วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ระบบคลาวด์สาธารณะ ส่วนตัว และผสมผสาน

โดยทั่วไปแล้ว คลาวด์คอมพิวติ้งแบ่งระดับบริการเป็นสามระดับได้แก่ ซอฟต์แวร์ในรูปแบบของบริการ (Software as a Service) ซึ่งมีการจัดหาแอพพลิเคชั่นแบบครบวงจรในรูปแบบของบริการให้แก่ผู้ใช้, แพลตฟอร์มในรูปแบบของบริการ (Platform as a Service) ซึ่งมีการจัดหาแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาและปรับใช้แอพพลิเคชั่นในรูปแบบของบริการ และโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบของบริการ (Infrastructure as a Service) ซึ่งมีการจัดหาฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และเครือข่าย รวมถึงระบบปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และซอฟต์แวร์เวอร์ช่วลไลเซชั่น ในรูปแบบของบริการ

บริการเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud), ระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) หรือระบบคลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) ทั้งนี้ ในระบบคลาวด์สาธารณะ ลูกค้าหลายรายใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลร่วมกันโดยผ่านทางผู้ให้บริการ ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่าย สำหรับทรัพยากรที่ใช้งานจริงเท่านั้น โดยลงรายการบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รูปแบบนี้รองรับการปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มเติมทรัพยากรได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ และจากนั้นก็ปรับลดลงเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป แม้ว่าระบบคลาวด์สาธารณะจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีประเด็นปัญหาเรื่องความปลอดภัย ความสอดคล้องตามกฎระเบียบ และคุณภาพของบริการ เนื่องจากข้อมูลถูกโฮสต์โดยองค์กรอื่น ดังนั้นจึงเท่ากับว่าลูกค้าไว้วางใจให้ผู้ให้บริการทำหน้าที่เก็บรักษา ข้อมูลให้ปลอดภัย ปราศจากการสูญหายหรือการเข้าถึงอย่างไม่เหมาะสม ทั้งยังต้องเป็นไปตามกฎระเบียบเรื่องการจัดเก็บและการค้นหาข้อมูล และรองรับบริการที่ต่อเนื่องและรวดเร็วผ่านทางเครือข่าย

ในระบบคลาวด์ส่วนตัว ทรัพยากรการประมวลผลถูกใช้งานโดยองค์กรเดียวเท่านั้น และอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรนั้นโดยตรง โดยทั่วไปแล้ว ระบบคลาวด์ส่วนตัวถูกติดตั้งไว้ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร และได้รับการบริหารจัดการโดยบุคลากรภายในองค์กร แต่ในบางกรณีอาจได้รับการจัดการโดยผู้ให้บริการ ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเรียกว่าระบบคลาวส่วนตัวแบบเวอร์ช่วล (Virtual Private Cloud) ประโยชน์ที่สำคัญของรูปแบบนี้ก็คือ องค์กรยังคงสามารถควบคุมความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และคุณภาพของบริการ

ระบบคลาวด์แบบผสมผสานประกอบด้วยระบบคลาวด์สาธารณะและระบบคลาวด์ส่วน ตัวสำหรับแอพพลิเคชั่นเดียว โดยจำเป็นที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างระบบคลาวด์ต่างๆ รวมถึงความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ทั้งสองแบบอย่างกลมกลืน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถรองรับเวิร์กโหลดได้อย่างมีเสถียรภาพในระบบคลาวด์ ส่วนตัว และในกรณีที่เวิร์กโหลดเพิ่มขึ้นสูงสุด ก็สามารถขยายไปสู่ระบบคลาวด์สาธารณะ แล้วจากนั้นก็ส่งคืนทรัพยากรสาธารณะเมื่อไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป

การพัฒนาไปสู่คลาวด์

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณควรจะระลึกไว้เมื่อเปลี่ยนย้ายไปใช้รูปแบบ คลาวด์ รวมถึงคุณลักษณะของระบบคลาวด์นั้นๆ และประเด็นเรื่องโครงสร้างองค์กรและวัฒนธรรม ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการปรับใช้สถาปัตยกรรมใหม่ๆ ในอนาคต

กรอบ โครงสร้างสถาปัตยกรรมขององค์กร (Enterprise Architecture Framework) มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการประเมินและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่จะ รองรับเป้าหมายทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต กรอบโครงสร้างดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ออกแบบระบบสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ในเรื่อง สถาปัตยกรรม วิเคราะห์ระบบและการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านเทคนิค และกำหนดแผนงานโดยรวมซึ่งครอบคลุมเรื่องการวางแผน การบริหารองค์กร และการจัดการความเปลี่ยนแปลง

ที่มา http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000024304