วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครื่องบินบินได้อย่างไร

เครื่องบินจะลอยตัวไปในอากาศ ได้นั้น ตัวเครื่องบินจะต้องมีความเร็วไปทางด้านหน้าเพื่อให้ปีกของเครื่องบินปะทะ กับอากาศที่ไหลผ่านปีกไปเร็วขึ้น กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะผ่านไปทางด้านล่างปีกจะทำให้เกิดแรงดันจากด้านล่าง ปีกขึ้นไปด้านบน อันเนื่องมาจากความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจะยิ่งลดลง เมื่อความเร็วของเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น และแรงดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกเพิ่มขึ้นจึงดันตัวขึ้นเป็นแรงยกทำให้ เครื่องบินสามารถลอยตัวขึ้นไปได้ในอากาศตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็ว เพียงพออยู่

เครื่องบินจะเดินทางไปข้างหน้าได้ก็ด้วยอาศัยแรงขับ (Thrust) ที่มีเครื่องยนต์และใบพัด หรือเครื่องยนต์ไอพ่น ผลักมวลอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาขับให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อเครื่องบินเคลื่อนตัวมีความเร็วไปข้างหน้าก็จะปะทะกับกระแสอากาศเกิดเป็นแรงต้าน (Drag) มีทิศทางสวนไปทางด้านหลังพยายามต้านให้ความเร็วของเครื่องบินลดลง

แรงดันของอากาศภายใต้ปีกที่เกิดจากกระแสอากาศขณะที่เครื่องบินผ่านอากาศเรียกว่า แรงยก (Lift) น้ำหนักของเครื่องบินรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกทำให้เกิดแรงถ่วงลงข้างล่างสู่พื้นโลก เนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลกเราเรียกว่า แรงโน้มถ่วง (Gravity) ในขณะที่เครื่องบินทำการวิ่งขึ้น (Take Off) แรงขับต้องมากว่าแรงต้าน และแรงยกต้องมากกว่าแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินตรงระดับ (Level Flight) แรงยกจะเท่ากับแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินลงสู่สนามบิน(Landing) แรงขับต้องน้อยกว่าแรงต้าน และแรงยกต้องน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง

จากความจริงที่รู้ๆกันโดนทั่วไปว่าเครื่องบินจะบินได้ต้องมีความเร็วไปข้างหน้าด้วยแรงขับจากเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่น หากเราทราบต่อไปว่ากระแสอากาศจากความเร็วเครื่องบินทำให้เกิดแรงยกขึ้นที่ปีกได้อย่างไร ก็จะทำให้เราทราบว่า เครื่องบินบินไปในอากาศได้อย่างไร

ลักษณะของปีกเครื่องบิน

โดยทั่วไปวัตถุที่มีรูปลักษณะเป็นแผ่น มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับความกว่างและความยาว และสามารถร่อนหรือปลิวไปในอากาศได้ เราเรียกวัตถุนั้นว่า "แอร์ฟอยล์" (Airfoil) ซึ่งนิยมเรียกเป็นภาษาไทยว่า "แพนอากาศ" เช่นแผ่นกระดาษ หรือปีกของเครื่องบิน ปีกของเครื่องบินมีลักษณะเป็นแผ่นมีความยาวของปีกขวางกับแนวแกนของลำตัว เมื่อมองจากด่านบนจะเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายไม้บรรทัดหรือเป็นแผ่นยาว ปลายโค้งมนเรียว บางแบบก็เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่มีอยู่ลักษณะหนึ่งที่เหมือนกันคือ ถ้าราตัดปีกออกตามขวางกับแนวแกนปีก คือให้รอยตัดขนาดกับแนวแกนลำตัว ก็จะมองเห็นรูปร่างของภาคตัดขวางที่คล้ายๆกัน ปีกของเครื่องบินแบบต่างๆจะมีลักษณะของรูปภาคตัดขวาง (Airfoil Section) คล้ายๆกับรูปคิ้วของคนซึ่งก็จะแตกต่างกันไปบ้างเช่นที่เรามองเห็นว่า โค้งมาก โค้งน้อย กว่ากันและขนาดแตกต่างกัน

เมื่อกระแสอากาศไหลผ่านปีกความกดดันของกระแสอากาศทำให้เกิดแรงยกได้อย่างไร

มวลกระแสอากาศที่ไหลอย่างต่อเนื่องเมื่อผ่านปีกที่ชายหน้าของปีกก็จะแยกตัวออกเป็น 2 ส่วน ไหลเป็นกระแสอากาศด้านบนและกระแสอากาศด้านล่าง มวลกระแสอากาศที่แยกตัวออกจากกันนั้นจะไหลไปบรรจบกันที่ชายหลังของปีกในเวลาใกล้เคียงกัน อากาศที่ไหลไปด้านบนของปีกที่เป็นรูปผิวโค้งของปีกซึ่งมีระยะทางที่ยาวกว่า จึงมีความเร็วสูงกว่ากระแสอากาศที่ไหลผ่านมาทางใต้ปีก ความกดดันของกระแสอากาศด้านบนปีกจึงลดลงต่ำกว่าความกดดันของกระแสอากาศด้านใต้ปีก ตามหลักการของเบอร์โนลี่ และถ้าหากปีกเอียงทำมุมปะทะกับกระแสอากาศมากขึ้น มวลของกระแสอากาศที่ปะทะและผ่านไปใต้ปีกก็จะยิ่งทำให้ความดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกทั้งหมดรวมกันเป็นแรงยกที่ปีก ทำให้เครื่องบินลอยตัวไปได้ในอากาศ

จึงสรุปได้ว่า เครื่องบินบินไปในอากาศได้ก็เพราะเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่นขับดันให้ เครื่องบินมีความเร็วไปข้างหน้าทำให้ปีกเครื่องบินผ่านกระแสอากาศที่มีความ เร็ว กระแสอากาศที่ปะทะผ่านไปข้างล่างปีกทำให้เกิดแรงดันขึ้นไปข้างบนปีกประกอบ กับความดันของกระแสอากาศที่ไหลผ่านปีกไปข้างบนยิ่งลดลงเมื่อความเร็ว ของกระแสอากาศเพิ่มขึ้นทำให้ความดันของกระแสอากาศข้างใต้ปีกสูงกว่าข้างบน ปีกขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเครื่องบินมีความเร็วมากพอ ความดันของกระแสอากาศที่ปะทะผ่านไปทางใต้ปีกทั้งหมดรวมกันจะเพิ่มขึ้นเป็น แรงยกที่ปีกมากพอ ทำให้เครื่องบินลอยตัวไปในอากาศได้ตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียง พออยู่

พื้นที่บังคับการบิน

Aileron : เป็นพื้นผิว ที่เคลื่อนไหวได้ใช้ในการควบคุม ท่าทาง ของ เครื่องบิน ติดตั้งอยู่ที่ ชายปีกหลัง ส่วนของปลายปีก ทั้งสองข้าง จุดมุ่งหมายเพื่อ ควบคุมอาการเอียงของเครื่องบิน หรือเคลื่อนที่รอบแกน Longitudinal Axis โดยสร้างความแตกต่าง ของแรงยกบนปีกทั้งสองข้างของเครื่องบิน เมื่อเราใช้พื้นที่บังคับการบินนี้ควบคุมการบิน เช่นโยกซ้ายหรือขวา ก็จะส่งผลให้ตัวเครื่องบินหมุนตัวรอบแกนลำตัว

Elevator : เป็นพื้นผิว ที่ ขยับ เคลื่อนไหว ได้ ใช้ ในการ ควบคุม ลักษณะบิน ของเครื่องบิน ออกแบบมา เพื่อใหัเครื่องบิน ยกหัวขึ้นหรือลง หรือเคลื่อนที่รอบแกน Lateral Axis ติดตั้งอยู่ที่ชายหลังของแพนหาง

Flap : ติดตั้งอยู่ที่ชายปีกหลัง ใกล้กับลำตัว จะเป็นใน ลักษณะ คล้าย บานพับ หรือ แบบเลื่อนถอยออกไปก็ได้ เพื่อเพิ่ม หรือลด แรงยกของปีก โดยเพิ่มพื้นที่ และความโค้งของปีก โดยปกติแล้ว จะใชัตอนจะบินขึ้น และตอนลง

Rudder : เป็นพื้นผิวที่เคลื่อนไหวได้ ติดตั้งอยู่ที่ชายหลัง ของกระโดงหาง ทำให้หัวเครื่องบิน หันไป ทางซ้าย หรือขวา หรือเคลื่อนที่รอบแกน Vertical Axis

Rudder Pedal : เป็นส่วนที่นักบินใช้ควบคุมการทำงานของ Rudder ติดตั้งอยู่ที่พื้น นักบินจะใช้เท้าเหยียบ สองเท้า ถ้าเหยียบเท้าซ้าย เครื่องบิน ก็จะหันไปทางซ้าย ถ้าเหยียบ เท้าขวา เครื่องบินก็จะหันไปทางขวา เพราะว่ามันไปควบคุม Rudder

