วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เช็คโรคจากอาการปวดท้อง


เช็คโรคจากอาการปวดท้อง
         

         ใครที่มักจะปวดท้องบ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าปวดท้องเพราะอะไร มีวิธีการเช็คโรค จากอาการปวดท้องมาบอก...

 ปวดท้องด้านขวาตอนบน ความเจ็บปวดในบริเวณด้านขวา ตอนบน ของช่องท้อง มักเกิดจากโรคตับและถุงน้ำดี

 ปวดท้องบริเวณแอ่งกระเพาะอาหาร แอ่งกระเพาะอาหาร คือ บริเวณที่อยู่ใต้ ซี่โครงลงมา การเจ็บปวดบริเวณนี้ มักเกิดจากการแสบกระเพาะอาหาร และอาการไม่ย่อย โรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบอาจเกิด ขึ้นในบริเวณนี้ ได้เช่นเดียวกัน บางครั้งโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดี ก็อาจเกิดขึ้น ในบริเวณ ส่วนท้องที่เป็นแอ่งได้

 ปวดท้องส่วนกลาง ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุมาจาก โรคที่เกิดขึ้นที่ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ อาการปวดท้องที่บริเวณนี้ อาจเกิดจาก ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งมักเริ่มขึ้นที่บริเวณนี้ก่อนเสมอ แล้วจึงเลื่อนมา เป็นส่วนล่าง

 ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูก หรืออาการหดเกร็ง ของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการ แสบกระเพาะอาหาร นั่นหมายถึงอาจเกิดจากกรด และอาการเจ็บปวด เนื่องจากแผลในกระเพาะ

 ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน อาการอักเสบของลำไส้

 ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง อาการปวดที่เป็นลักษณะปวด และคลายสลับกัน พร้อมกับอาการท้องร่วง หรือเกิดจาก อาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)

         ครั้งหน้าปวดท้อง อย่าลืมตรวจดูว่าอาการปวดท้องนั้นเกิดจากอะไร จะได้รักษาได้ถูกอาการ



ที่มา http://brightlives.th.88db.com/health/health_stomachache.htm

เทคนิคการวัด Air–Fuel Ratio (จูนหนา/บาง) อย่างแม่น


ถ้าท่านกำลังสงสัยว่ารถของท่านที่ติดแก้สมานั้นมีการจ่ายแก้สได้ส่วนผสมที่ดีหรือไม่ หรือที่เรียกกันในวงการว่าจูนบาง(แก้สน้อยอากาศมาก) จูนหนา(แก้สมากอากาศน้อย) เทคนิคการตรวจวัดที่เรากำลังจะบอกท่านคงสามารถช่วยท่านไขข้อข้องใจและแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือแพงๆเช่น AF meter ลองทำตามเป็นขั้นๆได้เลยครับ
1. ก่อนอื่นก็ต้องหาออกซิเจนเซนเซอร์ให้เจอก่อนมักอยู่แถวๆท่อไอเสียครับ ถ้ามีมากกว่าหนึ่งตัว ให้ใช้ตัวที่ใกล้เครื่องยนต์ที่สุด



2.ออกซิเจนเซนเซอร์มักจะมีสายไฟประมาณ 2 ถึง 4 เส้น จะต้องหาสายสัญญานให้เจอก่อนโดยติดเครื่องยนต์ให้ร้อนก่อนสัก ห้าถึงสิบนาทีเพราะออกซิเจนเซนเซอร์จะทำงานตอนที่มันร้อนเพียงพอเท่านั้น เสร็จแล้วใช้เข็มหมุดแทงและใช้โวลท์มิเตอร์วัดแรงดัน ถ้าค่าอยู่ระหว่าง 0จุดกว่าๆ ถึง 1 กว่าๆ แสดงว่าเป็นสายเซนเซอร์ ถ้าเป็นค่าอื่นๆเช่น 0 หรือ 12กว่าๆ 13กว่า แสดงว่าไม่ใช่สายสัญญานเซนเซอร์ พักดูรูปเซนเซอร์ใกล้ๆอีกที



3. จากนั้นก็ทำการจูนตามแต่วิธีที่ท่านถนัด เช่น ปรับวาวล์กลางสาย หรือ ปรับสกรูที่หม้อต้ม และการอ่านค่าแลมด้าทำได้โดยดูค่าโวลท์ แล้วเทียบเป็นค่าแลมด้าจากกราฟ



4. ตัวอย่างเช่นถ้าท่านอ่านค่าได้ ประมาณ 0.5 Volt แสดงว่าค่าแลมด้าอยู่ประมาณ 1 การจูนให้ได้ แลมด้าเท่ากับหนึ่งในทุกรอบเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่จะจูนอย่างไรให้ได้ใกล้เคียงในย่านของรอบเครื่องยนต์ที่กว้างพอสมควรก็ถือว่าดีแล้ว



5. ข้อจำกัดของวิธีนี้ก็คือ เซนเซอร์ที่ติดรถเป็นแบบที่อ่านค่าได้ในช่วงแคบ(narrow band) เพราะฉะนั้นถ้าค่าแลมด้ามากหรือน้อยกว่า หนึ่งมากๆจะอ่านค่าไม่แม่นยำ แต่พอจะใช้ประมาณได้ว่า rich หรือ lean ค่อนข้างมากหรือน้อยได้แม่นพอควร
6. สำหรับรถโตโยต้ารุ่นที่มีปลั้ก diagnosis แบบในรูปก็จะสามารถวัดค่าออกซิเจนเซนเซอร์ได้ง่ายกว่า ก่อนอื่นต้องมองหาขั้ว DIAGNOSIS ที่อยู่ที่ฝากระโปรงตามรูปก่อนครับ



7. เปิดฝาdiagnosis terminal แล้วก็หาดิจิตอลโวลท์มิเตอร์ มาวัดที่ขั้วต่ออกซิเจนเซนเซอร์ตำแหน่งตามรูป



8. อ้อ ลืมไปว่าต้องติดเครื่องให้ร้อนก่อนสัก ห้าถึง สิบนาทีให้ ออกซิเจนเซนเซอร์ร้อนจนถึงอุณหภูมิทำงานก่อนจึงจะวัดได้ครับ
9. ถ้าจูนโดยการปรับวาว์ลหรือสกรูปรับแรงดันต่างๆจนอ่อนใจแล้วยังได้ค่าไม่ใกล้เคียงแสดงว่า มิกเซอร์ที่ใช้ไม่แมทช์กับเครื่องลองเปลี่ยนมิกเซอร์ดู
10. ขอให้สนุกและประสบความสำเร็จในการปรับนะครับจะได้รถที่ทั้งประหยัดและแรงพอสมควร



GasThai.Com ขอขอบคุณ
บทความ/ทดสอบ โดยคุณนิพนธ์ ZG Garage 



ที่มา http://www.gasthai.com/article/html/8.html

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความจริง ของ เครื่องกรองนํ้า

