วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยืดอายุอาหารแบบสะดวกและง่ายดาย ด้วยช่องแช่แข็งที่บ้าน




เกิดเป็นสาวยุคนี้การงานรัดตัวถือเป็นเรื่องปกติแต่คุณเธอก็สามารถบริหาร เวลาทั้งนอกบ้านและในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตัวช่วยมากมายรอบตัว


ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “ตู้เย็น”
ที่เป็นผู้ช่วยแสนดีในการยืดอายุของสดด้วยเทคนิคแช่แข็งและแช่เย็นนอกจากจะ ประหยัดเวลา ถนอมแรงกาย ไม่ต้องออกไปจ่ายตลาดทุกวันแล้วยังช่วยให้คุณเลือกเมนูมาบำรุงบำเรอร่างกาย สมาชิกในบ้านได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

แถมถ้าทำถูกหลัก อาหารบางอย่างก็แช่ได้นานถึง 1 ปีเชียวนะแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าอยากจะให้ของสดอยู่ได้นานจริงๆมันก็ต้องมีเคล็ดลับกันหน่อย

กติกาแช่อาหารในช่องแข็ง

* ห่ออาหารที่จะแช่แข็งด้วยพลาสติกสำหรับห่ออาหาร (wrapping) ซึ่งมี

* อย่าลืมเขียนวันที่แช่ไว้บนห่ออาหาร หรือจะเขียนรายการไว้หน้าตู้เย็นกัน
ลืมก็เข้าทีดีนะ

* การหั่นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ จะยิ่งทำให้เสียรสชาติและเน่าเร็วขึ้น เพราะมีพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศข้างนอกมากขึ้นนั่นเอง

* ควรแบ่งเนื้อเป็นก้อนๆ ให้พอดีกับปริมาณที่จะใช้แต่ละครั้งดีกว่าการหั่นแบ่งแล้วนำกลับไปแช่อีก เพราะเนื้อจะเสียเร็ว

* ก่อนหยิบอาหารแช่แข็งมาปรุง ให้ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องหรือนำไปแช่น้ำโดยมีภาชนะรองเพื่อให้น้ำแข็งละลายเสียก่อน

* อุณหภูมิยิ่งเย็นมาก ยิ่งช่วยรักษาคุณภาพของเนื้อได้นานขึ้น

* อาหารที่ไม่ควรแช่แข็งคือ วิปปิ้งครีม ครีมชีส ไข่ เพราะตอนเอาออกมาใช้ อาหารพวกนี้จะไม่คืนสภาพเดิม

กติกาแช่อาหารในช่องเย็น


* ถ้าแช่น้ำส้มคั้นไว้ในตู้เย็นหลายวัน ก็จะเหลือแต่น้ำกับน้ำตาลไว้ให้คุณ เพราะวิตามินซีถูกทำลายง่ายในความร้อน ความชื้นและแสง

* บร็อกโคลี กะหล่ำดอก แอปเปิล เก็บใส่ตู้เย็นได้แค่ 2 วัน เพราะวิตามินและเกลือแร่จะค่อยๆ สลายไป และยังทำให้เสียรสชาติด้วย

* ข้าวโพด ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ยิ่งแช่นานยิ่งเสียรสหวานกรอบและวิตามิน ทางที่ดีกินให้หมดภายในวันเดียวจะดีกว่า

* ผักกาดหัวใส่ถุงแล้วเจาะรูนิดหน่อย แช่ไว้ในช่องผักได้นาน 2 สัปดาห์ส่วนขึ้นฉ่ายกับเซเลอรี (celery) ให้พรมน้ำเล็กน้อยโดยไม่ต้องเจาะถุงเพื่อกันการคายน้ำ เก็บใส่ตู้เย็นได้นาน 2 สัปดาห์ เช่นกัน


ถึงเทคนิคจะดีอย่างไร แต่ต้องไม่ลืมว่าอาหารที่อยู่ในช่องแข็งนานๆจะเสียรสชาติและลดคุณค่าลงไปทุก วันจะว่าไปบ้านเรานั้นก็ไม่ได้ขัดสนเรื่องอาหารการกินอะไรนักเก็บไว้นานแต่ พอควรก็แล้วกัน เดี๋ยวจะกลายเป็นเมนูพันปีซะก่อนที่สำคัญรสชาติอาหารที่ปรุงจากของสดนั้น ชวนน้ำลายสอกว่ากันเยอะ

