วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ความจริงของ พลังงาน Hydrogen



ความจริงเรื่องนี้ผมไม่อยากจะเขียนเท่าไหร่เพราะว่ามี แต่เจ๊ากับเจ๊ง มีแต่โดนด่า
แต่ช่วงนี้ชักจะไปกันใหญ่ มีการหากินกับความไม่รู้ของคน ซ้ำเติมผู้ที่เดือดร้อนอยู่แล้ว

สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสาร แต่เป็นข่าวสารที่ไม่ได้กรอง
กลับเป็นข่าวสารที่กอง คือมีอะไรกองรับไว้หมด ไม่ได้กรองข่าวเท็จทิ้ง ข่าวจริงเก็บ
รับรู้ข่าวสารเพียงแต่ด้านเดียวโดยไม่ได้นำมาพิจารณาว่าจริงหรือเท็จ
ดังนั้นใครที่ได้ออกสื่อจะถือว่าได้มีโอกาสดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อทางรายการโทรทัศน์
ข้อนี้เราโทษนักข่าวไม่ได้ เนื่องจากว่านักข่าวไม่ได้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
พอที่จะสอบถามหรือเข้าใจได้ มีอะไรที่ทำข่าวได้ก็ต้องรีบไปทำ


มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเมืองไทย เมื่อน้ำมันมีราคาสูงขึ้นก็จะมีอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน
หรือสารเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับเครื่องยนต์ ไมว่าจะเป็นแบบน้ำ ,แบบเม็ด หรือแบบที่เป็นเจล ออกมาขาย
มีทั้งแบบผสมในท่อไอดี ผสมในน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเกียร์ แม้กระทั่งท่อไอดี แล้วก็ล้มหายตายจากไป
แล้วก็เกิดใหม่ วนเวียนวัฏจักรแบบนี้ตลอดมา

ยิ่งในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมานี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น มากอย่างน่าใจหาย หลายคนตกใจกลัว
คล้ายกับคนที่จะจมน้ำตาย คว้าอะไรได้ก็คว้าไว้ก่อน ใครได้ท่อนไม้ก็โชคดีไป ใครคว้าเอาจระเข้ก็ซวยไป
=========================================================
อุปกรณ์ประหยัดน้ำมันก็เช่นกันย่อมอยู่ในหลักพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ สามารถพิสูจน์หรือใช้เหตุผล
ที่สามารถอธิบายได้อย่างไม่มีข้อสงสัย ไม่ใช้ความรู้สึกว่าได้ผล ทุกอย่างต้องเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้
โดยปราศจากข้อสงสัย การทดสอบประหยัดน้ำมันที่ทดสอบกันนั้นอยู่บนตัวแปรหลายตัว เช่นอากาศ ลมยาง
อุณหภูมิ สภาพการจราจร ตลอดจนวิธีการขับรถ

อุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้กับรถยนต์สามารถขายได้ราคาดี แถมถ้าได้อ้าง
ว่านาซารับรอง หรือได้ออกรายการทีวีก็จะยิ่งสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
ไมว่าจะเป็นลมยางไนโตรเจน สารหล่อลื่น และในปัจจุบันที่เป็นที่กล่าวถึงเป็นอย่างมากคือ "รถพลังน้ำ"

เรื่องการแยกน้ำออกมาเป็นแกสไฮโดรเจนและออกซิเจนเอามาทำเป็นเชื้อเพลิง ใช้ในรถ
มีการทดลองทำมานานหลายสิบปีแล้ว จดสิทธิบัตรกันก็มากมายเป็นร้อย ๆ แบบ