เห็นใคร(เซลล์)หลายคน บอกว่าเครื่องกรองนํ้าโน่น นี่ นั่น ดีสารพัด
บางเครื่อง เติมโอโซนบ้างล่ะ ใส่แร่อันมหัศจรรย์บ้างล่ะ นํ้าพลังแม่เหล็ก(ยังกับ iron man) บางเครื่องเทพมาก กรองนํ้าออกมาเป็นโมเลกุลรูปเหลี่ยม (โครตเทพ) สารพัดตามแต่ละยี่ห้อ
โดยราคาบางชนิด ซื้อมอเตอร์ไซด์ได้คันนึงเชียวนะเออ (คุ้มมั้ยนั่น)
แต่เราคงจะลืมไปว่า นํ้าดื่มที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด คือนํ้าดื่มที่บริสุทธิ์ เท่านั้นเอง
ไม่ต้องพิเศษเลิศเลอมาจากไหน

ด้วยความที่เป็นคนธรรมดา ไม่เชี่ยวชาญด้านเครื่องกรองนํ้า
แต่ก็พอรู้มาบ้างว่า เครื่องกรองนํ้าทั่วโลกมันก็ก็มีหลักการเดียวกัน ก็คือ กรองนํ้าให้สะอาด (มากน้อยแล้วแต่ วิธีการของแต่ละยี่ห้อ)

มาเริ่มกันเลย!!!

นํ้าทั่วๆไป ที่กิน ดื่ม ใช้ กันมีหลายๆแบบ ตามพื้นที่นั้นๆ
1. นํ้าขวด
2. นํ้าปะปา
3. นํ้าฝน
4. นํ้าบาดาล
5. นํ้าจากแม่นํ้า ลำคลอง

ดังนั้นสิ่งปนเปื้อนก็จะต่างๆกันไป ตามแต่ละชนิดของแหล่งที่มาของนํ้า
1. นํ้าขวด
- สิ่งปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละยี่ห้อ
2. นํ้าปะปา
- คลอรีน ปูนขาว โซเดียมคาร์บอเนต สารส้ม 
3. นํ้าฝน
- ฝุ่น ผง ควันพิษ เชื้อโรคต่างๆ
4. นํ้าบาดาล
- ดิน ตะกอน ยาฆ่าแมลง สารเคมี สารพิษต่างๆ น้ำทิ้งจากโรงงาน น้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำ เชื้อโรคต่างๆ
5. นํ้าจากแม่นํ้า ลำคลอง
- ดิน ตะกอน ยาฆ่าแมลง สารเคมี สารพิษต่างๆ น้ำทิ้งจากโรงงาน น้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำ เชื้อโรคต่างๆ

แล้วจะทำอย่างไรกับสิ่งปนเปื้อนพวกนี้ล่ะ
หลักการง่ายๆ คือหาวัสดุที่สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนพวกนี้




คุ้นๆกันมั้ย สมัยเด็กๆ

แต่พอโตขึ้น มันก็มีสารเคมีบางตัวที่เหมาะสม มาให้ใช้งานเพิ่ม (อีกเยอะเลย ^^)

- PP(Poly Polemer), Sendiment 1-5 micron    ขจัด ตะกอน สนิม สิ่งปลอมปนในนํ้า
- ไส้กรองด้ายพัน 5 micron กรองสารอินทรีย์ต่างๆ กรวด หิน ดิน ทราย
- ไส้กรองจีบ 0.3 micron (ล้างได้) กรองกรวด หิน ดิน ทราย และสนิม
- Ceramic 0.3 micron (ล้างได้)   กรองฝุ่นขนาดเล็ก เชื้อโรค แบคทีเรีย
- Carbon GAC 0.3 micron   ดูดซับกลิ่น คลอรีน สี ปรับความเป็นกรด-ด่าง โลหะหนัก สารเคมี
- Carbon Block (CIF) 0.3 micron   ดูดซับกลิ่น คลอรีน สี ปรับความเป็นกรด-ด่าง โลหะหนัก สารเคมี
- Rasin 0.1 micron (ล้างได้)   ตัวกลางดูดสารละลายหินปูน ปรับความกระต้างของนํ้า
- UF Membrain (Ultra Filtration) 0.01 micron   กรองฝุ่นขนาดเล็ก เชื้อโรค แบคทีเรีย
- RO Membrain 0.0001 micron   กรองฝุ่นขนาดเล็ก เชื้อโรค แบคทีเรีย
- Post Carbon 0.3 micron   ดูดซับกลิ่น คลอรีน สี ปรับความเป็นกรด-ด่าง ที่หลงเหลืออยู่จากทุกขั้นตอน
- UV เอาไว้ฆ่าเชื้อโรคอย่างเดียว มีไวรัสบางตัว ต้องฆ่าด้วยรังสีแกรมม่า (อันนี้ก็เว่อร์ไป)

จำพวกนํ้า special (นํ้าบาดาล นํ้าคลอง)

- แมงกานีส กำจัดสารโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารละลายเหล็ก และยังเติมออกซิเจนให้กับน้ำ
- แอนทราไซต์ กำจัดตะกอนและสนิมเหล็ก

เครื่องกรองทั่วจักรวาล ก็คงหนีไม่พ้นสารเคมีด้านบน
มาดูชนิดของเครื่องกรองนํ้ากัน


1. กรองนํ้าธรรมดา (0.3 - 0.01 micron)
ระบบการกรอง 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 Sediment (PP)
ขั้นตอนที่ 2 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 3 Post Carbon

ระบบการกรอง 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 Sediment (PP)
ขั้นตอนที่ 2 Resin หรือ Carbon GAC ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่จะทำการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 4 UF Membrain หรือ Post Carbon ตามกำลังทรัพย์
ขั้นตอนที่ 5 Post Carbon

2. กรองนํ้า UV (0.3 - 0.01 micron)
ขั้นตอนที่ 1 Sediment (PP)
ขั้นตอนที่ 2 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 3 Resin
ขั้นตอนที่ 4 Post Carbon
ขั้นตอนที่ 5 UV

3. กรองนํ้า RO (0.0001 micron)
ระบบการกรอง 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ไส้กรอง20" Sediment (PP) กรองได้ 5 ไมครอน
ขั้นตอนที่ 2 Resin หรือ Carbon GAC ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่จะทำการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 4 RO Membrain
ขั้นตอนที่ 5 Post Carbon

4. กรองนํ้าลูกผสม (0.3 - 0.0001 micron)
เอาหลายๆอย่างมาผสมกัน (ตามแต่ละยี่ห้อ)
ระบบการกรอง 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ไส้กรอง20" Sediment (PP) กรองได้ 5 ไมครอน
ขั้นตอนที่ 2 Resin หรือ Carbon GAC ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่จะทำการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 4 RO Membrain
ขั้นตอนที่ 5 Post Carbon
ขั้นตอนที่ 6 UV

5. กรองนํ้าขั้นเทพ ( xxxx micron)
-โอโซน
-พลังแม่เหล็ก
-พลังนาโน
-โมเลกุล 6 เหลี่ยม
-พลังจิต
-อื่นๆ เยอะแยะ สารพัด แล้วแต่ยี่ห้อ

