วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

โพวิโดน-ไอโอดีน

โพ วิโดน-ไอโอดีนเป็นน้ำยาใส่แผลที่มีฤทธิ์ฆ่า และทำลายเชื้อโรคได้หลายชนิด จัดเป็นยาในกลุ่มเดียวกับทิงเจอร์ไอโอดีน และมีผลในการรักษาไม่แตกต่างกัน แต่มีข้อดีคือโพวิโดน-ไอโอดีนไม่แสบ กรณีทิงเจอร์ไอโอดีน ที่แสบเป็นเพราะว่ามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ เวลาโดนแผลทำให้แสบ ส่วนโพวิโดน-ไอโอดีนนั้น ไม่แสบเนื่องจากไม่มีแอลกอฮอล์ เตรียมมาจากการนำผงโพวิโดน-ไอโอดีนมาละลายน้ำ

คุณสมบัติทางเคมี

  • โพวิโดน-ไอโอดีน povidone-iodine (PVP-I) เป็นสารที่คงตัว ละลายได้ดีในน้ำเย็น เอธิลแอลกอฮอล์ ไอโซโพรพีลแอลกอฮอล์ โพลีเอธิลีนกลัยคอล และกลีเซอรอล
  • โพวิโดน-ไอโอดีน เป็นสารผสมระหว่าง polyvinylpyrrolidone (povidone, PVP) และ elemental iodine
  • ในสารโพวิโดน-ไอโอดีนจะมีความเข้มข้นของไอโอดีนตั้งแต่ 9.0% จนถึง 12.0% โดยคำนวณจากน้ำหนักแห้ง

แผลสด

  • โพ วิโดน-ไอโอดีนสามารถใช้ได้กับแผลสด โดยทั่วไปการรักษาแผลสด ไม่ควรใส่อะไรลงไป ในเบื้องต้นให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด จากนั้นห้ามเลือดโดยพันแผล หรือกดไว้ด้วยผ้าสะอาดที่สุดที่หาได้
  • ไม่ควรเช็ดแผล การเช็ดแผลอาจจะเช็ดเอาก้อนเลือดแห้งที่อุดห้ามเลือดออก ทำให้เลือดออกซ้ำอีก
  • สำหรับโพวิโดน-ไอโอดีน แม้ว่าจะมีบางรายงานกล่าวอ้างว่าอาจทำให้แผลหายช้า แต่ผลการศึกษาเปรียบเทียบไม่ชัดเจนนัก

ฝีหนอง

  1. โพ วิโดน-ไอโอดีนใช้เกลื่อนฝี และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาตุ่มน้ำใสๆ บริเวณฝ่าเท้า โดยเจาะแตกด้วยเข็มสะอาด และป้ายด้วยยาโพวิโดนไอโอดีน จะช่วยให้แห้งได้ไว และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดี
  2. ตัวยาโพวิโดน-ไอโอดีนอาจมีฤทธิ์ระคายเคือง และผู้ที่มีผิวอ่อนอาจไวต่อยานี้
  3. สำหรับตุ่มน้ำใสที่เกิดขึ้นที่เท้า สิ่งสำคัญคือ การดูแลฝ่าเท้ามิให้อับชื้น ควรเช็ดเท้าภายหลังการอาบน้ำ หรือเปียกชื้นให้แห้ง แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ควรปรึกษาแพทย์

ประวัติการค้นพบ

  1. โพวิโดน-ไอโอดีน ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่ห้องปฏิบัติการ Industrial Toxicology Laboratories ในเมืองฟิลาเดลเฟีย โดย H. A. Shelanski และ M. V. Shelanski
  2. ผลการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่าโพวิโดน-ไอโอดีนมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย และการทดสอบความเป็นพิษในหนูทดลอง พบว่าโพวิโดน-ไอโอดีนมีความเป็นพิษน้อยกว่าทิงเจอร์-ไอโอดีน
  3. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในมนุษย์ พบว่าโพวิโดน-ไอโอดีนออกฤทธิ์เหนือกว่าไอโอดีนชนิดอื่นๆ