Freeze ได้นานแค่ไหนนะ

ชนิดเนื้อสัตว์
ระยะเวลา


เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู 4 -12 เดือน

สัตว์ปีก เนื้อไก่ทั้งตัวหรือเป็นชิ้น 9 เดือน

ผลิตภัณฑ์จำพวกขนมปัง 1-3 เดือน

เนื้อปลา 6 เดือน

กุ้ง 3-6 เดือน

เนยอ่อน (butter) 6-9 เดือน

มาการีน 12 เดือน

ชีส 6 เดือน

นม 3 เดือน

โยเกิร์ต 1-2 เดือน

ข้อมูลเรื่องระยะเวลาในการแช่แข็งอาหาร อ้างอิงจาก
www.pregnancytoday.com

ที่มา

http://www.momypedia.com

http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=4359

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อันตรายจาก น้ำมันใช้แล้วหรือน้ำมันทอดซ้ำ

กระแสความนิยมบริโภคอาหารประเภททอด มีทั้งที่ทอดขายตามแผงลอยและรถเข็น เช่น กล้วยทอด มันทอด ปาท่องโก๋ จนถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ด ประเภทไก่ทอด เฟรนซ์ฟายด์ เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรอบขบเคี้ยวต่าง ๆ ที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง






⇒ ผลกระทบต่อผู้บริโภค

การใช้น้ำมันทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง คุณภาพของน้ำมันจะเสื่อมลงทั้งสี กลิ่น รสชาติเปลี่ยนไป จุดเกิดควันลดลง และมีความหนืดมากขึ้น ที่สำคัญจะเกิดสารประกอบที่สามารถสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ได้ จากข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบสาร mutagenesis ซึ่งอาจส่งผลให้ ดีเอ็นเอ กลายพันธุ์ในเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งยังก่อให้เกิดเนื้องอกในตับ ปอด และก่อให้เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาว

⇒ ข้อปฏิบัติผู้ประกอบการขายอาหารต่อผู้บริโภค

1.
ผู้ประกอบการที่นำน้ำมันใช้แล้วมาขายให้กับพ่อค้า แม่ค้ารายย่อย ถือว่ามีความผิดฐานจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ( ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 125 ง. ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547)

2. ไม่ซื้อน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้วมาทอดอาหาร


3. ซื้อน้ำมันบรรจุในภาชนะ ที่มีฉลากผ่านการตรวจสอบจาก อย.น้ำมันไม่ข้นและภาชนะอยู่ในสภาพปิดผนึก ไม่มีรอยฉีกขาด


4.หลีกเลี่ยงไม่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำมากเกินไป


5.น้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้นสีดำมีฟองมา


5.น้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้นสีดำมีฟองมาก เป็นควันง่ายและเหม็นไหม้ไม่ควรใช้ครั้งต่อไป


6.น้ำมันที่ใช้ทอดอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับทอด อยู่ที่ 160 – 180 องศาเซลเซียส หากทอดไฟแรงกว่านี้น้ำมันจะเสื่อมสลายตัวเร็ว

7. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น


ที่มา :
กรมส่งเสริมการเกษตร

ข้อดี-ข้อเสียของ MgCamd และ CCcam

โดยที่นิยมทั่วไปแล้ว Server จะมีการแชร์ Code ออกมาด้วยกัน 2 ระบบหลักๆด้วยกันคือ 1.MgCam และ 2.CCcam
เรามาว่ากันถึงข้อดีข้อเสียของ CCcam และ MgCamd (ในแง่ของผู้บริโภค) กันดีกว่า

1.MgCamd (1 hop)

ข้อดี:
  • MgCamd เปลี่ยนช่องได้เร็วกว่า CCcam
    เพราะ เพราะการแชร์ออกมาเป็น MgCam ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม NewCS ในการแชร์และกระจาย Code ไปยังลูกข่าย โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน Emulator ใดๆอีก (Hops: 1)

    อีกทั้ง MgCamd ยังมีระบบ Cache ทำให้สามารถเรียกเก็บ Key ที่ส่งมาจากฝั่งเซิฟเวอร์เพื่อรอการเรียก Key ได้
    โดย สังเกตง่ายๆด้วยการถอดสายแลนออกระหว่างดูช่องที่เรียกคีย์จากเซิฟเวอร์ โดยจะเห็นได้ชัดว่า MgCamd จะยังคงดูได้ต่อไปจนกระทั้ง Key ที่ถูกเรียกมาเก็บไว้จะถูกใช้ไปจนหมด
  • MgCamd มีระบบกรองขยะที่ดีกว่า CCcam
    เพราะ ระบบ Igore.list ของ MgCamd มีประสิทธิภาพในการบล๊อคขยะที่ถูกกรองมากจากฝั่งเซิฟเวอร์ได้แม่นยำและเสถียร
  • สามารถนำ Code มาแชร์ต่อในวงแลนหรือผ่าน Internet ได้
    เพราะ ข้อนี้ไม่ขอพูดถึงวิธีและขั้นตอนนะครับ ถ้าท่านใดสนใจต้องศึกษากันเอาเองครับ

