วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

What is Dry Ice???

เมื่อหลายวันก่อนไปเดิน pantip มาแล้วบังเอิญเห็นงานแข่งกันทำให้ CPU แรง (Over clock) โห ควันกระจายเลย เท่าที่เดาน่าจะเป็น Dry Ice หรือไม่ก็ Liquid Nitrogen

ลองมาดูกันว่าเอาไปใช้ทำอะไรกัน



ดรายไอซ์ หรือ น้ำแข็งแห้งนั้น แท้จริงแล้ว มันคือคาร์บอนไดออกไซด์ ในสถานะของแข็ง (solid) หรือชื่ออย่างเป็นทางการของ ดรายไอซ์ ก็คือ คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง (solid Carbondioxide) ซึ่งมีขั้นตอนในการผลิตค่อนข้างซับซ้อน นั่นก็คือต้องนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านการอัดและลดอุณหภูมิลงภายใต้ความดันสูง จนได้ออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว จากนั้นก็ต้องทำการลดความดันลงอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวออกไปสู่ความดันบรรยากาศ จึงจะได้ คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง หรือ น้ำแข็งแห้งออกมาเป็นรูปร่างต่างๆ ครับ

น้ำแข็งแห้ง ในปัจจุบันได้นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จำพวกไอศครีม เบเกอรี่ เนื้อสัตว์ ในการแช่แข็ง เพื่อถนอมหรือเก็บอาหาร ทำให้การขนส่งอาหารเป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น และที่จะเห็นได้เยอะ ก็คือการนำไปใช้เป็นควันคล้ายหมอกขาวๆ ตามเวทีคอนเสิร์ต โดยน้ำแข็งแห้ง มีอุณหภูมิของตัวมันเองอยู่ที่ -79 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเย็นจัดกว่าน้ำธรรมดาทั่วไป ซึ่งหากเราวางน้ำแข็งแห้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง น้ำแข็งแห้งก็จะระเหิดกลายเป็นไอ โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อนแต่อย่างใด เหตุนี้น่าจะเป็นที่มาของคำว่า น้ำแข็งแห้ง ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ล่ะครับ (ถ้าผมจะเรียกน้ำแข็งธรรมดาว่าเป็น น้ำแข็งเปียก จะตลกมั้ยเนี่ย?)


ข้อพึงระวัง และอันตรายของน้ำแข็งแห้ง ย่อมมีแน่นอนครับ ด้วยเหตุผลหลายประการ อย่างแรกก็คือ อุณหภูมิที่เย็นจัดของมัน ทำให้เราไม่สามารถทำการใช้ผิวหนังสัมผัสกับมันโดยตรงได้ เพราะอาจเกิดอาการที่เรียกว่า frost bite หรือผิวหนังไหม้จากอุณหภูมิเย็นจัด (ปวดแสบปวดร้อนกว่าไหม้จากน้ำร้อนลวกอีกครับ) การจับน้ำแข็งแห้ง จึงควรอาศัยถุงมือ หรือกระดาษมารองอีกชั้นหนึ่ง ก็พอจะช่วยได้บ้าง แต่อันตรายที่ยิ่งกว่าของน้ำแข็งแห้งก็คือ ต้องไม่ลืมว่า ทั้งก้อนน้ำแข็งแห้งนั้น มันคือคาร์บอนไดออกไซด์เพียวๆ เลย ซึ่งจัดว่าเป็นก๊าซอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของเราครับ ดังนั้น หากต้องเล่นกับน้ำแข็งแห้งที่มีการระเหิดมากๆ จึงควรอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทค่อนข้างดี หรืออยู่กลางแจ้ง นอกจากนี้ การเก็บน้ำแข็งแห้ง ก็ไม่ควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมาอาจรวมตัวและเกิดระเบิดขึ้นได้ และ น้ำแข็งแห้งไม่ควรที่จะมาเก็บในตู้เย็น เพราะอุณหภูมิของน้ำแข็งแห้งนั้น ต่ำกว่าอุณหภูมิของตู้เย็น ซึ่งอาจทำให้ตู้เย็นไม่ทำงานครับ สุดท้ายก็คือ ห้ามบริโภคน้ำแข็งแห้งโดยตรง หรือแม้กระทั่งน้ำที่ถูกแช่ด้วยน้ำแข็งแห้ง เนื่องจากมันเป็นคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเองครับ

เห็นแล้วใช่มั้ยครับว่า น้ำแข็งแห้ง นอกจากที่มันจะมีประโยชน์เฉพาะทางของมัน ซึ่งมีอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ แล้ว มันก็ยังมีอันตรายที่เราต้องคำนึงถึงอีกด้วย ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานโอเวอร์คล๊อกโซนครับ ....