6 กรองนํ้าอุตสาหกรรม (0.01 - 0.0001 micron)
















**แต่ละชนิด สามารถปรับเปลี่ยน ขั้นตอน และ ใส้กรอง ได้ตามความต้องการ (เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด)





แสดงขั้นตอน การกรองนํ้า


แล้วๆ อายุการทำงานของไส้กรองล่ะ

ประมาณ 6-12 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มากน้อย


อยากจะทำ เครื่องกรองนํ้าเองกันมั้ย ประหยัดๆ 
แบบ ธรรมดา ก็ไม่เกิน 1,000 บาท
แบบ RO ก็ไม่เกิน 3,000 บาท

ลองเข้า link นี้ดูครับ
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/08/R9556971/R9556971.html
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/06/R9383802/R9383802.html



ที่มา
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11175678/X11175678.html
http://guru.sanook.com
http://www.aqua-dd.com

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประสบการณ์จากน้ำท่วม

 

ผมรวบรวมสิ่งที่เรียนรู้ จากน้ำท่วมครั้งนี้ มาบอกกล่าวครับ 

1. อย่าเสียเวลากับการป้องกัน 
หากบริเวณบ้านของท่านอยู่ในพื้นที่เสี่ยง 
แต่ทางการประกาศว่าระดับน้ำอาจสูงถึง 1.5 เมตร 
อย่าได้เสียเวลากับการป้องกันเลยครับ 
ระดับน้ำที่มาถึงบ้านท่าน 
รับรองว่าจะต่ำกว่าหรืออาจจะสูงกว่าที่ทางการประเมิน

2. กระสอบทราบเป็นแค่เครื่องมือชะลอ 
กระสอบทรายมิใช้แก้วสารพัดนึกครับ 
มันไม่สามารถกั้นน้ำได้ 100 % 
แค่ทำให้น้ำรั่ว หรือซึมเข้ามาได้บ้าง 
ท่านต้องมีการดูดออกด้วย 

3. การวางกระสอบทราย
เรามิใช่มืออาชีย 
การจัดเรียงกระสอบทราย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจริงๆๆ 
ผมกับเพื่อบ้าน หมดค่ากระสอบทรายไป 50,000 บาท 
สุดท้าย ก้อ ละลายน้ำ 

4. อย่าได้เชื่อโครงการ อันนี้มิได้ต่อว่าโครงการนะครับ 
เพียงแค่ว่าเขาประเมินสถานการณ์ต่ำไป 
โครงการผมลงทุนน่าจะเป็นล้าน 
ตั้งคันดิน กระสอบทรายน่าจะกว่า 30,000 ใบ คันสูง 1.5 เมตร 
เครื่องสูบน้ำออกแบบตัวใหญ่ๆๆกว่า 3 ตัว 

5. สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ สิ่งที่ใช่ อาจไม่เห็น 
น้ำมิได้โจมตีจะภาคพื้นดินหรอกครับ
มันมาจากใต้ดิน มันมุดกำแพงเข้ามา
บางครั้งมันโพร่งให้เห็น แต่หากมันไม่โพร่งให้เห็น 
มันจะซึมลงท่อน้ำทิ้งของโครงการ 
เนื่องจากท่อน้ำทิ้งที่วางแนวไว้ นานเข้าจะเกิดการทรุดตัว แครก แตก 
ทำให้น้ำซึมเข้ามา จนกระทั้งเต็มท่อ 
โครงการมัวแต่อุดท่อที่ต่อกับภายนอก 
และ ไม่เห็นว่าท่อข้างในมีการรั่วซึม 

6. การอุดท่อระบายน้ำเข้าบ้าน มิใช่การป้องกัน 
ทุกสำนักจะบอกว่า ต้องอุดท่อระบายน้ำ 
ลองอ่านจากข้อสองครับ 
เราอาจจะรู้สึกว่าแน่นดี เอาอยู่ น้ำไม่ผ่าน 
แต่ที่จริง กระสอบทรายแค่ชะลอ ทำให้น้ำผ่านยากขึ้น 
และที่สำคัญ พวกบ้านเดียว มีพื้นที่สวน 
ใต้บ้านของท่านล้วนแล้วแต่เป็นโพรง 
น้ำจะแทรกตัวลงไปจนแน่นโพรงใต้พื้น
แล้วจะผุดออกมาตามรอยแตกของบ้าน 
บางครั้งอาจจะดันกระเบื้องเข้าบ้านได้ 
แต่เหตุกาาณืนี้เกิดได้ค่อนข้างยาก 

7. ห้องน้ำคือจุดอ่อนที่สุด 
เมื่อน้ำเต็มท่อระบาย จะหาทางออกมาทั้งน้ำทิ้งทางพื้นที่เรียกว่า Floor Drain 
รวมถึงชักโครก 
ซึ่งท่านไม่สามารถจะอุดได้ 
หากจะอุดจริง ๆ ต้องถอดหัวชักโครกแล้วโบกปูน 

8. อย่ามัวสาระวนกันการป้องกัน 
เมื่อน้ำบุกเข้ามาได้ ท่านจะพยายามลากกระสอบทรายมาปิด มาอุด 
ซึ่งไร้ประโยชน์ เอาเวลาไปตรวจสอบว่า 
เรามีอะไรยังไม่ได้ยกขึ้นที่สูงอีกบ้าง 

9. ไม่ต้องสะสมเสบียง เพราะหากปริมาณน้ำขนาดนี้ 
ท่านถูกตัดไฟแน่นอน 
แล้วจะอยู่อย่างๆไร
ผมสะสมเสบียงอยู่ได้เกือบ 3 เดือน 
จบข่าวตั้งแต่วันแรกแล้ว 

10. ก่อปูนเป็นทางออกที่เกือบใช่ แต่.... ไปดูข้อเจ็ดครับ 
หากท่านมั่นใจว่าสามารถสร้างระบบปิดในตัวบ้านท่านได้ ก็จงทำเถิด 
แต่หากไม่ใช่ อย่าเสียเวลา 

11. ระดับความสูง หากท่านเห็นน้ำขนาดนี้มาอีก 
ของที่ยกได้ ข้อให้ระดับไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร 
หากจะเทินของก็ให้มั่นใจว่ากว่า 
บ้านผมสูงจากถนน 30 เซ็น ก่อปูนอีก ประมาณ 70 เซน 
สุดท้าย ไม่รอด 

12. เก็บของสำคัญพร้อมหนี 
อย่ามั่วเสียเวลาในการป้องกัน 
จัดกระเป๋าสำรองอีกใบ 
เพราะเวลาคับขันแน่นมาก 
ท่านจะเก็บไม่ทัน ลืมโน่นลืมนี่ 

13. หากท่านผ่อนบ้าน จะถูกบังคับทำประกัน จงกลับไปอ่านอนุสัญญา 
บางบริษัทจะครอบคลุมน้ำท่วม 
หรือภัยที่มาจากน้ำ 
ท่านอาจจะได้เงินคมาจากการซ่อมบ้าน 

