วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

Virtualization ที่คุณยังไม่เคยรู้

ไม่ต่างจากเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต่างก็มีการล่มสลายเพื่อเกิดใหม่อยู่เป็นปกติ Server virtualization ก็เช่นเดียวกันที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาหาเราอย่างเงียบๆ กว่าจะรู้ตัวมันก็มาอยู่ตรงหน้าแล้ว ซึ่งแม้ว่าในตอนแรกจะดูเป็นเพียงแค่ของเล่นเล็กๆ น้อยๆ ที่ดูไม่น่าสนใจนัก แต่ในที่สุด Server virtualization ก็ได้พิสูจน์ตัวเองตั้งแต่จากในห้องทดลองจนได้รับการประทับรับรองว่าเป็น ส่วนหนึ่งที่ในการช่วยประหยัดพลังงานได้จริง

ทุกวันนี้หลายบริษัทต่างก็ใช้งาน Server virtualization ไม่เพียงแต่เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นเพียงเท่านั้น แต่เพื่อให้การทำงานกู้ระบบจากปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่มทำได้ง่ายยิ่งขึ้น อัตโนมัติมากขึ้นอีกด้วย แต่จะว่าไปแล้วเทคโนโลยี Virtualization นั้นเริ่มเปิดตัวอย่างเงียบๆ ในมุมของระบบเก็บข้อมูลก่อน แต่เพียงแค่การจัดการ SAN หรือ NAS นั้นยังไม่เต็มประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็นของตัวเทคโนโลยี เนื่องจากช็อปไอทีทั้งหลายต่างก็ต้องปรับตัวแข่งกับปริมาณข้อมูลที่นับวันจะ เพิ่มกันอย่างที่เรียกได้ว่ามหาศาล เทคโนโลยี Block และ File Virtualization จึงช่วยขยับขยายหน่วยบันทึกข้อมูลขององค์กรได้โดยไม่ต้องมีไซโล SAN หรือไม่ก็ต้องตั้งกลุ่ม NAS ขึ้นมาไว้ในบริษัท และแน่นอนว่าการดำเนินการดังกล่าวก็ต้องไม่ส่งผลกระทบใดใดกับการใช้งาน แอพพลิเคชันหรือข้อมูลต่างๆที่ยูสเซอร์ใช้งานกันอยู่อย่างเคร่งเครียดต่อ เนื่องอยู่ทุกวัน แล้วถ้าเดาว่าจะเกิดอะไรต่อไป อย่าพึ่งคิดว่าจะเกิดอะไรในตอนนี้ แต่พื้นที่ทำงานบนเดสท็อปของคุณนั่นแหละที่อาจจะเป็นสิ่งที่จะย้ายเข้ามาสู่ ม่านเมฆเสมือนจริงรายต่อไป เหมือนกับคำสัญญาที่ว่าเซิร์ฟเวอร์ของคุณจะสามารถอัพเกรดเอ็นด์ยูสเซอร์ได้ ในทุกรอบการเปลี่ยนหรือปรับปรุงเวอร์ชันโดยไม่ตกหล่น แถมท้ายด้วยข้อมูลลับสุดยอดของคุณนั้นจะถูกห่อเอาไว้อย่างดีไม่มีสูญหาย ระหว่างการดำเนินการ ถึงแม้ว่าคุณจะติดอยู่กับฮาร์ดแวร์ตัวอ้วนที่นับวันจะพอกพูนไปด้วยการอัพ โน่นนี่เพิ่มนั่นนิดนี่หน่อยอยู่ตลอดเวลาก็ตามที เจ้าเครื่องจักรเสมือนนี้ก็จะสามารถรักษาความป่วยไข้จากการจัดการตลอดเวลา ดังกล่าวไปได้อีกด้วย ลองมาดูกับว่าเทคโนโลยีนี้และการนำมาใช้งานในองค์กรจะดีเพียงใด

Server Virtualization

ในความซับซ้อนของวงการไอทีทุกวันนี้ Server virtualization เป็นอะไรที่ถือว่าลงตัวที่สุด เซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Redundant หรือตัวตายตัวแทนสามารถช่วยเติมความสามารถในการทำงานของศูนย์ข้อมูลให้ทำงาน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในไดร์ฟแต่ละตัวที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าทั้งหมดอาจจะไปยุ่งกับตัวเลขงบประมาณบ้างก็ตาม การแบ่งเซิร์ฟเวอร์จริงทางกายภาพออกเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนนั้นช่วยให้ทั้ง ความสมเหตุสมผลและงบประมาณไอทีกลับเข้ามาอยู่ร่วมกันได้อีกครั้ง โดยสำหรับ Virtualization นั้นคุณจะสามารถเปิดปิดทำการกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนของคุณได้ตลอดเวลา ซึ่งในแต่ละครั้งระบบปฏิบัติการหรือบรรดาแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่จะถูก หลอกว่ามันกำลังทำงานอยู่บนเครื่องเสมือนไม่ใช่ฮาร์ดแวร์จริงๆ การทำงานกับ Virtual machine หลายตัวนั้นก็จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพทั้งหมดที่เซิร์ฟเวอร์จริงทางกายภาพมี อยู่ออกมาได้อย่างเต็มที่ แถมยังตอบสนองต่อคำสั่งใดใดจากศูนย์ข้อมูลกลางได้อย่างรวดเร็วไม่มีปัญหาอีก ด้วย

คอนเซ็ปต์ของ Virtualization นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากย้อนกลับไปทศวรรษที่ 1970 คอมพิวเตอร์เมนเฟรมก็สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่ได้รับคำสั่งมาจากระบบปฏิบัติการได้ในคราวเดียวกันและโดยอิสระต่อ กันด้วย แต่แค่เมื่อเร็วๆ นี้เท่านั้นที่ทั้งซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ต่างก็ช่วยให้เทคโนโลยี Virtualization สามารถเป็นจริงได้ในเชิงอุตสาหกรรมสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทุกวันนี้ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลต่างๆ ล้วนแต่มีทางเลือกสำหรับโซลูชันของ Virtualization อยู่มากมายทีเดียว บ้างก็พิเศษไม่เหมือนใครไม่เข้ากับคนอื่น บ้างก็เป็นแบบโอเพ่นซอร์ส แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแต่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของสามกลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐานด้วย กัน ซึ่งแบบไหนจะให้ผลเลิศที่สุดก็ขึ้นอยู่กับภาระการทำงานที่ต้องการและลำดับ ความสำคัญของการทำงานแต่ละอย่างแตกต่างกันไป ไม่เหมือนกันแต่ละที่ต้องพิจารณาดูตัวคุณเอง

Full Virtualization

วิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดจากซอฟต์แวร์ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งถูกเรียกว่า Hypervisor โดยที่จะสร้างเลเยอร์หรือชั้นการทำงานระหว่างเซิร์ฟเวอร์เสมือนกับฮาร์ดแวร์ ที่เกี่ยวข้อง โดยโซลุชันกลุ่มนี้ก็หนีไม่พ้น VMware และ Microsoft Virtual PC ในขณะที่ KVM (Kernel-based Virtual Machine) ก็เป็นตัวแทนของทางฝ่ายโอเพนซอร์สทำงานบนลีนุกซ์ Hypervisior จะจับเอาคำสั่งของหน่วยประมวลผลและแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างคอนโทรลเลอร์ของ ฮาร์ดแวร์และตัวอุปกรณ์จริง ดังนั้นด้วยกรรมวิธีดังกล่าวจึงใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการใดๆ ก็ได้ ซึ่งสามารถติดตั้งลงบนเซิร์ฟเวอร์เสมือนได้โดยไม่ต้องดัดแปลงค่าใดๆ และไม่ต้องกลัวด้วยว่าจะมีการรับรู้ว่าการทำงานใดใดอยู่บนสภาพแวดล้อมเสมือน แต่ข้อเสียหลักก็คือ หน่วยประมวลผลจะถูกใช้งานจาก Hypervisor ค่อนข้างคงที่ไม่มากนักแต่มีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานทั้งหมดเหมือน กัน ในสภาพแวดล้อมที่เป็นภาวะเสมือนแบบสมบูรณ์นั้น Hypervisor จะทำงานบนฮาร์ดแวร์โดยมีเซิร์ฟเวอร์เป็นเหมือน Host OS เซิร์ฟเวอร์เสมือนที่จัดการโดย Hypervisor นั้นเรียกได้ว่ากำลังทำงานที่ Guest OS

