วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

6 ยากินประจำ ที่ทำให้เราอาจต้องเดิมพันชีวิต


ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช

"กินยามาก บางทีก็ไม่ดีนะ..."
"กินยาประเภทนี้ไปนานๆ อันตรายนะ..."

หลายคนอาจเคยได้ยิน หรือแม้แต่เป็นผู้พูดประโยคนี้เตือนใครต่อใครเองมาแล้ว แต่ยาอะไรที่อันตราย?
แล้วมันจริงเท็จแค่ไหน?? วันนี้เราลองมาเช็คตนเองดูดีมั้ยว่ายาที่ใช้ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง
ที่เราอาจต้องเดิมพันชีวิตกันเลยทีเดียว!!

ยาลดไขมัน
ยาชนิดนี้ทำให้ ปวดตัว ปวดตามกล้ามเนื้อ ยิ่งใช้นานยิ่งทำให้สุขภาพแย่และเกิดอาการแก่ลงเร็ว
ความจำก็เปลี่ยนไปเป็นผลจากยาลดไขมัน ท่านที่ใช้นานๆ ตับก็จะเสื่อม ขอให้คอยเจาะเลือดตรวจตับไว้ด้วยนะ

ยาละลายลิ่มเลือด
ยานี้หลายท่านกินแล้วสบายใจว่าไม่เกิดลิ่มเลือดอุด แต่สิ่งที่ต้องรู้ให้สุดคือมันทำให้ ตกเลือดในท้องได้จนตายอันตรายจากยาละลายลิ่มเลือดกินตลอดชีวิตยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมาก

ยาแก้ปวด
อาการปวดไม่ได้ตอบโจทย์ด้วย ยาแก้ปวด เสมอไป
การได้ยาแก้ปวดกินตลอดชีวิตมีสิทธิ์ทำให้ท่านได้กิจกรรม ล้างไต ในปัจฉิมวัยแถมได้

ยาแก้แพ้
ยากลุ่มนี้ไม่สามารถรักษาภูมิแพ้ เพราะภูมิแพ้ รักษาไม่ได้ ดังนั้น ท่านก็ตอบได้ว่ายาภูมิแพ้ที่กินนั้น
เพื่อบรรเทาอาการ แต่ประเด็นอยู่ที่ถ้าไม่ได้รักษาได้แล้วทำไมถึงต้องกินนาน
อันตรายสำคัญที่ยิ่งกว่าอะไรคือรักษาภูมิแพ้แบบผิดวิธีนี่ละ

ยาแก้มึนศีรษะ
ท่านที่มีอาการมึนศีรษะบ้านหมุนอยู่เป็นประจำ อย่าเพิ่งปักใจว่าเป็น น้ำในหูไม่เท่ากัน
ปัญหาของการแก้มึนศีรษะคือยังหา ต้นเหตุ ไม่เจอแต่ให้ยาแก้มึน ไปก่อน ไม่ว่าจะยาแก้วิงเวียน
ยาเพิ่มเลือดไหลเวียนในสมอง ให้ซ้ำๆ กันจ่ายซ้อนกันเข้าไป ยิ่งกินก็ยิ่งมึนหนักไม่หายเสียที

ยาฆ่าเชื้อ
การได้รับยาฆ่าเชื้ออยู่ทุกครั้งที่เจ็บป่วย ช่วยให้คุณหมอสบายใจขึ้น
แต่ผลของยาฆ่าเชื้อมีมากกว่าฆ่าเชื้อ เช่น ท้องเสีย เชื้อดื้อยา
และขั้นกว่าคืออาการแพ้รุนแรงได้ คนไข้ที่ได้ยาฆ่าเชื้อในปัจจุบันถ้าเทียบกันเมื่อ 100 ปีก่อน
ยาฆ่าเชื้อสมัยนี้เหมือนระเบิดนิวเคลียร์เทียบกับประทัดเลย