Stabilizer : เป็นพื้นผิวที่อยู่ กับที่ เพื่อช่วยให้เครื่องบิน รักษา ลักษณะ ท่าทางการบินได้คงที่ ได้แก่กระโดงหาง ( Vertical Stabilizer) และ แพนหาง ( Horizontal Stabilizer) สำหรับ แพนหางนั้น สามารถปรับแต่งระดับได้ ( Adjustable)

การควบคุมทิศทางการบิน

แกนของการหมุน เครื่องบิน มีแกนของการหมุน อยู่สามแกน เรียกชื่อว่า แกน longitudinal , แกน vertical , และ แกน lateral . ดูรูปภาพ ข้างล่างประกอบ แล้วคุณจะเข้าใจ วิธีที่ง่าย ที่จะเข้าใจ แกนเหล่านี้ ง่ายๆคือ คิดว่า มีไม้อันยาวมาเสียบผ่านเครื่องบิน จากหัวเครื่องบิน, จากปีกเครื่องบิน, และอีกอันผ่านจุดที่มีไม้ สองอันตัดผ่านกันอยู่ และจุดที่ไม้สามอันตัดผ่านกันนั้น ดังรูป เราถือเอาว่าคือจุดศูนกลาง ที่น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องบิน จะกระทำที่จุดนี้ (center of gravity).

แกนตามยาว ตั้งแต่หัวไปจรดหาง เรียกว่า แกน longitudinal axis, และการ หมุน หรือ เคลื่อนที่ของลำตัว รอบแกนนี้ เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Roll "

แกนขวางจากปีกข้างหนึ่งไปยังปีก อีกข้างหนึ่ง เรียกว่า แกน lateral axis, และการหมุน หรือ เคลื่อนลำตัว รอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Pitch "

แกนในแนวตั้ง ที่ผ่านจุดที่เรียกว่า center of gravity (เมื่อเครื่องบิน บินอยู่ในแนวระดับ ) เราเรียกว่า แกน vertical axis, และการหมุน หรือเคลื่อนที่ ของลำตัวรอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ ว่า " Yaw "

แกน Longitudinal Axis:

แกนที่วิ่งจาก หัวเครื่องบิน จนถึงหางเครื่องบิน คือ แกน longitudinal axis ( ดูภาพข้างบนประกอบ ). การเคลื่อนที่รอบแกนนี้ เรียกว่า Roll. ลักษณะ ที่เครื่องมีอาการ Roll เป็นผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของ ailerons. Ailerons ติดตั้งอยู่ที่ปลายปีก และควบคุมโดย control column ในห้องนักบิน และสร้างมาในลักษณะ ที่ aileron ข้างหนึ่ง กระดก ลงล่าง แต่อีกข้างหนึ่ง จะกระดกขึ้นบน.

เมื่อ aileron มีการเคลื่อนไหว จากตำแหน่งศูนย์ หรือตำแหน่งแนวระดับ , จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะ แรงยกของปีกเครื่องบินทั้งสองข้าง การทำให้ปีก ครื่องบินยกขึ้น, aileron ของปีกนั้น ต้องกระดกลง . ปีกที่มี aileron กระดกลงก็จะทำให้แรงยกบนปีกนั้นเพิ่มขึ้น และ ปีกที่มี aileron กระดกขึ้น ก็จะมีแรงยกลดลง สิ่งนี้จะทำให้เครื่องบินเอียงไป ทางด้านที่ aileron กระดกขึ้น ailerons ของปีกทั้งสองข้างต่อไปยัง control column ในห้องนักบินโดยระบบ mechanical linkage. เมื่อ เมื่อคันบังคับหมุนไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางขวา ), aileron ทางปีกขวา จะกระดกขึ้น และ aileron ทางปีกซ้ายจะกระดกลง ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ แรงยกทางปีกซ้ายจะเพิ่มขึ้น และ แรงยกทางปีกขวา จะลดลง เป็นเหตุให้เครื่องบิน เอียงไปทางขวา. แต่ถ้าหมุนคันบังคับไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางซ้าย ) แรงบนปีกก็จะเกิดตรงกันข้าม เป็นเหตุให้เครื่องบินเอียงไปทางซ้าย

แกน Lateral Axis

แกน lateral axis เริ่มจากปลายปีกถึงปลายปีก ลักษณะการเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis เรียกลักษณะ นี้ว่า pitch อะไร เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ pitching มันคือ elevator ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ แพนหาง ( horizontal stabilizer). elevator สามารถกระดกขึ้น หรือกระดกลงได้ เมื่อนักบินบังคับคันบังคับ ( control column or stick) ถอยหลัง หรือไปข้างหน้า.

การดึง คันบังคับมาข้างหลัง จะบังคับให้ elevator กระดกขึ้น. (ดูรูปภาพข้างบน ประกอบ) ลมที่ประทะกับพื้นผิวด้านบนของ elevator ที่กระดกขึ้น ทำให้เกิดแรงกดมากขึ้น เป็นเหตุให้ส่วนหางของเครื่องบิน ถูกกดลง การเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis, เมื่อหางเคลื่อนที่ลง (pitches) , ส่วนหัวของเครื่องบิน (pitches) เชิดขึ้น เครื่องบินไต่ระดับ .

การผลัก คันบังคับไปข้างหน้า เพื่อบังคับ elevator ให้กระดกลง . ลมที่ประทะ กับพื้นผิวด้านล่างของ elevator ที่กระดกลง ทำให้เกิดแรงด้านล่างมากขึ้น กว่าด้านบน เป็นเหตุให้ส่วนหาง ของเครื่องบินกระดกขึ้น ( pitch up ) และ หัวของเครื่องบินกระดกลง เป็นเหตุให้หัวเครื่องบินดิ่งลง

แกน Vertical Axis:

แกนที่สาม ซึ่งผ่านจากหลังคาด้านบน ทะลุท้องเครื่องบิน เรียกว่า แกน vertical หรือ yaw axis. หัวเครื่องบิน เคลื่อนที่ ไปรอบแกนนี้ จากด้านข้างหนึ่ง ไปอีกด้านข้างหนึ่ง Rudder ของเครื่องบิน ซึ่งเคลื่อนไหว โดยการที่นักบิน ใช้เท้าเหยียบไปบน แผ่น rudder ที่อยู่บนพื้น rudder ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของเครื่องบินรอบแกนนี้ Rudder เป็นแผ่นบังคับ ที่เคลื่อนไหว ติดอยู่กับกระโดงหาง การเหยียบลงบน ( rudder pedal ), แผ่นบังคับด้านขวา rudder ก็จะตวัดไปทางขวา, เหยียบ แผ่นบังคับที่พื้น ไปทางซ้าย จะบังคับให้ rudder ตวัด ไป ทางซ้ายt, เมื่อนักบิน เหยียบแผ่นบังคับทางซ้าย, นั่นหม ายความว่า ถ้านักบิน กำหนดทิศทางของ Rudder ให้ตวัดไปทาง ทางซ้าย นี่ก็ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหาง แผ่นหางของเครื่องบิน หางของเครื่องบินก็จะเบนไปทางขวา และ หัวของเครื่องบิน ก็จะเบนไปทางซ้าย( yaw to the left).

ที่มา http://www.oocities.com/thaiinterhobby/knowledge.htm


วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มาทำภาพสีซ้อนขาวดำ แบบคนไม่มีฝีมือกัน (มืออาชีพไม่ต้องเข้ามา)

เคยอ่านบทความที่คุณตุ๊ก ตุ๊กทำไว้ ในมุมความเรื่องตกแต่งภาพสีตามลิงค์

ตกแต่งภาพสีซ้อนขาวดำด้วย photoshop กันเถอะ
http://www.com-th.net/webboard/index.php?topic=54773.0

เห็นแล้วอยากทำมั่งค่ะ แต่.. ไอเรามันก็คนไม่มีฝีมือด้านโปรแกรม Photoshop แม้แต่น้อย
ดูไป เง็งไป แต่ก็ด้วยความที่อยากทำบ้าง ก็เดินหาไปเรื่อย
จนสุดท้ายก็ได้ไปเจอเค้าสอนไว้ที่นึงค่ะ แต่... เค้าก็สอนแบบอ่านแล้วเง็งอีก

ก็เลยทำการ "งม ๆ" จนออกมาได้ แบบมั่วเรียกพี่ เลยเอามาทำให้ดูกันเนาะ
คิดว่าหลายท่านคงเคยผ่านตา และแอบคิดว่าง่าย ๆ แบบนี้ ทำไมถึงทำไม่ได้

เอาน่า.... ลองไปปรับใช้ดูนะคะ เผื่อว่าจะทำให้รูปที่เราเป็นนายแบบ นางแบบเองดูดีขึ้น
ด้วยการทำให้รูปตัวเราเป็นสีขาวดำไปซะ