Para-Virtualization

ระบบแบบ Full virtualization นั้นกินกำลังของหน่วยประมวลผลมากสักหน่อยเนื่องเพราะชุดคำสั่งต่างๆ ถูกส่งให้กับ Hypervisor เพื่อจัดการกับเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายตัวในคราวเดียว แต่ก็ต้องให้เป็นอิสระต่อกันด้วย ทางหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้ก็คือ การแก้ไข Guest OSec แต่ละตัวเพื่อให้รับรู้แยกกันว่ากำลังทำงานบนสภาพแวดล้อมเสมือนและทำงานด้วย ความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้นได้กับ Hypervisor วิธีการนี้รู้จักกันในชื่อว่า para-virtualization โดยมีซอฟต์แวร์ Xen เป็นหัวหอกอยู่ทางฝั่งโอเพนซอร์ส แต่ก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะทำงานเสมือนในรูปแบบนี้ได้นั้น ก็จะต้องได้รับการแก้ไขโครงสร้างบางอย่างในระดับเคอร์เนลก่อน จึงสามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สอย่าง BSD ลีนุกซ์ หรือโซลาริส แต่ไม่เหมาะกับระบบอย่างวินโดวส์ที่ไม่ยอมให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ

ข้อ ดีของ para-virtualization ก็คือประสิทธิภาพในการทำงาน เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้วิธีนี้นั้นทำงานร่วมกับ Hypervisor เกือบจะเหมือนกับที่ตอบสนองต่อเซิร์ฟเวอร์ธรรมดาที่ไม่ใช่แบบเสมือนเลยที เดียว และความได้เปรียบเพียงอย่างเดียวนี้ก็มากพอที่จะทำให้ทั้งไมโครซอฟท์และ VMware กำลังปรับปรุงเพิ่มเติมลงไปในผลิตภัณฑ์ของตนเลยทีเดียว

OS-Level Virtualization

ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะทำ virtualization ก็คือการเพิ่มความสามารถของเซิร์ฟเวอร์เสมือนลงไปในระดับระบบปฏิบัติการแต่ ต้น Solaris Containers เป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบนี้ ซึ่ง Virtuozzo/OpenVZ ก็ทำอย่างเดียวกันนี้กับลีนุกซ์ สำหรับการทำ virtualization ในระดับโอเอสนั้นจะไม่มีการแยกเลเยอร์ของ Hypervisor ออกมา โดยโฮสต์ OS จะทำหน้าที่ดังกล่าวนั้นแทนไปเลย และแยกทรัพยากรของฮาร์ดแวร์ออกระหว่างคำสั่งจากเซิร์ฟเวอร์เสมือนทั้งหมด ทั้งยังแยกการทำงานกับเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวให้เป็นอิสระออกจากกัน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของวิธีนี้ก็คือ เซิร์ฟเวอร์เสมือนทั้งหมดทุกตัวจะต้องใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน (แม้ว่าแต่ละเหตุการณ์หรือการทำงานจะมียูสเซอร์และบัญชีการใช้งานของ แอพพลิเคชันแยกจากกัน) สิ่งที่สูญเสียไปก็คือ ความยืดหยุ่นในส่วนของระบบปฏิบัติการดังกล่าว แต่สิ่งที่ได้มาเช่นเดียวกันก็คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้นจากภาษาที่ใช้ ดังนั้นกับสถาปัตยกรรมที่ใช้ระบบปฏิบัติการเดียวอยู่แล้วก็จะจัดการได้ ง่ายกว่าหลายระบบโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

ง่ายกว่าแต่ก็ยากกว่า ด้วย?

สิ่งที่ฮาร์ดแวร์ของเฟรมฮาร์ดแวร์ต่างจากพีซีเพราะพี ซีไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานแบบเสมือนนี้ได้ตั้งแต่ต้น เป็นทางฝั่งซอฟแวร์เท่านั้นที่ต้องแบกภาระการทำงานดังกล่าวนี้เอาไว้ จนกระทั่งล่าสุดหน่วยประมวลผลตระกูล x86 ทั้งเอเอ็มดี และอินเทลต่างก็ได้เพิ่มการสนับสนุนการทำงานเสมือนลงไปในระดับซีพียูเลยเป็น ครั้งแรก แต่เสียที่ว่าเทคโนโลยีของทั้งคู่ก็ดันถูกพัฒนาขึ้นมาและเป็นไปแบบต่างคน ต่างอยู่ ซึ่งหมายความว่าโค้ดโปรแกรมการทำงานของทั้งคู่แตกต่างกันไม่สามารถทำงานร่วม กันได้ในแง่การทำงานเสมือน จากภาระหน้าที่ในการจัดการเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงเชื่อมต่อเข้าสู่พอร์ต I/O และทรัพยากรฮาร์ดแวร์ต่างๆ เจ้า hardware virtualization จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการทำงานของ Hypervisor ที่ต้องดูแลอยู่ทุกวัน นอกเหนือจากนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ระบบปฏิบัติการก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมารันแบบ para-virtualized จึงสามารถใช้งานร่วมกับวินโดวส์ได้สบาย การทำงานเสมือนในระดับซีพียูนั้นไม่ได้มาโดยอัตโนมัติแต่คุณจะต้องเขียนอะไร ลงไปในซอฟแวร์ Virtualization เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน แต่ด้วยความน่าสนใจของประโยชน์ที่จะได้รับ ทำให้ใครๆ ก็อยากจะเขียนเพิ่มเติมเข้าไปในซอฟต์แวร์ของตนทั้งสิ้นเพื่อสนับสนุนการทำ งานดังกล่าว

ชุดเครื่องมือเสมือน

แต่ละวิธี ของการทำ Virtualization ล้วนแล้วแต่มีข้อดีของตนเองตามแต่สถานการณ์ที่ต้องการ หากเซิร์ฟเวอร์จะต้องมาใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกันก็อาจจะดีที่จะใช้งานแบบ OS-level virtualization แต่อีกเทคโนโลยีหนึ่งๆ ก็มีข้อดีในบางสถานการณ์อยู่เช่นกัน Para-virtualization แสดงให้เห็นถึงพยายามรวมเอาความดีที่สุดจากทั้งสองโลกเอาไว้ โดยเฉพาะเมื่อต้องเลือกที่จะใช้งานเสมือนจริงโดยให้หน่วยประมวลผลรับรู้ด้วย ว่าทำงานเสมือนอยู่ ให้ทั้งประสิทธิภาพการทำงานที่ดีและใช้งานหลากหลายระบบปฏิบัติการไปได้ใน คราวเดียว Full virtualization ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจากทั้งสามแบบคือ แยก guest OSes ออกจากกันและแยกจากโฮสต์ OS ด้วย เป็นตัวเลือกที่ดีมในการทดสอบการันตีคุณภาพของโปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ เพราะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่ต้องกลัวผลทดสอบผสมปนเปกันไปมา

และ เพื่อสนับสนุนการทำงานกับ guest OS ที่หลากหลายมากขึ้น Full virtualization จึงมีอีกหนึ่งความสามารถพิเศษคือ ความสามารถในการบันทึกสแนปช็อตหรือหยุดเวลาสถานะการตั้งค่าการทำงานใดๆ ณ เวลานั้นๆ เก็บเอาไว้ได้ เพื่อหากว่าเกิดเหตุการณ์ใดก็จะสามารถกู้สถานะดังกล่าวกลับมาได้ทุกครั้งไป หรือจะใช้ในการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ใหม่ให้เหมือนตัวเก่าก็ได้เช่นเดียวกัน บริษัทซอฟต์แวร์หลายแห่งเริ่มที่จะโพสต์สแนปช็อตของซอฟต์แวร์ให้ทดลองใช้งาน ไว้บนเว็บ เพื่อให้สะดวกต่อการดาวน์โหลดไปแล้วทดสอบใช้งานได้ทันที โดยไม่มีปัญหาการตั้งค่ายุ่งยากอีกต่อไป