14. บทสรุปครับ มีมากเจ็บมาก มีน้อย เจ็บน้อย 
เท่าที่คิดได้ครับ 
ใครมีอะไร สนับสนับสนุนได้ครับ 

ฝากไว้สำหรับคนที่กำลังจะวางแผน 
แต่ย้ำว่า 
สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ระดับน้ำสูงมากๆๆ 
หากท่านท่วมแค่ 30 - 50 เซน

ก้อป้องกันเถอะครับ

CR : สุเทพ เตมานุวัตร์

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการกรองนํ้า Membrane Processes



 กระบวนการเมมเบรน (Membrane Processes) หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยเยื่อเมมเบรน (Semi-Permeable Membrane) ในการแยกสารละลายออกจากน้ำ หรือของเหลว กระบวนการเมมเบรนที่สำคัญมี 3 แบบ คือ 
1 Electrodialysis (ED)

Edprinc.jpg

2 Reverse Osmosis (RO.) 


3 Ultrafiltration (UF) 



ความแตกต่างของกระบวนการทั้งสามประเภทอยู่ที่ความสามารถในการแยกสารละลายที่มีขนาดต่างๆ และแรงขับดันที่ทำให้เกิดการแยกสาร และน้ำออกจากกัน Electrodialysis (ED) ใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นแรงขับดันให้เกิดการแยกสารประกอบซึ่งแตกตัวเป็นไอออนได้ ออกจากน้ำ แต่ไม่สามารถแยกสารอินทรีย์ ส่วน Reverse Osmosis (บางครั้งเรียกว่า Hyperfiltration) และUltrafiltration (UF) ใช้แรงดันในการแยกสารต่างๆ ออกจากน้ำ Reverse Osmosis (RO) สามารถแยกสารอินทรีย์ขนาดใหญ่ และสารอนินทรีย์ชนิดต่างๆ เกือบทุกชนิดออกมาได้ แต่ UF มีความสามารถด้อยกว่า RO เพราะสามารถแยกสารอินทรีย์ขนาดใหญ่เท่านั้นอย่างไรก็ตาม UF มักใช้แรงดันประมาณ 100 ปอนด์ต่อตร.นิ้ว หรือน้อยกว่า ส่วน RO มักใช้แรงดันตั้งแต่ 300-1000 ปอนด์/ตร. นิ้ว หรือสูงกว่า


                เยื้อเมมเบรนของกระบวนการทั้งสาม มีหน้าที่ และขีดความสามารถไม่เท่ากัน กล่าวคือ แผ่นเมมเบรนของ RO สร้างขึ้นเพื่อให้น้ำไหลผ่านเท่านั้น และไม่ตั้งใจให้สารอื่นๆ ไหลผ่านได้ แผ่นเมมเบรนสำหรับ UF นั้นกักได้เพฉาะสารอินทรีย์ ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงกว่า 500 และยอมให้สารอื่นๆ รวมทั้งน้ำไหลผ่าน แผ่นเมมเบรนสำหรับ ED มี 2 ชนิด คือ แผ่นบวก และแผ่นลบ ซึ่งยอมให้เฉพาะไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเหมือนกันไหลผ่าน โมเลกุลของน้ำไหลผ่านแผ่นเมมเบรนได้ยาก

ความแตกต่างระหว่า ED, RO, และ UF

กระบวนการ
แรงขับดัน
สารที่แยกออกจากน้ำได้
RO


แรงดัน 300  1000 ปอนด์/ ตร.นิ้วหรือสูงกว่า
เกลือแร่, กรด, ด่าง, สารอินทรีย์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 200 (รวมทั้งแบคทีเรีย ฯลฯ)
UF
แรงดัน 100 ปอนด์/ ตร.นิ้ว หรือต่ำกว่า
สารอินทรีย์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 500
ED
แรงดันไฟฟ้า

สารที่แตกตัวเป็นไอออนได้



          ในปัจจุบัน ความจำเป็นที่ต้องใช้น้ำสะอาดที่มีปริมาณสารละลายต่ำ และความสกปรกที่เพิ่มขึ้นของแหล่งน้ำดิบ ทำให้กระบวนการเมมเบรนต่างๆ มีความสำคัญเพิ่มขึ้น และกลายเป็นระบบที่จำเป็นในหลายกรณีเนื่องจากระบบ RO นั้น มีขีดความสามารถกว้างขวางกว่า UF และ ED ดังนั้น จึงมีการนำ RO ไปใช้ในการทำความสะอาดน้ำดีมากกว่าระบบเมมเบรนแบบอื่น

 

ความหมายของ Reverse Osmosis
          ออสโมซิส (Osmosis) หมายถึงการเคลื่อนที่ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของน้ำผ่านเยื่อเมมเบรนบางๆ (Semi Permeable Membrane) จากสารละลายเจือจาง ไปยังสารละลายเข้มข้น เยื่อเมมเบรนอุดมคติยอมให้น้ำไหลผ่านได้เท่านนั้น แต่ในทางปฎิบัติ โมเลกุล หรือไอออนบางชนิด อาจไหลผ่านได้เช่นกัน สมมติมีตู้น้ำอยู่ และเอาเมมเบรนมากั้นตรงกลางด้านซ้ายเป็นสารละลายเข้มข้น ด้านขวาเป็นสารละลายเจือจาง เมื่อปล่อยให้มีการไหลของน้ำผ่านเมมเบรนจนกระทั่งถึงจุดสมดุล (ไม่มีการไหลอีก) ระดับน้ำในด้านซ้ายซึ่งเป็นสารละลายเข้มข้นจะสูงกว่าระดับน้ำในด้านขวาซึ่งเป็นน้ำเจือจาง ผลต่างของระดับน้ำนี้เรียกว่า แรงดันออสโมซิส (Osmotic Pressure) นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายถึงปรากฎการณ์ออสโมซิสว่า อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสารละลายเข้มข้นมี (Vapor Pressure) ต่ำกว่าสารละลายเจือจาง ระดับน้ำในทั้งสองด้านของเมมเบรนจึงมีการปรับตัว จนกระทั่งแรงดันบนผิวน้ำทั้งสองด้านมีค่าเท่ากัน ถ้ามีแรงดันที่มีค่าสูงกว่าแรงดันออสโมซิสมากระทำต่อด้านที่มีสารละลายเข้มข้น น้ำจะไหลย้อนกลับ ซึ่งเป็นการต้านการไหลตามธรรมชาติ วิธีดังกล่าวนี้วิศวกรนำมาใช้เพื่อแยกน้ำออกจากสารละลายเข้มข้นต่างๆ และเรียกว่า Reverse Osmosis (RO) หรือออสโมซิสย้อนกลับ ดังนั้นกระบวนการ RO จึงอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ แรงดัน และ เมมเบรน


น้ำดื่มระบบ reverse osmosis(RO) เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

