วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เชื่อไหม? แฟลชไดรฟ์ใช้ได้นานแสนนาน

อันนี้ก็น่าสนใจ มี แฟลชไดรพ์ มาตั้งนานไม่เคยสนใจมันเลยแฮะ

คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินมาว่า แฟลชไดรฟ์ ที่นิยมใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองอยู่ในขณะนี้ สามารถเขียนข้อมูลได้นับล้านครั้ง โห...อะไรจะคุ้มขนาดนั้น ถ้าใช้ได้นานขนาดนี้จริงก็ดีน่ะสิ แต่เอาเข้าจริงๆ ผู้ใช้จะพบว่า มันมักมีอันจากไปก่อนเวลาอันควรเรื่อยเลย
คำตอบแบบฟันธงก็คือ แฟลชไดรฟ์ทั่วไปไม่สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ถึงล้านครั้งหรอกครับ ขนาดผู้นำอย่าง Sandisk ยังออกมาบอกเลยว่า หน่วยความจำแฟลชของเขาสามารถทนต่อรอบการเขียนข้อมูล(write cycle) ได้ประมาณ 10,000 ครั้ง ซึ่งสำหรับคำว่า write cycle ในที่นี้หมายความว่า การเขียนและลบไฟล์นั้นออกไป
อย่างไรก็ตาม มันมีความเป็นไปได้ว่า หน่วยความจำบางส่วนในแฟลชไดรฟ์เสียไปแล้ว แต่เราก็ยังสามารถใช้ส่วนที่เหลือได้เป็นปกติ เพียงแต่จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงบนส่วนที่เสียหายได้เท่านั้น ความรู้สึกว่า แฟลชไดรฟ์ของผู้ใช้ก็คือ มันยังปกตินั่นเอง


โครงสร้างภายในของแฟลชไดรฟ์

แฟลช ไดรฟ์บางรุ่นที่ฉลาดหน่อยจะมีอัลกอริธึมที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์เขียน ข้อมูลซ้ำลงบนหน่วยความจำเดิมอยู่บ่อยๆ โดยเลือกให้ไปเขียนในบริเวณอื่นบ้าง ด้วยวิธีนี้ก็จะแก้ปัญหาหน่วยความจำบางส่วนเสียอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกเขียนบ่อยกว่าบริเวณอื่นนั่นเอง
ด้วยความที่หน่วยความจำ ประเภทนี้ไม่มีกลไกการเคลื่อนไหวใดๆ โอกาสที่มันจะเสียหายจึงมีน้อย แต่แล้วทำไมเพื่อนของนายเกาเหลาคนนึงถึงได้เปลี่ยนแฟลชไดรฟ์ในระยะเวลาไม่ กี่เดือนทุกที พอสอบถามจึงได้ความว่า เขาใช้แฟลชไดรฟ์ในการถ่ายโอนไฟล์งานข้ามแผนก ตลอดจนรับไฟล์จากเครื่องลูกค้า เรียกได้ว่า วันหนึ่งๆ แฟลชไดรฟ์ของเขาต้องเสียบเข้า เสียบออกกับคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ บ่อยมาก ซึ่งมันอาจจะเกิดปัญหากับคอนเน็คเตอร์ยูเอสบีก็ได้ ทำให้ระบบแจ้งข้อผิดพลาดว่า ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในแฟลชไดรฟ์ของเขาได้ ความจริงกรณีนี้ ชิปหน่วยความจำที่อยู่ภายในอาจจะไม่ได้เสียหายเลย แต่เป็นคอนเน็คเตอร์ต่างหากที่มีปัญหา


ปัญหาคอนเน็คเตอร์ USB ไม่แข็งแรง

นอก จากนี้ การถอดแฟลชไดรฟ์ออกจากเครื่องขณะที่กำลังเขียนข้อมูลเข้าไป หรือใช้แฟลชไดรฟ์กับโน้ตบุ๊กที่แบตกำลังจะหมด เหตุการ์ณทั้งสองนี้ ระบบจะแจ้งว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับแฟลชไดรฟ์ได้เหมือนกัน
สำหรับ ข้อผิดพลาดเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่า แฟลชไดร์ฟของคุณเสียแล้ว วิธีแก้ง่ายๆ ก็เพียงแค่ฟอร์แมตใหม่ อาการเพี้ยนก็จะหายไปแล้วครับ ยกเว้นปัญหาเกิดจากคอนเน็คเตอร์ USB
เพื่อความมั่นใจ ควรเลือกใช้แฟลชไดรฟ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ อย่าซื้อเพราะแค่ถูกอย่างเดียว เพราะข้อมูลสำคัญที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์อาจมีมูลค่ากว่าราคาของมันหลายเท่านัก และที่สำคัญอย่าไว้ใจอุปกรณ์พวกนี้มากเกินไป ควรจะทำสำรองไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ ไว้บนสื่อบันทึกอื่นๆ ไว้ด้วย ขอให้คุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน โชคดีนะครับ

ทิปจาก : www.arip.co.th

ที่มา http://www.bcoms.net/tipcomputer/detail.asp?id=2329