วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

3D Tir-gate Transistor



22nm-Info
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา อินเทลได้ทำการเปิดตัวเทคโนโลยีในการผลิตชิปหน่วยประมวลผลแบบ 22 นาโนเมตร ซึ่งเทคโนโลยีในการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรนี้ก็จะเข้ามาแทนที่การผลิตแบบ 32 นาโนเมตร ในช่วงปลายปี 2011 นี้ และตาม Roadmap ที่เราทราบก็คือ Ivy Bridge จะเป็นซีพียูตัวแรกที่ผลิตด้วยกระบวนการ 22 นาโนเมตรนี้ แต่ว่าสถาปัตยกรรมหลักๆ ภายในของซีพียูนั้น ยังคงเป็นแบบเดียวกับ Sandy Bridge
clip_image002
Tick-Tock Model ของอินเทล ในรูปนี้แสดงให้เราเห็นว่าถึงช่วงเวลา Tick แล้ว ซึ่งตามปกติแล้วในช่วง Tick ก็จะหมายถึงช่วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตซีพียูโดยที่ยังคงใช้สถาปัตยกรรมแบบเดิม ส่วนช่วง Tock จะเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม
ความพิเศษในการเปิดตัวการผลิตชิปด้วยกระบวนการ 22 นาโนเมตรนี้อยู่ที่กระบวนการผลิตทรานซิสเตอร์ที่อยู่ภายในซิลิกอน โดยอินเทลเรียกทรานซิสเตอร์แบบใหม่นี้ว่าเป็น 3D Transistor และถ้าเป็นการผลิตซีพียูรุ่นใหม่ก็จะใช้ 3D แบบ Tri-gate อีกด้วย





clip_image004
รูปด้านบนนี้คือลักษณะจำลองของทรานซิสเตอร์แบบเดิม ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทรานซิสเตอร์นั้นมีลักษณะเป็นพื้นที่แบบกว้าง x ยาว หรือเป็นแบบ 2D ส่วนรูปถัดไปคือลักษณะของทรานซิสเตอร์แบบ 3D ที่มีการเพิ่มพื้นที่ช่องทางการไหลของกระแสไฟฟ้าในแบบ กว้าง x ยาว x สูง







clip_image006
จากในรูปเราจะเห็นได้ชัดเจนกว่าทรานซิสเตอร์แบบ 3D นั้นจะมีพื้นที่ให้กระแสไฟฟ้าเดินทางผ่านได้มากกว่าทรานซิสเตอร์แบบ 2D และการที่มีพื้นที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากขึ้นนั้นจะช่วยให้เกิดประโยชน์คือลดแรงเสียดทานในระหว่างการไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อลดแรงเสียดทานได้แล้วผลที่ตามมาก็คือการใช้พลังงานที่ลดลง รวมไปถึงการเกิดความร้อนในการทำงานที่น้อยลงด้วย
และเมื่อเกิดความร้อนน้อยลงสิ่งสำคัญที่ตามมาก็คือ เราสามารถเร่งความเร็วในการสวิตช์ (On/Off – 1/0) ของตัวทรานซิสเตอร์ได้มากขึ้น หรือเพิ่มความถี่ในการทำงานให้กับตัวชิปได้มากขึ้นนั่นเอง
แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ตรงที่เป็น 3D ทรานซิสเตอร์เท่านั้น แต่อินเทลยังได้ทำการเพิ่มจำนวน Gate ในทรานซิสเตอร์แต่ละตัวให้มีถึง 3 Gate นั่นก็ทำให้ลดความร้อนและลดการใช้พลังงานได้เพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งการเพิ่มจำนวนเกตเข้าไปนี้ก็เป็นผลมาจากความสามารถของกระบวนการผลิตที่เล็กลงในระดับ 22 นาโนเมตรนั่นเอง (จึงเป็นที่มาของคำว่า Tri-gate Transistor)
clip_image008
รูปด้านบนนี้แสดงถึง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิตซีพียูจากเทคโนโลยี 90 นาโนเมตร ในปี 2003 มาถึงเทคโลยีแบบ 22 นาโนเมตร ในปี 2011 ซึ่งการพัฒนาในแต่ละช่วงจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในปี 2007 อินเทลได้เพิ่มวัสดุการผลิตแบบใหม่เข้าไปเรียกว่า High-k Metal gate ให้กับทรานซิสเตอร์ และในปี 2011 นี้ ได้เพิ่ม 3D Tri-Gate เข้าไป
clip_image010


