skip to main
|
skip to sidebar
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
อิ๊คคิวซัง แค่การ์ตูนหรือตำนานที่มีอยู่จริง ?
พักนี้สงสัยอะไรบ่อยแฮะ พอดู อิคคิวซัง ก็สงสัยอีก ฮ่าๆๆ
อิ๊คคิวซัง แค่การ์ตูนหรือตำนานที่มีอยู่จริง ?
หนึ่งใน 'การ์ตูนญี่ปุ่น' ที่ติดมานาน ย่อมมี 'อิ๊คคิวซัง' อยู่ด้วย
ชอบทั้ง 'อิ๊คคิวซัง.....จนถึง 'จะรีบไปไหนๆ..' รวมทั้งชอบ 'ปุจฉา' กับ 'วิสชันา' ที่ 'สอน' อะไรเรามากมาย อิ๊กคิวซัง' Ikkyu-san มีตัวตนจริงๆค่ะ
ท่านมีชื่อในวัยเด็กว่า 'เซนงิกามารุ' เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1349 (พ.ศ.1892) เมืองซะกะโน ใกล้เมืองเกียวโต
'อิ๊คคิวซัง' มีพ่อเป็นจักรพรรดิฝ่ายเหนือ ส่วนมารดา ที่การ์ตูนเรียก 'ท่านแม่' ของเณรน้อย เป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ฝ่ายใต้ และถูกขับจากวังตั้งแต่อิ๊กคิวซังยังไม่คลอด
สาเหตุที่ 'ท่านแม่' ที่เป็นเจ้าหญิงถูกขับออกจากวัง เพราะถูกฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายป้ายสี 'ท่านแม่'ทรงให้'อิ๊กคิวซัง'บวชที่วัดอังโกะกุจิ เมื่ออายุ 6 ขวบ เพื่อหนีภัยการเมือง
วัดอังโกะกุจิ
ซึ่งเณรน้อยได้ฉายาตอนนั้นว่า 'ชูเคน'
เมื่อบวชเป็นเณร อิ๊คคิววังตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม และฉายแวว 'คนเจ้าปัญญา' มากขึ้นตามอายุ
เมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของพระภิกษุนิกาย หนึ่ง ที่มีพฤติกรรมกอบโกยทรัพย์สิน หลงไหลยศฐาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน
กระทั่งอายุได้ 13 ปี 'อิ๊คคิวซัง' จึงมีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ในยุคนั้น คือ 'อาซิคะงะโยชิมิสึ'
เป็นแม่ทัพคนเดียวกับที่ปรากฎในการ์ตูนคือ'ท่านโชกุน'นั่นเอง
เมื่ออายุได้ 17 ปี 'อิ๊กคิวซัง' ออกจากวัดอังโกะกุจิแล้วไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ 'หลวงพ่อเคนโอ' ที่วัดไซกอนจิ พร้อมได้ฉายา 'โชจุน'
ที่วัดแห่งนี้ หลวงพ่อเคนโอ เน้นการปฏิบัติธรรม โดยพระและเณรในวัด ต้องทำงานหนัก และอยู่กับสิ่งสกปรกเสียส่วนใหญ่
เมื่อหลวงพ่อเคนโอมรณภาพ
'อิ๊กคิวซัง' จึงเดินทางไปวัดอิชิยามา และปฏิบัติธรรมด้วยการอดอาหาร 7 วัน 7 คืน พร้อมสวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์
มีเรื่องเล่ากันว่า การมรณภาพของหลวงพ่อเคนโอ ทำให้อิ๊คคิวซังเสียใจมาก ถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย
'อิ๊คคิวซัง' ตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการเดินลงไปในแม่น้ำเซตะ พร้อมตั้งจิตอธิษฐานจิตว่า
'ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ'
ระหว่างที่ดำดิ่งลงในท้องน้ำ 'อิ๊กคิวซัง' พลันนึกถึงใบหน้า 'ท่านแม่' และรำลึกถึงคำสอนของท่านขึ้นมา
คำสอนนั้นคือ 'เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ'
'อิ๊กคิวซัง' จึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง
เมื่อท่านอายุได้ 23 ปี 'อิ๊คคิวซัง' จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคะโซ แห่งวัดโคอัน พร้อมได้ฉายาใหม่เป็น 'พระโซจุน'
หลวงพ่อคะโซ เป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและหนักหน่วง
ดังนั้น เมื่อมาอยู่ที่วัดแห่งนี้ อิ๊กคิวซังจึงต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติธรรมอย่างหนักหน่วง
นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง รวมทั้งออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น
ที่สำคัญคือ อิ๊คคัวซังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ แต่ท่านก็อดทน
ในที่สุด ความเพียรพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมของท่านอิ๊คคิววังก็สำเร็จ
โดยสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้ขณะมีวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น
และ 'พระโชจุน' ก็ได้รับฉายาใหม่ว่า 'อิ๊กคิว โซจุน' ซึ่งหมายความว่า 'รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน
รูปปั้นอิ๊คคิวที่วัด Ikkyuji Temple
ตำนานญี่ปุ่นระบุว่า 'อิ๊กคิวซัง' น่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรมเมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา
เพราะท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ
'เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา'
นี่คือคือแก่นธรรมที่ท่านอิคคิวค้นพบ !!!
