วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไซ เตส (CITES)




ไซ เตส (CITES) คือ อนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายในการควบคุมไม่ให้การค้าสัตว์ป่าและ พืชพรรณระหว่างประเทศเป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของสัตว์ป่าและพืชพรรณใน ธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าและพืชพรรณที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ และดำรงไว้เพื่อสืบพันธุ์ต่อไป ข้อตกลงครั้งนี้ได้ร่วมกันลงนามเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1973 ณ กรุงวอชิงตัน และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1975 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมโครงการกว่า 170 ประเทศ ทั่วโลก

อนุสัญญา ไซเตสมีรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นแกนนำการจัดตั้ง สำนักงานตั้งอยู่ ที่กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP) เป็นผู้ดำเนินการบริหารงานอนุสัญญานี้อีกด้วย
เพื่อ ต้องการเข้าร่วมสนธิสัญญาครั้งนี้ ประเทศไทยเองในฐานะที่เป็น ภาคีสมาชิกจะต้องมีมาตรการภายในประเทศที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายให้ เป็นไปตามอนุสัญญา จำเป็นต้องเรียนรู้และนำเอาตัวบทกฎหมายที่บัญญัติถึงข้อลงโทษมาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวของกับการนำเข้าส่งออกอย่างกรม ศุลกากร
อนุสัญญาไซเตสดำเนินงานอย่างไร?
ไซ เตสดำเนินงานเพื่อบรรลุจุดหมายเพื่อการควบคุมการนำเข้าส่งออก หรือส่งผ่านตัวอย่างชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชพรรณที่ระบุไว้ในตามอนุสัญญาไซ เตส โดยแต่ละประเทศสมาชิกจะได้รับอำนาจตามอนุสัญญานี้เพื่อปฏิบัติให้บรรลุวัตถุ ประสงค์
ชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ไซเตสควบคุมจะระบุไว้ในบัญชี 3 ประเภท คือ หมายเลข 1, 2 และ 3 ของอนุสัญญา โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
ชนิดพันธุ์
ประเภท
ข้อตกลงอนุญาต
บัญชีที่ 1
สัตว์ป่าหรือพืชพรรณที่ใกล้จะสูญพันธุ์
ต้องได้รับการยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตให้
บัญชีที่ 2
สัตว์ป่าหรือพืชพรรณที่มีแนวโน้มใกล้จะสูญพันธุ์อนุญาตให้ค้าขายได้แต่ ต้องมีการควบคุม
การส่งออกต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศที่ส่งออกหรือส่งผ่าน
บัญชีที่3
สัตว์ป่าหรือพืชพรรณที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศหนึ่ง และขอความร่วมมือของประเทศภาคีช่วยกันดูแล
การส่งออกต้องได้รับการอนุญาตและมีหนังสือรับรองจากประเทศกำเนิด
กฎเกณฑ์และการอนุญาตการส่งออกและนำเข้า
ใน ทางการค้า บางครั้งย่อมต้องมีการค้าขายสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า หรือแม้แต่สัตว์หรือพืชป่าที่จำเป็นต้องได้รับการควบคุมจากสนธิสัญญาระหว่าง ระหว่างประเทศ การนำเข้าส่งออกอาจต้องใช้ใบอนุญาต ส่งออกนำเข้า หรือส่งผ่านให้ถูกต้องตามกฎหมาย


ที่มา http://www.lcbcustoms.net

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

เพวเทีย (Peltier) คืออะไร?




           เพวเทีย (Peltier) คืออะไร? ..... เพวเทีย คูลเลอร์ (Peltier Cooler) เป็นระบบการระบายความร้อนโดยการใช้ Peltier Element ซึ่งขอใช้นิยามศัพท์คำว่า"Heat Pump" ก็ละกัน เจ้าเพวเทียนี้จะทำหน้าที่ปั๊มความร้อนจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่า เพวเทีย จะมีด้านหนึ่งที่เย็น (ด้านที่ถูกปั๊มความร้อนออกไปอีกด้าน) และอีกด้านหนึ่งที่ร้อน (ด้านที่ถูกปั๊มความร้อนออกมา) ฟังดูงงๆ มั้ยครับ การทำงานของ เพวเทียนี้ อาศัยกระแสไฟฟ้าค่อนข้างมาก การปั๊มความร้อนจึงได้ผลที่ไม่ค่อยจะงดงามมากนัก คือ ด้านร้อน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น มากกว่าอุณหภูมิของด้านเย็นที่ลดลงไป อันเนื่องมาจากการใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าอันมหาศาลเกินตัวของมันนั่นเอง แต่... มันก็ไม่ได้ฟังดูแย่อย่างที่คิดหรอกครับ เนื่องจาก เพวเทีย นั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอในการที่จะทำให้ด้านเย็น อุณหภูมิติดลบได้ง่ายๆ เลย และก็เหมาะแก่การนำมาใช้ในวงการโอเวอร์คล๊อกแบบบ้าระห่ำ ไม่เหมาะแก่การเอาไปใช้งานจริงซักเท่าไหร่ (เว้นแต่ติดตั้งได้ดีจริงๆ) โดยปกติแล้ว เพวเทีย จะมีความสามารถในการปั๊มความร้อนให้ทั้ง 2 ด้านมีอุณหภูมิแตกต่างกันประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส หรือในเพวเทียคุณภาพสูงๆ อาจทำให้ต่างได้ถึง 120 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว..
อันตรายและข้อควรระวังในการใช้เพวเทีย
           เนื่องจากเพวเทียมีประสิทธิภาพสูงในการที่จะทำให้อุณหภูมิลดลงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการกินกระแสไฟฟ้ามาก แน่นอนว่าต้องมีความอันตรายตามมา ดังนั้น ผู้ที่คิดจะใช้เพวเทีย จึงควรศึกษาให้เข้าใจถึงหลักการทำงาน, วิธีการป้องกันอันตราย และข้อปฏิบัติต่างๆ ให้ดีเสียก่อน ผมขอสรุปปัญหา และข้อควรระวังต่างๆ จากเพวเทีย ไว้ดังนี้