ภาพการทำงานจริงของทรานซิสเตอร์ 2D แบบเก่า จะเห็นเส้นเล็กๆ บางๆ แนวระนาบ แทนการวิ่งของอิเล็กตรอน
ส่วนทรานซิสเตอร์ 3D Tri-Gate แบบใหม่ เส้นจะนูนขึ้นมา

สำหรับเทคโนโลยี Tri-Gate นั้นอินเทลได้เริ่มทำการวิจัยและพัฒนามาตั้งแต่ปี 2002 และทดลองนำมาผลิตกับชิปหน่วยความจำเป็นครั้งแรกในปี 2006 จากรูปนี้จะเห็นได้ว่าอินเทลมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนากระบวนการในการผลิตชิปเป็นอย่างมาก และทำให้เราแปลกใจได้เมื่อคิดว่าการพัฒนากระบวนการผลิตชิปในแบบซิลิกอนกำลังถึงทางตัน แต่อินเทลก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการผลิตชิปด้วยซิลิกอนนั้นยังมีอนาคตและยังสามารถพึ่งพาได้ จนกว่าเทคโนโลยีการผลิตชิปแบบ Bio หรือเทคโลยีแสงจะเป็นจริงและมีราคาถูกลง
clip_image012
โรงงานที่อินเทลจะใช้ในการผลิตซีพียูแบบ 22 นาโนเมตร

อินเทลจะนำเทคนิคการผลิตแบบนี้ไปใช้กับซีพียูรุ่นถัดไปรหัส Ivy Bridge ซึ่งผลิตที่ 22 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับทรานซิสเตอร์แบบเดิม ผลิตที่ 32 นาโนเมตรแล้ว ประสิทธิภาพจะดีขึ้น 37% หรือในทางกลับกันคือกินไฟน้อยลงครึ่งหนึ่ง หรือ 50 %
เทคนิคการผลิตแบบนี้จะช่วยให้อินเทลยังรักษา "กฎของมัวร์" ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง

ที่มา 
http://www.quickpcextreme.com
http://www.blognone.com
http://www.anandtech.com

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522


อัตราค่าปรับ  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร
300 บาท
  ฝ่าฝืนสัญญาณมือ
300 บาท
  ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย
200 บาท
  ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
400 บาท
  ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว
400 บาท
  แซงรถในที่คับขัน
400 บาท
  เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม
400 บาท
  กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก
400 บาท
  ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
200 บาท
  จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม
200 บาท
  จอดรถซ้อนคัน
200 บาท
  ไม่สวมหมวกนิรภัย
200 บาท
  ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า
200 บาท
  ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร)
200 บาท
  เดินรถผิดช่องทางเดินรถ
400 บาท
  จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย
400 บาท
  ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย
400 บาท


อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522

ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี
1,000 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน
   200 บาท
  อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน
   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสภาพรถ
1,000 บาท
  ขาดต่อภาษีประจำปี
   200 บาท
  ไม่มีใบอนุญาติขับขี่
   200 บาท
  ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน
   200 บาท
  ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้
   200 บาท
  ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ
   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสีเครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน
1,000 บาท
  ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์)
ผิดกฎกระทรวง
    200บาท
  ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน
    200บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี
    200บาท
  ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย
1,000 บาท
  ท่อไอเสียเสียงดัง
1,000 บาท
http://deliverytraffic.wordpress.com

ประเด็นเด็ด เกร็ดควรรู้ เกี่ยวกับกฎหมายจราจร




ตำรวจจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ได้หรือไม่ ใช้อำนาจอะไร
ในเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เป็นไปตาม มาตรา 140 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถ เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีทางเลือกที่จะใช้อำนาจได้ 2 ทาง คือ
1. ใช้อำนาจว่ากล่าวตักเตือนผู้ขับขี่
2. ใช้อำนาจออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ
ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกใช้อำนาจออกใบสั่งแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ต้องใช้แบบใบสั่งของเจ้าพนักงานจราจรออกให้แก่ผู้ขับขี่ ซึ่งหากไม่พบตัวผู้กระทำความผิด เช่นจอดรถทิ้งไว้ในที่ห้ามจอด ก็จะออกใบสั่งโดยติดหรือผูกไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย ซึ่งมักใช้วิธีเสียบไว้กับก้านปัดน้ำฝน
กรณีออกใบสั่งต่อหน้าผู้ขับขี่ เจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ กล่าวคือ จะเรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บก็ได้ เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ เมื่อเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้ผู้ขับขี่ถือไว้แทนเพื่อใช้ในการขับรถต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องรับนำใบอนุญาตขับขี่นั้นไปส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุภายในกำหนด 8 ชั่วโมงนับแต่เวลาออกใบสั่ง ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะมีอำนาจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ ก็ต่อเมื่อได้มีการออกใบสั่งให้แก่ผู้ขับขี่ก่อน ถ้าไม่ออกใบสั่งก็ไม่มีอำนาจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่แต่อย่างใด