แต่ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ อย่าลืมว่าเซิร์ฟเวอร์เสมือนก็ต้องการการดูแลรักษาเหมือนเซิร์ฟเวอร์ตัว จริงๆ เช่นกัน การเพิ่มมากขึ้นของการทำเซิร์ฟเวอร์ Virtualization ยิ่งทำให้เครื่องมือยากผู้ผลิตรายอื่นที่ช่วยโอนย้ายจากแบบเซิร์ฟเวอร์ตัว จริงไปยังการทำงานเสมือนเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน

Storage Virtualization

หลังจากหลายปีแห่งความคาดหวังที่ผิดๆ การเริ่มต้นผิดผ่านพ้นไป storage virtualization หรือที่รู้จักกันในชื่อของ block virtualization ก็พิสูจน์ตัวเองได้สำเร็จ ทำให้เวนเดอร์รายใหญ่ต่างก็อ้าแขนรับเอาไว้เป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของพวก เขาในที่สุดไม่ว่าจะเป็น IBM, EMC, and HDS (Hitachi Data Systems) โดยตัวของโซลูชันเองก็ได้รับการปรับปรุงมากยิ่งขึ้น ตัวลูกค้าเองโดยเฉพาะหน่วยงานที่ต้องดูแลระบบ SANs ใหญ่ๆ บวกกับความต้องการข้อมูลให้พร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลาในปริมาณมาก พวกนี้ต่างก็เข้าใจถึงการใช้งานเจ้าสิ่งนี้บวกกับความเข้าใจในการจัดการตัว เลขความคุ้มทุน ROI จากการลงทุนดังกล่าวด้วย จึงไม่นับว่าเทคโนโลยีนั้นมีปัญหาอีกต่อไป โดยที่ Storage virtualization ให้คุณสามารถระบุจุดบกพร่องในการจัดการศูนย์ข้อมูลได้หลากหลาย โดยมันจะสร้างเลเยอร์ขึ้นมาระหว่างหน่วยความจำกับโฮสต์ทำหน้าที่รวบรวมทุก การเรียกใช้งานจากทุกอุปกรณ์ เมื่อนำไปใช้งานในระบบ SAN ก็จะช่วยให้เกิดจุดการจัดการเพียงจุดเดียวสำหรับทุกระดับบล็อกของหน่วยความ จำ และง่ายขึ้นกว่าเมื่อ Storage virtualization ทำพูลของหน่วยความจำจริงหลายแหล่งเข้าด้วยกัน แม้จะอยู่คนละเครือข่ายก็ตาม แล้วนำเสนอใหม่ในรูปแบบเสมือนเป็นวอลุ่มใหญ่วอลุ่มเดียวสำหรับโฮสต์ที่จะ เรียกใช้งาน และนอกจากนั้นยังมีอีกหลายบริการในการดำเนินการกับวอลุ่มเสมือนนั้นๆ ซึ่งนี่ก็มาจากพื้นฐานของการจัดการวอลุ่ม อาทิ LUN (logical unit number) masking, concatenation และการทำวอลุ่ม grouping and striping เพื่อป้องกันข้อมูลไม่ให้เกิดความเสียหายและพร้อมที่จะกู้กลับมาหากเกิด เหตุการณ์ดังกล่าวจริงๆ ทั้งนี้รวมไปถึงการทำสแนปช็อตหรือ Mirroring ด้วย

โดย สรุปสั้นก็คือ Virtualization เป็นโซลูชันที่เราสามารถใช้เป็นจุดควบคุมกลาง สนับสนุนนโยบายจัดการหน่วยข้อมูลเพื่อให้ได้ระดับ SLAs ที่สูงขึ้น แต่บางทีส่วนที่สำคัญที่สุดที่มีจาก block-level virtualization ก็คือการย้ายข้อมูลอย่างที่ไม่มีการสูญเสียข้อมูลแต่อย่างใด สำหรับองค์กรขนาดใหญ่การโอนย้ายข้อมูลอยู่เสมอๆ นับเป็นสัจธรรมของชีวิต เมื่ออุปกรณ์เดิมหมดสัญญาเช่าไป เราอาจสั่งซื้ออุปกรณ์เครื่องใหม่ผ่านการซื้อขายออนไลน์ block-level virtualization จะทำให้การย้ายข้อมูลของคุณไม่มีตกหล่นไปเลยแม้แต่นิดเดียว ผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลก็ไม่ต้องปวดหัวกับการเฝ้าดูแลหรือต้องคอยเปลี่ยนชิ้น ส่วนที่ถึงอายุต้องโอนย้ายที่เพื่อเปลี่ยนแปลงใหม่ ผู้ใช้งานข้อมูลหรือแอพพลิเคชันก็ยิ่งไม่รู้ใหญ่ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่าง การดำเนินการ เรียกว่ายังใช้งานไปตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ทำ ให้การผลิตก็ไม่ต้องหยุด การแบ็คอัพข้อมูลทำได้รวดเร็วอาจเพียงแค่ 30 นาทีแทนที่จะเป็น 6 ชั่วโมง จะจัดการเปลี่ยนจัดตำแหน่งการจัดเก็บเสียใหม่ก็ทำได้แทบจะทันที ทำให้เราไม่ต้องมีช่วงเวลาดาวน์เซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดการสิ่งเหล่านั้น ทำให้อัตราส่วนการใช้งานของสินทรัพย์นั้นมีความคุ้มค่ามากขึ้น บางแห่งสามารถเพิ่มอัตราส่วนการใช้งานได้จากระหว่าง 25-50 เปอร์เซ็นต์ไปเป็นถึง 75 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวหลังจากใช้งานเจ้าเทคโนโลยี Storage virtualization นี้

รูปแบบสถาปัตยกรรมทั้งสี่

ใน การประกอบใช้งาน SAN แบบเสมือนนั้นทำได้ด้วยกัน 4 แบบประกอบไปด้วย in-band appliances, out-of- band appliances, แบบไฮบริดลูกครึ่งที่เรียกชื่อว่า SPAID (Split Path Architecture for Intelligent Devices) และ controller- based virtualization ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบใดๆ โซลูชัน storage virtualization ทั้งหมดจะต้องทำสิ่งพื้นฐาน 3 สิ่งเสียก่อนนั่นคือ 1.) สร้างแผนที่เสมือนของดิสก์และหน่วยความจำจริงขึ้นมา ซึ่งเหมือนกับการตั้งค่า metadata 2.) ส่งคำสั่งสำหรับที่จะให้เกิดการตั้งค่าที่เปลี่ยนไปและงานการจัดการหน่วย ความจำ และสุดท้ายแน่นอน 3.) ย้ายข้อมูลระหว่างโฮสต์และหน่วยความจำที่ต้องการ สถาปัตยกรรมทั้ง 4 นั้นก็แค่แตกต่างกันในวิธีการดำเนิน 3 กระบวนการนี้เท่านั้น ต่างกันตรงการควบคุม Metadata และพาธข้อมูลในการทำงานกับ I/O