           - ด้านร้อนอุณหภูมิสูงเกินพิกัด (Overheating) ความจริงแล้ว เพวเทียเป็นเพียงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แผ่นบางๆ แผ่นหนึ่งเท่านั้น การจัดการของแต่ละคนกับเจ้าแผ่นบางๆ นี้ก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจใช้ heatsink และพัดลมประสิทธิภาพสูงประกบเข้ากับด้านร้อนของเพวเทีย บางคนอาจใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำมาประกบ ซึ่งบอกไว้ได้เลยว่า ความร้อนที่เกิดขึ้นจากด้านร้อนของเพวเทียนั้น จะมีความร้อนที่สูงกว่าความร้อนที่ซีพียูปล่อยออกมาอย่างแน่นอน (เพราะมันคือความร้อนที่ซีพียูปล่อยออกมา บวกกับ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากเพวเทียเอง) ในกรณีแรก ถ้าใช้ heatsink กับพัดลม สิ่งที่ต้องระวังให้มากที่สุด คือ พัดลม ที่ต้องทำงานอย่างแน่นอน ไม่ดับหรือรอบตก การพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจะทำให้คุณสูญเสียซีพียูไปได้โดยง่าย อย่าหวังว่าเมนบอร์ดจะตัดการทำงานให้อย่างเดียวนะครับ มีคนพลาดกับเพวเทียนี้ไปเยอะแล้ว ทั้งปัญหาการระบายความร้อนในด้านร้อนไม่ดีพอ, เมนบอร์ดไม่ตัดการทำงานเมื่อซีพียูร้อนเกินไป และ เพวเทียเผาซีพียู ก็มีมาแล้ว ดังนั้น ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษครับ อีกกรณีหนึ่งคือ การใช้น้ำหรือ water cooler ในการระบายความร้อนที่ด้านร้อน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลมากวิธีหนึ่ง ก็ให้ระมัดระวังเรื่องของการรั่วซึมต่างๆ และการทำงานของปั๊มน้ำให้ดีครับ
           - การควบแน่นของน้ำ ปัญหานี้โลกแตกพอสมควรเลยครับสำหรับ Peltier Element จะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเปิดเครื่อง ซักนาทีหรือสองนาทีแรก ที่ซีพียูยังไม่ร้อนเท่าไหร่ แต่เพวเทียทำให้มันเย็นลงไปกว่าอุณหภูมิห้องมากๆ สิ่งที่ตามมาอย่างไม่ต้องสงสัยเลย คือ ไอน้ำ ที่เกิดจากการควบแน่น (การเปลี่ยนสถานะจาก อากาศ เป็น ของเหลว) หุหุ แอบเอาความรู้วิทยาศาสตร์สมัยประถมมานิดนึง แต่ไอ้เจ้าไอน้ำที่เกิดขึ้นเนี่ย เราอาจมองไม่เห็นเนื่องจากมันจะเกิดขึ้นที่ตัวซีพียู, socket บนเมนบอร์ด และใต้ socket เมนบอร์ด (อันนี้พูดถึงกรณีที่ติดตั้งเพวเทียเป็นอย่างดีแล้วนะครับ) แต่ไม่ต้องวิตกมากสำหรับการเกิดขึ้นของไอน้ำนี้ เนื่องจากไอน้ำที่เกิดจากการควบแน่นนั้น มีประจุไฟฟ้าเกือบจะเป็นศูนย์ โอกาสที่จะเกิดการลัดวงจรจึงต่ำมาก เพียงแค่เราติดตั้งให้ดี อย่าให้ปริมาณไอน้ำมากจนเกินไป นั่นคือการติดตั้งพยายามอย่าให้เกิดช่องว่างของอากาศมาก งานนี้ความสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่ซิลิโคนด้วยครับ
           - ปัญหาทางด้านไฟฟ้า บอกไปแล้วว่าเพวเทียนั้นกินกระแสไฟฟ้าค่อนข้างมาก ตัวที่วางขายกันโดยทั่วไป ส่วนมากจะเป็นขนาด 70-90 W ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมากหากเทียบกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ งานนี้ความสำคัญตกไปอยู่ที่ Power Supply Unit ของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วครับ ยิ่งในระบบปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์ก็กินกระแสไฟฟ้ามากอยู่แล้ว ถ้าไปเจอเพวเทีย 80 W พ่วงไปอีกตัวก็ไม่ไหวแน่นอน ต้องไปหา Power Supply วัตต์สูงๆ มาใช้ เช่นพวก 430 W ขึ้นไป หรือจะใช้เทคนิคการต่อ Power Supply 2 ตัวเข้าด้วยกันก็ได้ และสายไฟขิงเพวเทียที่เสียบกับ Power Supply ไม่ควรที่จะเป็นเส้นเดียวกับที่เสียบกับ harddisk หรือ drive ต่างๆ เนื่องจาก harddisk เป็นอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่มีการแกว่งของการใช้ไฟพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงของการหมุนรอบมอเตอร์ขึ้น (ช่วง boot เครื่อง) หากไปทำให้การจ่ายไฟของ harddisk ติดขัด อาจทำให้ harddisk มีปัญหาได้ง่ายครับ อันนี้ก็ต้องระมัดระวังกันไว้ด้วย


เพวเทียมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่?
           ตอบยากครับ ... ยากพอๆ กับถามว่า โทรทัศน์มีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่? ... หากเรามองว่า เพวเทียเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่ง ก็ไม่แปลกครับ ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีอายุยืนยาวนานหลายปี คนที่ใช้เพวเทียระบายความร้อนให้กับซีพียูบางคนก็ใช้มานานนับปีแล้วเหมือนกัน โอกาสที่มันจะพังนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ถูกต้อง ติดตั้งและดูแลระบบระบายความร้อนให้มันเป็นอย่างดี เท่านั้นเองครับ
ปัจจุบันเพวเทียมีบทบาทต่อวงการคอมพิวเตอร์อย่างไร?
           เพวเทีย เป็นเพียงอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์แผ่นบางๆ (ประมาณ 4-6 มม.) เท่านั้น ในที่นี้ของพูดถึงเฉพาะการนำไปใช้ในการระบายความร้อนให้กับซีพียูเท่านั้นนะครับ ซึ่งต้องนำไปประกบกับอุปกรณ์ระบายความร้อนอีกครั้งหนึ่งอย่างที่บอกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น heatsink+พัดลม หรือจะเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำก็สุดแล้วแต่ ... โดยเราสามารถเลือกใช้เพวเทียได้ 2 ทางคือ ไปซื้อเฉพาะเพวเทียมาติดตั้งกับ heatsink เอง หรือจะซื้อเป็นแบบสำเร็จรูปก็ได้ แบบสำเร็จรูปที่ว่าก็คือมียี่ห้อนั่นแหละครับ ผู้ผลิตระบบระบายความร้อนชื่อดังหลายรายนั้น มี product ที่เป็น Peltier Element ขายด้วย นั่นคือทางบริษัทเหล่านี้จะประกบ heatsink มาให้เสร็จสรรพ หรืออาจขายเป็นชุดพร้อมกับชุด water cooler ไปด้วยนั่นเอง ... แต่ ในบ้านเรายังหาซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ได้ยากยิ่งนัก จะมีก็เพียงแผ่นเพวเทีย แล้วเราก็ต้องมาติดตั้งกันเอง โดยมีขั้นตอนความยุ่งยากอยู่พอสมควรครับ ปัจจุบัน เพวเทีย ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็น TEC หรือ Thermo-Electric Cooler ซึ่งชื่อนี้ก็ได้มาจากการใช้ไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการระบายความร้อนนั่นแหละครับ ตัวอย่างของ Peltier Cooler หรือ TEC ที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือผลิตภัณฑ์จาก Thermaltake ผู้ผลิตฮีตซิงค์ชื่อดังของโลก ที่มาในชื่อของ Thermaltake SubZero4G เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้เพวเทียและฮีตซิงค์ โดยมีการ์ดคอนโทรลเลอร์ไว้ควบคุมการจ่ายไฟให้เพวเทีย เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้ลงไปต่ำเกินไปจนเกิดไอน้ำ และในขณะเดียวกันก็ควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของซีพียูสูงเกินไปด้วย... เป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของ Thermaltake ที่สามารถใช้เพวเทียมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างไม่เป็นอันตรายใดๆ ... พูดมาถึงตรงนี้ ชักอยากจะรู้จักกับ Thermaltake SubZero4G ขึ้นมามั่งมั้ยครับ.... ไม่ต้องสงสัยเลยครับ ผมเอามาให้ชมกันแน่นอน สำหรับ SubZero4G แต่อดใจรอชมในตอนหน้านะครับ วันนี้ก็พูดถึงเพวเทียมาจนคิดว่าน่าจะเห็นภาพกันบ้างแล้ว พร้อมกับเอา SubZero4G มายั่วน้ำลายกันไปพลางๆ ใครมีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับเพวเทีย หรือ เรื่องอื่นๆ ก็ติดต่อได้ทาง E-Mail โดยคลิ๊กที่ชื่อผมด้านล่างได้นะครับ วันนี้ก็ลากันก่อน สวัสดีครับ..



