บริษัทประกันจากอังกฤษ “สเตฟลีย์ เฮด” จัดอันดับ 10
ประเทศน้ำมันราคาถูกสุดในโลก ซึ่งแทบทั้งหมดเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
แต่จะมีประเทศอะไรบ้าง
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นประเทศเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะมีราคาน้ำมันถูกที่สุดในโลก
แต่หากเทียบกับอัตราค่าครองชีพแล้ว
ประชากรภายในประเทศอาจจะคิดว่าราคาน้ำมันเหล่านี้อาจจะแพงก็ได้
10 แอลจีเรีย
อันดับ
10 “แอลจีเรีย” ที่ขายน้ำมันราคาเท่ากับโอมาน 1.20 ดอลลาร์ ประเทศนี้
มีน้ำมันสำรองมากสุดเป็นอันดับ 3 ในทวีปแอฟริกา รองจากลิเบีย และไนจีเรีย
แต่ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับ 4 ของกาฬทวีป และสหภาพยุโรป (อียู)
พึ่งพาน้ำมันจากแอลจีเรียมาก เพราะมีสารซัลเฟอร์ต่ำ ขณะที่แอลจีเรีย
มีรายได้ 60% จากการผลิตน้ำมัน
9 โอมาน
อันดับ
9 คือ “โอมาน” ราคาน้ำมันขายแกลลอนละ 1.20 ดอลลาร์
โอมานเป็นชาตินอกกลุ่มโอเปกที่มีแหล่งน้ำมันสำรองมากสุด 5.5 พันล้านบาร์เรล
ส่งออกน้ำมันและก๊าซคิดเป็น 47% ของจีดีพีปี 2553 แต่โอมาน
พยายามเพิ่มความหลากหลาย ให้ระบบเศรษฐกิจไปที่ภาคเกษตรและบริการด้านสุขภาพ
แทนที่จะพึ่งพาพลังงานอย่างเดียว
8 อียิปต์
อันดับ
8 “อียิปต์” ราคาน้ำมันขายในบ้านแกลลอนละ 1.14 ดอลลาร์ ทั้งที่อียิปต์
เป็นผู้ผลิตและกลั่นน้ำมันรายใหญ่
แต่ความต้องการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นมาก
ทำให้ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบางส่วน
ขณะที่ผลพวงจากปรากฏการณ์ปฏิวัติโลกอาหรับ ในปีที่ผ่านมา
ส่งผลต่อหลายๆภาคส่วนของอุตสาหกรรม
แต่รายได้หลักของอียิปต์ในช่วงบ้านเมืองวุ่นวาย
ยังมาจากการลงทุนน้ำมันและก๊าซ รวมถึงรายได้จากคลองสุเอซ
ที่เป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญ
7 กาตาร์
อันดับ
7 “กาตาร์” ราคาน้ำมันอยู่ที่ 0.90 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
กาตาร์เป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลวรายใหญ่สุดของโลก
และเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบอันดับ 16 ขณะที่คนในประเทศบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น
3 เท่าจากเมื่อปี 2543
เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตและน้ำมันราคาถูกจากการอุดหนุนของรัฐ กาตาร์
มีปริมาณน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วราว 2.54 หมื่นล้านบาร์เรล
ขณะที่รายได้จากน้ำมันและก๊าซมีสัดส่วน 50% ของจีดีพี แต่กาตาร์
พยายามเพิ่มความหลากหลายให้กับเศรษฐกิจและสร้างชื่อจากการลงทุนด้านวิจัยและ
พัฒนา
6 คูเวต
อันดับ 6 “คูเวต” ขาย
น้ำมันแกลลอนละ 0.84 ดอลลาร์ คูเวต
เป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันสำรองใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก
และส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ในกลุ่มโอเปก รายได้จากน้ำมันมีสัดส่วนราว 95%
ของรายได้ทั้งหมด และคิดเป็นครึ่งหนึ่งของจีดีพี คูเวต
มีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 4 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2563
แต่ชาวคูเวตบริโภคน้ำมันที่ผลิตเองในสัดส่วนที่น้อยมาก เพราะส่งออกถึง 87%
ของที่ผลิตได้ในปีที่แล้ว และเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงของคูเวตสูงสุดที่ 2,800
ดอลลาร์ต่อคน ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์อุดหนุนราว 2,500
ดอลลาร์ต่อคน