เริ่มโดย :
1.เปิดโปรแกรม Photoshop มา ตามตย.ใช้ CS3 นะคะ (นั่น.. ถึงจะใช้โปรแกรมนี้ไม่ค่อยเป็น แต่มี CS3 ใช้นะเนี่ย)

2.ไปที่ Open และเลือกไฟล์รูปที่ต้องการทำเลยค่ะ

3.ไปที่เมนู Image > Adjustments > Desaturate เพื่อทำให้ภาพเป็นขาวดำทั้งหมด



4.โอ้...เจ้าบิ๊กเบิร์ดเป็นสีขาวดำซะแล้ว



5.มาที่เครื่องมือ History Bursh Tool ที่อยู่ทางซ้ายมือ



6.เลือกขนาดหัวแปรงตามขนาดที่ต้องการเลยค่ะ ค่าอื่นไม่ต้องไปสนใจ



7.เอาหัวแปรงที่เลือกตะกี้ มาปาด ๆ ป้าย ๆ ตามที่ที่เราต้องการให้เป็นสีได้เลยค่ะ สีที่ได้ก็จะเป็นสีตามภาพต้นฉบับน่ะแหละ
หากตรงมุม ๆ ขอบ ๆ ก็ให้ทำการขยายภาพแล้วก็ปาด ๆ ป้าย ๆ ให้ดูเนียน ๆ ด้วยการปรับหัวแปรงด้วยนะคะ



8.เอิ๊ก เอิ๊ก... เสร็จเรียบร้อย เจ้าบิ๊กเบิร์ดก็โดดเด่นเหลืองอ๋อยแต่เพียงผู้เดียวในภาพนี้ค่ะ



9.เกือบลืมแน่ะ เสร็จแล้วก็เซฟไว้ด้วยนะคะ




เอาภาพตย.มาให้ดู ที่ทำเสร็จไปหลายภาพ ตื่นเต้น... ได้วิธีการใหม่ (ที่เก่าสำหรับท่านอื่นที่รู้แล้ว)

ต้นหัวใจม่วงที่บ้านค่ะ เป็นต้นไม้ที่แปลกดี .. ม่วงทั้งต้นเลย



Blush .... ไม่มีคำบรรยายใด ๆ 555



ที่มา http://www.com-th.net/webboard/index.php?topic=84117.0

นาโนทรานซิสเตอร์จากกราฟีนใกล้ความจริงขึ้นไปอีกขั้น

นักฟิสิกส์ในสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการสร้างรอยต่อ p-n ( หรือ p-n junction) จากวัสดุนาโนที่เรียกกันว่า กราฟีน (Graphene) ซึ่งเป็นแผ่นคาร์บอนที่มีความหนาเพียงแค่หนึ่งอะตอม ความหนาแน่นประจุบนอุปกรณ์นี้สามารถควบคุมได้โดยการให้ความต่างศักย์ผ่านทาง ขั้วไฟฟ้าซึ่งติดกับผิวของอุปกรณ์แผ่นบางๆนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้อาจจะช่วยให้นักฟิสิกสืสามารถนำเอา กราฟีน มาสร้างทรานซิสเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพดีและขนาดเล็กกว่าทรานซิสเตอร์จากซิลิกอน (Silicon) ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

45369
ภาพแสดงโครงสร้างของกราฟีน กราไฟต์ ท่อนาโนคาร์บอน และบัคกี้บอล



กราฟีน เป็นวัสดุสองมิติที่มีโครงสร้างเป็นรูปตาข่ายรวงผึ้งของอะตอมคาร์บอน กราฟีนเป็นโครงสร้างพื้นฐานของวัสดุคาร์บอนที่มีรูปแบบโครงสร้าง (allotropic forms) ชนิดอื่น เช่น buckyballs, ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon nanotube) และ กราไฟต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของใส่ดินสอ เป็นต้น กราฟีนค้นพบในปี 2004 โดยกลุ่มนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ คุณสมบัติทางการนำไฟฟ้าของมันมีความน่าสนใจ เพราะไม่ได้มีอิเล็กตรอนเป็นอนุภาคพาหะ แต่เป็นกลุ่มของอนุภาคที่มีสปินครึ่ง และคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วใกล้แสง (1 ใน 300 เท่าของอัตราเร็วแสง) ซึ่งอาจจะนำมาช่วยในการศึกษาอันตรกริยาขั้นพื้นฐานของอนุภาคต่างๆได้ นอกจากนี้แล้วกราฟีนยังเป็นความหวังในการสร้างอุปกรณ์นาโนอิเล็กโทรนิก เช่น ทรานซิสเตอร์ และ เครื่องตรวจจับสารเคมีต่างๆอีกด้วย

ในการที่จะ สร้างทรานซิสเตอร์ได้นั้น นักฟิสิกส์จะต้องนำกราฟีนมาสร้างรอยต่อ p-n หรือ p-n junction ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกต่างๆให้ได้เสียก่อน โดยการต่อขั้วไฟฟ้าบวก และขั้วไฟฟ้าลบ บนแผ่นของกราฟีน ขั้วไฟฟ้าบวกจะจะดึงประจุลบจากแผ่นกราฟีนที่อยู่ข้างล่างมันทำให้เกิดเป็น บริเวณที่มีประจุลบมาก (เทียบได้กับ สารกึ่งตัวนำที่เป็น n-type) ในขณะที่ขั้วไฟฟ้าลบก็จะผลักประจุลบออกไปจากบริเวณนั้นทำให้เกิดบริเวณที่มี ประจุบวก (เทียบได้กับสารกึ่งตัวนำที่เป็น p-type) หรือในอีกแง่หนึ่งบริเวณระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสองก็จะมีคุณสมบัติเหมือนกับ รอยต่อ p-n ในตัวไดโอดนั่นเอง

45370
ภาพแสดงการทดลอง (ดูรายละเอียดจากเอกสารอ้างอิง)


อย่าง ไรก็ตามการจะติดขั้วไฟฟ้าลงบนแผ่นกราฟีนที่มีความบางเพียง 1 อะตอมทำได้อยากมาก เพราะแผ่นกราฟีนอาจจะเกิดการฉีกขาดและเสียหายได้ นักฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด นำโดย ดร. ชาลส์ มาคุส (Charles Marcus) ค้นพบเทคนิคที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยเทคนิคดังกล่าวเรียกว่า Atomic layer deposition (หรือ ALD) ซึ่ง ดร. คุส กล่าวว่าเขาได้ขอยืมเทคนิคนี้มาจากนักเคมี ที่สังเคราะห์ท่อนาโนคาร์บอน ซึ่งเป็นการเอาแผ่นกราฟีนมาม้วนเป็นท่อนั่นเอง

อย่างไรก็ตามแม้ว่า นักฟิสิกส์จะประสบความสำเร็จในการสร้างรอยต่อ p-n จากกราฟีนได้แล้ว แต่รอยต่อนี้มีคุณสมบัติที่ต่างกันกับรอยต่อ p-n ที่ได้จากสารกึ่งตัวนำ ที่สำคัญคือไม่มีช่องว่างของพลังงานที่เรียกกันว่า Energy gap ทำให้มันไม่สามารถนำมาใช้ในทรานซิสเตอร์ได้ นักฟิสิกส์จึงจะต้องสร้างช่องว่างพลังงานให้กับแผ่นกราฟีน ซึ่งทีมของ ดร. มาคุส กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้เทคนิค ALD มาสร้างทรานซิสเตอร์จากกราฟีนต่อไป

ข่าวจาก
- ฟิสิกส์เว็บ http://physicsweb.org/articles/news/11/6/19/1

- Preprint ของบทความวิชาการต้นฉบับหาได้จาก http://arxiv.org/abs/0704.3487

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

- http://en.wikipedia.org/wiki/Graphene

- Physics World November 2006
http://physicsweb.org/articles/world/19/11/7/1

ที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/99541

กราฟีน (Graphene) — วัสดุที่แกร่งกว่าเพ็ชร แต่ม้วนและพับได้!!!

graphene-001


เป็นที่รับรู้กันมานานมากแล้วว่า “เพชร” (diamond) เป็นสิ่งที่แข็งที่สุดในโลก แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาชื่อ “กราฟีน” (graphene) ก็ได้รับความสนใจกันมากขึ้น ไม่เพียงด้วยสาเหตุที่วัสดุชนิดนี้มีความแข็งแกร่งกว่าเพชรเท่านั้น แต่ด้วยคุณสมบัติที่มันสามารถเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีกว่า “ซิลิคอน” (silicon) ซึ่งใช้ทำชิพคอมพิวเตอร์อยู่ในปัจจุบันถึงราว 100 เท่าตัวก็ยิ่งทำให้กราฟีนน่าสนใจมากขึ้นไปอีก

