วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

มาตรฐาน SI-Prefix (International System of Units)


คำอุปสรรค หรือ คำนำหน้าหน่วย (prefix) ใช้นำหน้าหน่วย เพื่อทำให้หน่วยที่ใช้เล็กลงหรือใหญ่ขึ้น และแนะนำให้ใช้เป็นขั้นละ 1,000 เท่า

10n คำอุปสรรค ตัวย่อ ความหมาย ตัวเลข ตั้งแต่
ค.ศ.
หมายเหตุ
1024 ยอตตะ yotta- Y ล้านล้านล้านล้าน 1,000,000,000,000,000,000,000,000 1991
1021 เซตตะ zetta- Z พันล้านล้านล้าน 1,000,000,000,000,000,000,000 1991
1018 เอกซะ exa- E ล้านล้านล้าน 1,000,000,000,000,000,000 1975
1015 เพตะ peta- P พันล้านล้าน 1,000,000,000,000,000 1975
1012 เทระ tera- T ล้านล้าน 1,000,000,000,000 1960
109 จิกะ giga- G พันล้าน 1,000,000,000 1960
106 เมกะ mega- M ล้าน 1,000,000 1960
103 กิโล kilo- k พัน 1,000 1795 บางครั้งอาจพบการใช้ K แทน
102 เฮกโต hecto- h ร้อย 100 1795
101 เดคา deca- da สิบ 10 1795 ในอเมริกาสะกดว่า deka- [2]
10−1 เดซิ deci- d หนึ่งส่วนสิบ 0.1 1795
10−2 เซนติ centi- c หนึ่งส่วนร้อย 0.01 1795
10−3 มิลลิ milli- m หนึ่งส่วนพัน 0.001 1795
10−6 ไมโคร micro- µ หนึ่งส่วนล้าน 0.000 001 1960 เมื่อ ค.ศ. 1948 มีการใช้หน่วยไมครอน
แต่ก็ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1967
10−9 นาโน nano- n หนึ่งส่วนพันล้าน 0.000 000 001 1960
10−12 พิโก pico- p หนึ่งส่วนล้านล้าน 0.000 000 000 001 1960
10−15 เฟมโต femto- f หนึ่งส่วนพันล้านล้าน 0.000 000 000 000 001 1964
10−18 อัตโต atto- a หนึ่งส่วนล้านล้านล้าน 0.000 000 000 000 000 001 1964
10−21 เซปโต zepto- z หนึ่งส่วนพันล้านล้านล้าน 0.000 000 000 000 000 000 001 1991
10−24 ยอกโต yocto- y หนึ่งส่วนล้านล้านล้าน 0.000 000 000 000 000 000 000 001 1991

การใช้

โดยทั่วไปจะใช้คำอุปสรรคนำหน้าตัวหน่วยเอสไอ ที่เห็นเป็นประจำ คือหน่วยกิโลเมตร ที่ใช้วัดระยะทางโดยทั่วไป เช่น 5 กิโลเมตร หมายถึง 5 พันเมตร (five thousand metres) หรือ ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร หมายถึง 600 ในพันล้านเมตร เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การพูดถึงเวลา จะไม่ใช้หน่วยเอสไอ แต่จะใช้คำแปลของหน่วยแทน เช่น 5,000,000,000 ปี จะไม่พูดว่า 5 จิกะปี แต่จะพูดว่า 5 พันล้านปี หรือ five Billion years

และนอกจากนี้ ในการพูดถึงอุณหภูมิ ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ไม่ยอมรับการใช้หน่วยเอสไอกับอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส (ในหน่วยองศาเซลเซียส จะใช้คำแปลมาช่วยเหมือนการบอกจำนวนเวลา) แต่ยอมรับการใช้หน่วยเอสไอกับหน่วยอุณหภูมิแบบเคลวิน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD