วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การ crawl ของ google



หลายท่านกระซิบถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องของ google bot แล้วก็เรื่องของการ crawling ของ bot น่ะครับ เลยจะเอ่ยถึงปัจจัยในเรื่องของการ crawl ของ google กันคร่าวๆ ครับ

1. เรื่องของ Backlink กับ Relevant link
เชื่อว่า หลายท่านคงจะพอรู้แล้วครับว่า bot ทั้งหลายแหล่ นั้นวิ่งเก็บเว็บไซตืได้ด้วยลิ้งค์เท่านั้น ดังนั้นการที่ bot จะวิ่งมาได้ ก็ต้องอาศัยลิ้งค์มายังเว็บไซต์ของเราครับ ดังนั้น การที่เรามีเว็บไซต์ ลิ้งค์ มายังที่เว็บเราเยอะ เหมือนกับการสร้างทางมายังเว็บไซต์ ครับ นอกจากนี้ การมี Relevant link จากเว็บไซตืที่เกี่ยวข้องหรือเว็บไซต์ที่คล้ายคลึงกัน จะช่วยให้ การ crawl ของ bot ทำได้ดีขึ้นครับ เพราะเว็บไซต์ เนื้อหาในแต่ละกลุ่มนั้น จะมีอัตราการวิ่งของ bot ที่ต่างกันไปครับ

2. Link Structure
ในที่นี้หมายถึงลิ้งค์ภายในไซต์ของเรานะครับ ว่ามีโคลงสร้าง หรือมีการวางลิ้งค์ในรูปแบบไหนกันบ้าง เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษกับ bot ในการวิ่งไปมาในเว็บของเราครับ ซึ่งอันนี้ต้องสงสัยครับ เพราะว่า ถ้าเราวางลิ้งค์ไม่ดี bot ก็วิ่งไม่ทั่วเว็บ ส่งผลต่อ อัตรา crawl ของ bot เหมือนกัน

3.Sitemap.
แน่นอนครับว่า อันนี้้ก็มีผล เช่นกัน แม้ว่า ทั้งน้องๆ ที่ office หรือคนรู้จักที่มาปรึกษาเรื่องนี้ ผมมักจะบอกว่า พร้อมหรือยังที่จะส่งเว็บไปออกรบในแนวหน้า ถ้าพร้อมจะพลีชีพแล้วล่ะก็ ให้ส่ง sitemap ไปเลย

อันนี้ไม่ได้ขุ่นะครับ แม้ว่า มันจะมีข้อดี แต่มันก็มีข้อเสียมากทีเดียวครับ ไม่ขอลงรายละเอียดแล้วกัน เพราะเรื่องของ sitemap เอง ในบล็อกผมก็เอ่ยมาหลายรอบแล้วเช่นกันครับ

4.Site Feed/RSS.
อย่างที่ผมเคยพูดถึงเจ้า Rss/feed เหล่านี้ มาตั้งแต่เมื่อช่วงเปิด Blog ใหม่ๆ และย้ำเสมอว่า มันคือ Format ในอนาคตที่จะช่วยให้เราทำ seo ง่ายขึ้น เพราะนอกจากมันจะมี bot ที่วิ่งเก็บ feed ต่างหากแล้ว ยังมีลักษณะเหมือน sitemap.xml อีกด้วย ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ Search engine หลายๆ ที่ให้ความสำคัญ จนเปิดรับการ submit feed ของเราครับ

5.Pinging or Content Update.
เมื่อมีระบบ feed แล้ว การมีระบบ pinging ก็ถือเป็นสิ่งที่ระบบ Blog มาตรฐานทั่วไปต้องมีครับ เพราะระบบนี้มันเป็นเหมือนกับระบบที่เราส่งคนไปกดกริ่งหน้าบ้านของ Bot ทั้งหลายแหล่ครับว่า "Hey! googlebot, my site/blog updated. Please come to see me!"

นอกจากนี้ แม้ว่าเว็บเราจะไม่มีระบบ pinging แต่ว่ามีการ update สม่ำเสมอ ก็จะเป็นการช่วยให้ bot วิ่งบ่อยขึ้นครับ เพราะ bot ทุกค่ายเวลาเข้ามาเก็บ มันจะเก็บวันเวลาที่เข้ามาไว้ด้วย (เวลาที่เก็บไปของ Cache page ไงครับ) และเจ้า bot พวกนี้ ก็จะมีค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ว่า ถ้าถึงจุดนี้แล้ว เนื้อหา/หน้าเว็บ ไม่มีการ อัพเดท มันก็จะลดอัตราการแวะเวียนเข้ามาเก็บ และท้ายที่สุด มันก็จะเลิกเก็บครับ ดังนั้น ควร update บ่อยๆ จะเป็นดีนะครับ

6. Server Speed.
อันนี้ เห็นผลมากทีเดียวครับ เพราะแม้ว่า คุณจะ update กันทุกลมหายใจ แต่ bot มาแล้วได้เป็น timeout กลับไป มันก็ไม่ได้ประโยชน์ ในการ crawl เลยแม้แต่น้อย เพราะ index ก็ไม่ได้, Cache ก็ไม่ได้ นอกจากนี้ bot ก็ไม่สามารถวิ่งต่อๆ ไปยังเนื้อหาตัวอื่นๆ ได้ครับ

7.Crawl rate setting in Google webmaster tool.
สำหรับข้อสุดท้ายนี้ สำหรับท่านที่ใช้ google sitemap ครับ แน่นอนหลังจากที่เรา verify site เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ไม่ต้อง submit sitemap ก็ได้นะครับ) จะมีให้เราเลือก set เจ้า crawl rate ตัวนี้ด้วยครับ จะมีให้เลือก 3 level ครับคือ Faster, Normal และ Slower ครับ ซึ่งในแต่ละ level จะมีให้เราเลือกได้ครับ