น้ำดื่มระบบ Reversr osmosis(RO) เป็นระบบกรองน้ำซึ่งจะทำให้น้ำที่ได้มา ค่อนข้างมีความบริสุทธิ์สูง จนแทบจะเรียกว่า ไม่มีสารอะไรตกค้างอยู่เลยนอกจากน้ำเปล่าๆเท่านั้น หรือแทบจะเรียกว่ามีคุณภาพเทียบเท่าน้ำกลั่นทีเดียว ซึ่งคุณภาพนี้ ก็ขึ้นกับว่า แผ่นกรองที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพยังไง ถ้าแผ่นกรองที่ใช้มีสภาพดี มีรูพรุนขนาดเล็ก(เชื้อจุลินทรีย์ผ่านไม่ได้) และมีการดูแลอย่างดี ก็จะให้น้ำสะอาดที่สามารถใช้บริโภคได้

ส่วนกระบวนการผลิตน้ำวิธีอื่นๆ เช่น ต้มและกรองแบบปกติ (พวกน้ำขวดที่วางขายทั่วๆไป) จะทำให้หลงเหลือสารบางอย่างที่พบได้ในน้ำทั่วๆไป เช่น Zn Ca Cl ฯลฯ ซึ่งสารที่ตกค้างเหล่านี้ ต้องมีไม่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้(ถ้ามากกว่านี้ จะจัดเป็นน้ำแร่) และจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย เช่น ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนั้นๆ

แต่เนื่องจาก การผลิตน้ำ RO ทำให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์มาก เลยมีคนมาทักท้วงว่ามันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เราจะมาดูว่าเรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร

น้ำ RO จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารน้อยกว่าน้ำปกติหรือไม่
อย่างที่บอกไปแล้วว่า น้ำแบบปกติ จะมีสารอื่นๆเจือปนอยู่ ซึ่งหลายๆตัวนั้น ก็เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น Zn Ca หรือ F ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย การกินน้ำ RO ย่อมทำให้ร่างกายได้รับสารเหล่านี้น้อยลงครับ

แต่... ปริมาณสารเหล่านี้ในน้ำนั้น มีน้อยมากครับ (ถึงจะเป็นน้ำแร่ก็ตาม) ร่างกายของเรา ได้รับสารอาหารจากอาหารที่เรากินเข้าไปเป็นหลัก ไม่ได้รับสารอาหารจากน้ำเป็นหลักครับ ดังนั้น ถึงแม้จะกินน้ำ RO ไปนานๆ ก็ไม่มีผลต่อภาวะขาดสารอาหารแต่อย่างใด

ดื่มน้ำ RO แล้วจะทำให้ฟันผุ
น้ำ RO ค่อนข้างบริสุทธิ์มาก สามารถไปกัดกร่อนบริเวณเคลือบฟันของเราได้ และอาจจะไปละลายผิวเคลือบฟัน ทำให้ฟันไม่แข็งแรงหรือฟันผุได้ง่าย

แต่เหตุการณ์นี้ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณได้สัมผัสกับน้ำนี้ เป็นเวลานานๆ เช่น อมน้ำไว้ในปากทั้งวัน หรือเอาฟันไปจุ่มไว้ในน้ำ RO ตลอดเวลา

การกินน้ำแบบปกติ น้ำจะมีเวลาสัมผัสกับฟันน้อยมาก แล้วก็จะไหลลงสู่คอและทางเดินอาหารต่อไป น้ำที่อาจเหลืออยู่ในปาก ก็จะถูกเจือจางด้วยน้ำลายของเรา และส่วนใหญ่ก็จะไหลลงไปสู่ทางเดินอาหารเช่นกัน จึงไม่มีผลที่จะทำให้เกิดฟันผุได้ครับ

สรุปแล้ว การกินน้ำ RO ไม่ทำให้สุขภาพเราย่ำแย่ไปกว่าการกินน้ำปกติแต่อย่างใดครับ (นอกจากว่าแผ่นกรองจะไม่ดี) และการใช้น้ำ RO นี้ ก็มีมานานแล้วด้วย ที่เห็นกันมากๆ คือ การใช้เป็นน้ำกินในการเดินเรือ เขาก็จะใช้น้ำทะเล มาผ่าน RO ทำเป็นน้ำกินได้ตลอดเวลาครับ   



ที่มา
http://www.sangraphee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=408158
http://www.boilerthailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=562743&Ntype=14
http://www.kochmembrane.com/sep_uf.html

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เตรียมบ้าน/สำนักงาน ให้พร้อม กับนํ้าท่วม