ในเว็บของต่างประเทศมีประกาศขายอุปกรณ์ ขายหนังสือวิธีการทำเชื้อเพลิงจากน้ำมากมาย
ผมเองก็เคยมีความสนใจมากในเรื่องพวกนี้และแปลกใจว่าทำไม่มันถึงไม่แพร่ หลายใช้งานได้จริง ๆจัง ๆเสียที
เหตุใดจึงอยู่ในวงการแคบ ๆ เท่านั้น
=========================================================
หลาย ๆ เว็บไซท์ ต่างก็อ้างถึงการทดลองของรถบั๊กกี้ของ stan meyer อีกทั้งมีภาพวิดีโอประกอบด้วย
มีข่าวลืออีกด้วยว่านาย stan โดนเก็บเพราะเทคโนโลยีนี้ทำให้หลายบริษัทเสียประโยชน์
ยิ่งทำให้ผมปักใจเชื่อมากขึ้นว่ามีโอกาสเป็นไปได้ จึงได้เริ่มอ่านสิทธิบัตรต่าง ๆ และดูตัวอย่างที่มีคนทำมาแล้วหลาย ๆแบบ

ผมเคยลงทุนสั่งซื้อชุดที่ประกาศขายในเน็ตจากอเมริกา เพื่อเอามาดูว่าสิ่งที่ผมคิดไว้กับที่เขาขาย มีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
เพราะว่าที่เว็บนี้มีข้อมูลกล่าวอ้างถึงผลการทดสอบต่าง ๆ มากมายหลายกรณีรวมถึงวิดีโอสัมภาษณ์ผู้ใช้งานจริง ทำให้ดูน่าเชื่อถือมาก

เพื่อที่จะได้เอาต่อยอดทางความคิดพัฒนาให้มันดีและถูกต่อไป
แถมยังมีบริษัท British Autogas ของอาบังลงโฆษณาในเว็บขายเครื่องอิเลคโตรไลเซอร์แยกน้ำเป็นแกส
ใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถอีก ยิ่งทำให้ผมมีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า งานนี้ต้องสำเร็จ

เมื่อซื้อมาแล้วก็ได้เริ่มทดลองการทำ หลาย ๆ แบบ โดยที่การทดลองของผมนั้นไม่ค่อยจะเหมือนกับชาวบ้านเขา

ผมที่ผมใช้ทุกคันตั้งแต่คันแรกในชีวิต ผมจะจดระยะทาง,จำนวนน้ำมันที่ใช้,ราคาน้ำมัน อย่างสม่ำเสมอและตอนเติม
ก็จะเติมให้เต็มถังตลอดทุกครั้ง จึงเป็นการง่ายที่จะนำข้อมูลก่อนใช้และหลังใช้มาเปรียบเทียบกัน

การเปรียบเทียบผมไม่ได้ใช้ครั้งต่อครั้ง แต่นำมาทำเป็นกราฟเส้นสองเส้นในช่วงเวลาที่ไม่ต่ำกว่าสามเดือน
โดยที่นิสัยการขับรถของผมยังไม่เปลี่ยนแปลง

บางคนคิดว่าวิธีการนำข้อมูลมาเปรียนเทียบของผมนั้นใช้ไม่ได้ก็ได้ แต่ผมกลับคิดว่าถ้ามันใช้งานได้จริง
กราฟที่วาดได้จะต้องเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ระหว่างนี้ก็ได้โทรศัพท์คุยกับ อ.von และได้รับคำแนะนำว่า "อย่าทำ"

ผลปรากฏว่าไม่เห็นความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญครับ
เวลาที่ทดสอบอาจจะน้อยเกินไป ผมจึงทดลองต่อไปเรื่อย ๆ อีกหลายเดือน ผลที่ได้เหมือนเดิม
=========================================================

เครื่องต้นแบบผมตัวแรกผลิตแกสได้ประมาณ 1 ลิตร ต่อนาที โดยไม่ต้องมีระบบระบายความร้อนแบบที่ทำขาย ๆกัน

