วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

6 ยากินประจำ ที่ทำให้เราอาจต้องเดิมพันชีวิต


ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช

"กินยามาก บางทีก็ไม่ดีนะ..."
"กินยาประเภทนี้ไปนานๆ อันตรายนะ..."

หลายคนอาจเคยได้ยิน หรือแม้แต่เป็นผู้พูดประโยคนี้เตือนใครต่อใครเองมาแล้ว แต่ยาอะไรที่อันตราย?
แล้วมันจริงเท็จแค่ไหน?? วันนี้เราลองมาเช็คตนเองดูดีมั้ยว่ายาที่ใช้ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง
ที่เราอาจต้องเดิมพันชีวิตกันเลยทีเดียว!!

ยาลดไขมัน
ยาชนิดนี้ทำให้ ปวดตัว ปวดตามกล้ามเนื้อ ยิ่งใช้นานยิ่งทำให้สุขภาพแย่และเกิดอาการแก่ลงเร็ว
ความจำก็เปลี่ยนไปเป็นผลจากยาลดไขมัน ท่านที่ใช้นานๆ ตับก็จะเสื่อม ขอให้คอยเจาะเลือดตรวจตับไว้ด้วยนะ

ยาละลายลิ่มเลือด
ยานี้หลายท่านกินแล้วสบายใจว่าไม่เกิดลิ่มเลือดอุด แต่สิ่งที่ต้องรู้ให้สุดคือมันทำให้ ตกเลือดในท้องได้จนตายอันตรายจากยาละลายลิ่มเลือดกินตลอดชีวิตยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมาก

ยาแก้ปวด
อาการปวดไม่ได้ตอบโจทย์ด้วย ยาแก้ปวด เสมอไป
การได้ยาแก้ปวดกินตลอดชีวิตมีสิทธิ์ทำให้ท่านได้กิจกรรม ล้างไต ในปัจฉิมวัยแถมได้

ยาแก้แพ้
ยากลุ่มนี้ไม่สามารถรักษาภูมิแพ้ เพราะภูมิแพ้ รักษาไม่ได้ ดังนั้น ท่านก็ตอบได้ว่ายาภูมิแพ้ที่กินนั้น
เพื่อบรรเทาอาการ แต่ประเด็นอยู่ที่ถ้าไม่ได้รักษาได้แล้วทำไมถึงต้องกินนาน
อันตรายสำคัญที่ยิ่งกว่าอะไรคือรักษาภูมิแพ้แบบผิดวิธีนี่ละ

ยาแก้มึนศีรษะ
ท่านที่มีอาการมึนศีรษะบ้านหมุนอยู่เป็นประจำ อย่าเพิ่งปักใจว่าเป็น น้ำในหูไม่เท่ากัน
ปัญหาของการแก้มึนศีรษะคือยังหา ต้นเหตุ ไม่เจอแต่ให้ยาแก้มึน ไปก่อน ไม่ว่าจะยาแก้วิงเวียน
ยาเพิ่มเลือดไหลเวียนในสมอง ให้ซ้ำๆ กันจ่ายซ้อนกันเข้าไป ยิ่งกินก็ยิ่งมึนหนักไม่หายเสียที

ยาฆ่าเชื้อ
การได้รับยาฆ่าเชื้ออยู่ทุกครั้งที่เจ็บป่วย ช่วยให้คุณหมอสบายใจขึ้น
แต่ผลของยาฆ่าเชื้อมีมากกว่าฆ่าเชื้อ เช่น ท้องเสีย เชื้อดื้อยา
และขั้นกว่าคืออาการแพ้รุนแรงได้ คนไข้ที่ได้ยาฆ่าเชื้อในปัจจุบันถ้าเทียบกันเมื่อ 100 ปีก่อน
ยาฆ่าเชื้อสมัยนี้เหมือนระเบิดนิวเคลียร์เทียบกับประทัดเลย


เมื่อคนพึ่งหมอ พึ่งยามากขึ้นความเบ่งบานทางเศรษฐกิจพิชิตโรคก็เกิดขึ้น
จากกลยุทธ์โฆษณาชวนเชื่อที่เหนือเมฆในด้านการแพทย์
การเสนอตรวจสุขภาพฟรีให้องค์กรต่างๆ การทายอินเข้าไปในรายการทีวี
การรักษาให้กับนักกีฬาสมาคมต่างๆ ฟรี ขอแค่มีโลโก้ใหญ่ใส่ไว้ในจอให้คนดูติดตา
โฆษณาที่จ้างครีเอทีฟใหญ่ซื้อแอร์ไทม์จากช่องแพงๆ นั้นมีตัววัดอยู่ที่ ยอดขาย ที่จะพุ่งขึ้นคุ้มหรือไม่
ความแรงของโฆษณาที่กระทบต่อตาและสมองของผู้ชมจนดึงคนเข้าไปใช้บริการได้นี่เรียกว่า
อิมแพ็ค (ไม่ใช่เมืองทองธานี) แต่ในที่นี้คือผลกระทบในวงกว้างของการใช้สื่อ
คนที่ไม่เข้าใจและหวั่นไหวง่ายก็จะถูกดึงเข้าไปง่าย
ตามโฆษณาว่า เจ็บหน้าอกใจสั่นหน่อยต้องไปศูนย์หัวใจที่โรงพยาบาลนี้
มีแผลเบาหวานที่เท้าก็ต้องเข้าไปศูนย์แผลเบาหวานเอกชนก่อน
ทั้งที่ปัญหาการถูกตัดขากับไม่ตัดขาก็ไม่ต่างกับโรงพยาบาลทั่วไปในปัจจุบัน
นั่นก็คือ อิทธิฤทธิ์ของโฆษณาที่เปลี่ยนชีวิตของเราได้

ฉะนั้นบำบัดร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยการออกกำลังกาย
และซ่อมแซมร่างกายด้วยการเลือกอาหารที่มีคุณค่า ย่อมดีกว่า เอะอะกินยาๆ นะฮ้าฟฟฟ

ที่มา http://health.spokedark.tv/2013/12/04/hard-drug/#.UsjHpvTAA6w