สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะ เป็นสารที่มีลักษณะเป็นผงโลหะสีเทา
มีมากเป็นอันดับที่ 20 ของธาตุที่พบมากบนโลก
โดยจะพบในสิ่งที่มีชีวิตพืชและสัตว์ ตลอดจนพบตามธรรมชาติ
สารหนูที่พบในธรรมชาติมี 2 แบบ คือ
1. สารหนูอินทรีย์ (Organic)
2. สารหนูอนินทรีย์ (Inorganic) ซึ่งจะมีพิษร้ายแรงกว่าธาตุสารหนูอินทรีย์
สารหนูที่พบในธรรมชาติมี 2 แบบ คือ
1. สารหนูอินทรีย์ (Organic)
2. สารหนูอนินทรีย์ (Inorganic) ซึ่งจะมีพิษร้ายแรงกว่าธาตุสารหนูอินทรีย์
แหล่งที่มาของสารหนู
สารหนูเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และด้วยฝีมือมนุษย์ ดังนี้
1. ในธรรมชาติ เกิดจากการชะล้างของหินและแร่ที่มีสารหนูเป็นองค์ประกอบ เช่น อาร์ซีโนโพไรท์ ทำให้พบสารหนูทั่วไปในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในดินพบได้ตั้งแต่ 0.1-40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และอาจพบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำพุ
2. กิจกรรมของมนุษย์ ทำให้สารหนูในสิ่งแวดล้อมเพิ่มปริมาณขึ้น เช่น การทำเหมืองแร่ การถลุงโลหะ การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการเกษตร สารหนูยังถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช น้ำยาถนอมเนื้อไม้ บางครั้งมีการนำมาผสม ในอาหารสัตว์ ในยาคนและยาสัตว์
1. ในธรรมชาติ เกิดจากการชะล้างของหินและแร่ที่มีสารหนูเป็นองค์ประกอบ เช่น อาร์ซีโนโพไรท์ ทำให้พบสารหนูทั่วไปในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในดินพบได้ตั้งแต่ 0.1-40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และอาจพบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำพุ
2. กิจกรรมของมนุษย์ ทำให้สารหนูในสิ่งแวดล้อมเพิ่มปริมาณขึ้น เช่น การทำเหมืองแร่ การถลุงโลหะ การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการเกษตร สารหนูยังถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช น้ำยาถนอมเนื้อไม้ บางครั้งมีการนำมาผสม ในอาหารสัตว์ ในยาคนและยาสัตว์
สารหนูเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
สารหนูสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราได้โดย
1. การสัมผัสผิวหนังและการหายใจ
2. การรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของสารหนู
3. เข้าสู่ร่างกาย จากการบริโภคอาหารแล้วจะดูดซึมผ่านทางเดินอาหารมากกว่าวิถีอื่น สารหนูนี้เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว มีงาน ศึกษาวิจัยพบว่าประมาณ 80-90% ของสารหนูที่เข้าสู่ร่างกายนั้นจะถูกขจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะภายใน 2 วัน
1. การสัมผัสผิวหนังและการหายใจ
2. การรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของสารหนู
3. เข้าสู่ร่างกาย จากการบริโภคอาหารแล้วจะดูดซึมผ่านทางเดินอาหารมากกว่าวิถีอื่น สารหนูนี้เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว มีงาน ศึกษาวิจัยพบว่าประมาณ 80-90% ของสารหนูที่เข้าสู่ร่างกายนั้นจะถูกขจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะภายใน 2 วัน
การปนเปื้อนของสารหนูลงสู่อาหาร
แหล่งที่พบ
|
มิลลิกรัม/กิโลกรัม
|
สัตว์และพืชทะเล
|
0.5-50
|
ปลาน้ำจืด
|
10
|
พืชบนพื้นดิน
|
0-20
|
ข้าว
|
150-250
|
อาหารสัตว์ เช่น Fish meal
|
0-100
|
น้ำแร่ และน้ำบรรจุขวดต่างๆ
|
200
|
อันตรายของสารหนู
พิษของสารหนูนั้นมีทั้งแบบเฉียบพลัน (Acute Toxicity) และเรื้อรัง (Chronic Toxicity)
•อาการเฉียบพลัน สารหนูทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่ออวัยวะที่สัมผัสกับสารหนูและอาจ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง อาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจและเสียชีวิตจากการทำงานล้มเหลวของ หัวใจ