ข้อเสีย:
  • MgCamd ไม่สามารถทำการ Reconnect ได้เหมือน CCcam
    เพราะ เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาจะยังไม่สามารถดูช่องที่เรียกคีย์ได้ เนื่องจาก MgCamd ยังไม่เห็น IP ที่ Router ปล่อยออกมาให้เครื่อง Dreambox จากนั้นเราจะต้องทำการ Restart Cam เพื่อให้มันมันทำการ Reconnect ไปยังเซิฟเวอร์อีกครั้ง
  • MgCamd ไม่สามารถอ่านการ์ดจากด้านหน้าเครื่องด้วยตัวมันเองได้
    เพราะ MgCamd จะต้องใ้ช้ NewCamd หรือ NewCS อ่านให้



1.CCcam (2 hops)

ข้อดี:
  • CCcam สามารถ Reconnect ตัวเองได้ตลอดเวลา
    เพราะ ต่างจาก MgCamd ที่จะต้องทำการ Restart Cam เกือบทุกครั้งหลังจากเปิดเครื่อง (ในกรณีที่ Router ไม่จำ MAC Address ของ Dreambox) โดย CCcam จะสามารถ Reconnect ไปยังเซิฟเวอร์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 วินาที โดยไม่ต้องทำการ Restart Cam ใดๆทั้งสิ้น
  • CCcam สามารถตั้งค่าให้อ่านการ์ดจากด้านหน้าเครื่อง และหลังเครื่อง(ผ่าน Pheonix Card Reader) โดยไม่ต้องพึ่ง Emulator อื่นๆ

ข้อเสีย:
  • CCcam ไม่สามารถนำมาแชร์ต่อได้
    เพราะ ตัว CCcam ที่แชร์ออกมาจะถูกส่งโค๊ดออกมาเป็น C: ไม่ใช่ N: ซึ่งเราไม่สามารถนำมาส่งต่อด้วย Emulator ใดๆทั้งสิ้น เว้นเสียแต่ทาง Server จะตั้งค่าให้ User นั้นๆ สามารถแชร์ต่อได้
  • CCcam มีความเร็วในการเปลี่ยนช่องที่ช้ากว่า MgCam (ในกรณีที่เซิฟเวอร์ส่งออกมาเป็น Hops 2)
    เพราะ โดยทั่วไปแล้วเซิฟเวอร์ที่แชร์ออกมาจะใช้ NewCS หรือ NewCamd เป็นตัวอ่านการ์ดและใช้ CCcam เป็นตัวปล่อย Code ให้ลูกข่าย เพราะฉะนั้นแล้วกว่าที่ Code จะมาถึงคุณ จะต้องผ่านมาตาม Step ที่้เรียกว่า Hops ที่มากกว่า ดังนี้

CCcam: (2 hops)
Card -> NewCS/Newcamd (hops: 1) -> CCcam (Hops: 2) -> Server ISP -> Your ISP -> Dreambox (CCcam)
MgCamd: (1 hop)
Card -> NewCS/Newcamd (Hops: 1) -> Server ISP -> Your ISP -> Dreambox (MgCamd)

ที่มา http://www.pmsatshop.com/forum/index.php?topic=10.0


วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รู้ไหมว่า? มีเพียง 3 ประเทศในโลกที่ยังไม่ใช้หน่วยวัดสากล

ในระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือระบบเอสไอ มีหน่วยวัดพื้นฐานที่เรียกว่า “หน่วยมูลฐาน” (Basic SI units) ทั้งหมด 7 หน่วยตามปริมาณมูลฐานทางฟิสิกส์ ได้แก่

1.เมตร (meter) หน่วยวัดความยาว (length)
2.วินาที (second) หน่วยวัดเวลา (time)
3.กิโลกรัม (kilogram) หน่วยวัดมวล (mass)
4.เคลวิน (Kelvin) หน่วยวัดอุณหภูมิ (temperature)
5.แอมแปร์ (ampere) หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า (electric current)
6.โมล (mole) หน่วยวัดจำนวนอนุภาค (number of particles)
และ 7.แคนเดลา (candela) หน่วยวัดความเข้มแห่งการส่องสว่าง (luminous intensity)

