วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

benzene อันตราย ???


พอดีสงสัย forward mail เรื่องหนึ่ง "อย่าเปิดเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ทันทีที่คุณขึ้นรถ" ก็เลยรู้สึกว่ามันแปลกๆ ว่ามันจริงหรือเปล่า ก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับสารระเหยของ benzene ที่มีอยู่ในธรรมชาติ
เบนซิน (benzene) เป็นของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นน่าดม ระเหยได้เร็ว ละลายน้ำได้เล็กน้อย ไวไฟมาก เกิดได้ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและกระบวนการผลิต
เบนซินเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติก เรซิน ไนลอน และใยสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์บางชนิด ซึ่งได้แก่ ยาง สารหล่อลื่น สี ดีเทอร์เจนท์ และยาฆ่าแมลง อาจใช้เบนซินในการผลิตด้วย
ภูเขาไฟระเบิดและไฟไหม้ป่าทำให้เกิดเบนซินตามธรรมชาติได้ เบนซินยังเป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบ (crude oil) น้ำมันเบนซินที่เราใช้เติมในรถยนต์ (gasoline) และในควันบุหรี่

เบนซินในแง่สิ่งแวดล้อม
* เบนซินที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งหมดมาจากการอุตสาหกรรม
* เบนซินในน้ำและดินสามารถผ่านเข้าสู่อากาศได้
* เบนซินจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นในอากาศแล้วสลายตัวไปภายใน 2-3 วัน
* เบนซินในอากาศสามารถรวมเข้ากับฝนหรือหิมะและกลับลงมาที่พื้นดิน
* เมื่ออยู่ในน้ำและในดินจะสลายตัวได้ช้า สามารถผ่านชั้นดินลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินได้หรือน้ำบาดาล
* สัตว์และพืชไม่มีการสร้างเบนซินเพื่อใช้ในร่างกาย

ร่างกายได้รับเบนซินได้อย่างไร
* อากาศนอกอาคาร มักมีเบนซินปนอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมาจากควันบุหรี่ อู่ซ่อมรถ ไอเสียจากยานพาหนะต่างๆ และจากปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรม
* อากาศในอาคาร มักมีเบนซินในระดับสูง ซึ่งรับเบนซินมาจากผลิตภัณฑ์ที่มีเบนซินเป็นส่วนผสม เช่น กาว สี แว็กซ์เคลือบเฟอร์นิเจอร์ ผงซักฟอก
* อากาศในบริเวณสถานบำบัดของเสีย หรือปั๊มป์น้ำมันปกติจะมีเบนซินอยู่ในระดับสูง
* การรั่วไหลจากถังเก็บ จากคลังวัตถุมีพิษหรือโรงกำจัดของเสียที่มีเบนซินอยู่ด้วย เป็นสาเหตุให้มีการปนเปื้อนเบนซินในน้ำบาดาล
* ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตเบนซิน หรือมีการใช้เบนซิน มีโอกาสได้รับเบนซินในระดับสูง

เบนซินมีผลอย่างไรต่อสุขภาพ?
การหายใจเอาเบนซินเข้าไปในระดับสูงมากๆ สามารถทำอันตรายถึงสิ้นชีวิตได้ ในระดับสูงรองลงมาก็เป็นเหตุให้ เซื่องซึม วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ใจสั่น สับสน และหมดสติ การดื่มและการกินอาหารปนเปื้อนเบนซินในระดับสูงสามารถทำให้มีอาการ อาเจียน กระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ ง่วงนอน ชัก หัวใจเต้นเร็ว และเสียชีวิต

การได้รับเบนซินโดยต่อเนื่องเป็นเวลานาน (365 วัน หรือนานกว่า) จะมีผลต่อเลือด เบนซินจะทำลายไขกระดูก เป็นเหตุให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง และนำไปสู่โรคโลหิตจาง (anemia) ทำให้เลือดไหลหยุดได้ยากกว่าปกติ ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ สตรีที่สูดดมเบนซินเป็นเวลาหลายเดือนจะมีระยะรอบเดือนไม่ปกติ มี ขนาดรังไข่เล็กลง ยังไม่ทราบว่าเบนซินมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ แต่ผลการทดลองกับสัตว์พบว่าตัวอ่อนมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติ มีการสร้างกระดูกช้า และหากตัวแม่สูดดม เบนซินก็จะทำให้ไขกระดูกของลูกในครรภ์ถูกทำลาย

เบนซินทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่?
เป็นที่ทราบแล้วว่าการสูดดมเบนซินในอากาศเป็นเวลานาน จะทำให้เป็น Leukemia ซึ่งหมายถึงมะเร็งเม็ดเลือดที่มีเม็ดเลือดขาวมากและเม็ดเลือดขาวนั้นก็ยัง ผิดปกติอีกด้วย
จะตรวจสอบทางแพทย์ได้หรือไม่ว่าร่างกายได้รับเบนซิน?
ทำได้หลายทาง ได้แก่
1. การตรวจสอบลมหายใจ จะตรวจสอบได้ก็ต่อเมื่อเพิ่งจะได้รับเบนซินมาเท่านั้น
2. การตรวจหาเบนซินในเลือด จะตรวจหาได้เมื่อได้รับเบนซินมาไม่นานนัก เพราะเบนซินสลายตัวในเลือดได้เร็ว
3. การตรวจหาเบนซินในปัสสาวะ เบนซินในร่างกายจะถูกเปลี่ยนไปเป็นมีแท็บโบไลท์ (metabolite) ชนิดหนึ่ง มีแท็บโบไลท์หมายถึงสารที่เกิดจากการสันดาป มีแท็บโบไลท์ที่มา
4. จากเบนซินสามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะ การตรวจสอบจะต้องทำหลังจากการได้รับเบนซินไม่นานเช่นกัน ผลจากการตรวจสอบวิธีนี้ไม่ค่อยถูกต้องนักเนื่องจากมีแท็บโบไลท์ดังกล่าวอาจ มาจากแหล่งอื่นได้เช่นกัน ระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ปริมาณสูงสุดในน้ำดื่ม, ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อลิตร
ปริมาณสูงสุดในอากาศในที่ทำงาน, ไม่เกิน 1 ppm

ที่มา
http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_benzene.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Benzene
http://en.wikipedia.org/wiki/Hydrocarbon