ที่มา
http://www.overclockzone.com/spin9/peltier/index.html
http://www.peltier-info.com

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ฮิวมัส



ส่วนประกอบของฮิวมัส


ประกอบด้วยสารผลิตภัณฑ์ (Products) หลายประเภทโดยขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุต้นกำเนิดตามธรรมชาติ เกิดจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตในดิน รวมทั้งการแปรสภาพของสารผลิตภัณฑ์และการสังเคราะห์สารขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถแบ่งสารอินทรีย์ต่างๆออกเป็นสองส่วน คือ
ส่วนที่ไม่เป็นสารฮิวมิก (Nonhumic Substances) ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป เช่น สารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ลิพิด ลิกนิน แทนนิน และกรดอินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น ลักษณะที่สำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ คือ
  1. มีมวลโมเลกุลค่อนข้างต่ำ
  2. มีโครงสร้างโมเลกุลไม่สลับซับซ้อน
  3. ง่ายต่อการย่อยสลาย
  4. เป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน
ส่วนที่เป็นสารฮิวมิก (Humic Substrances) เกิดจากการแปรสภาพของสารอินทรีย์และสังเคราะห์รวมตัวขึ้นมาใหม่ของสารที่ไม่ใช่ฮิวมิก ประกอบด้วยกลุ่มของสารอินทรีย์ประเภทที่มีลักษณะดังนี้
  1. มีมวลโมเลกุลค่อนข้างสูง
  2. โครงสร้างโมเลกุลมีรูปร่างทีไม่แน่นอน
  3. แสดงสมบัติเป็นสารคอลลอยด์
  4. คงทนต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ดิน
สารฮิวมิกละลายน้ำได้น้อยมาก แต่สามารถละลายได้ในสารละลายที่เป็นกรดและด่างในบางส่วนของสารฮิวมิก สารฮิวมิกสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ
  1. กรดฮิวมิก (humic acid): ส่วนที่ละลายได้ในด่าง แล้วตกตะกอนเป็นกรดฮิวมิกเมื่อปรับสารละลายให้เป็นกรด
  2. กรดฟุลวิก (fulvic acid): ส่วนที่ละลายได้ในด่าง แต่ไม่ตกตะกอนเมื่อปรับสารละลายให้เป็นกรด
  3. ฮิวมิน (humin): ส่วนที่ไม่ละลายในด่าง[1]

องค์ประกอบทางเคมีและหมู่ฟังก์ชันนัลในสารฮิวมิก

ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรดฮิวมิก(รวมกับฮิวมิน) และกรดฟุลวิกมีธาตุคาร์บอนและออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 90% โดยน้ำหนัก อีก 10% เป็นไฮโดรเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และธาตุอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะพบคาร์บอนมากกว่าออกซิเจน เมื่อไม่รวมซัลเฟอร์ สามารถเขียนสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) ของกรดฮิวมิกและฟุลวิกเขียนได้เป็น C10H12O5N และ C12H12O9N ตามลำดับ โดยอัตราส่วนของ C:N อยู่ในช่วง 10-12:1
ลักษณะที่สำคัญ องค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีของสารฮิวมิกมีลักษณะที่สำคัญ คือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) พบว่ามีหมู่ O และ OH เป็นหมู่ฟังก์ชันนัลหลัก ตัวอย่างเช่น หมู่คาร์บอกซิลิก(carboxylic, -COOH group) และหมู่ฟีนิลหรือฟีนอลิก (phenyl or phenolic, -C6H5OH group) ซึ่งมีมากที่สุดและสำคัญ หมู่ฟังก์ชันนัลที่มากรองลงมา ได้แก่ หมู่แอลกอฮอลิก (alcoholic, -OH) อินอลิก (enolic, -CH=C-OH) และคาร์บอนิล (carbonyl, =C=O)มักพบในรูปของควิโนน (quinone) และคีโตน (ketone) [2]
functional group

[แก้]โครงสร้างโมเลกุลของสารฮิวมิก

สารฮิวมิกมีโครงสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อนมาก โดยมีโครงสร้างที่ไม่เป็นผลึก และไม่มีรูปแบบที่แน่นอน การเกิดสารฮิวมิกเกิดจากกระบวนทางชีวเคมีที่ซับซ้อนมากและมีหลายขั้นตอนรวมถึงหลายวิถีทาง (pathway)ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า ฮิวมิฟิเคชัน (humification) นอกจากนี้องค์ประกอบและโครงสร้างของสารฮิวมิกยังเปลี่ยนแปลงได้ตามแหล่งที่มาและองค์ประกอบเดิมของอินทรียสาร สภาพแวดล้อม จุลินทรีย์ดิน รวมถึงอายุและขั้นตอนการย่อยสลาย [3]

สารเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนัก-ฮิวมัส

ฮิวมัสที่เป็นทั้งสารฮิวมิกและไม่ได้เป็นสารฮิวมิก จะมีหมู่ฟังก์ชันนัลที่ว่องไวต่อปฏิกิริยา ซึ่งอยู่อย่างไม่อิสระเมื่ออยู่ในดินที่เป็นดินแร่ธาตุ (mineral soil) โดยจะทำปฏิกิริยาในรูปของสารเชิงซ้อนกับแร่ธาตุและสารประกอบต่างๆในดิน ตัวอย่างเช่น การทำปฏิกิริยาคีเลตกับโลหะแคทไอออน การดูดซับของฮิวมัสบนผิวอนุภาคของแร่ดินเหนียวและสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ ปฏิกิริยาเชิงซ้อนและการเกิดคีเลตระหว่างฮิวมัสกับโลหะต่างๆในดิน มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการสลายตัวผุพังของดิน รวมทั้งมีอิทธิพลต่อสมบัติทางเคมีและความอุดมสมบูรณ์ ดังนี้
  1. ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส (P) จะสูงขี้น เนื่องจากการทำปฏิกิริยาเชิงซ้อนระหว่างฮิวมัสกับโลหะแคทไอออน Al3+ และ Fe3+ ในดินที่เป็นกรด และกับ Ca2+ และ Mg2+ ในดินที่เป็นด่าง ทำให้โอกาสที่แคทไอออนในดินจะทำปฏิกิริยาตกตะกอนกับ P สารละลายได้น้อย
  2. เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างซิลิเกต ในระหว่างการสลายตัวผุพังของแร่ต้นกำเนิด
  3. เป็นการเพิ่มประโยชน์ของจุลธาตุ (trace elements) ในดินชั้นบน เนื่องจากการดูดใช้จุลธาตุจากดินชั้นล่างโดยรากพืช เมื่อรากพืชเกิดการย่อยสลายจุลธาตุแล้วก็จะส่งผลประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้นจากปฏิกิริยาคีเลต
  4. โลหะจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างฮิวมัสและอนุภาคดินเหนียว จากการเกิดสารเชิงซ้อนระหว่างฮิวมัสกับดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดและเสถียรภาพของเม็ดดิน
  5. ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหรือต่อต้านความเข้มข้นที่สูงขึ้นหรือสูงเกินไปของโลหะแคทไอออนบางชนิด เช่น Al3+, Cd2+ และ Pb2+ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อพืชได้
  6. มีบทบาทต่อเคลื่อนย้ายของโลหะบางชนิด เช่น Al3+ และ Fe3+ ลงสู่ชั้นล่างของดิน[4]


ที่มา http://th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

CUDA (Compute Unified Device Architecture)



 
CUDA™ ย่อมาจาก Compute Unified Device Architecture เป็นโปรแกรมมิ่งโมเดล พัฒนาโดย NVIDIA® โดยมีจุดประสงค์ให้โปรแกรมเมอร์ สามารถใช้ GPU (หรือการ์ดจอ nVidia นั่นเอง) ในการประมวลผลได้
แล้วทำไมถึงต้องใช้ GPU ให้ยุ่งยากด้วย ก็เอา CPU คำนวณไม่ได้หรือ ? ... 
คำตอบคือ งานคำนวณบางอย่างนั้น เหมาะกับ GPU มากกว่า และอาจเร็วกว่าได้ถึง 10 หรือ 100 เท่าเลยทีเดียว 
  
ภาพที่ 1 ความแตกต่างของ CPU และ GPU โดย GPU จะมีส่วนของการประมวลผลมากกว่า แทนที่จะมีส่วน Control หรือ Cache มากเหมือน CPU

งานที่เหมาะกับ GPU คือ งานที่ต้องคำนวณด้วย โปรแกรมแบบเดียวกัน แต่ต้องทำบนข้อมูลที่ใหญ่ ในทางคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า SIMD (Single Instruction Multiple Data : เคยได้ยินอาจารย์เรียกว่า "ซิมดี้") ยกตัวอย่างงาน SIMD ที่เห็นได้บ่อยๆ เช่น งานประมวลผลภาพ ซึ่งในหนึ่งภาพจะประกอบด้วยจำนวณพิกเซลในหลักล้าน จะเห็นว่า เวลาเราเปิด Photoshop เพื่อใส่เอฟเฟ็คภาพในไฟล์ใหญ่ๆ จะใช้เวลานาน นั่นก็คือ CPU จะต้องคำนวณผลของเอฟเฟคภาพในแต่ละพิกเซล
แต่สำหรับ GPU ซึ่งมีโครงสร้างหน่วยประมวลผล เป็นแบบขนานจำนวนมาก (nVidia เรียกแต่ละท่อว่า Stream Processor ผมเรียกว่า"ท่อ" ) ทำให้เหมาะกับงาน SIMD มาก จินตนาการปัญหาการประมวลผลภาพอีกครั้ง บน GPU ที่มีถึง 112 ท่อพร้อมๆ กัน ... งานนี้จึงเสร็จเร็วขึ้นมาก

 