ฝ่าฝืนไม่ยอมส่งมอบใบอนุญาตขับขี่ของตนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกใบสั่ง จะมีความผิดหรือไม่
ในส่วนของผู้ขับขี่ที่ถูกเรียกเก็บใบอนุญาตนั้น ก็ต้องส่งมอบใบอนุญาตขับขี่ของตนแก่เจ้าหน้าที่ที่ออกใบสั่งนั้น ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมส่งมอบใบขับขี่ให้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ขับขี่จะมีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- เมื่อผู้ขับขี่ได้รับใบสั่งแล้วต้องปฏิบัติอย่างไร
ในเรื่องวิธีปฏิบัติของผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งฯ นั้นได้ระบุไว้ใน มาตรา 141 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ กล่าวคือ ผู้ได้รับใบสั่งอาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่ง หรือตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ ณ สถานที่และภายในวันเวลาที่ระบุไว้ในใบสั่ง หรือ
2. ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่ง โดยการส่งธนาณัติหรือส่งตั๋วแลกเงินของธนาคารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สั่งจ่ายให้แก่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยสำเนาใบสั่งไปยัง สถานที่และภายในวัน เวลาที่ระบุไว้ในใบสั่ง

ถ้าไม่ไปชำระค่าปรับ จะเป็นอย่างไร
ถ้าไม่ไปชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ) นอกจากนี้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดการกับผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ ตามมาตรา 141 ทวิ ดังนี้
1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนตามสถานที่ วัน และเวลาที่ระบุในหมายเรียกนั้น แล้วพนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย
2. ถ้าพนักงานสอบสวนใช้อำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ส่งหมายเรียกไม่ได้ พนักงานสอบสวนจะแจ้งไปยังนายทะเบียนรถยนต์หรือนายทะเบียนขนส่งทางบกให้งดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ได้รับใบสั่งจะมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและยอมชำระค่าปรับให้เรียบร้อยเสียก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะแจ้งไปยังนายทะเบียนให้ทราบเพื่อให้ผู้นั้นชำระภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นต่อไป

เมื่อได้รับใบสั่ง และใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ แล้วถูกตำรวจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ จะสามารถขับขี่รถต่อไปได้หรือไม่ แล้วจะถูกจับข้อหาขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่หรือไม่
สำหรับใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ตำรวจจราจรออกให้นั้น สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 7 วัน ดังนั้นแม้ท่านจะถูกตำรวจจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ ก็สามารถใช้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ และสามารถขับขี่รถได้ แต่ในระหว่างนี้ผู้ขับขี่จะต้องรีบไปชำระค่าปรับตามสถานที่ที่ระบุไว้ภายในระยะเวลา 7 วัน หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ )

ตำรวจจราจรมีอำนาจอะไร ที่สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
อำนาจในการสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีในกรณีดังต่อไปนี้ (มาตรา 142 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ)
1. ผู้ขับขี่นำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน หรือรถที่มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์ และหรือส่วนควบไม่ครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยรถประเภทนั้น ๆ มาใช้ในทางเดินรถ
2. เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ หรือกฎหมายเกี่ยวกับรถนั้นๆ เช่น พระราชบัญญัติรถยนต์ฯ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ เป็นต้น

เมาแล้วขับ มีความผิดหรือไม่
ในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการในการตรวจจับผู้ขับขี่ที่เมาสุรา โดยถือเอาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เกิน 50 mg% เป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุรา และมีความผิดตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 160 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ) หลายท่านที่ขับรถในเวลากลางคืน อาจเคยพบเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจ “แอลกอฮอล์” แล้วท่านทราบหรือไม่ว่า….มีวิธีตรวจกันอย่างไร?
ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 3 วิธี คือ
1. ทางลมหายใจ โดยการเป่าลมออกจากปากเข้าไปในเครื่องตรวจตัวเลขที่อยู่บนเครื่อง จะบอกระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg% )
2. ทางเลือดโดยตรง
3. ทางปัสสาวะ

โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่
เมื่อเปรียบเทียบระดับแอลกอออล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร พบว่า
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (mg% ) โอกาสเกิดอุบัติเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา
20 ใกล้เคียงกับคนไม่ดื่มสุรา
50 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 2 เท่า
80 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 3 เท่า
100 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 6 เท่า
150 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 40 เท่า
มากกว่า 200 ไม่สามารถวัดได้ เนื่องจากควบคุมการทดลองไม่ได้
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสำหรับทุกท่าน หากท่านเป็นผู้ขับขี่ ไม่ควรดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ หรือให้ผู้อื่นขับให้จะปลอดภัยกว่า เพราะ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อย ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับความเร็วของรถ
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดอัตราความเร็วยานพาหนะไว้ ดังนี้
รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือบรรทุกคนโดยสาร ให้ขับในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถยนต์อื่น ๆ ขณะที่ลากจูง รถพ่วง รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถยนต์สามล้อให้ขับในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาลไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนรถยนต์อื่น ๆ หรือจักรยานยนต์ขับในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สำหรับพระราชบัญญัติทางหลวง ฉบับที่ 2 และ 3 พ.ศ. 2542 กำหนดว่า
รถยนต์หรือจักรยานยนต์ ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถยนต์ขณะลากจูงรถพ่วง หรือรถยนต์สามล้อ ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถบรรทุกน้ำหนักเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือบรรทุกคนโดยสาร ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนอัตราความเร็วบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) สาย กรุงเทพฯ-พัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (กาญจนาภิเษก) สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพฯ
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถบรรทุกอื่น รวมทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ขณะลากจูงรถพ่วง ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนรถยนต์อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ดังนั้น หากผู้ใดขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น จะมีความผิด และมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ หรือพ.ร.บ.ทางหลวงฯ แล้วแต่กรณี

ใช้ไฟซีนอน ผิดด้วยหรือ
ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถที่ดัดแปลงไฟหน้ารถเป็นไฟซีนอน ที่สว่างจ้าเกินไป หรือบางรายไปปรับแต่งทิศทางการส่องสว่างของแสงไฟให้สูงขึ้นจากเดิม เพื่อให้ส่องสว่างให้ไกลขึ้น การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการรบกวนสายตาของผู้ขับขี่รายอื่น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น การใช้หลอดไฟหน้ารถนั้นจะต้องมีคุณลักษณะตามกฎหมายกำหนด โดยไฟหน้าของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จะต้องมีแสงสีขาวหรือสีเหลือง จำนวน 2 ดวง ติดตั้งอยู่ในระดับเดียวกันที่หน้ารถด้านซ้ายและขวา แห่งละ 1 ดวง ติดตั้งสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร ความสว่างของไฟสามารถส่องสว่างทางด้านหน้าได้อย่างชัดเจน และไม่เอียงไปทางขวาจนรบกวนสายตาของผู้อื่น
ดังนั้น การดัดแปลงไฟหน้ารถให้เป็นแสงสีอื่น หรือทำให้มีความสว่างจ้ามากเกินไป เมื่อนำไปใช้งานบนท้องถนนจะส่องเข้าตาผู้ขับขี่ที่สวนทางมา ทำให้สายตาพร่ามัวจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ เจ้าของหรือผู้ขับขี่ที่ดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไปจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น จึงมีความผิดตาม มาตรา 12 พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ไฟซีนอนก็ไม่ใช่ เปิดแค่ไฟตัดหมอก ทำไมถูกจับ
ในเรื่องไฟตัดหมอกนั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะในกรณีที่จะขับรถไปในทางที่มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรคอันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ) ดังนั้นการใช้ไฟตัดหมอก ในช่วงเวลากลางคืน โดยไม่ได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงมีความผิดตามมาตรา 11 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