   5.1 เตรียมป้องกันไม่ให้น้ำเข้าบ้าน โดยการทำเขื่อนรอบบ้าน ทำคันดินยกสูง เตรียมกระสอบทรายไว้เสริมคันดินเผื่อไว้หากต้องเจอระดับน้ำขึ้นสูงกว่าเดิม เตรียมแผ่นพลาสติกไว้กั้นน้ำเข้ามาในพื้นที่ ต้องอุดช่องทุกช่องที่น้ำจะเล็ดรอดผ่านเข้ามาได้ เช่น รั้วรอบบ้าน ประตูรั้วบ้าน ประตูหน้าบ้านและหลังบ้าน ท่อระบายน้ำ ท่อซักล้าง ท่อน้ำทิ้ง ท่อชักโครก/ท่อส้วม การอุดท่อเล็ก ๆ ใช้จุกอุดซิ๊งก์ล้างจานหรือจุกอุดอ่างอาบบ้ำอุดก่อนแล้วใช้ของหนักเช่นถุงใส่ทรายวางทับอีกชั้น ถ้าท่อมีขนาดใหญ่ให้ดัดแปลงหาแผ่นพลาสติกวางทาบปากท่อก่อนทับด้วยของหนักเช่นถุงทรายอีกที ท่อชักโครกใช้ที่ปั๊มสูญญากาศ (เวลาส้วมตันเราใช้ที่ปั๊มนี้ปั๊มท่อ)ครอบรูท่อแล้วเอาถุงทรายทับไว้  ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะน้ำที่ล้อมรอบบริเวณจะมีแรงดันและมักจะไหลย้อนมาตามท่อระบายน้ำตามบ้าน แรงดันน้ำนอกบ้านนี่แหละที่จะดันสิ่งปฏิกูลจากท่อออกมาเลอะเทอะบ้าน จึงต้องอุดกันไว้ก่อน     สำหรับปั้มน้ำที่เตรียมไว้สำหรับสูบน้ำออกควรใช้พลังงานน้ำมันจะดีกว่าใช้ไฟฟ้า เพราะถ้าถูกตัดไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดไม่สามารถใช้การได้   ดูคลิปวิดิโอสาธิตการวางกระสอบทรายรับน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพที่คอมเม้นต์ด้านล่าง
   5.2 เตรียมย้ายเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของที่จะเสียหายจากน้ำหรือลอยไปกับน้ำ ให้เก็บขึ้นที่สูงให้พ้นน้ำ โดยเฉพาะปลั๊กไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า การย้ายปลั๊กไฟให้ช่างไฟมาย้าย อย่าทำเอง
   5.3 ต้องเตรียมตัดกระแสไฟ กรณีต้องการแยกสวิชต์ชั้นล่างชั้นบนควรปรึกษาช่างไฟฟ้า กรณีหม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึงต้องรีบแจ้งการไฟฟ้ามาย้ายหม้อแปลงขึ้นที่สูง
ติดต่อไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร 1129   การไฟฟ้านครหลวง โทร 1130
   5.4 กรณีบ้าน/สำนักงานมีสารเคมีหรือสารพิษ ควรเตรียมย้ายสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่จะปนเปื้อนไปกับน้ำ เก็บขึ้นที่สูงเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย
   5.5 กรณีมีสัตว์เลี้ยงหรือฟาร์มปศุสัตว์ควรเตรียมย้ายสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูงที่พ้นจากน้ำท่วม อย่าลืมเตรียมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงให้เพียงพอด้วย
ดาวน์โหลด วิธีกันน้ำท่วมเข้าบ้าน การอุดน้ำรั่ว การกั้นน้ำไม่ให้กำแพงพัง ดูแลระบบไฟฟ้า ดูแลถังใต้ดิน ดูแลหลังคา และวิธีหาทางหนีทีไล่ บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วมโดย อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
ภาพตัวอย่างเขื่อนกันน้ำทำเองช่วยป้องกันบ้านไม่ให้เสียหายจากน้ำที่ล้นทะลักจากแม่น้ำยาซู รัฐมิซซิสซิปปี สหรัฐ พฤษภาคม 2554
เขื่อนดินที่มีประสิทธิภาพ ฐานของเขื่อนกว้างเป็นสามเท่าของความสูงของเขื่อน รถยนต์ขึ้นไปวิ่งบนสันเขื่อนได้เลย
การคลุมพลาสติกเขื่อนดินมีความบกพร่อง ไม่แนบสนิท พลาสติกลอยตัว น้ำจึงซึมเข้าด้านใต้เขื่อน
การใช้กระสอบหนักทับแผ่นพลาสติกที่คลุมรอบเขื่อนช่วยกันน้ำและรักษาพื้นที่ภายใน
การที่เขื่อนดินป้องกันน้ำเข้าพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เพราะมีการออกแบบและวางแผนโดยวิศวกรและมีขั้นตอนพอสมควร เช่น มีการศึกษาทิศทางไหลของกระแสน้ำ คำนวนความสูงของน้ำที่อาจท่วมถึง จากนั้นคำนวนความกว้างของฐานเขื่อนให้สัมพันธ์กับความสูงของเขื่อน คำนวนความกว้างฐานของเขื่อน = ความสูงของเขื่อน X 3 (สันเขื่อนยิ่งสูงเท่าไร ฐานยิ่งต้องกว้างมากขึ้นเท่านั้น) มีการขุดร่องก่อนวางกระสอบทรายเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างพื้นกับกระสอบไม่ให้แรงน้ำดันกระสอบล้มได้ง่าย มีการคลุมแผ่นพลาสติกกันน้ำที่ด้านนอกของเขื่อนแล้วปิดทับด้านบนของพลาสติกด้วยกระสอบทรายอีกชั้น กันน้ำซึมและกันกระแสน้ำพัดพลาสติกไป เมื่อมวลน้ำเพิ่มมากขึ้นก็จะเกิดแรงกดทับให้แผ่นพลาสติกทาบสนิทกับแนวเขื่อน ป้องกันเขื่อนแตกเพราะกระแสน้ำได้เป็นอย่างดี เขื่อนด้านที่ปะทะกับกระแสน้ำก็ต้องมีการคำนวนแรงปะทะ มีการเสริมส่วนฐานและความสูงเพิ่มจำนวนกระสอบทรายเข้าไปอีก มีแผ่นพลาสติกคลุม อีกทั้งมีแผนสำรอง คือเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้พร้อม แต่การทำเขื่อนล้อมพื้นที่ในลักษณะนี้จะมีจุดอ่อนทันทีที่มีปริมาณฝนตกหนักเป็นเวลานาน พื้นที่ด้านในเขื่อนจะกลายเป็นอ่างเก็บกักน้ำฝน ในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่มีฝนชุก ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นวันเป็นคืน หากจะกั้นเขื่อนแบบนี้ควรมีแผนสำรอง 1 2 3 เช่น เตรียมระบบระบายน้ำฝน เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำออกที่กำลังแรง ๆ มีการคลุมผนังเขื่อนด้านในด้วยแผ่นพลาสติกกันน้ำอีกชั้น ฯลฯ  ศึกษารายละเอียดการสร้างเขื่อนป้องกันพื้นที่จากน้ำท่วม ตามเวบ How to Build a Homemade Levee
ที่มา  http://tawanth.wordpress.com

การซ่อมแซม บ้าน หลังน้ำท่วม


รอบบ้านมีน้ำท่วมจะทำอย่างไร

          ในกรณีที่บริเวณรอบบ้านต่ำกว่าถนนสาธารณะ ซึ่งเพิ่มความสูงมาทีหลัง ทำให้บ้านต่ำ มาก มีวิธีแก้ปัญหาดังนี้
การแก้ปัญหาก็คือ ทางเข้าหน้าบ้านทำความลาดเป็นลักษณะหลังเต่า เพื่อป้องกันน้ำจากถนนไม่ให้เข้าบริเวณบ้าน และต้องทำขอบคันดินรอบบ้านหรือทำรั้วด้านล่างให้ทึบ เพื่อป้องกันน้ำ พร้อมทั้งทำท่อระบายน้ำรอบบ้าน โดยมีบ่อพักรวม เพื่อปั๊มน้ำออกนอกบ้านเมื่อเวลาจำเป็น  อีกวิธีถ้ามีเงินพอ ก็ควรถมที่ให้สูงกว่าระดับถนนสาธารณะเลย ก็จะแก้ปัญหาได้ถาวร

การยกบ้านเพื่อหนีปัญหาน้ำท่วม

          ถ้าน้ำท่วมมากๆ จะยกบ้านให้หนีปัญหาน้ำท่วมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มีสิ่งต่างๆ ที่ต้องระวัง อย่างมาก  ถ้าเป็นบ้านที่มีโครงสร้างทั้งหมดเป็นไม้ ก็พอที่จะเป็นไปได้ เพราะมีน้ำหนักเบา  แล้วการยึดส่วนต่างๆ ก็ยังยืดหยุ่นได้มากกว่า  ถ้าเป็นบ้านที่มีโครงสร้างเป็นปูน ส่วนต่างๆ จะยึดติดกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งเมื่อบิดเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดการแตกร้าวได้ ทั้งยังมีน้ำหนักมากด้วย และบ้านปูนยังมีเสาเข็มที่หล่อติดกับตัวฐานราก จะต้องตัดออกแล้วเสริมฐานรากใหม่ ซึ่งทำได้ยากมาก
          นอกจากโครงสร้างแล้ว ยังมีงานระบบต่างๆ ที่ติดกับพื้นดิน เช่น ท่อประปา ท่อไฟฟ้า ส่วนต่างๆ เหล่านี้ต้องตัดออก แล้วเชื่อมใหม่ทั้งสิ้น ค่อนข้างยุ่งยาก  ถ้าผู้รับเหมาไม่มีความชำนาญพอ ก็จะเสี่ยงมาก อาจจะเสียบ้านไปทั้งหลัง ค่าใช้จ่ายเหมือนสร้างใหม่เลย