กราฟีนได้รับการเรียกขานกันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่าเป็น “วัสดุมหัศจรรย์” นั้นเป็นอัญรูป(allotrope)หรือรูปแบบหนึ่งของคาร์บอนเช่นเดียวกันกับเพชรและกราไฟต์ แต่ กราฟีนนั้นจะประกอบขึ้นด้วยอะตอมของคาร์บอนที่เกาะกันเป็นรูปหกเหลี่ยมซึ่ง เกาะอยู่บนระนาบเดียวกันไปเรื่อยๆจนมีลักษณะเป็นแผ่นที่มีความกว้างและความ ยาวคล้ายกับแผงลวดตาข่ายที่ใช้ทำกรงสัตว์ ซึ่งถึงแม้ว่ากราฟีนจะมีความแกร่งกว่าเพชรก็ตาม แต่มันก็สามรถม้วนหรือพับได้ด้วย

ส่วนความหนานั้นจะเท่ากับความหนาของคาร์บอนเพียงอะตอมเดียว หรือประมาณ 0.34 นาโนเมตร (nanometre) ซึ่ง 1 นาโนเมตรจะเท่ากับเศษ 1 ส่วน 1,000,000,000 ของ 1 เมตร หรือ เศษ 1 ส่วน 1,000,000 ของ 1 มิลลิเมตร ส่วนเพชรจะมีรูปทรงแปดเหลี่ยม ในขณะที่กราไฟต์นั้นก็จะประกอบด้วยกราฟีนที่มาซ้อนกันเป็นชั้นๆนั่นเอง

ในปีค.ศ. 2004 นัก ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ และสถาบันเทคโนโลยีไมโครอีเล็กทรอนิกส์ ในเมืองเชอร์โนโกลอฟก้า ประเทศรัสเซีย ได้ทำการแยกกราฟีนออกมาจากแผ่นกราไฟต์และทำการศึกษาคุณสมบัติของกราฟีนอย่าง จริงจัง พวกเขาพบว่า ปกติแล้วเราจะไม่พบกราฟีนอยู่โดดๆในธรรมชาติ แต่จะอยู่ซ้อนกันเป็นชั้นๆในรูปของกราไฟต์ซึ่งนิยมนำมาใช้ทำเป็นไส้ดินสอ และ หลังจากนั้นมา นักฟิสิกส์ นักเคมี และวิศวกรอีเล็กทรอนิกส์ในห้องปฏิบัติการทั้งหลายทั่วโลกต่างก็หันมาให้ความ สนใจในกราฟีนกันอย่างล้นหลาม


นัก วิทยาศาสตร์เหล่านี้พบว่า กราฟีนมีศักยภาพสูงในอันที่จะนำมาพัฒนาส่วนประกอบของอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ หลายชนิด ได้แก่ จอภาพที่ใช้งานด้วยการสัมผัส(touch screens) แผงโซล่าร์เซล อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน โทรศัพท์มือถือ และชิพคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ดร.อังเดร เจอิม (Dr.Andre Geim) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบกราฟีนเป็นคนแรก ให้ความเห็นเพียงว่า ถึงแม้กราฟีนจะสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าซิลิคอนถึงประมาณ 100 เท่าตัวก็ตาม แต่การที่จะพัฒนาชิพคอมพิวเตอร์จากกราฟีนก็น่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวนานที เดียว

ขณะเดียวกัน ดร.โทมัส ปาลาซิออส (Dr.Tomas Palacios) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาจูเซ็ทส์ (Massachusetts Institute of Technology) สหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับกราฟีน ก็ให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ใน อนาคตอันใกล้และในระยะกลางแล้ว มันก็ยังคงเป็นเรื่องยากมากที่กราฟีนจะเข้ามาแทนที่ซิลิคอนในอุตสาหกรรมชิ้น ส่วนอีเล็กทรอนิกส์สำหรับคอมพิวเตอร์ได้ โดยให้เหตุผลว่า “อุตสาหกรรม เกี่ยวกับซิลิคอนนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐซึ่ง ได้หล่อหลอมกระบวนการผลิตซิลิคอนให้มีความสมบูรณ์พร้อมมาเป็นเวลาถึง 40 ปีแล้ว”

นอกจากบรรดาห้องปฏิบัติการของรัฐบาล มหาวิทยาลัย และบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่ให้ความสนใจกับกราฟีนอย่างเอาจริงเอาจังแล้ว กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯหรือ “เพ็นทาก้อน” (Pentagon) ก็ให้ความสนใจในวัสดุไฮเท็คชนิดนี้ไม่น้อยเช่นกัน โดยได้จัดสรรงบเพื่อการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับกราฟีนไปแล้วประมาณ 22 ล้านเหรียญสหรัฐ
ดัง นั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า กราฟีนนับเป็นวัสดุชนิดใหม่ของโลกแห่งนวัตกรรมที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง และเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องยาวของ “กราฟีน” กันบ่อยมากขึ้นในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน…


รายละเอียดอื่นๆ

ทรานซิสเตอร์จาก Graphene สามารถลดขนาดจากแถบเป็น Dot ได้แล้ว

นักวิจัยที่ Manchester University ในสหราชอาณาจักรสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จาก Graphene quantum dot โดย Graphene อาจจะเป็นวัสดุที่อาจจะมาแทนที่ซิลิกอนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกได้

Graphene เป็นแผ่นคาร์บอน 2 มิติที่มีความหนาเพียง 1 อะตอมและโดยปกติจะถูกสร้างมาจากการตัดผลึกของการ์ไฟต์ ในระดับโมเลกุลมันจะดูเหมือนแผ่นที่มี Benzene ring ต่อกัน

เนื่องจากสมบัติทางกายภาพของ Graphene ทำให้มันถูกพยายามนำไปใช้แทนซิลิกอน อิเล็กตรอนในสสารนี้จะประพฤติตัวคล้ายอนุภาคสัมพันธภาพที่ไม่มีมาลนิ่งและ สามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วประมาน 1000000 เมตรต่อวินาที Kostya Novoselov หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า "สมบัตินี้ยังคงอยู่แม้เราจะทำให้อุปกรณ์เหลือเพียง Benzene ring ไม่กี่วง นี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกระดับโมเลกุล"

ปัจจุบันนักวิจัยสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จากแถบของ Graphene ได้เท่านั้น แต่รูปทรงที่ยาวไม่ทำให้ความนำไฟฟ้าได้สูงสุด Novoselov และผู้ร่วมงานได้ตัดแถบเพื่อให้ขนาดของมันสามารถควบอิเล็กตรอนในเชิงควอนตัม ได้ (Quantum confine electron) พวกเขาได้ใช้วิธีการตัดโดยใช้ลำอิเล็กตรอนและกระตุ้นพลาสมาในการทำแผ่น Grahene ขนาดเล็กจากแผ่นใหญ่ Novoselov กล่าวว่า "เราสามารถแสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างทรานซิสเตอร์โดยใช้ Graphene quantum dot และมันยังสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิห้องอีกด้วย"

Andre Geim หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่าพวกเขาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กเพียง 10 นาโนเมตรซึ่งอาจจะเล็กลงถึง 1 นาโนเมตรได้ในอนาคต

Jie Chen จาก university of Alberta ใน Canada หนึ่งในผู้วิจัยในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกจาก Graphene ประทับใจกับการที่ Novoselov, Geim และผู้ร่วมงานสามารถพัฒนา Graphene ได้อย่างรวดเร็ว เขากล่าวว่า "พวกเขากำลังเป็นผู้นำในสาขานี้" http://physicsworld.com/cws/article/news/33832


ที่มา http://www.twittyonline.com

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เหตุใดยุงเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก แต่ไม่เป็นพาหะแพร่เชื้อเอชไอวี

เป็นที่ทราบกันดีว่าเชื้อเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกัน บกพร่องหรือโรคเอดส์ เอชไอวีสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้สามทางหลักๆ ด้วยกัน ทางแรกคือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน หรือต่างเพศกัน ทางที่สองคือจากหญิงติดเชื้อที่ตั้งครรภ์ถ่ายทอดไปสู่ลูก และทางที่สามคือทางเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด เช่น การได้รับการถ่ายเลือดหรือพลาสมาที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ จากวิธีการถ่ายทอดเชื้อทั้งสามทางดังกล่าว เราจะสังเกตได้ว่าเชื้อจะผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีการ สัมผัสกันระหว่างเยื่อเมือกของคนทั้งสองหรือการได้รับเชื้อทางเลือดโดยผ่าน ทางตัวกลาง เช่น เข็มฉีดยาหรือใบมีด

ถ้าเอชไอวีสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ทางเข็มฉีดยา แล้วยุงจะเป็นพาหะแพร่เชื้อเอชไอวีเหมือนกับที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกได้ หรือไม่ เพราะยุงมีปากเป็นรูปทรงแหลมเหมือนเข็มฉีดยาและใช้ปากดูดกินเลือดคนเป็น อาหารด้วย?