การนำไปใช้

  1. หลังจากการค้นพบ iodine โดย Bernard Courtois ในปี ค.ศ. 1811 ปรากฏว่าได้มีการนำไอโอดีนมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งที่ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อผิวหนัง รวมทั้งนำมาใช้ในการรักษาแผล
  2. ไอโอดีนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียอย่างมี ประสิทธิภาพ ฤทธิ์ฆ่าเชื่อแบคทีเรียเป็นแบบออกฤทธิ์ต่อเชื้อหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่ายีสต์ เชื้อรา และไวรัส ได้อีกด้วย
  3. ข้อเสียของไอโอดีนในรูปแบบของสารละลายคือ ฤทธิ์ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆแผล ซึ่งต่อมาเมื่อค้นพบโพวิโดน-ไอโอดีนก็สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้
  4. นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อแบคทีเรียไม่ดื้อต่อโพวิโดน-ไอโอดีน (PVP-I) โดยพบอัตรา sensitization rate เพียง 0.7% เท่านั้น
  5. โพวิโดน-ไอโอดีนถูกนำมาใช้ทำความสะอาดผิว หนังก่อนผ่าตัด ใช้เป็นน้ำยาทำแผลก่อนและหลังผ่าตัด ใช้รักษาและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลกดทับ และนำมาใช้รักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอด
  6. โพวิโดน-ไอโอดีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความ เข้มข้น 7.5–10.0% ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ solution, spray, surgical scrub, ointment และ swab ชื่อการค้าที่รู้จักกันแพร่หลายในรูปแบบยาใส่แผลคือ เบตาดีน (Betadine)

ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน

ในสูตรตำรับยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ Povidone-Iodine 10% w/v eqivalent to Iodine 1% w/v

สรรพคุณ

โพวิโดน-ไอโอดีนรักษาแผลสด

วิธีใช้

ใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล

คำเตือน

  1. หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา
  2. หลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา

การเก็บรักษา

ปิดฝาให้สนิท และเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

ขนาดบรรจุ

ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีนบรรจุขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร

ชนิดขี้ผึ้ง

  1. โพวิโดน-ไอโอดีนสามารถที่จะใช้ป้ายบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อได้
  2. โพวิโดน-ไอโอดีนชนิดขี้ผึ้งสามารถที่จะใช้ ป้ายบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อได้ โดยป้ายบางๆ จะช่วยให้การดูดซึมของยาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการผลิตดีขึ้นมาก ตัวยาออกฤทธิ์ได้อย่างสม่ำเสมอ

ยาใส่แผล-ล้างแผล

  • ยาใส่แผลทิงเจอร์ไอโอดีน ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Iodine 2.0-2.5%w/v Potassium Iodide 2.4-2.5 %w/v สรรพคุณใช้รักษาแผลสด โดยใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร
  • ยาใส่แผลทิงเจอร์ไทเมอรอซอล ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Thimerosal 0.1% w/v สรรพคุณใช้รักษาบาดแผล โดยใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร
  • ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Povidone-Iodine 10% w/v eqivalent to Iodine 1% w/v สรรพคุณใช้รักษาแผลสด โดยใช้สำลีสะอาดชุบยาทาที่แผล หากมีอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้ยาเข้าตา เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 15 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตร
  • ยาไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ ในสูตรตำรับประกอบด้วย Isopropyl Alcohol Solution 70% v/v โดยสูตรตำรับต้องแต่งสีด้วย Brilliant Blue C.I. No.42090 สรรพคุณใช้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล ห้ามนำมารับประทาน เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด ขนาดบรรจุ ขวดละ 30 มิลลิลิตร
  • ยาเอทิลแอลกอฮอล์ ในสูตรตำรับประกอบด้วย Ethyl Alcohol Solution 70% v/v โดยสูตรตำรับต้องแต่งสีด้วย Brilliant Blue C.I. No.42090 สรรพคุณใข้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล ห้ามนำมารับประทาน เก็บรักษาโดยปิดฝาให้สนิทและป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด ขนาดบรรจุ ขวดละ 30 มิลลิลิตร
  • น้ำเกลือล้างแผล ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Sodium Chloride 0.9% w/v สรรพคุณใช้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล เก็บรักษาโดยเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ขนาดบรรจุ ขวดละ 500 มิลลิลิตร

