วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

Carbon NanoTube

เกิดจากความสงสัยอีกแล้วครับ

nanotube เป็นชื่อย่อของ carbon nanotube ครับ
แปลตรง ๆ ก็คือท่อที่มีขนาดตั้งแต่ 0.000000001-0.000000010 เมตร ท่อนาโนคาร์บอน มีโครงสร้างอย่างเดียวกับ Graphene (แกรไฟ)

คุณสมบัติที่น่าสนใจนอกจากขนาดที่เล็กมาก ๆ แล้ว ก็คือ
- เป็นสารที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความกว้าง กับความยาว ได้เยอะมากๆ คือสามารถสร้างให้มีความยาวมากกว่าความกว้างได้เป็นพันๆ เท่า ขณะนี้ Rice University ในสหรัฐ ได้ทุนวิจัยจาก NASA มูลค่า $11ล้าน ในโครงการห้าปี เพื่อให้สร้างท่อนาโนคาร์บอนความยาว 1 เมตร ซึ่งจะมีอัตรส่วนของความกว้างต่อความยาว มากกว่า 1 ล้านเท่า (ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นยังไง เพราะขนาด (เส้นผ่านศูนย์กลาง) ของมันเล็กมากจนมองไม่เห็น แต่กลับมีความยาว 1 เมตร)

- สิ่งที่ NASA สนใจเกี่ยวกับท่อนาโนคาร์บอนมากๆ ก็คือ เรื่องน้ำหนัก ต่อความสามารถในการนำไฟฟ้า ท่อนาโนคาร์บอนมีความสามารถในการนำไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ (A/m^2) (คือปริมาณกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านมันไป โดยที่ยังไม่ทำลายมันให้เสียหาย) มากกว่าทองแดง ถึง 1000 เท่า

- ท่อนาโนคาร์บอนสามารถนำความร้อน (ไม่เกี่ยวกับไฟฟ้านะ) ได้ดีมากๆ คือดีกว่าทองแดงเป็นร้อยๆ เท่า

- การนำไฟฟ้าของท่อนาโนคาร์บอนนั้น บางอันก็สามารถนำไฟฟ้าได้ บางอันกลับเป็นฉนวน (อันที่เป็นฉนวนไฟฟ้า จะเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมากๆ) การนำไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับ มุมภายในโครงสร้างของอะตอมคาร์บอนที่มาจับตัวเป็นท่อนาโนคาร์บอน ซึ่ง่ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถควบคุมได้ แน่นอน 100% ในการสร้างท่อนาโนคาร์บอนว่าให้นำไฟฟ้าได้ หรือให้เป็นฉนวนไฟฟ้า

ยังมีคุณสมบัติดีๆ อีกมาก แต่ก็มีบางคุณสมบัติที่ไม่ดีเช่นกัน ไม่ใช้ว่ามันเป็นสิ่งวิเศษที่มีแต่ข้อดีไม่มีข้อด้อย

ข้อด้อย เช่น ความต้านทานสูง ปัญหาในการสร้าง ฯลฯ

cabon nanotube ไม่ได้พบโดยบังเอิญนะคับ

ไอ้ ที่พบโดยบังเอิญ มันคือ bucky ball คือเป็นโครงสร้างของอะตอมคาร์บอน จำนวน 60 อะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1nm พอดี (ว้าว!!!)

ต่อ มาพวกนักวิทยาศาสตร์ ก็พบว่ามันสามารถมีจำนวนอะตอมเป็น 70, 80, .... อะตอมได้ ซึ่งจำนวนอะตอมที่เพิ่มขึ้นมานั้น ทำให้โมเลกุลของ bucky ball ไม่ได้เป็นทรงกลมอีกต่อไป มันจะมีลักษณะเป็นทรงรี (คือทรงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนึงยาวกกว่าอีกด้านนึง)

แล้ว ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ก็ได้สังเคราะห์ท่อนาโนคาร์บอน ได้สำเร็จ แต่ในตอนนั้นยังไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะให้ยาวสั้นแค่ไหน นำไฟฟ้าหรือไม่นำไฟฟ้า

ซี่งก็มีนักวิทยาศาสตร์สามคน (มั่งถ้าจำไม่ผิด) คิดวิธีที่จะควบคุมได้ว่าจะให้ท่อนาโนคาร์บอนที่ถูกสร้างด้วยวิธีนี้ นำไฟฟ้า หรือไม่ ซึ่งพวกเขาทั้งสามก็ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำปีไม่ได้คับ