ทั้งนี้ หน่วยวัดมูลฐานในระบบเอสไอ 6 หน่วย ได้แก่ เมตร วินาที เคลวิน แอมแปร์ โมล และแคนเดลา เป็นหน่วยที่ไม่ใช้วัตถุทางกายภาพอ้างอิง ซึ่งการนิยามกิโลกรัมใหม่ จะทำให้หน่วยวัดมวลนี้ เป็นหน่วยถัดไปที่ไม่อ้างอิงกับวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้หน่วยเอสไอ ซึ่งอิงตามระบบวัดแบบเมตริก (metric) จะเป็นหน่วยวัดที่ใช้กันแพร่หลายในทั่วโลก แต่ก็ยังมีอีกเพียง 3 ประเทศที่ไม่ใช้หน่วยวัดสากล ยังใช้หน่วย “อิมพีเรียล” (imperial) ตามแบบอังกฤษดั้งเดิม คือ พม่า, ไลบีเรีย และสหรัฐอเมริกา

ทว่าในสหราชอาณาจักร ก็เพิ่งจะประกาศใช้หน่วยวัดสากลเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็ยังคงใช้มาตรวัด "อิมพีเรียล" บางอย่างเช่น "ไมล์" (mile) "ออนซ์" (ounce) และ "ปอนด์" (pound) ต่อไป.


หน่วยวัดมาตราต่างๆ



ระบบเมตริก
ระบบอิมพีเรียล
ระบบไทย
มาตราวัดความยาวเมตร1 นิ้ว (inch) = 25.4 มิลลิเมตร
1 ฟุต (foot) = 0.3048 เมตร
1 หลา (yard) = 0.9144 เมตร
1 ไมล์ (mile) = 1.609 กิโลเมตร
1 กระเบียด= 5 มิลิเมตร
1 นิ้ว= 2 เซนติเมตร
1 คืบ= 0.25 เมตร
1 ศอก = 0.5 เมตร
1 วา = 2 เมตร
1 เส้น = 10 เมตร
1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
มาตราวัดพื้นที่ตารางเมตร1 ตร.นิ้ว (Sq inch) = 6.45 ตร.เซนติเมตร
1 ตร.ฟุต (Sq foot)= 9.29 ตร.เซนติเมตร
1 ตร.หลา (Sq yard) = 0.836 ตร.เมตร
1 เอเคอร์ (acre) = 4046.78 ตร.เมตร
1 ตร.วา = 4 ตร.เมตร
1 งาน = 400 ตร.เมตร
1 ไร่ = 1,600 ตร.เมตร
มาตราวัดความจุลิตร1 ไพนท์ (pint) = 0.568 ลิตร
1 ควอต (quart) = 1.136 ลิตร
1 แกลลอน (gallon) = 4.546 ลิตร
1 เพ็ค (peck) = 9.092 ลิตร
1 บุชเชล (bushel) = 36.4 ลิตร
1 ควอเตอร์ (quarter) = 2.91 เฮกโตลิตร
1 ทะนาน = 1 ลิตร
1 เกวียน = 2,000 ลิตร
มาตราชั่งกรัม1 ออนซ์ (ounce) = 28.35 กรัม
1 ปอนด์ (pound) = 0.4536 กิโลกรัม
1 บาท = 15 กรัม
1 ตำลึง = 60 กรัม
1 ชั่ง = 12 กิโลกรัม
1 หาบ = 60 กิโลกรัม

ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000016412

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

15 อันดับแรกของประเทศที่ได้รับจัดสรร IPv4 มากที่สุดจาก APNIC

เราลองมาดูกันว่าในโค้งสุดท้ายก่อนที่ IPv4 จะถูกจัดสรรไปจนหมดนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการจัดสรร IPv4 กันไปประเทศละเท่าไหร่

จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 54) APNIC ซึ่งเป็นนายทะเบียนของภูมิภาคนี้ได้จัดสรรไอพีไปแล้วทั้งหมด 17,610 ช่วง คิดเป็น 769,631,744 ไอพี โดยขนาดที่จัดสรรในแต่ละช่วงมีตั้งแต่ /24 (256 ไอพี) ไปจนถึง /8 (16,777,216 ไอพี) แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้ครองตำแหน่งประเทศที่ได้รับการจัดสรร IPv4 ไปมากที่สุดถึงประมาณ 293 ล้านไอพีใน 1,875 ช่วง คิดเป็น 38% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว

อันดับที่ 2 และ 3 ก็หนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีที่ เป็นเจ้าพ่อทางด้านเทคโนโลยี ได้รับการจัดสรรไปถึงประมาณ 187/106 ล้านไอพีใน 2,418/882 ช่วง คิดเป็น 24%/14% ของทั้งหมด น่าสังเกตว่าจำนวนช่วงไอพีของญี่ปุ่นนั้นมากกว่าของเกาหลีเกือบ 3 เท่าตัว ซึ่งน่าจะเกิดจากการขอจัดสรรไอพีหลายๆ ครั้ง หรือจากหลายๆ หน่วยงาน ทำให้ญี่ปุ่นได้ไอพีกระจัดกระจายหลายช่วงมากกว่าเกาหลี และญี่ปุ่นนั้นเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ได้รับจัดสรรช่วงที่ใหญ่ ที่สุดคือ /8 ไป

อันดับ 4 ได้แก่ประเทศออสเตรเลีย ได้ไอพีไปประมาณ 48 ล้านไอพีใน 6,126 ช่วง หรือคิดเป็น 6% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรร ประเทศออสเตรเลียยังครองอันดับประเทศที่มีจำนวนช่วงไอพีมากที่สุดในภูมิภาค นี้ไปด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง (มากกว่าญี่ปุ่นที่เป็นอันดับ 2 อยู่ 2.5 เท่า ในขณะที่มีจำนวนไอพีน้อยกว่าญี่ปุ่นถึง 3.9 เท่า)

อันดับ 5 นั้นเป็นของประเทศไต้หวัน ด้วยตัวเลข 33 ล้านไอพีใน 477 ช่วงซึ่งคิดเป็น 4% ส่วนประเทศที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับสองของโลกหรืออินเดียนั้นกลับได้ตำแหน่งที่ 6 ด้วยตัวเลข 30 ล้านไอพีใน 820 ช่วง

ขอข้ามอันดับ 7 เวียดนาม อันดับ 8 อินโดนีเซียและอันดับ 9 ฮ่องกงไปพูดถึงอันดับ 10 คือประเทศไทยของ เราเลยดีกว่า ประเทศไทยได้รับจัดสรรไอพีทั้งหมด 7,374,592 ไอพีใน 390 ช่วง คิดเป็น 0.96% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้ โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดที่ได้รับคือ /14 (262,144 ไอพี) จำนวน 4 ช่วง (เป็นของ AIS, True, TOT และ Triple T)

ช่วงเล็กลงหน่อยคือ /15 (131,072 ไอพี) มี 12 ช่วงคือของ DTAC, TT&T (Maxnet), มหาวิทยาลัยหัวเฉียว, 2 x Triple T, 3 x True, 4 x TOT ส่วนช่วง /16 (65,536 ไอพี) มี 40 ช่วง และ /17 (32,768 ไอพี) มี 22 ช่วง

รายละเอียดประเทศอื่นๆ ดูได้จากตาราง

 Country   #Address  #Range  Bigg. Rang.   % IP
-----------------------------------------------
1 CN 292,887,296 1,875 4,194,304 38.06
2 JP 187,163,136 2,418 16,777,216 24.32
3 KR 106,021,376 882 4,194,304 13.78
4 AU 48,389,888 6,126 2,097,152 6.29
5 TW 33,038,080 477 2,097,152 4.29
6 IN 29,914,880 820 4,194,304 3.89
7 VN 12,660,480 164 2,097,152 1.65
8 ID 12,390,144 651 2,097,152 1.61
9 HK 9,674,496 723 262,144 1.26
10 TH 7,374,592 390 262,144 0.96
11 NZ 6,993,408 1,250 262,144 0.91
12 MY 5,801,472 306 524,288 0.75
13 SG 5,312,512 480 131,072 0.69
14 PH 5,304,576 316 524,288 0.69
15 PK 2,942,464 141 1,048,576 0.38
Others 3,762,944 591 805,120 0.49
-----------------------------------------------
769,631,744 17,610

ใครว่างๆ ลองเทียบปริมาณไอพีต่อพื้นที่ แล้วก็ปริมาณไอพีต่อประชากรของแต่ละประเทศดูหน่อย...

ที่มา - APNIC Stats

 http://www.blognone.com/news/21550