ก๊าซ ธรรมชาติเกิดจากซากพืชซากสัตว์ทับถมกัน ทำให้มีชื่อเรียกของเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่าเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นเดียวกันกับน้ำมัน แต่แตกต่างกันที่สถานะก๊าซและของเหลว และองค์ประกอบคาร์บอน
เชื้อ เพลิงฟอสซิลอีกประเภทหนึ่ง คือ คอนเดนเสท (condensate) ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซเมื่ออยู่ใต้ดินภายใต้ความดัน แต่จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเมื่อถูกนำขึ้นมาอยู่บนผิวดิน อาจจะปะปนอยู่กับก๊าซธรรมชาติในหลุมก๊าซ ปะปนอยู่ในหลุมน้ำมัน หรืออาจเป็นหลุมที่มีแต่คอนเดนเสทล้วนๆ ก็ได้
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย เพนเทน เฮกเซน เฮปเทน ที่มีไฮโดรคาร์บอนเข้มข้นจนมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดัน บรรยากาศ บางครั้งเรียกไฮโดรคาร์บอนเหลว หรือ Heavier Hydrocarbon หรือ NGL: Natural Gasoline (ต่างจาก LNG ซึ่งเป็น C ต่ำ แต่ลดอุณหภูมิและเพิ่มความดันจนกลายเป็นของเหลว เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่ง)
องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ ประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก
มีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
ก๊าซมีเทน (methane;CH4) มีมากกว่า 70%
ก๊าซอีเทน (ethane; C2H6)
ก๊าซโพรเพน (propane;C3H8)
ก๊าซบิวเทน (butane; C4H10)
ก๊าซเพนเทน (pentane; C5H12)
ก๊าซเฮกเทน (hextane; C6H14)
ก๊าซเฮปเทน (heptane; C7H16)
และก๊าซออกเทน (octane; C8H19)
นอกจากนี้ยังอาจมีก๊าซอื่นเจือปนอยู่ด้วย เช่น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
ก๊าซไนโตรเจน
ก๊าซ ธรรมชาติจะพบใต้ดิน ทั้งบนบกและพื้นดินใต้ทะเล จึงต้องใช้การขุดเจาะเพื่อนำขึ้นมาใช้งาน เรียกว่าแท่นเจาะ ซึ่งเมื่อเจาะขึ้นมาแล้ว ด้วยความที่ก๊าซธรรมชาติอยู่ในสถานะก๊าซ จึงต้องวางท่อจากหลุมที่เจาะไปถึงจุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หรืออื่นๆ
ในแต่ละหลุมของก๊าซธรรมชาติจะได้ก๊าซธรรมชาติที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น
Dry Gas คือก๊าซที่มี มีเทน (C1) เป็นองค์ประกอบหลัก คือ มีมากกว่า 85%
Wet Gas คือก๊าซที่มี ไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ C2-C9 รวมๆกันมากกว่า 10%
เมื่อ ได้ก๊าซธรรมชาติขึ้นมาจากหลุมแล้ว ส่วนมากจะนำเข้าสู่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อแยกองค์ประกอบมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1. เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม มีเทน (C1) เป็นไฮโดรคาร์บอนที่เหมาะกับการเป็นเชื้อเพลิงมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติให้ความร้อนสูง
3. ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV: Natural Gas for vehicle) ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน
4. ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน (LPG) โพรเพน (C3) และบิวเทน (C4)
5. เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรือ feedstock
ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=puefaii&month=03-10-2010&group=7&gblog=1
ปวดหัวบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง??
9 ปีที่ผ่านมา