โดยปกตินักวิทยาศาสตร์จะไม่ตอบคำถามแบบฟันธงลงไปร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ายุงไม่ เป็นพาหะแพร่เชื้อเอชไอวีแน่นอน ถึงแม้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะบ่งชี้ว่ายุงไม่เป็นพาหะแพร่เชื้อเอ ชไอวีก็ตาม

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของปากยุงและธรรมชาติการดูดเลือด ของยุงเสียก่อน บริเวณปากของยุงมีรูปทรงแหลมเหมือนเข็มฉีดยา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.02 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร จริงๆ แล้วปากของยุงประกอบไปด้วยท่อสองท่อแยกออกจากกัน ท่อแรกใช้พ่นออกและท่อที่สองใช้ดูดเข้าเท่านั้น ท่อแรกเป็นท่อที่ต่อมาจากต่อมน้ำลาย ใช้พ่นน้ำลายเข้าไปในบริเวณที่จะดูดเลือดโดยน้ำลายของยุงมีฤทธิ์ป้องกันการ แข็งตัวของเลือด ทำให้ยุงสามารถดูดเลือดได้สะดวกและเลือดไม่แข็งตัวในตัวยุง ส่วนท่อที่สองเป็นท่อที่ยุงใช้ดูดเลือดเข้าสู่ตัวยุง ยุงตัวผู้ไม่ดูดเลือดแต่จะกินน้ำหวานจากดอกไม้หรือผลไม้ ยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด เมื่อดูดเลือดอิ่มแล้วก็มักจะไม่กลับมาดูดเลือดอีกทันที ยุงจะบินไปแอบในที่มืดๆ เงียบๆ หรือไปวางไข่ตามแหล่งน้ำ หากยุงถูกรบกวนในขณะที่กำลังดูดเลือด ยุงจะบินกลับมาดูดเลือดใหม่ โดยไม่พ่นเลือดที่เพิ่งดูดเข้าไปซึ่งอยู่ในท้องกลับออกมา เนื่องจากระบบท่อทั้งสองท่อทำหน้าที่ต่างกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีทางที่เราจะได้รับเชื้อเอชไอวีจากเลือดที่อยู่ในตัวยุง

เมื่อพิจารณาเอชไอวีที่อยู่ในเลือดที่ติดอยู่บริเวณผิวรอบปากของยุง เมื่อยุงถอนปากออกจากผิวหนังบริเวณที่ดูดเลือด ผิวด้านนอกของปากยุงจะผ่านชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และผิวหนังชั้นนอกของคนซึ่งเป็นชั้นที่ไม่ไวต่อการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้เลือดที่ติดอยู่ที่ผิวด้านนอกของปากยุงถูกปาดออกไป ไม่เหลือเลือดติดอยู่หรือเหลือเลือดติดอยู่ปริมาณน้อยมากจนไม่มีไวรัสหลง เหลืออยู่ในเลือดนั้นหรือมีไวรัสหลงเหลืออยู่แต่ไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิด โรคได้ เนื่องจากไวรัสจะเริ่มสูญเสียความสามารถในการก่อโรคและมีปริมาณลดลงทันที เมื่อเลือดบริเวณปากของยุงเริ่มแห้ง

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองป้อนเลือดที่มีเชื้อเอชไอวีให้ แมลงวันคอก (Stomoxy calcitrans) กิน หลังจากกินเลือดอิ่มหนึ่งถึงสองนาที แมลงวันคอกจะสำรอกเลือดออกมามีปริมาตรประมาณ 0.2 ไมโครลิตร (สองส่วนในสิบล้านส่วนของหนึ่งลิตร) และสามารถตรวจพบเชื้อเอชไอวีได้ในเลือดที่สำรอกออกมา ถึงแม้แมลงวันคอกจะสามารถสำรอกเลือดออกมาได้และตรวจพบเชื้อเอชไอวีในเลือด แต่โอกาสที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้นั้นน้อยมาก เนื่องจากปริมาตรเลือด 0.2 ไมโครลิตร เป็นปริมาตรที่น้อย ทำให้เลือดมีโอกาสแห้งอย่างรวดเร็วและเชื้อเอชไอวีตายได้ทั้งหมดก่อนที่แมลง วันคอกจะไปกัดคนอื่น ในกรณีที่เลือดที่สำรอกออกมายังไม่แห้งและติดอยู่ที่บริเวณปากในขณะที่ไปกัด คนอื่น เมื่อแมลงวันคอกสอดส่วนปากเข้าไปเพื่อดูดเลือด ส่วนปากจะต้องผ่านชั้นผิวหนังด้านนอกและชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งไม่ไว ต่อการติดเชื้อเอชไอวี เนื้อเยื่อทั้งสองชั้นนี้จะช่วยปาดเลือดออกไปก่อนที่แมลงวันคอกจะสามารถแทง ส่วนปลายปากเข้าไปถึงหลอดเลือดได้สำเร็จ ดังนั้นกลไกนี้จึงไม่เอื้ออำนวยให้มีการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากผู้ติดเชื้อไป สู่คนอื่นๆ ผ่านทางยุงหรือแมลงวันคอก ไม่เพียงเฉพาะเชื้อเอชไอวีแต่ยังรวมถึงไวรัสชนิดอื่นๆ ด้วย

ถ้าอย่างนั้น ทำไมยุงเป็นพาหะนำโรคต่างๆ เช่นโรคไข้เลือดออกได้? โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เดงกี่ (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงดูดเลือดที่มีไวรัสเดงกี่เข้าไป ไวรัสจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในเซลล์ระบบทางเดินอาหาร ช่องท้อง หลอดลม เนื้อเยื่อบริเวณหัวและต่อมน้ำลายของยุง โดยจะพบไวรัสเดงกี่ในตัวยุงในปริมาณสูงมากตั้งแต่วันที่ 7 เป็นต้นไปหลังจากที่ยุงได้รับเชื้อไวรัส โดยปกติยุงตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณหนึ่งเดือนครึ่งถึงสองเดือน เมื่อยุงได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ เชื้อก็จะอยู่ในตัวยุงตลอดไปจนยุงตาย เมื่อยุงวางไข่ เชื้อไวรัสก็สามารถผ่านเข้าไปอยู่ในไข่ของยุงได้อีกด้วย การที่ไวรัสเดงกี่สามารถเพิ่มจำนวนในตัวยุงและสามารถมีชีวิตอยู่ในตัวยุงได้ เป็นระยะเวลานานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยุงเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก เมื่อยุงที่ติดเชื้อเดงกี่มากัดคน ยุงจะพ่นน้ำลายเข้าไปในบริเวณที่จะดูดเลือดเพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว ในน้ำลายของยุงนี้จะมีไวรัสเดงกี่ปริมาณมากเนื่องจากไวรัสเดงกี่สามารถแบ่ง ตัวเพิ่มจำนวนในต่อมน้ำลายของยุง ไวรัสเดงกี่จึงสามารถผ่านจากตัวยุงเข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกยุงกัดได้

จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานว่าเชื้อเอชไอวีสามารถแพร่จากผู้ติดเชื้อไปยังคนอื่นได้โดย ยุง สาเหตุสำคัญที่ยุงไม่เป็นพาหะแพร่เชื้อเอชไอวีนั้นเป็นเพราะ เชื้อเอชไอวีไม่สามารถเข้าไปอาศัยและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเซลล์ของยุง เอชไอวีจะเข้าไปในเซลล์ใดเซลล์หนึ่งเพื่อเพิ่มจำนวนได้ก็ต่อเมื่อเซลล์นั้น มีโปรตีนสองชนิดอยู่บนผิวเซลล์ โดยโปรตีนทั้งสองชนิดนี้จะต้องอยู่ใกล้กัน ซึ่งเซลล์ในลักษณะดังกล่าวนี้พบได้ในคนแต่ไม่พบในยุง จึงเป็นเหตุผลที่เชื้อเอชไอวีไม่สามารถเข้าไปเพิ่มจำนวนในเซลล์ของยุง เมื่อยุงไปกัดผู้ติดเชื้อและยุงได้รับเลือดที่มีเอชไอวีเข้าไป ยุงจะเริ่มย่อยเลือดทันทีทำให้เชื้อเอชไอวีในตัวยุงถูกกำจัดไปจนหมดอย่างรวด เร็ว จากการทดลองป้อนเลือดที่มีเอชไอวีให้ยุงกินในห้องปฏิบัติการ นักวิทยาศาสตร์ไม่พบการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในอวัยวะต่างๆ ของยุง รวมทั้งต่อมน้ำลายและไม่พบเชื้อเอชไอวีในน้ำลายของยุง นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาทางระบาดวิทยาในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเอ ชไอวีอาศัยร่วมกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อและมียุงอยู่จำนวนมาก หากยุงเป็นพาหะแพร่เชื้อเอชไอวีได้ จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่นั้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตราที่ใกล้ เคียงกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก และอัตราการติดเชื้อก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงในการระบาดของยุง แต่ในความเป็นจริงแล้วผลการศึกษาพบว่าการระบาดของยุงไม่เกี่ยวข้องกับอัตรา การติดเชื้อเอชไอวีและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่