5 บาห์เรน
อันดับ 5 “บาห์เรน”
มี ราคาน้ำมันที่ 0.78 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ประเทศนี้
กำลังเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีน้ำมันไม่มากเท่าประเทศอื่นๆ
โดยเปลี่ยนไปเน้นจุดขายเรื่องศูนย์กลางการธนาคารในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย
ค้าปลีก และท่องเที่ยวแทน แต่บาห์เรน
เผชิญกับความท้าทายเนื่องจากประชาชนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมือง
หากไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง
ก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่บาห์เรนจะยกเลิกการอุดหนุน
4 เติร์กเมนิสถาน
อันดับ
4 “เติร์กเมนิสถาน” ขาย น้ำมันราคา 0.72 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ที่ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้นั่งเก้าอี้ต่ออีก 5
ปี หมายความว่า เจ้าของรถชาวเติร์กยังจะได้รับสิทธิเติมน้ำมันฟรี 120
ลิตรต่อเดือน (34 แกลลอน) ต่อไปอีก
เพราะรัฐบาลสัญญาที่จะจ่ายอุดหนุนด้านพลังงานต่อไปจนถึงปี 2573
แต่ปริมาณปิโตรเลียมสำรอง ที่ลดลงก็กลายเป็นความท้าทายของรัฐบาล
3 ลิเบีย
อันดับ
3 คือ “ลิเบีย” ที่ขาย น้ำมันแกลลอนละ 0.54 ดอลลาร์ ในปีที่แล้ว
ลิเบียเกิดการประท้วงโค่นอำนาจพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี
ทำให้โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำมันถูกทำลายอย่างหนักจากการต่อสู้ระหว่าง
สองฝ่าย แต่ปัจจุบัน ภายใต้การบริหารของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ
ลิเบียกำลังฟื้นฟูศักยภาพในการผลิตและส่งออกน้ำมัน รัฐมนตรีน้ำมันของลิเบีย
คาดว่า น่าจะกลับมาผลิตน้ำมันในระดับเดียวกับก่อนเกิดจลาจล 1.6
ล้านบาร์เรลต่อวันได้ในปีนี้ จากปัจจุบันที่ผลิตได้ 1.265 ล้านบาร์เรล
ซึ่งหากทำได้ตามนี้ก็จะทำให้ลิเบียมีเสถียรภาพด้านน้ำมันและยืนระดับราคา
น้ำมันในประเทศไว้ได้
2 ซาอุดิอาระเบีย
รอง
แชมป์ ได้แก่ “ซาอุดิอาระเบีย” ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก
ที่ขายน้ำมันในประเทศ ราคา 0.48 ดอลลาร์ต่อแกลลอน แม้ริยาดห์
จะสร้างความมั่งคั่งจากทองคำดำมาตลอดหลายปี และน่าจะต่อเนื่องไปอีกหลายปี
ทว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของริยาดห์ ก็เริ่มกังวลว่า
ปริมาณน้ำมันสำรองที่ประเมินกันนั้นจะมากเกินที่เป็นอยู่หรือไม่
ยิ่งความตึงเครียดกรณีอิหร่านเพิ่มขึ้น จึงมีคำถามว่าซาอุฯ
จะยังส่งออกน้ำมันราว 9 ล้านบาร์เรลต่อวันไปได้ยาวนานแค่ไหน ในฐานะฮีโร่
ที่เพิ่มการผลิตจาก 7.5 ล้านบาร์เรล เพื่อพยุงราคาน้ำมันไม่ให้สูงไปกว่านี้
ปัจจุบัน รัฐบาลริยาดห์ใช้จ่ายเงินเพื่ออุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศ
ทั้งเบนซินและดีเซล ประมาณ 1.33 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี
1 เวเนซุเอลา
“เวเนซุเอลา
″ ที่ ราคาน้ำมันอยู่ที่ 0.18 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เนื่องจากเวเนฯ
ใกล้ฤดูเลือกตั้ง ในเดือนตุลาคมปีนี้ ประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ
อ่านเกมออกว่า หากปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในช่วงนี้
ย่อมกลายเป็นความเสี่ยงต่ออนาคตทางการเมืองของตัวเอง ประกอบกับ
ความพยายามปรับขึ้นราคาหนล่าสุด เมื่อปี 2532 ลงเอยด้วยเหตุจลาจล
ที่มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน และชาวเวเนฯ จึงมีแนวโน้มจะใช้น้ำมันราคาจิ๊บๆ
ไปอีกหลายปี
ที่มา toptenthailand.com