ดิน น้ำมัน เป็นของเล่นสำหรับเด็กที่มีมานาน สำหรับพัฒนาการทางสมอง และกล้ามเนื้อมือ และเสริมกิจกรรมในครอบครัว สมัยโบราณใช้ดินธรรมชาติ (clay หรือ mineral clay) จากแหล่งที่อยู่ซึ่งหาได้ง่ายผสมน้ำ มาใช้สำหรับปั้นตุ๊กตาดิน เช่น ดินเหนียว (Plastic clay) ได้จากการผุกร่อนของหิน เนื้อดินละเอียดสีเนื้อ หรือสีเทา มีความเหนียว จากนั้นมีการผสม กับดินชนิดอื่น เพื่อให้คงรูปได้ง่าย และมีการพัฒนารูปแบบให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยการแต่งสี กลิ่น และเติมสารสังเคราะห์อื่นๆ เพื่อความเหนียวนุ่ม และมีลักษณะน่าใช้ เรียกรวมว่า modeling clay และมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันซึ่งทำจากแป้ง ที่เรียกว่า Play-dough
ดินที่ใช้ทำดินน้ำมันมีหลายชนิด เช่น ดินเหนียว และ แร่ดิน (clay minerals) แร่ดิน เช่น คาโอลิไนต์ (kaolinite) และ smectites
1. Modeling clay
Modeling clay หรือ Artificial clay ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนดินเหนียวธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ oil-based clay และ polymer clay
1.1 Oil-based clay
Oil-based clay ผลิตจากองค์ประกอบหลัก ได้แก่ แร่ดิน เช่น สารกลุ่มคาโอลิน (kaolins) ผสมกับ น้ำมัน ขี้ผึ้ง ข้อเด่นคือ มีความเหนียวนุ่ม ปั้นขึ้นรูปง่าย ไม่แห้งเมื่อสัมผัสอากาศเพราะเป็นน้ำมัน ไม่ละลายในน้ำ ใช้งานได้นาน และไม่มีพิษ ข้อด้อยคือติดไฟได้ และหลอมเมื่อได้รับความร้อน ปัจจุบันมีผู้ผลิตดินน้ำมันประเภทนี้มากมาย ชื่อที่เป็นที่รู้จัก เช่น Plasticine และ Plastilin
Plasticine เป็นชื่อทางการค้า ผลิตจากแร่ดิน เกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต อะลูมิเนียมซิลิเคด (aluminum silicate) ปิโตรเลียมเจลลีหรือวาสลิน (petroleum jelly) long chain aliphatic acid เช่น กรดสเตียริก (stearic acid) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide) น้ำมันพืช (vegetable oils) สารกันเสีย (preservatives) และ เทอร์เพนทีน (turpentine) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นความลับทางการค้า
1.2 Polymer modifier clay และ Polymer clay
Polymer modifier clay เป็นดินน้ำมันที่มีแร่ดินเป็นองค์ประกอบหลัก แต่ส่วนผิวมีการพัฒนาทางเคมีด้วยสารพอลิเมอร์ ส่วน Polymer clay เป็นดินน้ำมันที่ทำจากสารพอลิเมอร์ เช่น พอลิไวนิวคลอไรด์ (polyvinyl chloride) มิได้มีส่วนผสมของดินแร่ ที่มีลักษณะแข็งเมื่ออุณหภูมิต่ำ เมื่อแข็งแล้วไม่สามารถปั้นแต่งได้อีก
2. Play-dough
Play-dough หรือแปังโด (dough) หรือแป้งปั้น ผลิตจากแป้ง (flour) ที่นิยมใช้มากคือ อะไมโลส (amylose) หรือแป้งสาลี (wheat) น้ำ และ เกลือ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลชีพ บางบริษัทเติมสารหล่อลื่น เช่น ปิโตรเลียม เพิ่มสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สารกันเสีย (preservative) เช่น บอแรกซ์ ป้องกันการเจริญของเชื้อ สารแต่งกลิ่น สารแต่งสี สารให้ความชื้น สารลดแรงตึงผิว (surfactant) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นความลับทางการค้า ชื่อการค้าที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้ทับชื่อภาษาอังกฤษคือ Play-doh มีข้อด้อยคือมีอายุการใช้งานสั้น เพราะเมื่อเล่นไปนานๆ และสัมผัสอากาศ จะแห้งและแข็ง ไม่สามารถปั้นได้อีก ปัจจุบันแป้งปั้นเข้ามาแทนที่ดินน้ำมันประเภท modeling clay มากขึ้น อะไมโลสเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้แป้งโดเหนียวและปั้นเป็นรูปได้ดี แต่หากมีน้ำและอยู่ในสภาพเย็นจะเกิด retrogradation ทำให้แป้งแข็ง ดังนั้น แป้งโดต้องใส่สารที่เรียกว่า retrogradation inhibitor เช่น อะไมโลเพกติน (amylopectin) หรือ waxy starch อื่นๆ ลงไปด้วย
ปัจจุบัน
มีเว็บไซด์ที่แนะนำวิธีการทำดินน้ำมันอย่างง่าย เช่น
ถ้าต้องการทำดินน้ำมันประเภท Oil-based clay ให้ใช้ดินแห้งแบบผง น้ำมัน
(oil) น้ำมันเครื่องหรือจารบี (automotive grease) และ ขึ้ผึ้ง (wax หรือ
beewax) หรือใช้ดินสอพอง น้ำมันเครื่องเบอร์ 50 พาราฟินแข็ง และ
สีผงชนิดสีน้ำมัน โดยเริ่มหลอมพาราฟินก่อนและผสมน้ำมันเครื่องให้เข้ากัน
จากนั้นเทลงในดินสอพองที่บดผสมกับสีแล้ว และนวดให้เข้ากัน
ทิ้งไว้หนึ่งคืนและนวดต่อจนกระทั่งได้ดินน้ำมัน
ความเหนียวขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมันเครื่อง
สำหรับ แป้งโด มีเว็บไซด์ของประเทศไทยแนะนำการเตรียมขึ้นใช้เองมากมาย ซึ่งส่วนผสมหลักได้แก่ แป้ง เช่น แป้งสาลี หรือแป้งอเนกประสงค์ น้ำ เกลือ ครีมออฟทาร์ทาร์ น้ำมันพืช สารแต่งสีและกลิ่น ข้อดีของแป้งที่ทำเองนี้คือ การใช้สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กเพราะใช้ส่วนผสมที่รับประทานได้ ข้อด้อยคือเล่นได้ไม่นาน เพราะแข็ง และมีกลิ่นหืนของแป้ง และอาจเกิดเชื้อราขึ้น ผู้ใหญ่ต้องคอยสังเกตลักษณะที่เปลี่ยนไป ข้อแนะนำคือต้องเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและเก็บในตู้เย็น
ดิน
น้ำมันอื่นๆ เช่น ดินญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนผสมของกาว ซึ่งอาจผลิตขึ้นเองจาก
แป้งข้าวเจ้า น้ำ และสารกันเสีย
นำกาวที่ได้มาผสมกับแป้งอเนกประสงค์หรือแป้งสาลี ทัลคัม (talcum)
และน้ำมันพืช นวดเป็นเนื้อดียวกัน และเติมทิชชูที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ
นวดให้เข้ากัน แต่งสี แต่งกลิ่น จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน
ใช้เล่นได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ห้ามแช่ตู้เย็น
ข้อควรระวังในการเล่นดินน้ำมัน
ดิน น้ำมันรับประทานไม่ได้
หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบที่สามารถรับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้
เด็กกลืนเข้าไป เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ
จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ
ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก
เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่าง
ถูกต้อง
อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นคือการเกิดอาการแพ้องค์ประกอบต่างๆ
ในดินน้ำมันและแป้งปั้น
อาการภูมิแพ้
ดิน น้ำมันรับประทานไม่ได้ หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบ ที่สามารถรับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้ เด็กกลืนเข้าไป เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่าง ถูกต้อง อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นคือการเกิดอาการแพ้องค์ประกอบต่างๆ ในดินน้ำมันและแป้งปั้นโรคที่พบบ่อยและมีรายงานจากการเล่นดินน้ำมันคืออาการ ภูมิแพ้ (allergy) โดยเฉพาะ การระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่สัมผัส (skin irritations) หรือ contact dermatitis สารในดินน้ำมันที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น น้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันที่ผลิตจากถั่ว (peanut oils) สารกันเสีย น้ำมันเครื่อง
มี รายงานการเกิดอาการแพ้ในเด็ก ที่เล่นแป้งปั้นที่มีประวัติแพ้สารในธัญญาพืช (wheat) ต่างๆ เมื่อสัมผัสแป้งปั้นที่ทำจากแป้งสาลีประมาณหนึ่งชั่วโมง จะเกิดการระคายเคืองผิวหนัง คัน เกิดอาการบวมแดงที่ผิวหนังและหนังตา โดยส่วนใหญ่การแพ้เกิดจากการแพ้โปรตีนในแป้ง คือ กลูเทน (glutens) พบว่าส่วนเว็บไซด์ของบริษัทที่ผลิต Play-dohä ระบุว่า “ Children who are allergic to wheat gluten may have an allergy reaction to this products” หรืออาจเกิดการแพ้ในเด็กที่มีประวัติแพ้สารกลูเทน ทั้งนี้ไม่พบข้อความเหล่านี้บนฉลากของผลิตภัณฑ์
สารกลุ่มละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง พาราฟิน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
ความเป็นพิษ
ดิน
ธรรมชาติมีการปนเปื้อนของโลหะหนักตามธรรมชาติอยู่แล้ว
แต่ไม่พบรายงานที่ก่อให้เกิดอันตราย ดินน้ำมันประเภทพอลิเมอร์อาจใส่สาร
plasticizer เช่น สารกลุ่มพธาเลต เช่น di-(ethylhexyl) phthalate (DEHP)
ที่มีรายงานว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลองเมื่อให้ในปริมาณสูง
ขึ้ผึ้งประเภท chlorinated synthetic waxes มีความเป็นพิษต่อผิวหนังสูง และสามารถซึมเข้าไปในผิวหนังทำให้เกิดสิวได้ (chloracne)
ข้อแนะนำในการเล่นดินน้ำมัน
ต้อง ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการเล่น วิธีเล่นที่ปลอดภัยคือการสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัส แต่อาจทำให้ความสนุกเพลินเพลินลดลงที่มา http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/living-room/modeling-clay.html