น้ำยาล้างแผล

  • น้ำยาที่ใช้สำหรับทำความสะอาดแผลหรือบาดแผล ที่ผิวหนังในเบื้องต้น ก่อนที่จะใช้ยาเช็ดแผล หรือยาใส่แผลเพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไปมีประโยชน์ คือ ใช้ชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกที่อาจปนเปื้อนอยู่ที่แผลให้หลุดออกไป ใช้ชะล้างสะเก็ดแผลให้หลุดลอกออกไป เช่น แผลพุพอง ช่วยทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ แผลอ่อนตัวลงได้ ทำให้น้ำยาเข้าไปทำความสะอาดได้ดีขึ้น ช่วยให้ยาที่จะใช้ทาฆ่าเชื้อในขั้นตอนต่อไปถูกดูดซึมได้ดีขึ้น สามารถฆ่าหรือทำลายเชื้อได้ดีขึ้น ช่วยลดปริมาณเชื้อและลดอาการอักเสบจากการติดเชื้อได้ อันมีผลช่วยทำให้แผลหรือบาดแผลหายไวขึ้น
  • น้ำสะอาดต้มสุก ควรเป็นน้ำอุ่นๆ ไม่ร้อนจัดเกินไป จะช่วยชะล้างบาดแผลให้สะอาดได้ดี สามารถเตรียมเองได้
  • น้ำ เกลือล้างแผล อาจเตรียมได้เอง โดยใช้เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด กรองให้สะอาด เก็บใส่ภาชนะไว้ ใช้ทำความสะอาดบาดแผลทั่วๆ ไป แผลเน่าเปื่อยเป็นหนอง หรือพุพองได้ รวมทั้งชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆได้ดี ช่วยทำให้แผลสะอาด ไม่คัน และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
  • น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นน้ำยาสำเร็จรูป เป็นสารที่ไม่คงตัวสลายตัวลงในน้ำได้ง่าย มีขายในท้องตลาด ราคาไม่แพง ควรใช้ในบาดแผลที่สกปรก มีหนอง ถูกของแหลมทิ่มแทง บาดแผลที่เน่าเปื่อย เรื้อรัง และขอบแข็ง
  • น้ำยาบอริค ตามปกติใช้สำหรับล้างตา แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำยาชนิดอื่นได้ อาจใช้น้ำยาบอริคล้างแผลได้
  • น้ำยาด่างทับทิม ใช้ขนาดความเข้มข้น 1:1,000 หรือ 1:10,000 หรือใช้เกล็ดทับทิมเพียง 1-2 เกล็ด ละลายในน้ำอุ่นพอเป็นสีชมพูอ่อน มีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ ใช้ในบาดแผลที่สกปรก เช่น บาดแผลเน่าเปื่อย บาดแผลที่อาจติดเชื้อบาดทะยัก

น้ำยาเช็ดแผล

  • น้ำยาที่นำมาใช้เพื่อทำความสะอาดและทำลาย เชื้อโรคบริเวณรอบๆ แผล ไม่ใช้ใส่แผลโดยตรง เพราะจะทำให้แผลแสบระคายเคือง และเนื้อตายได้ เช่น Alcohol ชนิด Ethyl alcohol หรือ Isopropyl alcohol
  • แอลกฮอล์ ชนิด 70% ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อกรัมบวก, กรัมลบ และเชื้อรา แต่ไม่มีผลกับเชื้อที่สร้าง spore ได้ ใช้เช็ดล้างทำความสะอาดรอบแผลฆ่าเชื้อโรค ทำให้ผิวหนังสะอาดขึ้น

น้ำยาใส่แผล

  • น้ำยาที่ใช้ใส่แผลหรือ ทาแผลภายหลังจากได้ชำระล้างแผลและเช็ดแผลเรียบร้อยแล้ว ควรเลือกให้เหมาะกับชนิดของแผล ในกรณีของเด็กควรเลือกชนิดที่ระคายเคืองน้อยที่สุด
  • โพวิโดน-ไอโอดีน ใช้ได้ทั้งแผลทั่วไปและแผลไฟไหม้ ใช้ใส่แผลถลอก แผลสดขนาดเล็ก
  • ทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5% สำหรับผู้ใหญ่ และ 1% สำหรับเด็ก ใช้เป็นยาใส่แผลสดและแผลถลอก ฆ่าหรือป้องกันเชื้อโรคที่ผิวหนังได้ดี แต่อาจทำให้ผิวหนังอ่อนๆ ไหม้ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรสำลีชุบทิงเจอร์ไอโอดีนปิดแผลไว้ จะทำให้ผิวหนังรอบๆ แผลไหม้ได้ ควรใช้เช็ดบาดแผลเท่านั้นก็พอ
  • ทิงเจอร์เมอร์ไทโอเลต (tincture merthiolate) เป็นยาใส่แผลสด ใช้ฆ่าเชื้อโรคตามผิวหนังได้ดี นิยมใช้มากกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน แต่ไม่ควรใช้กับเด็กอ่อน และผิวหนังอ่อน
  • ยาแดง (mercurochrome) เป็นยาใส่แผลสด โดยเฉพาะบาดแผลถลอกใช้ได้ดี แต่ถ้าเป็นบาดแผลที่ค่อนขางลึก มักจะทำให้แผลแฉะข้างใน ข้างนอกแห้ง ทำให้แผลหายช้า จึงควรใช้กับบาดแผลที่ถลอกเล็กน้อยเท่านั้น
  • ยาเหลือง (acriflavin) ขนาด 1:1,000 อาจใช้ชะล้างบาดแผลได้ในกรณีที่หาอย่างอื่นไม่ได้ เป็นยารักษาแผลเปื่อย แผลเรื้อรังมีหนองหรือน้ำเหลือง ฆ่าเชื้อได้น้อยและออกฤทธิ์ช้า ไม่นิยมใช้กับแผลสด

ยาที่ใช้ในการทำแผล

  1. ในท้องตลาดมียาที่ใช้ในการทำแผลหลายชนิด เช่น น้ำเกลือล้างแผล โพวิโดน-ไอโอดีน ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาแดง และยาเหลือง เป็นต้น ทำให้เกิดคำถามว่า ควรใช้ยาชนิดใดในการทำแผล ซึ่งหลักการในการเลือกใช้ยานั้นขึ้นกับชนิดของบาดแผล
  2. สำหรับแผลสดที่มีบริเวณกว้างแต่ไม่ลึก เช่น แผลถลอก ลอกจากการเสียดสี ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือนอร์มัลสำหรับล้างแผล อาจใช้ผ้าก๊อตซ์ที่ชุบวาสลีนปิดก็ได้ แผลเหล่านี้หายเองได้ เพียงแต่ช่วยให้หายเร็วโดยเยื่อบุผิวเจริญเข้ามาปิดแผลโดยไม่ถูกรบกวนก็พอ
  3. ยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นองค์ประกอบ เช่น ทิงเจอร์ประเภทต่างๆ ไม่ควรใช้ใส่แผล เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองมากยิ่งขึ้น ทำให้แผลหายช้า การให้ยาโพวิโดน-ไอโอดีน ยาแดง ยาเหลืองทาก็ใช้ได้ แต่ยาเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนการทำความสะอาดแผลที่ถูกวิธีได้ อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรคเลย แต่ถ้าใช้ควรเลือกชนิดที่ระคายเคืองน้อยที่สุด
  4. ส่วนแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกที่ไม่ลึกมาก หลังจากนำหนังพองออกไปแล้ว ควรปิดด้วยผ้าชุบวาสลีน หรือแผ่นสำหรับปิดแผลชนิดที่มียาฆ่าเชื้อโรค ทั้งนี้เพราะการทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผลอาจกำจัดเชื้อไม่หมด
  5. ผิวหนังบริเวณไฟไหม้รวมทั้งเนื้อเยื่ออ่อนจะมีการอักเสบติดเชื้อโรคได้ง่าย การใช้ครีมหรือขี้ผึ้งที่มียาฆ่าเชื้อโรคมีความจำเป็น
  6. ถ้าเป็นแผลลึกที่มีเนื้อตาย แผลที่มีปัญหา เช่น แผลกดทับ แผลติดเชื้อเรื้อรัง แผลเบาหวาน เป็นต้น ควรพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.vachiraphuket.go.th