ความ ต่างดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์เรื่องประสิทธิภาพหรือความยืดหยุ่น ในแง่ของขนาดของงาน in-band appliance ทำทั้งหมดในอุปกรณ์เดียวกัน ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การจัดการ Metadata และฟังก์ชันที่ใช้ควบคุมการทำงานนั้นใช้พาธร่วมกัน ซึ่งเมื่อรู้ดังนี้แล้วจะเห็นว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดคอขวดสำหรับระบบ SAN ที่ค่อนข้างซับซ้อนเพราะว่าคำสั่งที่ร้องขอเข้ามาจากทุกโฮสต์จะต้องผ่านจุด ควบคุมจุดเดียวกันหมด เวนเดอร์ที่ทำ In-band appliance เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้เพิ่มคลัสเตอร์พิเศษและให้ความสามารถของ หน่วยความจำแคชเพิ่มเข้าไปยังผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ทำให้เวนเดอร์เหล่านี้สามารถพูดกับองค์กรใหญ่ๆที่ใช้งานระบบ SAN ว่าโซลูชันของพวกเขานั้นมีดีในเรื่องประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสำหรับงาน ขนาดใหญ่มากกว่า ตัวอย่างของ In-band appliance ก็มี อาทิ DataCore SANsymphony, FalconStor IPStor, และ IBM SAN Volume Controller ส่วน out-of-band appliance นั้น แยกเอาการจัดการ Metadata และส่วนควบคุมการทำงานออกจากพาธข้อมูล แยกโหลดการทำงานดังกล่าวออกไปไว้ที่อีกเอนจิ้นหนึ่ง ส่วนที่อาจเรียกได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ค่อยสะดวกก็คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้วิธีนี้จะต้องติดตั้งตัวแทนของซอฟต์แวร์อยู่ในทุกโฮสต์ที่ ใช้งานอยู่ด้วย หน้าที่ของเจ้าตัวแทนนั้นก็คือเพื่อรับเอา Metadata และคำสั่งควบคุมมาจากสายข้อมูลเพื่อส่งต่อไปให้กับ out-of-band appliance เพื่อนำไปประมวลผลต่อปล่อยให้โฮสต์มุ่งเน้นแต่การทำงานส่งถ่ายข้อมูลกับ หน่วยความจำ เวนเดอร์เพียงรายเดียวที่ให้บริการรูปแบบนี้อยู่ก็คือ LSI Logic จากการเทคโอเวอร์ StoreAge มาอีกที โดยผลิตภัณฑ์ของ StoreAge นั้นสามารถที่จะปรับการทำงานได้ทั้งกับรูปแบบของ out-of-band หรือ SPAID

ระบบ SPAID นั้นไปควบคุมระหว่างความสามารถในการทำงานระดับพอร์ตของอุปกรณ์สวิตชิ่งที่ ชาญฉลาด ลดโหลดของการจัดการ Metadata หรือข้อมูลการควบคุมการสั่งงานต่างๆ ออกจากพาธข้อมูล ไม่เหมือนวิธี out-of-band appliance ตรงที่พาธจะถูกแยกตั้งแต่ที่โฮสต์เลย แต่ของ SPAID นั้นจะมาถูกแยกพาธบนเครือข่าย บนอุปกรณ์อัจฉริยะอย่างสวิตซ์สักตัวหนึ่ง SPAID system นั้นส่งต่อ Metadata และข้อมูล Control path ไปยังเอนจิ้นของ out-of-band เพื่อประมวลผลและส่งพาธข้อมูลผ่านไปยังอุปกรณ์หน่วยความจำ ระบบ SPAID ตัดทิ้งความจำเป็นของตัวแทนในระดับโฮสต์ทิ้งไป โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ Virtualization ที่มีพื้นฐานแบบ SPAID นั้นจะทำงานอยู่ในสวิตช์อัจฉริยะหรือ PBA (purpose built appliance) รายชื่อเวนเดอร์ในกลุ่มนี้นั้นได้แก่ EMC (Invista), Incipient และ LSI Logic (StoreAge) คอนโทรลเลอร์ SPAID แต่ละรายจะต้องทำงานร่วมกับสวิตซ์อัจฉริยะจากเวนเดอร์อย่าง Cisco Systems หรือ Brocade/McData

Array controllers กลายเป็นเลเยอร์พื้นฐานที่บริการ Virtualization ถูกใช้งาน อย่างไรก็ตามคอนโทรลเลอร์นั้น โดยทั่วไปจะมีการทำเสมือนเพียงกับตัวดิสก์จริงๆ ภายในระบบหน่วยความจำเท่านั้น แต่ความจริงอันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงไปจากคอนเซ็ปต์เดิมดังกล่าวก็เพื่อให้ทำ Virtualization บนคอนโทรลเลอร์ได้ทั้งส่วนนอกและภายในระบบเก็บข้อมูล เช่นเดียวกับ in-band appliance นั่นคือพาธทั้งสาม ข้อมูล ส่วนควบคุม และ metadata ตัวอย่างของ Virtualization ที่ใช้การทำงานบนคอนโทรลเลอร์เป็นรูปแบบสไตล์ใหม่อันนี้นั้น ก็มีอาทิ HDS TagmaStore Universal Storage Platform การแข่งขันระหว่างเวนเดอร์ทั้งหมดนั้นทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ SPAID ก็มีความคาดหวังค่อนข้างมากในเรื่องของความยืดหยุ่นในเชิงขนาดของงาน แต่ตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ยังไม่พร้อมสมบูรณ์ ณ จุดนั้น โดยที่ EMC นั้นหนุนหลัง in-band solutions ทั้งในส่วนของฟีเจอร์และฟังก์ชันการใช้งาน และแม้ว่า IBM จะดูยังไม่เท่าทันกับเจ้าอื่นๆ นักหากเทียบระหว่างฟีเจอร์และฟังก์ชัน แต่พวกเขาก็ยังสามารถทำได้มากกว่านั้นอีกมาก แต่โดยสรุปแล้วเวนเดอร์เกือบทั้งหมดก็มีคุณสมบัติพื้นฐานครบถ้วน เพียงแค่อาจจะขาดคุณสมบัติขั้นสูงต่างๆ ไปบ้างเท่านั้น

File Virtualization

แค่เพียง block virtualization ก็สามารถช่วยให้การจัดการระบบ SAN ง่ายยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันที่ file virtualization ก็ลดละเลิกความซับซ้อนและข้อจำกัดในองค์กรจากระบบ NAS ไปได้เช่นเดียวกัน เราต่างก็รู้ว่าเมื่อวอลุ่มข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจัดระเบียบเอาไว้ดีนัก เกิดความเสียหายขึ้นมา ทางหน่วยงานไอทีเองก็มีโอกาสมองเข้าไปหรือจัดการดูแลก้อนข้อมูลนี้น้อยมาก เรื่องทำนองนี้นั้น file virtualization มีทางออก โดยจะมีการจัดการระบุตำแหน่งบนไฟล์เซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ NAS สร้าง Namespace ให้กับเจ้าอุปกรณ์จริงๆ เหล่านั้น ซึ่ง Namespace นั้นก็เป็นเพียงชื่อเรียกที่อ้างถึงลำดับความสำคัญเป็นโครงสร้างของไดเรคทอ รี ไฟล์และ Metadata ที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแล้วหากจะพูดถึงในระบบไฟล์มาตรฐานอย่าง NTFS แล้ว Namespace ก็จะเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องราวในเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว หรือระบบไฟล์ระบบเดียว เมื่อทำแบบเดียวกันกับหลายระบบไฟล์หรือหลายเครื่อง สิ่งที่ File virtualization ทำได้ก็คือภาพๆ เดียวกันเพื่อบอกตำแหน่งของไฟล์และไดเรคทอรี ผู้ดูแลระบบหรือแอดมินก็จะมีจุดควบคุมดูแลการทำงานเพียงจุดเดียวพอ ข้อดีของมันนั้นอาจจะดูคุ้นๆ กันอยู่บ้าง ก็เช่นเดียวกับ Storage virtualization ความสามารถในการโยกย้ายไฟล์ข้อมูลโดยปราศจากความเสียหาย ผู้ดูแลระบบสามารถที่จะทำแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ NAS ได้เป็นประจำหรือจะยกเลิกการใช้งานอุปกรณ์เก่าๆ บางตัวโดยไม่รบกวนการทำงานของยูสเซอร์หรือแอพพลิเคชันต่างๆ

File virtualization นั้นเมื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีคลัสเตอร์ก็สามารถขยายประสิทธิภาพและขนาดการ ทำงานได้อีกมากเช่นกัน คลัสเตอร์ของ NAS สามารถให้ทรูพุธ (MBps) ในหลายรูปแบบที่เร็วกว่า รวมถึง IOPS ก็จะดีกว่า NAS ตัวเดียวเช่นเดียวกัน แอพพลิเคชันที่ใช้ความสามารถในการคำนวณสูงๆ อย่างเช่น การทำเรนเดอร์ไฟล์วิดีโอหรือแบบจำลองการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักจะใช้ เทคโนโลยี File virtualization นี่แหละในการเข้าถึงข้อมูลมหาศาลในการทำงาน

