
แคลเซียมเม็ดดังกล่าวทำมาจากอะไร แล้วใครอยู่ในข่ายที่ต้องกินบ้าง
เห็นสุภาพสตรีหลายคนที่อายุมากแล้ว หันมากินแคลเซียมเม็ดกัน ก็เลยทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เพื่อให้หายข้องใจ ผู้เขียนจึงมาพูดคุยกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
นพ.กฤษดา อธิบายว่า แคลเซียมเม็ด ทำมาจากหินปูนชนิดกินได้ นั่นก็คือ แคลเซียมคาร์บอเนต โดยแคลเซียมเม็ดนี้มักมีสิ่งที่นิยมใส่ร่วมด้วย คือ บางชนิดทำจากแคลเซียมร่วมกับกรด เช่น แคลเซียม ซิเตรท ซึ่งจะดูดซึมได้ดีกว่าชนิดหินปูนคาร์บอเนต หรือใส่วิตามินซีกับวิตามินดีร่วมไปด้วย โดยเฉพาะแบบเม็ดฟู่ แต่ต้องระวังในคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนแคลเซียมแบบที่ควรระวัง คือ แคลเซียมเม็ดราคาถูกมาก เพราะอาจทำมาจากกระดูกวัวควายป่น ซึ่งอาจได้ของแถมเป็นสารตะกั่ว ปรอทและโลหะหนักอื่น หรือทำมาจากหินปูนจากภูเขา ซึ่งร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ อาจสะสมให้เกิดนิ่ว หรือกินเข้าไปเป็นเม็ดก็ยังถ่ายออกมาเป็นเม็ดได้เหมือนเดิม
มีงานวิจัยชี้ว่า แคลเซียมจากอาหารสดจะช่วยลดการเกิดนิ่วในไตได้ แต่ถ้าเป็นแคลเซียมเสริมกินมากไปควรระวังการจับตัวเป็นนิ่วในไตได้
เคล็ดลับสำคัญในการกินแคลเซียมมีดังนี้


ผู้ที่ควรกินแคลเซียม คือ




ส่วนคนที่ไม่ควรกิน คือ



สำหรับการกินแคลเซียมต่อวัน แบ่งตามวัยเป็น 3 ช่วง ดังนี้



ถ้ากะประมาณก็กินราว 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ต้องกังวลว่าจะขาดจนเกินไป เพราะลำพังเรากินอาหารถ้าได้ปริมาณที่เหมาะสมดังที่บอก ก็จะเพียงพอมากแล้ว หรือถ้าท่านกินแคลเซียมเม็ดอยู่แล้วกลัวว่าจะได้เกินไป ก็ขอให้กินแคลเซียมเม็ดเพิ่มอีกเพียงเม็ดหรือครึ่งเม็ดก็พอ
สำหรับอาหารที่มีแคลเซียมเยอะ หากคนที่ไม่มีเงินพอซื้อแคลเซียมเม็ดกิน เช่น แกงคั่วหอยขม ปลาร้าสับ กุ้งจ่อม อึ่งแห้ง เขียดย่าง หมกปลาแก้ว แจ่วปลาร้า และกุ้งชุบแป้งทอด โดยพบว่า ปลาร้าสับ กุ้งจ่อม หมกเคย กุ้งฝอยชุบแป้งทอด จะมีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 393.6-915.3 มก. ต่อ 100 กรัม เรียกว่ากินแค่ 1 ขีดก็ได้แคลเซียมพอ ๆ กับกินแคลเซียมเสริม 1 เม็ดเลยทีเดียว
วัตถุดิบอาหารแคลเซียม ที่เลือกกินง่ายแบบไทย ๆ นอกจากที่เราเคยรู้มีดังนี้





อย่างไรก็ตาม การกินแคลเซียมอย่างเดียวอาจทำให้ท้องผูกได้ เคล็ดลับ คือ ต้องกินร่วมกับแมกนีเซียม ซึ่งได้จากผักและผลไม้ จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้แคลเซียมเม็ดมักเติมแมกนีเซียมไปด้วย
ที่มา http://health.kapook.com/view5162.html