สำหรับเว็บเล็กๆ จะไม่สามารถเปิดในระดับของ Faster ได้นะครับ จะต้องมีเนื้อหา/page พวกนี้เป็นจำนวนมากๆ และมีการ update เป็นประจำ ถึงจะเปิดได้ครับ นอกจากนี้ การเปิด Faster ก็อาจจะส่งผลเสียต่อ server ได้อีกด้วยครับ จะมีอาการถูก Request จำนวนมาก และถี่ เข้ามาที่ server ครับ จะเรียกว่า น้องๆ ของการยิง server ก็ว่าได้ครับ

ส่วนเว็บไหนที่ server ต้องรับภาระหนักอยู่แล้วหรืออาจจะไม่กล้าแข็งพอที่จะรองรับได้ก็ ให้ลอง set เป็น slow ก็ได้ครับ ประมาณว่า ช้าแต่ชัวร์ อะไรพวกนี้ล่ะครับ

ที่มา

http://www.eblogbiz.com/tag/tags-41

http://www.afflovers.com/?p=442

http://en.wikipedia.org/wiki/Crawl

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น



ประวัติ

เซเว่น อีเลฟเว่น ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดย บริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) เริ่มต้นกิจการผลิต และจัดจำหน่ายน้ำแข็ง ที่เมืองดัลลัส มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกัน ทางบริษัทฯ ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มาจำหน่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Store ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ ซึ่งในระยะแรก เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. ของทุกวัน อันเป็นที่มาของชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น นั่นเอง

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน และได้รับความช่วยเหลือจากอิโต-โยคะโดซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด บริษัทญี่ปุ่นมีอำนาจควบคุมบริษัทในปี พ.ศ. 2534[1] ในปี พ.ศ. 2548 อิโต-โยคะโดก่อตั้งบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์และเซเว่น อีเลฟเว่นก็กลายเป็นบริษัทลูกของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ตั้งแต่นั้นมา

เซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย แฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่น บริหารโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.ซีพี ออลล์ (เดิมคือ บมจ. ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้ลงนามในสัญญา ซื้อสิทธิการประกอบกิจการ จากเจ้าของสิทธิ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531

เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทย คือ สาขาถนนพัฒน์พงษ์ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีจำนวนสาขาประมาณ 5,000 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2552) เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีมากกว่า 3,000 สาขา ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขา

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99

ความรู้เกี่ยวกับ ADSL เบื้องต้น



ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
1 งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
2 การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
3 ระบบเครือข่าย LAN
4 การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)

ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL
1 ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
2 ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
3 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
4 ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
5 ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
6 ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
7 สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง

อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL
ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้
1 Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
2 G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K
3 ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
อัตรา ความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที
ADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับ

ขีดความสามารถของ ADSL
เทคโนโลยี ของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ
วงจรของ ADSL จะเชื่อมต่อ ADSL Modem ที่ทั้งสองด้านของสายโทรศัพท์ ทำให้มีการสร้างช่องทางของข้อมูลข่าวสารถึง 3 ช่องทาง ได้แก่
1 ช่องสัญญาณ Downstream ที่มีความเร็วสูง
2 ช่องสัญญาณ ความเร็วปานกลางแบบ Duplex (ส่งได้ทางเดียว)
3 ช่องสัญญาณที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน
ช่อง สัญญาณ Downstream ความเร็วสูง มีความเร็วระหว่าง 1.5-6.1 Mbps ส่วนอัตราความเร็วของช่องสัญญาณแบบ Duplex อยู่ที่ 16-640 Kbps นอกจากนี้ ในแต่ละช่องสัญญาณยังสามารถแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณย่อยๆ ที่มีความเร็วต่ำ ที่เรียกว่า Sub-Multiplex ได้อีกหลายช่อง
ADSL Modem สามารถให้อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูลมาตรฐานเทียบเท่า North American T1 1.544 Mbps และ European E1 2.048 Mbps โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการความเร็วได้หลายระดับ

ระยะทางและอัตราความเร็วของ ADSL
ระยะ ทางมีผลต่ออัตราความเร็วในการให้บริการของ ADSL เป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดความยาวสาย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด อุปกรณ์ Bridge Taps รวมไปถึงการกวนกันของอุปกรณ์ Cross-Coupled
ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก ความเสื่อมถอย (Attenuation) ของสัญญาณเกิดขึ้น เมื่อความยาวของสายทองแดงมีมากขึ้น รวมทั้งความถี่ ซึ่งค่านี้จะลดลงเมื่อเพิ่มขนาดของสาย
อย่างไรก็ดี งาน Application ที่ต้องใช้บริการ ADSL ส่วนใหญ่ จะเป็นพวก Compressed Digital Video เนื่องจากเป็นสัญญาณประเภททำงานแบบเวลาจริง (Real-Time) ด้วยเหตุนี้ สัญญาณ Digital Video เหล่านี้ จึงไม่สามารถใช้ระบบควบคุมความผิดพลาด แบบที่มีอยู่ในระดับของเครือข่ายทั่วไป ดังนั้น ADSL Modem จึงมีระบบ ที่เรียกว่า Forward Error Correction ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นโดยสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาสั้นมาก หรือที่เรียกว่า Impulse Noise โดย ADSL Modem จะใช้วิธีการตรวจสอบความผิดพลาดที่ทำงานบนพื้นฐานของ การกำหนดให้มีการตรวจสอบสัญญาลักษณ์ทีละตัว การทำเช่นนี้ ก็ยังช่วยให้ เป็นการลด ปัญหาการควบของสัญญาณรบกวนในสาย