ทำไมจอดรถทิ้งไว้ไม่นาน จึงถูกบังคับล้อ ตำรวจใช้อำนาจอะไร
ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ สาเหตุสำคัญอันหนึ่งคือ การไม่เคารพกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน เช่นการจอดฝ่าฝืนในเขตห้าม การจอดในลักษณะกีดขวางการจราจร ทำให้ช่องทางเดินรถ หรือพื้นผิวการจราจรต้องเสียไป ซึ่งบ่อยครั้งผู้ขับขี่มักกล่าวอ้างว่าจอดไม่นาน ดังนั้นการที่ผู้ใช้รถจอดรถ หรือหยุดรถโดยไม่ได้คำนึงถึงกฎกติกาของสังคม คำนึงถึงแต่เพียงความจำเป็นส่วนตัว ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ก็จะก่อให้เกิดปัญหารถติดขัด ทำให้สภาพการจราจรไม่ไหลลื่น
หยุดรถ หรือจอดรถอย่างไร เป็นความผิด
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ (มาตรา 55 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ)
1. ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
2. บนทางเท้า
3. บนสะพานหรืออุโมงค์
4. ในทางร่วมทางแยก
5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
6. ตรงทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
7. ในเขตปลอดภัย
8. ในลักษณะกีดขวางการจราจร
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ (มาตรา 57 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ)
1. บนทางเท้า
2. บนสะพานหรือในอุโมงค์
3. ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
4. ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
6. ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
7. ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
8. ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
9. ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
หากผู้ขับขี่หยุดรถหรือจอดรถฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดฝ่าฝืนได้ และมีอำนาจเคลื่อนย้ายรถดังกล่าว หรือใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถดังกล่าวได้ (มาตรา 59 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ)
การจอดหรือหยุดรถโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีความผิดปรับไม่เกิน 500 บาท การใช้เครื่องมือบังคับล้อก็จะมีค่าใช้จ่ายอีกคันละ 500 บาท (กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2534)) ดังนั้นหากรถคันใดถูกบังคับล้อ ก็จะต้องชำระค่าปรับและค่าใช้จ่ายรวมกันไม่เกิน 1,000 บาท
หากผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับล้อ ที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 159 วรรคสอง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ )

นำรถไปติดสัญญาณไฟแสงวับวาบ หรือไซเรน ได้หรือไม่
การใช้สัญญาณไฟแสงวับวาบ เสียงไซเรน นั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถทุกชนิดในทางเดินรถ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงดังเกินควร หรือสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนด (มาตรา 13 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ)
การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ให้เป็นไปตามประกาศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับรถที่จะอนุญาตให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น จะต้องเป็นรถดังต่อไปนี้
1. รถในราชการทหารและตำรวจ
2. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของทางราชการ
3. รถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
สีของแสงไฟสัญญาณให้ใช้ดังต่อไปนี้
1. แสงแดง สำหรับรถในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิงและรถในราชการอื่นที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นเป็นการสมควรกรณีพิเศษเฉพาะราย
2. แสงน้ำเงิน สำหรับรถพยาบาล
3. แสงเหลือง สำหรับรถอื่น
ดังนั้นหากผู้ใดนำรถไปติดสัญญาณไฟวับวาบ เสียงไซเรนโดยฝ่าฝืนหรือไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การออกใบสั่งของเจ้าพนักงานจราจรถือเป็นการจับกุมหรือไม่
การจับคือการจำกัดเสรีภาพด้านการเคลื่อนที่ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องนำตัวผู้ถูกจับไปยังสถานีตำรวจ หากไม่ไปหรือขัดขืนก็ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจจับตัวไปและใช้ดุลพินิจใส่เครื่องพันธนาการได้แล้วแต่พฤติการณ์ แต่การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรออกใบสั่งให้แก่ผู้ขับขี่ไปรายงานตัวได้ภายใน 7 วัน ตามที่ผู้ขับขี่สะดวก ไม่ได้บังคับให้ผู้ขับขี่ไปยังสถานีตำรวจพร้อมกับเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบสั่งในขณะนั้นแต่อย่างใด การจับจึงไม่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจึงไม่ต้องแจ้งสิทธิในชั้นจับกุมให้ผู้ขับขี่ทราบแต่อย่างใด