ผมทดลองทั้งแบบที่ใช้ Pulse Width Modulation ที่ความถึ่และ Duty Cycle ต่าง ๆ กัน
โดยใช้ Micro Controller ควบคุม การปรับค่าต่าง ๆ ง่ายมาก มี VR สองตัว ตัวแรกปรับความถึ่ ตัวสองปรับ Duty cycle
เอามา ไดรว์ MOSFET ที่จ่ายไฟให้แก่อิเลคโตรไลเซอร์ วัดว่าทำอย่าไงจึงจะได้แกสมากที่สุด
ทดสองผสมสารละลายที่ความเข้มข้นต่าง ๆ น้ำทีใช้ผมก็น้ำจากเครื่องกลั่นในห้องปฏิบัตการ
ของโรงงานอาหารทะเล

ตอนหลังนี้ผมก็ได้โทรศัพท์ ปรึกษากับอาจารย์อีกเช่นเดิม เป็นระยะ ๆ ก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิม
คือสรุปได้ว่าขาดทุนตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้ว


ทำให้ผมเริ่มฉุกคิดว่า เราทำผิดตรงไหน เหตุใดจึงไม่ได้ผล จึงทำให้ผมเริ่มศึกษาแบบใช้เหตุและใช้ผล


========================================================

สมน้ำหน้าตัวเอง ที่เคยเรียนมาแล้วแต่เสือกไม่จำเอง

ต่อไปจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ครับ

ผมขอปูพื้นฐานนิด ๆ หน่อย ๆ จะได้ตามกันได้ทัน
น้ำ มีสูตรทางเคมีว่า H2O คือ ใน 1 โมเลกุลของน้ำจะประกอบไปด้วย H สองอะตอม และ O หนึ่งอะตอม

โมล เป็นหน่วยวัดจำนวนโมเลกุลของสารประกอบหรือธาตุที่มีจำนวนเท่ากับเลข อาโวกาโร คือ 6.023 x 10^23 ตัว
การจะรู้ว่า 1 โมลมีน้ำหนักเท่าไหร่นั้นง่ายมาก คือ นำน้ำหนักอะตอมซึ่งดูไดจากตารางธาตุเอามารวมกัน

ตามตารางธาตู H มี นน.อะตอม 1.008 , O มี นน อะตอม 16
H2O จึงมี นน. โมเลกุล = 1.008x2 + 18 = 18.004 ===> Approx 18

นั่นหมายถึง น้ำ 1 โมล มีน้ำหนัก 18 กรัม จะประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 กรัม และ ออกซิเจน 1 กรัม

ต่อไปขอพูดถึงค่าพลังงานของพันธะ(Bond Energy)ซักหน่อย
การจะแยกโมเลกุลออกมาต้องใส่พลังงานเข้าไปเพื่อให้อะตอมแตกตัวออกมา
ในวิชาเคมีมัธยมปลายก็เคยมีสอนไว้ ว่า สร้างคาย สลายดูด คือถ้าสร้างพันธะใหม่จะคายพลังงานออกมา
ถ้าต้องการสลายพลังงานต้องใส่พลังงานเข้าไผ

O-O มีค่าพลังงานพันธะ 118.3 Kcal /mole
H-H ค่าพลังงานพันธะ 104.2 Kcal /mole
H-O ค่าพลังงานพันธะ 101.5 Kcal /mole
H-OH ค่าพลังงานพันธะ 119.7 Kcal/mole

ดังนั้นการจะแยกน้ำออกมาเป็นแกส ต้องใส่พลังงานเพื่อสลายพันธะดังนี้

1 แยก H-OH ===> 119.7
2 แยก H-O ===> 101.5

รวมเป็น 119.7 + 101.5 = 221.2 Kcal/mole

เมื่อแยกออกมาแล้ว H ก็จะรวมกับ H เป็น H2 จะคายพลังงานออกมา 104.2
O ก็จะรวมกับ O เป็น O2 คายพลังงานออกมา 118.3/2 = 59.15
รวมการคายพลังงานออกมา 104.2+ 59.15 = 163.35

พลังงานที่คายนี้หายไปไหน ???