เมื่อคนพึ่งหมอ พึ่งยามากขึ้นความเบ่งบานทางเศรษฐกิจพิชิตโรคก็เกิดขึ้น
จากกลยุทธ์โฆษณาชวนเชื่อที่เหนือเมฆในด้านการแพทย์
การเสนอตรวจสุขภาพฟรีให้องค์กรต่างๆ การทายอินเข้าไปในรายการทีวี
การรักษาให้กับนักกีฬาสมาคมต่างๆ ฟรี ขอแค่มีโลโก้ใหญ่ใส่ไว้ในจอให้คนดูติดตา
โฆษณาที่จ้างครีเอทีฟใหญ่ซื้อแอร์ไทม์จากช่องแพงๆ นั้นมีตัววัดอยู่ที่ ยอดขาย ที่จะพุ่งขึ้นคุ้มหรือไม่
ความแรงของโฆษณาที่กระทบต่อตาและสมองของผู้ชมจนดึงคนเข้าไปใช้บริการได้นี่เรียกว่า
อิมแพ็ค (ไม่ใช่เมืองทองธานี) แต่ในที่นี้คือผลกระทบในวงกว้างของการใช้สื่อ
คนที่ไม่เข้าใจและหวั่นไหวง่ายก็จะถูกดึงเข้าไปง่าย
ตามโฆษณาว่า เจ็บหน้าอกใจสั่นหน่อยต้องไปศูนย์หัวใจที่โรงพยาบาลนี้
มีแผลเบาหวานที่เท้าก็ต้องเข้าไปศูนย์แผลเบาหวานเอกชนก่อน
ทั้งที่ปัญหาการถูกตัดขากับไม่ตัดขาก็ไม่ต่างกับโรงพยาบาลทั่วไปในปัจจุบัน
นั่นก็คือ อิทธิฤทธิ์ของโฆษณาที่เปลี่ยนชีวิตของเราได้

ฉะนั้นบำบัดร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยการออกกำลังกาย
และซ่อมแซมร่างกายด้วยการเลือกอาหารที่มีคุณค่า ย่อมดีกว่า เอะอะกินยาๆ นะฮ้าฟฟฟ

ที่มา http://health.spokedark.tv/2013/12/04/hard-drug/#.UsjHpvTAA6w

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ไขข้อข้องใจ เมื่อไหร่ถึงควรเปลี่ยนยาง

เปลี่ยนยางรถยนต์
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอมคอม
          
          อย่างที่รู้ ๆ กันว่ายางรถยนต์เป็นส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ และอาจจะเคยได้ยิน ๆ บ่อย ๆ ว่าควรเปลี่ยนยางรถยนต์จากที่คำแนะนำเบื้องต้นที่มักได้ยินกันว่าทุก ๆ 2 ปี ไม่ก็ที่ระยะทาง 20,000 - 50,000 กิโลเมตร ถูกต้องแล้วครับมันเป็นคำแนะนำเบื้องต้นแต่ขอบอกเลยว่ามันสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นครับ

          เพราะการที่เราใช้ อายุยาง หรือ ระยะทาง มาบอกว่ายางนั้นเสื่อมสภาพนั้นไม่สามารถชี้วัดได้หรอกครับว่ายางรถยนต์เราเสื่อมสภาพจริงไหม ด้วยเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งน้ำหนักรถ พื้นถนนที่ใช้วิ่ง สภาพอากาศ ความดันลมยาง ความเร็วในการขับขี่ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้กระปุกคาร์ขอนำความรู้วิธีตรวจยางจากหมดสภาพตามความเป็นจริงมาบอกต่อครับ

เปลี่ยนยางรถยนต์

          สภาพดอกยาง

          เราสามารถใช้งานได้จนกระทั่งดอกยางสึกหรอเหลือต่ำสุด 1.6 มิลลิเมตร สามารถสังเกตง่าย ๆ ได้จาก จุดสามเหลี่ยมเล็ก ๆ 6 จุดบนไหล่ยางแต่ละด้านเมื่อเจอสัญลักษณ์นี้แล้ว ให้มองตรงขึ้นไป ที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องดอกยาง ก็จะพบสันนูนที่ร่องยาง ซึ่งเรียกว่า สะพานยางและเมื่อไหร่ที่ดอกยางสึก ไปถึงสะพานยาง นั่นแสดงว่ายางหมดอายุการใช้งาน

          ลักษณะยาง

          ถึงแม้ยางไม่หมดอายุแต่เกิดการบวมล่อนขึ้น บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ที่หน้ายาง หรือ ไหล่ยาง ก็ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเช่นกัน เพราะหากยังใช้ต่อไป ยางอาจแตกระเบิดได้

          บาดแผลบนยาง

          ถ้าเกิดบาดแผลขึ้น โดยแผลนั้นมีความลึกไปถึงโครงสร้างยางภายใน และมีความกว้างของบาดแผลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผลบริเวณแก้มยาง ห้ามทำการปะซ่อมและนำมาใช้งานเด็ดขาด ควรเปลี่ยนยางใหม่โดยด่วนทันที 

          สภาพเนื้อยาง

          เนื้อแข็ง และกระด้างไม่มีความยืดหยุ่น ทดสอบง่าย ๆ โดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายางเก่า ถ้าใกล้หมดสภาพแล้วมักแทบจิกไม่ลงเลยครับ