สาม สถาปัตยกรรมในการทำงาน

File virtualization ยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้นก็เหมือนกรณีทั่วๆ ไปล่ะนะครับว่า วิธีการที่แตกต่างกันไปในเวนเดอร์แต่ละรายนั้นก็มักจะเหมาะกับการใช้งานที่ แตกต่างกันออกไป ไม่มีวิธีของใครที่จะดีไปเสียหมดกับทุกงาน พูดแบบกว้างๆ ว่าเราสามารถแบ่งกลุ่ม File virtualization ในท้องตลาดได้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ Platform-integrated namespaces, clustered-storage derived namespaces และ network-resident virtualized namespaces

Platform-integrated namespaces นั้นเป็นส่วนขยายของระบบโฮสต์-ไฟล์ที่ให้ความสัมพันธ์ของคอนเซ็ปต์ไฟล์เป็น กลางๆ ในแต่ละแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกันไประหว่างเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว namespaces รูปแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้กับการทำงานหลายๆ ไซต์ร่วมกัน แต่มันอาจจะไม่ได้มีระบบควบคุมไฟล์ที่ลงลึกนัก และแน่นอนว่าการทำงานอยู่บนระบบไฟล์หรือระบบปฏิบัติการแบบเดียว ตัวอย่างที่มีก็มี อาทิ Brocade StorageX, NFS v4 และ Microsoft Distributed File System (DFS)

Clustered-storage derived namespaces ระบบคลัสเตอร์เก็บข้อมูลนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างระบบคลัสเตอร์กับ เทคโนโลยีระบบไฟล์ขั้นสูง เพื่อสร้างให้เกิดส่วนขยายแบบโมดูลสำหรับทุกวอลุ่ม NFS และ CIFS ที่เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ของระบบคลัสเตอร์แบบนี้นั้นจะให้ Namespace เดียวกันตลอดทั้งคลัสเตอร์ทั้งหมด Clustered storage systems นั้นเหมาะสมกับแอพพลิเคชันประสิทธิภาพสูงอย่างที่สุด ทั้งยังช่วยรวบรวมไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นหนึ่งเดียว และระบบก็มีความมั่นคงสูง เวนเดอร์ในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย Exanet, Isilon, Network Appliance (Data ONTAP GX) และ PolyServe

Network-resident virtualized namespaces นั้นถูกสร้างขึ้นโดยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน (มักจะถูกอ้างถึงในฐานะไฟล์เมเนเจอร์ของเครือข่าย) ที่ทำงานอยู่ระหว่างลูกข่ายและอุปกรณ์ NAS โดยพื้นฐานก็จะทำหน้าที่เราเตอร์หรือสวิตซ์ที่ดูแลการทำงานโปรโตคอลระดับ ไฟล์ อุปกรณ์เหล่านี้สร้าง Namespace เสมือนระหว่างไฟล์เซิร์ฟเวอร์ในการทำงานส่วนหลังและหาเส้นทางของการจราจร NFS และ CIFS ทั้งหมดระหว่างลูกข่ายกับหน่วยความจำ คุณสามารถเลือกอุปกรณ์ NFM เพื่อใช้งานได้ทั้ง In band (Acopia Networks, Attune Systems, NeoPath Networks) หรือ out of band (EMC Rainfinity) Namespace ในรูปแบบของ Network-resident virtualized นั้น เหมาะกับการทำงานกับหน่วยความจำแบบระดับชั้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับกรณีที่ต้องการการถ่ายข้อมูลแบบที่ไม่สร้างความ เสียหายแก่ข้อมูล Storage virtualization แบบไฟล์และบล็อกนั้นอาจเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะปรับปรุงรักษาบาดแผลจากการ จู่โจมของข้อมูลมหาศาลในปัจจุบัน

ด้วย Virtualization แบบบล็อกและไฟล์นั้นทำให้ชาวไอทีสามารถมีการจัดการที่คุ้มต้นทุน นำเอานโยบายกระจายจากส่วนกลางได้ตามต้องการและควบคุมระบบเก็บข้อมูลที่แตก ต่างกันไว้ได้ในคราวเดียวอีกด้วย แม้ว่าหนทางในการนำไปใช้งานจะยังอีกยาวไกลและยากลำบากก็ตาม แต่ตัวเทคโนโลยีก็พร้อมตอบสนองต่อความต้องการได้แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องรอกันอีกสักหน่อย

Application and Desktop Virtualization

Virtualization นั้นไม่ได้มีแต่เพียงสำหรับศูนย์ข้อมูลไว้ใช้งานเพียงเท่านั้น สำหรับเวิร์กสเตชันที่ซับซ้อนที่สุดไปจนถึงไฟล์ DLLs ที่ง่ายที่สุด virtualization ก็มีประโยชน์ในการคำนวณผ่านเครือข่ายอย่างไม่อาจมองข้าม ตัวอย่างที่ดีของคำกล่าวนี้ก็คือ virtualization ของงานแอพพลิเคชันหรือ application virtualization นั่นเอง ไอเดียเบื้องหลังเจ้านี่ก็เกิดจากความต้องการตัดปัญหาการตั้งค่าที่วุ่นวาย ทั้งหลายจากฝ่ายสนับสนุนที่มักจะพบเจอเป็นประจำสำหรับผู้ใช้งานเดสก์ทอปทั่ว ไป ผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้จะสร้างโลกเสมือนระหว่างโปรแกรมที่ใช้งานกับระบบปฏิบัติ การเหมือนกับกรณีระบบจัดการไฟล์หรือสำหรับวินโดวส์ก็คือ ระบบฐานข้อมูลรีจิสทรีนั่นเอง ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่จะกล่าวถึงนั้นแยกแอพพลิเคชันออกจากภาพเงาของระบบ ปฏิบัติการตามวิธีการของตัวเอง

Application Acrobatics

เวน เดอร์ที่พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบนี้ก็อย่างเช่น Altiris Software Virtualization Solution (SVS) ซึ่งใช้วิธีที่อาจจะดูดั้งเดิมไปบ้าง เริ่มจากไดรเวอร์ตัวกรองง่ายๆ จะถูกติดตั้งลงไปในระบบไฟล์ของวินโดวส์เพื่อติดต่อประสานงานและจัดการ อินพุท-เอาท์พุทให้กับตัวจัดการแอพพลิเคชันของ SVS เมื่อจัดตั้งเลเยอร์ขึ้นมาได้ก็จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่าง SVS กับ OS ซึ่งในความเป็นจริงนั้นทุกๆ กิจกรรมที่แอพพลิเคชันกับระบบปฏิบัติการติดต่อกันตั้งแต่โหลด DLL เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่รีจิสทรีจะถูกเปลี่ยนผ่านไปยังไฟล์จัดการแคชของ SVS แทน ข้อดีของการทำงานในลักษณะนี้ก็คือ การแยกเป็นอิสระของระบบปฏิบัติการกับแอพพลิเคชัน อะไรก็ตามที่แอพพลิเคชันสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นต่อรีจิ สทรีหรือไฟล์ของมันเองหรือต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็ตามอันที่จริงเกิด ขึ้นบนแค ชของ SVS แทน ในเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงๆ สภาพของระบบปฏิบัติการตัวจริงก็ยังสมบูรณ์อยู่พร้อมที่จะถอดเอาแอพพลิเคชัน นั้นออกได้ง่าย จากการกดปุ่มหรือยกเลิกผ่านรีโมททางไกลเลยก็ยังได้ แต่ก็ข้อบกพร่องเช่นเดียวกันนั่นคือ อาจจะเกิดปัญหาในการจัดการกับเวอร์ชันที่แตกต่างกันหลายๆ เวอร์ชันแม้ว่าจะเป็นแอพพลิเคชันตัวเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานไมโครซอฟท์ออฟฟิศ บางครั้งอาจสร้างปัญหาให้กับระบบ SVS ให้เรียกใช้งานเวอร์ชันที่ผิดๆ ถูกๆ หากมีหลายเวอร์ชันติดตั้งไว้ในหลายๆ เลเยอร์