สาเหตุที่น้ำซึมขึ้นมาบนพื้นเวลาน้ำท่วม

          ถ้าเวลาน้ำท่วมบ้าน เกิดน้ำซึมขึ้นมาบนพื้นห้อง อาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
          1.โครงสร้างพื้นแตกร้าวอยู่เดิมแล้ว หรืออาจจะเกิดจากแรงดันน้ำก็ได้ แก้ไขโดยสกัดออกให้ร่อง แล้วใช้กาวคอนกรีตอุดให้เรียบร้อย แล้วจึงปิดด้วยวัสดุปูพื้นให้เหมือนเดิม
          2. เนื่องจากพื้นเป็นพื้นสำเร็จรูป หรือระบบพื้นที่วางอยู่บนดิน ไม่ได้ต่อยึดกับคาน  ถ้ามีรอยซึมสามารถใช้ซิลิโคนอุดรอยรั่วได้
          3. เกิดจากรูที่บริษัทกำจัดปลวกเจาะทิ้งไว้ วิธีแก้ไข เมื่อเจอรูแล้วก็อุดเสียให้เรียบร้อยด้วยไม้ และอุดทับด้วยซิลิโคน

 

การซ่อมแซมพื้นบ้านหลังน้ำท่วม

หลังน้ำท่วมถ้าพื้นไม่เสียหาย ก็ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ก็สามารถใช้ได้ แต่ถ้าเสียหาย มีวิธีแก้ไข คือ
-พื้นไม้ปาร์เก้ จะหลุดล่อนง่ายเมื่อโดนน้ำท่วม เพราะติดกับพื้นคอนกรีตด้วยกาว  วิธีแก้ก็คือ ถ้าแผ่นปาร์เก้ไม่เสียหายมากก็ผึ่งลมให้แห้งก่อน รวมถึงพื้นคอนกรีตด้วย  แล้วจึงทาด้วยกาวลาเท็กซ์ หนา 1-2 มิลลิเมตร ค่อยๆ กดลงไปที่เดิมให้แน่น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วันจึงใช้งานได้ ถ้าเสียหายมากจะเปลี่ยนใหม่ต้องใช้ไม้ชนิดเดียวกับของเดิม
-พื้นพรมต้องลอกออก แล้วนำไปซักและตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงนำกลับมาปูใหม่ โดยพื้นคอนกรีตต้องแห้งก่อนเช่นเดียวกัน


การซ่อมแซมผนังบ้านหลังน้ำท่วม

         วัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำผนังบ้าน เมื่อเวลาถูกน้ำท่วมนานๆ ก็จะเกิดความเสียหายแน่นอน มี วิธีแก้ไข คือ
         1. ถ้าเป็นผนังไม้ เช็ดทำความสะอาด เพื่อให้ผิวสามารถระเหยความชื้นได้ง่าย เมื่อแห้ง ดีแล้วใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ชะโลมที่ผิว หรือทาสีต่อไป วิธีที่ดีควรทาสีด้านในบ้านก่อน ทิ้งไว้ 5-6 เดือน จึงทาสีด้านนอก
         2. ถ้าเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ก็ใช้วิธีเดียวกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งให้ระเหยความชื้นนานกว่า  ผนังไม้ เพราะมีความหนามากกว่า
         3. ถ้าเป็นผนังยิบซั่มบอร์ด ก็เลาะเอาแผ่นที่เสียออก ถ้าโครงเคร่าเป็นโลหะก็สามารถติดแผ่นใหม่ได้เลย แต่ถ้าโครงเคร่าเป็นไม้ ต้องทิ้งไว้ให้ความชื้นในไม้ระเหยหมดก่อน จึงจะติดแผ่น ใหม่ได้

การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม

          เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้ วอลล์เปเปอร์จะมีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ  จะลอกหรือร่อน การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้ ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเป็นคราบเช็ดไม่ออก ก็สามารถเปลี่ยนแผ่นใหม่ โดยเลือกให้มีลวดลายเหมือนเดิม ก็จะได้ผนังสวยงามเหมือนก่อนน้ำท่วม

 การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม

           การซ่อมแซมฝ้าเพดาน จะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด หรือกระดาษอัด  ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะ ออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ
           - ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่
           - ระบบสายไฟส่วนใหญ่ จะเดินในฝ้าเวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูว่าความเรียบร้อยว่า มีส่วนใดชำรุดหรือเปล่าด้วย
           - ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่

การซ่อมแซมประตู หลังน้ำท่วม

          ประตูต่างๆ เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ
          1. ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย
          2.ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้

การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม

อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ
          - เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว
          - อย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง
          - ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหา ก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่

การทาสีบ้านหลังน้ำท่วม

         การทาสีบ้านหลังน้ำท่วม ควรจะทำเป็นสิ่งสุดท้าย ควรที่จะซ่อมแซมส่วนอื่นๆ เสียก่อน ปล่อยให้แห้งสนิทก่อน แล้วจึงทำการแก้ไข  เพราะสีทุกชนิดที่ใช้ทาบ้าน เมื่อโดนน้ำท่วมนานๆ ก็จะเกิดการลอกและล่อนออกมาได้ เนื่องจากความชื้นของน้ำ วิธีแก้ไขคือ ต้องขูดสีเดิมที่ลอกและล่อนออก ทำความสะอาดผนังให้เรียบร้อย ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ถ้าทำได้ควรจะเป็น 3-6 เดือนเลยยิ่งดี เมื่อแห้งแล้วจึงทาสีรองพื้นชนิดกันเชื้อรา แล้วจึงทาทับด้วยสีจริงอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง

การตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม

         หลังน้ำท่วมระบบที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามไปก็คือ ระบบประปาภายในบ้าน มีสิ่ง ที่ควรตรวจสอบ ดังนี้
          - ถังเก็บน้ำใต้ดิน ต้องตรวจดูว่าน้ำท่วมถึงหรือเปล่า ถ้าท่วมควรล้างภายในถังทั้ง หมด เพราะน้ำที่ท่วมไม่สะอาดเท่าน้ำประปา
         - ถ้ามีปั๊มน้ำต้องตรวจดูว่าเครื่องทำงานผิดปกติหรือเปล่า แรงดันน้ำลดหรือไม่ ถัง อัดลมเก็บแรงอัดไว้ได้นานหรือเปล่า แต่ถ้าน้ำท่วมปั๊ม ต้องรอให้แห้งเสียก่อน อย่าใช้งานทันที ถ้ามีปัญหาควรตามช่างมาแก้ไขจะดีกว่า เพราะอาจจะทำให้ไฟไหม้ได้