เปลี่ยนยางรถยนต์

          เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็รับรองได้เลยครับว่าคุณอาจจะประหยัดค่าเปลี่ยนยางเพิ่มได้อีกเยอะ อ๊ะแต่ก็ไม่แน่นะครับลองไปสำรวจยางรถยนต์ของคุณดูนะว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือปล่าว เพราะบางทีอาจพึ่งเปลี่ยนมาไม่ถึงปีก็อาจจะมีอาการเหล่านี้ได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ คนรอบข้าง และผู้ที่ใช้ถนนร่วมกับคุณ อย่าให้เป็นดังคำที่กว่าไว้ว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" เลยนะครับ



ที่มา http://car.kapook.com/view59048.html


ความรู้เกี่ยวกับยาง


1. โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์ (Basic Structure)


Basic Structure of Tyre
1. หน้ายาง (Tread) 
เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของยาง และเป็นส่วนที่สัมผัสผิวถนน ทำหน้าที่ป้องกันของมีคม ที่จะทำอันตรายต่อโครงยาง ที่หน้ายางก็ประกอบไปด้วยดอกยางและร่องยาง เพื่อทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนนมีแรงกรุยเวลาวิ่ง เบรกหยุดได้มั่นใจ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ดอกยางมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ควรเลือกชนิดของดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
2. ไหล่ยาง (Shoulder)
ประกอบด้วยเนื้อยางที่หนา หน้าที่ของเนื้อยางก็คือ ป้องกันอันตรายที่จะมีต่อโครงยาง ปกติไหล่ยางจะถูกออกแบบเป็นร่องให้เหมาะสมเพื่อช่วยระบายความร้อนภายในยางออกมาได้ง่าย
3. แก้มยาง (Sidewall)
เป็นส่วนนอกสุดของยางที่ไม่ได้สัมผัสพื้นถนนที่รถวิ่งอยู่ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่มีต่อโครงยางและเป็นยางส่วนที่ยืดหยุ่น (Flexible) มากที่สุดของยาง
4. โครงยาง (Carcass)
เป็นส่วนประกอบหลักของยาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะรักษาความดันลมภายในยางเพื่อให้ยางสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ รวมทั้งต้องทนทานต่อแรงกระแทกหรือ สั่นสะเทือนจากถนนที่มีต่อยางได้ดี
5. ผ้าใบเสริมหน้ายาง หรือ เข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt)
เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างหน้ายาง (Tread) กับโครงยาง (Carcass) ในกรณีของยางธรรมดา (Bias Tire) เราเรียกว่า “ผ้าใบเสริมใยหน้ายาง (Breaker)” และในกรณีของยางเรเดียล (Radial Tire) จะเรียกว่า “เข็มขัดรัดหน้ายาง (Belt)” ซึ่งทำหน้าที่ให้หน้ายางมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น รับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันไม่ให้โครงยางชำรุดเสียหาย หมายเหตุ มียางธรรมดา (Bias) บางรุ่นที่สภาพการใช้งานไม่รุนแรง อาจจะออกแบบโดยไม่มีชั้นของผ้าใบเสริมหน้ายาง (Breaker) ก็ได้
6. ขอบยาง (Bead)
ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นลวดเหล็กกล้า (High Carbon Steel) ที่ช่วยยึดส่วนปลายทั้ง 2 ข้างของโครงยางไว้ เพื่อให้บริเวณขอบยาง (Bead) มีความแข็งแรง สามารถยึดแน่นสนิทกับกระทะล้อได้ดี เมื่อนำไปใช้งาน สำหรับยางรถยนต์ที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา ยางรถยนต์ซึ่งด้านหนึ่งประกอบด้วยขดลวด (Bead wire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา.

2. หน้าที่สำคัญของยาง



ยางรถยนต์นั้น มีหน้าที่สำคัญถึง 4 ประการ ที่จะช่วยให้คุณขับรถได้อย่างปลอดภัย
1. 1. รับน้ำหนักรถยนต์และน้ำหนักบรรทุก
Function of the tyre 1
2. ลดแรงกระแทกและสั่นสะเทือนจากพื้นถนน
Function of the tyre 2
3. เป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังงานขับเคลื่อน และการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน
Function of the tyre 3
4. ทำให้รถเปลี่ยนทิศทางได้ตามความประสงค์
Function of the tyre 4

3. สัญลักษณ์บนยาง



Sidewall Markings 11. ชื่อผู้ผลิตยาง
2. ชื่อรุ่นยางของผู้ผลิต
3. ความกว้างของหน้ายาง (หน่วยเป็นมิลลิเมตร)
4. อัตราความสูงของแก้มยางต่อความกว้างของหน้ายาง(ซีรีส์) มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
5. เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ (หน่วยเป็นนิ้ว)
6. ดัชนีการรับน้ำหนัก (Load Index)
7.สัญลักษณ์ความเร็ว (Speed Symbol)





