วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

ตราสารหนี้/พันธบัตร/หุ้นกู้





ตราสารหนี้  เป็นเครื่องมือทางการเงิน ระหว่าง "ผู้ออกตราสารหนี้" และ "ผู้ถือตราสารหนี้" โดยแต่ละฝ่ายมีลักษณะ และ หน้าที่ดังนี้



ผู้ออกตราสารหนี้  เป็นผู้ต้องการใช้เงินจึงออกตราสารหนี้เพื่อระบุว่าตนเองจะมีสถานะเป็นลูกหนี้
มีหน้าที่ กำหนดอายุตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ย และวิธีการจ่ายดอกเบี้ยว่าจะจ่ายอย่างไร จ่ายปีละกี่ครั้ง

ผู้ถือตราสารหนี้  เป็นผู้เงินส่วนเกินความต้องการ ต้องการลงทุน จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้  ได้รับผลตอบแทนจากตราสารหนี้เป็นดอกเบี้ยตามที่ผู้ออกตราสารกำหนดไว้


แล้วพันธบัตร/หุ้นกู้ ละ? 
เป็นชื่อของตราสารหนี้แบ่งตามผู้ที่ออกตราสารหนี้ถ้าเป็นรัฐบาล ก็จะใช้คำว่า "พันธบัตร"
ถ้าเป็นบริษัทเอกชน ก็จะใช้คำว่า "หุ้นกู้" ในภาษาอังกฤษจะเรียกรวมๆว่า bond และแบ่งเป็น government bond, corporate bond


ผลตอบแทนของพันธบัตร/หุ้นกู้
พันธบัตร ออกโดย รัฐ จึงมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระดอกเบี้ย หรือ เงินต้นน้อยกว่า ดังนั้นดอกเบี้ยที่ได้มักจะน้อยกว่าหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน

แต่หุ้นกู้เอกชนก็มีผลตอบแทนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับผู้ออกตราสารหนี้ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าความน่าเชื่อถือสูง ดอกเบี้ยก็จะน้อย ซึ่งจะมีบริษัทจัดอันดับเช่น FITCH RATING

โดยอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจ และ อัตราดอกเบี้ย ณ ขณะนั้นๆด้วย

การลงทุนในตราสารหนี้
เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย ต้องการรักษาเงินต้นให้อยู่ครบ วิธีการลงทุน สำหรับนักลงทุนทั่วไปมี 2 วิธีคือ
1. ซื้อโดยตรงกับผู้จัดจำหน่าย ตามธนาคารหรือสถาบันการเงิน
ผู้ลงทุนต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดว่าจะขายในช่วงเวลาใด ใครเป็นผู้จำหน่าย

2.ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
เหมือนกับการลงทุนในกองทุนทั่วไป โดยผู้ลงทุนต้องดูว่ากองทุนที่จะลงทุนมีนโยบายอย่างไร บางกองฯ เน้นลองพันธบัตร บางกองเน้นลงหุ้นกู้ เลือกให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง
ตัวอย่างกองทุนตราสารหนี้ธนาคารต่างๆ (ผลตอบแทนประมาณ 2-3%)
กสิกร ได้แก่ k-treasury, k-money
กรุงเทพ ได้แก่ ธนทวี
ไทยพาณิชย์ ได้แก่ scbsff, scbtmf 
ซึ่งกองทุนพวกนี้เป็นกองทุนเปิดไม่กำหนดอายุ ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายได้ทุกวัน โดยหากขายจะได้รับเงินในวันทำการถัดไป ผลตอบแทนเป็นไปตามภาวะตลาดในขณะนั้นๆ

นอกจากนี้ยังมีกองทุนตราสารหนี้ที่เปิดขายทุกอาทิตย์ และกำหนดอัตราผลตอบแทน(ดอกเบี้ย)ที่ได้รับแบบที่แน่นอน ซึ่งติดตามได้ผ่านเว็บของกองทุน


ที่มา http://www.thaifundnews.com/2013/04/blog-post.html