ในหนังสือ'ปล่อยวางอย่างเซน' ของคุณ ละเอียด ศิลาน้อย ได้กล่าวถึงการสอนธรรมของท่านอิ๊คคิวซังไว้
โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ท่านนินากาวะจะจากไป (ตาย) ซึ่ง 'อิ๊กคิวซัง' ได้แวะมาเยี่ยมแล้วถาม 'จะให้ผมนำทางให้ไหม?'
นินากาวะตอบ 'ฉันมาที่นี่แต่เพียงลำพังคนเดียว และฉันก็จะไปคนเดียว คุณจะช่วยอะไรฉันได้?'
อิ๊กคิวซังจึงตอบกลับไปว่า 'ถ้าคุณคิดว่าคุณมาและไปจริงๆ แล้วนั่นเป็นโมหะ (ความหลงผิด) ของท่านละ ขอให้ผมได้แสดงทางซึ่งไม่มีการมาและไม่มีการไปให้ท่านดูสักหน่อยเถิด'
ด้วยคำพูดเพียงเท่านี้ 'อิ๊กคิวซัง' ก็ได้ช่วยเปิดเผยเส้นทาง (แห่งธรรม) ให้แก่นินากาวะ ทำให้นินากาวะยิ้มแล้วจากไปอย่างสงบ
ความเรื่อง 'อิ๊กคิวซัง' บรรลุแก่นธรรมทราบถึง 'หลวงพ่อคะโซ' ทำให้ท่านประสงค์จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอด
แต่'อิ๊กคิวซัง'ปฏิเสธ !!!
ท่านให้เหตุผลว่า 'ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ'
ท่านจึงออกธุดงค์
กระทั่งอายุ 34 ปี 'อิ๊กคิวซัง' จึงมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ
และเป็นช่วงที่ท่านถูกกล่าวถึง และเป็นที่ขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน
เพราะท่านไม่พอใจกับการ 'ยึดติด' ของบรรดาพระทุกรูป
ครั้งหนึ่ง 'อิ๊กคิวซัง' ไปร่วมงานครอบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมมสกปรก จีวรหลุดลุ่ย และด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีล
เนื่องเพราะมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนา
แต่เบื้องหลังกลับลักลอบให้แม่เล้านำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิ
ท่านด่าทอพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูป ที่หลอกชาวบ้านว่าจะสามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ รวมทั้งทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติ ทั้งดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์ ไม่โกนผมและไว้หนวดเครา รวมถึงเดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผย
โดยส่วนตัว 'อิ๊กคิวซัง' ก็คบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผยสุภาพและให้เกียรติ
ท่านเคยแบ่งส้มจากบาตรให้โสเภณีอดอยากทาน
เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณีที่ป่วยหนักแม้ว่าจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา
กระทั่งเมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามในประเทศไปอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ
ท่านได้พบกับ 'โมริ' ศิลปินขอทานตาบอด และท่านได้รับนางเป็นภรรยา
ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว 'โมริ' ก็หนีไปเพราะเกิดความอับอายและเกรงว่าตนจะทำให้ท่านอิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียง
แต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิวอีกหน เพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงคราม
เมื่อ อายุได้ 85 ปี จักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้ 'อิ๊กคิวซัง' เป็นเจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิ ซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่ง
แต่ท่านรับตำแหน่งเพียงแค่วันเดียวก็ลาออก และกลับไปอยู่วัดเมียวโชจิ ที่ท่านสร้าง
'อิ๊คคิวซัง' มรณภาพหลังจากกลับมาอยู่วัดเมียวโชจิได้เพียง 2 ปี
โดยท่านป่วยเป็นมาลาเรีย และละสังขารในท่านั่งสมาธิในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาของท่าน
ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481(พ.ศ.2024)
'อิ๊คคิวซัง' มรณภาพเมื่ออายุ 88 ปี
ภาพวาดท่านอิคคิวซัง
ที่มา
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thukky-kung&month=17-03-2009&group=4&gblog=1
http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=12913
ยุคมุโระมะจิ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B4
โชกุน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%99
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
คลังบทความของบล็อก
►
2015
(3)
►
กรกฎาคม
(2)
►
มิถุนายน
(1)
►
2014
(17)
►
มิถุนายน
(3)
►
พฤษภาคม
(4)
►
เมษายน
(4)
►
มีนาคม
(2)
►
กุมภาพันธ์
(1)
►
มกราคม
(3)
►
2013
(49)
►
ธันวาคม
(1)
►
พฤศจิกายน
(4)
►
ตุลาคม
(1)
►
กันยายน
(1)
►
สิงหาคม
(7)
►
กรกฎาคม
(7)
►
มิถุนายน
(6)
►
พฤษภาคม
(2)
►
เมษายน
(5)
►
มีนาคม
(5)
►
กุมภาพันธ์
(5)
►
มกราคม
(5)
►
2012
(79)
►
ธันวาคม
(4)
►
พฤศจิกายน
(1)
►
ตุลาคม
(11)
►
กันยายน
(5)
►
สิงหาคม
(6)
►
กรกฎาคม
(4)
►
มิถุนายน
(9)
►
พฤษภาคม
(7)
►
เมษายน
(6)
►
มีนาคม
(3)
►
กุมภาพันธ์
(10)
►
มกราคม
(13)
►
2011
(123)
►
ธันวาคม
(6)
►
พฤศจิกายน
(7)
►
ตุลาคม
(21)
►
กันยายน
(15)
►
สิงหาคม
(18)
►
กรกฎาคม
(14)
►
มิถุนายน
(12)
►
พฤษภาคม
(8)
►
เมษายน
(2)
►
มีนาคม
(7)
►
กุมภาพันธ์
(5)
►
มกราคม
(8)
►
2010
(109)
►
ธันวาคม
(11)
►
พฤศจิกายน
(3)
►
ตุลาคม
(9)
►
กันยายน
(15)
►
สิงหาคม
(14)
►
กรกฎาคม
(6)
►
มิถุนายน
(7)
►
พฤษภาคม
(17)
►
เมษายน
(11)
►
มีนาคม
(6)
►
กุมภาพันธ์
(4)
►
มกราคม
(6)
▼
2009
(87)
►
ธันวาคม
(1)
►
พฤศจิกายน
(7)
►
ตุลาคม
(5)
►
กันยายน
(6)
►
สิงหาคม
(8)
▼
กรกฎาคม
(10)
การใช้ Secure Shell ในการเข้าถึงระบบจากระยะไกล
ทำไม้ต้องแบ่ง Zone DVD ??
Bitrate คืออะไร
LED TV เทคโนโลยีใหม่ของ LCD?
เทคนิคการผ่อนคลายสถานการณ์ความขัดแย้ง
อิ๊คคิวซัง แค่การ์ตูนหรือตำนานที่มีอยู่จริง ?
ผักโขมอบชีส (Spinach with Mozzarella)
Google Chrome OS
การเลือกกระถางให้เหมาะสมกับต้นไม้
Creating a .NET Web Service
►
มิถุนายน
(8)
►
พฤษภาคม
(7)
►
เมษายน
(5)
►
มีนาคม
(26)
►
กุมภาพันธ์
(3)
►
มกราคม
(1)
►
2008
(8)
►
มิถุนายน
(8)