หายไปในรูปความร้อนครับ เซลแยกน้ำ จะต้องร้อนเสมอเพราะสาเหตุนี้ครับ
อย่า อย่าเพิ่งแย้งเรื่อง H-H ครับ ผมยังเขียนไม่จบ

------------------------------------------------------


ความร้อนที่คายออกมาในคำตอบที่แล้วเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
คือ ถ้าจ่ายไฟเข้าไปในเซลล์ที่แยกน้ำอย่างไรก็ต้องมีความร้อนเกิดขึ้นเสมอ
ถ้าแยกน้ำ 18 กรัมออกไปเป็นแกสได้ จะมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณนั้น
ถ้ามากกว่านั้นหมายถึงอะไร ???



หมายถึงพลังงานส่วนที่ใส่เข้าไปนั้นไม่ได้แยกน้ำเป็นแกสครับ แต่กลายเป็นไป
เป็นการ "ต้มน้ำ" นั่นเอง

ใส่พลังงานเข้าไป 221.2 Kcal แต่โดนโยนทิ้งไปเฉย ๆเป็นความร้อน 163.35
พลังงานโดยรวมเหลือ 221.2-163.35 = 57.85 Kcal

เมื่อหารด้วย น้ำหนักของน้ำคือ 18 กรัม จะเป็นค่า 3.2 Kcal/กรัม

ค่านี้หมายถึงอะไร ???


==========================================

หมายถึงทุก ๆ 1 กรัมของน้ำที่ถูกแยกสลายกลายเป็นแกสแล้วนำแกสไปเผา
จะได้พลังงานออกมา 3200 แคลอรี คือสามารถทำให้น้ำ 1 กก อุณหภูมิสูงขึ้นไป 3.2 C

ในขณะที่พลังงานขาเข้าคือ 221.2 / 18 = 12.28 Kcal/กรัม
ทำให้น้ำ 1 กก อุณหภูมิสูงขึ้นได้ถึง 12.28 C

หายไปถึง 12.2 - 3.2 = 9 องศา คิดเป็น 3.2/12.2 x100 = 26% เท่านั้น


มาดูในแง่ของไฟฟ้าบ้าง

มันเป็นกฏครับของฟาราเดย์ กฏคือกฏ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต่างกับทฤษฎีที่เปลี่ยนได้
ผมสรุปให้แล้วกันนะครับ

ไฟฟ้า 1 ฟาราเดย์ สามารถแยกน้ำได้จำนวน 1 โมล
1 ฟาราเดย์คือจำนวนประจุทั้งหมด 96,500 คูลอมบ์
1 คูลอมบ์คือจำนวนประจุไฟฟ้าที่กระแสไหล 1 แอมป์ภายใน 1 วินาที

1 ชมมี 60x60 = 3,600 วินาที
ดังนั้น 1 ฟาราเดย์คือ 96,500/3,600 =26.8 แอมป์

คือต้องใข้กระแสไฟฟ้าจำนวน 26.8 แอมแปร์เป็นเวลา 1 ชม จึงจะแยกน้ำได้จำนวน 18 กรัม

สังเกตุว่าผมจะไม่พูดถึงแรงดันไฟฟ้าเลย เพราะการแยกน้ำใช้จำนวนประจุเป็นสำคัญ
==================================================

ขออภัยครับ ในคำตอบที่ 38 เขียนผิดไปหน่อยผมลืมหารสอง
1 ฟาราเดย์ แยกน้ำได้จำนวน 9 กรัมครับ ไม่ใช่ 18 กรัม

คราวนี้ที่ชอบใช้กันจริง ๆ คือ HHO นั่นหมายถึง อะตอมของไฮโดรเจนที่แยกออกมาได้จะยังไม่รวมตัว
เป็นโมเลกุล นั่นหมายถึงพลังงานส่วนที่สร้างพันธะจำนวน 104.2 Kcal จะไม่สูญเสียไปเป็นความร้อน
และอะตอมของออกซิเจนก็ยังไม่รวมตัวเป็นโมเลกุลได้พลังงานกลับคืนมาอีก 118.3/2 = 59.15 KCal
รวมทั้งหมด 163.35 Kcal

นั่นคืออิเลคโตรไลเซอร์จะไม่เกิดความร้อนขึ้นเลย แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้เกิดความร้อนขึ้นเสมอ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น HHO จริง ๆ ??