หากคิดเล่นๆ ต่อไปว่า ถ้ามียุงที่เพิ่งดูดเลือดที่มีเชื้อเอชไอวีมาจนเต็มท้องมาเกาะอยู่บนแผล แล้วเราใช้มือตบยุงจนเลือดในตัวยุงกระจายออกมาเปรอะบริเวณแผล จะทำให้เรามีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ คำตอบคือ มีโอกาส แต่ต้อง มีข้อแม้หลายประการ คือยุงต้องไปกัดผู้ติดเชื้อที่มีเอชไอวีในกระแสเลือดปริมาณสูงมาก และยุงดูดเลือดจนอิ่ม มีเลือดปริมาณมากอยู่ในตัวยุง จึงจะมีปริมาณเชื้อเอชไอวีมากพอที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และยุงจะต้องบินมาเกาะที่แผลทันทีก่อนที่เลือดในตัวยุงจะถูกย่อย ส่วนแผลนั้น ถ้าเป็นแผลที่แห้งตกสะเก็ดแล้ว จะต้องตบยุงบนแผลจนกระทั่งแผลแห้งกลายเป็นแผลสดจึงจะมีโอกาสติดเชื้อได้ หรือถ้าแผลนั้นเป็นแผลสด ก็จะต้องตบให้เลือดในตัวยุงเข้าไปโดนแผลพอดี ในความเป็นจริง แค่ใช้มือตบยุงที่เกาะอยู่บนแขนหรือขาที่ไม่มีแผลเราก็รู้สึกเจ็บแล้ว ถ้ามีแผลอยู่ คงไม่มีใครอยากใช้มือตบลงไปบนแผลโดยตรง

โดยสรุป ท่านผู้อ่านสบายใจได้ว่ายุงไม่ใช่พาหะแพร่เชื้อเอชไอวี โอกาสที่ท่านจะเจ็บป่วยและเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันจากโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่มากับยุง เช่น ไข้เลือดออกมาเลเรีย ไข้สมองอักเสบ ฯลฯ มีสูงกว่ามาก

นายสัตวแพทย์ ดร.เอกชัย เจนวิถีสุข

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ที่มา http://www.school.net.th/schoolnet/article/read.php?article_id=172

ควาร์ก


ควาร์ก คือ ชื่อเรียกอนุภาคมูลฐานที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดจริง ๆ ของสสารตามทฤษฎีใหม่ขององค์ประกอบของสสาร

ควาร์กคืออนุภาคที่เล็กที่สุดเท่าที่มีการ ยอมรับในตอนนี้ครับ ถูกค้นพบจากการทดลองยิงโปรตอนชนโปรตอนแล้วได้อนุภาคควาร์กออกมา ควาร์กมีประจุที่เรียกว่า “สี” มี 3 ประจุสี คือ แดง น้ำเงิน เขียว เมื่อรวมกันจะมีความเป็นกลางทางประจุกลายเป็นไม่มีสี คล้ายกันการรวมกันของประจุไฟฟ้าบวกและลบ เราจะไม่เห็นควาร์กแยกกันเป็นอิสระ เนื่องจากมีอนุภาคกลูออน (gluon) ที่นำพาแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มเชื่อมควาร์กเข้าด้วยกัน ปัจจุบันมี การค้นพบควาร์ก 6 ตัว คือ up quark, down quark, strange quark, charmed quark, bottom quark และ top quark โดยนิวตรอนและโปรตอนเกิดจากการรวมกันของควาร์ก นิวตรอนประกอบด้วย up quark 1 ตัว และ down quark 2 ตัว ส่วนโปรตอนประกอบด้วย up quark 2 ตัว และ down quark 1 ตัว

      ควาร์ก (quark)  เป็นอนุภาคมูลฐานที่เล็กที่สุดของสสาร ที่รู้จักในปัจจุบัน

ควาร์ก (อังกฤษ: quark อ่านว่า /kwɔrk/ หรือ /kwɑrk/) คืออนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม ตัวอย่างคือเมื่อมีสิ่งๆหนึ่งล่วงล้ำเข้าสู่อาณาเขตของหลุมดำ หากมันมีความเร็วน้อยกว่าหรือเท่ากับแสง มันจะถูกดูดและบดขยี้ทันที โดยจะถูกบดจนกลายเป็นอะตอม และถูกบดอีกจนกลายเป็นควาร์ก และไม่สามารถแยกย่อยได้อีก ถือเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดในจักรวาล นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของความเข้าใจของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการพิสูจน์ แล้ว และอาจเป็นบันไดสู่เทคโนโลยีในอนาคต


Murry Gell-Mann ได้เสนอแนวคิดขึ้นมาว่า มีอนุภาคที่เป็นพื้นฐานของ Hardrons อยู่และเรียกพวกมันว่า ควาร์ก (Quark) (คำว่า quark (เสียงนกนางนวล) มาจากบทประพันธ์เรื่อง Finnegans Wake ของ James Joyce ในวลีที่ว่า "Three quarks for Muster Mark!") และ ในปี ค.ศ. 1964 Gell-Mann และ George Zweig ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคโปรตอนความเร็วสูงไปชนกันให้แตกสลาย และพบอนุภาคที่เขาเรียกว่าควาร์กจริงๆ โดยที่ Gell-Mann พบว่า โดยการจับกลุ่มอย่างง่ายๆ ด้วยควาร์ก 3 อนุภาค (three quarks) และ ต่อมาก็พบอนุภาคที่ประกอบด้วยควาร์ก 2 อนุภาคด้วย แนวคิดนี้ ทำให้เขาสามารถอธิบายอนุภาคจำนวนพวกฮาดรอนเป็นร้อยๆ ชนิดที่พบในห้องทดลองได้อย่างน่าอัศจรรย์ และที่สำคัญคือยังทำนายถึงการมีอยู่ของอนุภาคที่ยังค้นไม่พบได้อีกด้วย และก็ทำให้ Gell-Man ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการเสนอแนวคิดที่สวยงามนี้ ตามระเบียบ



อนุภาคควาร์ก มีด้วยกัน 3 คู่ คู่ที่เล็กที่สุดมีชื่อเรียกว่า Up Quark (แปลว่า ควาร์ก "ขึ้น") และ Down Quark (แปลว่า ควาร์ก "ลง") ซึ่งค้นพบจากการให้โปรตอนพลังงานสูงวิ่งชนกัน โดยที่ควาร์กดังกล่าวมีมวลและประจุไฟฟ้าตามตารางที่ 1 และพบว่าโปรตอนเกิดจากการรวมกันของควาร์กดังนี้คือ u + u + d ทำให้ประจุไฟฟ้าของโปรตอนเป็น 2/3+2/3-1/3 = +1e พอดี ส่วนนิวตรอนเกิดจากการรวมกันของ u + d + d ถ้าบวกประจุของควาร์กทั้งสามตัวดู จะพบว่าประจุรวมเป็นศูนย์พอดี ปฏิอนุภาคของนิวตรอนหรือแอนไทนิวตรอนประกอบด้วย แอนไทควาร์กสามอนุภาค คือ anti u + anti d + anti d ประจุรวมเป็น -2/3 + 1/3 + 1/3 = 0 ดังนั้น แอนไทนิวตรอน จึงเป็นกลางทางไฟฟ้าเหมือนกับนิวตรอน


ตารางที่ 1 ประจุไฟฟ้าและมวลของควาร์ก

ควาร์กคู่ถัดมามีลักษณะคล้ายกับคู่แรกแทบจะทุกประการยกเว้นมีมวลมากกว่า มีชื่อเรียกว่า Strange Quark (แปลว่า ควาร์ก "ประหลาด") และ Charm Quark (แปลว่า ควาร์ก "น่ารัก") ซึ่งพบจากเศษซากของการชนในเครื่องเร่งอนุภาค และถือเป็นเรื่องที่แปลกเหมือนกันว่า ทำไมธรรมชาติสร้างสิ่งที่ซ้ำซ้อนขึ้นมาได้โดยให้ให้แตกต่างกันเฉพาะมวลเท่า นั้น


รูปที่ 3 อารมณ์ขันของนักฟิสิกส์กับการตั้งชื่อควาร์ก

ควาร์กคู่ถัดมาคือ Bottom Quark (แปลว่า ควาร์ก "ล่าง" ถ้าดูในรูปที่ 3 บางทีฝรั่งใช้คำว่า Bottom ที่หมายถึง "ก้น") และ Top Quark (แปลว่า ควาร์ก "บน") เมื่อดูคุณสมบัติแล้วก็พบว่าเหมือนกันสองรุ่นแรกแทบจะทุกประการยกเว้นแต่เรื่องมวลเท่านั้น ดูรูปที่ 4จะสังเกตเห็นว่า การตั้งชื่อควาร์ก นำเอาคำคุณศัพท์และคำบุพบท มาใช้ โดยที่
Up = ขึ้น, Down = ลง, Strange = ประหลาด, Charm = น่ารัก, Top = บน, Bottom = ล่าง