การทำงานของ ADSL
หลัก การทำงานของ ADSL ไม่มีอะไรมาก เนื่องจากว่า สายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง มี Bandwidth สูงคิดเป็น หลายๆ MHz ดังนั้น จึงมีการแบ่งย่านความถี่นี้ออกเป็นส่วน เพื่อใช้งานโดยวิธีการแบบที่เรียกว่า FDM (Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นหลายๆช่อง โดยที่แต่ละช่องสัญญาณจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะได้ Bandwidth ต่างๆ ดังนี้
? ย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ FAX
? ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูล โดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ เช่น ช่องสัญญาณสำหรับ การรับข้อมูลแบบ Downstream ตัวอย่าง เช่นการ Download ข้อมูล ส่วนช่องสัญญาณอื่นมีไว้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่ำกว่า Downstream ซึ่งเรียกว่า Upstream หรือสำหรับการ Upload ข้อมูล เป็นต้น

สถาปัตยกรรมการทำงานของเครือข่าย ADSL
เทคโนโลยี ของเครือข่าย ADSL มิได้มีไว้เพื่อการ Download ข้อมูลจาก Web Page อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการให้บริการสื่อสารในลักษณะ Broad Band สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งคำว่า Broad Band ในที่นี้หมายถึง การให้บริการสื่อสารที่มีความเร็วเกินกว่า 1-2 Mbps ขึ้นไป
เป็นการ แสดงการเชื่อมต่อ ADSL ในลักษณะเครือข่าย Broad Band ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ เป็นแบบเรียบง่าย โดยผู้เข้ารับบริการมีเพียง Modem ที่เป็นระบบ ADSL เท่านั้น เสียบเข้ากับ Connector ที่เป็นอุปกรณ์เรียกว่า Splitter หรือ Filter ซึ่งมีลักษณะคล้ายเต้าเสียบสายโทรศัพท์ ซึ่งจะมี Connector 2 ช่อง โดยช่องหนึ่งสำหรับเสียบสาย Modem ขณะที่อีกช่องหนึ่งสำหรับเสียบเข้ากับสายโทรศัพท์ ตามปกติ และสามารถใช้งานได้พร้อมๆกัน บนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันเท่านั้น (ADSL Modem บางแบบสามารถติดตั้งเข้ากับสายโทรศัพท์ได้เลย ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ Splitter) ลักษณะของตัว Splitter หรือ Filter

ผู้ใช้บริการสามารถ ใช้โครงข่าย ADSL นี้เพื่อการ Access เข้าไปขอรับบริการจากผู้ให้บริการ (Provider) เช่น Internet Provider หรือ ผู้ให้บริการ Video On Demand Server หรือผู้ให้บริการข้อมูลต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ผู้เข้ารับบริการ ADSL นั้น นอกจากจะต้องมี ADSL Modem แล้ว ยังต้องมี อุปกรณ์เล็กๆตัวหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ Splitter หรือ Filter ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4 KHz สำหรับการส่ง Voice เช่นการพูดคุยโทรศัพท์ ส่วนย่านความถี่ที่เหลือ เช่น 1-2 MHz ขึ้นไป จะถูกกันไว้เพื่อการส่งข้อมูล (Upstream) และรับข้อมูลเข้ามา (Downstream) โดยที่ Splitter สามารถแยกสัญญาณทั้ง 3 ออกจากกัน ดังนั้นท่านสามารถคุยโทรศัพท์ขณะที่ยังสามารถ Download ข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ตพร้อมกันได้
ส่วนที่ศูนย์บริการระบบ ADSL นั้น เราเรียกว่า CO หรือ Central Office ซึ่งอาจเป็นของผู้ให้บริการ ADSL หรือไม่ก็อาจเป็นชุมสายโทรศัพท์เสียเองก็ได้ จะทำหน้าที่รับเอาสัญญาณ Voice Services (เสียงพูดโทรศัพท์) เข้ามาที่ตัว Voice Switch ซึ่งอาจรวมทั้ง Data ก็ได้ โดย สัญญาณทั้งสองจะมาสิ้นสุดที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Splitter ชุดใหญ่ที่ศูนย์ให้บริการแห่งนี้ ลักษณะนี้จะเห็นได้ว่า เส้นทาง Local Loop (เส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ) จะไปสิ้นสุดที่ Access Node แทนที่จะเป็น CO Switch (คำว่า Access Node ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสลับสัญญาณ ADSL หรือที่เรียกว่า DSLAM (DSL Access Multiplexer ส่วน CO Switch หรือ Voice Switch หมายถึงระบบสลับสัญญาณเพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์)
หน้าที่ของ DSLAM ได้แก่การสลับสัญญาณ ADSL ที่เข้ามาพร้อมๆกันหลายช่อง โดยผ่านเข้ามาทางชุด Splitter ในศูนย์ผู้ให้บริการ ให้สามารถออกไปที่ เอาท์พุท ปลายทาง ซึ่งในที่นี้ได้แก่ ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น ISP หรือผู้ให้บริการ Video On Demand หรือศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือ สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชนก็ได้

ที่มา

http://www.phuket-it.com/index.php?option=com_content&task=view&id=87

http://www.vcharkarn.com/varticle/17794


วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นักบินอวกาศเขาทานอาหารกันอย่างไร


เคยสงสัยกันไหมค่ะว่านักบินอวกาศเขาทานอาหารกันอย่างไรในสภาพลอยเท้งเต้งไร้น้ำหนัก วันนี้เรามีคำตอบมาบอกกันค่ะ

