วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มารู้จักความหมายของ O-NET , A-NET และ B-NET

โอ-เน็ต (อังกฤษ: O-NET) , เอ-เน็ต (อังกฤษ: A-NET) , และ บี-เน็ต (อังกฤษ: B-NET) คือรูปแบบมาตรฐานการ ทดสอบความรู้ในระดับต่างๆ ของนักเรียนที่ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์การมหาชนและใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “National Institute of Educational Testing Service”

ระดับ และวัตถุประสงค์ของการสอบ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้กำหนดมาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ ตามวัตถุประสงค์ดังนี้

โอ-เน็ต (O-NET)
การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Testing) หรือที่เรียกว่า O-NET เป็นการสอบความรู้รวบยอดปลายช่วงชั้น (6 ภาคเรียน) ของชั้น ป. 3 ป. 6 ม. 3 และ ม. 6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยทำการทดสอบความรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ รวม 8 กลุ่ม

* ผู้มีสิทธิ์สอบ ผู้กำลังจะจบชั้น ป. 3, ป. 6, ม. 3 และ ม. 6 เป็นการสอบออก
* ช่วงเวลาสอบและจำนวนครั้งการสอบ เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี เป็นการสอบประจำปีอย่างถาวรตลอดไปและเป็นการสอบเพียง 1 ครั้งสำหรับผู้กำลังจะจบช่วงชั้นเท่านั้น
* วิธีการสอบและค่าใช้จ่าย ผู้เป็นนักเรียนปกติไม่ต้องสมัครสอบ แต่นักเรียนเทียบเท่าต้องสมัครสอบ ไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายในการสอบ
* ผู้จัดสอบ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)

เอ-เน็ต (A-NET)
การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (Advance National Education Testing) หรือที่เรียกว่า A-NET เป็นการสอบความรู้ขั้นสูง (6 ภาคเรียน) ทดสอบเฉพาะนักเรียนชั้น ม. 6 ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐในระบบรับร่วมและรับกลาง จำนวนวิชาสอบ 11 วิชา

* ผู้มีสิทธิ์สอบ ผู้กำลังเรียนหรือผู้จบชั้น ม. 6 ปกติหรือเทียบเท่าไปแล้ว
* ช่วงเวลาสอบและจำนวนครั้งการสอบ การทดสอบแบบนี้จะมีเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้นคือเดือนมีนาคม ของทุกปี และสามารถเก็บคะแนนที่สอบไว้ได้ 2 ปี โดยใช้คะแนนที่ดีที่สุด การสอบจะมีเฉพาะช่วงรอยต่อของระบบเก่าและใหม่คือระหว่างช่วง พ.ศ. 2549 -2552 เท่านั้น
* วิธีการสอบและค่าใช้จ่าย ผู้เข้าทดสอบต้องสมัครสอบและเสียค่าใช้จ่ายในการสอบวิชาละ 100 บาท
* ผู้จัดสอบ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปี 2553 ได้ยกเลิกระบบ A-NET แต่ใช้ระบบ GAT - PAT แทน

บี-เน็ต (B-NET)
B-NET ย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า “Basic National Education Testing” เป็นการสอบความรู้ขั้นสูง (5 ภาคเรียน) เฉพาะนักเรียน ม. 6 ที่จะเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในระบบรับตรง ระบบโควต้า และระบบพิเศษ โดยมีวิชาสอบ 5 วิชา

* ผู้มีสิทธิ์สอบ ผู้กำลังเรียนหรือผู้จบชั้น ม. 6 ปกติหรือเทียบเท่าไปแล้ว
* ช่วงเวลาสอบและจำนวนครั้งการสอบ การทดสอบแบบนี้จะเริ่มมีการสอบครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 สำหรับมหาวิทยาลัยนเรศวรและบางโครงการของจุฬาลงกาสรณ์มหาวิทยาลัย สามารถเก็บคะแนนที่สอบไว้ได้ 2 ปี
* วิธีการสอบและค่าใช้จ่าย ผู้เข้าทดสอบต้องสมัครสอบ และเสียค่าใช้จ่ายในการสอบวิชาละ 100 บาท
* ผู้จัดสอบ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)


สาระ และมาตรฐานการเรียนรู้การสอบ โอ-เน็ต (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้แบ่งกลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้การสอบออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ไว้ 8 กลุ่มสาระ ได้แก่

1) ภาษาไทย

2) คณิตศาสตร์

3) วิทยาศาสตร์

4) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5) สุขศึกษาและพลศึกษา

6) ศิลปะ

7) การงานอาชีพและเทคโนโลยี

8) ภาษาต่างประเทศ

โดยในแต่ละกลุ่มสาระจะมีมาตรฐานไว้ชัดเจน



ADMISSION หรือที่ภาษาไทยเรียกกันว่าแอดมิชชั่น(จะบอกทำไมเนี่ย) คือระบบการคัดเลือกบุคคลที่อยากจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งถูกนำมาใช้จริงครั้งแรกในปี ๒๕๔๘ (โชคดีของเด็กรุ่นนี้นะเนี่ย ได้ลองของใหม่) แทนการสอบเอนทรานซ์ในระบบเดิม ซึ่งในระบบใหม่นี้คะแนนของผู้ที่(อยาก)จะถูกคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา จะไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังมีคะแนนบางส่วนจากเกรดเฉลี่ยของที่โรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการ พิจารณาเข้าศึกษาต่อด้วย

GPAX หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือเกรดเฉเลี่ยสะสมของน้องๆ นั่นแหละ ซึ่งไม่ว่าน้องจะเข้าคณะไหนก็ตาม GPAX จะมีผลต่อคะแนนรวมของน้องถึง 10% เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากๆ(ในทุกวิชา)ด้วยหล่ะ เพราะถ้าไม่ตั้งใจเรียนในห้อง นอกจากจะเกรดตกแล้ว คะแนน GPAX 10% ก็จะลดลงไปด้วยเน้อ

GPA หรือคะแนนสะสมรายวิชา มันก็คล้ายเจ้า GPAX นั่นแหละ แต่แค่วุ่นวายกว่าหน่อย เพราะ GPA เนี่ยนะแต่ละคณะเขาจะกำหนดเองเลยว่าจะเอาวิชาอะไร กี่% แต่ละคณะจะต้องเอาคะแนน GPA ของน้องๆอย่างน้อย 3 วิชา แต่ไม่เกิน 5 วิชา และคะแนน GPA ของน้องจะมีผลต่อคะแนนรวมถึง 20% เพราะฉะนั้นน้องๆควรจะรู้ตัวเองได้แล้วในชั้น ม.4 ว่าอยากเข้าคณะอะไร แล้วก็ไปดูตารางองค์ประกอบและค่าร้อยละของกลุ่มสาขาวิชาว่าคณะที่น้องๆอยาก เข้า ว่าคณะที่น้องๆอยากเข้าเขาจะถ่วงน้ำหนักให้วิชาใดเป็นพิเศษ จะได้ตั้งใจและเตรียมตัวแต่เนิ่นๆได้ถูกนะครับ

O-NET มาถึงสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับการแอดมิชชั่นครั้งนี้บ้าง นั่นก็คือโอเด็ต ไม่ใช่!!!! O-NET ต่างหาก (เล่นเอง แก้เอง แป๊กเอง) O-NET มันย่อมาจาก Ordinary National Educational Test (ไม่ต้องท่องนะ มันไม่ออกข้อสอบหรอก) หรือภาษาไทยเรียกว่าการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน จัดสอบกันทั้งหมด 5 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใครก็ตามที่จะสอบแอดมิชชั่นจะต้อง O-NET ด้วย โดยในตัวข้อสอบก็จะเป็นเนื้อหาของความรู้พื้นฐานทั่วไปที่น้องๆ เรียนกัน รับรองว่าไม่ยากหรอก การสอบ O-NET จะมีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่นรวมของน้องๆถึง 35-70% (ขึ้นอยู่การกำหนดของแต่ละคณะ)

A-NET อีกหนึ่งสิ่งใหม่ของการสอบแอดมิชชั่นก็คือ A-NET ซึ่งย่อมาจาก Advanced National Educational Test หรือก็คือการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง ชื่อก็บอกแล้วว่าการสอบขั้นสูงเพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความยากเลย ถ้าเทียบกันแล้ว โอเนทจะแค่ขำๆ แต่เอเนทอาจจะทำให้ขำไม่ออกเลยล่ะ (ขู่เฉยๆน่าอย่าพึ่งกลัวเลย) สำหรับ A-NET และพวกวิชาเฉพาะกับความถนัดเฉพาะทางจะคิดเป็น 0-35% ของคะแนนรวมทั้งหมด ซึ่งคะแนนจะยืดหยุ่น(แปรผันผกผัน)กับคะแนน O-NET ซึ่งบางคณะก็จะไม่ใช้คะแนน A-NET ในการสอบคัดเลือกเข้าเลยก็ได้ แต่คณะก็ใช้มากถึง 35% คณะไหนใช้เท่าไรก็ต้องไปตรวจสอบกันนะขอรับ


ที่มา
http://writer.dek-d.com/ubyi/story/view.php?id=126467
โอ-เน็ต - วิกิพีเดีย