•อาการพิษเรื้อรัง เกิดจากการได้รับสารหนูติดต่อกันเป็นเวลานาน สารนี้จะทำให้เกิดแผลเป็นหรือเป็นรูที่ช่องจมูก ผิวหนังหนาขึ้น มีรอยด่างดำที่ผิวหนัง อาจมีเส้นสีขาวบนเล็บ นอกจากนี้สารนี้ยังทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า มีความรู้สึกแสบร้อน มีอาการอ่อนเพลียของแขนขา และอาจเป็นมะเร็งผิงหนังและปอด รวมทั้งมีผลต่อทารกในครรภ์ และมีฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์
•อาการเฉียบพลัน สารหนูทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่ออวัยวะที่สัมผัสกับสารหนูและอาจ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง อาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจและเสียชีวิตจากการทำงานล้มเหลวของ หัวใจ
•อาการพิษเรื้อรัง เกิดจากการได้รับสารหนูติดต่อกันเป็นเวลานาน สารนี้จะทำให้เกิดแผลเป็นหรือเป็นรูที่ช่องจมูก ผิวหนังหนาขึ้น มีรอยด่างดำที่ผิวหนัง อาจมีเส้นสีขาวบนเล็บ นอกจากนี้สารนี้ยังทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า มีความรู้สึกแสบร้อน มีอาการอ่อนเพลียของแขนขา และอาจเป็นมะเร็งผิงหนังและปอด รวมทั้งมีผลต่อทารกในครรภ์ และมีฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์
ปริมาณสารหนูที่คนกินแล้วเป็นพิษ ถึงขั้นเสียชีวิตนั้นอยู่ในช่วง 1.5
มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (Arsenic triocidde) ถึง 500
มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (Diethy1 arsenic acid)
การรักษา
กรณีเป็นพิษเฉียบพลัน
1. รีบล้างท้องโดยเร็วหากได้รับทางการรับประทาน อาจจะใช้สารดูดซับประเภทอัลตราคาร์บอนก็ได้
2. ป้องกันและแก้ไขภาวะการช็อก เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากการอาเจียนและท้องร่วง
3. ใช้ยาที่ช่วยดึงสารหนูออกจากร่างกาย (Chelating agent)
4. การล้างไต
กรณีพิษเรื้อรัง
1.ต้องหยุดการสัมผัสสารหนูทันที เช่น หยุดการใช้ยาที่พบว่ามีสารหนูเกินมาตรฐาน
2.รักษาตามอาการ
3.อาจพิจารณาใช้ยาจับดึงสารหนูออกจากร่างกายในกรณีที่จำเป็น ซึ่งในปัจจุบันมี 3 ชนิด ดังนี้ Dimercaprol (Bal in Oil) ,Succimer (dimercaptosuccinic acid : DMSA),
Penicillamine
1. รีบล้างท้องโดยเร็วหากได้รับทางการรับประทาน อาจจะใช้สารดูดซับประเภทอัลตราคาร์บอนก็ได้
2. ป้องกันและแก้ไขภาวะการช็อก เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากการอาเจียนและท้องร่วง
3. ใช้ยาที่ช่วยดึงสารหนูออกจากร่างกาย (Chelating agent)
4. การล้างไต
กรณีพิษเรื้อรัง
1.ต้องหยุดการสัมผัสสารหนูทันที เช่น หยุดการใช้ยาที่พบว่ามีสารหนูเกินมาตรฐาน
2.รักษาตามอาการ
3.อาจพิจารณาใช้ยาจับดึงสารหนูออกจากร่างกายในกรณีที่จำเป็น ซึ่งในปัจจุบันมี 3 ชนิด ดังนี้ Dimercaprol (Bal in Oil) ,Succimer (dimercaptosuccinic acid : DMSA),
Penicillamine
ประโยชน์และโทษ
1. เมื่อเข้าไปในร่างกายทั้งโดยการกินและการหายใจจะทำลายระบบทางเดินอาหารและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
2. ใช้เป็นยาเบื่อหนูและเป็นที่มาของชื่อ "สารหนู" ในภาษาไทย
3. สารแก้พิษสารหนูที่ดีคือสารแขวนลอยของแมกนีเซียมหรือเฟร์ริกไฮดรอกไซด์ หรืออาจใช้น้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) เนื่องจากสารดังกล่าวทำให้อาร์เซไนต์ที่ไม่ละลายเกิดตกตะกอนออกมา
4. ใช้สารหนูเป็นองค์ประกอบของยารักษาโรคซิฟิลิส
5. สารหนูยังใช้ในการทำทองบรอนซ์และทำดอกไม้ไฟ นอกจากนี้ในการทำแบตเตอรี่สะสมไฟฟ้าถ้าผสมสารหนูเล็กน้อย ตะกั่วและพลวงจะทำให้ได้โลหะผสมที่มีคุณภาพดีขึ้น
1. เมื่อเข้าไปในร่างกายทั้งโดยการกินและการหายใจจะทำลายระบบทางเดินอาหารและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
2. ใช้เป็นยาเบื่อหนูและเป็นที่มาของชื่อ "สารหนู" ในภาษาไทย
3. สารแก้พิษสารหนูที่ดีคือสารแขวนลอยของแมกนีเซียมหรือเฟร์ริกไฮดรอกไซด์ หรืออาจใช้น้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) เนื่องจากสารดังกล่าวทำให้อาร์เซไนต์ที่ไม่ละลายเกิดตกตะกอนออกมา
4. ใช้สารหนูเป็นองค์ประกอบของยารักษาโรคซิฟิลิส
5. สารหนูยังใช้ในการทำทองบรอนซ์และทำดอกไม้ไฟ นอกจากนี้ในการทำแบตเตอรี่สะสมไฟฟ้าถ้าผสมสารหนูเล็กน้อย ตะกั่วและพลวงจะทำให้ได้โลหะผสมที่มีคุณภาพดีขึ้น
ที่มา