Sidewall Markings 2

ตารางดัชนีน้ำหนักบรรทุก (Load Index)
Load IndexกิโลกรัมLoad IndexกิโลกรัมLoad Indexกิโลกรัม
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
450
462
475
487
500
515
530
545
560
580
600 
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
615
630
650
670
690
710
730
750
775
800
825 
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112 
850
875
900
925
950
975
1000
1030
1060
1090
11120 
สัญลักษณ์ความเร็ว (Speed Symbol)
สัญลักษณ์ความเร็ว (กม./ชม.)
S
T
H
VR
V
W
ZR 
180
190
210
เกินกว่า 210
240
270
เกินกว่า 240


4. ดอกยาง



การเลือกใช้ลักษณะดอกยางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้งานอย่างเต็มที่ และตอบสนองลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างกันด้วยลายดอกยาง จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนามาโดยตลอดจนปัจจุบันมีลายดอกยางมากมายนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ดีหากแบ่งลายดอกยางโดยคำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่ สามารถแบ่งได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1.ดอกยางแบบ 2 ทิศทาง
เป็นลักษณะของลายดอกยางที่จะสามารถสลับยางได้ในทุกตำแหน่งล้อของรถ ลักษณะดอกยางทั้ง 2 ด้าน จะสวนทิศทางกันหาก เป็นการขับขี่ทั่วไปไม่เน้นความเร็วสูง ดอกยางลักษณะนี้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีเยี่ยม
Tread 2
2. ดอกยางทิศทางแบบทิศทางเดียว (Uni-Direction)
ลายของดอกยางจะถูกบังคับให้หมุนไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยมีลูกศรบอกทิศทางการหมุนอยู่ที่แก้มยางทั้ง 2 ด้าน ดังนั้น การสลับยางจะสลับได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น เช่น สลับด้านหน้าขวากับหลังขวา หรือด้านหน้าซ้ายกับหลังซ้ายเว้นแต่จะถอดตัว ยางออกจากกระทะล้อเดิมไปใส่กับกระทะล้อฝั่งตรงกันข้าม แต่ต้องจัดวางทิศทางการหมุนของดอกยางให้ถูกต้องเช่นเดิม มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้ทิศทางการหมุนของยางเปลี่ยนกลับทิศทางทำให้ประสิทธิภาพของยางลดลง จุดเด่นของดอกยางแบบทิศทางเดียว คือ สามารถไล่น้ำออกจากหน้ายางได้รวดเร็วกว่าแบบ 2 ทิศทางป้องกันอาการเหินน้ำ (Hydroplaning) ซึ่งจะทำให้ควบคุมบังคับ รถได้ลำบากและเกิดการลื่นไถลได้ง่าย
ส่วนประกอบดอกยางจะเป็นเนื้อยางธรรมชาติ หรือ ยางสังเคราะห์ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ยางธรรมชาติ – ให้ความยืดหยุ่น ระบายความร้อนดี แต่ไม่ทนสึก
ยางสังเคราะห์ – ให้ความยืดหยุ่นน้อย ระบายความร้อนพอใช้ แต่ทนสึก
Tread 2ส่วนประกอบของดอกยาง
1. ดอกยาง – สัมผัสถนนทำหน้าที่ยึดเกาะถนน
2. ร่องยาง - ร่องระบายน้ำ รีดโคลน
3. ร่องเล็กบนดอกยาง - ช่วยเกาะถนน เพิ่มความยืดหยุ่นในดอกยาง
ดอกเรียบ RIBดอกบั้ง LUGดอกผสม MIX
คุณลักษณะพิเศษดอกยาง 60:ร่องยาง 40 / พื้นที่เกาะถนนมาก ดอกยางต่อเนื่องดอกยาง 40:ร่องยาง 60 / ดอกยางอิสระ เพิ่มขอบตะกุยดอกยาง 50:ร่องยาง 50 / ดอกยางอิสระ เรียงตัวเหมือนดอกเรียบ
คุณประโยชน์เกาะถนนดี บังคับแม่นยำ รีดน้ำเต็มประสิทธิภาพมีแรงกรุยสูง ลุยโคลน หิมะ ร่องยางใหญ่ สลัดโคลนเกาะถนนลดลง แต่เริ่มแรงกรุย / รีดน้ำเต็มประสิทธิภาพ
คุณลักษณะเสริมเสริมด้วยร่องเล็กในดอกยาง ยืดหยุ่น เพิ่มแรงกรุยดอกยางมีเหลี่ยมกัดเสริมด้วยร่องเล็กในดอกยาง ยืดหยุ่นเพิ่มแรงกรุย
การใช้งานรถเก๋ง รถบัสโดยสาร ล้อหน้ารถบรรทุกรถขับเคลื่อน 4 ล้อ, ล้อหลังรถบรรทุก, รถไถนารถ SUV, รถตรวจการณ์