การทานอาหารในอวกาศไม่ได้ดูง่ายอย่างที่คิดน่ะค่ะ และการลอยไปลอยมาในยานอวกาศไม่ได้ดูสนุกสนานอย่างที่เห็นด้วย นักบินอวกาศจำต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากค่ะ และร่างกายยังต้องเผชิญกับความเครียดอีกด้วย

ดังนั้น นักบินอวกาศจึงต้องการสารอาหารที่แตกต่างจากเราๆที่อยู่บนพื้นโลกค่ะ ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาต้องการแคลเซียมมากขึ้นเพื่อทดแทนการเสื่อมสลายของกระดูก เนื่องจากกระดูกมีแนวโน้มว่าจะถูกเสริมสร้างขึ้นมาใหม่ในอัตราที่ช้าลงเมื่อ อยู่ในอวกาศค่ะ ซึ่งการเสื่อมของมวลกระดูกนี้เกิดขึ้นแทบจะทันทีที่ยานอวกาศพุ่งออกจากพื้น โลก ซึ่งการแก้ปัญหานี้ทางหนึ่งก็คือการทานอาหารที่มีโซเดียมหรือทานเกลือให้ น้อยลงค่ะ แต่ก็ดันมีปัญหาอีกตรงที่ในยานอวกาศดันไม่มีตู้เย็นซะนี้ และเกลือก็เป็นตัวช่วยในการถนอมอาหารที่สำคัญซะด้วย

ถ้าเป็นเมื่อก่อนตั้งแต่สมัยปฎิบัตการ Mercury และ Gemini นักบินอวกาศจะทานอาหารโดยการบีบออกมาจากหลอดค่ะ คล้ายการกินอาหารแหวะๆของเด็กทารกผ่านหลอกยาสีฟัน ซึ่งบุคคลแรกที่ได้กินอาหารในอวกาศเป็นครั้งแรกของโลกก็คือ John Glenn ค่ะในปี 1962 อาหารที่เขาทานก็คือแอปเปิ้ลซอส ซึ่งเขาได้รายงานกลับมาว่าย่อยได้ดี ไม่มีปัญหาค่ะ

แต่เนื่องจากการทานจากหลอดแบบนี้ดูเละๆแบะๆไม่ค่อยน่ากินเท่าไหร่นัก ทำนักบินอวกาศต่างน้ำหนักลดฮวบฮาบกันเป็นทิวแถวค่ะ ดังนั้นต่อมาพอถึงปฎิบัติการ Apollo นาซ่าก็ได้พัฒนาเมนูอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีให้เลือกหลายเมนูตั้งแต่ สลัดทูนาจนถึงซุปข้าวโพด แน่นอนว่าอาหารเหล่านี้จะต้องถูกทำให้แข็ง-แห้งและถูกขจัดน้ำออกไป หรือที่ศัพท์วิชาการเรียกว่า "thermo-stabilized" ( ให้ความร้อนเพื่อกำจัดแบคทีเรีย ) ค่ะ และแน่นอนว่ามีหน้าตาของอาหารเหล่านี้ต้องแตกต่างจากที่เห็นเมื่ออยู่บนพื้น โลกชัวร์

อาหารที่ผ่านกระบวนการ thermo-stabilized นี้จะมาในรูปของถุงเล็กๆค่ะ ซึ่งนักบินอวกาศสามารถใช้ช้อนทานได้ ตัวอย่างอาหารก็เช่น ลูกเรือของยาน Apollo 8 ได้ฉลองคริสต์มาสในปี 1968 โดยการกินไก่งวง น้ำเกรวี่และซอสแคนเบอรี่, Neil Armstrong และ Buzz Aldrin ก็คือมนุษย์สองคนแรกที่กินอาหารบนดวงจันทร์ ซึ่งอาหารที่ว่านั้นก็คือแซนวิชแฮมสลัดค่ะ หรืออย่างในภาพประกอบข้างบน เมนูในถุงนั้นก็คือเนื้อวัวกับผักค่ะ ซึ่งเป็นถุงอาหารจากปฎิบัติการยาน Apollo 11

ทุกวันนี้อาหารที่เสริฟในอวกาศมีความซับซ้อนขึ้นค่ะ โดยเฉพาะที่เสริฟบนสถานีอวกาศนานาชาติ ( International Space Station ; ISS ) ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย ที่นี้นักบินอวกาศสามารถเพลิดเพลินกับอาหารตั้งแต่สเต็กจนถึงเค้กช็อคโกแล ตค่ะ พวกเขามีแม้กระทั้งเครื่องทำความเย็นเล็กๆซึ่งสามารถเสริฟเครื่องดื่มเย็นๆ ได้ ที่ห้องแล็ปอาหารของนาซ่ามีเมนูให้เลือกถึง 185 รายการ ในจำนวนนี้เป็นของรัสเซียประมาณ 100 รายการ และเมื่อญี่ปุ่นส่งลูกเรือขึ้นไปเป็นครั้งแรกที่ปี 2008 พวกเขาก็ได้พกอาหารไปด้วยประมาณ 30 รายการค่ะ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสารอาหารและการเก็บรักษา นักบินอวกาศยังคงไม่สามารถกินทุกอย่างที่พวกเขาอยากจะกิน หรือกินเมื่อไรที่พวกเขาต้องการได้ สถานีอวกาศมีรอบระยะเวลาดำเนินการเรื่องอาหาร 16 วันต่อ 1 ครั้งค่ะ นักบินอวกาศแต่ละคนได้รับอาหารแห้งที่ไม่เน่าเปื่อยเพิ่มเติม 2 อย่าง ยกตัวอย่างเช่น พริงเกิลส์ ( Pringles ) หรือ เอ็มแอนด์เอ็ม ( M&Ms ) บางครั้งนาซ่ายังส่งโบนัสพิเศษอย่างเค้กวันเกิดขึ้นไปด้วย

