เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Time) คือ เวลาที่ไม่ได้ทำอะไรและไม่เกิดผลผลิตใดๆในการดำเนินการผลิต โดยทั่วไปการผลิตหรือการทำงานมักจะเกิดการรบกวนทำให้เวลาทำงานสำหรับผลิตต่อหน่วยผลิตภัณฑ์สูงขึ้น เวลาที่มากขึ้นนี้เรียกว่า เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการเกิดการรบกวนการทำงานใดๆ ทำให้งานผลิตหรือการทำงานต้องหยุดชะงักลง ชั่วคราวโดยปราศจากการผลิตหรือผลงาน เวลาที่เสียไปดังกล่าวจึงเป็นเวลาสูญเปล่า ทำให้อัตราผลผลิตลดลง
ความสูญเสียขององค์กรจากเวลาที่ใช้ประสิทธิภาพการเกิดเวลาที่ไร้ประสทธิภาพขึ้นในองค์กร จะนำมาซึ่งการผลิตและการดำเนินงานที่ ล่าช้าไม่ทันเวลา นำมาซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น จนอาจทำให้องค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที จนอาจทำให้องค์กรขาดความสามารถในการแข่งขัน และประสบความล้มเหลวได้ในอนาคต ความสามารถในการบริหารการขจัดเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพในองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรให้
รูปแบบของเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเราแบ่งเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพออกเป็นสองลักษณะ คือ เวลาที่เสียไปเนื่องจากการรบกวนจากแหล่งนอกที่เหนืออำนาจการควบคุมของผู้ควบคุมในองค์กร เช่น ไฟฟ้าดับ น้ำท่วม ฯลฯ อีกลักษณะหนึ่ง คือ เวลาที่เสียไปอันอยู่ภายใต้การควบคุมได้ ซึ่งสามารถจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเนื่องจากความบกพร่องของฝ่ายจัดการ เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ
นี้ มีผลจากการที่แรงงานหรือเครื่องจักรหยุดงานโดยเหตุเพราะฝ่ายจัดการไม่มีการวางแผนงานที่ดี ขาดการอำนวยการประสานงาน และการควบคุมงานอย่างไร้สมรรถภาพ
จากนโยบายทางการตลาด ทำให้โรงงานต้องผลิตสินค้ามากชนิดเกินไป เครื่องจักรเกิดการหยุดชะงักขณะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการผลิตสำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน
การขาดการวางแผนการจัดลำดับของงาน มีผลให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง เกิดบกพร่องในการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ ทำให้เกิด การรอ การหยุดชะงัก เพราะความขาดแคลน บกพร่องในการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต ทำให้ต้องมีการหยุดงานเพราะเครื่องจักรชำรุด หรือทำให้เกิดผลผลิตเสียมาก มีผลให้ต้องเสียเวลาทำใหม่ การขาดการจัดสภาพการทำงานที่ดี ทำให้แรงงานไม่สามารถทำงานได้โดยสม่ำเสมอ
2. เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพภายใต้การควบคุมของแรงงาน เวลาที่ไร้ประสิทธิภาพนี้เป็นผลจากฝ่ายแรงงานเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น อุปนิสัยที่ไม่ดีของคนงาน เช่น การขาด ลา มาสาย ความเกียจคร้านในการทำงาน การแกล้งถ่วงงาน หรือหลบงาน คนงานทำงานโดยไม่ระมัดระวัง ทำให้งานเสียหาย
คนงานไม่รักษากฎเกณฑ์ การรักษาความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยประมาท
แบบนี้…ต้องแก้ที่ระบบจัดการ
โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง มีเครื่องจักรที่เป็นเครื่องปั๊มโลหะสภาพที่มีปัญหา ขาดแผนงานที่ดี ทำให้เกิดการรอแม่พิมพ์ รอช่างเครื่อง รอรถยก ล้วนเป็นอาการรอทั้งสิ้น โรงงานแห่งนี้พบว่ามีการเดินไปเดินมาของพนักงาน โดยแยกไม่ออกว่าเป็นพนักงานขนย้ายหรือพนักงานประจำเครื่อง ทำให้เกิดกรณีไร้ประสิทธิภาพของพนักงาน
ทางแก้ปัญหาของโรงงานนี้ก็คือ ให้โรงงานเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการใหม่ มีการทำ
แผนงานล่วงหน้า เพื่อจัดตารางเวลาให้ต่อเนื่องกัน ไม่ซ้อนทับกันหรือเหลื่อมกันมากนัก อีกทั้ง
โรงงานยังควรเปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าที่ใช้ เช่น ให้พนักงานขนย้ายสวมชุดสีส้มสะดุดตา ถ้าภายใน
โรงงานมีการขนย้ายก็จะพบพนักงานเสื้อสีส้มเดินไปเดินมา เป็นผลทำให้พนักงานประจำเครื่อง
หรือช่างเครื่องที่ใส่เสื้อสีเทาไม่กล้าเดินไปเดินมาเพราะสะดุดตา เช่นกัน ผลก็คือ ทำให้ลดเวลาที่
ไร้ประสิทธิภาพของพนักงาน เพิ่มจิตสำนึกในการทำงานตามหน้าที่ เพราะถ้าพนักงานขนย้ายหยุด
กับที่ก็แสดงว่าการทำงานไร้ประสิทธิภาพ เช่นกัน
ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพิ่มผลผลิตทำได้ง่าย…ไม่ยากเลยการค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเพื่อจะได้พยายามขจัดทิ้งไป ผลที่ตามมาคือ การเพิ่ม ผลผลิต เพราะได้ขจัดความสูญเสียทิ้งไป การค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นเรื่องง่าย คือ พิจารณาเวลาประเภท “รอ” “หยุด” “หลบ” “หลีก” “เลี่ยง” โดยเฉพาะการ “รอ” และการ “หยุด” เราสังเกตได้ไม่ยาก ส่วนการค้นหาการ “หลบ” “หลีก” “เลี่ยง” อาจจะยุ่งยากกว่า อย่างไรก็ตามการค้นหาเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพ จะทำให้เราลดเวลาที่ไม่ได้ทำงาน ถ้าเราลดได้และใช้เวลาที่ลดได้ให้เกิดผลผลิต เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมได้อย่าง แน่นอน
ที่มา
http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/11812010014667b26903f9b.pdf