หลังจากที่รู้จักกับน้ำแข็งแห้งกันแล้ว โดยเฉพาะอันตรายที่เราต้องระมัดระวัง เราก็มาเริ่มโปรเจคต์ดรายไอซ์ของเรากันเลยดีกว่าครับ ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นการเอาน้ำแข็งแห้ง มาเป็นส่วนสำคัญของชุดระบายความร้อนซีพียู ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของซีพียูลดต่ำลงไปกว่าศูนย์องศาเซลเซียส และส่งผลถึงความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกโดยตรง.... เริ่มน่าสนใจแล้วใช่มั้ยครับ ... เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ก็ตามไปชมกันต่อเลย

ที่มา http://www.overclockzone.com/spin9/review/cpu/amd/dryice_4000+/index.html

การใช้ น้ำแข็งแห้งและไนโตรเจ้นเหลว ...
เป็นอีกวิธี ในการ ลดอุณหภูมิ ของคอมพิ้วเตอร์ ของท่านอย่างฉับพลัน

โดยทีตัว น้ำแข็งแห้งเอง ก็คือ คาร์บอนไดออกไซต์ ในสถานะ ของแข็ง ซึ่งมีอุณหภูมิติดลบ -78.5 องศา C ... แต่น้ำแข็งแห้งเพียวๆ นั้น จะไม่สามารถทำให้อุณหภูมิ ของฮาร์ดแวร์ ท่านได้ลบถึงขนาด -78.5c แน่นอน ... เพราะว่า เมื่อก๊าซเย็นเฉยๆ ผ่านกับหน้าอลูมิเนียม หรือ ทองแดง ... มันคงไม่เย็นได้ขนาดนั้น ...
สิ่งที่ต้องการใส่ คือ ACETONE ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่ในน้ำยาล้างเล็บ .. ลองไปดมดูครับ น้ำยาล้างเล็บ กลิ่นเหมือน ACETONE ... แต่ถ้าสมองท่านเสื่อม หรือว่าสูดแล้ว หน้ามืด หรือ หมดสติ ผมไม่รับผิดชอบนะครับ อิอิ .... และ ACETONE จะรับความเย็ฯจาก DRYICE .. และเมื่อ ACETONE เย็นลง ... ก็เหมือนกับเอาน้ำเย็นมากๆ ไปเทใส่ทองแดงนั่นแหละครับ .. ทองแดงก็จะเย็นตาม .. โดยที่ ACETONE เราจะใส่แค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น ก่อนเริ่มเล่น ... หลังจากนั้น คอยเติมน้ำแข็งแห้งอย่างเดียว
และน้ำแข็งแห้งไม่ควรเก็บไว้ในที่ ที่ไม่มีอากาศถ่ายเท ... เพราะมันคือคาร์บอนไดออกไซต์ ... ถ้าใช้งานไปซักพัก แล้วมึนหัว ให้ออกไปสูดอากาศ .... น้ำแข็งแห้ง จะระเหิดอยู่ตลอดเวลานะครับ ... ไม่ใช่ละลายเป็นน้ำ
อซิโตน หรือ เมธิว แอลกอฮอลล์ ใช้ได้เหมือนกัน

ส่วนในโตรเจนเหลว ... อุณหภูมิ เย็นถึง ติดลบ -196 องศา c ... ซึ่งถ้าโดนมือโดยตรง ก็ลาก่อนเช่นกัน ... ไนโตรเจ้นเหลวนั้น ไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ในการช่วยนำความเย็นไปยังหน้าทองแดง ... เพราะในเมื่อมันเหลวอยู่แล้ว .... ลักษณะจะเหมือนน้ำเปล่า เดือด ปุดๆ ตลอดเวลา และมีไอเย็นพวยพุ่งออกมาตลอด ...
แต่การใช้ ไนโตรเจนเหลวนั้น จำเป็นต้องมีภาชนะบรรจุเฉพาะ สำหรับการนี้เท่านั้น ... มิเช่นนั้น เก็บก๊าซไนโตรเจ้น(ไอเย็นที่ระเหยนั่นแหละครับ) ไม่อยู่ ... โดยถังโดยเฉพาะของไนโตรเจ้นเหลว นั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ 5 ลิตร ไปจนถึง 10000 กว่าลิตรเลยก็มี ... ถังยิ่งจุได้มาก อัตราการระเหย ของก๊าซในถังก็ยิ่งมาก .... แต่ราคาค่อนข้างสูงอยู่มากครับ ... จะลงทุนซื้ออุปกรณ์ไนโตรเจ้นเหลว เพื่อจะใช้กับอะไรก็แล้วแต่ ทั้งชุด แค่เริ่มต้นก็หลายหมื่นแล้วครับ ไหนจะค่าก๊าซเหลว ที่จะต้องไปเติมทุกครั้งที่ใช้งานอีก (ถ้าหมด) ... การเล่น เราก็จะเท ไนโตรเจ้นเหลว ซึ่งเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิ -196 องศา ลงไปใน ท่อทองแดงหรืออลูมิเนียม ที่จะอธิบายในส่วนต่อไปครับ ... การหล่อเย็นกับคอมพิ้วเตอร์ นี้ไม่ว่า HW ส่วนใด จะเป็ฯการหล่อเย็นแบบ Buffer .. หรือประมาณว่า .. ใช้ความเย็นกดทับความร้อน ... แต่ค่าความเย็นมากกว่าค่าอุณหภูมิความร้อนนะครับ .

ที่มา http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=385275