โซนี่ผู้ผลิตแผ่น Floppy Disk กว่าร้อยละ 70 ของตลาดเตรียมที่จะยกเลิกการผลิตในเดือนมีนาคมปี 2011 แล้ว เนื่องจากความจุของมันในตอนนี้ไม่เพียงพอกับขนาดของซอฟต์แวร์ที่มีขนาดที่ ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมากและยอดขายที่ลดลงในญี่ปุ่นจาก 47 ล้านแผ่นในปี 2002 ลดลงฮวบฮาบเหลือเพียง 12 ล้านแผ่นในปี 2009 (รำลึกความหลังกันต่อได้ที่หน้าใน)
ย้อนไปในปี 1981 โซนี่ได้ยกเลิกการผลิตแผ่นขนาด 5.25 นิ้ว แล้วผลิตขนาด 3.5 นิ้ว ด้านเดียว (ผู้เขียนไม่ทราบความจุ) จนถึง 3.5 นิ้ว ขนาด 1.44 MB สองด้าน (High Density : HD) ที่ยังเห็นกันอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งในตอนนั้นได้รับความนิยมมากเพราะมีขนาดที่เล็กลง ความจุที่สูงขึ้นและราคาไม่แพง ในเวลาต่อมาก็เริ่มพัฒนาให้มีความสูงขึ้น (SuperDisk) จากเดิมเป็น 2.88 MB จนถึง 200 MB เลยทีเดียว แต่เนื่องจากความจุที่มีอยู่อย่างจำกัดมาก อายุการใช้งาน รอบของการเขียน/ลบ/เขียนทับ ความแน่นอนและคงทนของข้อมูลลงในสื่อ สุดท้ายแล้วก็มาพ่ายให้กับ CD-R/RW ที่ตัว Writer โผล่ในช่วงเวลานั้นพอดี จึงเป็นที่นิยมเพราะความจุสูงกว่ามาก เขียน/อ่านข้อมูลได้เร็วกว่าและหาซื้อแผ่นราคาถูกได้ง่ายไม่แพ้กัน ทำให้ความนิยมในตัว Floppy Disk ลดลงเป็นอย่างมาก และตัว Zip Disk ที่ออกมาในช่วงที่ไล่เลี่ยกันก็ถึงกับขายไม่ออกเลยทีเดียวเพราะไม่เป็นที่ แพร่หลายนั่นเอง ในปี 1998 มีเพียงสองเจ้าเท่านั้นที่ชิงตัดไดร์ฟออกจากเครื่องเดสก์ทอปก่อนรายอื่นคือ Apple ที่นำไดร์ฟออกจาก iMac ซึ่งทำให้บางคนก็บ่นกันขรมว่าจะใช้สื่อบันทึกตัวใดแทน และในเวลาต่อมาก็มี Dell ทำตามในปี 2003 โดยตัดออกจากมาตรฐานการผลิตเลย
นอกเรื่อง
ยังจำสมัยเด็กๆ กันได้อยู่ไหมว่า ความจุของแผ่น 3.5 นิ้ว ขนาด 1.44 MB นี้ถ้าอยากจะเพิ่มความจุของมันให้เท่ากันกับขนาด 2.88 MB ก็ไปเล่นที่ Drive Space ของ Windows 98 เพื่อลองขยายมัน (แต่ถ้าลองคัดลอกไฟล์ที่บีบอัดข้อมูลลงไปอย่าง Zip ขนาดไฟล์ของมันจะเป็นสองเท่า) ประโยชน์ในตอนนี้เท่าที่ผู้แปลเห็นได้ก็คือการทำแผ่นบู๊ต หรือทำแผ่นสำหรับแฟลชไบออสแบบอัตโนมือ แต่ก็ถูกแทนที่ด้วยแผ่น CD เรียบร้อยแล้ว และในวงการ Midi ก็ยังใช้ในการบันทึกไฟล์เสียงประเภทนี้อยู่ (ขนาดไฟล์เล็กมาก) ซึ่งนับวันจะถูกทดแทนด้วย Flash Drive เป็นการค่อยๆ ปิดม่านของ Floppy Disk ในยุคนี้ ตามรอย Jaz Drive และ Zip Disk