discrete เป็นระบบเสียงที่ถูกบันทึกแบบรอบทิศทาง โดยการแยกข้อมูลเสียงในส่วนของ Surround Back แบบอิสระ ทำให้เสียงรอบทิศทางที่ได้ยินมีความคมชัด

DTS
เป็น มาตรฐานของระบบเสียง ดิจิตอล เซอร์ราวนด์ มัลติ-แชนแนล ส่งสัญญาณเสียงรอบทิศทางในแบบ 5.1 แชนแนล โดยการส่งผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF และ HDMI ใช้กับระบบ DVD-Video

DTS Neo:6
เป็นระบบเสียงที่จำลองเสียงสเตอริโอให้เป็นระบบเสียงรอบทิศทางในแบบ 5.1 หรือ 6.1 แชนแนล

Dolby TrueHD
เป็น ระบบเสียงรอบทิศทางสำหรับ Blu-ray และ HD DVD รองรับสูงสุด 14 แชนแนล ให้ bit rate สูงสุดถึง 18.0 Mbit/s ในแผ่น Blu-ray และ HD DVD (แต่ Blu-ray และ HD DVD ให้ช่องสัญญาณมากสุดได้ 8 แชนแนล )

Dolby Digital EX
เป็นระบบเสียงที่คล้ายกับ Dolby Prologic โดยเพิ่มการทำ matrix เสียง center ด้านหลัง ขยายช่องสัญญาณได้มากถึง 6.1 หรือ 7.1 แชนแนล

Dolby Digital Surround EX
เป็น Cinema Version ของระบบเสียง Dolby Digital EX ซี่งนำมาใช้กับโรงภาพยนตร์และชุดโฮมเธียเตอร์ โดย Dolby ทำการพัฒนาร่วมกับ Lucasfilm THX หลักการคือการนำสัญญาณเสียง 5.1 และเพิ่มช่องสัญญาณเสียงเข้าไป โดยการแทรกสัญญาณเสียง Center ด้านหลัง เข้ากับสัญญาณ Left Surround และ Right Surround จากนั้นจึงทำการ matrix สัญญาณเพิ่มขึ้นมา โดยไม่สูญเสียคุณภาพเสียง และเล่นได้ในระบบ 5.1 หรือ 6.1 และ 7.1 ใช้กับระบบ DVD-Video


Dolby Digital
เป็น มาตรฐานของระบบเสียง ดิจิตอล เซอร์ราวนด์ มัลติ-แชนแนล ส่งสัญญาณเสียงรอบทิศทางในแบบ 5.1 แชนแนล โดยการส่งผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF และ HDMI ใช้กับระบบ DVD-Video

Dolby Digital Plus

เป็น ระบบเสียงที่พัฒนามาต่อจาก Dolby Digital โดยการเพิ่ม bit rate เป็น 6.144 Mbit/s และเพิ่มช่องสัญญาณเสียงขึ้นเป็น 13.1 แชนแนล มีใช้ในระบบ HD DVD เท่านั้น

Dolby Pro Logic II
เป็นระบบเสียงที่จำลองเสียงสเตอริโอให้เป็นระบบเสียงรอบทิศทางในแบบ 5.1 แชนแนล

Dolby Pro Logic IIx
เป็นระบบเสียงที่จำลองเสียงสเตอริโอและระบบเสียงรอบทิศทางแบบ 5.1 แชนแนล ให้เป็นระบบเสียงรอบทิศทางในแบบ 6.1 และ 7.1 แชนแนล

Dolby Pro Logic IIz
เป็นระบบเสียงที่จำลองเสียงสเตอริโอและระบบเสียงรอบทิศทางแบบ 5.1/7.1 แชนแนล ให้เป็นระบบเสียงรอบทิศทางในแบบ 7.1 และ 9.1 แชนแนล


ที่มา http://mede8erthai.com/forum/index.php?topic=1888.0