What is Not Cuda
  • CUDA ไม่ใช่ Physic Engine เพราะ CUDA เป็นเพียงโปรแกรมมิ่งโมเดลเท่านั้น แต่ก็ไ่ม่ใช่ว่าจะไม่เกี่ยวกันเสียทีเดียว เพราะโมเดลการประมวลผลแบบ CUDA นั้น มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการจำลอง Physic Engine ซึ่ง nVidia ก็ได้สร้าง Physic Engine ชื่อ Physx ซึ่งใช้ความสามารถของ CUDA ในการจำลองฟิสิกส์อย่างเต็มรูปแบบ
  • CUDA ไม่ใช่เครื่องมือแสดงผล ไม่ใช่สิ่งทีเพิ่มเฟรมเรตให้ทุกเกมในโลก แต่เป็นเครื่องมือคำนวณ ซึ่งจะช่วยให้การคำนวณในเกมมีซับซ้อนขึ้นได้ในเวลาแบบ real-time เหมือนเดิม เพราะปรากฏการณ์ในเกมมีความสมจริงกว่าเดิม 

                 ถึงอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี CUDA เป็นเพียงการจำลอง Thread จากพื้นฐานคำสั่งของภาษา C เท่านั้นครับ ไม่ใช่การที่ มี Thread ของ GPU จริงๆเฉกเช่น CPU ที่มีจำนวนของ Thread จริงๆ ดังนั้นการทำงาน และการประมวลผลของ GPU จะไม่ สามารถมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ CPU ที่มีหลายๆ Thread ได้จริง  ขอให้เข้าใจตรงนี้ด้วยครับ และอีกหนึ่งความสามารถของตัว CUDA Technology ก็คือ มันมีสมองชั่วคราว เพื่อช่วยในการจดจำข้อมูลที่ถูกคำนวณอยู่บ่อยๆเอาไว้ โดยไม่ต้องอาศัยการทำความ รู้จักกันใหม่ เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลผ่าน GPU โดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องใช้ Memory ในการจดจำเป็นหลัก เหมือนใน สมัยก่อนอีกต่อไป จึงทำให้ภาระของตัว Memory ลดลงไปด้วย เพื่อการใช้งานในส่วนอื่นๆที่สำคัญกว่าของ Memory นั่นเองครับ


ที่มา 
http://mekpro.exteen.com/20090128/cuda-introduction-to-cuda
http://remixman.net/cuda_tutorial_introduce
http://www.overclockzone.com/NiNe_iZe/Year_2008/07/galaxy-gtx260-280/index.html


วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

โสม



โสม (Ginseng)
โสม เป็นสมุนไพรที่ใช้กันในแถบเอเชียมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว เดิมมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลี และไซบีเรีย ในตำรับเภสัชของจีน ได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากโสมว่าช่วยทำให้อวัยวะภายในเป็นปกติ สงบ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้สุขภาพดี ทำให้ตาแจ่มใส จิตใจแช่มชื่น เพิ่มความฉลาด  ในประเทศไทยมีผู้นิยมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง นับเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง
 
โสมที่มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมี และนำมาใช้กัน มากที่สุดมี 2 ชนิด คือ โสมเอเชีย ซึ่งนิยมเรียกว่า โสมจีน หรือโสมเกาหลีนั่นเอง และอีกชนิดคือโสมอเมริกัน โดยเฉพาะในประเทศจีน ความต้องการของตลาดสูงมาก และมีการปลูกมาก เนื่องจากเชื่อว่าการเกิดโรคต่างๆ มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของของหยิน และหยาง และการใช้โสมสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ ในประเทศจีนมีการใช้โสมทั้ง 2 ชนิด สำหรับโสมอเมริกัน มีสมบัติเป็นยาเย็น (yin) และโสมจีนมีสมบัติเป็นหยาง (yang) หรือยาร้อน ปกติโสมเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า มีความสูงของต้นเพียง 60-80 เซนติเมตรเท่านั้น และต้องรอนานถึง 6 ปี จึงจะได้รากโสมที่มีสารสำคัญทางยาในปริมาณสูงสุด
เรามารู้จักโสม และสรรพคุณที่มีผลการวิจัยรับรองกันดีกว่าค่ะ

1. โสมเกาหลี หรือโสมคน (Korean ginseng)
เนื่องจากรูปร่างของราก ที่มีลักษณะคล้ายคน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A.Meyer จัดอยู่ในวงศ์ Araliaceae คำว่า “panax” มาจาก “panacea” แปลว่า “รักษาได้สารพัดโรค” โสมชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แล้วมีการนำไปศึกษาทดลองปลูกในเกาหลี และญี่ปุ่น จนประสบความสำเร็จในเชิงการค้า ถ้าปลูก และส่งออกจากประเทศจีน มักเรียกว่า “โสมจีน (Chinese ginseng)” ที่ปลูก และส่งออกจากประเทศเกาหลีมักเรียกว่า “โสมเกาหลี (Korean ginseng)” เมื่อปลูกจนมีอายุครบ 6 ปี จึงจะมีตัวยาสำคัญสูงสุด โสมที่ขายในตลาดทั่วไปรวมทั้งประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือโสมขาว และโสมแดง, โสมแดง (red ginseng) คือโสมที่ผ่านไอน้ำอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าเอนไซม์ และเชื้อรา ความร้อนทำให้ได้สารที่มีลักษณะคล้ายคาราเมลที่ผิวชั้นนอก (epidermis) ของราก ทำให้ได้รากโสมที่มีสีแดงอมน้ำตาล และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดีกว่าโสมขาว  และราคาแพงกว่า ส่วนโสมขาว (white ginseng) ได้จากการนำรากโสมมาล้างน้ำให้สะอาด และตากแดดให้แห้ง จะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม
โสมเกาหลี หรือโสมคน

2. โสมอเมริกา (American ginseng)
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax quinquefolium L. เป็นไม้ป่าในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา พบครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา ในอเมริกาเหนือ มีการใช้ทั้งในรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องดื่ม และชาชง ชาวจีนนำมาปลูก และใช้เช่นเดียวกับโสมเกาหลี
ต้นโสมอเมริกา

องค์ประกอบสำคัญ  
สารเคมีสำคัญที่พบในรากโสมเกาหลี และโสมอเมริกัน มีหลายชนิด แต่ที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoid saponin) ชนิด dammarane type ซึ่งรวมเรียกว่ามีจินเซโนไซด์ (ginsenoside) ซึ่งมีนิวเคลียส 2 ชนิดคือ protopanaxadiol และ protopanaxatrial นิวเคลียสทั้ง 2 ชนิดจะจับกับน้ำตาล ชนิด และจำนวนต่างๆกัน ซึ่งปัจจุบันค้นพบจินเซโนไซด์ ประมาณมากกว่า 30 ชนิด โดยพบว่ามีจินเซโนไซด์ จำนวน 8 ชนิด ที่มีความสำคัญคือ จินเซโนไซด์ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rf, Rg1และ Rg2 โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ Rb1, Rb2, Re และ Rg1ในรากโสมอเมริกันจะมีจินเซโนไซด์ต่ำกว่าในรากโสมเกาหลี นอกจากนี้ในรากโสมยังมีสารกลุ่มอื่นๆ เช่น น้ำตาล, แป้ง, น้ำมันหอมระเหย สารจำพวกสเตอรรอล
มาตรฐานสารสกัด ในเภสัชตำรับของเอมริกา (USP) ได้กำหนดว่าสารสกัดโสมเกาหลีที่ได้มาตรฐาน เมื่อนำรากโสมมาสกัดควรได้สารสกัดในอัตราส่วนของ โสมที่ใช้ต่อสารสกัดที่ได้อยู่ระหว่าง 3:1 ถึง 7:1 และควรมีจินเซโนไซด์ (Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rg1)ไม่ต่ำกว่า 3% ด้วย จึงจะถือว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีประสิทธิภาพเมื่อนำไปใช้นั่นเอง ดังนั้นหากมีโสมที่คุณภาพดีอยู่ในมือแล้ว ก็กินรากแห้งเพียง 2 กรัม ต่อวัน ก็จะได้รับจินเซโนไซด์ในระดับมาตรฐานแล้ว
ปัจจุบันมีการทำโสมสกัด (G115)  เป็นโสมสกัดมาตรฐานมี จินเซโนไซด์ 8 ชนิดความเข้มข้น 4% เป็นต้น


ข้อมูลการศึกษาวิจัย
จากรายงานการทดลอง พบว่าโสมมีคุณสมบัติเป็น “adaptogen” ซึ่งหมายถึง ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะกดดัน และ เป็นยาบำรุงทั้งร่างกาย อย่างไรก็ตามพบว่าจินเซโนไซด์ บางตัวมีฤทธิ์ต้านกัน เช่น จินเซโนไซด์ Rg มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิต และกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่ จินเซโนไซด์ Rb มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และกดระบบประสาท เป็นต้น
จากการศึกษาวิจัยพบว่าโสมมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ที่สำคัญๆ ได้แก่
1) เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของร่างกายให้สูงขึ้น เนื่องจากโสมมีสรรพคุณในการต้านความเมื่อยล้า (antifatigue effect) จากกลไกร่วมกันหลายอย่าง เช่น การเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนของผนังเซล เซลจึงสามารถสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นโสมยังช่วยปรับการเต้นของหัวใจ ให้กลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น ร่างกายจึงเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพการทำงานของร่างกายดีขึ้น และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยในระหว่างพักฟื้น ให้หายเจ็บป่วย เป็นปกติได้เร็วขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อกันว่าโสมมีสรรพคุณกระตุ้นสมรรถนะทางเพศ ทั้งนี้มีรายงานว่าโสมมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดด้วย
2) คุณสมบัติต่อต้านความเครียด (antistress effect) โดยจะช่วยปรับร่างกาย และจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โดยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลป้องกัน และลดความเครียดจากต่อมใต้สมอง และช่วยคลายความวิตกกังวล
3) กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลให้รู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า โดยไม่ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย หรืออ่อนล้าตามมา เหมือนยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ โดยพบว่าซาโปนินจากโสมเมื่อให้ในขนาดน้อยๆ จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่เมื่อให้ในขนาดสูงๆจะมีฤทธิ์กดประสาท ดังนั้นควรรับประทานในขนาดที่พอเหมาะนะคะ มิเช่นนั้นอาจได้ผลตรงกันข้าม
4) เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง มีรายงานว่าเพิ่มเม็ดเลือดขาวบางชนิดจึงเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม
5) มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
6) ชะลอความแก่ เนื่องจากโสมมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่เกิดจากการทำลายไขมัน (lipid oxidation) อนุมูลอิสระนี้มีอนุภาพทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ให้เสื่อมสลายลงก่อนเวลาอันควร ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลทำให้เกิด “ชราภาพ (aging)” เนื่องจากผลของโสมในการปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้ทนต่อความกดดัน เชื่อว่าช่วยเสริมฤทธิ์กันทำให้โสมมีสรรพคุณ “ชะลอความชรา” ได้
ขนาดที่ใช้ 0.5-2 กรัม/วัน (รากแห้ง) ควรใช้ในขนาดที่แนะนำนะคะ เพราะการใช้มากเกินไป อาจได้ผลที่ตรงกันข้าม และมีรายงานว่าการใช้ในขนาดสูงเกินไป ทำให้เส้นเลือดแดงในสมองอักเสบได้


ข้อควรระวังในการใช้  
1.ไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ควรใช้เป็นช่วงๆ คือนาน 1-2 เดือน แล้วหยุด 1-2 เดือน แล้วเริ่มใหม่
2.ควรทานโสมก่อนอาหาร 3 ชั่วโมง และไม่ควรทานพร้อมวิตามินซี หรือผลไม้รสเปรี้ยว
3.อาจพบอาการข้างเคียงถ้าใช้ในขนาดสูงกว่าที่แนะนำ เช่นความดันโลหิตสูง ตื่นเต้น กระวนกระวาย ท้องเสีย เป็นผื่นที่ผิวหนัง นอนไม่หลับ ซึ่งเรียกว่า “ginseng abuse syndrome”
4.ระวังการใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
5.ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป เนื่องจากโสมมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวาน ควรกินโสมพร้อมอาหาร แต่ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนการใช้โสมจะดีกว่า
6.ระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin เนื่องจากยาทั้งสองอาจเสริมฤทธิ์กัน  มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
7.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และในเด็ก เนื่องจากไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในมนุษย์
ประเมินผล : จากการศึกษาพบว่าโสมเกาหลี และโสมอเมริกันเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการ
รักษาโรคต่างๆได้ แต่การทดลองทางคลินิกยังไม่มากพอ และผลบางอย่างยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ แต่ก็มีการศึกษากันมากพอสมควรกว่าสมุนไพรอื่นๆ ซึ่งพบว่าฤทธิ์เกี่ยวกับการเพิ่มภูมิคุ้มกัน และต้านการล้า หรือภาวะเครียดนั้นเป็นฤทธิ์ที่ค่อนข้างเด่นชัดกว่าฤทธิ์อื่นๆ อย่างไรก็ตามควรเปรียบเทียบราคากับผลที่ได้รับด้วยว่าคุ้มกันหรือไม่ค่ะ
สำหรับโสมชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในตระกูลโสม มีอีกมากมายเลยค่ะ แต่ว่าข้อมูลการศึกษาวิจัยยังไม่เพียงพอ
จึงยังไม่ได้แนะนำให้ใช้รับประทานได้อย่างปลอดภัยค่ะ ควรรอผลการวิจัยด้านต่างๆก่อน อาทิเช่น
โสมจีน หรือ Sanchi Ginseng เป็นรากของ P. notoginseng Burk. (P. wangianus Sun.) เป็นโสมที่เพาะปลูกในประเทศจีน มณฑลยูนนาน และกวางสี และบางส่วนของประเทศเวียดนาม ใช้ในตำรายาจีนเพื่อห้ามเลือด แก้ฟกบวม
โสมญี่ปุ่น (Japanese Chitkusetsu Ginseng) เป็นโสมที่มาจาก P. pseudoginseng Wall. subsp. Japonicus Hara (P. japonicus C.A. Meyer) ในญี่ปุ่นใช้แทนโสมเกาหลี, ใช้แก้ปวดเกร็งท้อง
โสมฮิมาลายัน ได้จาก P. pseudoginseng subsp. Himalaicus Hara ขึ้นทั่วไปในธรรมชาติที่เนปาล และมณฑลฮิมาลายันตะวันออก
โสม Zhuzishen ได้จาก P. pseudoginseng var. major (Burk) C.Y. Wu et K.M. Feng (P. major (Burk.) Ting) พบในแถบตะวันตกของประเทศจีน ทั้ง โสมฮิมาลายัน และ โสม Zhuzishen ใช้ตำรายาจีนเช่นเดียวกันค่ะ
โสมไซบีเรีย  คือรากของ Acanthopanax senticosus (Eleutherococcus senticosus) ใช้ตำรายาจีน

ต้นโสมไซบีเรีย




ที่มา http://www.oknation.net/blog/Thai-Herbal/2008/10/24/entry-1