ปัญหาต่างๆ ของส้วมหลังน้ำท่วม

         ปัญหาต่างๆ ของบ้านหลังน้ำท่วมจะมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับส้วมมีในระหว่างน้ำท่วม เราคงปิดระบบไฟฟ้าทั้งหมด  แต่เมื่อน้ำลดแล้ว เราต้องตรวจสอบดังนี้
         1. เปิดคัตเอ๊าต์ให้ไฟเข้าระบบ ถ้าส่วนใดยังชื้นอยู่คัตเอ๊าต์จะตัดและฟิวส์จะขาดทิ้งไว้ประมาณ 1 >วัน เปลี่ยนฟิวส์ แล้วลองเปิดใหม่ ถ้ายังตัดอีก คงต้องตามช่างไฟฟ้ามาตรวจดู
         2. เมื่อไฟไม่ตัดแล้วลองเปิดไฟดูทุกดวง แล้วใช้ไขควงชนิดตรวจกระแสไฟโดยเฉพาะ
         3. ดับไฟทุกจุดและถอดเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปลั๊กออกทั้งหมด แล้วตรวจดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าว่าตัวเลขยังเดินอยู่หรือเปล่า ถ้าเดินแสดงว่าระบบไฟฟ้าในบ้านรั่ว ควรตามช่างไฟฟ้ามาเช็คดู

วิธีเตรียมระบบไฟฟ้าสำหรับบ้านที่น้ำท่วม

         ระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีอันตรายมาก สำหรับบ้านที่น้ำท่วมเป็นประจำ ควรเตรียมระบบไฟฟ้าใหม่ ดังนี้
          - ตัดระบบไฟฟ้าของปลั๊กเดิมทิ้ง ย้ายให้สูงขึ้นมาจากระดับพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อให้พ้นระดับน้ำ ส่วนชั้นบนของบ้านสองชั้นไม่จำเป็นต้องย้าย เพราะระดับน้ำท่วมไม่ถึง
          - แยกระบบไฟฟ้าในส่วนที่น้ำท่วมบ่อยๆ ออกเป็นอีกวงจรหนึ่ง เพื่อสะดวกในการปิด- เปิดโดยเฉพาะ ส่วนปลั๊กที่อยู่ชั้นล่าง
         ถ้าท่านรู้ตัวว่าบ้านของท่านอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมบ่อย เวลาออกแบบ้านก็ควรให้วิศวกรแยกระบบไฟฟ้าตั้งแต่แรก ก็จะประหยัดงบประมาณได้มาก และจะสวยงามกว่าที่จะมารื้อและแก้ ไขในภายหลัง

วิธีจะใช้เครื่องไฟฟ้าหลังโดนน้ำท่วม

         เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะมีมอเตอร์และเครื่องจักรกลต่างๆ เมื่อโดนน้ำเข้าไปแล้วจะมี ความชื้นอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายมาก มีข้อควรปฏิบัติ  ดังนี้
          - ก่อนอื่นต้องทิ้งเอาไว้ให้แห้งสนิทจริงๆ บางส่วนถึงถอดออกได้ ก็ควรเปิดออกมาตากลมให้แห้งก่อน
          - เมื่อแน่ใจว่าแห้งแล้ว ก็ลองเปิดเครื่องดู ถ้ามีความผิดปกติก็ควรดับเครื่องทันที
          - และสำหรับที่คัตเอ๊าต์ไฟฟ้า ควรมีฟิวส์ไว้เมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้าจะได้ถูกตัดออก
          - ถ้ามีปัญหาจริงๆ ก็ควรนำไปให้ช่างแก้ไขดีกว่าจะทำเอง

การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม

          การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ก็คล้ายๆ กับการซ่อมแซมพวกประตู หน้าต่าง พื้น หรือฝ้า เพดาน มีวิธีดังนี้
           - พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด
           - พวกประเภทที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเลย เพราะน้ำจะพาเอาเชื้อโรคมาติดอยู่ ถึงจะตากแดดให้แห้ง เชื้อโรคก็ยังมีอยู่
           - เฟอร์นิเจอร์ที่ติดกับที่ที่เรียกว่า Built in ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และสายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รวมถึงทำความสะอาดรูกุญแจและลูกบิด
           - ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ควรนำไปตากแดด เพราะจะทำให้บิดงอได้ และถ้าจะทาสีใหม่ ควรรอให้แห้งสนิทก่อน มิฉะนั้นจะลอกได้

วิธีช่วยต้นไม้ทีโดนน้ำท่วม

           ถ้าบ้านของท่าน น้ำท่วมนานๆ ต้นไม้กำลังจะตาย มีวิธีช่วยให้อยู่รอดได้ ดังนี้
            1. อย่าให้ปุ๋ย เพราะน้ำท่วมทำให้รากอ่อนแอ ต้องการเวลาพักฟื้น
            2. ขุดหลุมกว้างประมาณ 50 ซม.-1 เมตรไว้ข้างๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำที่ขังอยู่บริเวณรากไหลมารวมกัน แล้วเอาเครื่องดูดน้ำออกไป หรือจะใช้วิธีตักออกก็ได้
            3. ถ้ารากต้นไม้ไม่แข็งแรง อย่าอัดดินลงไป จะทำให้ต้นไม้ตาย ควรใช้ไม้ค้ำยันลำต้นไว้ เมื่อรากแข็งแรงแล้ว จึงเอาไม้ค้ำออก

การซ่อมแซมรั้วบ้านหลังน้ำท่วม

           เมื่อน้ำท่วมอยู่นานๆ รั้วบ้านก็จะมีปัญหาเช่นกัน มีวิธีซ่อม คือ
            - ลองเล็งด้วยสายตา ถ้าเอียงเล็กน้อยก็นำไม้มาค้ำยันไว้ก่อน ถ้าเอียงมากก็ควร ตามช่างมาซ่อม
            - ส่วนใหญ่ข้างล่างของรั้วจะมีคานคอดินอยู่ บางครั้งน้ำจะพัดเอาดินใต้คานนี้หายไปเป็นโพรง ต้องรีบนำดินมาถมให้แข็งแรง มิฉะนั้นดินในบ้านจะไหลออกไปข้างนอกหมด ถ้าไหลออกไปมากๆ อาจทำให้บ้านเอียงได้
           - ควรตรวจประตูรั้วด้วย สำหรับที่เป็นเหล็กก็ขูดสนิมออกให้หมด แล้วทาสีใหม่ ส่วนบานพับก็หาน้ำมันหล่อลื่นมาหยอดเพื่อที่จะได้เปิด-ปิดได้สะดวก ถ้าเสียหายมากก็ควรเรียกช่างมาเปลี่ยนใหม่

 

ข้อมูลจาก "ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง"