เว็บที่ผมไปเจอมาเขาแนะนำ Package ตัวนึงครับชื่อว่า likewise-open ซึ่งเราสามารถติดตั้งโดยใช้คำสั่ง
sudo apt-get install likewise-open
ภาพ คำสั่งการติดตั้ง likewise-open
เมื่อติดตั้ง likewise-open เสร็จแล้วก็มาดูรายละเอียดอย่างอื่นที่จำเป็นกับการ join domain กันครับ
ภาพ การกำหนดค่า hostname และ dns บน Ubuntu
Hostname จะต้องมีความยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร
DNS ต้องชี้ไปยังเครื่องที่เป็น dc หรือเครื่อง dns ที่รู้จัก dc ตัวที่เรากำลังจะเข้าไป join (ในที่นี้ผมชี้ไปยังเครื่อง dc)
มาดูในฝั่งของ Windows Server 2003 กันบ้าง ผมสร้าง user ใหม่ขึ้นมาโดยให้ชื่อว่า ubuntu
เมื่อ Ubuntu พร้อม และ User บน Windows Server 2003 พร้อมก็มาทำการ Join Domain กันเลยครับ
คำสั่งที่ใช้ในการ join domain คือ
sudo domainjoin-cli join vmserver.net account
โดยที่ vmserver.net คือโดเมนที่เราต้องการจะ join และ account คือ user ที่เป็น Domain Admin
ภาพ รูปแบบคำสั่งในการ Join Domain
ซึ่งเมื่อเราใช้คำสั่งตามด้านบนไปแล้ว ระบบจะให้เรากรอก Password ของ account ซึ่งเป็น Domain Admin เมื่อกรอกถูกต้องระบบก็จะแจ้งว่า SUCCESS
เมื่อ join domain เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการกำหนดให้ likewise-open ทำงานทุกครั้งที่เปิดเครื่องโดยใช้คำสั่ง
sudo update-rc.d likewise-open defaults
ภาพ คำสั่ง update-rc.d likewise-open defaults
แค่นี้ระบบก็พร้อมใช้งานแล้วครับ
ทดสอบโดยการ Log Out จาก user ปัจจุบัน จากนั้นก็ Login ด้วย user ที่อยู่บนเครื่อง AD ได้เลยครับ ซึ่งรูปแบบในการ Login คือ DOMAIN\username
ภาพ รูปแบบการ Login ผ่าน Domain
ภาพ Path ของ Home Directory หลัง Login สำเร็จ
ภาพ Computer Object ของเครื่อง vmubuntu
ทดลอง reboot เครื่องแล้วลอง login อีกรอบ หาก login สำเร็จก็เป็นอันเสร็จพิธีครับผม
หากต้องการ Disjoin ออกจาก domain ละทำอย่างไร ง่ายๆ ครับก็ใช้รูปแบบเดียวกับการ join เพียงแค่เปลี่ยน option จาก join เป็น leave
sudo domainjoin-cli leave vmserver.net account
หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์กับผู้อ่านน่ะ ครับ
ขอบคุณที่สนใจอ่าน
แหล่งข้อมูล :