สงสัยมานานละว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ก็เลยได้คำตอบมา
C-band สัญญาณย่านขาขึ้น (Uplink) ใช้ย่านความถี่ ๖ GHz และสัญญาณขาลง (Downlink) ใช้ย่านความถี่ ๔ GHz จึงนิยมเรียกว่า ๖ / ๔ GHz ความถี่
C-band นี้อาจรบกวนกับการสื่อสารผ่านคลื่นไมโครเวฟบนภาคพื้นดินได้ง่าย อีกความถี่ที่ใช้งานมากคือ
Ku-band ใช้ความถี่ขาขึ้น ๑๒ - ๑๔ GHz และความถี่ขาลง ๑๑ – ๑๒ GHz โดยประมาณซึ่งนิยมใช้ในกิจการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยตรง (Direct Broadcast System: DBS) แต่มีข้อเสียหลักคือ สัญญาณจะถูกลดทอนกำลังจากเม็ดฝนค่อนข้างมาก ความถี่ย่าน X –band ( ๘ / ๗ GHz) ใช้ในกิจการทหารส่วนความถี่ย่าน Ka-band ( ๔๐ / ๒๐ GHz) มีแนวโน้มจะนำมาใช้มากในอนาคตเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของความถี่ใช้งาน เช่น โครงการ IP-Star ของบริษัท ไทยคม
เวลาฝนตกแล้วดูไม่ได้ อาการที่ว่า เรียกว่า Rain Fade ครับ
ระบบ KU อยู่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นจานดาวเทียมแบบ Ku-band ซึ่งถือได้ว่าเป็นย่านความถี่ที่สูงมาก(10.7 - 12.7 GHz) และในการเลือกเอาย่านความถี่สูงๆมาใช้นั้นมีข้อดีคือ คลื่นรบกวนน้อยมาก ส่งผลให้การส่งสัญญาณระบบ Digital ด้วยความถี่ระดับนี้ได้คุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงที่ชัดเจนมากกว่า และในการติดตั้งชุดรับสัญญาณก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้ชุดรับสัญญาณที่มีขนาดกระทัดรัด(70 - 90 cm) ในขณะที่ชุดรับสัญญาณย่านความถี่ต่ำๆ ต้องใช้ชุดรับสัญญาณขนาดใหญ่ๆ แต่ว่าจานดาวเทียมย่าน Ku-band นี้ มีข้อเสียคือ ในคลื่นความถี่สูงๆ ที่ส่งตรงมาจากดาวเทียมถึงจานรับสัญญาณโดยตรงนั้น ความยาวคลื่นจะสั้นด้วย จึงไม่สามารถ ทะลุผ่านเม็ดฝน ในกรณีที่ฝนตกหนัก ซึ่งเม็ดฝนที่หนาแน่นนั้นจะบังทิศทางการเดินทางของคลื่น แต่หากเม็ดฝนไม่หนาแน่น จะยังสามารถรับสัญญาณได้ชัดเจนทั้งภาพและเสียงโดยไม่มีสัญญาณรบกวนใดๆ(เว้น แต่กรณีที่ระดับสัญญาณที่รับได้ต่ำมากๆ) ดังนั้น ไม่ว่าสัญญาณโทรทัศน์ใดๆ ที่ใช้การรับส่งสัญญาณในย่านความถี่ Ku-Band นี้ก็จะประสบปัญหา Rain Fade เช่นนี้แหละครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศว่ามีฝนตกหนาแน่นแค่ไหน อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ได้รับจากฝนตกมักเป็นช่วงเวลาเพียงสั้นๆเท่านั้นครับ
ปัจุบัน มีหัวรับสัญญาณดาวเทียม(LNB) ที่สามารถรับได้ทั้ง C และ Ku band เรียกว่า C-KU Duo แต่จานรับสัญญาณต้องใช้ขนาดของ C band
ที่มา