วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

พลังงานไทยอยู่ตรงไหน?


ในปัจจุบัน พลังงาน คือสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวันของเราทุกคน มนุษย์ยุคนี้พึ่งพาพลังงานเป็นอย่างมากในทุกด้าน ทั้งการให้แสงสว่าง หุงต้ม แช่แข็ง ปรับอาการ คมนาคมขนส่ง หรือการผลิตสินค้าต่างๆก็ล้วนจำเป็นต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น เราใช้พลังงานตลอดเวลาทั้งยามหลับและตื่น แต่น้อยครั้งที่เราจะหยุดและตั้งคำถามบ้างว่า พลังงานเหล่านี้จะมีให้ใช้ไปได้อีกนานแค่ไหน?
พลังงานที่ใช้ในโลกส่วนมากมาจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ) ซึ่งจัดเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถหามาทดแทนได้ (nonrenewable energy sources) กระบวนการทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดเชื้อเพลิงฟอซซิลนั้นใช้เวลานับล้านปี แต่นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 มนุษย์ทำการขุดและนำเชื้อเพลิงฟอซซิลมาใช้มากขึ้นเรื่อย ดังนั้นไม่ช้าก็เร็วแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้ก็จะต้องหมดไปจากโลกของ เรา ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงเริ่มที่จะเปลี่ยนหันมาพึ่งพาพลังงานทางเลือก หรือพลังงานจากแหล่งที่ทดแทนได้ (renewable energy sources) มากขึ้น เช่น พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำจากเขื่อน พลิงงานเชื้อเพลิงชีวมวล (biomass) พลังงานใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่น
แล้วสัดส่วนแหล่งพลังงานไทยอยู่ตรงไหน?
ข้อมูลจาก International Energy Association (IEA)[1] ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2005 มีการบริโภคพลังงานในประเทศไทยทั้งสิ้นเทียบเท่าน้ำมัน 76 ล้านตัน มีการผลิตเองในประเทศ 40 ล้านตัน และนำเข้าพลังงานทั้งสิ้น 36 ล้านตัน โดยการบริโภคพลังงานในประเทศปี ค.ศ. 2005 แบ่งได้เป็นดังนี้
พลังงานเชื้อเพลิงฟอซซิล ร้อยละ 81.8
ถ่านหิน ร้อยละ 11.4
น้ำมันสำเร็จรูป ร้อยละ 43.4
ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 27.0
พลังงานน้ำจากเขื่อน ร้อยละ 0.7
พลังงานเชื้อเพลิงจากชีวมวลแข็ง ร้อยละ 17.1
พลังงานนิวเคลียร์ ร้อยละ 0
พลังงานใต้พิภพ ร้อยละ 0
พลังงานแสงอาทิตย์ ร้อยละ 0
พลังงานลม ร้อยละ 0
พลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่น ร้อยละ 0
จากตัวเลขจะเห็นได้ว่านอกจากพลังงานน้ำจากเขื่อนและพลังงานชีวมวลแล้ว ประเทศไทยยังไม่มีการใช้พลังงานทางเลือกอย่างมีนัยยะสำคัญสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นเรายังเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ ต้องพึ่ง การนำเข้าจากต่างประเทศถึงกว่า 50% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลกแล้ว ประเทศที่มีการพึ่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงมักจะเป็นประเทศที่สามารถขุด หาเชื้อเพลิงได้เอง ในขณะที่ประเทศที่ต้องพึ่งการนำเข้าพลังงานเริ่มมีการหันไปหาแหล่งพลังงานทด แทนแล้ว
ยิ่งกว่านั้น หากพิจารณาดูจะพบว่าประเทศไทยมีทางเลือกทางพลังงานน้อยมาก เนื่องจากภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการสร้างเขื่อน ไม่มีพลังงานความร้อนใต้ภิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ก็มีต้นทุนที่สูงไม่คุ้มค่าแก่การลุงทุน ไม่มีลมหรือคลื่นทะเลแรงพอจะผลิตไฟฟ้า ส่วนพลังงานนิวเคลียร์นั้นก็ยังเป็นประเด็นใหญ่ทาง สังคมอยู่ และแม้ประเทศไทยนั้นได้เปรียบอยู่บ้างในเรื่องของการผลิตชีวมวลเช่นไบโอ ดีเซล แต่การเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตรไปมุ่งผลิตเชื้อเพลิงในเชิงพานิชย์ ย่อมหมายถึงผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆที่จะต้องลดลงในทางกลับกัน
ปัญหาพลังงานนั้นเป็นปัญหาระดับโลกที่กำลังกำลังจะเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว หากเรานิ่งนอนใจและไม่วางแผนรับมือปัญหานี้เสียแต่เนิ่นๆก่อนที่เชื้อเพลิง ฟอสซิลจะหมดไป ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานอย่างประเทศไทย จะเป็นประเทศแรกๆที่เจอผลกระทบอย่างแน่นอน

สัดส่วนการใช้พลังงานในประเทศอื่นๆ

Coal Oil Natural Gas Nuclear Hydro Solid Biomass Liquid Biomass Geothermal Solar Wind Tidal Wave & Ocean
World 25.2 36.8 26.0 7.5 2.4 10.0 0.17 0.43 0.60 0.03 0.00
Asia (excluding Middle East) 34.2 30.8 10.3 4.2 1.6 18.2 0.04 0.46 0.50 0.01 0.00
Thailand 11.4 43.4 27.0 0.0 0.7 17.1 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
Vietnam 12.8 21.0 4.0 0.0 4.0 58.3 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
Malaysia 4.0 50.1 40.1 0.0 1.2 4.7 0.00 0.0 0.0 0.0 0.0
China 55.9 19.9 2.8 0.4 2.1 18.8 0.11 0.0 0.0 0.0 0.0
Japan 19.2 49.2 12.4 16.0 1.4 0.7 0.0 0.57 0.14 0.0 0.0
France 4.8 35.3 13.8 41.3 2.4 3.6 0.17 0.05 0.01 0.00 0.02
United States 23.9 39.6 22.7 9.2 0.8 2.3 0.26 0.56 0.06 0.02 0.0
อ้างอิง: [1] http://earthtrends.wri.org/pdf_library/data_tables/ene2_2005.pdf