ทำป้ายทะเบียนรถยนต์ขึ้นเอง เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมหรือไม่
กรณีป้ายทะเบียนทำขึ้นเอง
1. ถ้านำไปใช้กับรถอื่นที่ไม่ตรงตามหมายเลขทะเบียนที่แท้จริง การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
2. ถ้านำไปใช้กับรถคันที่เป็นของตนตรงตามทะเบียนนั้น ๆ ไม่ผิดฐานปลอมหรือใช้เอกสารราชการปลอม เพราะไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน แต่มีความผิดฐานนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายทะเบียนที่เจ้าพนักงานออกให้มาใช้ในทางเดินรถ ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีแผ่นป้ายทะเบียนที่ทางราชการทำและออกให้
ถ้านำไปใช้ติดกับรถยนต์คันอื่น แม้มีเจตนาให้หลงเชื่อว่าเป็นรถที่มีป้ายทะเบียนดังกล่าว ไม่ผิดฐานปลอมหรือใช้เอกสารราชการปลอม เพราะป้ายทะเบียนนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงไม่ใช้เอกสารปลอม
แต่มีความผิดฐานนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายทะเบียนที่เจ้าพนักงานออกให้มาใช้ในทางเดินรถ ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ที่มา http://deliverytraffic.wordpress.com

เทคนิคการถ่าย พลุ


วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2553 ผมได้มีโอกาสไปฝึกถ่ายรูปพลุในงานแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน : Firework Queen Sirikit Ceremony Festival ถือเป็นโอกาสเหมาะที่ปีนึงมีเพียงไม่กี่ครั้ง และครั้งนี้ ก็จัดใกล้เพียงพัทยา
 
 
 
 
 
คนเยอะมาก และก็โชคดีที่คืนนั้นไม่มีฝนตกลงมา ถือว่าฟ้าเป็นใจ ให้นักท่องเที่ยวชื่นชมความงามของพลุอย่างจุใจตลอดสองชั่วโมง  จุดที่ผมถ่ายรูปอยู่บนจุดชมวิวเมืองพัทยา ภาพทั้งหมดถ่ายด้วยเลนส์เทเล
 
 
 
 
 
 
 
พลุแต่ละชุดจุดสูงบ้างต่ำบ้าง สว่างบ้าง ต่างสีบ้าง แต่ผมจะเลือกถ่ายเฉพาะพลุที่ไม่ใช่สีขาวเพราะมันจะสว่างเกินไป มองช่องมองภาพเพื่อจัดองค์ประกอบไว้ก่อน จากนั้นก็รอจังหวะพลุเพื่อกดชัตเตอร์จากสายลั่น เราก็จะมองพลุโดยไม่ต้องมองช่องมองภาพได้
 
 
 
 
 
ภาพนี้ถูกคร็อปให้เป็นแนวตั้งเพราะองค์ประกอบจะดีกว่าเนื่องจากเป็นพลุกลุ่มใหญ่และจุดไล่ตามระดับความสูง เป็นการยิงชุดครั้งหนึ่งที่สวยตระการตาดี
 
 
 
 
 
 
 
พลุอีกแบบที่ยิงในแนวทะแยงจากศูนย์กลาง พลุแบบนี้ให้ความรู้สึกแบบเส้นเฉียง ถ้าจะให้ดีควรจะอยู่ในมุมด้านหน้าจึงจะเห็นว่ามันแผ่ แต่จากจุดที่อยู่มันเห็นการแผ่ได้เพียงเท่านี้
 
 
 
 
เพิ่มเติมเทคนิคการถ่ายภาพพลุมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังนี้ครับ
 
 
 
1.ขาตั้ง ต้องใช้เสมอ ตรวจสอบตำแหน่งการตั้งขาให้มั่นคง ระวังคนที่ยืนอยู่รอบข้าง ระวังพื้นที่วางขาอย่าสั่นหรือขยับได้ โดยเฉพาะบนบพื้นไม้ ถ้ามีคนหรือตัวเราเองเหยียบอยู่ก็จะสั่น และพยายามอย่าตั้งแกนกลางขาตั้งให้สูงเนื่องจากจะทำให้สั่นไหวได้ง่าย
 
 
 
 
 
 
อ้อ....อีกสิ่งที่จะทำให้ภาพสั่นไหวคือ สายคล้องคอ หลังจากยึดตัวกล้องไว้บนขาตั้งกล้องแล้วควรเก็บสายไว้ดีดี อย่าให้มันแกว่งได้ ยิ่งถ้ามีลมมันจะเป็นตัวที่ทำให้ภาพสั่นไหว
 
 
 