ง่ายมากครับ สามารถคำนวณได้จากกฎของฟาราเดย์

แต่สิ่งที่ต้องรู้เพิ่มอีกคือ คุณสมบัติของแกส ไม่ว่าแกสใด ๆ ในโลกนี้ จำนวน 1 โมล
ที STP จะมีปริมาตร 22.4 ลิตรเสมอ


1/2 โมล์ของน้ำเสียค่าไฟฟ้า 2.1x26.8 = 56.28 Whr
คิดทีละครึ่งคิดยาก ขอคิดแบบเต็มก้อนดีกว่า
1 โมลของน้ำเสียพลังงานไฟฟ้า = 56.28x2 = 112.56 Whr

ถ้าเป็น HHO ต้องได้แกส 22.4+22.4+22.4 = 33.6 ลิตร


ดังนั้นอย่างเก่งที่สุด ระดับจ้าวยุทธภพ

การผลิตแกส 1 ลิตรต่อชม ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า = 112.56 / 33.6 = 3.35 Whr

หรือถ้าแบบเห่ย ๆ ก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า = 112.56 /16.8 = 6.7 Whr

คราวนี้จะทดสอบว่าของคุณได้ระดับไหนก็คำนวณโดยประมาณจากกระแสไฟฟ้า
ที่จ่ายให้แก่เครื่องอิเลคโตรไลเซอร์

ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าใช้ไฟ 10 A ที่แรงดัน 13.8 โวลต์ กำลังไฟฟ้า 138 วัตต์

เครื่องนี้ผลิตแกสได้อยู่ในช่วง
สูงสุด 138/3.35 = 41.2 ลิตรต่อชม --> 0.686 ลิตรต่อนาที
ต่ำ 138/6.7 = 20.59 --> 0.343 ลิตรต่อนาที
ไม่มีทางเกินค่านี้ได้ถ้าเกินไปมาก แสดงว่า "โม้"

เครื่องตามที่โฆษณาใช้ไฟ 30 A ก็ผลิตได้อย่างมากที่สุด 2.06 ลิตรต่อนาที

ปริมาตรทั้งหมดคิดที่ STP นะครับ คือ 0 C ที่ แรงดัน 1 บรรยากาศ
ทีอุณหภูมิห้องก็ใช้กฏของแกสคำนวณเองนะครับ


================================================

มีการนำแกสนี้มาจุดไฟหรือไปเผาอะไรก็แล้วแต่ ได้อุณหภูมิที่สูงจนเป็นที่มาของข้อกล่าวอ้างว่า
ถ้านำแกสชนิดนี้ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะทำให้เชื้อเพลิงที่หลงเหลือจากการ เผาไหม้ สามารถเผาไหม้ได้หมดจด
ทำให้ประหยัดน้ำมัน

ก่อนอื่นผมต้องขออธิบายระหว่าง ค่าความร้อนกับอุณหภูมิ (Heat Value ,Temperature) เสียก่อน
ของบางอย่างอุณหภูมิสูงจริง ๆ แต่ค่าความร้อนต่ำ บางอย่างค่าความร้อนสูงแต่อุณหภูมิไม่สูงนัก

ขอยกตัวอย่างน้ำที่ใช้ชงกาแฟ อุณหภูมิซัก 70-80 องศา แค่เทใส่แก้วมือเราก็ไม่สามารถจับได้แล้ว
อจจะพองได้ ส่วนสะเก็ดไฟของเหล็กที่กระเด็นมาจากเครื่องเจียร อุณหูมิหลายร้อยองศา
เมื่อกระเด็นโดนผิวยังเฉย ๆ อย่างมากก็คัน ๆ เพราะอะไร ??

