วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

ทำไมควรใช้ PSU วัตต์แท้

เคยสงสัยเหมือนกันนะว่า PSU มันต้องเลือกด้วยรึ มาเจอบทความนี้เข้าลองอ่านดูครับ

" ข้อมูลทางทฤษฏี กับการใช้งานจริง มันอาจไม่ตรงกันก็ได้ครับ และคำว่า วัตต์แท้ วัตต์เทียม ความจริงแล้วมันใช้สื่อความหมายไม่ค่อยตรงกับประเด็นที่เราควรจะกังวลสัก เท่าไหร่หรอกครับ

ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ช่างเทคนิค ผมไม่มีความรู้เฉพาะทางเรื่องระบบไฟฟ้า จะได้เอาภาษาช่างมาอธิบายอะไรได้ สิ่งที่ผมจะอธิบายต่อไปนี้คือ ความรู้ที่ผมเก็บรวบรวมมาจากการอ่านเว็บ อ่านหนังสือ และจากแหล่งต่าง ๆ รายละเอียดปลีกย่อยทางเทคนิคอาจจะไม่ตรงกับทฤษฏีเป๊ะ ๆ นะครับ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกันเพาเวอร์ฯ กันก่อนนะครับ

PSU ที่ใช้กับคอมฯ แต่ละตัวนี่มันจะสามารถจ่ายไฟได้ ในช่วงเฟส 12V ถึง 3.3V แต่ละเฟส จะถูกใช้โดยชิ้นส่วนแต่ละอย่างในเครื่องแตกต่างกันไป เช่น

เฟส 12V จะถูกใช้โดย การ์ดจอ ซีพียู ฮาร์ดดิส
เฟส 3.3V จะถูกใช้โดยพวก อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อย่างพัดลม ไฟ LED USB ฯลฯ

"วัตต์" ที่จ่ายได้ของเพาเวอร์แต่ละตัวก็มาจากการเอา จำนวน
"แอมป์" แรงดันไฟที่่จ่ายได้แน่แต่ละเฟส มาคำนวณให้เป็นวัตต์
แล้วค่อยเอามาบวกรวมกัน

ดังนั้น เพาเวอร์ ที่วัตต์รวมเท่ากัน อาจใช้กับคอมเสปคเดียวกันไม่ได้ ทุกตัวก็ได้ เพราะคอมที่ มีฮาร์ดดิสมาก ๆ
มีการ์ดจอแรง มีซีพียูเร็ว ๆ ก็ต้องการ เพาเวอร์ตัวที่ มี "แอมป์" 12V มาก ๆ

ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเช่น

Enermax 350 วัตต์ ที่จ่ายไฟ 12V ได้ 18A
กับ Deluxe 400 วัตต์ ที่จ่ายได้แค่ 12A

ถ้าเอาไปพ่วง ฮาร์ดดิสสักสามลูกกับ การ์ดจอ 6800GT (รุ่นบริโภคไฟ) เครื่องที่ใช้ Deluxe อาจจะดับไปดื้อ ๆ เวลาเล่นเกมส์ เพราะ เพาเวอร์จ่ายไฟให้ตอนเครื่องฟูลโหลดไม่พอครับ

แล้ววัตต์แท้ คืออะไร??

ถ้าคุณมีเพาเวอร์สองตัวที่จ่ายไฟได้ แอมป์เท่ากัน ได้วัตต์เท่ากัน
ตัวตัดสินคุณภาพของเพาเวอร์คุณคือ ความเสถียร ของกระแสไฟที่เพาเวอร์ป้อนเข้าเครื่องคุณครับ เพราะตามหลักการของการเปลี่ยนสภาพของพลังงาน ที่เราเรียนกันสมัย ม. ต้น ทุกครั้งที่ไฟฟ้าแปลงสภาพเป็นพลังงานอื่น
มันจะมีพลังงานบางส่วนที่เสียเปล่าไป

ในการทำงานของ เพาเวอร์ฯ แต่ละตัวก็เช่นกัน ตลอดเวลาที่มันรับกระแสไฟจากเต้าปลั๊ก มาแปลงเป็นกำลังไฟ จ่ายให้
เฟสต่าง ๆ ในเครื่องคุณมันจะมีการสูญเปล่าเช่นนี้เกิดขึ้น