ในปี 1965 ลูกเรือของยาน Gemini 3 ที่มีชื่อว่า John Young เซอร์ไพสเพื่อนๆโดยการดึง " แซนวิชเนื้อวัว " ที่ซื้อมาจากร้าน Florida deli ออกมา หรือแม้แต่ Pizza Hut ก็เคยส่ง " พิซ่า " ที่ถูกปิดผนึกแบบสูญญากาศไปที่สถานีอวกาศ Mir ( สถานีอวกาศของรัสเซีย ) มาแล้ว ในปี 2002 ลูกเรือ ISS ชื่อ Peggy Whitson ขอ " pecan pie " ( พายที่ทำมาจากถั่วพีแคน) ส่วน " Tortillas " ถูกนำขึ้นไปในปี 1985 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเม็กซิกันชื่อ Rodolfo Neri Vela และต่อมามันก็กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นาซ่าจะแจกให้นักบินอวกาศทุกคน ซึ่ง Tortillas ที่แจกนี้ ผลิตมาจากบริษัทที่ผลิตสินค้าให้กับร้านอาหารเม็กซิกันฟาสฟูสอย่าง Taco Bell ค่ะ

ทั้งนี้ อาหารส่วนใหญ่ที่เคยถูกเสริฟในยาน Apollo ตอนนี้ได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นแล้วค่ะ บางอย่างได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นหรือไม่ก็ถูกเปลี่ยนเป็นเมนูใหม่ไปเลย ยกตัวอย่างเช่นไอศกรีมที่ลูกเรือ Apollo 7 เคยเรียกร้องขอให้มี แต่ผลออกมาว่ารสชาติแย่จนนักบินอวกาศทนไม่ไหว ดังนั้นมันจึงไม่เคยถูกนำขึ้นมาเสริฟบนอวกาศอีกเลย หรืออย่างเมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว นาซ่าพยายามที่จะแก้ปัญหาเกี่ยวกับคำบ่นเรื่องอาหารที่ทำจากปลาซึ่งมีกลิ่น คาวมากเกินไป โดยการทำเป็นปลาในซอสมะเขือเทศแทน แต่รสชาติก็แย่มากจนนักบินอวกาศปฏิเสธจะกินมันอีกค่ะ

ที่มา http://www.duocore.tv/out.php?id=25593

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย

เรื่องมีอยู่ว่า แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552-2556) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

* หน่วยงานรัฐทุกระดับชั้น จะต้องปรับแผนแม่บทด้านไอซีทีของตัวเองให้เข้ากับแผนแม่บทแห่งชาติฉบับนี้
* สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหลักสำหรับการผลักดันนโยบายตามแผนแม่บทนี้
* หน่วยงานด้านงบประมาณต่างๆ จะใช้แผนแม่บทนี้ประกอบการพิจารณางบประมาณด้านไอซีที

ส่วนเนื้อหาในแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 ผมยกมาจากมติ ครม. เลยนะครับ

สรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ได้ดังนี้

1. วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand)
2. พันธกิจ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ พัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูง พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล
3. วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร
4. เป้าหมาย
* ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรรม ก่อเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน
* ยกระดับความพร้อมทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด ร้อยละ 25 (Top Quartile) ของประเทศที่มีการจัดลำดับทั้งหมดใน Networked Readiness Index
* เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
* ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
* ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล (National ICT Governance)
* ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
* ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการ บริหารและบริการของภาครัฐ (e-Governance)
* ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
* ยุทธศาสตร์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

แผนแม่บทไอทีซี 2552-2556 ฉบับเต็มดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์กระทรวงไอซีที

ที่มา - NECTEC Academy, หน้ารวมมติ ครม. ของรัฐบาลไทย

หมายเหตุ: อันดับ Networked Readiness Index ของไทยประจำปี 2009 คือที่ 47 ถ้าคิดเป็น percentile จะอยู่อันดับ 37 (อยู่อันดับกลางๆ ของ quartile ที่ 2)

ที่มา http://www.blognone.com/node/12711

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เชื่อไหม? แฟลชไดรฟ์ใช้ได้นานแสนนาน

อันนี้ก็น่าสนใจ มี แฟลชไดรพ์ มาตั้งนานไม่เคยสนใจมันเลยแฮะ

คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินมาว่า แฟลชไดรฟ์ ที่นิยมใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองอยู่ในขณะนี้ สามารถเขียนข้อมูลได้นับล้านครั้ง โห...อะไรจะคุ้มขนาดนั้น ถ้าใช้ได้นานขนาดนี้จริงก็ดีน่ะสิ แต่เอาเข้าจริงๆ ผู้ใช้จะพบว่า มันมักมีอันจากไปก่อนเวลาอันควรเรื่อยเลย
คำตอบแบบฟันธงก็คือ แฟลชไดรฟ์ทั่วไปไม่สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ถึงล้านครั้งหรอกครับ ขนาดผู้นำอย่าง Sandisk ยังออกมาบอกเลยว่า หน่วยความจำแฟลชของเขาสามารถทนต่อรอบการเขียนข้อมูล(write cycle) ได้ประมาณ 10,000 ครั้ง ซึ่งสำหรับคำว่า write cycle ในที่นี้หมายความว่า การเขียนและลบไฟล์นั้นออกไป
อย่างไรก็ตาม มันมีความเป็นไปได้ว่า หน่วยความจำบางส่วนในแฟลชไดรฟ์เสียไปแล้ว แต่เราก็ยังสามารถใช้ส่วนที่เหลือได้เป็นปกติ เพียงแต่จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงบนส่วนที่เสียหายได้เท่านั้น ความรู้สึกว่า แฟลชไดรฟ์ของผู้ใช้ก็คือ มันยังปกตินั่นเอง