5. ส่วนประกอบของยางโดยน้ำหนัก



14% ยางธรรมชาต
ิ 27% ยางสังเคราะห์
28% ผงถ่าน
10% น้ำมัน
4% สารเคมี
4% เส้นใย
10% เส้นลวด
3% อื่นๆ

6. ข้อควรรู้ในการเปลี่ยนยางใหม่



เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือชุดใหม่สำหรับรถคุณ สิ่งที่คุณควรรู้และตรวจสอบทุกครั้ง ก็คือ
1. ควรเลือกใช้ยางที่มีขนาด ชนิดโครงสร้างของยาง ลักษณะดอกยาง และความลึกร่องดอกยางที่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน
2. ควรเลือกใช้ยางยี่ห้อและรุ่นเดียวกันทั้งชุด หากจำเป็นหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใส่ยางยี่ห้อ และรุ่นเดียวกันในเพลาหรือล้อคู่เดียวกัน
3. ควรเปลี่ยนยางทั้งชุดในคราวเดียวกัน เพื่อให้ประสิทธิภาพการใช้งานของยางทุกเส้นใกล้เคียงกัน หรือเปลี่ยนครั้งละ 2 เส้นในเพลาเดียวก
ัน 4. หากจำเป็นต้องเปลี่ยนคราวละ 2 เส้น ยางเส้นใหม่ควรติดตั้งที่ตำแหน่งล้อขับเคลื่อน
5. กรณีที่เลือกใช้ยางแบบทิศทางเดียว (uni-direction) ต้องตรวจดูทิศทางการหมุนของยางว่าถูกต้องไปตามทิศทางที่กำหนดหรือไม่โดยสังเกตจากเครื่องหมายลูกศรที่ระบุไว้บนแก้มยาง เพราะการใส่ยางกลับทิศทางจะทำให้ประสิทธิภาพของยางในการรีดน้ำลดลง

ในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือชุดใหม่นั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานยังมีข้อแนะนำอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ดังนี้
1. ควรเลือกขนาดความกว้างของกระทะล้อ ที่เหมาะสมกับยางขนาดนั้นๆ (ประมาณ 70-75% ของความกว้างยาง)
2. ต้องทำการถ่วงล้อทุกครั้งที่เปลี่ยนยาง เพื่อให้การหมุนของยางเกิดความสมดุล และไม่เกิดอาการสั่นที่พวงมาลัยและตัวรถเมื่อขับขี่ ใช้งานจริง
3. เมื่อเปลี่ยนยางใหม่ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเปลี่ยนทั้ง 4 เส้น หรือ 2 เส้นด้านหน้า ควรต้องทำการตรวจเช็ค ศูนย์ล้อเสมอเพื่อป้องกันการสึกหรอผิดปกติเกิดขึ้น แค่นี้ ก็ช่วยให้คุณเกิดความมั่นใจมากขึ้น จากการเปลี่ยนยางเส้นใหม่สำหรับรถของคุณ และได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

