ผมคิดว่า
คนที่เรามักเรียกกันว่า EGO สูง
จริงๆแล้ว EGO ไม่แข็งแรงครับ
เลยต้องชนะ ต้องเก่ง ต้องถูกเสมอ
ไม่อย่างนั้น EGO จะเจ็บปวด และย่อยยับมากจนทนไม่ได้
พบบ่อยในคนที่มาจากครอบครัวที่
ทางรักษาหรือ?
ผมก็ไม่รู้หรอก
แต่คิดว่าที่เราจะพอทำได้ ก็คือ
รักเขาหรือเธอให้มากขึ้น
ให้ความมั่นใจว่าไม่ว่าเขาหรื
ความรู้ ความสามารถ และความพยายามของเขาและเธอเหล่
แม้ในวันที่พ่ายแพ้
ผมเชื่อว่านิสัยนี้จะหายไปเมื่อ EGO ของเขาและเธอแข็งแรงดีแล้ว
มาว่ากันโดยทฤษฏีกันเถอะ
อิด (Id) = เป็นแรงขับให้เกิดความต้องการ เช่น ความหิว ความรัก เป็นต้น
อีโก้ (Ego) = เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ
ซูเปอร์อีโก้ (Super Ego) = เป็นส่วนที่ได้รับการอบรมแล้ว รู้จักรับผิดชอบ รู้จักควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
ฟรอยด์ สรุปว่า สัญชาตญาณความต้องการตามธรรมชาติ เช่น ต้องการอาหาร การนอน การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ ฯลฯ เรียกว่า “อิด” (id) เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันจึงได้สร้าง “กติกา” ทางสังคมขึ้น เช่น วัฒนธรรม ศีลธรรม ศาสนา และกฎหมาย ฯลฯ จะได้จำกัดความต้องการตามสัญชาตญาณของตนเองลงเพื่อความสงบสุขเป็นระเบียบของ สังคมและตนเอง ฟรอยด์เรียกกติกาทางสังคมนี้ว่า “ซูเปอร์อีโก้” (super-ego) มนุษย์แต่ละคนจะประนีประนอมระหว่าง “อิด” กับ “ซูเปอร์อีโก้” ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน กลายเป็นบุคคลิกภาพหรือความเป็น “ตัวตน” ของคน ๆ นั้น ซึ่งฟรอยด์เรียกว่า “อีโก้” (ego)
จิตวิทยาวิเคราะห์ของฟรอยด์ เชื่อว่ามนุษย์รับรู้โลกภายนอกโดยผ่าน “จิตสำนึก” (conscious mind) ประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในจิตสำนึกตั้งแต่เด็ก ที่สุดแล้วมิได้หายไปไหน แต่ถูกเก็บไว้ในก้นบึ้งของจิตที่เรียกว่า “จิตใต้สำนึก” (subconscious mind) โดยเฉพาะประสบการณ์ที่มีผลกระทบกับเราอย่างรุนแรง ไม่ว่าทางดีหรือทางร้าย จะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกยาวนานเป็นพิเศษ การควบคุมจิตใต้สำนึก ต้องฝึกการใช้จิตเหนือสำนึก (superconscious mind) เพื่อให้จิตสำนึกเป็นไปในทิศทางที่เป็นด้านบวก
แต่สำหรับพุทธวิทยาวิเคราะห์ของอวกาศ ขอตีความเองว่า...
อิด น่าจะหมายถึงกิเลสตัณหา ซึ่งซ่อนไว้ภายในจิตจนแทบเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ไม่ใช่ เป็นเพียงแขกที่มาเยือนบ่อยจนขับไล่ได้ยาก จะแสดงสัญชาตญาณดิบการเพื่อป้องกันตัวเอง และเห็นแก่ตัวเป็นหลัก
อี โก้ น่าจะเป็นตัวตนตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน จะแสดงตัวออกมาอย่างไร จะปล่อยให้อิดหรือซูเปอร์อีโก้เข้ามามีผลต่อตัวเองอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่ที่จิตสำนึกมีสติหรือฝึกฝนมาดีแค่ไหน ถ้าจะดับตัวตนนั้น จะต้องอยู่เหนือทั้งอิดและซูเปอร์อีโก้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่เจ็บปวดอีกต่อไป โดยเข้าไปถึงภาวะไม่มีอีโก้อีก หรือที่เรียกจิตเดิม ซึ่งชาวพุทธถือว่า ตัวจิตจริงๆ นั้น บริสุทธิ์เป็นประภัสสร ตัวจิตเดิมนี้ แสดงตัวออกมาบ่อยๆ ขณะที่จิตยังไม่ปรุงแต่งผ่านความดีชั่วใดๆ
ซูเปอร์อีโก้ น่าจะหมายถึงความดีงาม ความถูกต้อง และความเสียสละ เป็นต้น หากเป็นพวกยึดความดีมากเกินไป ก็มีปัญหาอีกเหมือนกัน ต่างจากคนทำดีที่ไม่ยึด แบบนั้นจะไม่เจ็บปวดเมื่อไม่เป็นไปดังใจนัก
อี โก้ หรือตัวตนของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร จะแสดงตัวออกมาอย่างไร มีความสำคัญมาก ยิ่งจิตสำนึกของคนในสังคมมีคุณภาพเท่าไหร่ สังคมก็จะสงบสุขมากเท่านั้น หากจิตสำนึกส่วนรวมต่ำ คนชั่วมากกว่าคนดี สังคมก็จะไปไม่รอด ... โลกก็จะไปไม่รอด ...
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=whitespace&month=05-2006&date=27&group=1&gblog=4