โครงสร้างภายในของแฟลชไดรฟ์

แฟลช ไดรฟ์บางรุ่นที่ฉลาดหน่อยจะมีอัลกอริธึมที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์เขียน ข้อมูลซ้ำลงบนหน่วยความจำเดิมอยู่บ่อยๆ โดยเลือกให้ไปเขียนในบริเวณอื่นบ้าง ด้วยวิธีนี้ก็จะแก้ปัญหาหน่วยความจำบางส่วนเสียอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกเขียนบ่อยกว่าบริเวณอื่นนั่นเอง
ด้วยความที่หน่วยความจำ ประเภทนี้ไม่มีกลไกการเคลื่อนไหวใดๆ โอกาสที่มันจะเสียหายจึงมีน้อย แต่แล้วทำไมเพื่อนของนายเกาเหลาคนนึงถึงได้เปลี่ยนแฟลชไดรฟ์ในระยะเวลาไม่ กี่เดือนทุกที พอสอบถามจึงได้ความว่า เขาใช้แฟลชไดรฟ์ในการถ่ายโอนไฟล์งานข้ามแผนก ตลอดจนรับไฟล์จากเครื่องลูกค้า เรียกได้ว่า วันหนึ่งๆ แฟลชไดรฟ์ของเขาต้องเสียบเข้า เสียบออกกับคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ บ่อยมาก ซึ่งมันอาจจะเกิดปัญหากับคอนเน็คเตอร์ยูเอสบีก็ได้ ทำให้ระบบแจ้งข้อผิดพลาดว่า ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในแฟลชไดรฟ์ของเขาได้ ความจริงกรณีนี้ ชิปหน่วยความจำที่อยู่ภายในอาจจะไม่ได้เสียหายเลย แต่เป็นคอนเน็คเตอร์ต่างหากที่มีปัญหา


ปัญหาคอนเน็คเตอร์ USB ไม่แข็งแรง

นอก จากนี้ การถอดแฟลชไดรฟ์ออกจากเครื่องขณะที่กำลังเขียนข้อมูลเข้าไป หรือใช้แฟลชไดรฟ์กับโน้ตบุ๊กที่แบตกำลังจะหมด เหตุการ์ณทั้งสองนี้ ระบบจะแจ้งว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับแฟลชไดรฟ์ได้เหมือนกัน
สำหรับ ข้อผิดพลาดเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่า แฟลชไดร์ฟของคุณเสียแล้ว วิธีแก้ง่ายๆ ก็เพียงแค่ฟอร์แมตใหม่ อาการเพี้ยนก็จะหายไปแล้วครับ ยกเว้นปัญหาเกิดจากคอนเน็คเตอร์ USB
เพื่อความมั่นใจ ควรเลือกใช้แฟลชไดรฟ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ อย่าซื้อเพราะแค่ถูกอย่างเดียว เพราะข้อมูลสำคัญที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์อาจมีมูลค่ากว่าราคาของมันหลายเท่านัก และที่สำคัญอย่าไว้ใจอุปกรณ์พวกนี้มากเกินไป ควรจะทำสำรองไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ ไว้บนสื่อบันทึกอื่นๆ ไว้ด้วย ขอให้คุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน โชคดีนะครับ

ทิปจาก : www.arip.co.th

ที่มา http://www.bcoms.net/tipcomputer/detail.asp?id=2329

5 วิธีถนอมธัมบ์ไดรฟ์สุดรัก

น่าสนใจดี ^^
ภัยที่เกิดขึ้นกับธัมบ์ไดร์ฟโดยรวมๆ คือ ธัมบ์ไดรฟ์สูญหาย ธัมบ์ไดรฟ์เสียหายเพราะโดนไวรัส การถูกดูข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อมูลในธัมบ์ไดรฟ์สูญหาย วิธีแก้ไขคือ

1. เก็บไว้ใกล้ตัว-ไม่ต้องกลัวหาย

นับ วันธัมบ์ไดรฟ์จะมีขนาดเล็กลง และหายง่ายมาก (ถูกขโมยก็ง่ายด้วย) มีไม่น้อยที่มักจะหลงลืมไว้ตามที่ต่างๆ เวลาหยิบออกมาวาง หรือแม้แต่ติดไปกับเครื่องคอมพ์ชาวบ้านเพราะลืมขอคืน บางคนชอบคล้องไว้กับกุญแจ ซึ่งเป็นของที่ชอบทำหายอันดับต้นๆ

วิธีน่าสนใจที่สุดคือ เลือกรุ่นที่มีสายคล้องคอไว้ แม้จะดูไม่สวยงามเท่าไร แต่มันลดโอกาสทำหาย และถูกขโมยได้เกือบ 100% อีกนิดนึง ควรเลือกรุ่นที่สายต่ออยู่กับตัวธัมบ์ไดรฟ์ หลีกเลี่ยงการเลือกใช้รุ่นที่สายคล้องคอผูกกับฝาครอบ

2. ระวังไวรัส

ต้อง ถือเป็นข้อควรระวังในการใช้งานธัมบ์ไดรฟ์อันดับต้นๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้วธัมบ์ไดรฟ์จะมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งนั่นหมายความว่า ไวรัสสามารถใช้ธัมบ์ไดรฟ์เป็นสื่อพาหะสำหรับการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเวลาใช้งานธัมบ์ไดรฟ์ คุณควรแน่ใจก่อนว่า เป็นการถ่ายโอนเฉพาะไฟล์ข้อมูลเท่านั้น (ไม่ได้ติดไวรัสมาด้วย)

ประเด็น ที่สำคัญก็คือ ควรแน่ใจว่าคุณกำลังเชื่อมต่อธัมบ์ไดรฟ์กับคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์แอ นตี้ไวรัสที่ได้รับการอัพเดตสม่ำเสมอ และในกรณีที่คอมพ์ของคุณรันแอนตี้ไวรัส เวลาต่อกับธัมบ์ไดรฟ์ ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเครื่องคอมพ์จะสแกนธัมบ์ไดรฟ์ให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจธัมบ์ไดรฟ์ที่รับมา ก็ไม่ควรเชื่อมต่อเข้ากับคอมพ์ของคุณเด็ดขาด

3. เข้ารหัสข้อมูล เพื่อรักษาความลับ

ถ้า หากธัมบ์ไดรฟ์ของคุณหาย นั่นหมายความข้อมูลของคุณตกไปอยู่ในมือของผู้ที่พบมันด้วย และถ้าหากคนผู้นั้นบังเอิญเป็นคู่แข่งคุณโดยตรง อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณใช้ธัมบ์ไดรฟ์เก็บข้อมูลสำคัญ การเข้ารหัสข้อมูลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้

การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) จะทำให้ข้อมูลเปิดอ่านไม่รู้เรื่องจนกว่าจะได้รับพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง ซึ่งควรเลือกเข้ารหัสที่ระดับ 128 บิต เพื่อความปลอดภัย ธัมบ์ไดรฟ์รุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อมกับคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลมาด้วย แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจนะว่า ซอฟต์แวร์ที่ให้มาไม่ใช่รุ่นทดลอง เพราะไม่เช่นนั้น คุณอาจจะต้องจ่ายตังค์ค่าซอฟต์แวร์ในภายหลัง

4. สำรองข้อมูลให้เป็นนิสัย

ไม่ ปฏิเสธครับว่า เวลาธัมบ์ไดรฟ์หาย เราคงรู้สึกไม่ดีแน่นอน แม้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นจะได้รับการปกป้องด้วยการเข้ารหัสไว้แล้วก็ตาม แหม...ก็มันต้องเสียเงินอีกแล้วน่ะสิ แต่มันคงรู้สึกเจ็บใจเป็นสองเท่า หากข้อมูลที่อยู่ในนั้นเราไม่เคยได้ทำแบ็กอัพสำรองเอาไว้เลย

ดัง นั้น วิธีที่สุดคือ แนะนำให้คุณสำรองธัมบ์ไดรฟ์ไว้สักสองสามก๊อปปี้ เพราะนอกจากพวกมันจะหายง่ายแล้ว ยังเสียง่ายอีกด้วย เนื่องจากธัมบ์ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะใช้กรอบเป็นพลาสติก ซึ่งแตกหักได้ง่าย

5. ถอดธัมบ์ไดร์ฟออกจากเครื่องอย่างถูกต้อง

ก่อนที่คุณจะดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากพอร์ตยูเอสบีบนคอมพิวเตอร์ ให้คุณปิดโปรแกรมทุกตัวที่มีการเข้าถึงไฟล์ต่างๆบนธัมบ์ไดรฟ์เสียก่อน จากนั้นคลิกไอคอน Safely Remove Hardware (ที่มีลูกศรสีเขียวปรากฎอยู่ในมุมล่างขวาบนทาสก์บาร์) แล้วคลิกเลือกธัมบ์ไดรฟ์ที่ปรากฏอยู่ในรายการ

เมื่อคลิกเลือกยูเอสบีไดรฟ์ที่ต้องการเอาออกแล้ว จะได้รับข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Safe To Remove Hardware” แปลว่า สามารถดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากระบบได้อย่างปลอดภัย

หลายเสียงยืนยันว่า หากถอดธัมบ์ไดร์ฟจากเครื่องปุบปับโดยไม่มีการทำตามขั้นตอนนี้ ธัมบ์ไดร์ฟเจ๊งมานักต่อนักแล้วนะ

ขอขอบคุณ : ผู้จัดการออนไลน์

ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=101896.0

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวากับตัวเรา

พอดีสงสัยเกี่ยวกับสมอง เลยลองถามพี่กูเก้งดู

สมอง ตั้งอยู่ในกระโหลกศีรษะ มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งงานไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ การหดและการขยายตัวของเส้นโลหิต หากขาดโลหิตไปหล่อเลี้ยงสมองเกิน 4 นาที่ จะเป็นอันตรายและถึงแก่ชีวิตได้



- สมองซีกซ้าย-ถนัดขวา

- สมองซีกขวา-ถนัดซ้าย <-แปลว่าเราใช้สมองซีกขวาบ่อยเหรอ?!?

สมองซีกซ้ายและขวาของมนุษย์มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ทั้งควบคุมความรู้สึก การรับรู้ ควบคุมระบบความคิด
ความจำ การแสดงพฤติกรรม และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่าง
กาย สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การแยกแยะ การจัดลำดับ รายละเอียด เหตุผลการแสดงออกทางภาษาอักษร ตัวเลข และจำนวน สมองซีกขวา ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการภาพรวมการเคลื่อนไหว และมิติสัมพันธ์แบบต่างๆ

สมองซีกขวาทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
1. การมองอะไรที่เป็นมิติ และช่องว่างบนพื้นผิว (Spatial)
2.การเข้าใจภาษาง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน
3.การรับรู้ลวดลายทางด้านศิลปะ การแสดงละครบนเวที
4. ความคิดสร้างสรรค์
5. การมีอารมณ์ขัน
6. การรับรู้เกี่ยวกับการสัมผัส
7. ความคิดเชิงนามธรรม
8. การใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้เป็นประจำ เช่น การแสดงออกของสีหน้า
9. การจัดสภาพแวดล้อมให้กลมกลืน
10. การทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน รวมถึงการฟังคน 2 คนพูดพร้อมกัน ทั้งที่ต่างพูดคนละแบบ



สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
1.การแสดงออกทางด้านการพูด
2. การรับรู้ด้านภาษา
3. การใช้กล้ามเนื้อแขนขาและมือ
4. ความระมัดระวัง
5. การเรียนรู้โดยการจัดหมวดหมู่
6. การค้นหาความเหมือนกัน
7. การที่จะมีสติควบคุมตัวเองได้
8. การสร้างแนวคิดใหม่ๆ หรือความรู้ที่เกี่ยวกับแนวความคิด หรือความคิดรวบยอดที่เราเรียกว่าการวาง Concept
9. การวิเคราะห์เกี่ยวกับเวลา
10. การเรียนคณิตศาสตร์คำนวณ การเข้าใจจำนวน
11. การเขียน
12. การจำแนกซ้ายขวา
13. การจัดลำดับสิ่งของ

มองๆ การทำหน้าของสมองทั้งสองซีกแล้ว ของเรามันสลับๆกันอ่ะ บางทีก็ดีเรื่องสุนทรียภาพ
บางเวลาก็ดีเรื่องตรรกะ เหตุผล การคำณวน หรือว่าเพราะใช้มันทั้งสองข้างเลย เหอๆ ไม่รู้จริงๆ

ขอย้อนเล่าเรื่องของตัวเองสักหน่อย ตั้งแต่สมัยอนุบาลแล้ว เราก็เขียนหนังสือมือซ้ายนี่แหละพ่อกับแม่เห็นเราเขียนมือซ้าย ก็พยายามปรับให้เราเขียนมือขวา ทีนี้ทำยังไงๆก็ทำไม่ได้ ก็เลยปล่อยไปตามเวรตามกรรมต่อไป

พอโตขึ้นมาอีกนิด ก็สังเกตว่าชาวบ้านเขาเขียนมือขวากัน ทำไมเราเขียนมือซ้ายคนเดียว(ว่ะ)เนี่ย
เลยแอบรู้สึกเป็นปมด้อยหน่อยๆ (แต่ตัวเองก็ยังเขียนมือซ้ายอยู่ ไม่ยอมเปลี่ยน)

เคยถามคนในครอบครัว (และตระกูล) ว่า มีใครเคยถนัดซ้าย แบบเราหรือเปล่า ปรากฏว่าป้าของเรา
เขาก็ถนัดซ้ายเหมือนกัน แต่สมัยเด็กๆ ตา (พ่อของป้า) พอเห็นป้าเขียนมือซ้าย ก็ตีมือป้าแหลก
แบบไม่บันยะบันยัง จนป้าต้องเขียนมือขวาให้ได้ เพราะสมัยก่อนคนไม่ค่อยอยากให้ลูกถนัดซ้าย
(รู้สึกในใจว่า ผิดตรงไหนนะ - -) ปัจจุบันป้าเราเลยเขียนด้วยมือขวานั่นแล

เดี๋ยวนี้ออกจะเฉยๆ เรื่องถนัดซ้าย ออกจะดีใจด้วยซ้ำ เอ่อ เรานี่ไม่เหมือนชาวบ้านดีเนอะ แต่จะประสบปัญหาใหญ่ๆ ประจำวันอยู่อย่าง สองอย่าง คือ

1. เขียนหนังสือ เวลาเรียน :- คนอื่นถนัดขวา เราถนัดซ้ายคนเดียว บางทีถ้านั่งคู่ เราจะพยายามนั่งซ้าย
เพราะจะได้ไม่ชนแขนเพื่อนเวลาเขียนหนังสือ ถ้าวันไหนลืมนั่งขวามือล่ะ แขนชนกับเพื่อนมันทั้งวันเลย - -
(แต่ดูเหมือนมันจะชินแล้ว )

2. กินข้าว แล้วใช้ตะเกียบ :- นั่งแบบโต๊ะจีนกลมๆล่ะก็ ไม่อยากนึกเลยว่าจะเป็นยังไง ชาวบ้านถนัดขวาหมด
เราถนัดซ้ายคนเดียว จะคีบ จะตักอะไร ก็ชนชาวบ้านที่นั่งข้างซ้ายทุกที ลำบากจริงๆ
แต่เราก็ชินแล้วเหมือนกัน

3. เล่นกีฬา บางชนิด :- บางชนิดเช่น ปิงปอง คนถนัดขวาย่อมถือไม้ด้วยมือขวา
ส่วนคนถนัดซ้ายย่อมถือไม้ด้วยมือซ้ายเช่นกัน อันนี้ไม่ใช่ปัญหาอะไรสักเท่าไร อย่างสองข้อบน
ออกจะเป็นข้อดีด้วยซ้ำ เพื่อนถนัดขวา เราถนัดซ้าย เวลาตีลูก หันหน้าเข้าหากัน ถ้าตีตรงๆ ก็โดนไม้พอดี

มีเพื่อนหวังดี (ประสงค์ร้าย) หรือเปล่า? เคยบอกว่า คนมือซ้ายอายุสั้นกว่าคนมือขวา เหอๆแช่งกันหรือเปล่าเนี่ย -

เพิ่งอ่านข่าวไม่นานมานี้ หญิงที่ถนัดซ้าย โอกาสเสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าหญิงที่ถนัดขวา!!
ช่างเถอะ เราปลงมานานตั้งแต่เรื่องเขียนหนังสือชนแขนชาวบ้านแล้ว - - เพราะถ้าไม่เครียด กินอาหารครบ 5
หมู่ ก็ไม่เป็นไรนี่เนอะ

ที่มา

http://www.mc41.com/database/brain01.htm

http://forum.sanook.com/forum/2682468_%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2_.html