วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

sun outage

 
sun outage เป็น ปรากฏการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อโลก ดาวเทียม และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทำให้จานสายอากาศของสถานีภาคพื้นดิน รับสัญญาณจากดวงอาทิตย์(ที่เป็นแหล่งกำเหนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลัง งานขนาดมหาศาล) ซึ่งจะผลิตสัญญาณทุกย่านความถี่ เกิดขึ้นเป็นสัญญาณรบกวน ปะปนเข้ามากับสัญญาณสื่อสารข้อมูล ที่สถานีภาคพื้นดินนั้นๆรับจากดาวเทียม ทำให้สถานีสื่อสารภาคพื้นดิน ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเหตุการณ์ sun outage จะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 5-10 วัน วันละประมาณ 15 นาที และการเกิดปรากฏการ sun outage นี้จะเกิดกับสถานีดาวเทียมที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีภาคพื้นดินบนพื้นโลก

Sun Outage จะเกิดขึ้น 2 รอบในหนึ่งปี ได้แก่ ช่วงเดือนมีนาคม (Summer) และช่วงระหว่างเดือนกันยายนกับตุลาคม (Fall) (Sun Outage Phenomenon)

เมื่อเกิด เหตุการณ์นี้ จะทำให้เครื่องรับดาวเทียม ชิปไปชิปมา ไฟสัญญาณ ซิ้งค์ จะกระพริบๆ เสียงจะดังขาดๆหายๆ แล้วเสียงก็จะหายไป ปล่อยไว้ประมาณ 15 นาที เมื่อมุมของโลก เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงกับดวงอาทิตย์ ก็จะรับสัญญาณได้ตามปกติ

ผลกระทบเมื่อเกิด Sun Outage
เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) จะรับสัญญาณจากดาวเทียมไม่ได้ชั่วคราว โดยมีปัจจัยหลักดังนี้
ตำแหน่ง สถานที่ (Location) ผู้ที่ใช้จานรับสัญญาณจากดาวเทียมจะได้รับผลกระทบทุกราย ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับดาวเทียมทุกดวง แต่เกิดในเวลาที่ต่างกันไป ตามตำแหน่งของดาวเทียม และตำแหน่งที่รับสัญญาณ
ตัวอย่างเช่น ผู้ชมรับสัญญาณโทรทัศน์จาก ไทยคม 5 ที่ประเทศเวียดนามจะได้รับผลกระทบก่อนประเทศไทย หรือที่จังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบก่อนกรุงเทพฯ เป็นต้น
• ขนาดของจานรับสัญญาณ (Antenna Size)
จานรับใบเล็กจะได้รับผลกระทบมากกว่าจานที่มีขนาดใหญ่กว่า (เปรียบเทียบที่สัญญาณที่ความถี่เดียวกัน)


วิธีการแก้ปัญหาในการรับสัญญาณ
เนื่องจาก Sun Outage เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เกิดขึ้นกับทุกท่านที่รับสัญญาณใช้งานจากดาวเทียม แต่เมื่อพ้นช่วง Sun Outage ไปก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) บางรุ่นอาจจะมีปัญหาในการรับสัญญาณ ถ้าหลังจากหมดช่วงการเกิด Sun Outage ไปแล้วยังไม่สามารถรับสัญญาณได้ตามปกติ ขอแนะนำให้ทำการเริ่มต้นเครื่องรับสัญญาณใหม่ (Reset)


ตัวอย่างบางความถี่บนดาวเทียมไทยคม 5 ที่ความถี่ต่ำได้รับผลกระทบนานกว่าที่ความถี่สูง เช่น เช่น C-Band ได้รับผลกระทบนานกว่า Ku-Band
C-Band

Tp. 4E = 3.545 GHz
Tp. 5E = 3.585 GHz
Tp. 5G = 3.600 GHz
Tp. 7V = 3.958 GHz
Tp. 2G = 3.480 GHz
Ku-Band

Tp. 9H = 12.355 GHz
Tp. 10H = 12.313 GHz
Tp. 11V = 12.272 GHz


ที่มา 
http://www.baanmaha.com
http://www.livetv.co.th
http://th.wikipedia.org