วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความชื้นสัมพัทธ์ คืออะไร




             ในการรายงานสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา  นอกจากจะรายงานอุณหภูมิและสภาพอากาศว่าฝนจะตกหรืออากาศจะแจ่มใสแล้ว ยังมีรายงานเกี่ยวกับความชื้นสัมพัทธ์  (relative humidity)  ด้วย  ความชื้นสัมพัทธ์  คืออะไร
ระดับความแห้งและความชื้นของอากาศเรียกว่า  ความชื้น (humidity)  
ค่าความชื้นมี  2  แบบ   คือ  ค่าความชื้นสัมบูรณ์  และค่าความชื้นสัมพัทธ์

มวลของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศปริมาตรหนึ่งหน่วยเรียกว่า  ความชื้นสัมบูรณ์  (absolute  humidity)  มีหน่วยเป็นมวลของไอน้ำต่อปริมาตรอากาศ (g/m3)  ซึ่งก็คือความหนาแน่นของไอน้ำ  (vapour  density)  ในอากาศขณะนั้น

             ถ้าแขวนเสื้อเปียกตัวหนึ่งไว้ในที่ไม่มีลมพัด  เสื้อจะแห้งเร็วหรือไม่นั้น  นอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณไอน้ำในอากาศแล้ว  ยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในเวลานั้นด้วย   ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูง  น้ำในเสื้อจะระเหยเร็ว  จนกระทั่งความหนาแน่นของไอน้ำในอากาศมาถึงจุดหนึ่ง  ซึ่งทำให้ปริมาณไอน้ำในอากาศที่ถูกเสื้อดูดกลับไปเท่ากับปริมาณน้ำในเสื้อที่ออกมาในอากาศ  นั่นคือ  ไอน้ำที่ออกและเข้ามาถึงภาวะสมดุลไดนามิก (dynamic  equilibrium)  ในเวลานั้นปริมาณในอากาศปริมาตรหนึ่งหน่วยเรียกว่า  ความหนาแน่นอิ่มตัวของไอน้ำในอุณหภูมิขณะนั้น  (saturated  vapour  density)  ดังนั้น  ถ้าหากแขวนเสื้อเปียกไว้ในบริเวณที่มีความหนาแน่นของไอน้ำถึงจุดอิ่มตัวแล้ว  เสื้อจะไม่แห้ง  ถึงปริมาณไอน้ำจะเท่ากัน  หากอุณหภูมิสูงขึ้นความชื้นของอากาศจะต่ำลง  ในทางกลับกันหากอุณหภูมิต่ำลงความชื้นของอากาศจะสูงขึ้น
             จากข้อความข้างบน  ทำให้เราทราบว่า  ในวันหนึ่ง ๆ  อากาศจะชื้นหรือแห้งไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของไอน้ำที่แท้จริงในขณะนั้นเท่านั้นยังขึ้นอยู่กับความหนาแน่นอิ่มตัวของไอน้ำ  ณ  อุณหภูมิขณะนั้นด้วย  หากความหนาแน่นที่แท้จริงของไอน้ำต่ำกว่าความหนาแน่นอิ่มตัวของไอน้ำค่อนข้างมาก  น้ำจะระเหยอย่างรวดเร็ว  ซึ่งเท่ากับว่าเวลานั้นอากาศแห้ง   ในทางกลับกันหากความหนาแน่นที่แท้จริงของไอน้ำใกล้เคียงกับความหนาแน่นอิ่มตัวของไอน้ำ  น้ำจะระเหยได้ยาก  ซึ่งเท่ากับว่าเวลานั้นอากาศชื้น
ค่าความหนาแน่นของไอน้ำในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความหนาแน่นอิ่มตัวของไอน้ำ  ณ  อุณหภูมิขณะนั้นเรียกว่า   ความชื้นสัมพัทธ์   นั่นคือ

การวัดความชื้นของอากาศ
เรามีวิธีบอกค่าความชื้นของอากาศได้  2 วิธี  คือ
       1 ) ความชื้นสัมบูรณ์  ( absolute  humidity ) หมายถึง  อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้น  ณ อุณหภูมิเดียวกัน มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( g / m3 )
ความชื้นสัมบูรณ์ ( AH )      =   มวลของไอน้ำในอากาศ /
                                                          ปริมาตรของอากาศ  ณ  อุณหภูมิเดียวกัน
ตัวอย่าง  อากาศในที่แห่งหนึ่งมีปริมาตร  8  ลูกบาศก์เมตร ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีไอน้ำอยู่ 32  กรัม  ความชื้นสัมบูรณ์มีค่าเท่าไร
                ความชื้นสัมบูรณ์ =   32   กรัม
                                             8  ลูกบาศก์เมตร
                                      =     4  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                2 ) ความชื้นสัมพัทธ์  ( relative  humidity )  คือ  ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน ( นิยมบอกค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นร้อยละ )
ความชื้นสัมพัทธ์ ( RH )     = มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริง     ×   100 /


                 มวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน
ตัวอย่าง   ที่อุณหภูมิ  27  องศาเซลเซียส  อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ  180  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนั้น มีไอน้ำอยู่จริงเพียง  135  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร  ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าเท่าไร
                ความชื้นสัมพัทธ์      =    135  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร     ×   100
                                                 180  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร  
                                           =    75 %


            ค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดคือ  100ณ ความชื้นสัมพัทธ์นี้ น้ำในวัตถุจะไม่ระเหยออกมาอีก  ในช่วงฤดูร้อนความชื้นสัมพัทธ์จะสูงถึง  90ในขณะที่ฤดูหนาวอาจลดต่ำลงกว่า  40 % ความชื้นสัมพัทธ์ที่พอเหมาะอยู่ราว  60-70 %  หากสูงกว่านี้เราจะรู้สึกว่าอากาศชื้นและอบอ้าว  เหงื่อแห้งช้า  แต่ถ้าต่ำกว่านี้เราจะรู้สึกว่าผิวแตกแห้ง  คัน  และไม่สบายตัว 


            ในฤดูร้อนเครื่องปรับอากาศไม่เพียงแต่ทำให้อุณหภูมิห้องลดลงเท่านั้น  ยังทำให้ความหนาแน่นของไอน้ำในห้องลดลงด้วย  (น้ำที่ถูกดึงออกมาจะกลายเป็นหยดน้ำออกด้านนอก)  เพราะไม่เช่นนั้นความชื้นสัมพัทธ์จะสูงขึ้นทำให้ไม่สบายตัว  ในฤดูหนาว  หากใช้เครื่องทำความร้อน  ควรต้มน้ำด้วยเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของไอน้ำในอากาศ  เพราะไม่เช่นนั้นความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำเกินไปทำให้ผิวหนังแห้งแตก

ที่มา