ป.ล. เค้าพูดๆ กันว่าเหตุผลที่ไม่ให้รางวัลโนเบลแก่ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่สามารถสร้างท่อนาโนคาร์บอนได้เป็นคนแรก ก็เพราะว่า "เขาไม่ใช่คนอเมริกัน"

ที่มา http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2006/02/X4106834/X4106834.html

Samsung เปิดเผยว่ากำลังทำการทดลองเพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตโทรทัศน์ LCD โดยการนำเทคโนโลยี carbon nanotube มาใช้


Samsung Advanced Institute of Technology ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนจาก Samsung บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายยักษ์ของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่าได้กำลังทำการทดลองนำ carbon nanotube มาใช้ในการผลิตหน้าจอแสดงผล LCD โดยมีการพัฒนาต้นแบบจอ LCD ที่จะใช้ท่อ carbon nanotube ทดแทนแหล่งกำเนิดแสงให้หน้าจอ LCD ที่ปรกติจะใช้หลอดไฟ หรือหลอด LED ในการกำเนิดแสง ซึ่งด้วยเทคโนโลยี carbon nanotube จะทำให้จอ LCD มีความละเอียดในการแสดงผลที่สูงมากขึ้น และยังมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำลงด้วย โดยหน้าจอที่ Samsung ได้ทดลองพัฒนาขึ้นมานั้นจะถูกเรียกว่า field-emitter displays หรือ FED ซึ่งนอกจาก Samsung แล้วผู้ผลิตโทรทัศน์ LCD รายอื่นๆเช่น Toshiba และ Canon ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยี surface-conduction electron-emitter display หรือ SED ที่จะใช้ nanotube อยู่ด้วยเช่นกัน โดยน่าจะสามารถนำออกใช้งานจริงได้ในช่วงปลายปีหน้านี้ แต่เทคโนโลยี SED นั้นจำเป็นที่จะต้องตั้งสายการผลิตขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆเพิ่มขึ้น และแข่งขันกับจอ LCD และพลาสม่าในตลาดที่มีราคาลดลงเรื่อยๆทุกวันได้ยากขึ้น โดยนอกจากความละเอียดการแสดงผลที่มากขึ้น และราคาต้นทุนที่ต่ำลงแล้วนั้นเทคโนโลยี carbon nanotube ยังจะช่วยให้จอ LCD สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น รวมถึงมีการทำงานแสดงผลที่รวดเร็วมากขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีทั้งหมดยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยอยู่เท่านั้น

Intel ผู้ผลิตชิพรายใหญ่เปิดเผยว่า กำลังพัฒนาหาวิธีนำ carbon nanotube มาใช้ในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆภายในชิพแทนสายทองแดง

ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=41407.0%3Bwap2

มี การเปิดเผยว่า Intel บริษัทผู้ผลิตชิพรายยักษ์เริ่มพัฒนาวิธีนำ carbon nanotube มาใช้เป็นสายเชื่อมต่อวงจรภายในชิพต่างๆ แทนการใช้วัสดุทองแดง ซึ่งจะช่วยในการพิสูจน์ทฤษฏีคุณสมบัติเกี่ยวกับ carbon nanotube ว่าถูกต้องหรือไม่ด้วย โดยเป็นการร่วมมือระหว่าง Intel และสถานศึกษา California Institute of Technology, Columbia University, University of Illinois at Urbana-Champaign และ Portland State University ซึ่งวัสดุ carbon nanotube อาจจะช่วยลดปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในการออกแบบชิพในปัจจุบันได้ เนื่องจากการลดขนาดในการผลิตชิพนั้น สายเชื่อมต่อภายในมีขนาดที่เล็กลง จะทำให้มีความต้านทานสูงขึ้น จึงเป็นการลดประสิทธิภาพของชิพลง โดยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ผลิตชิพทุกราย เนื่องจากจะมีการลดขนาดเทคโนโลยีการผลิตทุกๆ 2ปีให้เล็กลงไปเรื่อยๆ และวัสดุสายทองแดงนั้นก็เริ่มมาถึงจุดที่พบปัญหาดังกล่าวนี้แล้ว
ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=41738.0%3Bwap2

carbon nanotube จะเปิดโอกาสให้สามารถย่อส่วนหน่วยความจำให้มีขนาดเล็กได้

รายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับ Carbon nanotube
http://www.foosci.com/tag/carbon-nanotube