ไม่ทราบว่า ท่านผู้อ่านจะมีอารมณ์ขันกับชื่อพวกนี้ด้วยไหม :-)




ควาร์กมีสี:

อนุภาคควาร์กนั้น อาจจะมองได้ว่ามี 6 รส (flavors) นั่นคือ Up , Down , strange , Charm , Top , Bottom ขณะที่แต่ละรส มี 3 สี (color) คือ แดง เขียว น้ำเงิน (สีของแม่สีทางแสงสี) เช่น โปรตอนเกิดจาก d-สีแดง + u-สีเขียว + u-สีน้ำเงิน ดังรูปที่ 5 - 6 ซึ่งสีของควาร์กทั้งสามตัวรวมกันแล้วต้องเป็นสีขาว (ตามหลักการรวมกันของแสงสี) รวมแล้วก็เป็นควาร์ก 18 ชนิด
และปฏิอนุภาคของควาร์กนั้น ก็จะมีสีตรงข้าม แสงสีที่เป็นสีตรงข้ามของแสงสีแดงคือแสงสีน้ำเงินเขียว แสงสีที่เป็นสีตรงข้ามของแสงสีเขียวคือแสงสีแดงม่วง และแสงสีที่เป็นสีตรงข้ามของแสงสีน้ำเงินคือแสงสีเหลือง ดังนั้น ปฏิอนุภาคของควาร์กก็จะมี 6 รส นั่นคือ Anti-Up , Anti-Down , Anti-strange , Anti-Charm , Anti-Top , Anti-Bottom และแต่ละรส มี 3 สี (color) คือ แดงม่วง น้ำเงินเขียว เหลือง จริงๆแล้ว ควาร์กมีสีหรือไม่ ไม่มีใครทราบ แต่การใช้สีสามารถอธิบายการรวมกันของควาร์กกลายเป็นอนุภาคพวกฮาดรอนได้อย่าง น่าอัศจรรย์ รวมแล้วจึงมีควาร์กทั้งหมดอยู่ 36 ชนิด ในการศึกษาเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐานเหล่านี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างรูปแบบของการเกิดของจักรวาลของเราได้เลยที เดียว


รูปที่ 5 โปรตอน แอนไทโปรตอน นิวตรอน และอนุภาคแลมดา เป็นตัวอย่างของอนุภาคฮาดรอนเกิดจากการรวมกันของควาร์กสามตัวที่มีสีต่างกัน (รวมกันได้สีขาว)



รูปที่ 6 อนุภาคพาย(บวก)และอนุภาคเคออน(ศูนย์) เป็นตัวอย่างของอนุภาคฮาดรอนเกิดจากการรวมกันของควาร์กสองตัวที่มีสีต่างกัน (รวมกันได้สีขาว)




อ้างอิง:
1. Elementary Particles [online]. Available from: http://nobelprize.org/physics/index.html [Accessed 2005 March]
2. Elementary Particle Physics Glossary [online]. Available from:
http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/elementaryparticles/elementaryparticles.html [Accessed 2005 March]
3. Online Resources for Teachers [online]. Available from:
http://public.web.cern.ch/Public/Content/Chapters/Education/Education-en.html [Accessed 2005 March]
4. Fermilab Education Office [online]. Available from: http://www-ed.fnal.gov/ed_home.html [Accessed 2005 March].
5. Stephen W. Hawking (1998), A brief History of Time from the Big Bang to Black holes, New York Bantam Books.



ที่มา http://www.school.net.th/schoolnet/article/read.php?article_id=378

ก๊าซธรรมชาติคืออะไร

ก๊าซ ธรรมชาติเกิดจากซากพืชซากสัตว์ทับถมกัน ทำให้มีชื่อเรียกของเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่าเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นเดียวกันกับน้ำมัน แต่แตกต่างกันที่สถานะก๊าซและของเหลว และองค์ประกอบคาร์บอน

เชื้อ เพลิงฟอสซิลอีกประเภทหนึ่ง คือ คอนเดนเสท (condensate) ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซเมื่ออยู่ใต้ดินภายใต้ความดัน แต่จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเมื่อถูกนำขึ้นมาอยู่บนผิวดิน อาจจะปะปนอยู่กับก๊าซธรรมชาติในหลุมก๊าซ ปะปนอยู่ในหลุมน้ำมัน หรืออาจเป็นหลุมที่มีแต่คอนเดนเสทล้วนๆ ก็ได้
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย เพนเทน เฮกเซน เฮปเทน ที่มีไฮโดรคาร์บอนเข้มข้นจนมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดัน บรรยากาศ บางครั้งเรียกไฮโดรคาร์บอนเหลว หรือ Heavier Hydrocarbon หรือ NGL: Natural Gasoline (ต่างจาก LNG ซึ่งเป็น C ต่ำ แต่ลดอุณหภูมิและเพิ่มความดันจนกลายเป็นของเหลว เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่ง)

องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ ประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก
มีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

ก๊าซมีเทน (methane;CH4) มีมากกว่า 70%
ก๊าซอีเทน (ethane; C2H6)
ก๊าซโพรเพน (propane;C3H8)
ก๊าซบิวเทน (butane; C4H10)
ก๊าซเพนเทน (pentane; C5H12)
ก๊าซเฮกเทน (hextane; C6H14)
ก๊าซเฮปเทน (heptane; C7H16)
และก๊าซออกเทน (octane; C8H19)

นอกจากนี้ยังอาจมีก๊าซอื่นเจือปนอยู่ด้วย เช่น

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
ก๊าซไนโตรเจน

ก๊าซ ธรรมชาติจะพบใต้ดิน ทั้งบนบกและพื้นดินใต้ทะเล จึงต้องใช้การขุดเจาะเพื่อนำขึ้นมาใช้งาน เรียกว่าแท่นเจาะ ซึ่งเมื่อเจาะขึ้นมาแล้ว ด้วยความที่ก๊าซธรรมชาติอยู่ในสถานะก๊าซ จึงต้องวางท่อจากหลุมที่เจาะไปถึงจุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หรืออื่นๆ

ในแต่ละหลุมของก๊าซธรรมชาติจะได้ก๊าซธรรมชาติที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น
Dry Gas คือก๊าซที่มี มีเทน (C1) เป็นองค์ประกอบหลัก คือ มีมากกว่า 85%
Wet Gas คือก๊าซที่มี ไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ C2-C9 รวมๆกันมากกว่า 10%

เมื่อ ได้ก๊าซธรรมชาติขึ้นมาจากหลุมแล้ว ส่วนมากจะนำเข้าสู่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อแยกองค์ประกอบมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1. เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม มีเทน (C1) เป็นไฮโดรคาร์บอนที่เหมาะกับการเป็นเชื้อเพลิงมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติให้ความร้อนสูง
3. ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV: Natural Gas for vehicle) ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน
4. ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน (LPG) โพรเพน (C3) และบิวเทน (C4)
5. เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรือ feedstock

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=puefaii&month=03-10-2010&group=7&gblog=1

เรื่องของ เงิน ที่คุณยังไม่รู้



พูดเรื่องเงินแล้วเครียด มาดูข้อเท็จจริงน่าชวนหัวเหล่านี้ดีกว่า!

ธนบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือธนบัตร 100,000 เปโซ จากประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อฉลองเอกราชจากสเปนครบรอบ 100 ปี

ATM เครื่องแรก คิด ค้นโดย จอห์น เชพเพิร์ด บาร์รอน ติดตั้งให้ธนาคาร Barclay ในกรุงลอนดอนเมื่อปี 1967 ไม่มีบัตร ATM แต่ใช้รหัส PIN แทน และไม่เก็บค่าธรรมเนียมด้วยนะ

สรรพสิ่งนั้นไม่เที่ยง ธนบัตรทุกใบจะต้องเก่าลงเรื่อย ๆ แล้วยิ่งมูลค่าน้อยก็ยิ่งใช้บ่อย โดยธนบัตร 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีอายุขัยประมาณ 21 เดือน

พระพักตร์ควีนเอลิซาเบธ ปรากฏ อยู่บนธนบัตรของประเทศต่าง ๆ ถึง 33 ประเทศด้วยกัน เริ่มจากประเทศแคนาดา ซึ่งตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ตั้งแต่ครั้งยังเป็นเจ้าหญิง อายุ 9 ชันษาเมื่อปี 1935

สกปรกสุด ๆ รายงาน จาก Southern Medical Journal เปิดเผยว่าพบเชื้อโรคในธนบัตรร้อยละ 94 และเกือบทั้งหมดมีเชื้อโรคมากกว่าห้องน้ำในบ้าน แถมไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถอยู่บนธนบัตรได้นานถึง 17 วัน...อย่างนี้ต้องฟอกด่วน!

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cartoonthai&month=02-10-2010&group=14&gblog=2

ทำไมราคาตั๋วหนังบางเรื่อง จึงแพงกว่าปรกติ

.

1. ทำไมระยะเวลาในการดูหนังในแต่ละรอบไม่เท่ากัน จริงหรือเปล่าที่เขาว่าช่วงวันท้ายๆมีการตัดหนังออกให้สั้นลง สงสัยมานานแล้ว (ถามโดย คุณ kittythu)

reel film

Filmotopia ตอบ : หนังแต่ละรอบ (ไม่นับการฉายหนังตัวอย่างและโฆษณา ) โดยทั่วๆไปแล้วต้องเท่ากัน เพราะถ้ามีการตัดหนังให้สั้นลง ทางโรงต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพยนตร์ ซึ่งเจ้าของภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้ตัดหนังแน่ๆ แต่อาจมีกรณียกเว้นในหนังบางเรื่องที่เจ้าของหนังอาจมี? Trick นิดหน่อย คือ เมื่อเวลาส่งเซ็นเซอร์เขาอาจตัดบางฉากบางตอนออกไป แต่พอผ่านเซ็นเซอร์แล้วก็เอาฉากเหล่านั้นมาใส่ใหม่ และส่งไปฉายตามโรง เป็นการลักไก่เจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ ซึ่งคงไม่ได้ออกตรวจทุกครั้งทุกโรง แต่พอฉายไปได้สักระยะ เจ้าของหนังก็อาจจัดการเอาฉากเหล่านั้นออกไป จึงทำให้ความยาวหนังเรื่องนั้นสั้นลงตามที่คุณได้ยินมา หนังแบบนี้มักจะเป็นหนังที่มีฉากโป๊เปลือยมากๆ แต่ถ้าเป็นหนังปรกติทั่วไป ไม่น่าจะมีการตัดให้สั้นลงแน่นอนครับ

.

2. ทำไมตั๋วหนังบางเรื่อง แพงกว่าปรกติ (ถามโดย คุณ min_ty )


ตั๋วหนัง

Filmotopia ตอบ : การกำหนดราคาตั๋วหนังนั้นเป็นการ กำหนดโดยเจ้าของโรงหนังเป็นหลัก และ ไม่มีระเบียบทางราชการใดๆมาควบคุมการกำหนดราคา โรงหนังจะกำหนดราคาตั๋วที่ Location ใด หรือเรื่องใด ราคาเท่าไหร่ก็ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย อันนี้จะเห็นได้จากโรงหนังที่ Location กลางเมืองจะขายตั๋วแพงกว่า Location ชานเมือง และ ในโรงหนังที่เดียวกันก็จะมีที่นั่งพิเศษรูปแบบต่างๆ ราคาแพงกว่าที่นั่งปรกติ (เช่นที่นั่งเบาะกว้างกว่า, นั่งสบายกว่า, นุ่มกว่า, แถวหลังๆ ไม่ใกล้จอมากนัก หรือเป็นการส่วนตัวกว่า) ซึ่งการกำหนดราคาเหล่านี้ เมื่อไม่มีกฎหมายควบคุม ทางโรงก็กำหนดได้ตามใจชอบ

ส่วนที่ตั๋วหนังบางเรื่องราคาแพงกว่าปรกติ อันนี้อาจมาจากหลายเหตุผล เช่น ถ้าหนังเรื่องนั้นระยะเวลาการฉายยาวกว่าทั่วๆไป คือ หนังทั่วๆไปจะยาว 90 นาที ทางโรงก็จะฉาย 1 วันได้ 6 รอบ แต่ถ้าหนังบางเรื่องยาว 120 ? 140 นาที รอบฉายก็จะฉายได้แค่ 4-5 รอบ ซึ่งก็อาจเป็นเหตุผลที่ทางโรงขาดรายได้เขาก็เลยขึ้นราคา หรือ อาจเป็นเพราะทางเจ้าของหนังเห็นว่าหนังของตัวเองลงทุนสูง จึงขอส่วนแบ่งจากโรงมากกว่าปรกติ

เช่น จากเดิม ที่โรง : เจ้าของหนังแบ่งกัน 50:50
ไปเป็น โรง : เจ้าของหนัง? 45:55

ซึ่งก็จะทำให้โรงมีรายได้ต่อที่นั่งน้อยลง โรงจึงใช้เป็นเหตุผลในการขึ้นราคาได้ ซึ่งจริงๆแล้วการที่โรงหนังบางโรงกำหนดราคาตั๋วแพงกว่าปรกติ ทางออกทางเดียวก็คือ คนดูอย่าไปดูหนังโรงนั้น ไปเลือกดูโรงอื่นที่ไม่ขึ้นราคา เพราะตรงนี้ถ้าขึ้นราคาแล้วไม่มีคนดู เดี๋ยวโรงหนังก็จะเปลี่ยนใจเองหละครับ

หรือมีอีกทางในการดูหนังแบบประหยัด สบายกระเป๋า ก็คือ คอยติดตามว่า หนังแต่ละเรื่อง มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง มีส่วนลดอะไร ถ้าซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ของแถม หรือส่วนลดอะไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้ขอแนะนำเลยครับ หากหนังเรื่องไหนคุณตั้งใจจะดูในโรงแน่ๆ และเรื่องนั้นมีโปรโมชั่นขายตั๋วล่วงหน้า ก็ซื้อไปเลย เพราะ ลด-แลก-แจก-แถม อีกเยอะ และอีกทางเลือกที่แนะนำคือ ดูหนังวันพุธ (ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ ก่อนที่หนังจะเข้าใหม่วันพฤหัส ซึ่งดีกว่าปล่อยโรงให้ว่างเสียเปล่าๆ) เพราะช่วงนี้ ทางโรงเมเจอร์และเอสเอฟ มีโปรโมชั่น ดูหนังวันพุธ ราคาเพียง 60บาท เท่านี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า จะอดใจรอไหวหรือเปล่า หรือมันเป็นวันหยุดของคุณ สะดวกคุณรึเปล่า ก็เท่านั้นเอง

.

3. ทำไมหนังที่ทำเงินมักไม่ได้รางวัล แต่หนังที่ได้รางวัลมักไม่ทำเงิน (ถาม โดย คุณ aoyza)

โปสเตอร์หนังไทย
หนังรางวัลที่ไม่มีโอกาสได้ตังค์เยอะๆ, หนังดีที่ไม่ได้ตังค์ และ หนังได้ตังค์ที่คนตำหนิกันเยอะแยะ

Filmotopia ตอบ : คำถามนี้เป็นคำถามที่ได้ยินบ่อยมากๆ และก็เป็นเรื่องที่ตัวผมคิดว่า ถ้าจะเอาให้เข้าใจง่ายๆก็คงให้ลองคิดดูว่า ทำไมคนหมู่มากในโลกยังนิยมบริโภคน้ำอัดลม หรือ Fast Food, Burger, ไก่ทอด ทั้งๆที่รู้ว่าไม่มีประโยชน์ แต่มีเพียงคนส่วนน้อยที่ชื่นชอบการกินอาหาร Macrobiotic อาหารชีวจิตที่ทุกๆคนรู้ว่ามันดีต่อสุขภาพ? คำตอบที่ได้ก็คงเป็นเพราะ น้ำอัดลม, Fast Food ต่างๆกินแล้วมันถูกปาก มันอร่อยคนจึงชอบกินกัน แม้จะรู้ว่าไม่มีประโยชน์ ก็เหมือนกับหนังที่ทำเงินก็เพราะมันดูสนุกแต่อาจไม่มีองค์ประกอบด้าน ภาพยนตร์ที่ดี? ขณะที่ อาหารพวกชีวจิต มันไม่อร่อยคนจึงไม่ชอบกิน ทั้งๆที่รู้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย เหมือนหนังที่มีองค์ประกอบภาพยนตร์ที่ดีมากๆแต่ดูไม่สนุกคนก็ไม่ชอบดู แต่ก็มีหนังบางเรื่องที่ทั้งสนุก และ มีคุณค่า มีองค์ประกอบด้านภาพยนตร์ที่ดี หนังประเภทนี้ก็จะได้ทั้งเงินและรางวัล ซึ่งจริงๆ หนังที่จะมีคุณสมบัติแบบนี้ก็มีนะแต่หายากอยู่เช่น Titanic หรือ น้ำพุ

โดยสรุปหนังที่ทำเงิน คือ หนังที่สนุกถูกใจคนหมู่มาก , หนังที่ได้รางวัล คือ หนังที่มีองค์ประกอบภาพยนตร์ที่ดีในความเห็นของกรรมการ ซึ่งรสนิยมของคนหมู่มากมักจะไม่ตรงกับมาตรฐานที่เหล่าคณะกรรมการตั้งไว้หน่ะ ครับ เลยทำให้หนังทำเงินมักไม่ได้รางวัล ยกเว้นหนังที่จะได้ทั้ง เงิน และ รางวัล ต้องเป็นหนังสนุกที่มีองค์ประกอบภาพยนตร์ที่ดีจริงๆ

ที่มา http://movie.mthai.com/movie-guru/49161.html