2.สายลั่นชัตเตอร์ การมีสายลั่นชัตเตอร์ช่วยให้เราไม่ต้องมอง Viewfinder เพียงจัดองค์ประกอบตามความสูงของพลุ จากนั้นใช้ตาเปล่ามองเพื่อหาจังหวะกดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆ หมั่นตรวจสอบองค์ประกอบของพลุในแต่ละช่วงเพราะพลุจะจุดสูงบ้างต่ำบ้างตลอดเวลา
 
 
อย่าใช้นิ้วกดชัตเตอร์โดยตรง เพราะโอกาสสั่นไหวสูงมาก
 
 
3.ใช้ค่า F แคบ (เลขมาก F 8 , F11.....) เพื่อให้ได้ชัดลึก จากภาพชุดนี้ใช้ตั้งแต่ F22 เพื่อคุมระยะชัดลึกเนื่องจากถ่ายจากระยะไกล และได้เส้นของพลุเป็นสายไม่ใหญ่จนเกินไป
 
 
4.Shutter B กะจังหวะกดชัตเตอร์ตั้งแต่พลุเริ่มยิง (ได้หางพลุ หรือจะเรียกว่าต้นดีล่ะ อันนี้ไม่รู้ว่าเค้าเรียกกันยังไง) และรอจนกว่าพลุจะแตกตัวจนสุด (ได้ดอกพลุ) จังหวะของเวลาในการเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แสง ฉากหลัง องค์ประกอบโดยรวมของสภาพแวดล้อม ยิ่งแสงมากเวลาเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ก็ยิ่งน้อยลงให้สัมพันธ์กัน
 
 
กรณีมีพลุหลายดวงให้กะจังหวะการกดชัตเตอร์ตามความเหมาะสม อย่ารักพี่เสียดายน้อง เพราะไม่เช่นนั้น พลุจะตีกันมั่วไปหมด เหมือนบางภาพในอัลบั้มนี้
 
 
 
 
 
กรณีเปิดชัตเตอร์นานไปจะทำให้ปลายดอกพลุเริ่มตกเพราะเซ็นเซอร์ยังรับแสงอยู่
 
หลีกเลี่ยงการเปิดชัตเตอร์นานๆ เมื่อมีพลุสีขาวออกมาเพราะภาพจะโอเวอร์ได้
 
 
หลีกเลี่ยงการเปิดชัตเตอร์นานๆ กับพลุบางประเภท เช่น พลุลูกใหญ่มากๆ มีแสงเป็นจุดระยิบระยับ การเปิดชัตเตอร์นาน เมื่อปลายดอกพลุเริ่มตกลงจะเกิดเส้นสายของพลุจะพันกันกลายเป็นพุ่ม ไม่ใช่ดอก บางทีออกมาเป็นพุ่มเหมือนแมงกระพรุนเลย
 
 
 
 
5.โหมดโฟกัส ควรเป็นแมนนวลหรือตั้ง infinity เพราะการตั้ง Auto อาจจะเกิดความผิดพลาดจากการโฟกัสได้ง่าย เนื่องจากตำแหน่งพลุไม่แน่นอน
 
 
6.ISO100 เพื่อลด Noise เพราะยังไงก็มีขาตั้งกล้องอยู่แล้ว
 
 
 
 
 
 
7.สิ่งที่ไม่เป็นที่ปราถนาของผมคือ การถ่ายพลุที่เห็นแต่พลุกับฉากหลังดำๆ ควรหามุมที่มองเห็นวิวของสถานที่บ้าง เพื่อให้รู้ว่าเราถ่ายพลุในเหตุการณ์และสถานที่ใด อย่างกรณีนี้ผมอยากใช้เลนส์ไวด์ถ่ายภาพมากกว่า แต่จุดที่ตั้งกล้องอยู่ติดต้นไม้เลยทำได้แค่การใช้เลนส์เทเล ในสถานการณ์นี้ถ้าเราสามารถถ่ายให้เห็นอ่าวพัทยาก็จะทำให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานเพราะจัดที่พัทยาครับ และอ่าวโค้งๆ ของพัทยาคือจุดขายที่ดีที่สุดและชัดเจนที่สุด
 
 
 
 
 
 
 
 
ทั้งหมดเป็นความคิดส่วนตัวที่ใช้ในการถ่ายภาพเพราะลองผิดลองถูก ไม่ใช่ทฤษฎีวิชาการ ขอให้ใช้พิจารณาตามความเหมาะสมนะครับ



ที่มา http://www.klongdigital.com/news3/technic11