อีกทางเลือกหนึ่งซึ่งค่อนข้างสุดขั้วจากผู้ผลิตอย่าง SoftGrid ของ Softricity (พึ่งจะโดนเทคโอเวอร์ไปโดยไมโครซอฟท์เมื่อเร็วๆนี้ และจะถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแพล็ตฟอร์ม Windows Server) SoftGrid เตรียมสภาวะที่สมบูรณ์ในการใช้งานเสมือน แล้วแอพพลิเคชันจะถูกส่งไปยังเครื่องลูกข่ายเพื่อให้ใช้งานและทำงานภายใน “Sandbox” ที่จะแยกเอาโค้ดของแอพพลิเคชันออกจากระบบปฏิบัติการอย่างเด็ดขาด ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ เราสามารถแก้ปัญหาเวอร์ชันหลากหลายที่จะสร้างปัญหาให้กับ SVS ไปได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่แลกมาก็คือ กระบวนการเริ่มติดตั้งใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ดูแลระบบจะต้องสร้างอิมเมจของการติดตั้งเป็นการเฉพาะขึ้นเพื่อปรับสภาวะ ของโค้ดในการใช้งานแอพพลิเคชันผ่าน Streaming

แน่นอนว่าไม่มีส่วนการ ตลาดส่วนใดส่วนหนึ่งที่สมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด Thinstall รวมเอาเรื่องความง่ายในการใช้งานของ SVS กับแนวคิดแบบกล่องจาก SoftGrid เข้าด้วยกัน โดยการฝังเอาทั้งสภาพแวดล้อมเสมือนและอิมเมจของแอพพลิเคชันเข้าไว้ด้วยกันใน ไฟล์นามสกุล EXE Thinstall ตัดเอาส่วนสนับสนุนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานออกไป แค่เพียงทำสำเนาหรือส่ง Stream ไฟล์ไปยังลูกข่ายแล้วก็สั่งให้ทำงานเพียงเท่านั้น ไม่ต้องมีตัวแทนมาจัดการใดๆ สำหรับไฟล์อิมเมจก็สามารถส่งต่อและใช้งานแบบเสมือนจริงได้ด้วยโปรแกรมจัดการ ระบบทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Active Directory และ Microsoft Systems Management Server ข้อด้อยเพียงเล็กน้อยก็คือ การต้องปรับแต่งแอพลิเคชันที่ใช้งานผ่านระบบเสมือนของ Thinstall เสียก่อนเท่านั้น

การใช้งานเสมือนแบบคลาสสิคดั้งเดิม

ใน สถานการณ์ของลูกข่ายหลายกรณีโซลูชันเสมือนแบบลงลึกก็มีความจำเป็น อาทิ การมีแอพพลิเคชันดั้งเดิมทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใหม่ กรณีนั้นอาจเป็นการดีที่สุดที่จะแยกเอาแอพพลิเคชันไปไว้ในสภาพแวดล้อมการทำ งานของระบบปฏิบัติการแบบเสมือนให้สมบูรณ์ที่สุด หรือนั่นคือการใช้ “virtual machine” แบบคลาสสิคดั้งเดิมนั่นเอง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สามารถรันแอพพลิเคชันบนอิมเมจของระบบ ปฏิบัติการที่คุณเลือกใช้งาน ในขณะที่ยังสนับสนุนให้มีการโอนย้ายข้อมูลได้อยู่กับแพล็ตฟอร์ม OS ตัวใหม่หรือที่ไม่คอมแพททิเบิลกัน VMware และไมโครซอฟท์เป็นผู้นำในตลาดส่วนนี้ โดยมีทาง VMware ที่อาจจะดูเด่นกว่าสักเล็กน้อยและเป็นผู้นำแนวความร่วมมือของเวนเดอร์สนับ สนุนให้มีการใช้งาน Virtualization เป็นโซลูชันสำหรับเดสก์ทอปหรือดูแลจัดการแอพพลิเคชัน สำหรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซีพียูหรือฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ อย่างการประมวลผล 64 บิตก็ทำได้ดีเช่นกัน ข้อดีเป็นพิเศษของ VMware อย่างความสามารถในการทำสแน็ปช็อตเก็บภาพสถานะเอาไว้แล้วเรียกกลับคืนได้ใน ภายหลังก็เป็นที่ชื่นชม สุดท้ายแล้วดูเหมือนตอนนี้สิ่งที่ VMware ได้เคยลงทุนไว้ก็เริ่มผลิดอกออกผลแล้ว โครงการอย่าง VMware Player ที่เป็นทูลส์แสตนด์อะโลนสำหรับโฮสต์ VM ที่สร้างขึ้นมาโดย VMware สำหรับทำงานบนเดสท็อปวินโดวส์ หวังให้ไฟล์อิมเมจเป็นมาตรฐานส่งต่อการทำงานของแอพพลิเคชันที่เป็นไปได้

ไมโครซอฟท์ ก็กำลังดำเนินการไม่แตกต่างกัน เริ่มต้นจากคู่แข่งของ VMware ที่รู้จักกันในนาม Virtual PC ตั้งแต่มันยังเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Connectix ได้ถูกนำมาอัพเดตเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเจ้า Virtual PC 2007 เพิ่มการสนับสนุนวินโดวส์วิสต้าในฐานะระบบปฏิบัติการที่เป็นโฮสต์ แต่ส่วนอื่นก็เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก และยังคงไม่สนับสนุนการทำงานกับการคำนวณขนาด 64 บิต ทั้งยังตามหลัง VMware Workstation ในบางส่วนอย่างเช่น การทำงานร่วมกับอุปกรณ์ USB ผู้เล่นไร้อันดับรายหนึ่งในสมการของ VM ก็คือ Citrix Systems ซึ่งเป็นผู้เล่นที่มีนัยสำคัญในแวดวงการคำนวณหรือประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ Citrix นั้นวางภาพตนเองเป็นผู้บุกเบิกแอพพลิเคชันเสมือน หากมองลงไปลึกๆ แล้ว คุณจะมองภาพออกถึงการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่บวกกับภาพของแอพพลิเคชันเสมือน และ Streaming solution คล้ายๆ กับของทาง SoftGrid ความสำเร็จจากกลยุทธของ Citrix นี้จะบ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานในฟังก์ชันนี้ถูกเรียกขานกันในนาม โครงการ Tarpon อันประกอบด้วยโพรโตคอลและพรีเซ็นเทชันเลเยอร์จำนวนมากรวมกันออกมาเป็นลำดับ ชั้นของ Citrix ซึ่งจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Presentation Server ในเดือนมีนาคมนี้ ที่น่าสนใจก็คือ สิ่งที่ทาง VMware ได้เรียนรู้หนึ่งถึงสองสิ่งจากประสบการณ์ของ Citrix

มีจุดที่น่าเป็น ห่วงอยู่หลายจุดที่ทำให้การคำนวณโดยเซิร์ฟเวอร์ดูด้อยลง การสนับสนุนฮาร์ดแวร์พื้นฐานบนเครือข่ายที่ค่อนข้างแย่ การใช้งานจำกัดในแง่พื้นที่ ต้องการฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างมีสมรรถนะสูงในการทำงานส่วนหลัง ทุกสิ่งได้ถูกนำเสนอและบางทีการเริ่มใช้งาน Virtual Desktop แทนที่จะโฮสต์เซสชันของยูสเซอร์ผู้ใช้งานหลายๆ คนบนอิมเมจของ Terminal Server เดียว แต่คุณกำลังเสมือนหนึ่งโฮสต์ Terminal Server หลายตัวพร้อมกันด้วยแต่ละยูสเซอร์ที่เชื่อมต่อด้วย RDP (Remote Desktop Protocol) ขนาดของงานที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างน่าตกใจ อาจจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์เสมือนสัก 10 ตัวเทียบกับการคำนวณโดยเซิร์ฟเวอร์ในการสนับสนุนการทำงานนี้ แต่เมื่อ Citrix ได้จัดการตัวเองเสียใหม่ในฐานะผู้นำของ Virtualization เลเยอร์ VDI อย่าง Wyse และ Neoware และโพรโตคอลอย่าง RDP และ ICA (Independent Computing Architecture) ต่างก็เริ่มมองหาชีวิตใหม่ ซึ่งพวกเขาอาจจะหามันเจอหรือไม่คงต้องดูกันต่อไป