7. ข้อคำนึงในการเปลี่ยนขนาดยางและกระทะล้อ



โดยปกติ ยางและกระทะล้อที่ติดมากับรถแต่ละรุ่น จะมีขนาดเหมาะสมกับรถ เมื่อวิ่งด้วยความเร็วมาตรฐาน ตามภาวะใช้งานปกติ ของผู้ขับขี่ส่วนใหญ่อยู่แล้ว หากแต่ผู้ใช้รถบางท่าน อาจต้องการความสวยงามหรือประสิทธิภาพด้านอื่นเพิ่มขึ้น จึงเปลี่ยนขนาดยาง และกระทะล้อ จากขนาดเดิมที่ติดมากับรถ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนขนาดยางและกระทะล้อ ก็คือ ความสามารถ ในการรับน้ำหนัก และเส้นผ่าศูนย์กลางของยางชุดใหม่ ควรจะใกล้เคียงกับยางชุดเดิมเป็นสำคัญ ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดผลเสียดังนี้
1. หากใช้ยางขนาดเล็กเกินไป ไม่เพียงจะรับน้ำหนักได้น้อยลง ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน มาตรวัดความเร็วของรถ จะอ่านคลาดเคลื่อน จากความจริง
2. หากใช้ยางขนาดใหญ่เกินไป ยางจะเสียดสีกับตัวรถ พวงมาลัยจะหนักทั้งขณะวิ่งช้าและจอด มาตรวัดความเร็วจะอ่านคลาดเคลื่อน เช่นเดียวกัน
ดังนั้น สำหรับรถยนต์ที่เพิ่มขนาดของขอบกระทะล้อให้ใหญ่ขึ้นจากเดิม เช่น จากขนาด 14” ไปเป็นขนาด 15” ก็จะต้อง เปลี่ยนขนาดยางด้วยเช่นกัน ซึ่งยางที่เปลี่ยนใหม่นี้ จะต้องลดขนาดของแก้มยางหรือซีรีส์ลงจากเดิม เพื่อให้มี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของยางใกล้เคียงกับยางขนาดเดิมให้มากที่สุด เพื่อรักษาระดับความสูงของตัวรถยนต์ให้คงเดิม และให้เครื่องยนต์สามารถทำงาน ได้ตามปกติ โดยเฉพาะอัตราเร่งและการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งมาตรวัดความเร็วไม่คลาดเคลื่อนไปจากมาตรฐานเดิม
สำหรับผู้ใช้บางกลุ่ม เช่น รถกระบะขับเคลื่อน 4 ล้อแท้ๆ รวมทั้งรถกระบะขับเคลื่อน 2 ล้อที่ตกแต่งให้ดูคล้ายกับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ มักจะนิยมเปลี่ยนขนาดกระทะล้อ และยางให้มีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม หรือที่เรียกกันว่า Over Size โดยจะไม่คำนึงถึง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาง และผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องยนต์ดังที่กล่าวมา เพราะต้องการให้ยางมีขนาดแก้มยางที่สูงขึ้น ทำให้สามารถรองรับแรงกระแทก จากพื้นถนนที่ขรุขระทุรกันดารได้ดี อีกทั้งจะทำให้ระดับของตัวรถ ยกสูงขึ้นจากเดิม เพิ่มความมั่นใจ ขณะขับขี่ ลุยป่า หรือข้ามลำธารตื้นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเปลี่ยนขนาดของกระทะล้อ และยางให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นกัน

8. ข้อดี ข้อเสียของการเปลี่ยนขนาดขอบกระทะล้อและยาง


การเปลี่ยนขนาดของขอบกระทะล้อและยางนั้นไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้น หรือน้อยลงก็ตามมีทั้งข้อดี และ ข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การเปลี่ยนกระทะล้อให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น แต่ใช้ยางที่มีขนาดความสูงของแก้มยางต่ำลง หรือมีซีรี่ส์ต่ำลงมีข้อดี ก็คือ ช่วยเพิ่มการทรงตัว และยึดเกาะถนนขณะที่ใช้ความเร็วบนทางตรงและทางโค้ง ได้ดียิ่งขึ้นการเบรกก็ทำได้ดีกว่าเดิมแต่ข้อเสีย ก็คือการ ต้องใช้แก้มยางที่ต่ำลงทำให้ช่วงล่างสึกหรอเร็ว และความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
ส่วนการเปลี่ยนขนาดกระทะล้อให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น และใช้ยางที่มีขนาดความสูงของแก้มยางเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ข้อดี คือ มีความนุ่มนวลเพิ่มขึ้นแต่อัตราเร่งอาจลดต่ำลงกว่าเดิมการทรงตัวในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงก็จะไม่ดีเท่าที่ควร

9. การเปลี่ยนขนาดกระทะล้อที่เหมาะกับยาง



กระทะล้อกว้างเกินไป
- ความสามารถในการยึดเกาะถนนลดลง
- ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
- ดอกยางสึกผิดปกติ
กระทะล้อแคบไป
- ความสามารถในการยึดเกาะถนนลดลง
- ขอบยางเสียหายได้ง่าย
- ดอกยางสึกผิดปกติ

10. อายุยาง กับ การบรรทุก (Load Capacity)



น้ำหนักบรรทุกมีผลอย่างมากต่ออายุของยาง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องควบคุมน้ำหนักบรรทุกให้มีความสัมพันธ์กับความดันลมยางให้มากกว่ากำหนด เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักของยางให้มากขึ้น เพราะการเพิ่มความดันลมยางให้มากขึ้น จะมีผลต่อยางที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ก็จะทำให้
- โครงยางบริเวณแก้มยาง หรือ ขอบยาง หักหรือระเบิดได้ง่ายเนื่องจากด้านน้ำหนักที่กดลงมาไม่ไหว
- ความร้อนภายในยางจะเกิดสูงขึ้นมาก ทำให้การยึดเกาะระหว่างเนื้อยางกับโครงยางลดลง และแยกออกจากกันได้ง่าย
- การบิดตัวของหน้ายางมีมาก ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และสึกหรอไม่เรียบ ทำให้อายุยางลดลง
Durability versus Load Capacity 1
กราฟความสัมพันธ์ระหว่างการบรรทุกและอายุยาง- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 80% ของมาตรฐาน อายุยางจะได้ 160%
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 100% ของมาตรฐาน อายุยางจะได้ 100%
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 130% ของมาตรฐาน อายุยางจะเหลือ 60%
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 150% ของมาตรฐาน อายุยางจะเหลือ 40%

11. อายุยางกับการใช้ความเร็ว (Speed)



“Tire Break-In” คือการขับรถเมื่อเปลี่ยนยางใหม่ด้วยความเร็วไม่เกิน 60 กม/ชม อย่างน้อย 200 กม.แรก หรือ 50 กม/ชม ระยะ 300 กม.แรก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของยางก่อนใช้งานในสภาพทั่วไป
การขับเร็วจะมีผลต่อยาง ดังนี้
- อายุยางลดลง เพราะยิ่งขับเร็วความร้อนภายในยางจะสูง ยิ่งความร้อนสูงทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น อายุยางจึงลดลง
- เนื้อยาง และโครงยางอาจจะไหม้ละลาย และแยกออกจากกัน
- สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะวิ่งด้วยความเร็วสูง การบิดตัวของโครงยางก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้พลังงานที่สูญเสียเนื่องจากการบิดตัวของโครงยาง
- ถ้ามีการหยุดรถอย่างกะทันหัน จะทำให้หน้ายางฉีกขาดได้ง่าย
Durability versus Speed 1Durability versus Speed 2

12. การถอด–ประกอบล้อกับตัวรถยนต์อย่างถูกวิธีนั้นทำอย่างไร



หลายท่านอาจเคยประสบกับปัญหายางแบน หรือยางระเบิดขณะขับขี่อยู่บนถนนมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะถอดล้อที่มีปัญหาออก และนำยางอะไหล่มาติดตั้งแทนได้อย่างไร เพราะบางครั้งอาจต้องเปลี่ยนในขณะที่มีการจราจรหนาแน่น หรืออาจอยู่ในสภาพที่ไม่สะดวกนัก ทำให้ต้องถอดเปลี่ยนในเวลาอันรวดเร็ว และที่สำคัญต้องปลอดภัย ดังนั้น การลำดับการถอด และประกอบให้ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่รถพึงรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะหากปฏิบัติไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้น กับกระทะล้อ หรือยาง และอาจนำไปสู่อันตรายกับชีวิตและทรัพย์สินได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะกล่าวถึงการถอด-ประกอบล้อ มีข้อแนะนำเบื้องต้นดังนี้ ขณะขับขี่เมื่อทราบว่า ยางแบน อย่าหยุดรถกระทันหัน ให้ขับช้าๆ อย่างระมัดระวังไปยังที่ที่ปลอดภัยและใกล้ที่สุดที่จะไม่กีดขวางรถคันอื่นและมีพื้นที่ที่จะถอดประกอบล้อได้ แล้วจึงดับเครื่อง ใส่เบรกมือ
สำหรับการถอดล้อออกจากตัวรถที่ถูกต้อง ควรกระทำดังนี้
การถอดล้อ กรณีที่มีฝาครอบล้อ ให้ใช้ไขควงปากแบนงัดฝาครอบล้อออกก่อน จากนั้นเริ่มถอดน็อตล้อ โดยใช้ประแจ คลายน็อต แต่ละตัวให้พอหลวมเล็กน้อย ก่อนที่จะยกรถขึ้นด้วยแม่แรง การขึ้นแม่แรง ให้ยกเพียงแค่ให้ล้อพ้นจากพื้นพอสมควร ไม่ควรยกแม่แรง สูงเกินไป เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้ หลังจากถอดน็อต ควรเก็บน็อตที่ถอดออกแล้ว รวมไว้ด้วยกันเพื่อไม่ให้น็อตหาย หลังจากนั้น ให้ถอดล้อออกจากดุมล้อ โดยควรจะออกแรงยกล้อในขณะที่ดึงออก เพื่อป้องกันไม่ให้กระทะล้อกระแทกกับจานเบรค
เมื่อทำการถอดล้อออกจากตัวรถยนต์แล้ว การนำยางอะไหล่ประกอบเข้ากับตัวรถอย่างถูกวิธี ควรกระทำดังนี้.
การประกอบล้อ เริ่มจากยกวงล้อประกอบเข้ากับดุมล้อ โดยเล็งรูน็อตที่กระทะล้อให้ตรง กับดุมล้อ ดันล้อเข้าไปในดุมล้อให้แนบสนิท แล้วใช้มือหมุนน็อตล้อทุกตัว ให้เข้าไปจนสุด เพื่อไม่ให้ล้อเกิดอาการโคลงเคลง จากนั้นจึงใช้ประแจขันน็อตให้แน่นอีกครั้ง โดยให้ ทำการขันในตำแหน่งตรงกันข้ามของน็อต สลับกันไปจนครบทุกตัว อย่าใช้ประแจขัน ก่อนที่จะใช้มือใส่น็อตเข้าที่อย่างถูกต้อง เพราะการใช้ประแจขันจนแน่น โดยที่น็อตยังไม่เข้าที่ อาจทำให้เกลียวของน็อตและดุมล้อเสียหายได้ นอกจากนี้ การขันแน่นเกินไป แม้ว่าจะใส่น็อตเข้าที่แล้ว ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายในทำนองเดียวกัน หรืออาจทำให้การคลายน็อตครั้งหน้าทำได้ยาก ส่วนการขันน็อตที่ไม่แน่นพอ อาจทำให้น็อตล้อเคลื่อนในขณะรถวิ่ง ทำให้เกิดอาการสั่นของรถได้ หรืออาจร้ายแรง จนถึงขั้น ทำให้ล้อหลุดได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขันน็อตด้วยความระมัดระวังให้แน่นอย่างเหมาะสม
สำหรับกรณีที่มีฝาครอบล้อ เมื่อถอดและประกอบล้อแล้ว ให้ใส่ฝาครอบล้อให้เข้าที่และใส่ให้แน่นพอเช่นกัน มิฉะนั้น ฝาครอบล้อ อาจหลุดหาย หรืออาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายกับผู้ใช้รถใช้ถนนได้
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ในตอนนี้จะได้ยกตัวอย่างถึงวิธีการประกอบล้ออย่างถูกวิธี ดังนี้
ตัวอย่างในการประกอบล้อ เริ่มจากจุดที่ 1 จุดถัดไปคือตำแหน่งตรงกันข้ามกับจุดแรก นั่นคือ จุดที่ 2 และสลับกันไปจนครบทุกตัว การขันน็อตในลักษณะนี้ ทำให้หน้าแปลนแนบสนิทกับดุมล้อมากที่สุด ซึ่งหากหน้าแปลน ไม่แนบสนิทกับดุมล้อ อาจทำให้ กระทะล้อบิดเยื้องศูนย์กับดุมล้อ และทำให้ล้อเกิดอาการ เต้นสั่น หรือเกิดการสึก ไม่เรียบของดอกยางได้
Installing your Wheel and Tyre 1

13. การเปลี่ยนแปลงขนาดยาง



โดยที่ขนาดยางเส้นใหม่มีความแตกต่างไปจากขนาดเดิม มีจุดที่จะต้องคำนึงถึง อยู่ 2 ประการ คือ
- ความสามารถในการรับน้ำหนัก ต้องไม่น้อยกว่าขนาดเดิม
- เส้นผ่าศูนย์กลางของยาง ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม
ผลเสียของการเปลี่ยนขนาดยางที่ไม่ตรงตามขนาดที่กำหนดของรถ มีดังนี้
ขนาดยางเล็กเกินไป
• ความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง
• สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
• มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ขนาดยางใหญ่เกินไป
• ยางเสียดสีกับส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ
• พวงมาลัยหนักขณะใช้ความเร็วต่ำ
• มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
Wheels and Tyres 1

ขนาดยาง165 R13185/70 R013205/60 R13185/65 R14195/60 R14195/55 R15205/50 R15
ซีรี่ส์80706065605550
เส้นผ่าศูนย์กลาง
ยาง (มม.)
594590576596590595587
ความสามารถใน
การรับนํ้าหนัก
สูงสุด (ก.ก./เส้น)
475515515515515487515
คาวมดันลมยาง
สูงสุด
(ปอนด์/ต.ร.น.)
33363636363636

14. ผลจากการสูบลมยาง



Effects from inflating the tyre 1

กรณีสูบลมยางน้อยกว่ากำหนด:

กรณีสูบลมยางมากกว่ากำหนด:
• อายุยางลดลง
• บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ
• เกิดความร้อนสูงที่ไหล่ยางทำให้เนื้อยางไหม้แยกจากกัน
• โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาด หรือหักได้
• สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
• หน้ายางฉีกขาดง่ายที่ความเร็วมากกว่า100กม/ชม.
• ลื่นไถลได้ง่าย เนื่องจากพื้นที่ยึดเกาะถนนลดลง
• โครงยางระเบิดง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำ เนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่ เกิดการยืดหยุ่นได้น้อย
• ดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่นๆ
• อายุยางลดลง
• ไม่สะดวกสบายในการขับขี่

ที่มา http://www.thaityre.com/th/tyre_knowledge.php