เจอเวปนี้เข้าไป http://share.psu.ac.th/blog/sec-km-adm/5647
หลักการก็ซับซ้อนพอควร เขาใช้สารผสมแอมโมเนียเป็น ตัวกลางถ่ายโอนความร้อน (เรามักใช้คำพูดผิดว่าเอาความเย็นใส่เข้าไป ซึ่งควรพูดว่าเอาความร้อน(พลังงานรูปหนึ่งที่ถ่ายโอนได้)ออกมากกว่า) โดยความร้อนจากเตาน้ำมันก๊าดจะไปช่วยให้แอมโมเนียในสารผสมแอมโมเนียเข้มข้น กลายเป็นไอ (ผมว่าความร้อนจากเทียนเล่มใหญ่ก็คงใช้ได้ แต่ต้องคอยยกระดับให้ความร้อนสม่ำเสมอ) และเคลื่อนที่ผ่านหลอดเล็กๆลอยขึ้นด้านบน โดยนำเอาบางส่วนของเหลวแอมโมเนียเจือจางไปด้วย (ไอแอมโมเนียทำหน้าที่เป็นปั๊มส่งแอมโมเนียเจือจางให้สูงขึ้น) ส่วนไอแอมโมเนียร้อนที่ลอยขึ้นด้านบนจะไปถ่ายโอนความร้อนให้แก่สิ่งแวดล้อม คืออากาศภายนอกตู้เย็น (เป็นการเอาความร้อนออกจากระบบ) และควบแน่นเป็นของเหลว ผ่านเข้าไปในส่วนที่เรียกว่า evaporator ซึ่ง มีแก๊สไฮโดรเจนเป่าผ่าน ซึ่งจะทำให้แอมโมเนียกลายเป็นไออีกครั้ง ตรงนี้คือหลักการสำคัญครับ เพราะการกลายเป็นไอจะต้องใช้ความร้อนแฝง การกลายเป็นไอของแอมโมเนียเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำ (จุดเดือดแอมโมเนีย ที่ความดันปกติอยู่ที่ -33.35 องศาเซลเซียส) ดังนั้นการถ่ายโอนความร้อนจากห้องในตู้เย็นสู่แผงการกลายเป็นไอของแอมโมเนีย จึงเกิดขึ้น หลังจากรับความร้อนมาแล้วก็ต้องทำไอแอมโมเนียให้กลายเป็นของเหลวเหมือนเดิม ซึ่งก็ใช้สารละลายแอมโมเนียเจือจาง (ที่ไอแอมโมเนียปั๊มไปไว้สูงขึ้น) เป็นตัวดูดซับให้ละลายเป็นของเหลว (สารละลายแอมโมเนียเข้มข้น) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Absorption refrigerator ในการละลายนี้จะปล่อยความร้อนออกจากระบบอีกด้วย (อากาศก็รับไป) จากนั้นก็จะไปเข้า absorber vessel ซึ่งแยกแก๊สไฮโดรเจนให้ไหลกลับเข้าไปในระบบใหม่ และได้สารละลายแอมโมเนียเข้มข้นคืนกลับไปรับความร้อนจากเตาน้ำมันก๊าดอีก ครั้ง ก็จะครบวัฏจักร (cycle) ของแอมโมเนีย
แปลกดีมั้ย เดี๋ยวไปหาซื้อดีกว่า (-_-)