เพราะการสูญเปล่าที่ว่า ทำให้มันมีค่าเบี่ยงเบนเกิดขึ้น ทำให้กำลังไฟที่จ่ายออกจากเพาเวอร์จริง ไม่ได้ตรงกับฉลาก
ร้อยเปอร์เซ็น อาจจะ80 85 90 ว่ากันไป และ เพราะการสูญเปล่าที่ว่า มันเกิดขึ้นตลอดเวลา มากบ้าง น้อยบ้าง
ขึ้นอยู่กับกำลังการใช้ไฟของคอมฯ และประสิทธิภาพการระบายความร้อนของเพาเวอร์ (เพราะการสูญเปล่า ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น
พลังงานความร้อน ถ้าเพาเวอร์คุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ ความร้อน
ที่เกิดจากการสูญเปล่าฯ ก็จะคงที่ ถ้าไม่ได้ พลังงานที่เสียเปล่า
มันก็จะสูงขึ้นตามความร้อนที่ปล่อยออกมา) ทำให้กระแสไฟ ที่จ่ายได้ ไม่นิ่งสนิท มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอด

ซึ่งผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็จะออกแบบสินค้าตัวเองในแต่ละระดับราคา ให้มีค่าเบี่ยงเบนน้อยที่สุด และการจ่ายไฟนิ่งที่สุด

คำว่า วัตต์แท้ จึงเกิดขึ้น เพื่อบอกให้ผู้บริโภครู้ว่า กำลังไฟที่ได้จากเพาเวอร์ตัวนี้ จะใกล้เคียงกับฉลาก และกระแสไฟที่ได้ จะนิ่งที่สุด ในทุกสภาวะการใช้งาน ไม่ใช่พอฟูลโหลดแล้วกำลังจะตกเพราะไม่สามารถควบคุณการสูญเปล่าของพลังงานได้


ดังนั้น การจะเลือกเพาเวอร์ฯ สักตัวให้กับเครื่องของคุณ คุณต้องดูอะไร?

1. จำนวน A ที่จ่ายได้ของไฟแต่ละเฟส ว่ามากพอจะรับมือกับชิ้นส่วนทีคุณมีอยู่ในเครื่องได้หรือไม่? (ดูจากฉลากข้างกล่อง)

2. กำลังไฟที่จ่ายได้จริง หลังจากหักค่าเบี่ยงเบนระหว่างการใช้งาน ในสภาวะปรกติ (ดูจากฉลาก หรือผลทดสอบในเว็บต่าง ๆ)

3. ความเสถียร ในการจ่ายไฟในสภาวะ ที่เครื่องทำงานเต็มกำลัง(ดูจากผลทดสอบในเว็บต่าง ๆ)

ข้อ 1 เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่คุณควรจะดู เพราะอย่างที่ผมอธิบายไปแล้วในชั้นต้นว่า เพาเวอร์ที่ให้วัตต์มาก แต่ให้แรงดันแอมป์ไม่พอจะเลี้ยงชิ้นส่วนสำคัญ ๆ ในเครื่อง จะทำให้เครื่องคุณเกิดปัญหาได้

ข้อ 2 และ 3 ขอให้พิจารณาเป็นปัจจัยรองลงไป ตามกำลังทรัพย์ ข้อมูลที่หาได้ และ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดนั่นคือ

" พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร ใ ช้ ง า น ข อ ง คุ ณ เ อ ง "

เพราะแต่ละคนก็ใช้งานคอมหนักเบาไม่เหมือนกัน สำหรับคนที่ใช้เครื่องเสปคสูง มาทำงานเบา ๆ เป็นหลัก PSU ราคาถูกก็สามารถรับมือได้ราบรื่น เพราะ กำลังไฟที่ใช้ได้ ไม่ได้ถูกเอามาใช้จนสุดตลอดเวลา

แต่ถ้าคนที่ใช้เสปคเท่ากัน แต่ใช้งานโหลด 7-80% ตลอด 6-7 ชั่วโมงต่อวัน ก็ควรพิจารณาเพาเวอร์ ที่ให้กำลังไฟ และความเสถียรสูง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของคุณ

ดังนั้นคงจะเข้าใจแล้วนะครับว่า ที่คนในบอร์ดเขาแนะนำให้ใช้วัตต์แท้ ราคาแพง ก็เพราะเขาไม่รู้ว่าพฤติกรรมการใช้งานของคุณอยู่ที่ระดับไหน ถ้าแนะนำของถูก กำลังแอมป์พอใช้ให้ไป แต่คุณเอาไปตัดต่อหนัง ทำงานทั้งวัน หรือเล่นเกมส์หนักๆ ที่มีการเรียกใช้กำลังจาก CPU การ์ดจอ HDD แรม(โดยผ่านทางเมนบอร์ด)ตลอดเวลา แล้วเครื่องพัง เขาก็ไม่สามารถไปแก้ไขอะไรให้คุณได้ ก็เลยต้องเผื่่อทุกอย่างไว้ก่อนเสมอ

ที่มา http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=376617