วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

10 ข้อที่ควรและไม่ควรทำในการประเมินผลงานตัวเอง

เมื่อคุณต้องเขียนประเมินผลการทำงานของตนเอง จะเขียนอย่างไรให้ตรงไปตรงมาที่สุด ในขณะเดียวกันก็แสดงให้หัวหน้างานเห็นผลงานของคุณมากที่สุดด้วย มาดูกันว่า 10 ข้อที่ควรและไม่ควรทำในการผลการทำงานตัวเองมีอะไรบ้าง
  1. Do ถามความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับผลการทำงานของคุณตลอดปีที่ผ่านมา
  2. Do ยกตัวเลขขึ้นมาสนับสนุนผลงานให้เป็นรูปธรรม เช่น ระยะเวลาที่ใช้ จำนวนรายได้ เปอร์เซ็นต์ของผลตอบรับ ที่เกิดจากการอุทิศตัวของคุณในกับงานต่าง ๆ ยิ่งคุณสามารถทำประโยชน์ให้กับบริษัทมากเท่าไร ยิ่งทำให้นายจ้างมองเห็นคุณค่าในตัวคุณมากเท่านั้น
  3. Do เขียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนที่จะบอกว่า คุณชอบงานของคุณมากเพียงใด ควรพูดถึงทักษะที่คุณพัฒนาขึ้นจากการทำงานที่ผ่านมามากกว่า
  4. Do คิดถึงสิ่งที่ควรปรับปรุง นอกจากเขียนข้อดีของคุณแล้ว ควรมีพื้นที่สำหรับเขียนสิ่งที่ต้องการปรับปรุงในการทำงานของคุณด้วย เพราะในชีวิตจริงไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง
  5. Do เตรียมนำเสนอแผนการทำงานในอนาคต นำเสนอไอเดียว่า คุณมีแผนจะพัฒนาความสามารถ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือรับผิดชอบงานเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคุณได้
  6. Do เขียนอย่างตั้งใจและรอบคอบ ควรให้เวลากับการรวบรวมข้อมูล เรียบเรียงสิ่งที่คุณจะเขียน โดยร่างขึ้นมา แล้วปรับแก้จนมั่นใจก่อนที่จะส่ง เพราะสิ่งที่คุณประเมินนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในบันทึกผลงานของคุณที่จะถูกบริษัทเก็บไว้ตลอด
  7. Don’t อย่าถ่อมตัว อย่าอายที่จะทำให้หัวหน้ารู้ว่าคุณมีผลงานที่น่าพึงพอใจมากแค่ไหน หยิบยกความสำเร็จของคุณมานำเสนอ ในขณะเดียวกันก็ไม่กดให้เพื่อนร่วมงานของคุณต่ำลง
  8. Don’t อย่าลืมทบทวนความสำเร็จตั้งแต่ต้นปี หัวหน้างานของคุณอาจจำไม่ได้ทั้งหมดว่ามีโปรเจ็กต์ไหนบ้างที่คุณมีส่วนร่วมภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ควรทบทวนผลงานเด่น ๆ ให้หัวหน้างานรับทราบอีกรอบ
  9. Don’t อย่าเขียนทื่อ ๆ ใบประเมินผลการทำงานของคุณมีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของคุณ จึงควรเขียนให้น่าสนใจ เชิญชวนให้หัวหน้างานอยากพูดคุยเกี่ยวกับองค์ประกอบที่คุณใช้ในการประเมินตนเอง
  10. Don't อย่าใช้การประเมินผลงานเพื่อการต่อรอง เพราะช่วงเวลานี้ไม่ใช่เวลาที่คุณจะต่อสู้เรื่องค่าตอบแทน สิ่งที่ควรทำคือ คุณต้องสามารถพูดถึงความสำเร็จของคุณได้อย่างมั่นใจ ส่วนเรื่องการเจรจาต่อรองเงินเดือน เก็บไว้ในโอกาสอื่นดีกว่า

ที่มา http://th.jobsdb.com