ลีน (Lean) หมายถึง ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นในเรื่องการไหล (Flow) ของงานเป็นหลัก โดยทำการกำจัดความสูญเปล่า (Waste) ต่าง ๆ ของงาน และ เพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับตัวสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด (Customer Satisfaction)
ซิกซ์ซิกมา (Six Sigma) หมายถึง วิธีการทางสถิติที่เป็นระบบ (Systematic) เพื่อลดความผันแปร (Variation) ในกระบวนการผลิต (Process) และผลิตภัณฑ์ (Product) โดยมุ่งหวังคุณภาพที่เป็นเลิศ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร โดยต้นทุนที่ซิกซ์ซิกมาให้ความสนใจก็คือ ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality
แนวคิด : ลดความผันแปร (Variation)
แนวทาง
- 1. ระบุปัญหา (Define)
- 2. วัดปัญหา (Measure)
- 3. วิเคราะห์ปัญหา (Analyse)
- 4. แก้ไขปรับปรุง (Improve)
- 5. ควบคุมให้คงไว้ (Control)
- มุ่งเน้น : ปัญหาส่วนลีน (Lean)
- สมมุติฐาน : ปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ให้ความสำคัญกับตัวเลขและสถิติ การปรับปรุงระบบทำได้โดยการลดความผันแปรในกระบวนการผลิต
- ผลที่ได้รับโดยตรง : สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น
- ผลที่ได้รับโดยอ้อม : ความสูญเปล่าน้อยลงมีงานออกจากกระบวนการผลิตมากขึ้น สินค้าคงคลังลดลง
- วิจารณ์ : ผลกระทบของการปรับปรุงซึ่งอาจเกิดขึ้นที่กระบวนการอื่นอาจไม่ได้รับการพิจารณา อาจเป็นการปรับปรุงเฉพาะกระบวนการนั้น ๆ
แนวคิด : กำจัดความสูญเปล่า (Waste)
แนวทาง
ลีน (Lean) มุ่งที่การปรับปรุงระบบการผลิตในด้านการผันแปร คุณภาพและการเพิ่มผลิตภาพ แต่ ซิกส์ ซิกม่า (Six Sigma)ไม่ได้มุ่งเพียงแค่ระบบการผลิตเท่านั้น แต่ยังมุ่งให้ความสนใจในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา และการบริการด้วย
- 1. ระบุค่าของสินค้า (Value)
- 2. แสดงผังคุณค่า (Value Stream)
- 3. ทำให้คุณค่าไหล (Flow)
- 4. ให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่า (Pull)
- 5. กำจัดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าอย่างต่อเนื่อง (Perfection)
- มุ่งเน้น : การไหลของงาน
- สมมุติฐาน : การกำจัดความสูญเปล่าจะทำให้ธุรกิจดีขึ้น การปรับปรุงที่มีผลดีขึ้นเล็กน้อย แต่ทำมาก ๆ ดีกว่าการวิเคราะห์ระบบ (Many Small Improvements are Better Than System Analysis)
- ผลที่ได้รับโดยตรง : การไหลของงานดีขึ้น
- ผลที่ได้รับโดยอ้อม : ความผันแปรลดลงสินค้ามีคุณภาพดีขึ้น สินค้าคงคลังลดลง
- วิจารณ์ : สถิติและการวิเคราะห์ระบบไม่มีความหมาย
แนวทาง ลีน (Lean) สามารถจัดการกับปัญหาหรือสิ่งรบกวนกระบวนการผลิตได้โดยการจัดให้การทำงานในองค์กรเป็นไปในทางเดียวกันและมีความสอดคล้องประสานงานกันมากกว่าที่จะส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อย ลีนจะเป็นตัวช่วยหาพื้นที่การผลิตร่วมในกรณีที่กระบวนการผลิตทั้งหมดต้องการผลิตสินค้าในเวลาเดียวกัน และแทนที่ลีนจะมุ่งให้ความสนใจแค่ชิ้นส่วนงานแต่ลีนยังมุ่งให้ความสนใจในการไหลของสินค้าและพนักงานผลิตด้วยตัววัดที่สำคัญตามแนวคิดลีนก็คือเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร การบำรุงรักษาเครื่องจักรและการกำหนดเส้นทางการผลิต แต่ ซิกส์ ซิกม่า (Six Sigma) มุ่งให้ความสนใจที่อัตราของเสียและต้นทุนคุณภาพที่เลวอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานและกระบวนการซึ่งต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกวัดแล้ว
แนวทางการแก้ปัญหาแบบซิกส์ ซิกม่า (Six Sigma)จะใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนซึ่งเหมาะกับการที่แนวคิด ลีน (Lean) จะนำไปใช้ปรับให้เป็นมาตรฐานและการปรับผังโรงงานใหม่ ส่วนลีนก็เป็นรากฐานให้กับแนวทางแก้ปัญหาแบบ ซิกส์ ซิกม่า (Six Sigma)ในส่วนที่ระบบได้รับการวัดว่าคลาดเคลื่อนไปจากมาตรฐานและได้รับการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น
ขณะที่ ลีน (Lean) เน้นการทำให้เป็นมาตรฐานและการเพิ่มผลิตภาพนั้น ซิกส์ ซิกม่า (Six Sigma) ก็สามารถจัดการกับสิ่งรบกวนกระบวนการผลิตและต้นทุนคุณภาพที่อย่างมีประสิทธิภาพ