เพราะ Heat Value ของสะเก็ดไฟมันต่ำมากเมื่อโดนผิวความร้อนจะถ่ายเทสู่สิ่งแวดล้อมอย่างรวด เร็ว
และอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมแทบไม่ถูกกระทบเลย เหมือนกับเทน้ำจากแก้วลงในบ่อน้ำ
ระดับน้ำในบ่อก็ไม่ได้สูงขึ้น

การจุดระเบิดในกระบอกสูบก็เช่นกันความร้อนจากแกสนี้แม้อุณหภูมิสูงก็ จริงแต่มีปริมาณจิ๊บจ๊อยเหลือเกิน
จะไปช่วยเผาไหม้อะไรได้

ตามตำตอบที่แล้ว สมมุติว่าผลิตแกสได้ 2 ลิตรต่อนาที

สมมุติเครื่องยนต์ 4 สูบขนาด 2,000 ซีซี หมุนที่ 2,000 รอบต่อนาที
คือจุดระเบิด 1000 ครั้งต่อนาที

แกสมหัศจรรย์ที่เข้าเครื่องคือ 2 ลิตร/1000 = 2 ซีซี ต่อการจุดระเบิด 1 ครั้ง
ต่อสูบคือ 1/2 ซีซี ครับ

คำนวณย้อนกลับไปได้ครับว่า 1/2 ซีซีน่ะ ได้พลังงาน หรือได้ความร้อนซักกี่มากน้อย
คิดเป็นไฮโดรเจนแบบที่เป็นอะตอมล้วน ๆ เลยก็ได้ มันคือไฮโดรเจนจำนวน

(0.5/22400) x 1 = 2.232 x 10 ^-5 กรัม

อย่าทำมาหากินกับคนที่ลำบากเลยครับ
ปัจจุบันนี้ต่างก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้าอยู่แล้ว

===============================================

ใส่แกสเทพนี้เข้าไปแค่นิดหน่อยแต่ประหยัดได้ถึง 60% ผมว่ามันจะเกินไปหน่อย
เครื่องแคท หรือ คัมมินส์ หรือแม้แต่เครื่องปั่นไฟฟ้า คงประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มากมาย


เอาไปขายเรือประมงก็คงดี ไม่ต้องมาประท้วงเรื่องน้ำมันแพง ชาวมหาชัย,ชาวแม่กลองอยากได้อยู่แล้ว
ประหยัดได้ขนาดนี้เครื่องละห้าหกแสนขายได้สบาย ๆ วิ่งเรือหาปลาไม่กี่เที่ยวก็คุ้มแล้วครับ
หรือเอาไปขาย VSPP ที่ปั่นไฟขายให้แก่การไฟฟ้าภูมิภาค แถวชลบุรีก็มีโรงมันชลเจริญ
รับรองเขาซื้อแน่นอน


ความจริงทริคง่าย ๆ ที่จะประหยัดนั้น มันอยู่ที่การจูนหรือปรับแต่ง O2 หรือ MAP เท่านั้น
เพราะค่าอัตราส่วนเฉพาะของเชื่อเพลิงที่ 14:1 นั้น จริง ๆ ไม่ใช่ค่าที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์ที่สุด

แต่เป็นค่าที่ Compromise คือเป็นค่าที่ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดไม่สูงเกินไป
และ NOx ไม่สูงเกินไป ถ้าปรับให้เป็นซัก 18:1 ก็จะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ประหยัดขึ้น
แต่ว่า NOx จะสูงเกินค่ามาตรฐาน เพราะความร้อนในห้องเผาไหม้จะสูงขึ้น

ปรับยังไงคงไม่ต้องสอนท่านสมภารทั้งหลายนะครับ ที่นี่เซียน ๆ เก่ง ๆ มากมาย

ที่มา http://www.weekendhobby.com/offroad/newenergy/question.asp?page=2&id=1039