บนถนน เสมือนเบื้องหน้า

อาจจะกล่าวได้ว่ากลุ่มของผลิตภัณฑ์นี้ นั้นเติบโตเต็มที่พร้อมใช้งาน ในกรณีของ Virtualization ของเดสก์ทอปหรือแอพพลิเคชัน การเกิดขึ้นของโซลูชันสนับสนุนอย่าง Managed Workspace ของบริษัท Kidaro แสดงให้เห็นแล้วว่าส่วนแบ่งตลาดส่วนนี้เกิดขึ้นได้แล้วจริงๆ ทาง Kidaro นำเสนอการทำงานร่วมกับพีซีเสมือนของทั้งฝั่ง VMware หรือไมโครซอฟท์ สำหรับโฮสต์แอพพลิเคชันแบบคลาสสิคของ VMware จะมีการเพิ่มเลเยอร์เข้าไปร่วมทำงานกับโฮสต์ OS ซึ่งเป็นการลบเส้นแบ่งระหว่างเดสก์ทอปและแอพพลิเคชันเสมือนให้เหลือน้อยลง SoftGrid ก็มีตัวอย่างที่ได้ทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์แอกทีฟไดเรคทอรีไปแล้ว หลังจากนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คงจะเป็นการอัพเดตการเป็นลูกข่าย SoftGrid ลงไปยังเวอร์ชันอัพเดตถัดไปของเดสก์ทอปวินโดวส์เท่านั้นเอง หรือไม่ก็ออกมาในรูปแบบของเซอร์วิสแพ็กแบบที่ไมโครซอฟท์มักจะใช้ นับเป็นอีกความน่าตื่นเต้นอันหนึ่งของการก้าวเข้าสู่โลกใหม่เสมือนจริง

3 รูปแบบของ Server Virtualization

สำหรับ server virtualization แล้ว hypervisor ทำงานเป็นเสมือนโฮสต์ OS ที่เหตุการณ์ และมี Guest OS รวมทั้งแอพพลิเคชันทำงานบนเครื่องจักรเสมือนของตัวมันเอง ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ งานที่ได้รับมากขึ้นจากเซิร์ฟเวอร์เพียงตัวเดียวเหมือนเดิม ประสิทธิภาพของการตอบสนองก็ดีขึ้นด้วย

Full Virtualization
Hypervisor สามารถรันเหตุการณ์เสมือนบนระบบปฏิบัติการหลายๆระบบพร้อมกันได้ เซิร์ฟเวอร์เสมือนไม่ต้องสนใจรับรู้ว่ามันกำลังทำงานบนสภาพแวดล้อมเสมือน อยู่

Para-Virtualization
แบบนี้เป็นเวอร์ชัน ที่ระบบปฏิบัติการ ถูกดัดแปลงเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ Hypervisor ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานขึ้นไปอีกระดับ

OS Parititioning
ใน กรณีนี้เซิร์ฟเวอร์เสมือนยังคงทำงานแยกกันอยู่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ทั้งหมดทำงานบนระบบปฏิบัติการเดียวกัน พร้อมทั้งมี Hypervisor ติดตั้งอยู่ภายใน

ประโยชน์ 3 ประการของ Storage Virtualization

Storage virtualization สร้างเลเยอร์ระหว่างโฮสต์และหน่วยเก็บข้อมูล กรองความเป็นตัวตนแยกกันของแต่ละอุปกรณ์ออกไป สร้างพูลของหน่วยความจำเสมือนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทน

ทำ Provisioning หน่วยเก็บข้อมูลได้ง่ายดาย
ดิสก์เสมือนสามารถถูกสร้าง เปลี่ยนแปลงขนาดและจ่ายให้กับโฮสต์ภายในเวลาเพียงไม่กี่เศษเสี้ยวนาที นั่นก็คือเวลาเพียงเล็กน้อยเวลาเราทำ provision อุปกรณ์นั่นเอง

การ ย้ายข้อมูลโดยไม่มีความเสียหาย
แม้ว่าสิ่งที่ดีที่สุดของ storage virtualization ก็คือ ความสามารถในการโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องเก่ามายังเครื่องใหม่ หรือแม้แต่ระหว่างอุปกรณ์ใหม่ด้วยกันเองได้โดยไม่ต้องปิดระบบการทำงานหรือ ตัดการเชื่อมต่อของยูสเซอร์หรือแอพพลิเคชัน

การจัดการ Storage ที่ง่ายยิ่งขึ้น

Virtualization นำเอาจุดจัดการแบบรวมศูนย์และกลุ่มของบริการมาตรฐานเพื่อจะรวบรวมกลุ่มของ อุปกรณ์หน่วยความจำทั้งหลายและทำให้งานอย่างการทำ Mirror หรือ Replication ง่ายขึ้น

สามวิธีการในการทำ Application Virtualization

โซ ลูชั่นของ Altiris ไมโครซอฟท์และ Thinstall สร้างปฏิสัมพันธ์เสมือนระหว่างแอพพลิเคชันของวินโดวส์และทรัพยากรสนับสนุน ของระบบปฏิบัติการแยกมันออกจากโฮสต์และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ

Altiris SVS
Altiris SVS ใช้การแทรกการทำงานของส่วนอินพุทเอาท์พุทเพื่อนำการร้องขอจากกระบวนการที่ทำ งานอยู่ทั้งหมด ทำการวิเคราะห์เพื่อระบุว่าคำร้องขออันใดควรจะส่งต่อไปให้กับแคชของระบบ เสมือน

SoftGrid จากไมโครซอฟท์
Microsoft SoftGrid จำกัดการรีไดเรคชันมอนิเตอร์ไปยังกระบวนการเสมือนซึ่งบริหารจัดการด้วยเอ เจ้นคอมโพเนนท์ใน user mode และ agent mode

Thinstall
Thinstall ตัดเอาโลคอล OS ออกไปจากสมการเสียเลย โดยการฝังเอาลอจิกของ Virtualization ไว้ในไฟล์เอ็กซีคิวของแอพพลิเคชันที่แพ็กขึ้นมาใหม่

ผู้ เชี่ยวชาญการทำ Server Virtualization

ผู้เล่นรายหลักๆ ในท้องตลาดได้แก่ BMC, computer associates, HP, microsoft, Sun, and Unisys ที่ต่างก็มีโซลูชันการจัดการเครื่องจักรเสมือนของตนเอง รายชื่อเวนเดอร์ด้านล่างนี้มีการติดตั้ง server virtualization ภายในบริษัท ในขณะที่บางส่วนเคยมีแบ็กกราวนด์ในการทำ Automation ของศูนย์ข้อมูล

Cassatt เป็นส่วนหนึ่งของแพล็ตฟอร์ม Collage Cross-Virtualization Manager ให้คุณจัดการแบ่งสัดส่วนของทรัพยากรได้แบบไดนามิกผ่าน VMware และ Xen virtual servers สนับสนุนไมโครซอฟท์ Virtual Server ที่จะเปิดตัวในไม่ช้า

Enigmatec เจ้าของ Execution Management System ที่รวมเอากระบวนการอัตโนมัติบวกกับการจัดการตามนโยบายที่ตั้งเอาไว้ เพิ่มด้วยชุด Virtual Environment Automation และคุณยังทำ image provisioning และ control เสมือนได้โดยอัตโนมัติ

Enomaly ภายใต้ไลเซ็นต์แบบโอเพ่นซอร์ส Enomalism มีเครื่องมือสำหรับมอนิเตอร์และจัดการระบบเสมือนสำหรับ Hypervisor ของ Xen ด้วยคอนโซลเสมือนในการจัดการกับเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายๆ ตัว

Leostream เครื่องมือ P>V physical-to-virtual สำหรับจัดการการโอนย้ายข้อมูล สนับสนุนทั้งวินโดวส์ในด้านของต้นทางและทั้ง VMware GSX และ ESX Server เช่นเดียวกับ Microsoft’s Virtual Server ในฝั่งเป้าหมาย

Opalis รัน Book Automation Software สำหรับงานดูแลบำรุงรักษาศูนย์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ ทำงานร่วมกับ VMware Virtual Center สามารถทำงานได้ทุกอย่างตั้งแต่ provision มอนิเตอร์ แบ็คอัพและกู้ข้อมูลจาก Microsoft Virtual Server virtual machines

Opsware บริษัทที่มีชื่อเสียงด้านศูนย์ข้อมูลออโตเมชั่นนำเสนอ Server Automation System ที่ทำ provision มอนิเตอร์ และจัดการ VMware ESX โปรแกรมเสมือน และ Solaris Containers นอกเหนือจากเซิร์ฟเวอร์จริงๆ

PlateSpin Power Convert สามารถดูแลการโอนย้ายข้อมูลแบบอัตโนมัติจากเซิร์ฟเวอร์วินโดวส์และลีนุกซ์ ไปยัง virtual VMware และ Microsoft Virtual Server รวมถึงสนับสนุนการคอนโซลิเดตข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์และกู้ข้อมูลฉุกเฉิน

Scalent นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทสำหรับ Virtual Operating Environment ที่จะทำให้คุณโยกย้ายกิจกรรมระหว่างเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างไร้ขอบเขต แม้แต่ในกลุ่มแพล็ตฟอร์มเสมือนและทำงานได้ในขณะเดียวกับที่เครือข่ายยังทำ งานอยู่ การเชื่อมต่อของ iSCSI และไฟเบอร์ชาแนลยังทำงานเป็นปกติ

Surgient มี Virtual QA/Test Lab Management System จัดการการตั้งค่าที่ซับซ้อนมากๆบนเครื่องจักรเสมือน ทั้งยังมีหลักสูตรอบรมให้กับลูกค้าอีกด้วย

SWsoft เจ้าของ Virtuozzo โซลูชันระบบปฏิบัติการเสมือนพิเศษรายเดียว ด้วยการจำลองฮาร์ดแวร์ด้วยโซลูชันการพาร์ทิชัน OS นั้นทำให้คุณสามารถจัดการกับวินโดวส์หรือลีนุกซ์จำนวนมากได้บนเครื่องจักร เสมือน

Virtual Iron แพล็ตฟอร์มบริหารจัดการสำหรับ Xen hypervisor ของระบบโอเพนซอร์ส ทางบริษํทนั้นแข่งขันโดยตรงกับคู่แข่งอย่าง VMware หรือ XenSource โดยมีทูลส์อย่าง LiveMigration, LiveRecovery และ LiveCapacity

Vizioncore เป็นที่รู้จักกันดีจาก esxRanger ซอฟแวร์แบ็คอัพ แต่ทางบริษัทเองก็มีผลิตภัณฑ์ช่วยโอนย้ายข้อมูล ทำสำเนาข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลอยู่อีกด้วย

VMware ยังคงเป็นผู้นำสำหรับ VMware Infrastructure 3 ชุดผลงานที่รวมเอา ESX Server, Virtual-Center ในการจัดการ, VMotion สำหรับย้ายข้อมูลและอีกมากมาย

XenSource จากคนเดียวกับที่เป็นเจ้าของโครงการโอเพ่นซอร์ส Xen hypervisor project นั่นเอง XenEnterprise นั้นเป็นเวอร์ชันสำหรับการพาณิชย์ที่สนับสนุนทั้งวินโดวส์และลีนุกซ์

เวน เดอร์ของผลิตภัณฑ์แอพพลิเคชันและเดสท็อปเสมือน

เนื่องจากเรากำลังคุย กันเรื่อง Virtualization ทุกวันนี้แอพพลิเคชันต่างๆ นั้นไม่จำเป็นต้องติดตั้งลงบนพีซีตั้งโต๊ะ เนื่องจากเราสามารถส่งมอบให้ใช้งานกันได้ในฐานะเครื่องลูกข่าย โซลูชันฮาร์ดแวร์ Blade และ Thin Client ที่เวนเดอร์ต่างเตรียม VMware DI (Virtual Desktop Infrastructure) และโซลูชั่นอื่นๆ เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ClearCube Technology, ฟูจิตสึ, ฟูจิตสึ-ซีเมนท์, ฮิตาชิ, HP, ไอบีเอ็ม, NComputing, NEC, Neoware, ซัน ไมโครซิสเต็ม และ Wyse Technology

Application Virtualization

AppStream แอพพลิเคชันจาก AppStream เป็นแพล็ตฟอร์ม streaming ที่นำเสนอแอพพลิเคชันของวินโดวส์ไปยังระบบลูกข่ายตามความต้องการ บริษัทนั้นเป็นพันธมิตรกับ Altiris และ Thinstall

Altiris ด้วย Software Virtualization Solution แอพพลิเคชันและข้อมูลถูกห่อไว้ใน Virtual Software Packages และส่งไปยังเดสท็อป ยูสเซอร์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานหรือผู้ดูแลระบบก็จะสามารถรับเอาไว้ใช้งาน ยกเลิกการใช้งานหรือปรับตั้งค่าแอพพลิเคชันได้โดยไม่แตะต้องวินโดวส์ของ เครื่องลูกข่ายเลยแม้แต่น้อย

ไมโครซอฟต์
(Softricity) SoftGrid ส่งแอพพลิเคชันผ่านข้อมูลแบบสตรีมมิ่งไปยังเครื่องลูกข่ายเช่นเดียวกัน ซึ่งก็ไม่ต้องไปนั่งติดตั้งดาวน์โหลดหรือส่งให้ทำงานแต่อย่างใด แพ็กเก็จของแอพพลิเคชันนั้นก็สามารถถ่ายทอดระหว่างเครื่องได้ขึ้นอยู่กับ ระดับของยูสเซอร์

Thinstall
ชุดซอฟแวร์ของบริษัทนี้นั้นทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการเสมือน ซึ่งมีการรวมเอาแต่ละแอพพลิเคชันเข้าสู่เดสก์ทอปโดยตรง โดยที่ .exe ที่ได้ไปนั้นจะบรรจุแคปเจอร์คอลของรีจิสทรีและระบบไฟล์เอาไว้ทั้งหมด

Desktop Virtualization

Citrix เตรียมการให้ thin-client เชื่อมต่อเข้าสู่เดสก์ทอปของเอนด์ยูสเซอร์ผ่าน Desktop Broker ตัวเสริมโปรแกมของ Presentation Server ทางบริษัทกำลังเตรียมการในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์ตัวเชื่อมต่อยังโฮสต์เดสก์ทอปแบบอื่นๆ แอพพลิเคชันเสมือนและโซลูชันการส่งข้อมูลแบบสตรีม

Leostream Virtual Desktop Connection Broker ของเจ้านี้นั้นนำเอาการจัดการการเชื่อมต่อ desktop fail-over และความสามารถในการบริการตัวเองให้กับทาง VDI environments ของ VMware
propero มีการออกเวอร์ชันปรับปรุงของซอฟต์แวร์ workSpace ที่ดูแลการจัดการการเชื่อมต่อและเชื่อมต่อเข้าสู่ส่วนรักษาความปลอดภัยของ VMware VDI

Provision networks เสนอ Virtual Access Suite ที่รวมเอาการจัดการการเชื่อมต่อ การจัดการข้อผิดพลาดและเกตเวย์ในการเชื่อมต่อ VMware VDI

Virtual Machines

ไมโครซอฟท์ดาวน์โหลด Virtual PC ได้ฟรีให้คุณรันหลายๆ ระบบปฏิบัติการบนเดสก์ทอปเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นดอส และวินโดวส์ทุกเวอร์ชันย้อนไปถึงวินโดวส์ 95 รวมไปถึง Mac ด้วย

Parallels เวิร์กสเตชันวินโดวส์และลีนุกซ์ รวมไปถึงเดสท็อปของแมคของบริษัทนี้ มาพร้อมกับเทคโนโลยี hypervisor ที่ดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของอินพุทเอาท์พุทออกมาให้มากขึ้น

VMware ซอฟแวร์ที่มีผู้สนับสนุนเป็นพันธมิตรมากมายผ่านกลุ่มพันธมิตร VMware-VDI ให้สภาพการทำงานผ่านการส่งข้อมูล streaming จากศูนย์ข้อมูลไปยังลูกข่าย เป็นการทำงานของซอฟต์แวร์ผ่านรีโมทดิสเพลย์ เวิร์กสเตชันของ VMware ถูกออกแบบมาให้สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการรัน OS หลายๆ ตัวบนพีซีเครื่องเดียวกัน


ที่มา http://www.dnsthailand.net/index.php?option=com_content&task=view&id=269&Itemid=56